1 / 192

จริยธรรม คุณธรรม ในการปฏิบัติงาน

จริยธรรม คุณธรรม ในการปฏิบัติงาน. ดร.สุทิน ลี้ปิยะชาติ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจพอเพียงและธนาคารสมอง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รองเลขาธิการมูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด. คุณธรรม. หมายถึง สภาพคุณงามความดี. จริยธรรม. หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติ

Télécharger la présentation

จริยธรรม คุณธรรม ในการปฏิบัติงาน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. จริยธรรม คุณธรรม ในการปฏิบัติงาน ดร.สุทิน ลี้ปิยะชาติ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจพอเพียงและธนาคารสมอง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รองเลขาธิการมูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด

  2. คุณธรรม หมายถึง สภาพคุณงามความดี จริยธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติ ปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม

  3. เรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาทเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท ดี เก่ง มีความสุข การเสริมสร้างจิตสำนึกในการทำงาน อย่างมีคุณธรรม จริยธรรม รู้จักพอเพียง เก่ง ดี มีความสุข วิธีเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือ การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท

  4. นานาประเทศ องค์กรระหว่างประเทศ สื่อทั่วโลก ต่างเทิดพระเกียรติ พระมหากษัตริย์ แห่งพระมหากษัตริย์ The King of the Kings The King of the World

  5. “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” พระปฐมบรมราชโองการ วันพระราชพิธีบรมราชาภิเษก วันที่ ๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓

  6. ทศพิธราชธรรม ๑. ทาน ให้ทาน ๒. ศีล รักษาศีล ๓. ปริจจาคะ สละประโยชน์ส่วนตน ๔. อาชชวะ ซื่อตรงต่อตนเองและผู้อื่น ๕. มัททวะ อ่อนโยน มีสัมมาคารวะ ๖. ตปะ พากเพียรไม่เกียจคร้าน ๗. อักโกธะ ระงับความโกรธ ๘. อวิหิงสา ไม่เบียดเบียน ๙. ขันติ อดทน ๑๐. อวิโรธนะ แน่วแน่ในความถูกต้อง

  7. พระราชกรณียกิจ พระราชจริยวัตร ๑. เสด็จหาประชาชน ๒. ทรงแก้ไขปัญหาให้ประชาชน ๓. ทรงงานสม่ำเสมอ ๔. ทรงอดทน ๕. ทรงงานบังเกิดผลรูปธรรม ๖. ทรงคิดค้นประดิษฐ์ และพัฒนา ๗. ทรงปฏิบัติ ทรงอยู่ให้เห็น ๘. ทรงพระเมตตา ๙. ทรงไม่เลือกปฏิบัติ ๑๐. ทรงแน่วแน่แก้ไขปัญหาของชาติและประชาชน ฯลฯ

  8. “…ในปีใหม่นี้ ทุกคนจึงชอบที่จะตั้งตนอยู่ในความ ไม่ประมาท. ไม่ว่าจะคิด จะทำสิ่งใด ก็ขอให้คิดให้ดี ให้รอบคอบ ทำให้ดี ให้ถูกต้อง. ผลของการคิดดีทำดี ทำถูกต้องนั้น จะได้ ส่งเสริมให้แต่ละคน ตลอดจนประเทศชาติดำเนินก้าวหน้าต่อไปด้วยความมั่นคงสวัสดี” พรปีใหม่ ๒๕๔๗ พระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย ๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๖

  9. พระบรมราโชวาท พระราชทานเมื่อวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๔๐ “...ก่อนที่บุคคลจะพูดจะทำสิ่งใด จำเป็นต้องหยุดคิดเสียก่อนว่า กิจที่จะทำ คำที่จะพูด ผิดหรือถูก เป็นคุณประโยชน์หรือเป็นโทษเสียหาย เป็นสิ่งที่ควรพูด ควรกระทำ หรืองดเว้น…” คิดดี

  10. พระบรมราโชวาท พระราชทานเมื่อวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๔๐ “…เมื่อคิดพิจารณาได้ดังนี้ ก็จะสามารถยับยั้งคำพูดที่ไม่สมควร หยุดยั้งการกระทำที่ไม่ถูกต้อง พูดและทำแต่สิ่งที่จะสัมฤทธิ์ผล เป็นประโยชน์ และเป็นความเจริญ…” ทำดี

  11. เรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาทเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา “...ให้ทุกฝ่ายทำความเข้าใจ พยายามเข้าถึงประชาชน และร่วมกันพัฒนา...”

