1 / 69

หมวดที่ 4 ความรู้เกี่ยวกับ การลงทุนในตลาดเงินและตลาดทุนเบื้องต้น

หมวดที่ 4 ความรู้เกี่ยวกับ การลงทุนในตลาดเงินและตลาดทุนเบื้องต้น. หัวข้อการบรรยาย. รู้จักตราสารการลงทุนเบื้องต้น การกำหนดนโยบายการลงทุน และ Benchmark ที่เหมาะสม. ส่วนที่ 1 รู้จักตราสารการลงทุนเบื้องต้น. ประเภทของตลาดการเงิน (Financial Market). สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ.

sol
Télécharger la présentation

หมวดที่ 4 ความรู้เกี่ยวกับ การลงทุนในตลาดเงินและตลาดทุนเบื้องต้น

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. หมวดที่ 4 ความรู้เกี่ยวกับ การลงทุนในตลาดเงินและตลาดทุนเบื้องต้น

  2. หัวข้อการบรรยาย • รู้จักตราสารการลงทุนเบื้องต้น • การกำหนดนโยบายการลงทุน และ Benchmark ที่เหมาะสม

  3. ส่วนที่ 1รู้จักตราสารการลงทุนเบื้องต้น

  4. ประเภทของตลาดการเงิน(Financial Market) สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ • ตลาดเงิน(Money Market) หมายถึง แหล่งระดมเงินออม และการให้สินเชื่อระยะสั้นไม่เกิน 1 ปี ได้แก่ เงินฝาก บัตรเงินฝาก ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วแลกเงิน และตั๋วเงินคลัง เป็นต้น • ตลาดทุน(Capital Market) หมายถึง แหล่งระดมเงินออมและการให้สินเชื่อระยะยาวตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไป

  5. ช่องทางการระดมเงินทุนในตลาดทุน(Capital Market) 1. ตลาดตราสารทุน(Stock Market) เป็นตลาดซื้อขายตราสารทางการเงิน ประเภทหุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ์ 2. ตลาดตราสารหนี้(Debt Market) เป็นตลาดซื้อขายตราสารทางการเงิน ประเภทพันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ หุ้นกู้ภาคเอกชน 3. ตลาดตราสารอนุพันธ์(Derivative Market) ซึ่งเป็นตลาดซื้อขายตราสารที่มีความเชื่อมโยงหรืออ้างอิงกับตราสารในตลาดตราสารทุนและตลาดตราสารหนี้ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการลดความเสี่ยงจากการลงทุนในตลาดตราสารทั้ง 2 แห่ง ได้แก่ ออปชัน (Options) หรือ ฟิวเจอร์ (Futures) เป็นต้น

  6. ประเภทของตลาดตราสารหนี้และตราสารทุนประเภทของตลาดตราสารหนี้และตราสารทุน 1. ตลาดแรก(Primary Market)หมายถึง การที่ผู้ออกตราสารได้ออกและเสนอขายตราสารทางการเงินประเภทต่างๆ เพื่อระดมเงิน โดยเป็นตราสารใหม่ที่จำหน่ายแก่ผู้ลงทุนครั้งแรก 2. ตลาดรอง(Secondary Market)หมายถึง การซื้อขายตราสารทางการเงินประเภทต่างๆ ที่ได้ผ่านการซื้อขายในตลาดแรกมาแล้วตลาดรองที่ผู้ลงทุนสามารถซื้อขายตราสารทางการเงินได้อย่างคล่องตัว ย่อมทำให้ตราสารทางการเงินประเภทนั้น ๆ ได้รับความสนใจจากผู้ลงทุนมากยิ่งขึ้น

  7. ตลาดเงิน (Money Market) ผู้ลงทุนให้กู้ไม่เกิน 1 ปี ผู้ออกตราสาร / “ลูกหนี้” ผู้ลงทุน / “เจ้าหนี้” ชำระดอกเบี้ยและเงินต้นตามกำหนด

  8. ตลาดเงิน(Money Market) ตราสารในตลาดเงิน คือ ตราสารแสดงความเป็นหนี้ หรือสัญญาเงินกู้ชนิดหนึ่งที่มีความเป็นมาตรฐานที่ผู้กู้หรือผู้ออกตราสารออกให้แก่ผู้ลงทุนหรือผู้ถือตราสาร โดยสัญญาว่าจะใช้เงินตามกำหนด และจ่ายดอกเบี้ยตามกำหนด ส่วนใหญ่จะไม่นิยมซื้อขายเปลี่ยนมือกัน ผู้ลงทุนมักถือตราสารจนกว่าจะครบอายุ เนื่องจากอายุของตราสารไม่ยาวนานส่วนมากไม่เกินหนึ่งปี

