1 / 18

หัวข้อการบรรยาย

ระบบตลาด และกรณีศึกษาจากศรีลังกา สฤณี อาชวานันทกุล Fringer | คนชายขอบ http://www.fringer.org/ มูลนิธิสวนเงินมีมา วันที่ 27 กรกฎาคม 2551.

Télécharger la présentation

หัวข้อการบรรยาย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ระบบตลาด และกรณีศึกษาจากศรีลังกาสฤณี อาชวานันทกุลFringer | คนชายขอบhttp://www.fringer.org/มูลนิธิสวนเงินมีมา วันที่ 27 กรกฎาคม 2551 • งานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ Creative Commons แบบ Attribution Non-commercial Share Alike (by-nc-sa) โดยผู้สร้างอนุญาตให้ทำซ้ำ แจกจ่าย แสดง และสร้างงานดัดแปลงจากส่วนใดส่วนหนึ่งของงานนี้ได้โดยเสรี แต่เฉพาะในกรณีที่ให้เครดิตผู้สร้าง ไม่นำไปใช้ในทางการค้า และเผยแพร่งานดัดแปลงภายใต้ลิขสิทธิ์เดียวกันนี้เท่านั้น

  2. หัวข้อการบรรยาย • ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับระบบตลาด • ข้อสมมติของระบบตลาด • เงื่อนไขแห่งความสำเร็จของระบบตลาด • ประโยชน์และขีดจำกัดของระบบตลาด • ความล้มเหลวของระบบตลาด • การแทรกแซงของรัฐเพื่อแก้ไขความล้มเหลวของตลาด • กรณีศึกษา : การแย่งกันใช้ประโยชน์จากที่ดินที่ศรีลังกา

  3. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ “ตลาด” • ในทางเศรษฐศาสตร์ “ตลาด” หมายถึงบริบทที่มีการตกลงซื้อขายสินค้าหรือบริการระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย โดยที่ทั้งสองฝ่ายไม่จำเป็นต้องมาพบปะกันโดยตรงหรือมีสถานที่ตั้งที่แน่นอน ตราบใดที่มีการตกลงซื้อขายสินค้าหรือบริการ ก็ถือว่าตลาดได้เกิดขึ้นแล้ว อาจไม่ต้องส่งมอบและชำระเงินกันในทันทีก็ได้ • หากมีการตกลงซื้อขายสินค้าหรือบริการชนิดใด ก็มักจะเรียกชื่อตามสินค้าหรือบริการนั้น เช่น “ตลาดข้าวเปลือก” หรืออาจเรียกตามประเภทของสินค้าที่ซื้อขายกันโดยรวม เช่น “ตลาดผลผลิต” หรือ “ตลาดการเงิน” หรืออาจแยกพิจารณาตามขอบเขตบริเวณ เช่น “ตลาดในประเทศ” และ “ตลาดโลก” เป็นต้น • “ระบบตลาด” คือระบบเศรษฐกิจที่เน้นภาคการผลิต, การกระจายสินค้า และการแลกเปลี่ยนสินค้าเป็นหลัก ควบคุมโดยปัจเจกบุคคลหรือบรรษัทเอกชนมากกว่ารัฐบาล หากรัฐเข้ามาแทรกแซงก็ถือเป็นส่วนน้อย • โครงสร้างตลาด หมายถึง จำนวนผู้ขายและผู้ซื้อที่มีอยู่ในตลาดสินค้าหรือบริการชนิดนั้นๆ รวมถึงสภาพแวดล้อมในการแข่งขันที่ผู้ซื้อหรือผู้ขายมีต่อกัน ราคาและปริมาณผลผลิตของสินค้าหรือบริการชนิดหนึ่ง ๆ จะถูกกำหนดขึ้นมาได้อย่างไร ย่อมขึ้นอยู่กับโครงสร้างตลาด

