1 / 70

Wealth Journal ธันวาคม 2554

Wealth Journal ธันวาคม 2554. การเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์ต่างๆ 11 เดือนแรก ปี 2554. Chart : Relative return since Jan to Nov 2011. Quarterly Return.

traci
Télécharger la présentation

Wealth Journal ธันวาคม 2554

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Wealth Journalธันวาคม 2554

  2. การเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์ต่างๆ 11 เดือนแรก ปี 2554 Chart : Relative return since Jan to Nov 2011 Quarterly Return

  3. ภายหลังจากภาวะน้ำท่วมคลี่คลาย และ6 ธนาคารกลางใหญ่ร่วมกันอัดฉีดสภาพคล่องในตลาดเงินทั่วโลกตลาดทุนไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ อย่างไรก็ตามในระยะต่อไป ปัจจัยลบเช่นการครบกำหนดของหนี้ของรัฐบาลในกลุ่มประเทศยุโรปในไตรมาสแรกของปี 2555 และการปรับพอร์ทของนักลงทุนที่ถือครองกองทุน LTF อาจกดดันตลาดได้ในระยะสั้น จึงแนะนำลงทุนเท่าตลาดในเดือนธันวาคม แนะนำทยอยลดน้ำหนักลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ (Slightly Underweight)ไปถือครองกองทุนตลาดเงินเพิ่มเติมแล้วค่อยปรับเพิ่มสถานะลงทุนตราสารหนี้ระยะปานกลางถึงระยะยาวเมื่ออัตราตอบแทนปรับสูงขึ้น แนะนำเพิ่มน้ำหนักการถือครองตราสารหนี้เอกชน (Overweight) เนื่องจากจะยังคงได้อัตราผลตอบแทนส่วนเพิ่มมากกว่าการถือครองตราสารหนี้ภาครัฐอยู่ค่อนข้างมาก ผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมส่งผลต่อรายได้ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนลงทุนอยู่ปรับลดลง ประมาณ 3 เดือน แต่คาดว่าจะทำให้ Dividend Yield ลดลงชั่วคราวและสามารถกลับมามีรายได้ปกติได้ใน 3-6 เดือนข้างหน้าและปัจจุบัน Net yield ของกองทุนอยู่ที่ประมาณ 5.5-6% ทำให้ผลตอบแทนจากการลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เริ่มกลับมามีความน่าสนใจมากขึ้น แนะนำ Neutral แนวโน้มการลงทุนในเดือนธันวาคม

  4. แนวโน้มการลงทุนในเดือนธันวาคมแนวโน้มการลงทุนในเดือนธันวาคม ถึงแม้ว่าตลาดหุ้นจะ Rebound ขึ้นมาได้อย่างมีนัยสำคัญจากมาตรการของ Central Bank แต่ปัญหาเศรษฐกิจ และหนี้ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรมในระยะยาว แนะนำคงน้ำหนักการลงทุนเท่าตลาด (Neutral) สำหรับ ทั้ง Developed market และ Emerging market แนะนำเน้นการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงต่ำต่อไป และเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นกู้เอกชนที่มีคุณภาพสูงขึ้นบางส่วน เนื่องจากสภาพคล่องในตลาดทุนสูง และ ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเครดิต (credit spread) ที่กว้างขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ตราสารดังกล่าวยังมีอัตราผลตอบแทนที่ดี โดยปรับลดน้ำหนักการลงทุนในหุ้นกู้เอกชนผลตอบแทนสูง เนื่องจาก credit spread ของหุ้นกู้ดังกล่าวอาจมีความเสี่ยงที่จะกว้างขึ้น ราคาน้ำมันได้ปรับตัวขึ้นมาค่อนข้างมากที่ระดับ $98-$100 แต่แนวโน้มเศรษฐกิจที่ยังคงเปราะบางและปริมาณการผลิตที่ยังคงสูงทำให้คาดการณ์ราคาน้ำมันปรับลดลงได้แนะนำลดน้ำหนัก Underweight ในเดือนธันวาคม การที่สภาพคล่องในตลาดเงินทั่วโลกมีมากขึ้นหลังจากธนาคารกลางใหญ่ 6 แห่งทั่วโลกประกาศอัดฉีดสภาพคล่องเข้าระบบการเงินต้นเดือนธันวาคม ทำให้คาดว่าราคาทองคำจะมีแนวโน้มเป็นขาขึ้นได้ แนะนำ Overweightในเดือนธันวาคม

  5. แนวโน้มการลงทุนในเดือนธันวาคมแนวโน้มการลงทุนในเดือนธันวาคม ภาวการณ์ลงทุนโดยรวมของหุ้นอสังหาริมทรัพย์ (REITs) คาดว่าจะยังคงถูกกดดันจากความกังวลเรื่องปัญหาหนี้ยุโรป และการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ซึ่งน่าจะทำให้ราคาสินทรัพย์เสี่ยงปรับสูงขึ้นได้ไม่มากนัก และยังคงมีความผันผวนที่สูงอยู่ แต่อย่างไรก็ตามความเสี่ยงด้านในขาลงก็น้อยลงเช่นเดียวกันจากมาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐและธนาคารกลาง แนะนำน้ำหนักการลงทุนเท่าตลาด Neutral คาดว่าช่วงสิ้นปีมีแรงซื้อดอลลาร์ สรอ. จากบริษัทแม่ในสหรัฐเพื่อปิดงบการเงินสิ้นปีทำให้ค่าเงินดอลลาร์ สรอ. มีแนวโน้มแข็งค่าได้แต่อาจถูกจำกัด ที่ระดับ 78-80 ส่วนค่าเงินยูโรอาจถูกกดดันให้อ่อนค่าได้ที่ระดับ 1.30-1.36 ดอลลาร์ สรอ. ต่อยูโรโดยมีปัจจัยเสี่ยงภาคธนาคารของยุโรปต่อการเพิ่มทุนและการแก้ปัญหาหนี้ของอิตาลีซึ่งอาจต้องได้รับความช่วยเหลือจาก IMF รวมทั้งโอกาสการเข้าสู่สภาวะถดถอยของเศรษฐกิจยุโรปในปี 2012 นอกจากนี้คาดว่าการไหลเข้าของเงินทุนต่างชาติในตลาดทุนไทยจะชะลอตัว เนื่องจากเป็นช่วงใกล้สิ้นปี และการขยายตัวของการส่งออกที่ลดลงจากผลกระทบจากน้ำท่วมทำให้คาดการณ์ว่าค่าเงินบาท ต่อ ดอลลาร์ สรอ. มีแนวโน้มอ่อนค่าที่ระดับ 31.00-31.50 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.

