1 / 40

การลำเลียงสารในร่างกาย

การลำเลียงสารในร่างกาย. การลำเลียงสาร หมายถึง การนำสารอาหารที่ย่อยแล้ว ออกซิเจน เอนไซม์ ฮอร์โมน แร่ธาตุต่างๆ ฯลฯ ไปยังเซลล์และกำจัดของเสียต่างๆ ออกจากเซลล์รวมทั้งช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้เป็นปกติด้วย. สัตว์ชั้นต่ำ

trista
Télécharger la présentation

การลำเลียงสารในร่างกาย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การลำเลียงสารในร่างกายการลำเลียงสารในร่างกาย การลำเลียงสาร หมายถึง การนำสารอาหารที่ย่อยแล้ว ออกซิเจน เอนไซม์ ฮอร์โมน แร่ธาตุต่างๆ ฯลฯ ไปยังเซลล์และกำจัดของเสียต่างๆ ออกจากเซลล์รวมทั้งช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้เป็นปกติด้วย

  2. สัตว์ชั้นต่ำ ขนาดเล็กมีการแลกเปลี่ยนสาร โดยตรงระหว่างเซลล์กับสิ่งแวดล้อมโดยการแพร่และการไหลเวียนของไซโทพลาสซึม (cyclosis) ช่วยให้การแลกเปลี่ยนสารดีขึ้น เช่น ไฮดรา พลานาเรีย อาศัยการแพร่ของสารอาหารผ่านไปยังเซลล์ถัดไป

  3. สัตว์ชั้นสูง มีระบบหมุนเวียนเลือดช่วยในการลำเลียงสารไปยังส่วนต่างๆของร่างกายแบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ1) ระบบหมุนเวียนเลือดแบบเปิด ( Opencirculatorysystem) เป็นระบบที่เลือดไหลออกจากหัวใจแล้วมีทั้งอยู่ในเส้นเลือด ช่องว่างในลำตัวและที่ว่างระหว่างอวัยวะต่างๆ พบในสัตว์ไฟลัมอาร์โทรโพดา เช่น เเมลง กุ้ง กั้ง ปู ไรน้ำ(ไรเเดง) เพรียงหิน เเมงมุม เเมงป่อง เห็บ ไร เเมงดาทะเล ตะขาบ กิ้งกือ ฯลฯ และไฟลัมมอลลัสกา เช่น พวกหอย เป๋าฮื้อ หมึก ลิ่นทะเล ทาก หอยทาก 2) ระบบหมุนเวียนเลือดแบบปิด ( Closed circulatory system ) เป็นระบบที่เลือดไหลอยู่ในเส้นเลือดโดยตลอด พบในสัตว์ไฟลัมแอนเนลิดา(ไส้เดือนดิน เเม่เพรียง ( ไส้เดือนทะเล ) ปลิงน้ำจืด ) คอร์ดาตา(เพรียงหัวหอม เพรียงลอย เพรียงสาย เเอมฟิออกซัส ) และสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหมด

  4. http://www.bs.ac.th/lab2000/web_bio/food.htm

  5. การลำเลียงสารในไส้เดือนดินการลำเลียงสารในไส้เดือนดิน - มีหัวใจเทียม ( Pseudoheart ) บริเวณปล้องที่7-11 บีบตัวส่งเลือดไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย- เซลล์เม็ดเลือดแดงมีนิวเคลียสแต่ไม่มีสี น้ำเลือดมีสีแดง เพราะมีฮีโมโกลบินละลายอยู่

  6. การลำเลียงสารในพวกมอลลัสค์การลำเลียงสารในพวกมอลลัสค์ - หอย มีระบบหมุนเวียนเลือดแบบเปิด โดยหัวใจส่งเลือดไปตามหลอดเลือดและแทรกซึมไปตามช่องรับเลือดสังผัสกับเนื้อเยื่อ โดยตรง- หมึก มีระบบหมุนเลียนเลือดแบบปิด เลือดมีฮีโมไซยานิน หัวใจมี 2 แบบคือ systemic heart รับเลือดจากเหงือกส่งไปส่วนต่างๆของร่างกายและ branchial heart ส่งเลือดไปแลกเปลี่ยนแก๊สที่เหงือก

