1 / 38

AEC 2015 : Opportunities and Challenges

AEC 2015 : Opportunities and Challenges. โดย ดร.ธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 15 สิงหาคม 2555 ณ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ. ASEAN 45 th Anniversary เกือบครึ่งศตวรรษของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. Bangkok Declaration ปี 1967 ปฏิญญากรุงเทพ จุดเริ่มต้นของอาเซียน

vanya
Télécharger la présentation

AEC 2015 : Opportunities and Challenges

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. AEC 2015 : Opportunities and Challenges โดย ดร.ธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 15 สิงหาคม 2555 ณ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

  2. ASEAN 45th Anniversaryเกือบครึ่งศตวรรษของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน • Bangkok Declaration ปี 1967 ปฏิญญากรุงเทพ จุดเริ่มต้นของอาเซียน • AFTAข้อตกลงเสรีการค้าและภาษี “0”ทำให้อาเซียนเป็น Free Trade &Customs Union ในปี 1993 • ASEAN WAY ข้อตกลงของอาเซียนต้องเป็นฉันทามติและไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน • ASEAN Vision 2020 จากการประชุมกัวลาลัมเปอร์ ปี ค.ศ.1997 ได้วิสัยทัศน์อาเซียนในการเป็นตลาดเดียวกันภายใต้ประชาคมอาเซียน • Bali Concord II การประชุมที่บาหลี ปี ค.ศ.2003 ได้ลงนามข้อตกลง ทำให้เกิดข้อตกลงประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2020 • ASEAN Charter กฎบัตรอาเซียน จากข้อตกลงในการประชุมที่เวียงจันทน์ ปี 2004 และข้อตกลงจาการ์ตา ปี พ.ศ. 2008 อาเซียนได้ยกระดับเป็นนิติบุคคล และการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

  3. ASEAN Community. Do you know??ประชาคมอาเซียน... คนไทยเข้าใจมากน้อยเพียงใด ASEAN Charter : กฎบัตรอาเซียน (Jakarta 2008) เป็นสนธิสัญญาของอาเซียน เพื่อใช้เป็นกรอบกฎหมายและโครงสร้างในการเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน (AC) ในปี 2015 • ASEAN Community (AC) ประชาคมอาเซียน ประกอบด้วยสามเสาหลัก (3 Pillars) ในการเป็นประชาคมอาเซียน ประกอบด้วย 1. APSC : ASEAN Political & Security Community ประชาคมความมั่นคงอาเซียน 2. AEC : ASEAN Economic Communityประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 3. ASCC: ASEAN Socio-Cultural Community ประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน • AEC Blueprint กำหนดแผนบูรณาการเศรษฐกิจในด้านต่างๆ ซึ่งประเทศสมาชิกมีพันธสัญญาที่จะนำประเทศเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจแห่งภูมิภาคอาเซียน

  4. AEC Blueprintยุทธศาสตร์การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีสาระสำคัญประกอบด้วย 1) การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน (Single Market & Production Strategy) 2) การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง (Regional Competitiveness Strategy) 3) การเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน (Equalized Development) 4) การเป็นภูมิภาคที่มีการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก (Global Economic Integration Strategy)

  5. Single Market & Single Production Strategyยุทธศาสตร์การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน 1 • ยุทธศาสตร์เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของ AEC มี 5 องค์ประกอบหลักคือ • การเคลื่อนย้ายสินค้าเสรี (Free Flow of Goods) • การเคลื่อนย้ายบริการเสรี (Free Flow of Service) • การเคลื่อนย้ายการลงทุนเสรี (Free Flow of Investment) • การเคลื่อนย้ายเงินเสรีขึ้น (Free Flow of Financial) • การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือเสรี (Free Flow of Labour)

  6. Single Market & Single Production BaseOpportunity or Threat??? ASEANPlus 6 กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกครอบคลุม 2 มหาสมุทร ขนาดเศรษฐกิจ 23.672 พันล้านเหรียญสหรัฐ เท่ากับร้อยละ 33.74 ของGDP โลก www.tanitsorat.com

  7. Opportunity on Single & Production Baseประเทศไทยกับโอกาสในการเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวของ ASEAN • Geographic Location : ที่ตั้งและภูมิศาสตร์ของไทยอยู่ตรงศูนย์กลางของอาเซียน ทำให้สามารถเชื่อมโยงไปสู่ประเทศสมาชิกได้ดีกว่า • Strong Industries Base : ฐานการผลิตของไทยมีความเข้มแข็งเกื้อหนุนต่อ 12 สาขาอุตสาหกรรมที่เปิดเสรี • Strong Domestics Consumption Base : ฐานประชากร 67 ล้านคนเกื้อหนุนต่อการผลิตในเชิง Mass Production ที่สามารถขยายไปสู่ตลาดอาเซียน 600 ล้านคน • Global Supply Chain : เครือข่ายการผลิตของประเทศไทยเป็นส่วนหนึ่งของโซ่อุปทานการผลิตในอุตสาหกรรมหลักของโลก ไทยมีความสามารถในการใช้พื้นที่ของสมาชิกเซียนเป็นฐานการผลิต • Skill & Technology : ประเทศไทยมีแรงงานทักษะจำนวนมากและมีเทคโนโลยี การผลิตและการตลาดอยู่ในระดับที่แข่งขันได้ดี (อุตสาหกรรม 12 สาขาที่เปิดเสรี : เกษตร ประมง ผลิตภัณฑ์จากยาง ผลิตภัณฑ์ไม้ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ การขนส่งทางอากาศ e-ASEAN สุขภาพ ท่องเที่ยว โลจิสติกส์)

