1 / 29

การเตรียมความพร้อมโครงการ National clearing house กรณีผู้ป่วยฉุกเฉิน

การเตรียมความพร้อมโครงการ National clearing house กรณีผู้ป่วยฉุกเฉิน. ที่มา : จากการสัมมนาเจ้าหน้าที่ร้องเรียน ประจำปี 2555 22 – 23 มีนาคม 2555 ณ โรงแรมริชมอนด์ กทม. บรรยายโดย เภสัชกรหญิงเนตรนภิส สุชนวนิช ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ

Télécharger la présentation

การเตรียมความพร้อมโครงการ National clearing house กรณีผู้ป่วยฉุกเฉิน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การเตรียมความพร้อมโครงการNational clearing houseกรณีผู้ป่วยฉุกเฉิน ที่มา : จากการสัมมนาเจ้าหน้าที่ร้องเรียน ประจำปี 2555 22 – 23 มีนาคม 2555 ณ โรงแรมริชมอนด์ กทม. บรรยายโดย เภสัชกรหญิงเนตรนภิส สุชนวนิช ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ คุณบรรจง จำปา ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักบริหารการชดเชยค่าบริการ

  2. แนวทางการให้บริการเจ็บป่วยฉุกเฉินแนวทางการให้บริการเจ็บป่วยฉุกเฉิน • ผู้ป่วยเจ็บป่วยฉุกเฉินเข้ารับบริการใน รพ. ทั้งผ่านระบบ 1669 และ Walk in • รพ.ให้บริการทันทีโดยไม่ต้องสอบถามสิทธิและผู้ป่วยไม่ต้องจ่ายเงิน • รพ. ลงทะเบียนแจ้งการให้บริการเจ็บป่วยฉุกเฉิน ผ่านระบบ Clearing house และหลังจากการให้บริการแล้ว บันทึกข้อมูลการให้บริการผ่านระบบ Clearing house เพื่อเบิกจ่ายค่าบริการ ( OPD เบิกผ่าน กรมบัญชีกลาง /IPD เบิก 10,500 บาท/ AdjRW) • หน่วย Clearing house ประมวลผลข้อมูล จัดทำรายงานและจ่ายเงินชดเชย ให้ รพ. จากนั้นส่งใบแจ้งหนี้ไปยังกองทุนที่เกี่ยวข้อง เพื่อเรียกเก็บเงินตามที่มีการจ่ายจริงให้กับ รพ. ต่อไป • กองทุนจ่ายเงินคืนให้ Clearing house

  3. วัตถุประสงค์ • เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับบริการที่ได้มาตรฐาน รวดเร็ว โดยไม่ต้องสำรองจ่าย • มีกลไกลกลางสำหรับการชดเชย อัตราค่าบริการ การเรียกเก็บค่าบริการและการตรวจสอบ ให้สะดวกและไม่ให้เหลื่อมล้ำกัน เพื่อเป็นการส่งเสริมให้การบริการผู้ป่วยฉุกเฉินมีมาตรฐานเดียวกัน • กลไกการบริหารและการชดเชย รองรับการบริการผู้ป่วยฉุกเฉินที่อาจมีความจำเป็นในการรับบริการกับโรงพยาบาลเอกชนนอกเครือข่าย

  4. เป้าหมาย ประชาชน • ประชาชนทุกสิทธิที่มาด้วยภาวะฉุกเฉินวิกฤตและเร่งด่วน • การเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตและเร่งด่วน ใช้ตามนิยามตามประกาศของพรบ.การแพทย์ฉุกเฉิน ปี 2551 สามารถไปรับบริการที่ใดก็ได้ตามความจำเป็น โดยไม่ต้องถูกถามสิทธิ และไม่ต้องสำรองจ่ายค่าใช้จ่ายล่วงหน้า ได้รับการส่งต่อไปรับบริการศักยภาพสูงขึ้นในกรณีจำเป็น

  5. ผู้มีสิทธิ “ผู้มีสิทธิ” หมายถึง ประชาชนคนไทยทุกสิทธิ ประกอบด้วยสิทธิข้าราชการ สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า สิทธิประกันสังคม นอกจากนี้ยังรวมถึงข้าราชการส่วนท้องถิ่น และ(ที่มีการลงนามความร่วมมือ)ทั้งนี้ในกรณีสิทธิประกันสังคมจะรวมถึงคนต่างชาติ/ต่างด้าว ที่มีสิทธิประกันสังคมด้วย ในช่วงเริ่มต้นมีการลงนาม 3 ส่วนคือ สิทธิประกันสังคม สิทธิข้าราชการ และสิทธิ UCโดยจะมีการลงนามความร่วมมือในวันที่ 28 มีนาคม 2555