  9. ประเภทของตราสารในตลาดเงินประเภทของตราสารในตลาดเงิน 1. เงินฝาก(Deposit) ได้แก่ เงินฝากออมทรัพย์หรือสะสมทรัพย์ เงินฝากประจำ3 เดือน 6 เดือน 1 ปี เป็นต้น 2. บัตรเงินฝากเปลี่ยนมือได้(Negotiable Certificate of Deposit) ตราสารแสดงการฝากเงินกับธนาคารที่สามารถแลกเปลี่ยนมือได้ในตลาดรอง 3. ตั๋วเงินคลัง(Treasury Bill) เป็นตราสารหนี้ของรัฐบาลที่ออกโดยกระทรวงการคลัง มีอายุไม่เกิน 1 ปี ตั๋วเงินคลังเป็นตราสารที่ไม่จ่ายผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย แต่จะให้ผลตอบแทนในลักษณะของส่วนลด (Discount)การซื้อขายตั๋วเงินคลังจึงซื้อขายกันที่ราคาต่ำกว่าราคาที่ตราไว้

  10. ประเภทของตราสารในตลาดเงิน (ต่อ) 4. ตั๋วแลกเงิน(Bill of Exchange) เป็นตราสารการเงินระยะสั้นของภาคเอกชนส่วนใหญ่จะมีธนาคารหรือสถาบันการเงินค้ำประกัน หรือรับรอง หรือรับอาวัล หรือสลักหลังอย่างไม่มีเงื่อนไข 5. ตั๋วสัญญาใช้เงิน(Promissory Note) เป็นตราสารการเงินระยะสั้น โดยส่วนใหญ่จะเปลี่ยนมือไม่ได้ (Non-negotiable) และมักจะแสดงข้อความนั้นไว้บนหน้าตั๋ว หากตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นมีธนาคารหรือสถาบันการเงินค้ำประกัน หรือรับรอง หรือรับอาวัล ตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นก็สามารถนำมาซื้อขายในตลาดเงินได้

  11. ตลาดตราสารหนี้(Debt Market) ผู้ลงทุนให้กู้เกินกว่า 1 ปี ผู้ลงทุน / “เจ้าหนี้” ผู้ออกตราสาร / “ลูกหนี้” ชำระดอกเบี้ยและเงินต้น ตามกำหนด

  12. ตลาดตราสารหนี้(Debt Market) ตราสารหนี้ คือ ตราสารแสดงความเป็นหนี้ หรือสัญญาเงินกู้ชนิดหนึ่งที่มีความเป็นมาตรฐานที่ผู้กู้ออกให้แก่ผู้ลงทุน โดยสัญญาว่าจะใช้เงินตามกำหนด และจ่ายดอกเบี้ยตามกำหนด ทั้งนี้ ตราสารหนี้มีคุณสมบัติที่สามารถแบ่งเป็นหน่วยย่อย ๆ ที่เท่า ๆ กัน โดยได้ผลประโยชน์หรืออัตราผลตอบแทนเท่ากันทุกหน่วย และมีคุณสมบัติที่สามารถซื้อขายเปลี่ยนมือกันได้ จนกว่าจะหมดอายุของตราสารนั้น

  13. ประเภทของตราสารหนี้ ตราสารหนี้สามารถแบ่งได้หลายรูปแบบ ได้แก่ • แบ่งตามประเภทของผู้ออกตราสาร • แบ่งตามสิทธิการเรียกร้อง • แบ่งตามสินทรัพย์ที่นำมาค้ำประกัน • แบ่งตามอายุจนถึงวันครบกำหนดของตราสาร เช่น เป็นตราสารหนี้ระยะสั้นหรือตราสารในตลาดเงิน/ ตราสารหนี้ระยะยาว เป็นต้น

  14. ประเภทของตราสารหนี้ • ตราสารหนี้ภาครัฐ ได้แก่ • 1. พันธบัตรรัฐบาล (Government Bond) • 2. พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ (State-Owned Enterprise Bond) • 3. พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย (Bank of Thailand Bond) • 4. พันธบัตรกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน • (Financial Institutions Development Fund : FIDF Bond)