  6. กลยุทธการลงทุนตามความเสี่ยงกลยุทธการลงทุนตามความเสี่ยง พอร์ตการลงทุนแบบ Conservative พอร์ตการลงทุนแบบ Moderate พอร์ตการลงทุนแบบ Aggressive Performance 101.82 100.70 97.90 Note : Performance is calculated by using 2011 year to date historical data

  7. กลยุทธการลงทุนในอีกหนึ่งเดือนข้างหน้ากลยุทธการลงทุนในอีกหนึ่งเดือนข้างหน้า พอร์ตการลงทุนแบบ Conservative Conservative Tactical Asset Allocation Dec Nov Conservative Portfolio Performance 101.82 101.18 Note : MFC Wealth ยึดถือ Strategic Asset Allocation (SAA) ซึ่งเป็นเป้าหมายการลงทุนระยะยาว มาเป็น Benchmark ในการลงทุน โดยจะเปรียบเทียบกับ Tactical Asset Allocation (TAA) ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักการลงทุนตามเป้าหมายระยะสั้นเพื่อให้สอดคล้องกับสภานการปัจจุบัน

  8. กลยุทธการลงทุนในอีกหนึ่งเดือนข้างหน้ากลยุทธการลงทุนในอีกหนึ่งเดือนข้างหน้า พอร์ตการลงทุนแบบ Moderate Moderate Tactical Asset Allocation Nov Dec Moderate Portfolio Performance 100.70 99.48 Note : MFC Wealth ยึดถือ Strategic Asset Allocation (SAA) ซึ่งเป็นเป้าหมายการลงทุนระยะยาว มาเป็น Benchmark ในการลงทุน โดยจะเปรียบเทียบกับ Tactical Asset Allocation (TAA) ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักการลงทุนตามเป้าหมายระยะสั้นเพื่อให้สอดคล้องกับสภานการปัจจุบัน

  9. กลยุทธการลงทุนในอีกหนึ่งเดือนข้างหน้ากลยุทธการลงทุนในอีกหนึ่งเดือนข้างหน้า พอร์ตการลงทุนแบบ Aggressive Aggressive Tactical Asset Allocation Nov Dec Aggressive portfolio performance 99.74 97.90 Note : MFC Wealth ยึดถือ Strategic Asset Allocation (SAA) ซึ่งเป็นเป้าหมายการลงทุนระยะยาว มาเป็น Benchmark ในการลงทุน โดยจะเปรียบเทียบกับ Tactical Asset Allocation (TAA) ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักการลงทุนตามเป้าหมายระยะสั้นเพื่อให้สอดคล้องกับสภานการปัจจุบัน

  10. ตราสารทุนในประเทศ

  11. ภาวะตลาดทุนในประเทศเดือนพฤศจิกายนภาวะตลาดทุนในประเทศเดือนพฤศจิกายน • ตลาดหุ้นไทยเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆระหว่าง 950-1,000 จุด จากการที่นักลงทุนรอดูความชัดเจนของการลงทุน ก่อนที่จะปิดบวกเล็กน้อย แม้ว่าจะเผชิญกับแรงขายของนักลงทุนต่างประเทศ • ตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นเล็กน้อยท่ามกลางการขายของนักลงทุนต่างชาติ โดยที่ดัชนีตลาดฯ ในเดือนพฤศจิกายน ปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.11% นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 11,458 ล้านบาท • ปัญหาหนี้สินในยุโรปยังคงเป็นประเด็นที่เข้ามากระทบบรรยากาศการลงทุนในเดือนพฤศจิกายนเป็นระยะๆ ปัญหาในกรีซและอิตาลีกดดันให้เกิดการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ / รัฐบาลเฉพาะกิจตามมา อีกทั้งสถานการณ์ในหลายประเทศของยุโรปยังอยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยงต่อไป ทั้งอิตาลี สเปน ฝรั่งเศส หรือแม้แต่เยอรมัน ที่ประสบปัญหาในการออกพันธบัตรด้วยต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้นอย่างมีนัยยะ • ประเด็นปัญหาหนี้สาธารณะของสหรัฐฯ กลับมากดดันตลาดอีกครั้ง เมื่อ Super Committee ไม่สามารถหาข้อสรุปแนวทางการลดการขาดดุลงบประมาณจำนวน 1.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ได้ตามกำหนดในวันที่ 23 พ.ย. • ตัวเลข GDP ของไทย ในไตรมาสที่ 3 ขยายตัวเพียง 3.5% ต่ำกว่าที่ตลาดคาดที่ 4.5% ค่อนข้างมาก รวมถึงการส่งออกเดือน ต.ค. ที่ขยายตัวต่ำสุดในรอบ 2 ปี เพียง 0.3% ต่ำกว่าที่ตลาดคาดที่ 10% เช่นเดียวกับตัวเลข GDP

  12. ภาวะตลาดทุนไทยในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2554 • ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2554 SET Index ปรับตัวลดลง 3.62% ในขณะที่ SET50 Index ปรับลง 3.17% • Sector ที่มี performance ที่ดีกว่าตลาดหุ้นโดยรวมในช่วง 11 เดือนแรก ยังคงเป็นกลุ่ม Domestic และ Consumption Play อันได้แก่หมวดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หมวดพาณิชย์ หมวดอุตสาหกรรมอาหาร และหมวดสื่อและสิ่งพิมพ์

  13. แนวโน้มตลาดทุนในประเทศเดือนธันวาคมแนวโน้มตลาดทุนในประเทศเดือนธันวาคม ปัจจัยการเมืองในประเทศ • ปัจจัยการเมืองภายในประเทศอาจกลับมามีปัญหาอีกครั้งหากมีความพยายามแก้รัฐธรรมนูญ / พ.ร.บ. กลาโหม ภาวะเศรษฐกิจ • เศรษฐกิจโลกค่อนข้างเปราะบาง โดยเฉพาะเศรษฐกิจของประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งน่าที่จะมีการเติบโตที่ชะลอตัวลงในปี 2555 และยังคงมีความเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอย อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียยังคงมีปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่งกว่า • เศรษฐกิจไทยยังคงมีแนวโน้มเติบโตจากการบริโภคภายในประเทศ รัฐบาลปัจจุบันมีนโยบายการลงทุนและการใช้จ่ายภาครัฐในระบบสาธารณูปโภคเพื่อฟื้นฟูหลังน้ำลด และคาดว่ายังคงดำเนินนโยบายประชานิยมตามที่ได้หาเสียงไว้ต่อไป ซึ่งจะช่วยกระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศเพื่อชดเชยความเสี่ยงที่อุปสงค์จากภายนอกประเทศจะชะลอตัว โดยคาดการณ์ GDP ของไทยเติบโตที่ 1.5-2.0% ในปีนี้ จากผลกระทบของอุทกภัย และ 4.0-4.5% ในปี 2555 • ปัญหาหนี้สาธารณะของกลุ่มประเทศ PIIGS เป็นประเด็นสำคัญที่จะต้องติดตามความคืบหน้าอย่างใกล้ชิด แม้ว่าปัญหาดังกล่าวจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นจากความคาดหวังการเข้ามาช่วยเหลือของ EU ผลกำไรของบริษัทจดทะเบียน • ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนของไทยคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตในระดับ 15-18% ในปี 2554 นี้ และเติบโตต่อเนื่องไปอีก 12% ในปีหน้า โดยที่อัตราการเติบโตในปีนี้ ได้ถูกปรับลดลงจาก 20% จากผลของอุทกภัย • อย่างไรก็ตาม ประมาณการของปี 2555 อาจได้รับผลกระทบหากภาวะเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มแย่ลงกว่าที่คาด ดังนั้นกลยุทธ์การลงทุนในตราสารทุนในประเทศสำหรับช่วงเดือนธันวาคม คือ Neutral

  14. ตราสารหนี้ในประเทศ

  15. การเคลื่อนไหวตลาดตราสารหนี้ภาครัฐการเคลื่อนไหวตลาดตราสารหนี้ภาครัฐ Thai Government bond Yield Movement เดือนพฤศจิกายน อัตราผลตอบแทนตลาดเงินและตลาดตราสารหนี้ปรับตัวลดลง ธุรกรรมที่เบาบางของนักลงทุนต่างชาติในสถานการณ์ที่ความกังวลฝั่งยุโรปกลับมาอีกครั้ง ปัญหาน้ำท่วมในไทยที่ขยายวงกว้าง ทำให้ตลาดคาด ธปท. มีโอกาสคงดอกเบี้ย หรือ ลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมได้ในอนาคต อุปทานพันธบัตรในตลาดแรกที่เริ่มเปิดประมูลหลังจากไม่มีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลเลยในเดือนตุลาคม 54 ที่ผ่านมา ผลประมูลออกมาค่อนข้างแย่กว่าตลาดคาดการณ์

  16. การเคลื่อนไหวตลาดตราสารหนี้เอกชนการเคลื่อนไหวตลาดตราสารหนี้เอกชน Thai Corporate bond Spread Movement เดือนพฤศจิกายน ส่วนต่างอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ภาคเอกชนและตราสารหนี้ภาครัฐปรับตัวแคบลง การปรับตัวลดลงของอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ภาครัฐอย่างรวดเร็วทำให้มีความต้องการลงทุนหุ้นกู้เอกชนมากขึ้น เพื่อเพิ่มอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยให้กับพอร์ตลงทุน อุปทานหุ้นกู้เอกชนอายุ 1 -5 ปีในตลาดแรกค่อนข้างมีน้อย โดยส่วนใหญ่บริษัทเอกชนนิยมเสนอขายหุ้นกู้ระยะยาวเกิน 5 ปี ในตลาดแรกมากกว่าในช่วงที่ผ่านมา

