1 / 27

โรคในระบบทางเดินหายใจ

โรคในระบบทางเดินหายใจ. อาการของโรคในระบบทางเดินหายใจในสุกรแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ 1. อาการที่เกิดขึ้นในส่วนจมูก 2. อาการปอดอักเสบ 3. อาการเยื่อหุ้มปอดอักเสบ. โรคโพรงจมูกอักเสบ (Atrophic rhinitis). สาเหตุ

Télécharger la présentation

โรคในระบบทางเดินหายใจ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โรคในระบบทางเดินหายใจโรคในระบบทางเดินหายใจ • อาการของโรคในระบบทางเดินหายใจในสุกรแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ • 1. อาการที่เกิดขึ้นในส่วนจมูก • 2. อาการปอดอักเสบ • 3. อาการเยื่อหุ้มปอดอักเสบ โรคในระบบทางเดินหายใจ

  2. โรคโพรงจมูกอักเสบ (Atrophic rhinitis) สาเหตุ • สาเหตุปฐมภูมิ เกิดจากแบคทีเรียชนิด Bordetella bronchiseptica ทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุจมูกและทำให้เกิดสาเหตุทุติยภูมิตามมา • สาเหตุทุติยภูมิ เกิดจากแบคทีเรียชนิด Pasteurella multocida type D จะรวมกลุ่มกัน ผลิตท๊อกซินที่ซ้ำเติมทำให้โพรงจมูกอักเสบอย่างรุนแรง โรคโพรงจมูกอักเสบ

  3. การติดต่อ 1. การไอหรือจาม 2. จากแม่สู่ลูก (เฉพาะสาเหตุปฐมภูมิ) • การติดเชื้อจะติดตั้งแต่สุกรยังอายุน้อยซึ่งอาจจะพบว่าสัตว์ไอหรือจามบ้าง แต่อาการจมูกบิดเบี้ยวจะปรากฏให้เห็นเฉพาะในช่วงขุน โรคโพรงจมูกอักเสบ

  4. อาการ • ท๊อกซินของเชื้อจะทำลายกระดูกทำให้เกิดการฝ่อของกระดูกเทอร์บิเนตซึ่งอยู่ในโพรงจมูก ทำให้เกิดการบิดเบี้ยวของหน้า เนื่องจากหน้าหดสั้นลงและแนวสันจมูกเบี้ยว ในบางรายพบร่องน้ำตาอุดตัน ทำให้มีรอยคราบน้ำตาผสมกับสิ่งสกปรกเป็นทางสีดำ อาจมีเลือดกำเดาไหลออกทางจมูก โรคโพรงจมูกอักเสบ

  5. ร่องน้ำตาอุดตัน เลือดกำเดา โรคโพรงจมูกอักเสบ

  6. ภาพแสดงระดับการถูกทำลายของโพรงจมูกจากน้อย มาก การวินิจฉัยโรค • จากการอาการทางคลีนิค หรือใช้ swab จากจมูกมาเพาะเชื้อ ถ้ามีอาการไม่ชัดเจน โรคโพรงจมูกอักเสบ

  7. การรักษา ควบคุมและป้องกันโรค 1. ให้ยาผสมอาหาร เช่น ยาซัลฟา หรืออ๊อกซีเตตร้าซัยคลิน หรือ ไทโลซิน นาน 1 เดือนในช่วงสุดท้ายของการตั้งท้อง หรือตลอด 2 w ก่อนและหลังคลอด 2. ให้วัคซีนรวมระหว่างเชื้อทั้งสองชนิด ก่อนนำเข้าฝูงและให้ซ้ำทุกครั้งก่อนคลอดประมาณ 1-2 สัปดาห์ 3. แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและการจัดการ โรคโพรงจมูกอักเสบ

  8. โรคที่เกี่ยวกับปอดบวมและเยื่อหุ้มปอดอักเสบ (Pneumonia and pleuritis) • เป็นปัญหาสำคัญอันดับ 2 รองจากโรคในระบบทางเดินอาหาร • ทำให้อัตราการตายสูง ส่วนสัตว์ที่รอดตายจะมีการสูญเสียจาก FCR และ ADG ต่ำกว่าปกติ สาเหตุโน้มนำ • การเป็นโรคพยาธิ • ปัญหาท้องร่วงในช่วงก่อนและหลังหย่านม • การเลี้ยงสุกรหนาแน่นเกินไป

  9. สาเหตุโน้มนำของโรคในระบบหายใจ (ต่อ) • การนำสุกรจากหลายแหล่งมารวมกัน • การเลี้ยงสุกรขนาดแตกต่างปะปนกัน กลุ่มอาการปอดอักเสบ

  10. สาเหตุโน้มนำของโรคในระบบหายใจ (ต่อ) • สภาพโรงเรือนไม่เหมาะสมและการระบายอากาศไม่ดี • อุณหภูมิระหว่างกลางวันและกลางคืนแตกต่างมากเกิน 12C • ปัญหาข้ออักเสบหรือฝีหนอง • คุณภาพอาหารต่ำ esp มีโปรตีนต่ำ • พันธุ์:ยอร์คเชียร์จะไวต่อการเป็นโรค กลุ่มอาการปอดอักเสบ