  15. ประเภทของตราสารหนี้ • ตราสารหนี้ภาคเอกชน ได้แก่ • 1. หุ้นกู้(Debenture) • 2. หุ้นกู้มีประกัน(Secured debt) มีการค้ำประกันหนี้โดยบุคคลที่สาม (ส่วนใหญ่ได้แก่ บริษัทแม่หรือสถาบันการเงิน) หรือมีการวางหลักทรัพย์ไว้เป็นประกันการชำระหนี้ ผู้ลงทุนทรงสิทธิของความเป็นเจ้าหนี้เหนือกว่าเจ้าหนี้รายอื่น • 3. หุ้นกู้ไม่มีประกัน(Non-secured debt) ปลอดการค้ำประกัน และปลอดหลักทรัพย์ที่วางไว้เป็นประกันการชำระหนี้ ผู้ลงทุนทรงสิทธิของความเป็นเจ้าหนี้ด้อยกว่าหุ้นกู้มีประกัน • 4. หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ(Senior debt) ผู้ลงทุนทรงสิทธิของความเป็นเจ้าหนี้เท่าเทียมกับเจ้าหนี้รายอื่น แต่ด้อยกว่าหุ้นกู้มีประกัน • 5. หุ้นกู้ด้อยสิทธิ (Subordinated debt) ผู้ลงทุนทรงสิทธิของความเป็นเจ้าหนี้ เป็นรองเจ้าหนี้รายอื่นที่ไม่ด้อยสิทธิ นั่นคือ ได้รับชำระหนี้คืนหลังสุด

  16. ผลตอบแทนของตราสารหนี้ผลตอบแทนของตราสารหนี้ • ดอกเบี้ยรับ(Interest Received) ผู้ลงทุนจะได้รับดอกเบี้ยเป็นประจำ ตามจำนวนเงินที่คำนวณจากอัตราดอกเบี้ยที่ตราไว้ (coupon rate)บนตราสารหนี้ และตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ • 2.ส่วนลดรับ(Discount Earned) ในกรณีของตราสารหนี้ประเภท Zero coupon bond ผู้ลงทุนสามารถซื้อตราสารหนี้ในราคาซื้อลด หรือในมูลค่าที่ต่ำกว่าจำนวนเงินหน้าตั๋ว (Face value) ที่ระบุไว้ว่าจะใช้คืนในวันกำหนดชำระ

  17. ผลตอบแทนของตราสารหนี้ผลตอบแทนของตราสารหนี้ 3.กำไร (ส่วนเกินทุน) หรือขาดทุน (Capital Gain/Loss) - เมื่ออัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินลดลง ตราสารหนี้ที่มี Coupon rate ที่ตราไว้ในอัตราสูงกว่า จะมีราคาซื้อขายในตลาดรองสูงขึ้น เกิดเป็นกำไร หรือส่วนเกินทุน (Capital Gain) - เมื่ออัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินสูงขึ้น ตราสารหนี้ที่มี Coupon rate ที่ตราไว้ในอัตราต่ำกว่า จะมีราคาซื้อขายในตลาดรองลดต่ำลง เกิดเป็น ขาดทุน (Capital Loss)

  18. ความเสี่ยงการลงทุนในตราสารหนี้ความเสี่ยงการลงทุนในตราสารหนี้ • Interest Rate Risk (หรือ Market Risk) • ความเสี่ยงที่เกิดจากอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินผกผัน เช่น เมื่ออัตรา • ดอกเบี้ยในตลาดเงินขยับตัวสูงขึ้นหรือมีท่าทีว่าจะขยับตัวสูงขึ้น อัตราดอกเบี้ย • ที่ตราไว้ (coupon rate) ของตราสารหนี้ที่ออกใหม่ก็จะสูงขึ้นด้วย ตราสารหนี้ • ที่ออกมาก่อนหน้าและมีการซื้อขายในตลาดรองก็จะมีการซื้อขายในระดับราคา • ที่ลดลง เพื่อดึงให้อัตราผลตอบแทน (Yield) ขยับสูงขึ้นไปอยู่ในระดับที่เทียบเคียง • กันกับอัตราดอกเบี้ยปัจจุบัน • ดังนั้น ยิ่งตราสารหนี้ที่มีอายุยาวเพียงใด หรือมีอัตราดอกเบี้ยที่ตราไว้ • (coupon rate) ต่ำเพียงใด ตราสารหนี้นั้นก็จะมีความเสี่ยงต่ออัตราดอกเบี้ย • ที่อาจจะปรับตัวสูงขึ้นในอนาคตมากขึ้นเท่านั้น

  19. ตัวอย่าง Yield ในตลาดรองปรับตัวสูงขึ้นตาม ราคาพันธบัตร ปรับตัวลดลง i Interest rate ปรับตัวสูงขึ้น ขาดทุน (Capital Loss)