  4. ข้อสมมติของระบบตลาด • หากแบ่งประเภทตลาดตามโครงสร้างจะแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ (perfect competition) และตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ (imperfect competition) • ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ หมายถึงตลาดที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ • มีผู้ซื้อผู้ขายจำนวนมาก และเป็นรายเล็ก ๆ หรือรายย่อยเท่านั้น ผู้ผลิตแต่ละรายเป็นผู้ขายสินค้าตามราคาตลาดหรือเป็นผู้รับราคา (price taker) • ผู้ขายสามารถเข้าและออกจากตลาดได้อย่างอิสระ (free-entry and free-exit) โดยไม่ถูกกีดกัน • สินค้าของผู้ขายแต่ละรายมีลักษณะเหมือนกันทุกประการ (homogeneous products) จึงสามารถใช้ทดแทนกันได้อย่างสมบูรณ์ • ผู้ซื้อและผู้ขายมีความรอบรู้ในข้อมูลข่าวสารอย่างสมบูรณ์ (perfect information) การเคลื่อนย้ายสินค้าและทรัพยากรการผลิตสามารถทำได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว • ในทางทฤษฎี ตลาดแข่งขันสมบูรณ์คือตลาดที่นำส่งประโยชน์สุทธิสูงสุดต่อทุกฝ่าย เป็นตลาดที่มีประสิทธิภาพ ปรับตัวเข้าสู่ดุลยภาพได้อย่างรวดเร็ว • ลักษณะของตลาดแข่งขันสมบูรณ์ จึงเป็น “เงื่อนไขแห่งความสำเร็จ” ของระบบตลาด

  5. เงื่อนไขแห่งความสำเร็จของระบบตลาดเงื่อนไขแห่งความสำเร็จของระบบตลาด • การมีผู้ซื้อและผู้ขายเป็นจำนวนมาก และแต่ละรายเป็นรายเล็ก ๆ หรือรายย่อย แสดงว่า ปริมาณสินค้าของผู้ผลิตแต่ละรายจะมีสัดส่วนเพียงน้อยนิดเมื่อเทียบกับสินค้าทั้งหมดในตลาด ดังนั้นหากผู้ผลิตรายหนึ่งรายใดเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการผลิต ก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อปริมาณสินค้าในตลาด กล่าวคือ จะไม่มีผู้ผลิตใดมีอิทธิพลเหนือตลาดในแง่ที่จะกำหนดปริมาณหรือราคาสินค้าชนิดนั้นได้ แม้คิดจะรวมตัวกันก็ทำได้ยาก และผู้ผลิตแต่ละรายต้องเป็นผู้รับราคา ในทำนองเดียวกัน ฝ่ายผู้ซื้อก็เป็นรายเล็กๆ และมีจำนวนมากเช่นกัน จึงไม่สามารถรวมตัวเพื่อเรียกร้องให้ฝ่ายผู้ขายลดราคาลงมาตามความต้องการของตนเองได้ ดังนั้น ราคาสินค้าจึงถูกกำหนดโดยกลไกของตลาดหรืออุปสงค์และอุปทานของตลาด • การที่ผู้ผลิตสามารถเข้าและออกจากตลาดได้อย่างอิสระ แสดงว่าถ้าผู้ผลิตรายใหม่จะเข้ามาทำการผลิตเพื่อแข่งขันกับผู้ผลิตที่มีอยู่เดิมก็ย่อมทำได้ เพราะไม่มีข้อกีดกันใดๆ ไม่ว่าจะเป็นกฎเกณฑ์ของรัฐ หรือการรวมตัวกันของผู้ผลิตรายเดิมเพื่อกีดกัน (collusion) ส่วนผู้ผลิตรายเดิม ถ้าจะออกจากตลาดหรือเลิกกิจการไป ก็สามารถทำได้ง่ายโดยไม่มีอุปสรรคใดๆ เช่นกัน คุณสมบัติข้อนี้บ่งชี้ว่า ผู้ผลิตแต่ละรายสนองตอบต่อแรงจูงใจทางราคาได้อย่างรวดเร็ว