  12. พระราชดำรัส ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๗ “ ...ขอให้ท่านมาที่นี่ได้มีความแจ่มใส วันนี้รู้สึกว่าท่านจะแจ่มใสดี ต้องแจ่มใส เพราะถ้าไม่แจ่มใส ทำงานไม่ได้ ต้องให้ท่านทำงานได้ดี ๆ แล้วก็คิดถึงงานที่มี ที่จะต้องทำ ทำให้ดี ๆ ไม่ทำให้เละ ถ้าทำให้เละ ประเทศชาติก็เละ ขอให้มีความสุข ความสำเร็จทุกประการ... ”

  13. “…ประการแรก คือ การที่ทุกคนคิด พูด ทำ ด้วยความเมตตา มุ่งดีมุ่งเจริญต่อกัน ประการที่สอง คือ การที่แต่ละคนต่างช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ประสานงาน ประสาน ประโยชน์กัน ให้งานที่ทำสำเร็จผล ทั้งแก่ตน แก่ผู้อื่น และกับประเทศชาติ ประการที่สาม คือ การที่ทุกคนประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในความสุจริต ในกฎกติกา และในระเบียบแบบแผน โดยเท่าเทียมเสมอกัน ประการที่สี่ คือ การที่ต่างคนต่างพยายามทำความคิดความเห็นของตนให้ถูกต้อง เที่ยงตรง และมั่นคงอยู่ในเหตุในผล...” พระราชดำรัส พระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย ณ สีหบัญชร ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙

  14. พระราชดำรัส ๔ ธันวาคม ๒๕๔๘ “...จะทำอะไรก็ขอให้แต่ละคนมีความสำเร็จพอสมควร เศรษฐกิจพอเพียง คือ ทำให้พอเพียง ถ้าไม่พอเพียงไปไม่ได้ ถ้าทำพอเพียง สามารถที่จะนำพาประเทศให้ดี ไปได้ดี ก็ขอให้ทุกคนประสบความสำเร็จพอเพียง และเพื่อให้บ้านเมืองบรรลุความสำเร็จที่แท้จริง ก็ไม่รู้ว่าคนที่รับพร ก็รับไป คนที่ไม่รับพรก็คิดในใจ ขอบใจที่ท่านทั้งหลาย มาให้พร เรารับพรของท่าน”

  15. เศรษฐกิจพอเพียง คืออะไร เศรษฐกิจพอเพียง คือ ปรัชญาที่ชี้ถึงแนวทางในการดำรงชีวิต

  16. เศรษฐกิจพอเพียง เปรียบเสมือนเสาเข็ม เศรษฐกิจพอเพียง เป็นเสมือนรากฐานของชีวิต รากฐานความมั่นคงของแผ่นดินเปรียบเสมือนเสาเข็มที่ตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั่นเอง สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ ก็อยู่ที่เสาเข็ม แต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็ม และลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำไป

  17. เศรษฐกิจพอเพียง ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความ อย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึก ในดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญาและความรอบคอบ รอบคอบ และความระมัดระวัง คุณธรรมความซื่อสัตย์ สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่ เหมาะสม เพื่อให้สมดุล และพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี “เศรษฐกิจพอเพียง”เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า๒๕ปีตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจและเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้นและสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ กรอบแนวคิด ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับ ครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศ ให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอ คำนิยาม ประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผล กระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน เงื่อนไข แนวปฏิบัติและผลที่คาดหมาย

  18. ทางสายกลาง พอประมาณ มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี มีเหตุผล นำไปสู่ ชีวิต/เศรษฐกิจ/สังคม/สิ่งแวดล้อม ก้าวหน้าอย่างสมดุล/มั่นคง/ยั่งยืน ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เงื่อนไขความรู้(รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง) เงื่อนไขคุณธรรม(ซื่อสัตย์ สุจริต สติปัญญา ขยัน อดทน แบ่งปัน)