  17. แนวโน้มและกลยุทธ์การลงทุนเดือนธันวาคมแนวโน้มและกลยุทธ์การลงทุนเดือนธันวาคม • นักลงทุนคลายกังวลปัญหาหนี้ยุโรปลงเล็กน้อยภายหลังบรรดาธนาคารกลางให้ความร่วมมือในการอัดฉีดสภาพคล่อง จึงส่งผลให้ Fund Flow ไหลกลับเข้ามาได้บ้าง • ทิศทางเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัวลงยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนหลัก สำหรับนักลงทุนภายในประเทศ และอุปทานพันธบัตรระยะยาวในไตรมาส 4 ปี 2554 มีค่อนข้างน้อย อย่างไรก็ตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลที่ต่ำเกินไป และธุรกรรมของนักลงทุนที่เบาบางช่วงปลายปี อาจเป็นเหตุให้อัตราผลตอบแทนค่อยๆปรับตัวสูงขึ้นในระหว่างเดือนธันวาคม 54 • สำหรับตราสารหนี้เอกชน ด้วย Credit Spread ที่ยังคงกว้างอยู่มาก ทำให้นักลงทุนบางส่วนยังคงมีความต้องการลงทุนในหุ้นกู้เอกชนเพิ่มมากขึ้นเพื่อผลตอบแทนส่วนเพิ่ม กลยุทธการลงทุนเดือนธันวาคม : แนะนำให้นักลงทุนทยอยลดน้ำหนักลงทุน (Slightly Underweight) ไปถือครองกองทุนตลาดเงินเพิ่มเติมแล้วค่อยปรับเพิ่มสถานะลงทุนตราสารหนี้ระยะปานกลางถึงระยะยาวเมื่ออัตราตอบแทนปรับสูงขึ้น แนะนำเพิ่มน้ำหนักการถือครองตราสารหนี้เอกชน (Overweight) เนื่องจากจะยังคงได้อัตราผลตอบแทนส่วนเพิ่มมากกว่าการถือครองตราสารหนี้ภาครัฐอยู่ค่อนข้างมาก

  18. Property Fund

  19. ภาวะตลาดกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เดือนธันวาคมภาวะตลาดกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เดือนธันวาคม • ปัจจัยบวก • การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวดีขึ้น จากมาตรการฟื้นฟูความเสียหายหลังน้ำท่วมและนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐส่งผลดีโดยตรงต่อธุรกิจค้าปลีก (CPNRF, FUTUREPF, MJLF) • อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวน่าจะกลับมาฟื้นตัวและมีแนวโน้มที่ดีขึ้นในระยะอันใกล้ ส่งผลดีโดยตรงต่อกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวเนื่องกับโรงแรม สนามบิน เป็นต้น (SPF, DTCPF) • หลังจากดัชนีกองทุนอสังหาริมทรัพย์ (SETPFUND) ได้ปรับตัวลดลงในเดือนกันยายน-ตุลาคมส่งผลให้ Dividend yield ปรับตัวสูงขึ้น โดย Gross yield ของกองทุน MPROP อยู่ที่ประมาณ 7-8% และ Net yield อยู่ที่ประมาณ 5.5-6% ประกอบกับแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้นใกล้สิ้นสุดลง ทำให้ผลตอบแทนจากการลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เริ่มกลับมามีความน่าสนใจมากขึ้น • ปัจจัยลบ • ผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมส่งผลต่อรายได้ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนลงทุนอยู่ปรับลดลง ประมาณ 3 เดือน แต่คาดว่าจะทำให้ Dividend Yield ลดลงชั่วคราวและสามารถกลับมามีรายได้ปกติได้ใน 3-6 เดือนข้างหน้า • กลยุทธ์การลงทุนในตลาดกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์จึงขอคงกลยุทธ์การลงทุนเป็น Neutral

  20. ตลาดตราสารทุนต่างประเทศตลาดตราสารทุนต่างประเทศ

  21. ภาวะตลาดตราสารทุนต่างประเทศรายภูมิภาคเดือนพฤศจิกายนภาวะตลาดตราสารทุนต่างประเทศรายภูมิภาคเดือนพฤศจิกายน • ดัชนีตลาดหุ้นต่างประเทศในเดือนพฤศจิกายนปรับตัวลดลงอีกครั้ง หลังจากมีการ Rebound ขึ้นมาในเดือนตุลาคม โดยดัชนี MSCI AC World Index ปรับตัวลง 2.7% จากเดือนตุลาคม เนื่องจากตลาดผิดหวังจากมาตรการแก้ปัญหาหนี้ในยุโรป ประกอบกับเศรษฐกิจโลกยังมีแนวโน้มชะลอตัว • ความกังวลเรื่องหนี้สาธารณะของยุโรปยังเป็นปัจจัยลบต่อตลาดหุ้นทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง และส่งผลให้ตลาดหุ้นยุโรปเป็นหนึ่งในตลาด Underperforms ในช่วงเดือนที่ผ่านมา • ตลาดหุ้นประเทศเกิดใหม่ปรับตัวลดลงมากกว่าตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว เนื่องจากตลาดดังกล่าวเป็นตลาดที่มีขนาดเล็กกว่า ส่งผลให้ราคาปรับตัวลงมากในช่วงที่มีการขายเพื่อลดสัดส่วนของสินทรัพย์เสี่ยงลง • ราคาสินทรัพย์เสี่ยงยังคงมีความผันผวนสูง เนื่องจากยังไม่มีแนวทางการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ และหนี้สาธารณะที่เป็นรูปธรรม แต่อย่างไรก็ตาม ราคาสินทรัพย์เสี่ยง รวมถึงตราสารทุนปรับตัวลดลงไม่มากนักในเดือนพฤศจิกายน เนื่องจากข่าวร้ายต่างๆ ได้สะท้อนไปในราคาสินทรัพย์มากแล้ว และตลาดคาดว่าภาครัฐฯอาจจะมีมาตรการออกมาช่วยเหลือ รวมถึงนักการเมืองในยุโรป และสหรัฐฯ น่าจะถูกกดดันให้ออกมาตรการที่เป็นรูปธรรมมากขึ้นเพื่อมาช่วยเหลือเศรษฐกิจ และภาคการเงิน • แต่อย่างไรก็ตาม พื้นฐานทางเศรษฐกิจ และปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรปยังคงเป็นปัจจัยกดดันตลาดในระยะยาวอยู่ เนื่องจากการช่วยเหลือด้านสภาพคล่องที่ธนาคารกลางต่างๆประกาศออกมาไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาหนี้ในระยะยาว November October ที่มา: Bloomberg as of November 30, 2011 - 21 -

