1 / 24

สัมมนาเชิงปฏิบัติการ

สัมมนาเชิงปฏิบัติการ. ทางออกของนโยบายการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท. จัดโดย สภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย วิทยากร ดร.วิไลลักษณ์ สกุลภักดี.

sierra-roth
Télécharger la présentation

สัมมนาเชิงปฏิบัติการ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สัมมนาเชิงปฏิบัติการ ทางออกของนโยบายการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท จัดโดยสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทยวิทยากรดร.วิไลลักษณ์ สกุลภักดี รองประธานกรรมการ คณะกรรมการจัดการเรียนรู้ด้านการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงศึกษาธิการประธานที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตประธานกรรมการบริษัท เอส.วี.พี.คอนซัลติ้งกรุ๊ป จำกัด และบริษัทในเครือเอส.วี.พี.กรุ๊ปwww.svp-group.comโทร.02-561-4000-3 (30 เลขหมาย)

  2. ทางออกของนโยบายการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท

  3. ค่าจ้างขั้นต่ำของไทย ประเทศไทยได้นำหลักการของ ILO (International Labour Organization ) มาประยุกต์ใช้ในกำหนดค่าจ้างโดยให้นิยามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำคือ “ ค่าจ้างที่จ่ายให้แรงงานไร้ฝีมือหนึ่งคนเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ตามสมควรแต่สภาพเศรษฐกิจและสังคมในท้องถิ่น”

  4. ย้อนอดีตการปรับค่าแรงขั้นต่ำของไทยย้อนอดีตการปรับค่าแรงขั้นต่ำของไทย การกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำนั้นมีเป้าหมายเพื่อคุ้มครองแรงงานไร้ฝีมือเมื่อแรกเข้าทำงาน เริ่มบังคับใช้ครั้งแรกวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2516 โดยเริ่มกำหนดในสี่จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี และ ปทุมธานี เดิมการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำจะใช้คณะกรรมการค่าจ้างแห่งชาติ เป็นกลไกไตรภาคีที่กำหนดอัตราค่าจ้างอัตราเดียวทั่วประเทศ ต่อมาเดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2544 ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำใหม่โดยมีคณะกรรมการค่าจ้างขั้นต่ำประจำจังหวัดเป็นผู้กำหนด ปัจจุบันระบบการปรับค่าแรงขั้นต่ำกำลังย้อนหลังเข้าระบบการปรับค่าจ้างแบบเดิมคือใช้อัตราค่าแรงขั้นต่ำเดียวกันทั่วประเทศ ซึ่งรอประกาศบังคับใช้ในรัฐบาลปี 2554

  5. หลักการพิจารณาค่าแรงขั้นต่ำของไทยหลักการพิจารณาค่าแรงขั้นต่ำของไทย แบ่งพิจารณาออกเป็น 3 ด้านคือ • ความจำเป็นในการครองชีพของลูกจ้าง ซึ่งหมายความว่าจังหวัดที่มีค่าครองชีพสูง ควรมีระดับค่าจ้างขั้นต่ำสูงกว่าจังหวัดอื่น • ความสามารถในการจ่ายของลูกจ้าง โดยพิจารณาจากแรงงานไร้ฝีมือคือแรงงงานมี่มีวุฒิการศึกษาระดับต่ำกว่า ม.6 และไม่เคยทำงานมาก่อนหรือทำงานมาไม่เกิน 1ปี • คณะกรรมการค่าจ้าง เป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการกำหนดค่าจ้าง รวมทั้งการให้ความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายค่าจ้างทั้งค่าจ้างขั้นต่ำและค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงานโดยปกติจะมีการประชุมเพื่อปรับค่าจ้างขั้นต่ำทุกปี แต่จะปรับหรือไม่นั้นขึ้นอยู่ความเหมาะสม

  6. อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554

  7. อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554(ต่อ)

  8. ผลกระทบการปรับค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท/วันทั่วประเทศ

  9. ต้นทุนค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มขึ้นที่แท้จริง (จากผลกระทบค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท/วัน)

  10. เปรียบเทียบค่าแรงขั้นต่ำกับประเทศเพื่อนบ้านเปรียบเทียบค่าแรงขั้นต่ำกับประเทศเพื่อนบ้าน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย /14/7/54, Postoday 22/2/2010

  11. ทางออกของนโยบายการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทในมุมมองของนักบริหารและนักบัญชี ทำ C Q D ( Cost, Quality, Delivery) 1. C = Cost ต้นทุนคงที่ หรือต้นทุนต่ำเทียบเท่าคู่แข่งขัน 2. Q = Quality คุณภาพที่ดี 3. D = Delivery การส่งมอบตรงเวลา รวดเร็ว ประหยัดเวลา

  12. C COST หลักการบริหารต้นทุนให้ลดลงแต่ได้ผลผลิตที่มีคุณค่าเท่าเดิมคือ การบริหารโดยใช้กระบวนการและกิจกรรมของการเพิ่มผลผลิตร่วมกับการบริหารเพื่อให้ต้นทุนลดลงแต่ได้ผลผลิตที่มีคุณค่า / คุณภาพเท่าเดิม •หลักการลดความสูญเสียและสิ้นเปลืองของปัจจัยการผลิต ประกอบด้วย 4Zeroคือ • Zero Defectหมายถึงของเสียต้องไม่มี • Zero Delayหมายถึงการรอต้องไม่มี / ไม่เสียเวลา • Zero Inventoryหมายถึงวัตถุดิบ / ผลิตภัณฑ์ไม่ตกค้าง • Zero Accidentหมายถึงอุบัติเหตุต้องไม่เกิด

  13. ZERO DEFECTต้องไม่สูญเสียและสิ้นเปลืองปัจจัยการผลิต • การผลิตสินค้าที่เกินความต้องการ ซึ่งอาจเกิดจากการปฏิบัติงานที่ผิดพลาด ขาดประสิทธิภาพ หรือเกิดจากการผลิตที่เผื่อเอาไว้มากเกินไป • แนวทางแก้ไข คือวิเคราะห์หาจุดบกพร่องในการปฏิบัติงานและปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพสูงทั้งในด้านคน เครื่องจักร วัสดุอุปกรณ์ วิธีการปฏิบัติ และสภาพแวดล้อม รวมไปถึงควรปรับปรุงขั้นตอนการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น • การเกิดของเสีย ต้องแก้ไขงาน สาเหตุเกิดจากการขาดการเตรียมความพร้อมของ 4M & 1E (Men, Machine, Material, Method and Environment) และอาจรวมไปถึงการสื่อสาร การควบคุมกระบวนการที่ขาดประสิทธิภาพอีกด้วย • แนวทางแก้ไข คือควรเตรียมความพร้อมก่อนเริ่มลงมือปฏิบัติของ 4M & 1E และต้องเข้าไปหมั่นติดตาม ตรวจสอบการปฏิบัติงานอยู่เสมอเพื่อหาจุดผิดปกติจะได้รีบแก้ไขได้ทันเวลา • ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ สาเหตุมักเกิดจากการออกแบบการทำงานที่ไม่ดีทำให้ขั้นตอนการปฏิบัติงานไม่เหมาะสม เช่น เกิดความซ้ำซ้อน ติดๆ ขัดๆ แล้วยังไม่ดีต้องนำมาปรับแต่งอีกทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่าย รวมทั้งทำให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความยุ่งยาก หรืออาจเกิดจากการขาดมาตรฐานการปฏิบัติงานที่ไม่ดีพอหรือตรงข้าม อาจมีมาตรฐานการปฏิบัติงานที่เข้มงวดเกินความจำเป็น • แนวทางแก้ไข คือควรออกแบบระบบการผลิตให้ดีตั้งแต่ตอนแรกและควรประยุกต์ใช้เครื่องมืออื่นๆ มาช่วยในการควบคุมกระบวนการ และคุณภาพสินค้า • บุคลากร /พนักงาน มีการลาออกบ่อยครั้ง ความสูญเสียที่เกิดขึ้นคือ เวลาและทรัพยากรที่ต้องใช้ในการฝึกอบรมพนักงานใหม่ ซึ่งต้องใช้ระยะเวลามากกว่า 3 เดือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับทักษะของบุคลากรและความยากง่ายของงาน