  6. เงื่อนไขแห่งความสำเร็จของระบบตลาด (ต่อ) • การที่สินค้าของผู้ผลิตแต่ละรายมีลักษณะเหมือนกันทุกประการ ซึ่งทำให้สินค้าของผู้ผลิตแต่ละรายสามารถใช้ทดแทนกันได้อย่างสมบูรณ์นั้น ส่อแสดงให้เห็นว่าผู้ซื้อหรือผู้บริโภคจะซื้อสินค้าของผู้ผลิตรายใดก็ได้ การตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภครายใดขึ้นอยู่กับราคาเพียงประการเดียว นั่นคือ ถ้าผู้ผลิตรายใดขายต่ำกว่ารายอื่นๆ ผู้บริโภคก็จะซื้อจากผู้ผลิตรายนั้น ในทางตรงกันข้ามหากผู้ผลิตรายใดขายในราคาที่สูงกว่ารายอื่นๆ ผู้บริโภคจะไม่ซื้อสินค้าของผู้ผลิตรายนั้น • การที่ราคาสินค้าในตลาดแข่งขันสมบูรณ์จะไม่แตกต่างกันไม่ว่าจะเป็นของรายใดและซื้อขายกันที่ไหน และผู้ผลิตรายใหม่สามารถเข้ามาในตลาดได้รวดเร็วนั้นจะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายจะต้องมีความรอบรู้ในข้อมูลข่าวสารอย่างสมบูรณ์ และการเคลื่อนย้ายสินค้าสามารถได้อย่างสะดวกและรวดเร็วด้วย ซึ่งแน่นอนว่าในระยะสั้นอาจทำได้ยาก แต่ในระยะยาวแล้วเป็นไปได้เสมอ

  7. ประโยชน์และขีดจำกัดของระบบตลาดประโยชน์และขีดจำกัดของระบบตลาด • เศรษฐกิจแบบตลาดโดยธรรมชาติของตัวมันเอง มีลักษณะออกจากศูนย์กลาง, ยืดหยุ่น, ได้ผลในทางปฏิบัติ และเปลี่ยนแปลงได้ การกำหนดราคาเกิดขึ้นจากกลไกของ “มือที่มองไม่เห็น” • สาเหตุหลักที่ทำให้เศรษฐกิจแบบตลาดได้ผลในทางปฏิบัติ คือ หลักการของมันให้ความสำคัญกับ “ประสิทธิภาพ” และ “เสรีภาพ” ซึ่งในที่นี้หมายถึง • “เสรีภาพ” ของผู้บริโภคที่จะเลือกบริโภคสินค้าหรือบริการใด ๆ ที่มีอยู่ในตลาดที่ผู้ผลิตแข่งขันกันเสนอให้ • “เสรีภาพ” ของผู้ผลิตที่จะเริ่มหรือขยายธุรกิจและรับหรือกระจายความเสี่ยง รวมทั้งผลตอบแทนออกไปได้ • “เสรีภาพ” ของแรงงานที่จะเลือกงานหรืออาชีพ เข้าร่วมกับสหภาพแรงงาน หรือแม้แต่เปลี่ยนเจ้านายได้ • ระบบตลาดเอื้อให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และการปรับปรุงประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง • แต่ระบบตลาดไม่มีภูมิคุ้มกันหรือกลไกใดๆ สำหรับประเด็นความยุติธรรมทางสังคม นโยบายสาธารณะ และ “ผลกระทบต่อภายนอก” (externalities) เช่น เงินเฟ้อ, การว่างงาน, มลภาวะ, ความเหลื่อมล้ำของชีวิตความเป็นอยู่, ความยากจน และอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศ • รัฐบาลมีบทบาทในการแก้ไขปัญหาที่ระบบตลาดไม่สามารถแก้ไขเองได้ และประเด็นสาธารณะที่อยู่นอกขอบเขตของระบบตลาด

