1 / 49

หลักเกณฑ์และแนวทางในการจัดทำ แผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด

หลักเกณฑ์และแนวทางในการจัดทำ แผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด และของกลุ่มจังหวัด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2 5 5 5. มติ ก.น.จ. เมื่อวันที่ 30 ส.ค. 53. พิจารณาเห็นชอบรวม 2 เรื่อง ดังนี้. ก. หลักเกณฑ์และแนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด

Télécharger la présentation

หลักเกณฑ์และแนวทางในการจัดทำ แผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. หลักเกณฑ์และแนวทางในการจัดทำ หลักเกณฑ์และแนวทางในการจัดทำ แผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด และของกลุ่มจังหวัด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2555

  2. มติ ก.น.จ. เมื่อวันที่ 30 ส.ค. 53 พิจารณาเห็นชอบรวม 2 เรื่อง ดังนี้ ก. หลักเกณฑ์และแนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 1.หลักการ ขอบเขตของแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด ที่ได้กำหนด เป็นแนวปฏิบัติไว้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 เห็นควรให้ถือปฏิบัติเป็นแนวทางต่อไปได้ 2. แนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด เห็นควรปรับปรุงใหม่ สรุปได้ดังนี้ 2.1 กำหนดขั้นตอนใหม่ให้สอดคล้องกับมติ ก.น.จ. เมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2553 2.2 ปรับปรุงแนวทางการจัดทำคำของบประมาณ โดยเฉพาะในหัวข้อ “ลักษณะโครงการของที่ควรจะจัดทำเป็นคำของบประมาณ” โดยเห็นควรให้คำจำกัดความลักษณะโครงการของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแยกจากกัน เพื่อเป็นแนวปฏิบัติที่ชัดเจน 2.3 โครงการที่ไม่ให้เสนอขอเป็นคำของบประมาณ เห็นควรปรับปรุงให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันมากขึ้น ข. ปฏิทินการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555

  3. มติ ก.น.จ. เมื่อวันที่ 30 ส.ค. 53 หลักเกณฑ์และแนวทางในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด/ กลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 คงเดิม ขอบเขตของแผนพัฒนาจังหวัดและ แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด หลักการ • 1. กรอบหลักในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด • และกลุ่มจังหวัด • นโยบายของรัฐบาล แผนการบริหารราชการแผ่นดิน • แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ • กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค • ยุทธศาสตร์รายสาขา • ผลการศึกษาของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง 2. มุ่งเน้นการทำงานแบบเครือข่ายร่วมกัน ทุกภาคส่วนโดยคำนึงถึงความพร้อมของ ทุกภาคส่วน 3. รับฟังความคิดเห็นของประชาชนในท้องถิ่น ในจังหวัด 4. ให้ความสำคัญกับแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด มากขึ้น

  4. มติ ก.น.จ. เมื่อวันที่ 30 ส.ค. 53 (ร่าง)หลักเกณฑ์และแนวทางในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด/ กลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 แนวทางการจัดทำคำของบประมาณของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด คงเดิม 2 3 4 ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโครงการ 1 ความจำเป็น ของโครงการ ความคุ้มค่า • ผลลัพธ์หรือ • ประโยชน์ของ • โครงการที่ • คาดว่าจะ • ได้รับ • ช่วยพัฒนาหรือ • แก้ปัญหาที่เกิดขึ้น • หรือหากไม่ดำเนินการ • จะเกิดความเสียหาย • เพิ่มขีดความสามารถ • ในการแข่งขัน และ • สร้างรายได้ให้ • จังหวัด/กลุ่มจังหวัด เป็นโครงการที่ต้อง สอดคล้องและ เชื่อมโยงกับประเด็น ยุทธศาสตร์ของจังหวัด/ กลุ่มจังหวัด • ด้านเทคนิค • (วิธีการหรือรูปแบบดำเนินการ) • ด้านกายภาพ (ความพร้อมของพื้นที่ บุคลากร การบริหารจัดการ) • ด้านงบประมาณ (วงเงิน กับประโยชน์ที่ได้ • ด้านระยะเวลา (เสร็จภายในปีงบประมาณ ,มีการวิเคราะห์ผลกระทบทางลบ)