  14. ZERO DELAY ต้องไม่ให้รอ / ไม่เสียเวลา • การกำหนดทิศทางการไหลของงานที่ไม่เหมาะสมอาจไกลเกินไปซึ่งต้องมีการขนย้ายสินค้าจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ซึ่งในที่นี้มีการขนย้ายทั้งในแนวราบและแนวดิ่งทำให้เสียเวลามากและอาจส่งผลกระทบทำให้เกิดความเสียหายระหว่างที่มีการขนย้ายหรือเคลื่อนย้ายอีกด้วย • การรอคอยงาน สาเหตุจากการรองานที่ไม่มาแล้วก็ไม่รู้จะทำอะไร เพราะเครื่องจักรเสีย แผนกก่อนหน้าไม่เอางานมาส่ง วัตถุดิบขาด รอเอกสาร รอโทรศัพท์ รอการตอบกลับ • แนวทางแก้ไข ควรมีการวางแผนงานให้เหมาะสมเพื่อลดเวลาการรอระหว่างกระบวนการ ควรจัดกระบวนการทำงานให้สมดุลย์ จัดเครื่องมืออุปกรณ์และวัตถุดิบให้พร้อมก่อนเริ่มงานเพื่อลดการว่างงาน แต่ถ้ารองานจริงๆ ก็ควรจัดไปทำงานในแผนกอื่นที่เขาพอทำได้ หรือจัดอบรมเพื่อเพิ่มทักษะ • การเคลื่อนไหวที่ไม่เกิดประโยชน์ สาเหตุจากการออกแบบขั้นตอนวิธีในการปฏิบัติงานที่ไม่เหมาะสม เช่น ต้องเอื้อมไปหยิบของ ต้องก้มตัว ต้องหมุนมือ ต้องยกของ • แนวทางแก้ไข ควรนำแนวคิดการศึกษาการเคลื่อนไหวและการศึกษาเวลาเพื่อมาประยุกต์ใช้ ควรใช้อุปกรณ์เครื่องมือให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับผู้ปฏิบัติงานมากที่สุด เป็นต้น

  15. ZERO INVENTORYต้องมีวัตถุดิบ/ผลิตภัณฑ์ตกค้างในคลังสินค้าใช้ระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี หรือ JIT (Just In Time)มาประยุกต์ใช้ • แผนการผลิตแบบทันเวลาพอดี จะทำให้องค์กรไม่ต้องสำรองวัตถุดิบไว้ใช้นานๆ และไม่ต้องผลิตสินค้าไว้รอให้ลูกค้าสั่ง แต่จะดำเนินการผลิตตามใบสั่งซื้อเท่านั้น • วางแผนการผลิตให้ใช้วัตถุดิบเท่าที่จำเป็น ไม่ให้มีการสูญเสียระหว่างกระบวนการผลิตด้วย • วัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ที่ค้างอยู่ในคลังสินค้า เป็นต้นทุนที่สูงมาก ได้แก่ ค่าก่อสร้าง คลังสินค้า ระบบการเก็บ การรักษา การขนส่ง ปัญหาของคลังสินค้าที่พบ คือ สินค้าสูญหาย สินค้าเสียหาย

  16. 4. ZERO ACCIDENT หมายถึงอุบัติเหตุต้องไม่เกิด • อุบัติเหตุต่อบุคคลกร การไม่ให้มีการเกิดอุบัติเหตุขึ้นเลย  เพราะเมื่อเกิดอุบัติเหตุย่อมทำให้เกิดความสูญเสียต่าง ๆ   แก่องค์การ   หากเกิดอุบัติเหตุกับคนงานอาจจะบาดเจ็บหรือเสียชีวิตย่อมเป็นผลเสียทั้งสิ้น    เนื่องจากการเกิดอุบัติเหตุกับใครคนใดคนหนึ่งเพื่อนหรือผู้ร่วมงานจะต้องหยุดงานของตนเพื่อมาให้การช่วยเหลือรวมทั้งตามไปโรงพยาบาลด้วย  ส่วนพวกที่เหลืออยู่ก็จะเสียขวัญตกใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้การทำงานชะงักไป    • อุบัติเหตุกับเครื่องจักร ก็จะต้องหยุดการทำงานของเครื่องจักรทำให้เกิดการสูญเปล่าของแรงงานและอาจจะต้องเสียวัสดุที่ใช้ไปด้วย เพราะฉะนั้นเมื่อเกิดอุบัติเหตุย่อมหมายถึงการสูญเสียอย่างเดียวเท่านั้น    หลักในการป้องกัน • ดังนั้นผู้บริหารควรจะมีการปลูกฝังให้คนงานได้ตระหนักและเพิ่มความระมัดระวัง   • ผู้บริการต้องมีความรับผิดชอบในด้านความปลอดภัยในการทำงาน    ซึ่งในการออกแบบกระบวนการผลิต จึงต้องเอื้อต่อการทำงาน    แสงสว่างพอดี    สถานที่ทำงานต้องไม่อับทึบ    มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก    อุณหภูมิต้องไม่ร้อนหรือเย็นเกินไป    ถ้าหากต้องมีการใช้พัสดุที่เป็น สารพิษจะต้องมีการให้ ความรู้และควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิดระมัดระวังยิ่งขึ้น    ถ้าหากทำให้ อุบัติเหตุเป็นศูนย์ได้ก็ย่อมจะทำให้ องค์การลดความสูญเสียได้ • มีระบบรักษาความปลอดภัยระหว่างการปฏิบัติงาน