  8. ความล้มเหลวของตลาด • ความล้มเหลวของตลาด (Market Failure) หมายถึง ภาวะที่กลไกตลาดไม่สามารถจัดสรรทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพได้ หรือภาวะที่ตลาดไม่สามารถตอบสนองความต้องการของสาธารณะทั้งในแง่ของปริมาณหรือราคาของสินค้าได้ รวมทั้งการที่ตลาดไม่สามารถสะท้อนต้นทุนหรือประโยชน์ที่แท้จริงได้ • สาเหตุแห่งความล้มเหลวประการหลักๆ ได้แก่ 1) สารสนเทศไม่สมบูรณ์ คือสถานการณ์ที่ฝ่ายหนึ่งมีข้อมูลมากกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง ทำให้เกิดปัญหาเช่น • ปัญหา Lemon market คือตลาดที่ผู้ขายรู้ว่าสินค้ามีคุณภาพต่ำ แต่ผู้ซื้อรู้ไม่มากเท่า เช่น ตลาดรถมือสอง วิธีแก้ไขคือผู้ขายต้องสร้างชื่อเสียง (Reputation) ให้ผู้ซื้อไว้วางใจ หรือสร้างมาตรฐานสินค้า (Standardize) • ปัญหา Adverse selection เกิดเมื่อกำหนดให้สินค้าบริการที่มีคุณภาพต่างกันมีราคาเท่ากัน จนทำให้สินค้าและบริการที่มีคุณภาพต่ำไล่สินค้าคุณภาพสูงออกไปจากตลาด วิธีแก้ไขคือ การส่งสัญญาณตลาด (market signaling) ให้ผู้ซื้อรู้ข้อมูลของสินค้าบริการนั้น ๆ มากขึ้นกว่าเดิม • ปัญหา Moral hazard เกิดขึ้นจากการที่ฝ่ายหนึ่งเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากเดิมไปจนทำให้อีกฝ่ายหนึ่งที่มีต้นทุนในการติดตามพฤติกรรมสูง (high monitoring cost) และต้องรับภาระจากพฤติกรรมนั้นๆ • ปัญหา Principal-agent เกิดขึ้นจากการที่ agent (เช่น นายหน้าขายบ้าน) ทำงานเพื่อความต้องการของตนเอง โดยไม่สนความต้องการของ Principal (ลูกค้า) และ Principal มีต้นทุนในการติดตามพฤติกรรมของ agent สูง

  9. ความล้มเหลวของตลาด (ต่อ) ผลกระทบภายนอก (Externalities)เป็นผลกระทบที่มีต่อบุคคลที่สามที่ไม่ได้ตั้งใจให้เกิด และต้นทุนจากผลกระทบไม่ได้ถูกนับรวมเข้าไปในต้นทุนของผู้ผลิต ผลกระทบภายนอกมีทั้งกระทบในด้านดีและด้านไม่ดี เช่น การกระจายความรู้ด้านเทคโนโลยี (technology spillover) หรือ มลพิษที่เกิดจากโรงงาน ปัญหานี้แก้ไขได้โดยการพยายามนำผลกระทบภายนอกมาคิดเป็นต้นทุนของผู้ผลิตให้ได้ (internalize externalities) เพื่อบังคับให้ผู้ผลิตคำนึงถึงผลกระทบต่อบุคคลอื่นในการทำธุรกิจ อำนาจเหนือตลาด คือมีผู้ผลิตรายหนึ่งรายใดที่มีอำนาจมากกว่าผู้ผลิตอื่น ๆ ทำให้เกิดการผูกขาด นำมาซึ่งการกำหนดราคาที่ไม่เป็นไปตามกลไกตลาด เช่น ราคาสูงเกินควร วิธีแก้คือให้รัฐเข้ามามีบทบาทในการสร้างกติกาที่ไม่ก่อให้เกิดการผูกขาด เว้นแต่ว่ากิจการนั้นๆ จะเป็นกิจการที่ผูกขาดตามธรรมชาติ (natural monopoly) เช่น กิจการน้ำประปา จ่ายไฟฟ้า ซึ่งในกรณีนั้นรัฐควรมีบทบาทสูงมาก เพราะถ้าให้เอกชนทำโดยไม่กำกับ ราคาจะสูงเกินควรไปมาก สินค้าสาธารณะ (Public goods)คือสินค้าที่ใช้แล้วไม่หมดไปและไม่สามารถกีดกันผู้อื่นในการบริโภคได้ ก่อให้เกิดปัญหา “free-riders” คือผู้ที่ได้ประโยชน์จากสินค้าหรือบริการ โดยที่ไม่จ่ายราคาในการใช้นั้น เมื่อมีปัญหานี้มากเข้าจะทำให้ไม่มีผู้ใดยอมจ่าย สุดท้ายสินค้าชนิดนั้นก็จะไม่เกิดขึ้นในตลาด