  7. การลำเลียงสารในแมลง - มีระบบหมุนเวียนเลือดแบบวงจรเปิด โดยเลือดจะไหลเวียนจาก หลอดเลือดเข้าสู่ช่องว่างของเนื้อเยื่อ( Haemocoel ) - หัวใจของแมลงเกิดจากการพองตัวของหลอดเลือดในแต่ละปล้องเกิดเป็นห้อง ประมาณ 9 ห้อง มีอัตราการเต้นประมาณ 14-160 ครั้ง/นาที- เลือดแมลงประกอบด้วย น้ำเลือด(plasma) และเม็ดเลือด(Hemocyte) ไม่มีรงควัตถุในเลือดสำหรับลำเลียงก๊าซเพราะมีระบบท่อลมลำเลียงก๊าซได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  8. การลำเลียงสารในสัตว์มีกระดูกสันหลังการลำเลียงสารในสัตว์มีกระดูกสันหลัง • สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ มีหัวใจ 3 ห้อง ( atrium 2 และ ventricle 1 ) มีหน้าที่ต่างกันดังนี้ - ห้องบนขวารับเลือดที่มีคาร์บอนไดออกไซด์มาจากส่วนต่างๆของ ร่างกาย - ห้องบนซ้าย รับเลือดที่มีออกซิเจนมาจากปอด - ห้องล่าง ส่งเลือดที่มีออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์จากห้องบนไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย • สัตว์เลื้อยคลาน มีหัวใจ 3 ห้อง ( atrium 2 และ ventricle 1 ) ห้องล่างมีผนังกั้นแต่ไม่ตลอด ยกเว้น จระเข้มีผนังกั้นโดยสมบูรณ์จึงถือว่าหัวใจมี 4 ห้อง • สัตว์ปีก หัวใจมี 4 ห้อง ( atrium 2 และ ventricle 2 ) และมีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับขนาดตัว เลือดที่มีออกซิเจนมากและมีออกซิเจนน้อยแยกจากกันโดยสมบูรณ์

  9. การลำเลียงสารในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมการลำเลียงสารในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม - สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม มีหัวใจ 4 ห้อง การหมุนเวียนเลือดไหลผ่านหัวใจ 2 ครั้ง/รอบ โดยเลือดที่มีออกซิเจนมาก ไหลผ่านหัวใจซีกซ้ายและเลือดที่มีคาร์บอนไดออกไซด์มากไหลผ่านหัวใจซีกขวา โดยไม่ปะปนกัน- หัวใจของมนุษย์มีลักษณะดังนี้ มีเยื่อหุ้ม ( Pericardium ) ระหว่างเยื่อหุ้มชั้นนอกกับชั้นในมีของเหลวใส (Pericardial fluuid) ช่วยหล่อลื่นและลดแรงเสียดทานมีเส้นเลือดโคโรนารีอาร์เตอรี ( Coronary artery ) นำอาหารและออกซิเจนมาเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ

  10. หัวใจ มี4 ห้อง ห้องบน (atrium) 2 ห้อง ห้องล่าง (ventricle) 2 ห้อง ภายในมีลิ้นหัวใจ ( valve ) ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ ดังนี้ 1) ลิ้นไบคัสพิด ( Bicuspid valve ) กั้นห้องบนซ้ายกับห้องล่างซ้าย 2) ลิ้นไตรคัสพิด ( Tricuspid valve ) กั้นห้องบนขวากับล่างขวา 3) ลิ้นเออร์ติกเซมิลูนาร์ ( Aortic semilunar valve ) อยู่ตรงบริเวณโคนเส้นเลือดแดงใหญ่ 4) ลิ้นพัลโมนารี ( Pulmonary semilunar valve ) อยู่ตรงบริเวณโคนเส้นเลือดพัลโมนารีอาร์เทอรี ซึ่งนำเลือดไปแลกเปลี่ยนก๊าซที่ปอด ข้อควรจำหัวใจห้องล่างซ้ายมีขนาดใหญ่ที่สุดและมีผนังหนาที่สุดเนื่องจากต้องสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย

  11. ลิ้นพัลโมนารี

  12. การไหลเวียนของเลือด

  13. ความดันเลือด ( Blood pressure ) เกิดจาการบีบตัวของหัวใจทำให้เกิดแรงดันในเส้นเลือด 2 ค่าคือ1) ความดันซิสโทลิก ( Systolic pressure ) หมายถึง ความดันเลือดสูงสุดขณะหัวใจบีบตัว มีค่าประมาณ 120 มิลลิเมตรปรอท2) ความดันไดแอสโทลิก ( Diaastoric pressure ) หมายถึงความดันเลือดขณะที่หัวใจคลายตัว มีค่าประมาณ 80 มิลลิเมตรปรอท- ความดันเลือดคนปกติ มีค่า 120/80 มิลลิเมตรปรอท แต่อาจเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับอายุ เพศ อารมณ์ น้ำหนักตัว อาหาร และโรคบางอย่าง • ข้อควรจำ1. การวัดความดันจะวัดจากเส้นเลือดอาร์เทอรีที่อยู่ใกล้หัวใจ โดยทั่วไปนิยมวัดจากเส้นเลือดอาร์เทอรีที่ต้นแขน โดยใช้เครื่องมือสฟิกโมนาโมมิเตอร์ (SPHYGMONANOMETER )2. ในผู้ใหญ่ปกติจะมีค่าความดันเลือด 120/80 มิลลิเมตรปรอท

  14. ชีพจร ( Heart rate ) เกิดจากแรงดันเลือดทำให้เส้นอาร์เตอรีหดและขยายตัวสลับกันตามจังหวะการเต้นของหัวใจ คนปกติมีอัตราการเต้นของชีพจรประมาณ 72 ครั้ง/นาที • เส้นเลือด ( Blood vessel ) แบ่งเป็น 3 ชนิดคือ1) เส้นอาร์เตอรี ( Artery ) หมายถึง เส้นเลือดที่นำเลือดออกจากหัวใจ โดยมากเป็นเลือดที่มีออกซิเจนมากจึงเรียกกันว่า เส้นเลือดแดง ยกเว้น pulmonary artery ซึ่งนำเลือดจากหัวใจไปปอดมีออกซิเจนน้อย เส้นอาร์เตอรีที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ เอออร์ตา (Aorta)2) เส้นเวน ( Vein ) หมายถึงเส้นเลือดที่นำเลือดเข้าสู่หัวใจ ส่วนใหญ่เป็นเลือดที่มีออกซิเจนน้อยจึงเรียกกันว่า เส้นเลือดดำ ยกเว้น pulmonary vein ซึ่งนำเลือดจากปอดเข้าสู่หัวใจมีออกซิเจนมาก เส้นเวนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือ เวนาคาวา (vena cava) 3) เส้นเลือดฝอย ( Capillary ) มายถึง เส้นเลือดขนาดเล็กที่แทรกในเนื้อเยื่อมีผนังบางมากทำหน้าที่แลกเปลี่ยนสารต่างๆ ระหว่างเลือดกับเซลล์ทั่วร่างกาย ข้อควรจำ • เส้นเลือด PULMONARY ARTERY นำเลือดที่มีออกซิเจนต่ำเข้าไปฟอกที่ปอด • เส้นเลือด PULMONARY VEIN นำเลือดที่มีออกซิเจนสูงที่ฟอกแล้วจากปอดกลับเข้าสู่หัวใจ