  19. ปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์

  20. เศรษฐกิจพอเพียง ทั้งในระดับจุลภาค และในระดับมหภาค • บุคคลธรรมดาหรือครัวเรือน • กลุ่มบุคคล หรือนิติบุคคลต่าง ๆ ได้แก่ ชุมชน หรือสหกรณ์ หรือองค์กรธุรกิจต่าง ๆ • สังคม ประเทศ ภูมิภาค

  21. คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบน ทางสายกลาง และ การพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน

  22. ปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกัน ในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและ การดำเนินการทุกขั้นตอน

  23. ปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจ ในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

  24. ทัศนะความเข้าใจเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงทัศนะความเข้าใจเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง ที่มา ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

  25. อะไรที่ไม่ใช่เรื่องของเศรษฐกิจพอเพียงอะไรที่ไม่ใช่เรื่องของเศรษฐกิจพอเพียง ที่มา ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

  26. ความสำเร็จอยู่แค่เอื้อมความสำเร็จอยู่แค่เอื้อม ที่มา ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

  27. แนวทางปฏิบัติ เศรษฐกิจพอเพียง ๑. ไม่ใช้จ่ายเกินตัว ไม่ลงทุนเกินขนาด ๒. พึ่งพาตนเองเป็นหลัก รวมตัวกันและช่วยเหลือ ซึ่งกันและกัน ๓. ใช้ศักยภาพที่มีอยู่ให้เต็มที่ พัฒนาศักยภาพที่มีอยู่ ให้สูงขึ้นและหลากหลายมากขึ้น ๔. เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน

  28. การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง ระดับบุคคล / ครอบครัว - สามารถให้ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนในด้าน จิตใจ สังคม เทคโนโลยี ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ - รู้จักคำว่า “พอ” ยึดทางสายกลางในการดำรงชีวิต - พยายามพัฒนาตนเอง - มีความสุขและความพอใจกับชีวิตที่พอเพียง

  29. การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในระดับบุคคลการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในระดับบุคคล

  30. การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง ระดับชุมชน ประกอบด้วย บุคคล /ครอบครัวที่มีความพอเพียงแล้ว - รวมกลุ่มทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม โดยอาศัย ภูมิปัญญาและความสามารถของตนและชุมชน - มีความเอื้ออาทรระหว่างสมาชิกชุมชนทำให้เกิดพลังทางสังคม - พัฒนาไปสู่เครือข่ายระหว่างชุมชนต่าง ๆ

  31. การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง ระดับรัฐหรือระดับประเทศ ประกอบด้วย สังคมต่าง ๆ ที่เข้มแข็ง - ชุมชน / สังคมหลาย ๆ แห่งร่วมมือกันพัฒนาตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง - วางรากฐานของประเทศให้มีความพอเพียงและพร้อมก่อน จึงค่อย ๆ ดำเนินการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้เจริญขึ้นเป็นลำดับ ๆ ต่อไป

  32. หลักเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีเศรษฐกิจมหภาคหลักเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีเศรษฐกิจมหภาค • ทุนเศรษฐกิจ • ทุนสังคมและจริยธรรม • ทุนทรัพยากรธรรมชาติ Capittal Capittal Labor Labor เศรษฐกิจพอเพียง ทุนนิยมเสรี ทางสายกลาง การเติบโตอย่างก้าวกระโดด

  33. ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับแผนฯ ๑๐ • อัญเชิญ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นแนวทางการปฏิบัติ ควบคู่กับการพัฒนาแบบบูรณาการ เป็นองค์รวม ที่มี “คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา” • มุ่งพัฒนาให้ “คนและสังคมไทย”มีความแข็งแกร่ง ปรับตัว รู้เท่าทัน มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง • ขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศให้เกิดความสมดุลทุกมิติ เป็นธรรมและยั่งยืน มุ่งสู่ “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน”

  34. คิดดี ทำดี ๗ ประการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน • ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง • คนเป็นศูนย์กลาง • ระเบิดจากข้างใน • คนและสังคมไทยแข็งแกร่ง • องค์กรการเงินชุมชนเข้มแข็ง • สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน • รู้ รัก สามัคคี

  35. ทฤษฎีใหม่ เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเกษตรกร เฉลี่ยพื้นที่ถือครองทางการเกษตร ๑๕ ไร่ - พืชไร่พืชสวน ๕ ไร่ - นาข้าว ๕ ไร่ - สระน้ำ ๓ ไร่ - ที่อยู่อาศัย ๒ ไร่