  5. มติ ก.น.จ. เมื่อวันที่ 30 ส.ค. 53 หลักเกณฑ์และแนวทางในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด/ กลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 (ต่อ) ลักษณะโครงการที่จะจัดทำเป็นคำของบประมาณจังหวัด ปรับใหม่ หลักเกณฑ์เดิม โครงการที่จะจัดทำเป็นคำของบประมาณของจังหวัดต้องเป็นโครงการที่สอดคล้องและเชื่อมโยงกับประเด็นยุทธศาสตร์ของจังหวัด และนำไปสู่การแก้ปัญหาของจังหวัด และตอบสนองต่อความต้องการ ของประชาชนในพื้นที่ เช่น 1. การดำเนินเศรษฐกิจชุมชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อาทิ โครงการที่สนับสนุนและส่งเสริมการเพิ่มศักยภาพ ในการประกอบอาชีพ การเพิ่มรายได้และสร้างโอกาส ในการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชน การพัฒนาสินค้า OTOP 2. การพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ 3. การฟื้นฟูและพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัด 4. การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อย่างยั่งยืน 5. การยกระดับคุณภาพชีวิต 6. ให้คำนึงถึงมิติความมั่นคงให้มากยิ่งขึ้น

  6. มติ ก.น.จ. เมื่อวันที่ 30 ส.ค. 53 หลักเกณฑ์และแนวทางในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด/ กลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 (เพิ่มใหม่) ลักษณะโครงการที่จะจัดทำเป็นคำของบประมาณกลุ่มจังหวัด โครงการที่จะจัดทำเป็นคำของบประมาณของกลุ่มจังหวัด ต้องเป็นโครงการ ที่สอดคล้องและเชื่อมโยงกับประเด็นยุทธศาสตร์ของกลุ่มจังหวัด และเป็นโครงการ ที่แสดงถึงการบูรณาการและได้รับประโยชน์ร่วมกันของกลุ่มจังหวัด เช่น  การพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ (Creative Economy) อาทิ การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาสร้างมูลค่าเพิ่ม รวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้า OTOP  การพัฒนาคุณภาพและสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าเกษตร  การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่เฉพาะ/พื้นที่พิเศษ อาทิ กลุ่มการค้าชายแดน กลุ่มธุรกิจและสินค้าฮาลาล  การพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนเพื่อเพิ่มการจ้างงานและกระจายรายได้สู่ชุมชน  การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

  7. มติ ก.น.จ. เมื่อวันที่ 30 ส.ค. 53 หลักเกณฑ์และแนวทางในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 ลักษณะโครงการที่ไม่ให้/ไม่ควรเสนอขอเป็นคำของบประมาณจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ก.น.จ. 1. พื้นที่ดำเนินการอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ หรือที่สาธารณะ เว้นแต่ได้รับ อนุญาตหรือเห็นชอบจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ • เห็นชอบกับ • หลักการ • ขอบเขตของแผนฯ • แนวทางการจัดทำคำขอ • งบประมาณจังหวัด/ • กลุ่มจังหวัด • ลักษณะโครงการที่จะ • จัดทำเป็นคำขอ • งบประมาณจังหวัด/ • กลุ่มจังหวัด 2. ไม่ควรก่อสร้างถนนที่เป็นการก่อสร้างเส้นทางใหม่ เว้นแต่เป็นการสร้างทาง ที่จะทำให้ประเด็นยุทธศาสตร์ของจังหวัด/ กลุ่มจังหวัดบรรลุผลได้อย่าง แท้จริง 3. เป็นการขุดลอกคูคลอง 4. เป็นการจัดซื้อครุภัณฑ์เพื่อแจกจ่ายแก่ประชาชนโดยตรง ยกเว้นในกรณี ของครุภัณฑ์ที่จัดซื้อนั้นเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมภายใต้โครงการที่ สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด 5. มีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน (เว้นแต่ฝึกอบรมด้าน อาชีพ และวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาที่สำคัญของพื้นที่ หรือการทำแผนแม่บทซึ่ง มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ซึ่งต้องใช้องค์ความรู้จาก สถาบันการศึกษา) 6. เป็นโครงการในลักษณะของกิจกรรมย่อย (ควรมีการบูรณาการภารกิจ หรือกิจกรรมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกันเป็นโครงการ เพื่อให้ เกิดการแก้ไขปัญหาเชิงบูรณาการอย่างมีประสิทธิผล) 7. เป็นโครงการบริการสาธารณะ หรือบริการประชาชนซึ่งเป็นภารกิจประจำของ หน่วยงานราชการต่างๆ หรือ อปท. อยู่แล้ว เว้นแต่เป็นโครงการที่จะทำให้ ประเด็นยุทธศาสตร์บรรลุผลอย่างแท้จริง