  15. ตารางเปรียบเทียบลักษณะเส้นเลือดชนิดต่างๆ ของมนุษย์

  16. ระบบหมุนเวียนเลือด

  17. เลือดของมนุษย์มีประมาณ 7-8 % ของน้ำหนักตัว มีส่วนประกอบดังนี้ 1. น้ำเลือด ( Plasma ) เป็นของเหลวสีเหลืองอ่อนค่อนข้างใส มีประมาณ 55% ของเลือดทั้งหมด ประกอบด้วย - น้ำ 90-93% - โปรตีน 7-10% ได้แก่ อัลบูมิน ( Albumin ) โกลบูมิน ( Globumin ) ไฟบริโนเจน (Fibrinogen) - ฮอร์โมน,เอนไซม์,แอนติบอดี - สารอาหารที่ย่อยแล้ว เช่น กลูโคส กรดอะมิโน กรดไขมัน - แร่ธาตุและวิตามินต่างๆ - ของเสียที่ต้องการกำจัดออก เช่น ยูเรีย คาร์บอนไดออกไซด์ - ถ้านำเลือดที่แข็งตัวแล้วมาปั่นแยกเอาเซลล์เม็ดเลือด เพลตเลตและไฟบรินออก จะเหลือของเหลวใส เรียกว่า ซีรัม ( serum )

  18. 2. เม็ดเลือด ( Blood corpuscle ) มีประมาณ 45% ของเลือดทั้งหมด ประกอบด้วย เซลล์เม็ดเลือดแดง ( Red blood cell ) - รูปร่างกลมแบน ตรงกลางบุ๋มเพราะไม่มีนิวเคลียส - ในระยะเอมบริโอสร้างจาก ตับ ม้าม ไขกระดูก เมื่อคลอดแล้วสร้างจากไขกระดูก มีอายุเฉลี่ย 100 - 120 วัน แหล่งทำลายคือ ตับและม้าม - เพศชายมีเม็ดเลือดแดง 5 ล้านเซลล์ต่อ1 ลูกบาศก์มิลลิเมตร ส่วนเพศหญิงมีเม็ดเลือดแดง 4.5 - 5 ล้านเซลล์ต่อ 1 ลูกบาศก์มิลลิเมตร - คนที่มีเม็ดเลือดแดงน้อยกว่าปกติ จะเป็นโรคโลหิตจาง ( Anemia ) แต่หากมีเม็ดเลือดแดงมากกว่าปกติอาจเกิดโรค Polycythema ทำให้เลือดข้นและอุดตันได้ - เยื่อหุ้มเซลล์ของเม็ดเลือดแดง ประกอบด้วย ฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) ซึ่งมีเหล็กอยู่ 4 อะตอมต่อ 1 โมเลกุล ดังนั้นฮีโมโกลบินจึงรวมกับออกซิเจนได้ครั้งละ 4 โมเลกุล กลายเป็นออกซีฮีโมโกลบิน (Oxyhemoglobin) ลำเลียงไปยังเซลล์ทั่วร่างกาย

  19. เซลล์เม็ดเลือดขาว ( White blood cell )- รูปร่างกลม ขนาดใหญ่ประมาณ 6-15 ไมโครเมตร เคลื่อนที่แบบอะมีบานิวเคลียส มีรูปร่างต่างกันหลายแบบ - สร้างจากไขกระดูกและต่อมน้ำเหลือง มีอายุประมาณ 2-3 วัน - มีปริมาณน้อย คือ 5000 - 10000 เซลล์ต่อเลือด 1 ลูกบาศก์มิลลิเมตร แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ 1) เม็ดเลือดขาวที่มีแกรนูล ( Granule leucocyte ) นิวเคลียสมีหลายพู ( lobe ) พบประมาณ 70% ของเม็ดเลือดขาว ได้แก่ - นิวโทรฟิล ( Neutrophil ) มีปริมาณมากที่สุด สร้างจากไขกระดูก นิวเคลียสมี 3 - 5 พู หน้าที่กินสิ่งแปลกปลอม โดยวิธี phagocytosis - อีโอซิโนฟิล ( Eosinophil ) พบในเนื้อเยื่อมากกว่ากระแสเลือด นิวเคลียสมี 2 พู หน้าที่กำจัดสิ่งแปลกปลอม โดยการจับกินและทำลายสารพิษ - เบโซฟิล ( Basophil ) พบน้อยที่สุด นิวเคลียสมี 2 พูขึ้นไป จับกินสิ่งแปลกปลอมและสร้างเฮพาริน ( heparin ) ไม่ให้เลือดแข็งตัว รวมทั้งสนองต่อสิ่งแปลกปลอมที่ก่อให้เกิดอาการแพ้