  22. Global Equities – Regional (YTD) ที่มา: Bloomberg as of November 30, 2011 - 22 -

  23. Global Equities – Regional (MTD) ที่มา: Bloomberg as of November 30, 2011 - 23 -

  24. Global Equities - Sector ที่มา: Bloomberg as of November 30, 2011 - 24 -

  25. แนวโน้มภาวะตลาดตราสารทุนต่างประเทศเดือนธันวาคมแนวโน้มภาวะตลาดตราสารทุนต่างประเทศเดือนธันวาคม • Valuation อยู่ในระดับที่ค่อนข้างถูกเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะ Valuation ของหุ้นใน Develop Market (+) • ภาครัฐ และธนาคารกลางในหลายประเทศออกมาให้ความช่วยเหลือด้านสภาพคล่องแก่ยุโรป (+) • แต่อย่างไรก็ตาม ปัญหาหนี้ภาครัฐของยุโรปยังคงเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างในระยะยาว (-) • แนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจเริ่มชะลอตัวลง (-) • ความเสี่ยงที่จะมีการปรับตัวเลขการคาดการณ์ของผลกำไรบริษัทจดทะเบียนลงในอนาคตตามแนวโน้มการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจ (-) • แนะนำคงน้ำหนักการลงทุนเท่าตลาด (Neutral) สำหรับ ทั้ง Developed market และ Emerging market ถึงแม้ว่าตลาดหุ้นจะ Rebound ขึ้นมาได้อย่างมีนัยสำคัญจากมาตรการของ Central Bank แต่ปัญหาเศรษฐกิจ และหนี้ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรมในระยะยาว Forward P/E MSCI World Forward P/E MSCI Emerging ที่มา: Bloomberg as of November 30, 2011 - 25 -

  26. S&P 500 • เศรษฐกิจสหรัฐฯมีแนวโน้มขยายตัวในระดับที่ต่ำลง ส่งผลให้ตลาดหุ้นมี Upside ที่จำกัด แต่อย่างไรก็ตาม Momentum ของเศรษฐกิจในปี 2012 น่าจะปรับสูงขึ้น ส่งผลให้ S&P 500 มี Downside Risk ที่จำกัดเช่นเดียวกัน โดย S&P 500 น่าจะเคลื่อนไหวอยู่ในระดับ 1,100 – 1,350 ในปี 2012 S&P 500 Target 2012 @1,320 - 1,370 ($105 EPS and 12.5x – 13x PE Assumption) Source: Bloomberg, Goldman Sachs

  27. S&P 500 PE & Trialing EPS EPS Target 2012 @$105 (10% Earning Growth Assumption) Ave 16x Target 12.5x -13x PE Current $95 Current 12.5x Ave $77 PER EPS

  28. MSCI Developed Market • เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มขยายตัวในระดับที่ต่ำลง ส่งผลให้ตลาดหุ้นมี Upside ที่จำกัด แต่อย่างไรก็ตาม Momentum ของเศรษฐกิจในปี 2012 น่าจะปรับสูงขึ้น ส่งผลให้ MSCI Developed Market (MXWO) มี Downside Risk ที่จำกัดเช่นเดียวกัน โดย MXWO น่าจะเคลื่อนไหวอยู่ในระดับ 1,100 – 1,400 ในปี 2012 • ตลาดหุ้นสหรัฐฯมีแนวโน้มที่จะ Out Perform เนื่องจากการขยายตัวของกำไรของบริษัทจดทะเบียนยังอยู่ในระดับสูง ในขณะที่ตลาดหุ้นในญี่ปุ่น และยุโรปน่าจะ Under Perform เนื่องจากปัญหาหนี้ภาครัฐฯยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม และคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวในระดับที่ต่ำมาก Target 1,303 (EUR 102.6 and 12.7x PE Assumption)

  29. MSCI Developed Market PE & Trialing EPS PER Ave 17x Target 12.7x Current 12.7x EPS Target EUR 102.6 (10% EPS Growth Assumption Current EUR 93.3 Ave EUR 80.1

  30. ตลาดตราสารหนี้ต่างประเทศตลาดตราสารหนี้ต่างประเทศ

  31. สภาวะตลาดตราสารหนี้ต่างประเทศเดือนพฤศจิกายนสภาวะตลาดตราสารหนี้ต่างประเทศเดือนพฤศจิกายน • ในเดือนที่ผ่านมา ตลาดตราสารหนี้ต่างประเทศเคลื่อนไหวผันผวนเกือบตลอดเดือน มูลค่าพันธบัตรรัฐบาลแกว่งตัวในแดนบวก จากความกังวลวิกฤตหนี้สาธารณะยุโรปอย่างต่อเนื่อง • เริ่มตั้งแต่ปัญหาการเมืองในกรีซ และอิตาลี ซึ่งนำมาสู่การเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรี เส้นอัตราผลตอบแทนของประเทศกลุ่มยูโรยังคงปรับตัวสูงขึ้น ผลการประมูลพันธบัตรที่มีความต้องการต่ำกว่าคาดการณ์ของกลุ่มประเทศในยูโร รวมถึงเยอรมัน และการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคารพาณิชย์ในเยอรมัน • ต่อมาตลาดได้รับข่าวดีในวันที่ 30 พ.ย. ธนาคารกลางใหญ่ 6 ประเทศได้แก่ FED, Bank of Canada, Bank of England, Bank of Japan, European Central Bank และ Swiss National Bank ร่วมกันลดดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่างกัน เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับระบบธนาคาร ทำให้นักลงทุนหันมาเพิ่มน้ำหนักการลงทุนสินทรัพย์เสี่ยง มูลค่าดัชนีพันธบัตรรัฐบาลทั่วโลก หุ้นกู้เอกชน และตราสารหนี้แปลงสภาพจากสินเชื่อที่อยู่อาศัย ปรับลดลง ขณะที่ พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ยังให้ผลตอบแทนเป็นบวก 370.5 351.2 ที่มา MFC, Bloomberg