  10. การแทรกแซงของรัฐเพื่อแก้ไขความล้มเหลวของตลาดการแทรกแซงของรัฐเพื่อแก้ไขความล้มเหลวของตลาด • การแทรกแซงราคาหรือการควบคุมราคา • กฎระเบียบป้องกันการผูกขาด • นโยบายส่งเสริมการแข่งขัน • การใช้นโยบายภาษีเพื่อกำจัดแรงจูงใจหรือเพิ่มต้นทุนในการทำกิจกรรมที่มีผลกระทบต่อภายนอกในทางลบ เช่น ภาษีน้ำเสีย ภาษีขยะ ภาษีสารเคมี ภาษีกำไรจากการผูกขาด เป็นต้น • การสนับสนุนกิจกรรมที่เกิดประโยชน์ต่อสาธารณะ เช่น การจัดให้มีสินค้าสาธารณะ การให้ความช่วยเหลือหรือสิทธิพิเศษ เป็นต้น • นักเศรษฐศาสตร์บางส่วนเชื่อว่า ระบบตลาดเสรีในตัวของมันเองย่อมมีปัญหาอยู่แล้ว ดังนั้นจึงมองว่าความล้มเหลวของตลาดเป็นภาวะปกติของระบบตลาด

  11. กรณีศึกษา : การแย่งกันใช้ประโยชน์จากที่ดินในศรีลังกา • ในทศวรรษ 1980 บริเวณพื้นที่แห้งแล้งเขตแฮมบันโตตา (Hambantota) ของศรีลังกา ถูกแย่งกันใช้ทำประโยชน์โดยกลุ่มผลประโยชน์ 3 กลุ่ม ที่มีชนชั้นทางสังคมแตกต่างกัน ประกอบด้วย • กลุ่มเจ้าของปศุสัตว์ (Gambaraya) ฐานะร่ำรวยและมีการรวมกลุ่มกันได้ดีมาก มีอาชีพเป็นเจ้าของที่ดินและเลี้ยงสัตว์ • กลุ่มชาวนาฐานะปานกลางและมีการรวมกลุ่มกันได้ดีพอควร มีอาชีพทำนาทดน้ำ • กลุ่มชาวไร่ (chena) ฐานะยากจนและไม่สามารถรวมกลุ่มกันได้ดี มีอาชีพถางและเผาที่ดินทำไร่เลื่อนลอย • เมื่อประชากรเพิ่มมากขึ้นและที่ดินยังคงมีจำกัด ทำให้การแย่งกันใช้ประโยชน์จากที่ดินรุนแรงขึ้น โดยผู้ดูแลจะปล่อยให้สัตว์เดินเร่ร่อนหากินตามทุ่งไร่ท้องนา ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของชาวไร่ชาวนา ทำให้ผลผลิตในช่วงเก็บเกี่ยวเสียหายเป็นจำนวนมาก การป้องกันเบื้องต้นต้องล้อมรั้วลวดหนามรอบไร่นา ซึ่งสร้างต้นทุนมหาศาลให้กับชาวไร่ชาวนาที่มีรายได้ต่ำ • เจ้าของสัตว์ที่มีอำนาจในการต่อรองสูงกว่า อ้างว่าตนมีสิทธิในการใช้พื้นที่เหล่านี้ อีกทั้งยังไม่ยอมจำกัดขนาดฝูงสัตว์และควบคุมดูแลฝูงสัตว์ไม่ให้ทำลายผลผลิตของชาวไร่ชาวนาอีกด้วย

  12. ผลกระทบภายนอกที่เกิดจากความขัดแย้งผลกระทบภายนอกที่เกิดจากความขัดแย้ง • มีข้อสันนิษฐานว่าปัญหาความขัดแย้งกันของผลประโยชน์นี้ ไปขัดขวางการปรับปรุงเทคโนโลยีเพื่อการใช้ประโยชน์จากที่ดินอย่างยั่งยืน เป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนวิถีการทำเกษตรจากการทำไร่เลื่อนลอยไปเป็นการบริหารจัดการระบบน้ำเพื่ออนุรักษ์หน้าดินอีกด้วย • โครงการ Kirindi oya irrigation and settlement project : KOISP พยายามส่งเสริมให้ชาวไร่ชาวนาใช้เทคโนโลยีปลูกป่าและทำเกษตรแบบใหม่ที่ยั่งยืนขึ้น แต่กลับไม่สำเร็จเนื่องจากสาเหตุเช่นขาดแคลนน้ำ, แมลงกัดทำลาย, เมล็ดพันธุ์และดินไม่ได้คุณภาพ และถูกทำลายโดยปศุสัตว์