  17. การคัดสรรฝีมือแรงงานที่มีคุณภาพให้สอดคล้องกับอัตราค่าแรงที่สูงขึ้นการคัดสรรฝีมือแรงงานที่มีคุณภาพให้สอดคล้องกับอัตราค่าแรงที่สูงขึ้น วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการเพื่อการเพิ่มมูลค่าให้สอดคล้องกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น การวางแนวนโยบายการประหยัดค่าใช้จ่ายภายในองค์กร เช่น นโยบายการประหยัดพลังงานไฟฟ้า การทำกิจกรรม 5ส เป็นต้น นำแทคโนโลยีมาช่วยในการผลิต นโยบายอื่นๆ เช่น การทำ R&D การทำ TQM กิจกรรมไคเซ็น กิจกรรมข้อเสนอแนะ กิจกรรมกลุ่ม QCC เป็นต้น Q Quality หลักคุณภาพที่ดีคือ ความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยมีการดำเนินการดังนี้

  18. กลยุทธ์การใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการลดต้นทุนโลจิสติกส์ และการเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่ง คือระบบบริหารจัดการการขนส่งสินค้า (Transportation management system ; TMS) ซึ่งเป็นเครื่องมือในการวางแผนการขนส่งเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของธุรกิจการขนส่ง ซึ่งก็คือความรวดเร็วและต้นทุนที่ประหยัดที่สุด องค์ประกอบของระบบ TMS คือการบริหารการจัดการด้านขนส่ง (Transportation manager) ซึ่งมีหน้าที่ในการวางแผนการดำเนินงานขนส่งและอีกองค์ประกอบหนึ่ง คือการเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่ง (Transportation optimizer) มีหน้าที่ช่วยตัดสินใจในเรื่องการบรรทุกสินค้าและการจัดวางเส้นทางให้มีประสิทธิภาพสูงสุดภายใต้ข้อจำกัดต่างๆ D Delivery การส่งมอบที่ทันต่อเวลาประหยัดค่าใช้จ่ายและสินค้าตรงตามคุณภาพที่ต้องการ

  19. หากผู้ประกอบการสามารถนำระบบการบริหารการจัดการขนส่งที่มีประสิทธิภาพมาใช้ในกิจกรรมการขนส่งขององค์กร จะทำให้องค์กรของผู้ประกอบการสามารถบรรลุองค์ประกอบของการส่งมอบแบบ 5Rs Delivery ดังนี้ 1. Right Place : ส่งมอบตรงสถานที่ 2. Right Time : ตรงเวลาที่ลูกค้าต้องการ 3. Right Quantity : ตรงตามปริมาณที่ลูกค้าต้องการ 4. Right Quality : สินค้าตรงตามคุณภาพที่ตกลง 5. Right Cost : การส่งสินค้าตามราคาที่แข่งขัน องค์ประกอบของการส่งมอบแบบ 5Rs Delivery

  20. ถ้าองค์กรของคุณสามารถบรรลุการส่งมอบแบบ 5Rs Delivery จะทำให้เกิด JIT : Just in Time คือ “การส่งมอบแบบทันเวลา ถูกต้อง ถูกสถานที่ ตรงตามความต้องการภายใต้ต้นทุนที่แข่งขัน” เพื่อให้องค์กรมีการพัฒนาประสิทธิภาพการขนส่งอย่างต่อเนื่อง สิ่งที่ผู้บริหารต้องตรวจติดตามโดยตลอดคือ ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานในการจัดส่งสินค้าและบริการ โดยองค์กรควรมีกำหนดดัชนีวัดผลการปฏิบัติงาน (Key Performance Indicator : KPI) ซึ่ง KPI ที่นิยมใช้วัดประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการขนส่ง ได้แก่ 1. On-Time Delivery 2. Damage 3. Demurrage (Delay) 4. Assessorial (Evaluation) 5. Appointments 6. Freight Bill Accuracy ในการกำหนด KPI สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเสมอคือ ควรจะวัดให้ครบทุกมิติของโลจิสติกส์ มิใช่วัดเฉพาะด้านต้นทุนเพียงอย่างเดียว ดังนั้นการกำหนด KPI ที่ดีต้องครอบคลุมในเรื่องต่างๆ ดังนี้ Flexibility, Efficiency, Ability และ Responsiveness และที่สำคัญอย่างยิ่งที่ไม่ควรลืมคือ ความปลอดภัยในการขนส่ง KPI ที่ใช้วัดประสิทธิภาพด้านการขนส่ง