  32. US & EU Yield Curves เดือนพฤศจิกายน US twisted down and EU yields have twisted up amid series of concerns Euro sovereign debt crises. 10-Yr Yield 2.07% 10-Yr Yield 2.33% Source: Bloomberg

  33. No M&A Cycle in Sight, Good for Credit ภาคเอกชนยังคงมีเงินสดอยู่ในระดับสูง ไม่มีการนำไปใช้ในควบรวมกิจการ จึงน่าจะเป็นผลดีต่อหุ้นกู้เอกชนที่มีคุณภาพสูง (เครดิตบอนด์) Source: Societe Generale Cross Asset Research

  34. Corporate Bonds IG: The Best Risk/ Reward Profile หุ้นกู้เอกชนที่มีคุณภาพสูง (Investment Grade)ให้ผลตอบแทนเทียบกับความเสี่ยงดีกว่า หุ้นสามัญ และ พันธบัตรรัฐบาล

  35. แนวโน้มตลาดตราสารหนี้เดือนธันวาคมแนวโน้มตลาดตราสารหนี้เดือนธันวาคม อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรรัฐบาลน่าจะเคลื่อนไหวแกว่งตัวลงจากความกังวลปัญหาหนี้สาธารณะยุโรปที่ยังไม่คลี่คลาย ยังคงทำให้นักลงทุนสนใจลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น พันธบัตรรัฐบาล จึงควรเน้นการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงต่ำต่อไป ขณะที่ควรเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นกู้เอกชนที่มีคุณภาพสูงขึ้นบางส่วน เนื่องจากสภาพคล่องในตลาดทุนสูง และ ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเครดิต (credit spread) ที่กว้างขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ตราสารดังกล่าวยังมีอัตราผลตอบแทนที่ดี ขณะที่ควรลดน้ำหนักการลงทุนในหุ้นกู้เอกชนผลตอบแทนสูง เนื่องจาก credit spread ของหุ้นกู้ดังกล่าวอาจมีความเสี่ยงที่จะกว้างขึ้น

  36. การลงทุนทางเลือกต่างประเทศการลงทุนทางเลือกต่างประเทศ

  37. Commodity Index Movement

  38. ภาวะตลาดสินค้าโภคภัณฑ์เดือนพฤศจิกายนภาวะตลาดสินค้าโภคภัณฑ์เดือนพฤศจิกายน • ราคาสินค้าโภคภัณฑ์โดยรวมปรับบวกตัว4.1% จากช่วงต้นปี 2554 กลุ่ม ทองคำในกลุ่มสินค้าโลหะมีค่าปรับตัวบวกเพิ่มขึ้นมากที่สุดในกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ โดยปรับตัวบวก 22.8% ในจากช่วงต้นปี 2554 ได้เป็นอันดับสองกลุ่มสินค้าโลหะมีค่าปรับตัวโดยปรับตัวบวกถึง 20.5% • ราคาสินค้าโภคภัณฑ์โดยรวมปรับบวก 1.2% ในช่วงเดือนพฤศจิกายน โดยมีราคาน้ำมันดิบปรับตัวบวกเป็นอันดับหนึ่งโดยปรับตัวขึ้นถึง 7.7% • ในช่วงสิ้นเดือนพฤศจิกายนธนาคารกลางจีนประกาศปรับลดสัดส่วนการกันสำรองของธนาคารพาณิชย์ลง 0.50% มาที่ระดับ 21% เป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 3 ปี เป็นการบ่งชี้ว่า จีนได้ปรับนโยบายการเงินเข้าสู่ภาวะผ่อนคลาย ในขณะที่การเติบโตทางเศรษฐกิจชะลอตัวลง และเงินเฟ้อเริ่มแผ่วลง ก่อนหน้านี้ธนาคารกลางจีนได้ลดสัดส่วนการกันสำรองของสถาบันการเงินในชนบทกว่า 20 แห่งลง 0.5% • ธนาคารกลางยุโรป ร่วมมือกันบรรเทาภาวะตึงตัวในระบบการเงินโลกและบรรเทาผลกระทบของภาวะดังกล่าวที่มีต่อการปล่อยสินเชื่อให้แก่ภาคครัวเรือนและภาคเอกชน โดยธนาคารทั้ง 6 แห่งเห็นพ้องต้องกันว่า จะลดอัตราดอกเบี้ยในการสวอปเงินดอลลาร์ลง 0.5% • เราคาดว่าข่าวดังกล่าวจะส่งผลดีต่อสินทรัพย์สินค้าโภคภัณฑ์ในเดือนนี้ทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์มีโอกาสปรับตัวขึ้นได้ตามตลาดหุ้น แนะนำลงทุนเท่าตลาด (Neutral)ในเดือนธันวาคม - 38 - ที่มา: Bloomberg as of November 30, 2011

  39. ราคาน้ำมันดิบ ราคาน้ำมันดิบปรับตัวบวก 7.7% ในเดือนพฤศจิกายน ราคาน้ำมันปรับตัวบวกเพราะได้แรงหนุนจากปรับขึ้นของตลาดหุ้นสหรัฐ การอ่อนค่าของดอลลาร์และความหวังต่อการแก้ไขวิกฤติหนี้ยูโรโซน คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มแกว่งบวกลบในช่วงสั้นแต่ราคาได้ปรับตัวขึ้นมาค่อนข้างมากที่ระดับ $98-$100 แนะนำน้ำหนัก Underweight ในเดือนธันวาคม - 39 -

  40. Only speculation, Fundamental has priced in • WTI forward yield curve to end 2012 • CFTC Money Manager net long position is 34% above 3 yrs mean - 40 -