  13. แนวทางการแก้ไขผลกระทบภายนอกแนวทางการแก้ไขผลกระทบภายนอก • แนวทางการแก้ไขปัญหามี 3 รูปแบบหลักๆ ได้แก่ • แนวทางเสรีนิยมใหม่ : ทฤษฎีของโคส (Coase) และการทำงานของกลไกตลาด • การแทรกแซงของรัฐ : มาตรการทางด้านภาษีและการออกกฎหรือพระราชบัญญัติบังคับ • วิถีชุมชน : วิวัฒนาการของบรรทัดฐาน ธรรมเนียมและประเพณีของสังคม

  14. การแก้ไขตามแนวทางเสรีนิยมใหม่การแก้ไขตามแนวทางเสรีนิยมใหม่ • ทฤษฎีของโคสมีข้อสมมติว่าต้นทุนธุรกรรมในการเจรจาต่อรองเป็นศูนย์ และไม่คำนึงถึงความเท่าเทียมกันทางสังคม ซึ่งแปลว่าตั้งอยู่บนสมมติฐานว่า ทุกฝ่ายมีข้อมูลข่าวสารที่เท่าเทียมกัน • แนวทางนี้เชื่อว่าจะสามารถแก้ปัญหาและเกิดการจัดสรรทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพขึ้นได้ โดยปล่อยให้กลไกตลาดทำงาน โดยชาวไร่ชาวนาซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดิน สามารถ “ซื้อ-ขาย” สิทธิในการทำลายผลผลิตให้กับเจ้าของปศุสัตว์ได้ (โดยไม่มีต้นทุน) หากแต่ชาวไร่ชาวนาต้องสามารถระบุได้ว่าความเสียหายมีมากแค่ไหนและใครต้องรับผิดชอบ • จากนั้นจะเกิดการพิจารณาว่าการปลูกพืชกับการเลี้ยงสัตว์อย่างไหนให้ประโยชน์มากกว่า ก็เลือกทำกิจกรรมนั้นๆ โดยรัฐไม่ควรเข้ามาแทรกแซงเลย • แต่ในความเป็นจริงแล้ว การต่อรองเจรจามีต้นทุนให้ทั้ง 2 ฝ่ายต้องแบกรับ อีกทั้งยังต้องคำนึงถึงการกระจายรายได้และความเท่าเทียมกันทางสังคมอยู่แล้ว • ในกรณีนี้ เจ้าของสัตว์ที่ร่ำรวยมีสถานะทางสังคมสูงเจรจากับชาวไร่ชาวนาที่มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน หมายความว่าอำนาจในการต่อรองและข้อมูลข่าวสารของทั้งคู่ไม่เท่าเทียมกัน ดังนั้น จึงไม่อาจนำไปสู่ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพได้ เป็นความล้มเหลวของตลาดนั่นเอง

