1 / 44

ส่วนพัฒนาและส่งเสริมการบริหารงานท้องที่ (สบท.) สำนักบริหารการปกครองท้องที่ (สน.ปท.) กรมการปกครอง

ส่วนพัฒนาและส่งเสริมการบริหารงานท้องที่ (สบท.) สำนักบริหารการปกครองท้องที่ (สน.ปท.) กรมการปกครอง. คณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.).

Télécharger la présentation

ส่วนพัฒนาและส่งเสริมการบริหารงานท้องที่ (สบท.) สำนักบริหารการปกครองท้องที่ (สน.ปท.) กรมการปกครอง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ส่วนพัฒนาและส่งเสริมการบริหารงานท้องที่ (สบท.) สำนักบริหารการปกครองท้องที่ (สน.ปท.) กรมการปกครอง

  2. คณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.)  เป็นองค์กรที่ถูกเพิ่มเติมใน พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2486 และมีการปรับปรุงโครงสร้าง อำนาจ หน้าที่ใหม่ ตามมาตรา 28 ตรี แห่งพ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2551

  3. อำนาจหน้าที่ของ กม. 1. ช่วยเหลือแนะนำให้คำปรึกษาแก่ผู้ใหญ่บ้าน 2. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามกฎหมายหรือระเบียบแบบแผนของทางราชการ 3. ปฏิบัติหน้าที่ตามที่นายอำเภอมอบหมายหรือผู้ใหญ่บ้านร้องขอ 4. เป็นองค์กรหลักที่รับผิดชอบในการบูรณาการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้าน และบริหารกิจกรรมที่ดำเนินในหมู่บ้านร่วมกับองค์กรอื่นทุกภาคส่วน

  4. การพัฒนาหมู่บ้าน...โดยการขับเคลื่อน กม. สร้างรากฐานของประเทศ จัดระเบียบการบริหารจัดการหมู่บ้าน สร้างองค์คณะแห่งความร่วมมือ (จุดเชื่อม)

  5. ระดมพลังและภูมิปัญญาท้องถิ่น ร่วมแก้ปัญหาของหมู่บ้านตนเอง สร้างช่องทางให้ประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางหมู่บ้านของตนเอง

  6. องค์ประกอบของ กม. โดยการเลือก โดยตำแหน่ง ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ทรงคุณวุฒิ 2-10 ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อบต./สจ. ผู้นำหรือผู้แทนกลุ่ม

  7. เปรียบเทียบโครงสร้างเดิมกับโครงสร้าง ตามมาตรา 28 ตรีแห่ง พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2551 กม. โดยตำแหน่ง โครงสร้างเดิม โครงสร้างใหม่ ผู้ใหญ่บ้าน ประธาน กม. ประธาน กม. ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน กรรมการ กรรมการ สมาชิกสภา อปท. - กรรมการ ผู้นำหรือผู้แทนกลุ่มหรือองค์กรในหมู่บ้าน - กรรมการ

  8. กม. โดยการเลือก โครงสร้างเดิม โครงสร้างใหม่ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการ กรรมการ จำนวน 5-9 คน จำนวน 2-10 คน

  9. การเป็น กม. ของผู้นำกลุ่มในหมู่บ้าน ตามระเบียบ มท. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การเป็นกรรมการหมู่บ้าน การปฏิบัติหน้าที่ และการประชุมของคณะกรรมการหมู่บ้าน พ.ศ. 2551 แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม  กลุ่มบ้าน (นอ. ประกาศ)  กลุ่มหรือกลุ่มกิจกรรม (มท. ประกาศ มี 18 กลุ่ม)  กลุ่มอาชีพ หรือกลุ่มกิจกรรม (นอ.ประกาศ)

  10. 1. กม. ประเภทผู้นำกลุ่มบ้าน กลุ่มบ้าน กลุ่มบ้าน หมายความว่า บ้านที่ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกันเป็นกลุ่มย่อยภายในหมู่บ้าน โดยการแบ่งตามสภาพภูมิประเทศ ประวัติความเป็นมา วัฒนธรรม ประเพณี หรือระบบเครือญาติและให้หมายความรวมถึง คุ้มบ้าน เขตบ้าน บ้านจัดสรร หรือที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีลักษณะเช่นเดียวกับกลุ่มบ้าน (ระเบียบ มท.ฯ ข้อ 5 วรรคสอง)

  11. 2. กม. ประเภทผู้นำหรือผู้แทนกลุ่มอาชีพหรือกลุ่มกิจกรรมที่ มท ประกาศ จำนวน 18 กลุ่ม *หากหมู่บ้านมีกลุ่มตามที่ประกาศ ประธานกลุ่มจะเป็น กม. โดยตำแหน่ง