  41. Supply is Back • Supply / demand data end-Oct shows supply returning • Supply / demand reading 1x or above seems to be spot crude negative - 41 -

  42. ราคาทองคำ ราคาทองคำปรับตัวบวก 1.2% ในเดือนพฤศจิกายน ธนาคารกลางยุโรป ร่วมมือกันบรรเทาภาวะตึงตัวในระบบการเงินโลกและบรรเทาผลกระทบของภาวะดังกล่าวที่มีต่อการปล่อยสินเชื่อให้แก่ภาคครัวเรือนและภาคเอกชน โดยธนาคารกลางทั้ง 6 แห่งได้แก่FED, Bank of Canada, Bank of England, Bank of Japan, European Central Bank และ Swiss National Bankเห็นพ้องต้องกันว่า จะลดอัตราดอกเบี้ยในการสวอปเงินดอลลาร์ลง 0.50% โดยคาดว่า Money Supply ในตลาดระบบจะมีมากขึ้น กองทุน SPDR Gold Trust ซึ่งเป็นกองทุนทองคำที่ใหญ่ที่สุดในโลก ไม่มีการเทขายทองคำออก โดยกองทุนดังกล่าวยังถือครองทองคำ อยู่ถึง 1,241 ตันอยู่เท่าเดิม ปัจจัยพื้นฐานของทองคำในฐานะ Asset Allocation นั้นยังไม่เปลี่ยนไป 1) ความผันผวน และไม่แน่นอนของเศรษฐกิจทั่วโลกรวมถึงวิกฤตหนี้สินในยุโรป 2) ภาวะ negative real interest rates (ดอกเบี้ยในสหรัฐฯ และยุโรป จะยังคงอยู่ในระดับใกล้ 0% ไปจนถึงกลางปี 2013) แนะนำน้ำหนัก Overweight ในเดือนธันวาคม - 42 -

  43. Morgan Stanley has revised up Gold Price Source: Morgan Stanley Nov 2011 - 43 -

  44. Real Estate Investment Trusts

  45. REITs • โดยรวมDJ Global Selected Real Estate Index ปรับตัวลดลง 4.3% ในรูปสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา • REITs ซึ่งมีการลงทุนในทวีปยุโรปปรับตัวลดลงมากที่สุดโดยปรับตัวลง 7.9% เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวลงของการขยายตัวทางเศรษฐกิจในสหรัฐฯ ในขณะที่ REITs ซึ่งมีการลงทุนในทวีปเอเชียปรับตัวลดลง 7.8% และ REITs ซึ่งมีการลงทุนในทวีปอเมริกาเหนือปรับตัวลดลง 3.9% • ในช่วงเดือนพฤศจิกายน REITs ปรับตัวลดลงหลังจากมีการ Rebound ขึ้นในเดือนตุลาคม ทิศทางโดยรวมของ REITs ยังคงปรับตัวตามตลาดหุ้นโดยรวมที่ถูกเทขายจากความกังวลเรื่องการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และปัญหาหนี้ของยุโรป ซึ่งนักลงทุนยังคงมีความกังวลว่าปัญหาดังกล่าวยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม • ภาวการณ์ลงทุนโดยรวมของหุ้นอสังหาริมทรัพย์ (REITs) คาดว่าจะยังคงถูกกดดันจากความกังวลเรื่องปัญหาหนี้ยุโรป และการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ซึ่งน่าจะทำให้ราคาสินทรัพย์เสี่ยงปรับสูงขึ้นได้ไม่มากนัก และยังคงมีความผันผวนที่สูงอยู่ แต่อย่างไรก็ตามความเสี่ยงด้านในขาลงก็น้อยลงเช่นเดียวกันจากมาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐและธนาคารกลาง แนะนำน้ำหนักการลงทุนเท่าตลาด Neutral ที่มา: Bloomberg as of November 30, 2011 - 45 -

  46. อัตราแลกเปลี่ยน

  47. สภาวะค่าเงินเดือนพฤศจิกายนสภาวะค่าเงินเดือนพฤศจิกายน • ในช่วงเดือนพฤศจิกายน ตลาดเงินยังคงถูกชี้นำด้วยปัจจัยจากยุโรป และ สหรัฐอเมริกา ดังนี้ 1. วิกฤตหนี้ยุโรปที่ยืดเยื้อ และปัญหาการเมืองภายในของยุโรปของกรีซ และ อิตาลี ซึ่งกระทบต่อการแก้ไขปัญหาการขาดดุลทางการคลัง รวมทั้งการปรับตัวสูงขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอิตาลีที่แตะระดับ 7% ซึ่งเป็นระดับที่สูง และการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคารเล็กในเยอรมัน 2. ความล้มเหลวของ Super committee ของรัฐบาลและฝ่ายค้านต่อการเสนอแผนปรับลดงบประมาณเพื่อลดการขาดดุลทางการคลังต่อสภา ซึ่งทำให้เข้าสู่การปรับลดงบประมาณ 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ. โดยอัตโนมัติ นอกจากนี้รายงานตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาออกมาค่อนข้างดี 3. ในช่วงสิ้นเดือนพฤศจิกายน มีความร่วมมือของ 6 ธนาคารกลางของสหรัฐ (Fed), อังกฤษ,ยุโรป,ญี่ปุ่น,แคนาดา และสวิสเซอร์แลนด์ เพื่อเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินให้แก่ยุโรปและธนาคารในยุโรป • ค่าดัชนีชี้วัดค่าเงินดอลลาร์ สรอ. (Dollar Index) เคลื่อนไหวแข็งค่ามาอยู่ที่ระดับ 78.384 ณ วันที่ 30/11/11 จากที่ระดับ 77.261 ณ วันที่ 1/11/11 และสูงสุดที่ระดับ 79.686 ณ วันที่ 25/11/11 เนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่เทขายสินทรัพย์เสี่ยงและหันเข้าถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างสกุลดอลลาร์ สรอ. แต่ในช่วงปลายเดือนปัญหาการเมืองภายในยุโรปคลี่คลายและมาตรการความร่วมมือของธนาคารกลาง 6 ประเทศดังกล่าว ทำให้ค่าเงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเล็กน้อย ดัชนีดอลลาร์ สรอ. (DXY Index) 78.384 ที่มา : Bloomberg