  8. Sein Gay Har Central Mart, Yangon และภายในห้าง Junction Centre สาขาที่กรุงย่างกุ้ง ประเทศอาเซียน CLMสินค้าไทยเป็นที่ยอมรับด้านคุณภาพ (High-End) และเป็นชื่นชอบจากคนพม่า สินค้าไทยครองตลาดที่ City mart supermarket, Yangon

  9. ประเทศ CLM กับโอกาสการลงทุนในอุตสาหกรรมที่ต้องใช้แรงงานเข้มข้น • ค่าแรงต่ำกว่าไทย • มีแรงงานจำนวนมาก • การได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี (GSP) ประมาณ 10 -16 % ค่าจ้างต่ำกว่าไทย 2-3 เท่า CLM : Cambodia, Lao PDR & Myanmar

  10. การลงทุนเหมาะสำหรับอุตสาหกรรมเบาทุกประเภท (Light Industrial) • รูป 1+2+3 โรงงานของผู้ประกอบการไทย ที่นครย่างกุ้ง

  11. AEC การลงทุนในธุรกิจโรงแรมและโรงพยาบาล เป็นโอกาสของไทย Traders Hotel Sedona Hotel รูปแบบห้องพัก ลักษณะการให้บริการของโรงแรมชั้นนำในกรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า

  12. ปัญหาอุปสรรคในการลงทุนของไทยในประเทศเพื่อนบ้านปัญหาอุปสรรคในการลงทุนของไทยในประเทศเพื่อนบ้าน • กฎหมายส่งเสริมการลงทุนและกฎหมายด้านภาษีจะต้องมีความชัดเจน • ปัญหาด้านทักษะของแรงงาน • การจ่ายกระแสไฟฟ้ายังไม่พอเพียง ต้องมีเครื่องปั่นไฟฟ้าทำให้ต้นทุนการผลิตสูง • ระบบโลจิสติกส์และโครงสร้างพื้นฐานยังต้องมีการพัฒนาอีกมาก • หน่วยงานของรัฐยังขาดการให้บริการที่ดี และขาดความเป็นสากล • ประเทศไทยไม่มียุทธศาสตร์และขาดการสนับสนุนอย่างจริงจังในการลงทุนในต่างประเทศ • ผู้ประกอบการไทยส่วนใหญ่อยู่ในระดับ Local Investment มองประเทศเพื่อนบ้านเป็นเพียงตลาดไม่ใช่แหล่งลงทุน

  13. Thailand… Competitiveness Opportunityโอกาสของไทยต่อขีดความสามารถในการแข่งขัน 2 • Law & Compliance : ประเทศไทยมีกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายที่เป็นสากลเอื้อต่อการลงทุน • Export Oriental Competitiveness : ผู้กอบการของไทยมีความเข้มแข็งและขีดความสามารถในการเข้มแข็งระดับโลกโดยเป็นประเทศส่งออกอยู่ในระดับหนึ่งใน 10 ของโลก • Intellectual Property : ไทยมีกฎหมายลิขสิทธิ์เกื้อหนุนต่อการสร้างแบรนด์ และทรัพย์สินทางปัญญา • Infrastructures : ประเทศไทยมีโครงพื้นฐานทั้ง โลจิสติกส์ น้ำ ไฟฟ้า ในระดับทีดีกว่าประเทศเพื่อนบ้าน

  14. ประเทศไทย...กับขีดความสามารถในการแข่งขันที่ลดลง จะเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเปิด AEC หรือไม่ • ความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยจากการจัดอันดับของ WEF • ปี 2011 ประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 38 จาก 139 ประเทศ ลดลงจากลำดับที่ 36 ในปี 2010 • ประเทศไทยต้องพัฒนาศักยภาพในด้านต่างๆ เช่น ด้านเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศ โครงสร้างพื้นฐาน ประสิทธิภาพภาครัฐ กฎหมายที่เป็นสากล และประสิทธิภาพภาคธุรกิจ

  15. Equalized Development Strategy : ยุทธศาสตร์การเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจเท่าเทียมกัน 3 • มี 2 องค์ประกอบได้แก่ • SME Development การพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม SME : โอกาสของประเทศไทยที่มีฐาน SME ที่เข้มแข็งในระบบการผลิตประมาณร้อยละ 90 • Initiative for ASAEN Integration : IAI ความคิดริเริ่มเพื่อลดช่องว่างการพัฒนาของไทยอยู่ในระดับที่แข่งขันได้ เมื่อเทียบกับประเทศ CLM แต่ยังมีช่องว่างของการพัฒนาเมื่อเทียบกับประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย

  16. เศรษฐกิจฐานเดียวของอาเซียนภายใต้การพัฒนาที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงเศรษฐกิจฐานเดียวของอาเซียนภายใต้การพัฒนาที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง • การเข้าไปแสวงหาประโยชน์ฝ่ายเดียวของสมาชิกที่พัฒนาแล้วในทรัพยากรของประเทศสมาชิกที่ด้อยพัฒนา • การแข่งขันเสรีภายใต้ความเหลื่อมล้ำของขีดความสามารถในการแข่งขันนำไปสู่การพัฒนาที่ไม่เท่าเทียมกันของสมาชิกอาเซียน • การเป็นเศรษฐกิจฐานเดียว จะเป็นโอกาสของบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ที่จะเข้าถึงโอกาสและตักตวงประโยชน์ฝ่ายเดียว • ธุรกิจ SME และวิสาหกิจชุมชนโดยเฉพาะประเทศขอบนอกของอาเซียน จะไม่สามารถเข้าถึงโอกาสของการเป็นตลาดฐานเดียว • ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนยิ่งพัฒนา ช่องว่างของการพัฒนาและความยากจนจะยิ่งสูงขึ้น

  17. Global Economic Integration Strategyการเป็นภูมิภาคที่มีการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก 4 • ASEAN Partnership การจัดทำเขตการค้าเสรีและความเป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิจกับประเทศนอกอาเซียน • ASEAN Global Supply Chain การมีส่วนร่วมในเครือข่ายโซ่อุปทานโลก โอกาสของประเทศไทย • ประเทศไทยมีข้อตกลงระหว่างประเทศในภูมิภาคภายในทุกกรอบวงแหวงและกรอบ 3 เหลี่ยมเศรษฐกิจ เช่น GMS , BIMSTEC, IMT-GT, APEC, ACMECS และกรอบอื่นๆอีกมากมาย • ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตภายใต้เครือข่ายโซ่อุปทานของโลก(อยู่แล้ว) เช่น รถยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า

  18. การขาดการบูรณาการที่แท้จริงของอาเซียน...จะเป็นปัญหาของ AEC หรือไม่...??? • ปัญหาความไม่เป็นเนื้อเดียวกันของสมาชิกอาเซียน • ปัญหาการขัดแย้งด้านผลประโยชน์และการแข่งขันด้านการส่งออก • ปัญหาความขัดแย้งด้านพื้นที่ชายแดนทั้งทางบกทางทะเลที่ทับซ้อนกัน • ปัญหาความเข้าใจที่ต่างกันของประชาชนแต่ละประเทศ • ปัญหากฎหมายและมาตรฐานระเบียบและข้อจำกัดต่างๆ • ปัญหาความแตกต่างทั้งด้านการเมืองเศรษฐกิจสังคม ศาสนาและวัฒนธรรม

  19. ความท้าทายของการเป็น AECขึ้นอยู่กับว่าใครได้อะไร และใครจะต้องเสียอะไร • Development Gap : บนเศรษฐกิจที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ระหว่างประเทศสมาชิก 10 ประเทศ CLMV เป็นสมาชิกใหม่ ก่อให้เกิดช่องว่างของการพัฒนา • Non Equal Competitiveness : การแข่งขันที่เสรีภายใต้ขีดความสามารถในการแข่งขันที่แตกต่างกัน จะทำให้สมาชิกที่ด้อยโอกาสไม่สามารถเข้าถึงตลาดขนาดใหญ่ • Non Fairness Rule : การมีกฎเกณฑ์ที่ไม่เป็นธรรม การใช้ทรัพยากรและประโยชน์จึงตกอยู่กับประเทศที่พัฒนากว่า • Lack of Opportunity : ในระดับธุรกิจ บริษัทขนาดใหญ่จะเข้าถึงโอกาส ขณะที่ SME และภาคเกษตรจะเป็นกลุ่มด้อยโอกาส

  20. ASEAN กับการเป็นประชาคมเดียวกัน...ได้จริงหรือ? • การบูรณาการสมาชิกยังไม่เป็นเนื้อเดียวกัน (Non-Harmonized Integrated)แต่ละประเทศยังมีการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจ และยังคงเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา การแข่งขันจึงสูงและยังมีความระแวงต่อกัน • ขาดความเป็นบูรณาการ รัฐบาลของประเทศต่างๆในอาเซียน ยังมีความยึดถือผลประโยชน์ประเทศตนเป็นหลักมีการแข่งขันด้านการลงทุนและส่งออกและมีพื้นที่ทางเศรษฐกิจที่ทับซ้อนกัน โดยเฉพาะระบบการปกครองที่ต่างกัน • ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง อาเซียนยังประกอบด้วยประเทศต่างๆ ที่มีความแตกต่างกันทางวัฒนธรรม ศาสนา สังคม ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนทั้งทางบกและทางทะเล ปัญหาเหล่านี้จะนำไปสู่ความขัดแย้งในอนาคต • การพัฒนาที่ไม่เท่าเทียมกัน อาเซียนภายใต้ ASEAN WAY โดยเฉพาะรายได้ของประชากร การรับรู้ของกลุ่มคนด้อยโอกาสในแต่ละประเทศ ระดับการศึกษาและทักษะ ซึ่งเกิดจากช่องว่างของการพัฒนาที่ไม่เท่าเทียมกัน