  20. ความเสี่ยงการลงทุนในตราสารหนี้ความเสี่ยงการลงทุนในตราสารหนี้ 2. Credit Risk(หรือ Default Risk) ความเสี่ยงที่เกิดจากการที่ผู้ออกตราสารหนี้ไม่สามารถจ่ายชำระดอกเบี้ย หรือชำระคืนเงินต้นได้เต็มตามจำนวนเงิน หรือตามเวลาที่กำหนดไว้ ตั๋วเงินคลังของรัฐบาล แทบไม่มี credit risk เลย ในขณะที่ตั๋วเงิน หรือหุ้นกู้ หรือตราสารหนี้ประเภทอื่น ๆ ที่ออกโดยภาคเอกชน จะมี creditrisk มากบ้าง น้อยบ้าง ในระดับที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความสามารถในการจ่ายชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยของผู้ออกตราสารหนี้นั้น ๆ

  21. ความเสี่ยงการลงทุนในตราสารหนี้ความเสี่ยงการลงทุนในตราสารหนี้ 3. Purchasing Power Risk ความเสี่ยงต่อการมีอำนาจซื้อที่ลดลงในอนาคต ภาวะเงินเฟ้อมีอิทธิพลต่ออำนาจซื้อของผู้ลงทุน ผู้ลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอายุยาวมีความเสี่ยงต่อภาวะเงินเฟ้อและอำนาจซื้อที่ลดลงในอนาคต เพราะดอกเบี้ยที่ได้รับจากการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอายุยาว จะมีจำนวนเงินที่ได้รับในแต่ละงวดเท่าเดิมตลอดอายุของตราสารหนี้นั้น ในขณะที่ภาวะเงินเฟ้อทำให้ราคาสิ่งของแพงขึ้น ดังนั้น ถ้าภาวะเงินเฟ้อสูงขึ้น ผลตอบแทนที่แท้จริง (real return)ของการลงทุนในตราสารหนี้จะลดลง และทำให้อำนาจซื้อของผู้ลงทุนลดลงด้วย

  22. ความเสี่ยงการลงทุนในตราสารหนี้ความเสี่ยงการลงทุนในตราสารหนี้ 4.Reinvestment Risk ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการที่ผู้ลงทุนนำดอกเบี้ยรายงวดที่ได้รับจากตราสารหนี้ไปลงทุนต่อในตราสารที่ให้อัตราผลตอบแทนที่ลดลงจากเดิมในจังหวะเวลาขณะที่อัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินเป็นช่วงที่มีอัตราลดต่ำลง ถึงแม้ว่าตราสารหนี้ที่ลงทุนไว้จะมีอัตราดอกเบี้ยที่ตราไว้คงที่ก็ตาม แต่กระแสเงินสดที่ผู้ลงทุนได้รับจากดอกเบี้ยเป็นงวด ๆ จะถูกนำไปลงทุนใหม่อีกครั้งในตราสารอื่นที่มีอัตราดอกเบี้ยลดต่ำลงจึงทำให้อัตราผลตอบแทนโดยรวมในการลงทุนในตราสารหนี้ของผู้ลงทุนนั้นลดลง

  23. ความเสี่ยงการลงทุนในตราสารหนี้ความเสี่ยงการลงทุนในตราสารหนี้ 5. Rollover Risk ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในกรณีตราสารหนี้ที่ลงทุนไว้เดิมครบกำหนดอายุ ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินลดลง และผู้ลงทุนต้องนำเงินต้นที่ได้รับชำระคืนจากตราสารหนี้นั้นไปลงทุนในตราสารหนี้ใหม่ที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำลง ในกรณีเช่นนี้ อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนรอบใหม่จะลดลง ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่มีลักษณะเหมือนกับ Reinvestment Risk แต่จะเกิดกับเงินต้น

  24. ความเสี่ยงการลงทุนในตราสารหนี้ความเสี่ยงการลงทุนในตราสารหนี้ 6. Call Risk ความเสี่ยงที่เกิดจากการที่ผู้ออกตราสารหนี้ขอชำระคืนหนี้ก่อนครบกำหนด ความเสี่ยงประเภทนี้จะเกิดขึ้นเฉพาะกับตราสารหนี้ที่มีการระบุเงื่อนไข call option ไว้ล่วงหน้าว่า ผู้ออกตราสารหนี้มีสิทธิที่จะจ่ายชำระคืนหนี้ได้ก่อนกำหนด ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นเมื่ออัตราดอกเบี้ยลดลง และผู้ออกตราสารหนี้สามารถหาแหล่งเงินทุนอื่น ที่มีต้นทุนต่ำกว่ามาจ่ายคืน (Refinancing)ผู้ลงทุนในตราสารหนี้ประเภทนี้ จะถูกบังคับให้รับคืนเงิน และต้องนำเงินที่ได้รับคืนนั้น ไปลงทุนใหม่ในตราสารอื่น ที่มีอัตราผลตอบแทนที่ต่ำกว่าเดิมที่เคยได้รับ