  36. ทฤษฎีใหม่ เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเกษตรกร ขั้นที่ ๑ เป็นแนวทางการจัดการพื้นที่เกษตรกรรมในระดับครอบครัว เพื่อให้พอกินสมควรแก่อัตภาพ ในระดับที่ประหยัด ไม่อดอยากและเลี้ยงตนเองได้ ขั้นที่ ๒ การรวมกลุ่มในรูปสหกรณ์ร่วมแรงในการผลิต จัดการตลาดและพัฒนาสวัสดิการของชุมชนในรูปแบบต่าง ๆ เป็นการสร้างความสามัคคีภายในท้องถิ่น และเตรียมความพร้อมก่อนก้าวสู่โลกภายนอก

  37. ทฤษฎีใหม่ เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเกษตรกร ขั้นที่ ๓ ติดต่อประสานงานกับภายนอก เพื่อจัดหาทุนหรือแหล่งเงิน เช่น ธนาคาร หรือบริษัท ห้างร้าน เอกชนมาช่วยในการลงทุนและพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยสรุปเปิดโอกาสให้เกษตรกรประยุกต์ใช้ความรู้ ภูมิปัญญาและความคิดสร้างสรรค์ที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในแต่ละท้องถิ่น สนับสนุนการรวมตัวกัน โดยอาศัยทุนทางสังคมหรือวัฒนธรรมเป็นพื้นฐานสร้างองค์กรหรือเครือข่ายที่เข้มแข็งในระดับชุมชน หรือระดับเครือข่ายธุรกิจเอกชน

  38. การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง ระดับนักธุรกิจ - ยอมรับการมีกำไรในระดับพอประมาณ (Normal Profit) และมีเหตุมีผลที่พอเพียงต่อนักธุรกิจที่ลงทุนหรือผู้ถือหุ้น และต้องไม่เป็นการแสวงหากำไร โดยการเอาเปรียบผู้บริโภคหรือผิดกฎหมาย - ไม่ปฏิเสธการส่งออก แต่ต้องมีการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี เพื่อให้พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง

  39. การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง ระดับนักธุรกิจ - สามารถกู้เงินมาลงทุนได้ เพื่อทำให้มีรายได้และต้องสามารถใช้หนี้ได้ - ต้องมีคุณธรรม ซื่อสัตย์สุจริต เพียร อดทน และรับผิดชอบต่อสังคม โดยพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต - รักษาความสมดุลในการแบ่งปันผลประโยชน์ของธุรกิจในระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ พนักงาน บริษัท ผู้บริโภค และสังคมโดยรวม

  40. การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง ระดับนักการเมือง - การกำหนดนโยบาย การออกกฎหมาย และข้อบัญญัติต่าง ๆ หรือดำเนินวิถีทางการเมืองให้ยึดมั่นอยู่บนพื้นฐานของความพอเพียงและผลประโยชน์ของส่วนรวม - มีทัศนคติและความคิดที่ดี บนพื้นฐานของความพอเพียง สุจริต มีความเพียร และมีสติในการทำกิจการ ต่าง ๆ

  41. การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง ในการกำหนดนโยบายการคลัง - มีความพอดี ไม่มากเกินไปจนกระทบเสถียรภาพ ไม่น้อยเกินไปจำทำให้เศรษฐกิจซบเซา - มีเหตุผลและคล่องตัว - ทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป ประเมินสถานการณ์รอบคอบ - ป้องกันปัญหาก่อนที่จะรุนแรงขึ้น - ดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศมีความพอดี ไม่สูงไม่ต่ำจนเกินไป

  42. การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง ในการพัฒนาระบบการศึกษาไทย - บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง ควรมุ่งไปสู่การทำให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ เพื่อทำให้เกิดสติปัญญา ความรอบรู้และศีลธรรมอันจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สังคมดำรงอยู่ได้อย่างเข้มแข็งและพอเพียง - สร้างระบบการศึกษาให้กับคนทุกคน ตั้งแต่เกิดจนตาย - คำนึงถึงคุณภาพและมาตรฐาน - สร้างภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง

  43. การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง ระดับเจ้าหน้าที่ของรัฐ - ต้องมีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบ - การจัดเตรียมนโยบาย แผนงานหรือโครงการต่าง ๆ ต้องสอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง โดยเน้นพัฒนาและแก้ไขปัญหาด้านสังคม เศรษฐกิจ และจิตใจควบคู่กันไป

  44. การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง ระดับครูอาจารย์ - ถ่ายทอด ปลูกฝังความรู้ความเข้าใจหลักเศรษฐกิจพอเพียงให้เด็กและเยาวชน - สอนให้คิดเป็น เข้าใจในหลักเหตุผล - มีความคิดในเชิงสร้างสรรค์บนพื้นฐานของศีลธรรมและการพัฒนาจิตใจควบคู่กันไป

  45. การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง คนทุกวัย ทุกศาสนา - ดำรงชีวิตบนพื้นฐานของการรู้จักตนเอง การคิดพึ่งพาตนเองและพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันอย่างเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ - สอดคล้องกับหลักคำสอนของทุกศาสนาที่ให้ดำเนินชีวิตตามกรอบคุณธรรม - ไม่ทำการใด ๆ ที่เบียดเบียนตนเองหรือผู้อื่น - ไม่ฟุ้งเฟ้อ ทำอะไรที่เกินตน - รู้จักแบ่งปันช่วยเหลือผู้อื่นตามกำลังของตน - ดำเนินชีวิตทางสายกลาง

  46. UNDP รายงานการพัฒนาคนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๐ “เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาคน” • เป็นปรัชญาที่มีความสำคัญยิ่งสำหรับการขจัดความยากจนและการลดความเสี่ยงทางเศรษฐกิจของคนจน • เป็นพื้นฐานของการพัฒนาศักยภาพชุมชนให้เข้มแข็ง เพื่อเป็นฐานรากของการพัฒนาประเทศ • ช่วยยกระดับความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท ด้วยการสร้างข้อปฏิบัติในการทำธุรกิจที่เน้นผลกำไรระยะยาวในบริบทที่มีการแข่งขัน

  47. UNDP รายงานการพัฒนาคนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๐ “เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาคน” • มีความสำคัญยิ่งต่อการปรับปรุงมาตรฐานของธรรมาภิบาล ในการบริหารงานภาครัฐ • สามารถใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายของชาติ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่อสถานการณ์ที่เข้ามากระทบ โดยฉับพลัน และเพื่อปรับปรุงนโยบายต่าง ๆ ให้เหมาะสม • ในการปลูกฝังจิตสำนึกพอเพียง จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนค่านิยมและความคิดของคน เพื่อให้เอื้อต่อการพัฒนาคน

  48. กระบวนทัศน์การพัฒนาตามแนวพระราชดำริกระบวนทัศน์การพัฒนาตามแนวพระราชดำริ • การพัฒนาตามแนวพระราชดำริเป็นกระบวนการพัฒนา ที่นำไปสู่ความเป็นไท เป็นการพัฒนาที่เน้นคนเป็นศูนย์กลาง สร้างความสมดุลในการดำเนินชีวิตเป็นรากฐานของ การพัฒนาที่มั่นคงและยั่งยืน • “ระเบิดจากข้างใน” ให้คนพออยู่ พอกิน พึ่งตนเองได้ก่อน • การพัฒนาต้องอยู่บนฐานเดิมของสังคม • การพัฒนาต้องอยู่บนหลักภูมิสังคม

  49. กระบวนทัศน์การพัฒนาตามแนวพระราชดำริกระบวนทัศน์การพัฒนาตามแนวพระราชดำริ • มุ่งประโยชน์ของประชาชนทุกคน ยึดหลัก”คุ้มค่ามากกว่าคุ้มทุน” เน้นกระบวนการประชาพิจารณ์ การมีส่วนร่วมของประชาชน • ไม่ติดตำรา ใช้หลักวิชาการในการพัฒนาอย่างระมัดระวัง • การพัฒนาต้องทำอย่างเป็นขั้นตอน เริ่มที่จุดเล็ก ดูความพร้อมของคนและพื้นที่ • การทำโครงการต้องทำในขนาดที่ถนัด รอบคอบ อย่าตาโต

More Related