1 / 36

ระบบกำจัดของเสียโดยไต

ระบบกำจัดของเสียโดยไต. อ. วัชรวิทย์ มีหนองใหญ่. วัตถุประสงค์. เพื่อให้นิสิตทราบโครงสร้างและกลไกการทำงานของไต เพื่อให้นิสิตสามารถทราบเกี่ยวกับกลไกในการขับถ่ายปัสสาวะ เพื่อให้นิสิตรู้เกี่ยวกับกลไกการควบคุมสมดุลของน้ำโดยฮอร์โมนได้. อวัยวะขับถ่ายปัสสาวะ (Urinary organs). ไต ( Kidneys )

sela
Télécharger la présentation

ระบบกำจัดของเสียโดยไต

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ระบบกำจัดของเสียโดยไตระบบกำจัดของเสียโดยไต อ. วัชรวิทย์ มีหนองใหญ่

  2. วัตถุประสงค์ • เพื่อให้นิสิตทราบโครงสร้างและกลไกการทำงานของไต • เพื่อให้นิสิตสามารถทราบเกี่ยวกับกลไกในการขับถ่ายปัสสาวะ • เพื่อให้นิสิตรู้เกี่ยวกับกลไกการควบคุมสมดุลของน้ำโดยฮอร์โมนได้

  3. อวัยวะขับถ่ายปัสสาวะ (Urinary organs) • ไต (Kidneys) • กรวยไต (Renal pelvis) • ท่อไต (Ureters) • กระเพาะปัสสาวะ (Urinary bladder) • ท่อปัสสาวะ (Urethra)

  4. ไต (Kidneys) ทำหน้าที่ดังนี้ • กำจัดของเสียออกจากเลือด • ควบคุมของเหลวและเกลือแร่ให้สมดุล • ควบคุม Osmotic pressure ในเลือดและในเนื้อเยื่อ • กำจัดสิ่งแปลกปลอมออกจากเลือด จะมีเลือดไหลเวียนไปที่ไต 1.5 ลิตร และทำให้เกิดน้ำปัสสาวะได้ 1.5 ลิตรภายใน 24 ชม.

  5. ตำแหน่งที่อยู่ของไต • สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจะมีไต 2 อัน ขนาบอยู่ข้างกระดูกสันหลัง ในคนไตข้างขวาจะอยู่ต่ำกว่าไตด้านซ้ายเล็กน้อย • ในสัตว์สี่เท้าไตจะอยู่ด้านบนของช่องท้องขนาบอยู่ข้าง aorta และ vena cava ในระดับเดียวกับกระดูกสันหลังส่วนเอวชิ้นต้นๆ • ในสัตว์เคี้ยวเอื้องเมื่อกระเพาะรูเมนเต็มจะดันให้ไตซ้ายผ่านข้ามแนวกลางลำตัวไปทางขวา จึงมีผลทำให้เส้นเลือด renal arteriesและ renal veinทางด้ายซ้ายยาวกว่าด้านขวา

  6. ลักษณะของไต • ในแพะ แกะ และสัตว์กินเนื้อ ลักษณะของไตจะเป็นรูปกลมหนา • ไตของสุกรจะเป็นรูปค่อนข้างแบน • ไตของม้าจะเป็นรูปหัวใจ • ไตของโคจะเป็นก้อนหลายๆก้อนรวมกันเป็นรูปรีไม่สม่ำเสมอ สีของไตจะเปลี่ยนจากสีน้ำตาลแดงไปจนถึงสีน้ำเงินเข้มขึ้นอยู่กับปริมาณเลือดที่อยู่ภายในไต

  7. ลักษณะภายนอกของไต • ไตประกอบด้วยผิวด้านบนและผิวด้านล่าง ส่วนด้านข้างโค้งออกและด้านในเว้าเข้า • ขั้วไต (Renal hilus) เป็นรอยเว้าทางขอบด้านในที่มีเส้นเลือด หลอดน้ำเหลือง เส้นประสาทและหลอดไต เข้าไปยังไต • Renal hilus นี้จะเป็นทางเข้าไปสู่ช่องว่างภายในไต เรียกว่า กรวยไต (renal pelvis)

  8. ลักษณะภายในของไต • ไตประกอบด้วยชั้นนอก (cortex) และชั้นใน (medulla) • เนื้อไตในส่วนของ medulla จะมีโครงสร้างเป็นสามเหลี่ยมเรียกว่า pyramid ซึ่งแต่ละอันจะยื่นเข้าสู่ minor calyx และรวบรวมเข้าสู่ major calyx ไหลเข้าสู่ Pelvis และ ureter ตามลำดับ • ในไตวัวไม่มี pelvis ของเหลวจาก major calyx จึงไหลเข้าสู่ ureter เลย