  11. ภาพเปรียบเทียบระหว่างปอดปกติและปอดเน่าภาพเปรียบเทียบระหว่างปอดปกติและปอดเน่า กลุ่มอาการปอดอักเสบ

  12. ถุงลมพอง (lung emphysema) ปอดบวม (lung edema) โรคปอดและเยื่อหุ้มปอดอักเสบ

  13. โรคพาสเจอร์เรลโลซีส1 (Pasteurellosis) • โรคปอดบวมชนิดนี้มีอุบัติการมากที่สุดในแหล่งที่มีการเลี้ยงสุกรเป็นอุตสาหกรรมและค่อนข้างแออัด และพบโรคมากที่สุดในสุกรหลังหย่านม • มักพบการเกิดโรคในลักษณะแทรกซ้อนหลังจากมีการติดเชื้ออื่นๆ มาก่อน สาเหตุ • เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดกรัมลบ Pasteurella multocidaซึ่งสามารถสร้างทอกซินได้ โรคปอดและเยื่อหุ้มปอดอักเสบ

  14. โรคพาสเจอร์เรลโลซีส1 (Pasteurellosis) อาการ • พบทั้งแบบเฉียบพลัน ซึ่งทำให้โลหิตเป็นพิษ cyanosis และแบบเรื้อรัง • ทำให้ปอดและหลอดลมอักเสบแบบเป็นหนอง มีไฟบรินร่วมด้วย มักพบที่ปอดลอนหน้าและลอนข้างหัวใจรวมทั้งที่ปอดลอนท้ายในรายที่เป็นโรคอย่างรุนแรง โรคปอดและเยื่อหุ้มปอดอักเสบ

  15. โรคเอนซูติกนิวโมเนีย 2(Enzootic pneumonia) • มีการติดเชื้อจากแม่สุกรที่เป็นพาหะไปสู่ลูกสุกรดูดนมตั้งแต่แรกเกิด แต่มัก พบโรคมากที่สุดในสุกร 2-4 w สาเหตุ • เกิดจากเชื้อ Mycoplasma hyopneumoniaeซึ่งเป็นจุลชีพจำเพาะต้องอยู่ที่ทางเดินหายใจ ไม่ทนต่อสภาพสิ่งแวดล้อมภายนอกร่างกาย โรคปอดและเยื่อหุ้มปอดอักเสบ

  16. อาการและวิการ • มักพบสัตว์ป่วยเป็นแบบเรื้อรังมากกว่าแบบเฉียบพลัน สัตว์จะแสดงอาการไอ หอบ esp ตอนเช้าและตอนให้อาหาร อัตราการป่วย 30-60% อัตราการตาย 10% • พบวิการที่ปอด apical lobe และ cardiac lobe มีลักษณะแข็งตัวที่ส่วนปลาย มีสีลูกพลัมหรือสีเทา กลุ่มอาการปอดอักเสบ

  17. โรคปอดและเยื่อหุ้มปอดอักเสบ 3(Pleuropneumonia) • เกิดได้ในสุกรทุกช่วงอายุ (esp 2-6 m) สาเหตุ • เกิดจากเชื้อ Actinobacillus pleuropneumoniaeซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดกรัมลบ รูปแท่ง สามารถสร้าง endotoxin ไม่ทนต่อสภาพสิ่งแวดล้อมภายนอกร่างกาย กลุ่มอาการปอดอักเสบ

  18. อาการและวิการ • ไข้สูง ปอดและเยื่อหุ้มปอดอักเสบอย่างรุนแรง (มีไฟบรินยึดปอดติดกับผนังช่องอก) มักเป็นแบบเฉียบพลัน ระยะเวลาการเกิดโรคสั้น (18 ชม-5 วัน) สุกรจะหายใจลำบากมาก อาจพบน้ำลายและน้ำมูกเป็นฟองปนเลือด cyanosis สัตว์มักจะช็อคตาย • พบวิการที่ปอด apical lobe และ cardiac lobe มีลักษณะแข็ง สีแดงเข้ม กลุ่มอาการปอดอักเสบ

  19. โรคไข้หวัดใหญ่ในสุกร 4(Swine influenza) • เป็นโรคหวัดที่มีการระบาดอย่างรวดเร็ว (explosive outbreak) มีการติดต่อกันในระหว่างสุกร เป็ด ไก่งวงและคน • อัตราการป่วย ~100% แต่อัตราการตายต่ำ ~1% • โรคเกิดได้ในสุกรทุกช่วงอายุ esp สุกรเล็ก และทุกฤดูกาล esp ฤดูหนาว กลุ่มอาการปอดอักเสบ