  25. ความเสี่ยงการลงทุนในตราสารหนี้ความเสี่ยงการลงทุนในตราสารหนี้ 7. Prepayment Risk ความเสี่ยงที่เกิดจากการที่ลูกหนี้จ่ายชำระคืนหนี้ก่อนครบกำหนดอายุ เช่นเดียวกับ Call Risk แต่ความเสี่ยงประเภท Prepayment Risk นี้ มักจะเกิดขึ้นกับตราสารหนี้ประเภทที่มีบัญชีลูกหนี้พร้อมหลักทรัพย์จดจำนองเป็นประกันการชำระคืนของตราสารหนี้นั้น (Mortgaged-back securities) หากลูกหนี้ตามสัญญาจำนองชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยก่อนกำหนดและถอนหลักทรัพย์ค้ำประกัน ตราสารหนี้นั้น ก็จะต้องรับคืนเงินก่อนกำหนด และหากอยู่ในระหว่างอัตราดอกเบี้ยขาลง ผู้ลงทุนในตราสารหนี้ก็จะเสียเปรียบ เช่นเดียวกับกรณีของ Reinvestment Risk

  26. ความเสี่ยงการลงทุนในตราสารหนี้ความเสี่ยงการลงทุนในตราสารหนี้ 8. Currency Risk หรือ Exchange Rate Risk ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเปลี่ยนแปลง จะเกิดขึ้นกับกรณีของการลงทุนข้ามประเทศ 9.Liquidity Risk ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการขาดสภาพคล่องในการซื้อขายเปลี่ยนมือของตราสารหนี้มักจะเกิดขึ้นกับการลงทุนในตราสารหนี้ที่ไม่เป็นที่นิยม และมีปริมาณซื้อขายในตลาดรองน้อยมาก หากผู้ลงทุนประสงค์จะขายตราสารหนี้เพื่อแลกเปลี่ยนเป็นเงินสด ผู้ลงทุนอาจจะต้องยอมลดราคาขายลงต่ำกว่าราคาตลาดโดยทั่วไป

  27. ความเสี่ยงการลงทุนในตราสารหนี้ความเสี่ยงการลงทุนในตราสารหนี้ 10. Event Risk ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญต่อนโยบายในการดำเนินงานของผู้ออกตราสารหนี้ เช่น การเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นรายใหญ่หลังจากการถือครอบงำกิจการ และอาจมีดุลพินิจที่ไม่เป็นคุณแก่เจ้าหนี้ตราสารหนี้เดิม เช่น การประกาศเพิ่มอัตราส่วนการจ่ายเงินปันผลต่อกำไร (payout ratio) ซึ่งหมายถึง กระแสเงินสดจำนวนมากที่จะต้องจ่ายเป็นเงินปันผลประจำปี และมีผลทำให้ฐานทุนของบริษัทลดความเข้มแข็งลง

  28. ตราสารหนี้และความเสี่ยงของตราสารหนี้แต่ละประเภทตราสารหนี้และความเสี่ยงของตราสารหนี้แต่ละประเภท

  29. การจัดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้การจัดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ การจัดอันดับความน่าเชื่อถือ มีความสำคัญต่อการกำหนดความยอมรับของนักลงทุน ผู้ออกหุ้นกู้หรือหุ้นกู้ใด มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่า หมายถึง ผู้ออกหุ้นกู้หรือหุ้นกู้นั้น มีโอกาสในการผิดนัดชำระหนี้สูงกว่า จึงมีความเสี่ยงในการลงทุนสูงกว่า เพื่อให้หุ้นกู้ที่ออกเป็นที่น่าสนใจ ผู้ออกหุ้นกู้นั้นจะต้องเสนออัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าทั่วไป เพื่อดึงดูดความสนใจของนักลงทุน

  30. สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ(Credit Rating Agency) 1. บริษัท ไทยเรตติ้ง แอนด์ อินฟอร์เมชั่น เซอร์วิส จำกัด (ทริส) Thai Rating and Information Services Co., Ltd. (TRIS) 2. บริษัท ฟิตช์ เรตติ้ง ไทย จำกัด Fitch Rating Thai Co., Ltd. (Fitch)

  31. สัญลักษณ์และนิยามที่ใช้บ่งบอกอันดับความน่าเชื่อถือสัญลักษณ์และนิยามที่ใช้บ่งบอกอันดับความน่าเชื่อถือ ในต่างประเทศ มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในเกณฑ์ “น่าลงทุน (Investment Grade)” หรือ “เก็งกำไร (Non Investment Grade)” สำหรับในประเทศไทย สำนักงาน ก.ล.ต. ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่กำกับดูแลการลงทุนก็ได้กำหนดให้ตราสารหนี้ที่ได้รับการจัดอันดับใน 4 อันดับแรกAAA, AA, A และ BBB เป็นตราสารน่าลงทุน (Investment Grade)