  9. การทำงานของไต • การทำงานของไตเป็นผลเนื่องมาจากการทำงานของหน่วยย่อยของไต ที่เรียกว่า nephron • ไตแต่ละข้างประกอบด้วย nephron ประมาณ 1 ล้านอัน • Nephron ประกอบด้วย 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ • Renal copuscle • ท่อไต (Tubule)

  10. Renal corpuscle • เป็นส่วนต้นของ Nephron เลือดที่เข้ามาในไตจะถูกกรองที่นี่ • Renal corpuscle ประกอบด้วย Glomerulus คือ กลุ่มของเส้นเลือดฝอย (capillaries) ที่มารวมกันเป็นกลุ่ม ทำหน้าที่กรองพลาสมาให้เข้ามาในท่อBowman's capsule มีลักษณะเป็นถุงหุ้มรอบ glomerulus ส่วนนี้จัดเป็นส่วนต้นของท่อไต(Tubule)

  11. ท่อไต (Tubule) • ท่อไตส่วนต้น (proximal convoluted tubule) • ท่อไตรูปตัวยู (Loop of Henle) • ท่อไตส่วนปลาย (distal convoluted tubule) • ท่อไตรวม (collecting tubule)

  12. ท่อไตส่วนต้น (proximal convoluted tubule) ซึ่งแบ่งย่อยออกได้เป็น 2 ส่วน คือ 1) convoluted portion มีลักษณะโค้งงอ 2) straight portion มีลักษณะตรง

  13. ท่อไตรูปตัวยู (Loop of Henle) • ท่อตัวยูขาลง (descending limb) • ท่อตัวยูขาขึ้น (ascending limb) ซึ่งยังแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน • thin ascending limb • thick ascending limb

  14. ท่อไตส่วนปลาย (distal convoluted tubule) • ต่อมาจากหลอดไตรูปตัวยู • มีการดูดซึม Na+ , Cl- และ HCO3- แต่ขับ K+, H+, NH4+ สู่ปัสสาวะ (morehypo-iso) • ถัดไปจะเป็นหลอดไตรวม (Collecting tubule)

  15. ท่อไตรวม (collecting tubule) • เป็นส่วนสุดท้ายของ nephron ทำหน้าที่เก็บรวบรวมน้ำปัสสาวะจาก ท่อไตส่วนปลายของหลาย nephron • จากนั้นส่งต่อไปยัง pelvis เพื่อขับออกไปทาง ureter อีกทีหนึ่ง

  16. กลไกการสร้างน้ำปัสสาวะกลไกการสร้างน้ำปัสสาวะ ไตผลิตปัสสาวะได้โดยผ่านกระบวนการพื้นฐานที่สำคัญ 3 ขั้นตอน คือ • Filtration • Tubular secretion • Tubular reabsorption

  17. การกรอง (filtration) • เป็นขั้นแรกในการทำให้เกิดปัสสาวะ • เป็นการกรองเลือดที่ glomerulus ผ่านผนังเส้นเลือดฝอย glomerular capillaries ลงไปยัง Bowman's capsule • โดยกรองเอาทุกอย่างที่มีอยู่ในพลาสมายกเว้นโปรตีนและเม็ดเลือด • จากนั้นของเหลวก็จะไหลผ่านไปยังท่อไตส่วนต่างๆ

  18. การดูดซึมกลับ (Reabsorption) • ที่ Proximal convoluted tubule Na+ และน้ำจะถูกดูดซึมกลับ (iso) • ที่ descending loop of Henleดูดซึมน้ำกลับมากแต่อิออนและยูเรียดูดซึมกลับน้อยจึงทำให้ปัสสาวะบริเวณนี้มีความเข้มข้นมาก (hyper) • ที่ aescending loop of Henleเซล์เยื่อบุจะไม่ยอมให้น้ำผ่านได้ แต่ยอมให้อิออนและยูเรียผ่านได้มากจึงทำให้ปัสสาวะเข้มข้นลดลง (iso-hypo)

  19. การดูดซึมกลับ (Reabsorption) ต่อ • ที่ distal convoluted tubule มีการดูดซึม Na+ , Cl- และ HCO3- แต่ขับ K+, H+, NH4+ สู่ปัสสาวะ (morehypo-iso) • Collecting tubule มีการดูดซึม Na+ แต่ขับ K+และ Cl- ออกสู่ปัสสาวะ สำหรับการยอมให้ดูดน้ำกลับขึ้นอยู่กับฮอร์โมน ADH (iso)

  20. การขับออก (Secretion) • คือการขนถ่ายสารจากเลือด (peritubular capillaries) เข้าไปยังท่อไต