  12. 3. กม. ประเภทผู้นำหรือผู้แทนกลุ่มอาชีพหรือกลุ่มกิจกรรมในหมู่บ้าน ตามที่ นอ. ประกาศ ระเบียบ มท. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การเป็น กม.ฯ ข้อ 5 กลุ่มอาชีพ หมายความว่า กลุ่มที่มีการจัดตั้งขึ้นมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในการประกอบอาชีพเพิ่มพูนรายได้ หรือการพัฒนาอาชีพ

  13. กลุ่มกิจกรรม หมายความว่า กลุ่มที่มีการจัดตั้งขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อประโยชน์ของสมาชิกในกลุ่มหรือเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม

  14. ระเบียบ มท. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การเป็น กม. ฯ ข้อ 6 (3) กลุ่มอาชีพหรือกลุ่มกิจกรรมที่มาจากการรวมตัวของสมาชิกหรือตั้งขึ้น เพื่อดำเนินกิจกรรมร่วมกันระหว่างสมาชิกภายในกลุ่มและต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) เป็นกลุ่มที่มีสมาชิกไม่น้อยกว่ายี่สิบคน (ข) สมาชิกของกลุ่มไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งมีภูมิลำเนาในหมู่บ้าน (ค) เป็นกลุ่มที่มีการดำเนินกิจกรรมในหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง มาแล้วไม่น้อยกว่าหกเดือน (ง) เป็นกลุ่มที่มีกฎระเบียบที่กำหนดไว้ชัดเจน และต้องเกิดจาก สมาชิกร่วมกันกำหนด ทั้งนี้ นายอำเภออาจพิจารณายกเว้นลักษณะตาม (ก) ได้ในกรณีที่เห็นสมควร

  15. กรรมการหมู่บ้านผู้ทรงคุณวุฒิ... จำนวน กม.ผู้ทรงคุณวุฒิ มีจำนวนไม่น้อยกว่า 2 คนแต่ไม่เกิน 10 คน (ที่ประชุมราษฎรเป็นผู้กำหนดจำนวน)  การเลือก กม.ผู้ทรงคุณวุฒิ อาจใช้วิธีลับ หรือเปิดเผย (ที่ประชุมราษฎรเป็นผู้กำหนดวิธีการเลือก) 

  16. กม.ผู้ทรงคุณวุฒิ อยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี (นับแต่วันที่ นอ.ประกาศแต่งตั้ง)  ผู้มีสิทธิเข้าประชุม/เลือก (มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับผู้มีสิทธิเลือกผู้ใหญ่บ้าน) 

  17. โครงสร้าง หน้าที่ของคณะทำงาน กม. คณะทำงานด้านอำนวยการ • อำนวยการประชุม ระเบียบวาระ จัดการประชุม • งานธุรการ การเงิน เลขานุการ ประชุม อื่นๆ คณะทำงานด้านการปกครอง และรักษาความสงบเรียบร้อย คณะทำงานด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และสาธารณสุข คณะทำงานด้านการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม คณะทำงานด้านแผนพัฒนาหมู่บ้าน คณะทำงานด้านส่งเสริมเศรษฐกิจ •ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการปกครองระบอบประชาธิปไตย•ส่งเสริมให้ราษฎรปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับของหมู่บ้าน•การสร้างความธรรมและประนีประนอมข้อพิพาท •ดำเนินการบูรณาการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้านและกิจกรรมที่ดำเนินการในหมู่บ้าน •ปรับแผนพัฒนาร่วมกับองค์กรอื่นทุกภาคส่วน•จัดทำข้อมูลของหมู่บ้าน •เศรษฐกิจพอเพียง •ส่งเสริมการประกอบอาชีพ การผลิตการตลาด •การพัฒนาสตรี เด็กเยาวชน ผู้สูงอายุและผู้พิการ การจัดสวัสดิการในหมู่บ้าน•การสงเคราะห์ผู้ยากจน•การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม •ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมของหมู่บ้าน

  18. 1.คณะทำงานด้านอำนวยการ1.คณะทำงานด้านอำนวยการ ประกอบด้วย • ประธาน กม. • รองประธาน กม. • ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน • หัวหน้าคณะทำงานด้านต่าง ๆ • เลขานุการ • และเหรัญญิก โดยให้ประธาน กม. เป็นหัวหน้าคณะทำงาน และเลขานุการ เป็นเลขานุการคณะทำงาน

