1 / 16

วิธีการสอนโดยใช้เกม ( Game)

วิธีการสอนโดยใช้เกม ( Game). วิธีการ สอนโดยใช้เกม   (Game). วิธีการสอนโดยใช้เกม   (Game) คือ กระบวนการที่ช่วยให้ ผู้เรียน เกิด การเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ โดย การให้ ผู้เรียนเล่นเกมตามกติกา และ นำ เนื้อหาและข้อมูลของเกม พฤติกรรมการ เล่น วิธีการเล่น

tauret
Télécharger la présentation

วิธีการสอนโดยใช้เกม ( Game)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. วิธีการสอนโดยใช้เกม(Game)วิธีการสอนโดยใช้เกม(Game)

  2. วิธีการสอนโดยใช้เกม  (Game)วิธีการสอนโดยใช้เกม  (Game) วิธีการสอนโดยใช้เกม  (Game)คือกระบวนการที่ช่วยให้ผู้เรียน เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ โดยการให้ผู้เรียนเล่นเกมตามกติกา และ นำเนื้อหาและข้อมูลของเกม พฤติกรรมการเล่น วิธีการเล่น และผลการเล่นเกมของผู้เรียนมาใช้ในการอภิปรายเพื่อสรุปการเรียนรู้

  3. วัตถุประสงค์ 1.  ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องต่าง ๆ อย่างสนุกสนานและท้าทาย ความสามารถ 2.  ทำให้เกิดประสบการณ์ตรง 3.  เป็นวิธีที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมสูง

  4. ขั้นตอนการสอน 1.ผู้สอนนำเสนอเกม ชี้แจงวิธีการเล่น และกติกาการเล่นเกม เกมที่ได้รับการออกแบบให้เป็นเกมการศึกษาโดยตรงมีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท คือ 1) เกมแบบไม่มีการแข่งขัน 2) เกมแบบแข่งขัน 3) เกมจำลองสถานการณ์การเลือกเกมเพื่อนำมาใช้สอนทำได้หลายวิธี ผู้สอนอาจเป็นผู้สร้างเกมขึ้น หรืออาจนำเกมที่มีผู้สร้างขึ้นแล้วมาปรับ ดัดแปลงให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ และควรชี้แจงกติกาการเล่นเกมให้เข้าใจ

  5. 2.ผู้เรียนเล่นเกมตามกติกาผู้สอนควรติดตามสังเกตพฤติกรรมการเล่นของ2.ผู้เรียนเล่นเกมตามกติกาผู้สอนควรติดตามสังเกตพฤติกรรมการเล่นของ ผู้เรียนอย่างใกล้ชิด และควรบันทึกข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนของ ผู้เรียน 3.ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายผลควรอภิปรายผลเกี่ยวกับผลการเล่น และ วิธีการหรือพฤติกรรมการเล่นของผู้เรียนที่ได้จากการสังเกตจดบันทึกไว้ และใน การอภิปรายผลควรให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ การใช้เกมในการสอนโดยทั่ว ๆ ไป มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ฝึกฝนเทคนิคหรือทักษะต่าง ๆ 2) เรียนรู้เนื้อหาสาระจากเกม 3) เรียนรู้ความเป็นจริงตามสถานการณ์ต่าง ๆ ดังนั้นการอภิปรายควรมุ่ง ประเด็นไปตามวัตถุประสงค์ของการสอน

  6. ข้อดีและข้อจำกัด ข้อดี 1.ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้สูง 2.  ผู้เรียนได้รับความสนุกสนาน และเกิดการเรียนรู้จากการเล่น ข้อจำกัด 1.  เป็นวิธีการสอนที่ผู้สอนต้องมีทักษะในการนำการอภิปรายที่มี ประสิทธิภาพ จึงจะสามารถช่วยให้ผู้เรียนประมวลและสรุป การเรียนรู้ได้ตามวัตถุประสงค์

  7. วิธีการสอนแบบแก้ปัญหา( Problem Soluing Method )

  8. วิธีการสอนแบบแก้ปัญหา จอห์น ดิวอี้ เป็นผู้คิดวิธีสอนแก้ปัญหานี้ขึ้น โดยมุ่งให้ผู้เรียนได้ศึกษา และฝึกฝนวิธีการแก้ปัญหาต่างๆที่พบในชีวิตประจำ วันได้อย่างเป็น กระบวนการ สมเหตุสมผลและมีหลักเกณฑ์ อันเป็นการเตรียมเด็กหนุ่ม สาวให้สามารถปรับปรุงตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมและ ความเปลี่ยนแปลงใน สังคมได้ โดยนำความรู้และประสบการณ์จากหลายๆสาขาวิชามาประกอบ กันในการแก้ปัญหานั้นๆ

  9. ความมุ่งหมาย ฝึกทักษะการสังเกต การเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ ตีความและสรุป และทักษะในการแก้ปัญหาแบบวิทยาศาสตร์ อันเป็นวิธีที่มีเหตุผลซึ่งมี ประโยชน์ต่อผู้เรียน