  21. อาเซียนยังขาดความเป็นอัตลักษณ์ร่วมกันWe arenot ASEAN citizen • ภายใต้ความแตกต่างทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ศาสนา ทำให้อาเซียนขาดอัตลักษณ์ร่วมกันที่จะไปสู่การเป็นประชาคมเดียวกัน • อาเซียนขาดความยึดโยงในผลประโยชน์ร่วมกัน มีทั้งรูปแบบการแข่งขัน ช่วงชิง ทั้งในด้านการส่งออก การกีดกัน การนำเข้า และปัญหาพื้นที่พรมแดนที่ทับซ้อนกัน • ASEAN Way ภายใต้กฎบัตรของอาเซียนในการไม่เข้าไปก้าวก่ายกิจการภายในของกันและกัน ทำให้ความเป็นเนื้อเดียวกันเป็นสิ่งที่ยาก • Development Gap ช่องว่างของการพัฒนา ประเทศต่างๆ ที่มีเศรษฐกิจและขีดความสามารถที่แตกต่างกัน เป็นสิ่งสำคัญ การพัฒนาเป็นเศรษฐกิจฐานเดียวจึงเป็นความท้าทาย • ASEAN Share Value การยกระดับความยากจนด้วยการโยกย้ายแรงงานเสรี ภายใต้ค่าจ้างที่เท่าเทียมกันจะมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด • ASEAN Community ภายใต้ความแตกต่างและการขาดการบูรณาการ และช่องว่างของการพัฒนา จะทำให้เกิดการพัฒนาในมิติต่างๆ ได้มากน้อยเพียงใด 21

  22. ASEAN Blueprint จะสามารถยกระดับไปสู่การเป็นสหภาพอาเซียนได้หรือไม่...?? คำถามที่ไม่เห็นคำตอบ • ASEAN Union is far away ภายใต้กฎบัตรของอาเซียนไม่ได้กำหนดหน้าที่ ในการเชื่อมโยงกับการเมืองเพื่อจะนำไปสู่การเป็น ASEAN Union ได้อย่างไร? • ASEAN Way Framework ยังเป็นกรอบที่ทำให้การรวมตัวของอาเซียนไม่ให้ก้าวก่ายการเมืองและให้รวมตัวกันโดยไม่ใช้มติส่วนใหญ่ แต่เป็นลักษณะฉันทานุมัติ จะเป็นความท้าทายอย่างสูง • Citizen Consensus เป็นเรื่องระดับผู้นำประเทศไปตกลงกันแล้วจึงใส่ความคิดกับประชาชน ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ไม่พร้อมต่อการเป็นประชาชนของอาเซียน ต่างฝ่ายต่างยึดถือความเป็นชาติตนเอง • ความบาดหมางทางประวัติศาสตร์ และการปกครองที่แตกต่างกัน ประวัติศาสตร์ของอาเซียนช่วงสงครามเย็นและก่อนหน้านั้นยังเป็นบาดแผลร่วมกัน การปกครองที่แตกต่างกันทำให้ระแวงไม่เชื่อใจกัน • ระบอบการปกครองที่แตกต่างกัน ของประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศ มีทั้งที่เป็นประชาธิปไตยจริง ประชาธิปไตยครึ่งใบ สังคมนิยม และระบอบราชาธิปไตย (Monarchy)

  23. โอกาสและความพร้อมของไทยในการเข้าสู่ AEC

  24. ASEAN in Real Sector Contentอาเซียนบนบริบทของภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง • Opportunity or THREAT : การเข้าสู่ AEC ในปี 2558 จะเป็นโอกาสและความท้าทาย เป็นเหรียญ 2 ด้าน ที่มีผู้ได้ประโยชน์และผู้ที่เสียประโยชน์ • Free Trade Area : สินค้านอกและทุนจะทะลักเข้ามา การแข่งขันอย่างเสรีจากนอกประเทศจะเข้ามาเบียดผู้ประกอบการภายในที่ขาดความเข้มแข็งให้ออกจากตลาด ทั้งด้านภาษี และกฎหมายการลงทุนจะเปิดกว้างเสรี ทั้งภาคการค้า การผลิต การเงิน การท่องเที่ยว ธุรกิจโลจิสติกส์ และการบริการในทุกสาขา • No Handicap : ภูมิคุ้มกันธุรกิจภายในจะหมดไปไม่มีแต้มต่อ ปลาใหญ่จะกินปลาเล็กอย่างไร้ความปราณี • Regional Think : การเปลี่ยนแปลงประเด็นสำคัญอยู่ที่การปรับและเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของผู้ประกอบการและคนไทย ในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนด้วยความมั่นใจ • BUSINESS ARCHITECTURE TRANSFORM : การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ทางสถาปัตยกรรมธุรกิจ ความพร้อมหรือไม่พร้อมเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคล 24