  6. สถานบริการ “สถานบริการ” หมายถึง สถานพยาบาลเอกชน ของกรมบัญชีกลาง หรือสถานพยาบาลที่ไม่ใช่ คู่สัญญาของสำนักงานประกันสังคม หรือสถานพยาบาลที่ไม่ใช่หน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือสถานพยาบาลที่ไม่มีสิทธิเบิกตามข้อตกลงขององค์การเภสัชกรรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ และองค์กรอิสระอื่นๆ ทั้งนี้สถานบริการเอกชนดังกล่าว จะกำหนดเฉพาะโรงพยาบาลเอกชนที่มีการให้บริการทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน ไม่นับรวมโพลีคลินิก หรือคลินิกเอกชน

  7. นิยาม รพ.เอกชน นอกเครือข่ายของ 3 กองทุน • ผู้ป่วยฉุกเฉินของกรมบัญชีกลาง ได้แก่ รพ.เอกชนทุกแห่ง • ผู้ป่วยฉุกเฉินเป็นผู้ประกันตน ได้แก่ รพ.เอกชนที่ไม่ใช่ รพ.คู่สัญญา รวมถึงหน่วยบริการในเครือข่าย (หมายรวมทั้งคลินิกและ supra contractor) • ผู้ป่วยฉุกเฉินในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ได้แก่ รพ.เอกชนที่ไม่ใช่หน่วยบริการในระบบ UC หมายเหตุ • สามารถบันทึกและส่งเบิกชดเชยผ่านโปรแกรม “EMCO” • สปสช.จะสำรองจ่ายและเรียกเก็บจากแต่ละกองทุนต่อไป

  8. ตัวอย่างข้อมูลรพ.เอกชนในระบบ UC • โรงพยาบาลเอกชนที่เป็น หน่วยบริการประจำ มีทั้งหมด จำนวน 44 แห่ง • โรงพยาบาลเอกชนที่เป็น หน่วยบริการรับส่งต่อ มีทั้งหมด จำนวน 24 แห่ง • โดยสรุป • โรงพยาบาลเอกชนที่ไม่เป็นหน่วยบริการในระบบ UC • จำนวนทั้งสิ้น 284 แห่ง

  9. สถานบริการเอกชน CSMBS UC SSS

  10. วันให้บริการ เริ่มตั้งแต่ 1 เมษายน 2555 เป็นต้นไป

  11. 1 2 3 ขอบเขตการให้บริการสาธารณสุข

  12. นิยาม “เจ็บป่วยฉุกเฉิน” “การเจ็บป่วยฉุกเฉิน” หมายถึง การได้รับอุบัติเหตุหรือมีอาการเจ็บป่วยกะทันหันซึ่งเป็นภยันตรายต่อการดำรงชีวิตหรือการทำงานของอวัยวะสำคัญ จำเป็นต้องได้รับการประเมิน การจัดการ และบำบัดรักษา อย่างทันท่วงทีเพื่อป้องกันการเสียชีวิตหรือการรุนแรงขึ้นของการบาดเจ็บหรืออาการเจ็บป่วยนั้น ที่มา: พรบ. การแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ 2551

  13. การจำแนก “เจ็บป่วยฉุกเฉิน” ใช้การจำแนกตามประกาศคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน เรื่องหลักเกณฑ์การประเมินเพื่อคัดแยกระดับความฉุกเฉินและมาตรฐานการปฏิบัติ พ.ศ.2554 โดยมีการจำแนกเป็น 3 ระดับ คือ 1. ฉุกเฉินวิกฤต (สีแดง) 2. ฉุกเฉินเร่งด่วน (สีเหลือง) 3. ฉุกเฉินไม่รุนแรง (สีเขียว) • การจ่ายจะครอบคลุมกรณีผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต และผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน (สีแดงและสีเหลือง ) • ทั้งนี้เป็นการแยกตามอาการ ไม่ใช่แยกตามสาเหตุ โดยใช้คำว่า ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต และผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน (กรณีอุบัติเหตุที่ไม่ได้มีอาการทั้ง 2 ประเภทนี้ จะไม่เข้าเกณฑ์นี้)

  14. ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต บุคคลซึ่งได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการป่วยกะทันหันซึ่งมีภาวะคุกคามต่อชีวิต ซึ่งหากไม่ได้รับปฏิบัติการแพทย์ทันทีเพื่อแก้ไขระบบการหายใจ ระบบไหลเวียนเลือด หรือระบบประสาทแล้ว ผู้ป่วยจะมีโอกาสเสียชีวิตได้สูง หรือทำให้การบาดเจ็บหรืออาการป่วยของผู้ป่วยฉุกเฉินนั้นรุนแรงขึ้นหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้อย่างฉับไว ให้ใช้สัญลักษณ์ “สีแดง” สาหรับผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต

  15. ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ตัวอย่าง เช่น • ภาวะ “หัวใจหยุดเต้น” (Cardiac arrest) • ภาวะหยุดหายใจ • ภาวะ “ช็อก”จากการเสียเลือดรุนแรง • ชักตลอดเวลาหรือชักจนตัวเขียว • อาการซึม หมดสติ ไม่รู้สึกตัว • อาการเจ็บหน้าอกรุนแรงจากหลอดเลือดหัวใจตีบตันที่มีความจำเป็นต้องได้รับยาละลายลิ่มเลือด • อาการทางสมองจากหลอดเลือดสมองตีบตันทันทีมีความจำเป็นต้องได้รับยาละลายลิ่มเลือด • เลือดออกมากอย่างรวดเร็วและตลอดเวลา

  16. ผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วนผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน บุคคลที่ได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการป่วยซึ่งมีภาวะเฉียบพลันมาก หรือเจ็บปวดรุนแรงอันอาจจำเป็นต้องได้รับปฏิบัติการแพทย์อย่างรีบด่วน มิฉะนั้นจะทำให้การบาดเจ็บหรืออาการป่วยของผู้ป่วยฉุกเฉินนั้นรุนแรงขึ้นหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้น ซึ่งส่งผลให้เสียชีวิต หรือพิการในระยะต่อมาได้ ให้ใช้สัญลักษณ์ “สีเหลือง” สาหรับผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน

  17. ผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วนผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน ตัวอย่าง เช่น • หายใจลำบากหรือหายใจเหนื่อยหอบ • ชีพจรช้ากว่า 40 หรือเร็วกว่า 150 ครั้ง/นาที โดยเฉพาะถ้าร่วมกับลักษณะทางคลินิกข้ออื่น • ไม่รู้สึกตัว ชัก อัมพาต หรือตาบอด หูหนวกทันที • ตกเลือด ซีดมากหรือเขียว • เจ็บปวดมากหรือทุรนทุราย • มือเท้าเย็นซีด และเหงื่อแตก ร่วมกับลักษณะทางคลินิกข้ออื่น • ความดันโลหิตตัวบนต่ำกว่า 90 มม.ปรอทหรือตัวล่างสูงกว่า 130 มม.ปรอท โดยเฉพาะร่วมกับลักษณะทางคลินิกข้ออื่น • อุณหภูมิร่างกายต่ำกว่า 35° c หรือสูงกว่า 40° c โดยเฉพาะร่วมกับลักษณะทางคลินิกข้ออื่น • ถูกพิษหรือ Drugoveruse • ได้รับอุบัติเหตุ โดยเฉพาะบาดแผลที่ใหญ่มากและมีหลายแห่ง เช่น majormultiplefractures,Burns,Backinjurywithorwithoutspinalcorddamage • ภาวะจิตเวชฉุกเฉิน เป็นต้น หรือตามดุลยพินิจของผู้ประกอบวิชาชีพ

  18. นิยามผู้ป่วยฉุกเฉิน(สำหรับสื่อสารประชาสัมพันธ์กับประชาชน)นิยามผู้ป่วยฉุกเฉิน(สำหรับสื่อสารประชาสัมพันธ์กับประชาชน) “การเจ็บป่วยฉุกเฉิน” หมายถึง ผู้ป่วยที่เป็นโรค ได้รับบาดเจ็บ หรือมีอาการบ่งชี้ว่าจะเป็นอาการที่คุกคามต่อการทำงานของอวัยวะสำคัญ ได้แก่ หัวใจ สมอง ทางเดินหายใจ ต้องดูแลติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะอาจทำให้เสียชีวิตได้ทันที ยกตัวอย่าง เช่น • หัวใจหยุดเต้น • หอบหืดขั้นรุนแรง มีการเขียวคล้ำของปากและเล็บมือ • หมดสติ ไม่รู้สึกตัว • สิ่งแปลกปลอมอุดกั้นหลอดลมทั้งหมด • อุบัติเหตุรุนแรงบริเวณใบหน้าและลำคอ • มีเลือดออกมาก • ภาวะช็อกจากการเสียเลือด หรือขาดน้ำอย่างรุนแรง แขน ขา อ่อนแรงพูดไม่ชัด ชักตลอดเวลาหรือชักจนตัวเขียว มีไข้สูงกว่า 40 องศาเซลเซียส ถูกสารพิษ สัตว์มีพิษกัด หรือได้รับยามากเกินขนาด ถูกสุนัขกัดบริเวณใบหน้าและลำคอ เป็นต้น อาการฉุกเฉินนอกเหนือจากนี้ หากไม่แน่ใจโปรดโทรสายด่วน 1669 เพื่อขอคำปรึกษาและบริการช่วยเหลือต่อไป ที่มา : ข้อสรุปจากการประชุมกับ รมว.สธ. วันที่ 21 มี.ค. 2555 ห้องรับรองชั้น 5 กท.สธ. เจ็บป่วยฉุกเฉิน  รักษาทุกที่ ทั่วถึงทุกคน