  20. 2) เม็ดเลือดขาวที่ไม่มีแกรนูล ( Nongranule leucocyte ) ได้แก่- โมโนไซต์ ( Monocyte ) มีขนาดใหญ่ที่สุด นิวเคลียสใหญ่เกือบเต็มเซลล์มีหน้าที่กำจัดเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมโดยวิธี Phagocytosis- ลิมโฟไซต์ ( Lymphocyte ) มีความสำคัญในการสร้างแอนติบอดี (antibody) ตอบสนองสิ่งแปลกปลอมอย่างจำเพาะ 3. เพลตเลต ( Platelet ) - เป็นชิ้นส่วนของไซโทพลาสซึมของเซลล์ในไขกระดูก อาจเรียกว่า เกล็ดเลือด แผ่นเลือด หรือเศษเม็ดเลือด - รูปร่างไม่แน่นอน ขนาดเล็ก 1 - 2 ไมโครเมตร มีอายุเพียง 10 วัน - มีประมาณ 250,000 - 500,000 ชิ้นต่อ 1 ลูกบาศก์มิลลิเมตร มีหน้าที่เกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด โดยทำงานร่วมกับแคลเซียมและวิตามิน K - ภายในเลือดมีเฮพาริน ( Heparin ) สร้างจากเม็ดเลือดขาวยับยั้งการเกิดทรอมบิน ทำให้เลือดในเส้นเลือดไม่แข็งตัว ข้อควรจำการแข็งตัวของเลือด ต้องอาศัยการทำงานร่วมกันของปัจจัยหลายประการ ได้แก่ เกล็ดเลือด โปรตีน FIBRINOGEN วิตามิน K และแคลเซียม

  21. หมายเหตุ + : เม็ดเลือดแดงตกตะกอน - : ปกติ • มนุษย์มีหมู่เลือดต่างกันหลายระบบขึ้นอยู่กับแอนติเจน( Antigen ) ที่เยื่อหุ้มเซลล์ของเม็ดเลือดแดงและแอนติบอดี (Antibody) ในน้ำเลือด • ระบบ ABO- หมู่เลือดระบบนี้มี แอนติเจน (Antigen) 2 ชนิด คือ A และ B มีแอนติบอด ี2 ชนิด คือ A และ B ซึ่งสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้โดยยีนประเภท มัลติเปิลแอลลีน (Multiple allele ) แบ่งออกเป็น 4 หมู่ มีลักษณะดังนี้

  22. การให้เลือดควรจะให้อยู่ในหมู่เลือดเดียวกันทั้งผู้ให้และผู้รับหรือเลือดของผู้ให้ต้องไม่มีแอนติเจนตรงกับ แอนติบอดีของผู้รับ เพราะเลือดจะตกตะกอนจนอาจเสียชีวิตได้ จะเห็นว่าหมู่เลือด AB รับเลือดได้ทุกหมู่ ( universal recipient ) ส่วนหมู่เลือด O ให้เลือดได้ทุกหมู่- ผู้บริจาคเลือดต้องมีอายุ 17 ปีขึ้น ไปแพทย์จะดูดเลือดจากเส้นเวนบริเวณท้องแขนแล้วเก็บไว้ในธนาคารเลือด ที่ 4 องศาเซลเซียส