  10. ขั้นตอนการสอน ขั้นที่1 กำหนดปัญหา เป็นขั้นที่ครู นักเรียน หรือครูกับนักเรียนกำหนดปัญหา ขันโดยวิธีการต่างๆ เช่น ถามนำเข้าสู่บทเรียน เล่าเรื่องหรือประสบการณ์ แล้วตั้งปัญหา ใช้สถานการณ์ในชุมชน มาตั้งปัญหา จัดสถานการณ์ในห้องเรียนกระตุ้นให้เกิดปัญหาเป็นต้น ขั้นที่ 2 ขั้นวิเคราะห์ปัญหา เมื่อ ได้ปัญหาจากขั้นที่ 1 มาแล้ว ครูจะนำนักเรียนให้คิดพิจารณาปัญหา จากนั้นก็จะแบ่งกลุ่ม เพื่อรับผิดชอบในการแก้ปัญหาแต่ละข้อ การสอนขั้นนี้จะจบลง ด้วยการเสนอแนะแหล่งความรู้ที่แต่ละกลุ่มควรไปค้นคว้าหา คำตอบเพื่อแก้ปัญหา

  11. ขั้นที่ 3 ตั้งสมมุติฐาน เป็นขั้นที่นักเรียนคาด เดาว่าปัญหานั้นๆมีสาเหตุมาจากอะไร หรือวิธีการ แก้ปัญหานั้นน่าจะแก้ไขโดยวิธีใด หรือปัญหานั้นควรมีคำตอบว่าอย่างไร เป็น ต้น ขั้นที่ 4 เก็บรวบรวมข้อมูล นักเรียนแต่ละกลุ่มจะไปศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพื่อแก้ปัญหาด้วยการ ทำกิจกรรม ต่างตามที่ว่างแผนไว้ในขั้นที่ 2 เช่น อ่านหนังสือ สัมภาษณ์ผู้รู้ เชิญ วิทยากรมาให้ความรู้ ทำแผนภูมิ ทำแผนผัง ทำสมุดภาพ ชมภาพยนตร์หรือ วิดีทัศน์ทดลองปฏิบัติ เป็นต้น ขณะทำกิจกรรมครูจะคอยช่วยเหลือให้คำแนะนำ อย่างใกล้ชิด

  12. ขั้นที่ 5 วิเคราะห์ข้อมูล เป็น ขั้นตอนแต่ละกลุ่มร่วมกันนำข้อมูลที่ไปค้นคว้าหรือทดลองมาวิเคราะห์และ สังเคราะห์ หาคำตอบที่ต้องการ หรือพิสูจน์ว่าสมมุติฐานที่ตั้งไว้นั้น ถูกต้องหรือไม่ คำตอบที่ถูกคืออะไร ขั้นที่ 6 สรุปผล เป็นขั้นที่นักเรียนสรุปผลการเรียนรู้และหลักการที่ได้จากการศึกษาหาปัญหานี้วิธี สอนแบบแก้ปัญหา นอกจากจะช่วยฝึกให้นักเรียนรู้จักการแก้ปัญหาอย่างมีหลักเกณฑ์ และรู้จักคิด อย่างมีเหตุผลแล้ว ยังช่วยปลูกฝังนักเรียนมีนิสัยรักการศึกษาค้นคว้าหา ความรู้ใส่ตน และมีจิตสำนึกทางประชาธิปไตยอีกด้วย

  13. ขั้นประเมินผล ผู้สอนประเมินผลการทำงานของผู้เรียน แล้วจึงให้ผู้เรียนทราบข้อดี และข้อบกพร่องเพื่อปรับปรุงแก้ไข

  14. ข้อดีและข้อจำกัดของวิธีการสอนแบบแก้ปัญหาข้อดีและข้อจำกัดของวิธีการสอนแบบแก้ปัญหา ข้อดี 1. ผู้เรียนได้ฝึกการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล 2. ผู้เรียนได้ฝึกการค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งต่างๆ 3. เป็นการฝึกการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม และฝึกการรับผิดชอบงานที่ ได้รับมอบหมาย

  15. ข้อจำกัด 1. ผู้เรียนต้องดำเนินตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ ถ้าผิดไปจะทำให้ได้ผล สรุปที่คลาดเคลื่อนหรือผิดจริงไป 2. ผู้เรียนต้องมีทักษะในการค้นคว้าหาข้อมูลจึงจะสรุปได้ดี 3. ถ้าผู้สอนไม่คุ้นเคยกับวิธีการสอนทางวิทยาศาสตร์อาจนำไปผิดทาง ได้ 4. การกำหนดปัญหาถ้าเลือกปัญหาไม่ได้จะทำให้การเรียนการสอนไม่ดีเท่าที่ควร

  16. จัดทำโดย นางสาววาริน พิลาทอง รหัสนักศึกษา 551121845 โปรแกรมวิชาการประถมศึกษา

More Related