  21. ระบบเลือดของไต • เลือดมาเลี้ยงไตทางเส้นเลือดที่ชื่อว่า renal arteries ซึ่งเป็นแขนงของ abdominal aorta ผ่านเข้าไปที่ renal hilus • และแตกแขนงออกไปเป็น afferent arterioles และเป็นกลุ่มเส้นเลือดฝอย glomerular capillaries ที่อยู่บริเวณ Bowman’ capsule • จากนั้นออกไปตามเส้นเลือด efferent arteriole ซึ่งจะแตกแขนงอีกครั้งเป็น peritubular capillaries ก่อนเข้าสู่เส้นเลือดดำ renal vein และ posterior vena cava เข้าสู่หัวใจต่อไป

  22. กรวยไต (Renal pelvis) • แบ่งออกเป็น minor calyces และ major calyces ซึ่งเป็นองค์ประกอบ ส่วนต้นของ ท่อนำน้ำปัสสาวะออกของไต

  23. การควบคุมปริมาณของเหลวและองค์ประกอบแร่ธาตุการควบคุมปริมาณของเหลวและองค์ประกอบแร่ธาตุ • ปัจจัยที่มีผลต่อสมดุลของน้ำในร่างกาย = การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ, ความเข้มข้นของแร่ธาตุ, การกินอาหาร, การดื่มน้ำ, การเสียเลือด • การหลั่งฮอร์โมน ADH - มีผลทำให้มีการดูดน้ำกลับที่ collecting duct มากขึ้น • การหลั่งฮอร์โมน Aldosterone - มีผลทำให้มีการดูด Na+กลับj distal convolute tubule มากขึ้น

  24. Antidiuretic hormone (ADH) หรือ vasopressin • เปนโปรตีนฮอรโมน คัดหลั่งจากต่อมใต้สมองส่วนหลัง • หน้าที่คือรักษาระดับน้ำภายในร่างกายเอาไว้ • กระตุ้นการบีบตัวของเส้นเลือดแดงทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น • หากดื่มน้ำมากจะไม่มีการหลั่ง ADH

  25. อัลโดสเตอโรน (aldosterone) • เปนสเตอรอยดฮอรโมนสร้างจากต่อมหมวกไตชั้นนอก • ทำหน้าที่ควบคุมการดูดกลับของ Na+ที่หลอดไต • การหลั่งฮอรโมน aldosterone เกิดจากสภาวะที่เลือดมีความดันต่ำเนื่องจากการขาดน้ำ หรือการมี Na+ลดลงในเลือด

  26. Renin-angiotensin system • ความดันใน affarent arterioleลดลง และปริมาณของ Na+ ที่บริเวณตอนต้นของ distal convolute tubule ลดลง มีผลไปกระตุ้นกลุ่มเซลล์ juxtaglomerular apparatus ที่อยู่รอบๆ affarent arterioleให้หลั่งเอนไซม์ Renin • เอนไซม์Renin จะเปลี่ยน angiotensinogen ให้เป็น angiotensin I และ angiotensin II ซึ่งจะมีผลทำให้เส้นเลือดหดตัวและความดันในเลือดเพิ่มขึ้น

  27. เส้นเลือดหดตัว เพิ่มการดูดซึม Na+ และ น้ำ ที่ DCT และ CT

  28. การควบคุมสมดุลกรดเบสโดยไตการควบคุมสมดุลกรดเบสโดยไต • โดยปกติแล้วเลือดแดงมี pH ประมาณ 7.4 และเลือดดำมี pH ประมาณ 7.35 • ถ้าเกิด acidosis คือร่างกายมี CO2 ในเลือดมาก แพร่เข้าสู่เซลล์เยื่อบุผิวกลายเป็นกรดคาร์บอนิก (H2CO3) • จากนั้นจะแตกตัวมีผลทำให้ H+เพิ่มมากขึ้น ไตต้องรักษาสมดุลโดยการกำจัด H+ ออกทางน้ำกรอง • โดย H+จะรวมตัวกับ NH3เป็น NH4+ แล้วจับกับ Cl-ในรูป NH4Clแล้วออกทางปัสสาวะ

  29. การควบคุมสมดุลกรดเบสโดยไตการควบคุมสมดุลกรดเบสโดยไต • เมื่อเกิดภาวะ Alkalosis ไตต้องรักษาสมดุลโดยการกำจัด HCO3-ออกทางน้ำกรองมากกว่า H+ • HCO3-ก็จะจับกับไอออนบวกในน้ำกรองแล้วถูกขับออกทางปัสสาวะ • H+ในเลือดก็จะสูงขึ้น pH ในร่างกายก็จะกลับคืนสู่ปกติ

  30. THANK YOU

More Related