  32. ตลาดตราสารทุน(Stock Market) ผู้ลงทุนจ่ายเงินค่าหุ้น ผู้ถือหุ้น / “เจ้าของ” ผู้ออกตราสาร / “บริษัท” บริษัทจ่ายเงินปันผลให้ผู้ลงทุน เมื่อกิจการมีกำไร

  33. ตลาดตราสารทุน(Stock Market) ตราสารทุนคือ ตราสารแสดงสิทธิความเป็น “เจ้าของ” ในกิจการ - หากกิจการนั้นเจริญรุ่งเรือง ผู้ถือหุ้นก็จะได้รับผลประโยชน์เพิ่มมากขึ้นตามส่วนที่ตนเป็นเจ้าของ - หากกิจการนั้นถดถอย ผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นก็จะลดลงตามส่วนที่ตนถือหรือเป็นเจ้าของอยู่ด้วย - หากกิจการต้องมีการเลิกกิจการ ต้องขายทรัพย์สินและชำระบัญชีคืนเงินให้แก่เจ้าหนี้และผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิก่อน หากมีเงินเหลือจึงจะนำไปคืนให้แก่ผู้ถือหุ้นสามัญเป็นอันดับสุดท้ายต่อไป

  34. ประเภทของตลาดตราสารทุน(Stock Market) • 1. ตลาดแรก(Primary Market) หมายถึง การระดมทุนของกิจการโดยการออกหุ้นสามัญใหม่จำหน่ายแก่ผู้ลงทุน ซึ่งสามารถแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ • การเสนอขายแก่ประชาชนทั่วไป (Public Offering : PO) • การเสนอขายเฉพาะเจาะจงแก่กลุ่มผู้ลงทุนสถาบัน (Private Placement : PP) • การเสนอขายหลักทรัพย์แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (Initial Public Offering : IPO) 2. ตลาดรอง(Secondary Market) เป็นตลาดที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับการซื้อขายหลักทรัพย์ที่บริษัทได้ออกเพื่อระดมเงินในตลาดแรก โดยบริษัทผู้ออกต้องนำหลักทรัพย์เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

  35. ตลาดรองสำหรับซื้อขายตราสารทุนในประเทศไทยตลาดรองสำหรับซื้อขายตราสารทุนในประเทศไทย • 1. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย Stock Exchange of Thailand(SET) • 2. ตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ Market for Alternative Investment(mai)

  36. ประเภทของตราสารทุน 1. หุ้นสามัญ (common stocks หรือordinary shares) 2. หุ้นบุริมสิทธิ์ (preferred stocks) 3. ใบสำคัญแสดงสิทธิในหุ้น (stock warrants) 4. หน่วยลงทุนในกองทุนรวมตราสารแห่งทุน 5. ตราสารแสดงสิทธิในอนุพันธ์ที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้น (stock options & futures)

  37. ผลตอบแทนและความเสี่ยงการลงทุนในตราสารทุนผลตอบแทนและความเสี่ยงการลงทุนในตราสารทุน • ผลตอบแทนการลงทุนในตราสารทุน 1. เงินปันผล (Dividend) 2. กำไรหรือส่วนเกินทุน (Capital gain) • ความเสี่ยงในการลงทุนในตราสารทุน 1. Company Risk 2. Sector Risk หรือ Industry Risk 3. Market Risk

  38. ตลาดตราสารอนุพันธ์(Derivative Market) ตราสารอนุพันธ์(Derivative Instruments) ซึ่งเป็นตราสารการเงินประเภทหนึ่ง โดยมูลค่าหรือราคาของตราสารอนุพันธ์จะอิงกับมูลค่าหรือราคาของสินค้าที่ตราสารอนุพันธ์นั้นอ้างอิงอยู่ (Underlying Assets) • ตาม พ.ร.บ. สัญญาซื้อขายลวงหนา พ.ศ. 2546 สินคาที่สามารถซื้อขายในตลาดอนุพันธ์ครอบคลุมถึงสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (futures)และสัญญาออปชัน (option) ที่มีสินคาอางอิง ไดแก • อ้างอิงกับตราสารทุน ได้แก่ ดัชนีราคาหลักทรัพย์ หลักทรัพย์ • อ้างอิงกับตราสารหนี้ ได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล อัตราดอกเบี้ย • อ้างอิงกับราคาหรือดัชนีราคาอื่นๆ ได้แก่ ทองคำ น้ำมันดิบ อัตราแลกเปลี่ยน เป็นต้น