  19. อัตราและเงื่อนไขการจ่ายเงินชดเชยอัตราและเงื่อนไขการจ่ายเงินชดเชย “กรณีผู้ป่วยนอก”: จ่ายตามอัตราที่เรียกเก็บของกรมบัญชีกลาง (Fee Schedule) : อยู่ระหว่างการทำ Emergency intervention list “กรณีผู้ป่วยใน” : จ่ายตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (DRG V.5.0) โดยมีอัตราจ่าย 10,500 บาท ต่อ 1 AdjRW

  20. อัตราและเงื่อนไขการจ่ายเงินชดเชยอัตราและเงื่อนไขการจ่ายเงินชดเชย กรณีผู้ป่วยใน อาจมีการจ่ายชดเชยเพิ่มเติมในกรณีดังต่อไปนี้ 1.กรณีที่มีการใช้ยาจ.(2) สถานบริการ สามารถเบิกค่าใช้จ่าย 2 แนวทางคือ - เบิกยาคืนจากกองทุนยา สปสช. - เบิกเงินชดเชยตามอัตราราคาที่มีการจัดซื้อจัดหาตามระบบ VMI 2. กรณีที่เป็นผู้ประสบภัยจากรถให้เบิกเงินค่าเสียหายเบื้องต้น 15,000 บาทจากกองทุนผู้ประสบภัยจากรถก่อนจึงจะเบิกค่าใช้จ่ายตามแนวทางนี้ได้ 3. กรณีรายการอุปกรณ์และอวัยวะเทียม (Instrument) จ่ายเพิ่มเติมในอัตราที่กำหนดประกาศที่ตกลงร่วมกัน 3 กองทุน ทั้งนี้ ในกรณีที่สถานบริการใช้อุปกรณ์ที่เกินราคากลางที่กำหนดไม่สามารถเรียกเก็บจากประชาชน หรือกองทุนได้ อยู่ระหว่างการจัดทำรายการ Emergency intervention list 4. ค่าพาหนะในการรับส่ง-ต่อ ในกรณีที่จำเป็นต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่า หรือกลับไปยังโรงพยาบาลในระบบ จะจ่ายในอัตราตั้งต้น 500 บาท + ระยะทางไปกลับกิโลเมตรละ 4 บาท

  21. รายการที่ไม่สามารถจ่ายได้รายการที่ไม่สามารถจ่ายได้ • ค่า DF • ค่าบริการ (Surcharge) • ค่าห้องพิเศษที่ผู้ป่วยร้องขอ • รายการอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาลเช่น ค่าเขียนใบประกันชีวิต, ค่าบัตรสมาชิก รพ. , ค่าอุปกรณ์บันเทิงต่าง ๆ

  22. แผนผังระบบ Clearing House 1669 น่าส่งเอง ฉุกเฉิน-วิกฤต-เร่งด่วน โรงพยาบาล นอกระบบกองทุน ส่งใบแจ้งหนี้ ให้กองทุน ที่เกี่ยวข้อง จ่ายเงินชดเชย ค่าบริการ กองทุน จ่ายเงินคืน ลงทะเบียนเบื้องต้น Clearing House ประมวลผล จ่ายเงินชดเชย ? บันทึกข้อมูล การให้บริการ สิทธิ อปท./ครูเอกชน/รัฐวิสาหกิจ