  20. โรคไข้หวัดใหญ่ในสุกร 4(Swine influenza) สาเหตุ • เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งมีหลายแอนติเจนิกไทป์คล้ายไข้หวัดในคน • เชื้ออยู่นอกร่างกายสิ่งมีชีวิตได้ประมาณ 2 w แต่ถูกทำลายได้ง่ายด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อทั่วไป การติดต่อ • ไอ จาม สัมผัส transplacenta • interspecies transmission: สุกร เป็ด ไก่งวง และคน กลุ่มอาการปอดอักเสบ

  21. อาการ • ไข้ ไอ จาม หายใจลำบากและเปลี้ยหมดแรง แต่อาการเหล่านี้จะหายเป็นปกติอย่างรวดเร็ว • โรคจะรุนแรงมากขึ้นเมื่อเป็นร่วมกับโรคอื่น เช่น พยาธิในปอด พิษสุนัขบ้าเทียม โรคปอดอื่นๆ ทำให้อัตราการตายสูง • โรคจะคล้ายคลึงกับเอนซูติกนิวโมเนีย แต่ระบาดอย่างรวดเร็วกว่า และโรคจะสงบเร็วกว่าถ้าไม่มีโรคอื่นแทรก กลุ่มอาการปอดอักเสบ

  22. โรคพิษสุนัขบ้าเทียม (Aujesky’s disease) • เป็นโรคที่ทำให้เกิดความสูญเสียในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรอย่างมาก เนื่องจากสุกรที่เป็นโรคจะเป็นพาหะเป็นปี • ทำให้เกิดความสูญเสียในลูกสุกร และเป็นโรคที่กดระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้มีโรคอื่นๆ แทรกได้ง่าย กลุ่มอาการปอดอักเสบ

  23. โรคพิษสุนัขบ้าเทียม (Aujesky’s disease) สาเหตุ • เกิดจากเฮอร์ปีส์ไวรัส ซึ่งเป็นเฮอร์ ปีส์ชนิดเดียวที่มี host range กว้างมาก เช่น โค แกะ สุนัขและแมว • ไวรัสนี้ค่อนข้างคงทนต่อสภาพแวดล้อม แต่ถูกทำลายได้ด้วย sodium hypochlorite, phenol และ formaldehyde การติดต่อ • contact, transplacenta, transcolostrum, semen และพาหะ esp สุกรซึ่งรอดตายแต่อมโรค กลุ่มอาการปอดอักเสบ

  24. อาการ • ในสุกรเกี่ยวข้องกับระบบประสาท ระบบหายใจและระบบการสืบพันธุ์ ส่วนในสัตว์อื่นทำให้สมองอักเสบและมีอาการคันอย่างรุนแรงมาก ลูกสุกรดูดนม • จะมีอัตราการตายสูงสุด อาการป่วยคือ หายใจลำบาก มีไข้ น้ำลายไหลมาก อาเจียน ท้องร่วง ตัวสั่น ซึม เดินโซเซ ตากระตุก นอนชักแบบตะกุยเท้า ตายใน 1-2 วัน กลุ่มอาการปอดอักเสบ

  25. Porcine Respiratory and Reproductive Syndrome (PRRS or Blue ear) • เริ่มมีการระบาดครั้งแรกในโลก เมื่อปี 2530 แถบ USA และ Canada แต่ปัจจุบันพบได้ทั่วโลก สาเหตุ • เกิดจากเชื้อไวรัส การติดต่อ • จากการสัมผัสสิ่งขับถ่ายของสุกรที่มีการติดเชื้อ เช่น อุจจาระ ปัสสาวะ น้ำมูก อสุจิ นอกจากนี้เชื้อยังสามารถไปตามกระแสลมได้ในระยะไม่น้อยกว่า 3 กม. กลุ่มอาการปอดอักเสบ

  26. อาการ • แม่สุกรอุ้มท้องจะแท้ง esp ระยะท้ายของการตั้งท้อง (110 d) หรือคลอดเป็นมัมมี่ หรือลูกตายหลังคลอด • ลูกสุกรและสุกรขุนแสดงอาการคล้ายหวัด • ระยะเวลาแสดงอาการนาน 2.5-4 เดือน การติดต่อ • จากการสัมผัสสิ่งขับถ่ายของสุกรที่มีการติดเชื้อ เช่น อุจจาระ ปัสสาวะ น้ำมูก อสุจิ นอกจากนี้เชื้อยังสามารถไปตามกระแสลมได้ในระยะไม่น้อยกว่า 3 กม. กลุ่มอาการปอดอักเสบ

  27. การวินิจฉัยโรค • เจาะเลือดตรวจหาระดับภูมิคุ้มโรคในแม่สุกรที่แท้ง และลูกที่ป่วย • ส่งซากที่แท้งเพื่อเพาะเชื้อ การควบคุมโรค • ในแหล่งที่มีการระบาดของโรคจำเป็นต้องใช้วัคซีนซึ่งเป็นชนิดเชื้อเป็น กลุ่มอาการปอดอักเสบ

More Related