  25. โอกาสของการเป็นส่วนหนึ่งของตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลกโอกาสของการเป็นส่วนหนึ่งของตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลก • โอกาสด้านการค้าและการลงทุน การค้าและการลงทุนภายในอาเซียนมีทางเลือกมากขึ้น จากขนาดตลาดที่จะขยายเป็น 10 ประเทศในอาเซียน ที่มีจำนวนประชากรรวมกันกว่า 580 ล้านคน มีมูลค่า GDP รวมกันถึง 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ • เขตเศรษฐกิจอาเซียน +6 เป็นเขตเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยขนาดของGDP 23.672 Trillion USD คิดเป็นร้อยละ 33.74 ของGDP โลก • เป็นเขตที่มีประชากรมากที่สุดในโลก 3,358 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 49.3 ของประชากรโลก • เขตเศรษฐกิจที่มีการเติบโตสูงที่สุดในโลก ประเทศสมาชิกของ อาเซียน +6 (ยกเว้นญี่ปุ่น) แต่ละประเทศมีการเติบโตทางเศรษฐกิจ เฉลี่ยร้อยละ 6-8 ต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 10 ปี • เขตเศรษฐกิจที่เป็นแหล่งการผลิตและการลงทุนที่ใหญ่ที่สุดในโลก • เป็นเขตเศรษฐกิจที่เป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของโลก มีท่าเรือที่เป็น World Port กว่า 10 ท่า

  26. ไทยบน…ความท้าทายของการเป็น AEC • ประเทศไทยจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของตลาดอาเซียน เป็นโอกาสหรือความเสี่ยง ขึ้นอยู่กับขีดความสามารถในการแข่งขัน • อาจเสียพื้นที่ตลาดในประเทศ สินค้าจากเพื่อนบ้านทั้งด้านการนำเข้าและการย้ายฐานการผลิตเข้ามาในไทย จะนำกลยุทธ์และรูปแบบสินค้าใหม่ๆ เข้ามาแทนที่สินค้าที่ผลิตในประเทศ (มากขึ้น) • ทางเลือกของผู้บริโภคมากขึ้นแต่อาจทำลายฐานอุตสาหกรรม เช่น จะทำให้สินค้าราคาถูกลง และมีทางเลือกในการบริโภคสินค้ามากขึ้น • การเปิดเสรีภาคบริการ ไทยมีทั้งโอกาสและความท้าทาย โดยเฉพาะจากการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างกันที่จะทำให้มีต้นทุนลดลง • มาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (NBT) และการทุ่มตลาดจะสูงขึ้น ซึ่งอาเซียนมีระเบียบชัดเจนว่าการจะออกมาตรการกีดกันใดๆ จะต้องแจ้งเตือนชาติสมาชิกล่วงหน้า และจะต้องเป็นมาตรการที่สามารถอธิบายได้ อาจเสี่ยงที่จะถูกเรียกร้องค่าเสียหายจากชาติสมาชิกอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบ

  27. ความพร้อมของไทย...กับการเข้าสู่ AEC • ระบบราชการไทยและรัฐวิสาหกิจยังไม่เอื้อต่อการเป็นสากล ระบบราชการไทยเป็น “Regulator” ในการกำกับและตรวจสอบเอกชน • ระบบการเมือง-ความปรองดองในประเทศอ่อนแอ ปัญหาความขัดแย้งในประเทศไม่มีทางออก การเมืองไม่มีความเข้มแข็งในการรับมือกับการเมืองผลประโยชน์ของอาเซียน • ปัญหาปักปันพรมแดนรอการประทุ ประเทศไทยและอาเซียนต่างมีปัญหาเขตพรมแดนทับซ้อนกัน โดยเฉพาะพื้นที่ ทะเลและเกาะต่างๆ ขณะที่ประเทศไทยยังมีปัญหาขัดแย้งการปักปันเขตแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน • โครงสร้างพื้นฐานขาดการเชื่อมโยง โครงสร้างพื้นฐานของไทยพัฒนาแยกส่วน เน้นแต่ด้านฮาร์ดแวร์ แต่ขาดการเชื่อมโยงทั้งด้านกฎหมาย การเชื่อมโยงโหมดขนส่ง การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานแยกส่วน ไม่เกี่ยวเนื่องกัน • โครงสร้างกฎหมายขาดความทันสมัย ยังไม่ชัดเจน เพราะกฎหมายของประเทศยังไม่มีประสิทธิภาพ ในด้านการบังคับใช้และกฎหมายบางฉบับขาดความทันสมัย (แม้จะดีกว่าหลายประเทศในอาเซียน) • การเมืองต้องมีการปฏิรูป การผลักดันกฎหมายล่าช้า และกฎหมายเพื่อประโยชน์เฉพาะกลุ่ม สภาผู้แทนฯของไทยใช้แต่เรื่องการเมืองว่าใครมีอำนาจมากกว่าใคร และวัดด้วยเสียงข้างมาก