  19. มีหน้าที่... • งานธุรการ • การจัดประชุม • การรับจ่ายและเก็บรักษาเงินและทรัพย์สิน ของหมู่บ้าน • การประชาสัมพันธ์ • การประสานงานและติดตามการทำงานของ คณะทำงานด้านต่าง ๆ • การจัดทำรายงานผลการดำเนินงานของ คณะกรรมการในรอบปีและ • งานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย

  20. 2. คณะทำงานด้านการปกครอง และรักษาความสงบเรียบร้อย ประกอบด้วย • กม. ซึ่งเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านเป็นหัวหน้าคณะทำงาน • กม. ที่คณะกรรมการเลือก

  21. มีหน้าที่... • ส่งเสริมให้ราษฎรมีส่วนร่วมในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข • ส่งเสริมอุดมการณ์และวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตยให้กับราษฎรในหมู่บ้าน • ส่งเสริมดูแลให้ราษฎรปฏิบัติตามกฎหมาย และ กฎระเบียบ ข้อบังคับของหมู่บ้าน • การสร้างความเป็นธรรมและประนีประนอมข้อพิพาท

  22. การตรวจตรารักษาความสงบเรียบร้อย การป้องกัน และปราบปรามยาเสพติดภายในหมู่บ้าน • การคุ้มครองดูแลรักษาทรัพย์สินอันเป็น สาธารณประโยชน์ของหมู่บ้าน • การป้องกันบรรเทาสาธารณภัยและภยันตราย ของหมู่บ้าน • งานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย

  23. 3. คณะทำงานด้านแผนพัฒนา ประกอบด้วย • กม. ที่คณะกรรมการหมู่บ้านเลือก มีหน้าที่ • จัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้าน • ประสานการจัดทำโครงการเกี่ยวกับการพัฒนาหมู่บ้านกับคณะทำงานด้านต่าง ๆ เพื่อดำเนินการหรือเสนอของบประมาณจากภายนอก

  24. การรวบรวมและจัดทำข้อมูลต่าง ๆ ของหมู่บ้าน • การติดตามผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาหมู่บ้าน • งานอื่นใด ที่ได้รับมอบหมาย

  25. 4. คณะทำงานด้านส่งเสริมเศรษฐกิจ ประกอบด้วย • กม. ที่คณะกรรมการหมู่บ้านเลือก มีหน้าที่ • การส่งเสริมการดำเนินการตามแนวปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงในหมู่บ้าน

  26. การพัฒนาและส่งเสริมการประกอบอาชีพ การผลิตและการตลาดเพื่อเสริมสร้างรายได้ ให้กับราษฎรในหมู่บ้าน • งานอื่นใด ที่ได้รับมอบหมาย

  27. 5. คณะทำงานด้านสังคม สิ่งแวดล้อมและสาธารณสุข ประกอบด้วย • กม. ที่คณะกรรมการหมู่บ้านเลือก มีหน้าที่ • การพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุและผู้พิการ การจัดสวัสดิการในหมู่บ้าน

  28. การสงเคราะห์ผู้ยากจนที่ไม่สามารถช่วยตนเองได้ การสงเคราะห์ผู้ยากจนที่ไม่สามารถช่วยตนเองได้ • การส่งเสริมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม การสาธารณสุข • งานอื่นใดที่ได้รับมอบหมาย

  29. 6. คณะทำงานด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ประกอบด้วย • กม. ที่คณะกรรมการหมู่บ้านเลือก มีหน้าที่ • การส่งเสริมการศึกษา ศาสนา การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญา และวัฒนธรรมของหมู่บ้าน • งานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย

  30. หมายเหตุ • ให้คณะกรรมการหมู่บ้าน เลือก กม. และราษฎรที่มีความรู้ ไม่น้อยกว่า 3 คน เป็นคณะทำงานในด้านต่าง ๆ ของคณะทำงานทั้ง 6 ด้าน

  31. การประชุม กม. ให้ กม. ประชุมอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง ภายใน 7 วัน หลังจากการประชุมประจำเดือนกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน การประชุม : ให้กระทำโดยเปิดเผยและเปิดโอกาสให้ราษฎรเข้าฟังได้ เว้นแต่คณะกรรมการจะลงมติให้ประชุมลับ การประชุม : ต้องมี กม. มาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวน กม. ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ จึงจะครบองค์ประชุม

  32. กองทุนกลางพัฒนาหมู่บ้านกองทุนกลางพัฒนาหมู่บ้าน มีรายได้ จาก... (ก) เงินที่กลุ่มหรือองค์กรภายในหมู่บ้านจัดสรรให้ (ข) เงินที่ได้รับการอุดหนุนจากส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ค) เงินและทรัพย์สินอื่นที่มีผู้อุทิศให้ (ง) รายได้จากการจัดกิจกรรมของหมู่บ้าน