  15. การแก้ไขโดยการแทรกแซงจากรัฐการแก้ไขโดยการแทรกแซงจากรัฐ • มีมาตรการแก้ไขปัญหาผลกระทบภายนอกอยู่ 4 แนวทาง • การเก็บภาษี (Pigouvian Tax) ในการเลี้ยงปศุสัตว์ • ออกกฎหรือพ.ร.บ. กำหนดให้เจ้าของดูแลไม่ให้สัตว์ เร่ร่อนหากิน หากฝ่าฝืนเจ้าหน้าที่มีสิทธิยึดสัตว์นั้นไว้ จนกว่าจะจ่ายค่าชดเชย • ออกกฎหรือพ.ร.บ. กำหนดให้เลี้ยงสัตว์ในบริเวณที่ห่างไกลจากพื้นที่ทำเกษตร แต่ต้องมีการกำหนดพื้นที่และวันที่เริ่มทำเกษตรแน่นอน เพื่อให้เจ้าของปศุสัตว์เคลื่อนย้ายสัตว์ออกนอกพื้นที่ หากฝ่าฝืนต้องเสียค่าปรับ • ออกกฎหรือพ.ร.บ. กำหนดให้เจ้าของสัตว์จ่ายชดเชยแก่ชาวไร่ชาวนา เพื่อรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น ถ้าไม่ยอมจ่ายชาวไร่ชาวนามีสิทธิยึดสัตว์ไว้จนกว่าเจ้าของจะยอมจ่าย โดยให้เจ้าหน้าที่รัฐควบคุมดูแล หากไม่มีใครรับผิดชอบ เจ้าหน้าที่รัฐจะนำสัตว์ออกประมูลเพื่อหารายได้มาชดเชยให้ชาวไร่ชาวนา • อย่างไรก็ตาม แนวทางเหล่านี้ต้องประสบกับปัญหา ถือเป็นความล้มเหลวของกลไกภาครัฐ • มาตรการภาษี แม้จะเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ แต่ในกรณีนี้ ยากที่จะประเมิน “มูลค่าความเสียหาย” รวมทั้งจากผลกระทบภายนอก ดังนั้นจึงยากที่จะวัดหรือประมาณการภาษี • มาตรการให้จ่ายค่าชดเชยในกรณีนี้ บังคับใช้ไม่สำเร็จ เพราะเมื่อมีผู้ฝ่าฝืน ชาวไร่ชาวนาก็ไม่ไปแจ้งตำรวจเพราะมีกำแพงทางสังคมและต้นทุนสูง รวมทั้งกลุ่มเจ้าของสัตว์มีความสัมพันธ์กันอย่างเหนียวแน่น จึงร่วมกันไม่ประมูลสัตว์ที่เจ้าหน้าที่ยึดไว้ สุดท้ายชาวไร่ชาวนาก็ไม่ได้รับการจ่ายค่าชดเชย

  16. การแก้ไขตามแนวทางชุมชนการแก้ไขตามแนวทางชุมชน • สถาบันที่ไม่เป็นทางการอย่างเช่น บรรทัดฐาน ธรรมเนียม วัฒนธรรมของชุมชน ซึ่งวิวัฒนาการข้ามเวลา สามารถเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาผลกระทบภายนอก • ตามวัฒนธรรมดั้งเดิม เจ้าของสัตว์นั้นได้ชดเชยให้ชาวไร่ชาวนาอยู่แล้ว แต่จะอยู่ในรูปของการอุปถัมภ์ทางสังคมตามระบบความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ มากกว่าจะจ่ายเป็นตัวเงิน คือเจ้าของสัตว์ซึ่งส่วนมากเป็นเจ้าของที่ดินด้วย จะจ้างชาวนาชาวไร่มาเป็นแรงงานในการทำเกษตรกรรม อีกทั้งยังเป็นเจ้าหนี้และคู่ค้าของชาวนาชาวไร่อีกด้วย • ชุมชนเองก็มีบทบาทในการควบคุมพฤติกรรมของเจ้าของสัตว์เป็นอย่างดี นั่นคือ เจ้าของสัตว์คนไหนที่ไม่ยอมช่วยเหลือชาวไร่ชาวนา ก็จะถูกสังคมลงโทษ • อย่างไรก็ดีกลไกของชุมชนนี้ได้อ่อนแอลงเมื่อความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์เริ่มล่มสลายไป ชาวไร่ชาวนาเริ่มแยกตัวออกจากกลุ่มแรงงานตั้งแต่ปี 1960 รวมทั้งการก่อตั้ง semi-formal credit organization ทำให้ชาวไร่ชาวนามีทางเลือกในการกู้ยืมมากขึ้น ไม่ต้องพึ่งพาเจ้าของสัตว์อีกต่อไป อีกปัจจัยหนึ่งคือ ชาวไร่ชาวนามีการอพยพย้ายถิ่นกันมากในช่วงหลัง ทำให้ไม่มีปฏิสัมพันธ์กับเจ้าของสัตว์เหมือนเดิม ส่วนเจ้าของสัตว์ก็รู้สึกว่าไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบหรือกลัวการลงโทษของสังคม เนื่องจากมองว่าโครงการที่เข้ามาช่วยเกษตรกรมารบกวนสิทธิในการเลี้ยงสัตว์ของพวกเขาเช่นกัน ดังนั้น จึงเกิดความล้มเหลวของชุมชน (ไม่ร่วมมือกันเหมือนแต่ก่อน)