  39. ประเภทของตราสารอนุพันธ์ประเภทของตราสารอนุพันธ์ • ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน(Hybrids) • ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนที่สำคัญ ได้แก่ หุ้นกู้แปลงสภาพ (convertible debenture)ที่ให้สิทธิแก่นักลงทุนในการแปลงสภาพของหุ้นกู้นั้นเป็นหุ้นสามัญ ในอัตราหรือสัดส่วนที่ระบุไว้ตั้งแต่ออกหุ้นกู้แปลงสภาพ และภายในระยะเวลาที่กำหนด 2. ใบสำคัญแสดงสิทธิ (Warrant) หมายถึง ตราสารสิทธิที่บริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ ออกให้แก่ผู้ลงทุน (หรือผู้ถือ) เพื่อให้สิทธิแก่ผู้ถือในการซื้อหลักทรัพย์ของบริษัทผู้ออก หลักทรัพย์นั้น ในจำนวน ราคา และภายในระยะเวลาที่กำหนด

  40. ประเภทของตราสารอนุพันธ์ (ต่อ) 3. ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์(Derivative Warrant) หมายถึง ตราสารสิทธิที่ผู้ลงทุนสองฝ่ายเข้าทำสัญญาระหว่างกัน เพื่อให้ สิทธิแก่ผู้ซื้อ (หรือผู้ถือ) ในการซื้อหลักทรัพย์อ้างอิงในจำนวน ราคา และภายในระยะเวลาที่กำหนด 4. ตราสารสิทธิในการซื้อหุ้น(Stock Option) เป็นสัญญาที่ผู้ลงทุนสองฝ่ายสร้างขึ้น เพื่อให้สิทธิในการซื้อขายหลักทรัพย์ ที่ได้ตกลงกันไว้ ในราคาที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยทั่วไปแล้ว Stock Option จะมีอายุสั้นระหว่าง 3 – 9 เดือน

  41. ประเภทของตราสารอนุพันธ์ (ต่อ) 5.ตราสารซื้อขายล่วงหน้า(Futures) เป็นสัญญาที่ผู้ลงทุนสองฝ่าย มีข้อตกลงที่จะทำการซื้อหรือขาย หลักทรัพย์อ้างอิง ในจำนวน ราคา และภายในกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ ล่วงหน้า ตราสารซื้อขายล่วงหน้า (Futures) จะไม่มีการส่งมอบหลักทรัพย์ อ้างอิงกันจริง ๆ แต่จะเป็นการเข้าซื้อขายหลักทรัพย์ในทางตรงกันข้ามกับ ที่ได้ทำสัญญาไว้แต่แรก และทำการหักกลบกัน เพื่อหาผลกำไรขาดทุน จากการลงทุนในอนาคต

  42. ประโยชน์ของตราสารอนุพันธ์ประโยชน์ของตราสารอนุพันธ์ ประโยชน์สำหรับผู้ที่ลงทุนในหลักทรัพย์อ้างอิงอยู่แล้ว 1. ช่วยเพิ่มผลตอบแทนของการลงทุน 2. ช่วยลดความเสี่ยงจากการลดระดับของราคาหุ้น 3. เป็นเครื่องมือช่วยประวิงเวลาในการตัดสินใจขายหุ้น ประโยชน์สำหรับผู้ที่ไม่ได้ลงทุนในหลักทรัพย์อ้างอิง 1. เป็นทางเลือกในการลงทุนอย่างหนึ่ง ใช้เงินจำนวนน้อย เพื่อแสวงหาประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงของภาวะตลาดหุ้น โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนในหุ้นโดยตรง 2. เป็นเครื่องมือช่วยประวิงเวลาในการตัดสินใจซื้อหุ้น

  43. กองทุนรวม สมาคมบริษัทจัดการลงทุน

  44. กองทุนรวมคืออะไร คือ การนำเงินของแต่ละคนมากองรวมกันให้เป็นก้อนใหญ่ โดยกองทุนจะแบ่งออกเป็นหน่วย เรียกว่า “หน่วยลงทุน” โดยมีผู้จัดการกองทุน ทำหน้าที่นำเงินดังกล่าวไปลงทุน ตามนโยบายลงทุนที่ระบุไว้ตามหนังสือชี้ชวน เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่งอกเงยแล้วนำเงินมาเฉลี่ยกลับคืนสู่ผู้ที่ลงเงินไว้ในคราวแรกอีกทีหนึ่ง สมาคมบริษัทจัดการลงทุน