  33. การใช้จ่ายเงิน (ก) ค่าใช้จ่ายในการจัดประชุม (ข) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของคณะกรรมการ (ค) การจัดสวัสดิการภายในหมู่บ้าน (ง) การจัดกิจกรรมสาธารณประโยชน์ของหมู่บ้าน (จ) ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการกำหนด * หลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงิน จะต้องได้รับความเห็นชอบจากนายอำเภอ

  34. ภารกิจในปี 2553 ที่ต้องดำเนินการ 1. ผลักดันการขับเคลื่อน มติ ครม. 1) ให้ทุกส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ พิจารณามอบภารกิจตามนโยบายของรัฐบาล กระทรวงและภารกิจที่ต้องดำเนินการในหมู่บ้านให้ กม. รวมทั้งสนับสนุนภารกิจของ กม. ตามกฎหมาย 2) ให้ กม. เป็นองค์กรหลักในการส่งเสริมวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตยในระดับหมู่บ้าน และสนับสนุนหน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรพัฒนาเอกชนอื่นที่มีภารกิจหน้าที่ในเรื่องเดียวกันตามที่กฎหมายกำหนด

  35. 3) ให้ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พิจารณากำหนดกรอบแนวทาง แผนงานหรือโครงการที่สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของ กม. 4) ให้ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สนับสนุนให้ กม. เป็นองค์กรหลักในการบูรณาการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้าน และนำแผนพัฒนาหมู่บ้านที่ กม. จัดทำ เป็นข้อมูลในการจัดทำคำของบประมาณของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

  36. 5) ให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมของ กม. ตามหลักเกณฑ์ที่กรมบัญชีกลางให้ความเห็นชอบ 6. ให้กระทรวงการคลังพิจารณากำหนดระเบียบ แนวทาง ขั้นตอนการจัดตั้งกองทุนกลางพัฒนาหมู่บ้าน เพื่อเป็นหลักเกณฑ์ให้ กม. สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  37. 7. ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) พิจารณากำหนดตัวชี้วัดที่เกี่ยวกับการใช้และการพัฒนาศักยภาพของ กม. เพื่อให้ส่วนราชการนำไปเป็นคำรับรองการปฏิบัติราชการ 8. ให้ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง พิจารณาให้คำแนะนำ คำปรึกษา หรือสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของ กม. เมื่อได้รับการร้องขอ 2. ปรับค่านิยม/วัฒนธรรมการทำงานในพื้นที่ ให้เป็นในรูปคณะกรรมการ

  38. 3. เสริมศักยภาพการบริหารจัดการของผู้ใหญ่บ้าน  การประชุม   ประเมินผลการทำงาน การมอบหมายงานให้คณะทำงาน การติดตามผล (รายงานผล)  เพื่อทราบจุดอ่อน/ปัญหา แล้วหาทางแก้ไข สนับสนุนการทำงานของ กม.ให้มีความคล่องตัว เช่น เงิน บุคคล วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือต่าง ๆ เป็นต้น

  39. การประชุม มีเพื่อ... 1 แจ้งข้อราชการ/ข่าวสาร ร่วมเสนอโครงการ 2 เสนอแนวทางแก้ปัญหา 3 ระดมความคิดเห็น 4

  40. การมอบหมายงานให้คณะทำงาน 1 มอบตามหน้าที่ 2 มอบตามศักยภาพ 3 มอบตามความสามารถ

  41. การติดตามผล 1 การประชุม 2 การรายงานผล 3 การตรวจงาน

  42. ประเมินผลการทำงาน 1 ระยะเวลาที่ใช้ 2 ผลการทำงาน 3 การสะท้อนความรู้สึกจากผู้อื่น

  43. 4. ให้ กม. เข้ามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ เช่น... การจัดทำโครงการ/กิจกรรมโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ การแก้ไขปัญหายาเสพติด การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ การดำเนินงานตามโครงการชุมชนพอเพียง การบูรณาการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง

  44. คณะกรรมการหมู่บ้าน…รากฐานของแผ่นดินคณะกรรมการหมู่บ้าน…รากฐานของแผ่นดิน หมู่บ้าน เปรียบเสมือนรากฐานของแผ่นดิน หากรากฐาน มีความแข็งแรง ประเทศชาติย่อมแข็งแรงและมั่นคง กม. ซึ่งเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนงานของทุกภาคส่วนในหมู่บ้าน จะต้องประสานการทำงาน บริหารและพัฒนาหมู่บ้านให้เกิดความเข้มแข็ง อันจะส่งผลรวมต่อการพัฒนาประเทศไทย

More Related