  23. การถ่ายทอดหมู่โลหิตระบบ ABO ของพ่อ แม่ ลูก ที่เป็นไปได้ จะเห็นได้ว่าหมู่โลหิตของลูกไม่จำเป็นต้องเหมือนหมู่โลหิตของพ่อ และแม่เสมอไปแต่เนื่องจากหมู่โลหิตมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมการตรวจสอบหมู่โลหิตจึงมีประโยชน์ในการตรวจสอบความเป็นพ่อแม่ลูก

  24. ระบบ Rh- หมู่เลือดระบบนี้มีแอนติเจนชนิดเดียว คือ แอนติเจน Rh ไม่มีแอนติบอดี ซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ยกเว้นที่ได้รับการกระตุ้น-คนที่มีแอนติเจน Rh มีเยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดแดง ถือว่ามีหมู่เลือด Rh+ ส่วนคนที่ไม่มีแอนติเจน Rh ถือว่ามีหมู่เลือด Rh-- หากคนที่มีหมู่เลือด Rh ได้รับเลือดหมู่Rh+ พบว่าแอนติเจน Rh จะกระตุ้นให้คนที่มีหมู่เลือด Rh สร้างแอนติบอดี Rh ขึ้นมาได้ ดังนั้นการให้เลือดในครั้งต่อๆ ไป อาจเกิดปัญหาเลือดตกตะกอนจนถึงแก่ชีวิตได้- คนไทยไม่ค่อยมีปัญหาเกี่ยวกับหมู่เลือดระบบ Rh เพราะมีหมู่เลือด Rh+ มากกว่า 90% ผู้ที่มีหมู่เลือด Rh น้อยมากประมาณ 1 ใน 500 คนเท่านั้น

  25. - หากแม่มีหมู่เลือด Rh- และลูกในครรภ์มีหมู่เลือด Rh+ อาจมีโอกาสที่เลือดของลูกไปกระตุ้นให้แม่สร้างแอนติบอดี Rh ดังนั้นลูกคนต่อไปที่มีหมู่เลือด Rh+ อาจได้รับอันตรายจากแอนติบอดีของแม่ที่สร้างขึ้นจนเสียชีวิตได้ เรียกว่า erythroblastosis fetalis- หากแม่มีหมู่เลือด Rh+ และลูกในครรภ์มีหมู่เลือด Rh จะไม่เกิดอันตราย เพราะทารกในครรภ์จะไม่สร้างแอนติบอดี Rh จนกว่าจะคลอดมาแล้วระยะหนึ่ง ข้อควรจำ-      ERYTHROBLASTOSIS FETALIS เป็นอาการของเด็กทารกที่เกิดจากคู่สมรสที่มีสามีมีเลือด Rh+ ภรรยามีเลือด Rh- เลือดของลูกคนแรกอาจกระตุ้นให้แม่สร้างแอนติบอดี Rh ขึ้นเมื่อมีครรภ์ครั้งต่อมา และทารกมีเลือด Rh+ อีกจะเกิดอันตรายขึ้นได้ เนื่องจากปฏิกิริยาระหว่างแอนติบอดีในเลือดแม่กับแอนติเจน Rh ในเลือด ลูก ทารกอาจมีอาการตัวเหลืองหรือเสียชีวิตได้