  28. ภาคธุรกิจไทยพร้อมกับการเข้าสู่AECหรือไม่…?ภาคธุรกิจไทยพร้อมกับการเข้าสู่AECหรือไม่…? • แรงงานไทยขาดทักษะและข้อจำกัดด้านภาษาอังกฤษ รวมทั้งภาษาประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งด้านความเชี่ยวชาญแต่ละสาขา และขาดความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ ทำให้แรงงานไทยไปต่างประเทศ ยังเพื่อใช้กำลังแรงงานเท่านั้น • ต้นทุนการผลิตของไทยไม่ใช่ของถูกอีกต่อไป ทั้งด้านค่าแรงซึ่งกลายเป็นนโยบายหาเสียง ค่าพลังงาน คอร์รัปชั่น ต้นทุนการผลิตไม่ได้อยู่ในจุดที่ได้เปรียบเหมือนกับเมื่อก่อน ขณะที่ประเทศอินโดนีเซีย เวียดนาม พม่า ก็มีศักยภาพไม่น้อยไปกว่าไทย • ขาดมาตรการการย้ายฐานการผลิตไป ASEAN ที่ชัดเจน ไทยไม่ใช่ชัยภูมิที่มีต้นทุนต่ำ ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม และขาดพื้นที่ ทั้งด้านอุตสากรรมและเกษตร ต่อไปต้องหาชัยภูมิใหม่ ที่สามารถลดต้นทุนในกระบวนการผลิตภายใต้การแข่งขันที่รุนแรงในอนาคต • ขาดแผนและกลไกขับเคลื่อนที่ชัดเจนและต่อเนื่อง ขาดการนำโจทย์ของประเทศ ใน 10 ปีข้างหน้าเป็นตัวตั้ง ขาดผลลัพธ์ที่ชัดเจนต่อการเปิดเสรี ขณะที่ยังขาดแผนที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเกษตรต่อการแข่งขันและการลงทุนใน AEC

  29. ภาคธุรกิจกับยุทธศาสตร์ของการเข้าสู่ AEC • Think Change สภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจและภูมิสถาปัตย์ ทั้งเชิงพื้นที่ ธุรกิจ รวมทั้งระบบสถาบัน และวัฒนธรรม โดยเฉพาะวิถีของคนในสังคมจะมีการเปลี่ยนแปลงแบบยกเครื่อง • Survivalต้องหาเส้นทางของความอยู่รอด เช่น การสร้างแบรนด์นวัตกรรม รูปแบบ เป็นที่ยอมรับในตลาด AEC การปรับขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับนานาชาติ • การตั้งรับเปิดเสรีอาเซียน ไม่ได้มีสูตรสำเร็จสำหรับทุกคน ผู้ประกอบการรายเล็ก รายกลางที่เป็นโจทย์ไม่มีทางออก เถ้าแก่จะต้องมีสติในการแก้ปัญหา คิดในเชิงยุทธศาสตร์ สามารถทำให้องค์กรอยู่รอดได้ • การวางยุทธศาสตร์เพื่อการเติบโตที่ยั่งยืน คนคือหัวใจของการพัฒนาองค์กร การบริหารคน การแย่งชิงบุคลากร มีการแข่งขันสูง ขณะเดียวกัน คนที่ปรับตัวไม่ได้จะถูกทอดทิ้งเป็นส่วนเกินของสังคม AEC • การมียุทธศาสตร์สอดคล้องกับ AEC เจ้าของกิจการและพนักงานจะต้องมีการคิดเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อความอยู่รอดของธุรกิจและตัวเองในระยะยาว

  30. ความท้าทาย...ด้านการเคลื่อนย้ายแรงงานความท้าทาย...ด้านการเคลื่อนย้ายแรงงาน • ระดับการพัฒนาที่ต่างกัน อาเซียนยังมีอยู่ 2 ระดับที่ต่างกันคือ ประเทศกลุ่มหนึ่งมีระดับการพัฒนาไประดับหนึ่งแล้ว จึงต้องปรับระดับการพัฒนาคนให้เท่ากัน จึงจะเชื่อมโยงกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ • แรงงานไทยขาดทักษะและข้อจำกัดด้านภาษาอังกฤษ รวมทั้งภาษาประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งด้านความเชี่ยวชาญแต่ละสาขา และขาดความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ ทำให้แรงงานไทยไปต่างประเทศ ยังเพื่อใช้กำลังแรงงานเท่านั้น • ช่องว่างของการพัฒนา การเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างอาเซียน ขณะที่ประเทศในอาเซียนยังมีช่องว่างทางเศรษฐกิจ อาจทำให้บุคลากรจากประเทศหนึ่งแห่ไปหารายได้ในอีกประเทศหนึ่งในอาเซียน ทำให้คนเก่งกระจุกตัวในบางประเทศ • เศรษฐกิจภายในของไทยพึ่งพาแรงงานข้ามชาติสูง สินค้าส่งออกของไทยเชิงปริมาณ ร้อยละ 60-70 เป็นสินค้าพื้นฐาน ใช้แรงงานเข้มข้นสูง ขณะที่ราคาต้องแข่งกับประเทศเพื่อนบ้าน • การกระจุกตัวของแรงงานในประเทศอาเซียนที่พัฒนา การเปิดเสรีแรงงานต้องทำให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคธุรกิจ ไม่เช่นนั้นจะเกิดการกระจุกตัวของแรงงานฝีมืออยู่ในประเทศใดประเทศหนึ่ง • การขาดมาตรฐานฝีมือแรงงานในระดับภูมิภาค แต่ละประเทศยังขาดมาตรฐานฝีมือแรงงาน โดยเฉพาะใน 7 สาขา ทั้งแพทย์ วิศวกร สถาปนิก นักบัญชี ซึ่งแต่ละอาชีพมีใบประกอบวิชาชีพของแต่ละประเทศ