  8. มติ ก.น.จ. เมื่อวันที่ 30 ส.ค. 53 หลักเกณฑ์และแนวทางในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด /กลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 (ต่อ) แนวทางในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีฯ ขั้นตอนที่ 1 ทบทวนสถานการณ์แผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด ก.บ.จ. และ ก.บ.ก.ทบทวนและประเมินสถานการณ์ + ข้อเสนอของ อ.ก.น.จ. ด้านแผนและ ด้านงบประมาณฯ มาประกอบการพิจารณา ซึ่งผลการพิจารณาอาจเป็นไปได้ 2 กรณี 1.1กรณียืนยันแผนพัฒนาฯ เดิมให้มีมติยืนยันแผนฯ และดำเนินการในขั้นตอนที่ 2ต่อไป 1.2กรณีที่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงแผนพัฒนาในสาระสำคัญจังหวัดและกลุ่มจังหวัดจะต้องดำเนินการตาม มาตรา 20 ของ พ.ร.ฎ. ว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2551 14 ก.ย. - 25 ต.ค. 53 ขั้นตอนที่ 2 ก.บ.ก. และ ก.บ.จ. จัดทำโครงร่างของแผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ. 2555 2.1ก.บ.ก. และ ก.บ.จ.จัดทำโครงร่างของแผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ. 2555 ให้ครอบคลุมทั้งส่วนที่จะใช้งบประมาณจังหวัดและที่จะขอรับการสนับสนุนจากกระทรวง ทบวง กรม 2.2ก.บ.ก. และ ก.บ.จ.นำโครงร่างของแผนฯ ไปรับฟังความเห็น ให้จังหวัดจัดประชุมระดับจังหวัดโดยเชิญผู้แทน จากภาคส่วนต่าง ๆ (ประกอบด้วยภาคประชาสังคม ภาคเอกชน และท้องถิ่น) มาร่วมประชุมเพื่อรับฟังข้อคิดเห็น จังหวัด/กลุ่มจังหวัด นำเสนอร่างแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด/กลุ่มจังหวัดเสนอ อ.ก.น.จ. ด้านแผนและด้านงบประมาณ คณะที่ 1 – 5 ขั้นตอนที่ 3 3 - 4 พ.ย. 53 4 พ.ย. – 14 ธ.ค. 53 ก.บ.ก. และ ก.บ.จ. จัดทำรายละเอียดแผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ. 2555 ตามข้อสังเกตของ อ.ก.น.จ. ด้านแผนและด้านงบประมาณ คณะที่ 1 – 5 ขั้นตอนที่ 4 ก.น.จ. โดย อ.ก.น.จ. ด้านแผนและด้านงบประมาณ คณะที่ 1 – 5 พิจารณา กลั่นกรองแผนปฏิบัติราชการประจำปีฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 โดยให้ จังหวัด/กลุ่มจังหวัดเข้าร่วมชี้แจง ขั้นตอนที่ 5 16 ธ.ค. 53 – 14 ม.ค. 54

  9. ขั้นตอนการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 1.1 กรณียืนยันแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด 5 พ.ย. – 14 ธ.ค. 53 16 ธ.ค. 53- 14 ม.ค. 54 ก.ย. – ต.ค. 53 3-4 พ.ย. 53  2.1 ก.บ.จ./ก.บ.ก.จัดทำโครงร่างแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด พ.ศ. 2555 (ProjectBrief)  อ.ก.น.จ. ด้านแผนฯ คณะที่ 1-5 พิจารณา กลั่นกรอง ก.บ.จ./ก.บ.ก. ทบทวนและประเมินสถานการณ์สภาพแวดล้อม ภายนอก เพื่อยืนยันแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด  ผู้ว่าฯ/ หน.กลุ่ม เสนอ อ.ก.น.จ. ฯ  ก.บ.จ./ก.บ.ก จัดทำรายละเอียด แผนฯ ตามข้อ สังเกตอ.ก.น.จ.ฯ ก.น.จ. พิจารณา กลั่นกรอง ครม. พิจารณา เห็นชอบ รับฟังข้อคิดเห็น 2.2 ที่ประชุมในระดับจังหวัด ของสภาองค์กรชุมชนตำบล 2.2 กรอ.จังหวัด/ กลุ่มจังหวัด 1.2 กรณีเปลี่ยนแปลงแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ดำเนินการตามมาตรา 20  ก.บ.จ./ก.บ.ก. ทบทวนและประเมินสถานการณ์สภาพแวดล้อม ภายนอก เพื่อยืนยันแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด อ.ก.น.จ. ด้านแผนฯ คณะที่ 1-5 พิจารณา กลั่นกรอง สำรวจความ คิดเห็นของ ประชาชน ในท้องถิ่น ในจังหวัด จัดทำร่าง แผนพัฒนา จังหวัด/ กลุ่มจังหวัด ก.น.จ. พิจารณา กลั่นกรอง ครม. พิจารณา เห็นชอบ ที่ประชุม ปรึกษหารือ ตาม ม. 19  2.1 ก.บ.จ./ก.บ.ก จัดทำโครงร่างแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด พ.ศ. 2555 (ProjectBrief) อ.ก.น.จ. ด้านแผนฯ คณะที่ 1-5 พิจารณา กลั่นกรอง ก.บ.จ./ก.บ.ก จัดทำราย ละเอียดแผนฯ ตามข้อ สังเกต  ผู้ว่าฯ/ หน.กลุ่ม เสนอ อ.ก.น.จ. ฯ ก.น.จ. พิจารณา กลั่นกรอง ครม. พิจารณา เห็นชอบ รับฟังข้อคิดเห็น 2.2 กรอ.จังหวัด/ กลุ่มจังหวัด 2.2 ที่ประชุมในระดับจังหวัด ของสภาองค์กรชุมชนตำบล