  26. ระบบน้ำเหลือง

  27. ระบบน้ำเหลือง ( Lymphatic system ) ประกอบด้วย - น้ำเหลือง ( Lymph ) เป็นของเหลวที่ซึมผ่านเส้นเลือดฝอยออกมาหล่อเลี้ยงอยู่รอบๆเซลล์ ประกอบด้วย กลูโคส อัลบูมิน ฮอร์โมน เอนไซม์ ก๊าซ เซลล์เม็ดเลือดขาว ( แต่ไม่มีเซลล์เม็ดเลือดแดงและเพลตเลต )- ท่อน้ำเหลือง ( Lymph vessel ) มีหน้าที่ลำเลียงน้ำเหลืองทั่วร่างกายเข้าสู่เส้นเวนใหญ่ใกล้หัวใจ(Subclavian vein) ปนกับเลือดที่มีออกซิเจนน้อย ท่อน้ำเหลืองมีลิ้นกั้นคล้ายเส้นเวนและมีอัตราการไหลช้ามากประมาณ 1.5 มิลลิเมตรต่อนาที - อวัยวะน้ำเหลือง ( Lymphatic organ ) 1) ต่อมน้ำเหลือง ( Lymph node ) - พบทั่วร่างกาย ภายในมีลิมโฟไซต์อยู่เป็นกระจุก - ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ มี 5 ต่อม เรียกว่า ทอนซิล (Tonsil) มีหน้าที่ ป้องกันจุลินทรีย์ที่ผ่านมาในอากาศไม่ให้เข้าสู่หลอดอาหารและกล่อง เสียงจนอาจเกิดอักเสบขึ้นมาได้

  28. 2) ม้าม ( Spleen ) - เป็นอวัยวะน้ำเหลืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุด - มีหน้าที่ผลิตเซลล์เม็ดเลือด ( เฉพาะในระยะเอมบริโอ ) ป้องกันสิ่ง แปลกปลอมและเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือด สร้างแอนติบอดี ทำลายเซลล์ เม็ดเลือดแดงและเพลตเลตที่หมดอายุ 3) ต่อมไทมัส ( Thymus gland ) - เป็นเนื้อเยื่อน้ำเหลืองที่เป็นต่อมไร้ท่อ - สร้างลิมโฟไซต์ชนิดเซลล์ที เพื่อต่อต้านเชื้อโรคและอวัยวะปลูก ถ่ายจากผู้อื่น • ข้อควรจำการไหลของน้ำเหลืองในท่อเหลือง เกิดขึ้นจากการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อที่อยู่รอบๆ ท่อน้ำเหลืองนั้น

  29. ระบบภูมิคุ้มกัน • ภูมิคุ้มกันของร่างกายมนุษย์ ได้แก่1) ภูมิคุ้มกันโดยกำเนิด ( Innate immunity ) เป็นการป้องกันและกำจัดแอนติเจนที่เกิดขึ้นเองในร่างกาย ก่อนที่ร่างกายจะได้รับแอนติเจน มีหลายรูปแบบ เช่น- เหงื่อ มีกรดแลกติกป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนัง- หลอดลม โพรงจมูก มีขน ซิเลีย และน้ำเมือกดักจับสิ่งแปลกปลอม- กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กมีเอนไซม์- น้ำลาย น้ำตา น้ำมูก มีไลโซไซม์ ทำลายจุลินทรีย์ได้2) ภูมิคุ้มกันจำเพาะ ( Acquird immunity ) เกิดขึ้นเมื่อร่างกายเคยได้รับแอนติเจนแล้ว