  31. ผู้ใช้แรงงานกับการปรับตัวเข้าสู่ AEC AEC Alert : การตื่นตัวของพนักงานหรือมนุษย์เงินเดือนที่ต้องทำงานกับบริษัทข้ามชาติหรือบริษัทไทยที่ต้องค้าขายกับอาเซียน English Language Skill / IT Technology / Equipment Using Skill การพัฒนาทักษะหรือความรู้ในการทำงานในระดับสากล Regional Base Knowledge : การพัฒนาความรู้และการเข้าใจการทำธุรกรรมและปฏิสัมพันธ์ในระดับอนุภูมิภาค Change in Company Culture : การปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมองค์กรที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมทั้งจากนายจ้างหรือเพื่อนร่วมงานที่เป็นคนต่างชาติที่แตกต่างทั้งภาษา กริยา วัฒนธรรมศาสนา ฯลฯ Employee Competitiveness : การเปิดแรงงานเสรีภายใต้ AEC การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในองค์กรทั้งการเลื่อนตำแหน่งหรือการปรับเงินเดือน หรือการถูกเลิกจ้าง สังคมไทยจะเข้าสู่ เงินคือพระเจ้า ภายใต้ You Work, I Pay เพื่อนจะน้อยลงไม่มีความจริงใจในเพื่อนร่วมงาน เป็นสังคมของวัตถุนิยมนำคุณธรรม 31

  32. การปรับตัวของภาคการศึกษาต่อการเปิดเสรี AEC • Education Standardize :การสร้างมาตรฐานการศึกษาและระบบคุณวุฒิวิชาชีพในระดับของอาเซียน • ASEAN Language Understanding : การเรียนรู้ภาษาอาเซียนอย่างน้อย 1 ประเทศ • English is ASEAN Language : ภาษาอังกฤษเป็นภาษาอย่างเป็นทางการของอาเซียน ต้องพูดอ่านเขียนในระดับที่ใช้งานได้ (จริงๆ) จะต้องมีการหลักสูตรการเรียนตั้งแต่ระดับประถมจนถึงมหาวิทยาลัย • ASEAN Studying : การศึกษาวิชาอาเซียน ศึกษาในสาขาต่างๆ ทั้งด้านวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ วํฒนธรรม การทำธุรกิจ ด้านการจัดการ ด้านเศรษฐศาสตร์ • Teacher Development : การพัฒนาครู-อาจารย์ในสถาบันการศึกษาทั้งภาคบังคับและระดับอุดมศึกษาภายใต้บริบทของการเป็นประชาชน AEC • การปรับโอนย้ายหน่วยกิจ : การปรับโอนย้ายหน่วยกิจของมหาวิทยาลัยไทยกับมหาวิทยาลัยประเทศต่างๆ ในอาเซียนเพื่อเอื้อต่อการที่นักศึกษาไทยสามารถโอนหน่วยกิจไปศึกษาต่อในประเทศอาเซียน • การเปลี่ยนเวลาเปิดและปิดภาคเรียน : นโยบายการเปลี่ยนแปลงเวลาปิด-เปิดภาคการศึกษาให้ตรงกับประเทศอื่นๆ ในอาเซียน โดยเฉพาะสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม

  33. โจทย์ที่ต้องการคำตอบเมื่อไทยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ AEC (1) We’re ASEAN…?? • AEC ไทยได้รับประโยชน์จริงหรือไม่ ประเทศไทยจะได้รับผลประโยชน์ในทางบวกหรือผลดีที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) หรือจะได้ประโยชน์เฉพาะธุรกิจขนาดใหญ่เท่านั้น • ภาคธุรกิจไทยพร้อมรับมือหรือยัง มีการเตรียมการที่ดีย่อมได้ผลในทางบวก แต่ในทางตรงกันข้าม หากผู้ประกอบการปรับตัวช้า จะสูญเสียโอกาสและอาจสูญเสียฐานของลูกค้าเดิม • คนไทยส่วนใหญ่พร้อมต่อการเปิดเสรีหรือไม่ การเปิดเสรีมากเกินไป นอกจากจะทำให้ฐานะของประเทศไทยเกิดความเสี่ยงมากขึ้นแล้ว หลายธุรกิจโดยเฉพาะ SMEs อาจล้มหายตายจากไป • SME กับการรับลงทุนโดยไม่เลือก การลงทุนของต่างชาติมาลงทุนในประเทศไทยไม่ได้ก่อให้เกิดรายได้แก่ชุมชน การจ้างงาน หรือการนำเทคโนโลยีมาช่วย หรือผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 33