  17. ทางแก้ที่ผสานทั้ง 3 แนวทาง • เนื่องจากเกิดความล้มเหลวของทั้งตลาด, รัฐ และชุมชน จึงทำให้เกิดทางเลือกในการแก้ไขปัญหาแบบใหม่ที่ผสานแนวคิดของทั้ง 3 อย่างเข้าด้วยกัน ในกลางทศวรรษ 1990 • ทางเลือกนี้เสนอให้นักการเมืองและเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเป็นตัวกลางในการเจรจาระหว่างชาวไร่ชาวนาและเจ้าของสัตว์ โดยทำหน้าที่เป็นผู้ต่อรองผลประโยชน์ให้กับกลุ่มชาวนาชาวไร่ พร้อมทั้งเสนอที่ดินที่กันไว้เป็นพิเศษสำหรับเลี้ยงสัตว์ที่ไม่ทับซ้อนกับที่ดินทำการเกษตรในช่วงเพาะปลูก เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้น • ชาวนาชาวไร่ถือเป็นฐานเสียงส่วนใหญ่ ทำให้นักผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งที่อยากได้รับเลือก มีแรงจูงใจที่จะตอบสนองความต้องการของชาวไร่ชาวนา และเห็นว่าปัญหาความเสียหายของผลผลิตเป็นเรื่องเร่งด่วน ส่วนกลุ่มเจ้าของสัตว์ถือเป็นเสียงส่วนน้อย แต่มีบทบาทในสังคมสูง มีรายได้ดี สามารถสนับสนุนโครงการรณรงค์หาเสียงได้ ทำให้ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งต้องตอบสนองความต้องการของคนกลุ่มนี้เช่นกัน • ตลอดมารัฐได้พยายามสนับสนุนให้เจ้าของสัตว์ยกระดับเทคโนโลยีการเลี้ยงสัตว์ให้กลายเป็นแบบเข้มข้นมากขึ้น คือฝูงเล็กลงแต่มีคุณภาพมากขึ้น แต่เจ้าของสัตว์ก็ไม่เคยสนใจ เพราะเลี้ยงฝูงใหญ่แล้วได้รับค่าตอบแทนมากกว่าถ้าจะไปลงทุนพัฒนาเทคโนโลยี ซึ่งต้องใช้เงินมาก

  18. ทางแก้ที่ผสานทั้ง 3 แนวทาง (ต่อ) • อาจกล่าวได้ว่า ยิ่งเจ้าของสัตว์มีต้นทุนค่าเสียโอกาสต่ำเท่าใด แรงจูงในการพัฒนาเทคโนโลยีและแนวโน้มในการลดขนาดฝูงสัตว์ก็จะลดลงไปด้วย • แต่ท้ายที่สุด เจ้าของสัตว์ต้องยอมรับข้อเสนอให้พัฒนาเทคโนโลยีและไปเลี้ยงสัตว์ภายในพื้นที่ที่จัดสรรไว้ให้ต่างหาก เพราะนักการเมืองขู่ว่า หากฝ่าฝืนจะออกกฎหมายบังคับอย่างจริงจังและจะออกหน้าจัดการแทนชาวไร่ชาวนาเอง • คำขู่นี้น่าเชื่อถือเพราะเจ้าของสัตว์ก็เห็นว่า ชาวนาชาวไร่เป็นเสียงส่วนใหญ่ที่นักการเมืองต้องเอาใจ หากไม่ทำตามอาจจะต้องลดขนาดฝูงสัตว์โดยที่ไม่ได้รับการจัดสรรที่ดินให้ ซึ่งก็จะทำให้ผลตอบแทนที่ได้ลดลง • แนวทางนี้จึงสามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและผลกระทบภายนอกลงไปได้ในที่สุด แต่อย่างไรก็ดี ในระยะยาวต้องมาพิจารณากันว่าแนวทางนี้จะสร้างความยั่งยืนและก่อให้เกิดการปรับปรุงพัฒนาทางเทคโนโลยีหรือไม่ อย่างไร

More Related