  45. BANK 8. ผลตอบแทน กำไร/เงินปันผล 6. กำกับการบริหาร กองทุน ผู้ดูแลผลประโยชน์ โครงสร้างและผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุนรวม บริษัทจัดการ 1.จัดตั้ง ผ่านผู้สนับสนุน 2.เสนอขาย ผู้ถือหน่วย 4. จดทะเบียน สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. กองทุนรวม 3.ซื้อหน่วยลงทุน 5. กำกับ ผู้สอบบัญชี 7. ตรวจบัญชี สมาคมบริษัทจัดการลงทุน

  46. บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุนรวมบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุนรวม 1. สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. เป็นหน่วยงานอิสระที่มีหน้าที่เป็นผู้กำกับดูแลให้บริษัทจัดการปฏิบัติหน้าที่ในการจัดการลง ทุนให้กับกองทุนรวมให้เป็นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประกาศ คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. รวมถึงประกาศกฏเกณฑ์ ต่างๆ อย่างเคร่งครัด 2. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม หรือ บลจ. หรือ บริษัทจัดการ เป็นบริษัทหลักทรัพย์ประเภทหนึ่งที่ได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงการคลังให้ทำธุรกิจ การจัดการกองทุนรวม และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. 3. ผู้ถือหน่วยลงทุน เป็นผู้ที่เข้ามาซื้อหน่วยลงทุนหรือมาลงทุนในกองทุนรวม ผู้ถือหน่วยลงทุนอาจจะเป็น บุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคล สมาคมบริษัทจัดการลงทุน

  47. บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุนรวมบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุนรวม 4. ผู้ดูแลผลประโยชน์ -ทำหน้าที่เสมือนตัวแทนของผู้ถือหน่วยลงทุนในการติดตามดูแลการจัดการกองทุนรวม - ตรวจทานและรับรองการคำนวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุน ราคาขายและ ราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุน - เก็บรักษาทรัพย์สินของกองทุน รับจ่ายเงิน หรือรับและส่งมอบทรัพย์สินของกองทุนรวม - อาจจะเป็นธนาคารพาณิชย์ของไทยหรือสำนักงานสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศก็ได้แต่ต้องไม่เป็นบริษัทในเครือของบริษัทจัดการที่เป็นผู้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมนั้น 5. นายทะเบียน - ทำหน้าที่ดูแลความถูกต้องของทะเบียนผู้ถือหน่วยลงทุน ออกหนังสือรับรองยืนยันการถือหน่วยลงทุนและจ่ายเงินปันผล - บริษัทจัดการอาจจะทำหน้าที่เป็นนายทะเบียนได้ สมาคมบริษัทจัดการลงทุน

  48. บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุนรวมบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุนรวม 6. ผู้สอบบัญชีกองทุน ทำหน้าที่สอบทานและรับรองงบการเงินของกองทุนรวมเป็นประจำทุกปี 7. ผู้สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุน - ทำหน้าที่ทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของบริษัท จัดการในการแจกจ่ายหนังสือชี้ชวนฯและเสนอขายหน่วยลงทุนแก่ประชาชน หรือ ผู้สนใจทั่วไป หรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนจากผู้ถือหน่วยลงทุน - ต้องเปิดเผยอัตราค่าธรรมเนียมในการเป็นตัวแทนสนับสนุนของกองทุนรวมต่างๆ เพื่อให้ผู้ลงทุนรับทราบ สมาคมบริษัทจัดการลงทุน

  49. บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุนรวมบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุนรวม 8. ผู้ชำระบัญชีกองทุน บริษัทจัดการจะต้องดำเนินการแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีกองทุนรวมเพื่อทำหน้าที่จำหน่ายหรือ ขายทรัพย์สินที่ยังคงค้างอยู่ในกองทุนรวมและแจกจ่ายเงินที่ได้จากการชำระบัญชีคืนให้ แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายหลังจากหักค่าใช้จ่ายต่างๆเป็นที่เรียบร้อยแล้ว 9. สมาคมบริษัทจัดการลงทุน (AIMC) มีหน้าที่ในส่งเสริมจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจและพัฒนาธุรกิจการจัดการลงทุน ตลอดจนให้ความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ในการกำหนด มาตรฐานต่างๆที่จำเป็นในการดำเนินธุรกิจการจัดการลงทุน สมาคมบริษัทจัดการลงทุน

  50. มูลค่าทรัพย์สินสุทธิคืออะไรมูลค่าทรัพย์สินสุทธิคืออะไร • มูลค่าทรัพย์สินของหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่กองทุนรวมนั้นลงทุน ตีมูลค่าตามราคาตลาด บวก ผลประโยชน์ที่กองทุนรวมนั้นพึงได้รับ แล้ว หัก ด้วยค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่าย สมาคมบริษัทจัดการลงทุน

More Related