  34. โจทย์ที่ต้องการคำตอบเมื่อไทยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ AEC (2) We’re ASEAN…?? เศรษฐกิจชุมชนจะเป็นอย่างไร ธุรกิจของต่างชาติที่เข้ามามีบทบาททำให้ธุรกิจท้องถิ่นที่มีมาแต่ช้านานสูญหายไปหมด โดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทย ภาครัฐมีส่วนช่วยภาคเอกชนได้อย่างเป็นรูปธรรมอย่างไรบ้าง ภาครัฐต้องเห็นความสำคัญของการพัฒนาในด้านการผลิตและการบริการและต้องมาช่วยภาคเอกชนในทุกวิถีทาง AEC จะช่วยลดปัญหาขัดแย้งพรมแดนกับประเทศเพื่อนบ้านได้จริงหรือไม่ ขณะที่การปักปันเขตแดนไทยกับเพื่อนบ้าน เช่น สปป.ลาว พม่า กัมพูชา ยังมีปัญหาไม่จบ การเป็นประชมคมเศรษฐกิจจะช่วยแก้ปัญหานี้ได้หรือไม่ ปัญหาความไม่ปรองดอง-สมานฉันท์ของไทย การเมืองภาคประชาชนยังมีความขัดแย้ง ทิศทางการเมืองไทยไม่ชัดเจน จะส่งผลเสียอย่างไรต่อบทบาทของไทยบนเวทีของอาเซียน 34

  35. ประชาชนฐานรากจะได้ประโยชน์อะไรจาก AEC • Income Gap ภาคประชาชนจะได้อะไรจาก AEC ช่องว่างของรายได้จะลดลงไหม ความยากจนจะหายไปจากประเทศหรือไม่ • Different in Standard & Harmonization ทำความเข้าใจกับประชาชน เพื่อให้คนชุมชนเหล่านี้ได้รู้จัก AEC ว่าจะให้ประโยชน์อย่างไรบ้าง ต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง และสิ่งท้าทายที่จะเกิดขึ้นคืออะไร มาตรฐานสินค้า บริการ โลจิสติกส์ และเรื่องความปลอดภัย ซึ่งเป็นเรื่องที่เข้าใจยากถึงการปกป้องภายใน • ASEAN Connectivity ประชาชนจะได้อะไร หรือต้องเสียอะไร การเชื่อมโยงเชิงกายภาพ เช่น การสร้างถนน ทางรถไฟ การเชื่อมทางรถไฟ การเชื่อมโยงทางหลวงระหว่างประเทศ • Visual Community or Ideal Communityอาเซียนจะเป็นประชาคมเสมือนจริงหรือเพียงแค่ประชาคมอุดมคติ • กลไกส่งเสริมประชาชนต่อความสามารถปรับตัวภายใต้ AEC รู้จักปรับใช้ทั้งด้านชุมชนเกษตรกรรม กลุ่ม OTOP และกลุ่มผู้ด้อยโอกาส กลุ่มคนที่ปรับตัวไม่ได้ จะบริหารจัดการอย่างไร • AEC For Peoples ชุมชนอาเซียนภายใต้การไม่มีส่วนร่วมของประชาชน จะเป็นจริงได้อย่างไร

  36. 1. ก้าวต่อไปของ ASEAN จะชอบหรือไม่…ก็หยุดไม่ได้แล้ว • 2. ASEAN Share Value การลดการเลื่อมล้ำและลดช่องว่างการพัฒนา โดยให้ประชาชนกลุ่มด้อยโอกาสและ SME ได้ประโยชน์ของการเป็น ASEAN • 3. Common Concern Connectivity การทำให้เกิดจิตสำนึกของการเป็นเนื้อเดียวกัน ด้วยการเชื่อมโยงในมิติต่างๆทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ให้ได้อย่างแท้จริงไม่มีอุปสรรคทางพรมแดนมาเป็นช่วงว่างของการเป็นอาเซียน 4. Single Market การยกระดับจากการแข่งขันไปสู่การร่วมมือกัน : ทั้งด้านการใช้ทรัพยากรร่วมกันและเป็นตลาดเดียวกันจะต้องมีการบูรณาการความร่วมมือ

  37. COUNTDOWN AEC… 2015 Days 6 8 8 คุณ...พร้อมแล้วหรือยัง? 37

  38. END ข้อมูลเพิ่มเติมที่ www.tanitsorat.com

More Related