  30. การสร้างระบบภูมิคุ้มกันเพื่อต่อต้านเฉพาะโรคของมนุษย์มี 2 วิธี • ภูมิคุ้มกันก่อเอง ( Active immunization ) - เกิดจากการนำเชื้อโรคที่อ่อนกำลัง ซึ่งเรียกว่า วัคซีน (vaccine) มาฉีด กิน ทา เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดีต่อต้านเชื้อนั้นๆ- วัคซีนที่เป็นสารพิษและหมดความเป็นพิษแล้ว เรียกว่า ทอกซอยด์ (toxoid) สามารถกระตุ้นให้สร้างภูมิคุ้มกันได้ เช่น วัคซีนคุ้มกันโรคคอตีบ บาดทะยัก- วัคซีนที่ได้จากจุลินทรีย์ที่ตายแล้ว เช่น โรคไอกรน ไทฟอยด์ อหิวาตกโรค- วัคซีนที่ได้จากจุลินทรีย์ที่ยังมีชีวิตอยู่ เช่น วัณโรค หัด โปลิโอ คางทูม หัดเยอรมัน- ภูมิคุ้มกันก่อเอง อยู่ได้นาน แต่การตอบสนองค่อนข้างช้า ประมาณ 4 - 7 วัน • ภูมิคุ้มกันรับมา ( Passive immunization )- เป็นการนำซีรัมที่มีแอนติบอดีอยู่มาฉีดให้ผู้ป่วย ทำให้ได้รับภูมิคุ้มกันโดยตรงต่อต้านโรคได้ทันที- ใช้รักษาโรครุนแรงเฉียบพลัน เช่น คอตีบ พิษงู- ซีรัม ผลิตจากการฉีดเชื้อโรคที่อ่อนกำลังเข้าในสัตว์ แล้วนำซีรัมของสัตว์ที่มีแอนติบอดีรักษาโรคในมนุษย์- ภูมิคุ้มกันที่แม่ให้ลูกผ่านทางรกและน้ำนมหลังคลอด- ภูมิคุ้มกันรับมารักษาโรคได้ทันที แต่อยู่ได้ไม่นานและผู้ป่วยอาจแพ้ซีรัมสัตว์ก็ได้

  31. ข้อควรจำวัคซีน ( VACCINE ) ทำมาจากเชื้อโรคที่ทำให้อ่อนกำลัง เช่น ไอกรน ไทฟอยด์ อหิวาตกโรค วัณโรค โปลิโอ หัด หัดเยอรมัน คางทูม     ทอกซอยด์ ( TOXOID ) ทำมาจากสารพิษที่หมดสภาพความเป็นพิษ เช่น คอตีบ บาดทะยัก ข้อควรจำปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับถูมิคุ้มกัน1. พัธุกรรม2.โภชนาการ เช่น ถ้าขาดวิตามิน A และ C จะลดการทำงานของ ฟาโกไซต์และ T-CELL3. ยาบางชนิด เช่น ยาพวก คอร์ติโคสเตอรอยต์ จะห้ามการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันอย่าง ไม่เฉพาะเจาะจง

  32. โรคเอดส์ ( AIDS หรือ Immune Deficiency Syndrome ) - เกิดจากไวรัส HIV ( Human Immunodeficiency Virus ) เข้าไปเจริญและทำลายเซลล์ที ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายบกพร่องและติดเชื้อโรคต่างๆ ได้ง่าย - ไวรัส HIV จะแพร่กระจายเข้าสู่ ไขกระดูก สมอง ปอด ไต และดวงตา รวมทั้งสารคัดหลั่งต่างๆ เช่น เลือด น้ำนม อสุจิ น้ำลาย น้ำตา เป็นต้น • การสร้างภูมิต้านทานเนื้อเยื่อตนเอง ( Autoimmune diseases ) เป็นภาวะผิดปกติของร่างกายที่สร้างแอนติบอดีออกมาต่อต้านเนื้อเยื่อตนเอง ตัวอย่างเช่น โรคเอสแอลอี ( SLE หรือ Systemic Lupus Erythematosus ) จากการศึกษาพบว่าโรคนี้มีสาเหตุเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม อายุ ฮอร์โมนเพศหญิง

  33. โรคภูมิแพ้ ( Allergy ) เป็นอาการที่เกิดจากร่างกายตอบสนองต่อแอนติเจนบางอย่างผิดปกติ อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของร่างกายหรือเป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อของร่างกายก็ได้ โรคภูมิแพ้ที่พบมากได้แก่ การแพ้เกสรดอกไม้ ฝุ่นละออง อาหารทะเล สารเคมี แมลง ฯลฯ

  34. อ้างอิง • http://www.geocities.com/nooksungzero/content.html • http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/2547/chonburi/bio/members.thai.net/m6141/Lesson15.htm

More Related