  48. สภาวะค่าเงินกลุ่ม G-10 เดือนพฤศจิกายน • ค่าเงินกลุ่ม G-10 เทียบกับดอลลาร์ สรอ. ส่วนใหญ่อ่อนค่าค่าเทียบกับดอลลาร์ สรอ.ยกเว้นค่าเงินเยน • ค่าเงินยูโรอ่อนค่าที่ 2.10% มาอยู่ที่ 1.3448 ณ วันที่ 30/11/11จาก 1.3737ดอลลาร์ สรอ. ต่อยูโร ณ วันที่ 1/11/11 โดยค่าเงินยูโรร่วงลงต่ำสุดที่ระดับ 1.3241 ดอลลาร์ สรอ.ต่อยูโรในวันที่25/11/11 เป็นผลจากความกังวลต่อปัญหาหนี้ในประเทศอิตาลี เนื่องจากประเทศอิตาลีเป็นตลาดพันธบัตรที่ใหญ่สุดของยุโรป ในขณะที่ประเทศฝรั่งเศสมีสัดส่วนการถือครองพันธบัตรอิตาลีสูงสุดในกลุ่มยุโรป ทำให้ฝรั่งเศสมีความเสี่ยงต่อการถูกปรับลดอันดับเครดิตลงจาก AAA ณ ปัจจุบัน • ค่าเงินเยนกลับมาแข็งค่าอยู่ที่ 77.57 ณ วันที่ 30/11/11 จาก 78.29 เยน ต่อ ดอลลาร์ สรอ. ณ วันที่ 1/11/11 โดยค่าเงินเยนแข็งค่าสูงสุดที่ 76.93 ในวันที่18/11/11 ซึ่งเป็นผลจาก risk off ต่อความกังวลในยุโรปทำให้นักลงทุนเข้าถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างสกุลเยน • ค่าเงิน ดอลลาร์ ออสเตรเลีย เคลื่อนไหวอ่อนค่า 0.95% มาอยู่ที่ระดับ 1.0253 ณ วันที่30/11/10 จาก1.0351 ณ วันที่ 1/11/11 ซึ่งเคลื่อนไหวตามความผันผวนค่าเงินยูโร โดยซื้อขายต่ำสุดที่ระดับ 0.97 ดอลลาร์ ต่อดอลลาร์ ออสเตรเลีย ณ วันที่ 25/11/11 % การอ่อนค่าของค่าเงิน 01/11/11- 30/11/11 % การแข็งค่าของค่าเงิน ที่มา : Bloomberg

  49. สภาวะค่าเงินสกุลเอเชียและเงินบาทเดือนพฤศจิกายนสภาวะค่าเงินสกุลเอเชียและเงินบาทเดือนพฤศจิกายน โดยภาพรวมค่าเงินเอเชียเคลื่อนไหวอ่อนค่าตามปัจจัยต่างประเทศโดยเฉพาะวิกฤตหนี้ยุโรปและการเคลื่อนไหวของเงินทุนต่างชาติในตลาดทุนซึ่งมีความผันผวนตามข่าวยุโรปและสถานการณ์ risk off ทำให้ตลาดหุนเอเชียปรับฐานลง โดยค่าเงินรูปี อ่อนค่าถึง 5.69% ตามด้วยวอนอ่อนค่า 1.71%, ค่าเงินรูเปี๊ยะและริงกิต ที่อ่อนค่า 1.55% และ 1.50% ตามลำดับ ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวแข็งค่าที่ 0.13% ซึ่ง Outperform เมือเทียบกับค่าเงินสกุลอื่นๆในเอเชีย จากเดิมค่าเงินบาที่ระดับ 30.92 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ณ วันที่ 1/11/11 มาอยู่ที่ 30.88บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ณ วันที่ 30/11/11 ในเดือนนี้ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวผันผวน จากแตะระดับแข็งค่ามากที่สุด 30.62บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ณ 3/11/11 และกลับมาอ่อนค่ามากสุดถึง 31.40 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ณ วันที่ 25/11/11 จากปัจจัยยุโรป และปริมาณซื้อขายในตลาดเงินภายในประเทศที่ค่อนข้างเบาบางจากปัญหาวิกฤตน้ำท่วมในกรุงเทพช่วงต้นเดือน รวมทั้งความผันผวนของเงินทุนต่างชาติในตลาดหุ้นไทยและตลาดตราสารหนี้ไทยที่มีแรงเทขายจากต่างชาติในช่วงต้นเดือนถึงกลางเดือน 1/11/11 - 30/11/11 กราฟค่าเงินบาทต่อดอลลาร์ สรอ. ตั้งแต่ 1/12/10 – 30/11/11 % การอ่อนค่าของค่าเงิน % การแข็งค่าของค่าเงิน 30.88 ที่มา : Bloomberg

  50. การเคลื่อนไหวค่าเงินตั้งแต่ต้นปี 2554 ถึง 1 ธ.ค.2554 ค่าเงินกลุ่ม G-10 % การอ่อนค่าของค่าเงิน % การแข็งค่าของค่าเงิน ค่าเงินกลุ่มเอเชีย % การแข็งค่าของค่าเงิน % การอ่อนค่าของค่าเงิน ที่มา : Bloomberg

More Related