  23. ข้อเสนอการดำเนินการรองรับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นข้อเสนอการดำเนินการรองรับปัญหาที่อาจเกิดขึ้น • เร่งรัดการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนใช้บริการเจ็บป่วยฉุกเฉิน ผ่านระบบการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ 1669 • เร่งรัดการประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจการใช้บริการเจ็บป่วยฉุกเฉิน ทั้งด้านประชาชนและหน่วยบริการอย่างเข้มข้น • ขยายศักยภาพระบบการตรวจสอบการเบิกจ่าย (Auditing system) ซึ่งจะต้องดำเนินการร่วมกันระหว่าง 3 กองทุน (ขณะนี้มีการนำร่องตรวจสอบการเบิกจ่ายอุปกรณ์บางรายการร่วมกันอยู่แล้ว) • ขยายระบบการอุทธรณ์เพื่อรองรับการอุทธรณ์ปัญหาการเบิกจ่าย ทั้งด้านประชาชนและผู้ให้บริการ • ประเมินผลและติดตามสถานการณ์การให้บริการ เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงระบบบริการและ/หรือการเบิกจ่ายในระยะต่อไป • เร่งรัดการประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจการให้บริการเจ็บป่วยฉุถเฉิน Company Logo

  24. 1 2 3 วิธีการดำเนินการ เสนอประกาศเป็นมติคณะรัฐมนตรี / เป็นนโยบายนายกรัฐมนตรี และให้เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2555 เป็นต้นไป ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินการ ปรับปรุง กฎ ระเบียบ หรือ ประกาศที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สอดคล้องกับการบริการ การชดเชย และการดำเนินการอื่น ๆ หน่วยงานกลางในการจัดการธุรกรรมการเบิกจ่าย และระบบข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้เป็นระบบเดียวกัน ซึ่งกำหนดให้เป็น สปสช.

  25. การให้บริการ เมื่อเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต หรือฉุกเฉินเร่งด่วน ผู้ป่วยไปรับบริการกับ รพ. ใด ๆ ก็ได้ตามความจำเป็น ไม่มีการตรวจสอบสิทธิ และไม่มีการเรียกเงินสำรอง โดย • เน้นการบริการฉุกเฉินตามระบบปกติของ 3 กองทุน ให้ครอบคลุมการบริการฉุกเฉินให้ได้มากที่สุด • การบริการฉุกเฉินที่โรงพยาบาลเอกชนนอกระบบ 3 กองทุน ให้เป็นตามความจำเป็น ตามระดับฉุกเฉินของผู้ป่วย • การบริการดังกล่าว ให้ดำเนินไปจนผู้ป่วยทุเลากลับบ้านได้ หรือส่งต่อ/ส่งกลับโรงพยาบาลในระบบอย่างสอดคล้องกับระดับความรุนแรงทางการแพทย์ ทั้งนี้ไม่ระบุระยะเวลา 72 ชม. เป็นตัวกำหนดการสิ้นสุดการให้บริการของ รพ.ฯ

  26. แนวทางการขอเบิกชดเชยค่าบริการทางการแพทย์แนวทางการขอเบิกชดเชยค่าบริการทางการแพทย์

  27. ประสานส่งกลับเข้าสู่ระบบปกติของทุกสิทธิประสานส่งกลับเข้าสู่ระบบปกติของทุกสิทธิ • ข้อตกลงการให้บริการ • รพ.เอกชนให้การรักษาจนอาการทุเลา /จำหน่ายกลับบ้าน • หากเกินศักยภาพ / พ้นภาวะวิกฤติ / ผู้ป่วยต้องการกลับไป รพ. ตามสิทธิ • ให้ติดต่อ สายด่วน สปสช. 1330 ผู้ป่วยฉุกเฉินเข้า รพ. เอกชนนอกเครือข่าย SSS ติดต่อ รพ. คู่สัญญา CSMBS ติดต่อ รพ. รัฐบาล UC ติดต่อ รพ. ต้นสังกัด รพ. / ผู้ป่วย ติดต่อ สายด่วน สปสช. 1330

  28. การส่งข้อมูลและรอบการโอนเงินการส่งข้อมูลและรอบการโอนเงิน ส่งข้อมูลในระบบอิเลคทรอนิกส์ สปสช. หน่วยบริการ ตัดข้อมูล เดือนละ 2 ครั้ง คือ รอบที่ 1 ตัดข้อมูล วันที่ 1-15 ของทุกเดือน และจะโอนเงินภายในวันที่ 30 ของเดือนนั้น รอบที่ 2 ตัดข้อมูล วันที่ 16-30 ของทุกเดือนและจะโอนเงินภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป คีย์ข้อมูลผ่าน โปรแกรม EMCO ทุกวัน

  29. การตรวจสอบหลังจ่ายชดเชยการตรวจสอบหลังจ่ายชดเชย เป็นการตรวจสอบร่วมกันของ 3 กองทุน สตช.ให้ข้อมูลว่า...ระยะแรกของโครงการ จะตรวจสอบเวชระเบียนทุกฉบับของทั้ง 3 กองทุน จำนวนกองทุนละ 100 ฉบับ หลังจากนั้นจะปรับตามผลจากการตรวจสอบดังกล่าว

More Related