  21. วิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิด • ต้นทุนในส่วนของแรงงานมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 51.36 • กิจการมีค่าใช้จ่ายในส่วนของลูกจ้างเช่นประกันสังคม และค่าใช้จ่ายสวัสดิการอื่น ๆ ที่มีราคาสูงขึ้นตามระดับเงินเฟ้อเฉลี่ยร้อยละ 11.02 • ความเหลื่อมล้ำของค่าครองชีพของลูกจ้างที่ต่างพื้นที่กัน แต่อัตราค่าแรงขั้นต่ำเป็นอัตราเดียวกันทั่วประเทศ • ปัญหาแรงงานหายากของของพื้นที่ในเขตที่มีค่าครองชีพสูง • ปัญหาต้นทุนของภาคธุรกิจที่สูงขึ้นอาจส่งผลกระทบให้ต้องปิดตัวลงซึ่งปัญหาที่ต้องตามมาคือปัญหาการว่างในประเทศที่สูงขึ้น

  22. ผลกระทบเชิงมหภาค หากมีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำตามนโยบายของรัฐบาลใหม่ • ผลกระทบด้านการส่งออกภาคการส่งออกใน 15 กลุ่มอุตสาหกรรมซึ่งใช้แรงงานเข้มข้นจะได้รับผลกระทบ ต่อต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ซึ่งจะทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออกลดลง เป็นปัญหาโครงสร้างทางเศรษฐกิจระยะยาว • ผลกระทบทางด้านเงินเฟ้อ กระทบต่อโครงสร้างค่าจ้างเป็นลูกโซ่ทั้งแผงกระทบต่อแรงงานในระบบ ประมาณ 8.5 ล้านคน ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น (Cost push Inflation Effect ต้นทุนของภาคการผลิต ซึ่งผู้บริโภคจะเป็นผู้รับค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ เมื่อบวกกับเงินเฟ้อ ที่เกิดจากนโยบาย (ประชานิยม) ของพรรคการเมืองในช่วงหาเสียง จะส่งผลให้เกิดเงินเฟ้อแบบทวีคูณ (Inflation Multiplier) ส่งผลกระทบไปสู่อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น • การกระจายรายได้จะกระจุกตัวการใช้ค่าจ้างขั้นต่ำในอัตราเดียวทั่วประเทศจะส่งผลให้อุตสาหกรรมกระจุกตัวอยู่ในเขตเมืองใหญ่ โดยเฉพาะในปริมณฑลหากมีการปรับค่าจ้างเท่ากันทั่วประเทศจะทำให้แรงงานไหลกลับเข้ามาทำงานในส่วนกลางมากขึ้น • ผลกระทบด้านการลงทุน ในระยะสั้น และระยะกลาง ประเทศไทยยังจำเป็นต้องพึ่งพาการลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) เนื่องจากจะมีแรงงานไม่ต่ำกว่าปีละ 5-7 แสนคนเข้าสู่ระบบจำเป็นที่จะต้องอาศัยการลงทุนจากต่างประเทศ ซึ่งหากค่าจ้างของไทยสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน (เช่น เวียดนาม อัตราจ้างของไทยสูงกว่า 2.3 เท่า) • แรงงานผิดกฎหมายจะไหลเข้ามาสู่ระบบมากขึ้นการที่ประเทศไทยมีการปรับค่าจ้างที่สูงกว่าเพื่อนบ้านมาก จะเป็นการกดดันให้มีแรงงานผิดกฎหมายไหลเข้าสู่ประเทศไทยมากขึ้นกว่าเดิม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย /14/7/54

  23. สรุป จากการสัมมนาเชิงปฏิบัติการของสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2554 ณ โรงแรมสวิสโซเทล เลอ คอนคอร์ด 1. วาระเร่งด่วนปรับปรุงกฎหมาย 2. รัฐบาลรับภาระค่าใช้จ่ายแทนนายจ้างและลูกจ้าง 3. มาตรการด้านภาษีและการส่งเสริมการลงทุน 4. แหล่งเงินกู้และการสนับสนุนทางการเงิน และการสัมมนาในวันนี้เรื่องการทำ C Q D Download ppt slide www.ecot.or.th, www.hrchonburi.or.th

  24. ขอบคุณค่ะ

More Related