  10. ปฏิทินการการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด /กลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 3-4 16 ธ.ค. – 14 ม.ค. 20 25

  11. แบบฟอร์มการจัดทำโครงร่างแผนปฏิบัติราชการประจำปีแบบฟอร์มการจัดทำโครงร่างแผนปฏิบัติราชการประจำปี ของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 • ส่วนที่ 1 • สรุปผลการทบทวนแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด • ส่วนที่ 2 • โครงร่างแผนปฏิบัติราชการประจำปีฯ

  12. ส่วนที่ 1 1.1 ใบสรุปผลการทบทวนแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด...................................................

  13. ส่วนที่ 1 ทั้งนี้ ให้แนบข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นเหตุผลประกอบด้วย ดังนี้ 1. ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดเกี่ยวกับข้อมูลการปกครอง ประชากร โครงสร้างพื้นฐาน และข้อมูลเชิงสถิติที่สำคัญในพื้นที่ รวมทั้งข้อมูลสรุปผลการดำเนินการที่ผ่านมา (เพื่อดูการดำเนินงานในแต่ละปีที่ผ่านมาว่ามีการดำเนินบรรลุตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ของ แผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัดมากน้อยเพียงใด) 2. ข้อมูลการวิเคราะห์ศักยภาพด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ครบทุกมิติสำคัญของพื้นที่ และระบุทิศทางหรือนโยบายการพัฒนาในมิติที่สำคัญทุกด้านในพื้นที่ (การประเมินสถานการณ์สภาพแวดล้อมภายนอกที่เกี่ยวข้อง โดยการทำ SWOT Analysis หรือ เครื่องมืออื่นๆ ว่ามีผล/ไม่มีผลกระทบต่อศักยภาพและทิศทางการพัฒนาของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด) 3. ข้อมูลแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ตามแบบสรุปที่ 1.2 และแบบ จ. 1 /แบบ กจ.1

  14. ส่วนที่ 1 1.2 แบบสรุปข้อมูลแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด................................. 1) วิสัยทัศน์ 2)พันธกิจ/เป้าประสงค์รวม (ถ้ามี) 3) ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมายและกลยุทธ์ 4) สรุปบัญชีรายการชุดโครงการ (ปี 2553- 2556)

  15. ส่วนที่ 1 1.3 แบบ จ.1 /แบบ กจ.1 แบบ จ. 1 แบบฟอร์มการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด พ.ศ......... – พ.ศ......... วิสัยทัศน์ : ...........(1)....................................................................... ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ .......(2)..................................................................

  16. ส่วนที่ 2 2.1 สรุปเค้าโครงร่างแผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ. 2555 จังหวัด/กลุ่มจังหวัด................

  17. 2.2 ประเด็นยุทธศาสตร์และชื่อโครงการภายใต้ประเด็นยุทธศาสตร์ ประเด็นยุทธศาสตร์.......................................................... (โดยต้องมีการจัดลำดับความสำคัญของโครงการด้วย) ส่วนที่ 2 หมายเหตุ * 1. โครงการที่ดำเนินการโดยจังหวัด/กลุ่มจังหวัด เป็นโครงการที่จะนำมาจัดทำเป็นคำของบประมาณของจังหวัด/ กลุ่มจังหวัด 2. โครงการสำคัญ (Flagship Project) ตามประเด็นยุทธศาสตร์ของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ให้จัดทำโครงการแบบย่อ (Project Brief) ประกอบด้วย

  18. 2.3 โครงการแบบย่อ (Project Brief) ส่วนที่ 2 ประเด็นยุทธศาสตร์ ........................................................................ กลยุทธ์ ................................................................. ลำดับความสำคัญของโครงการ ................................................................. หมายเหตุ จัดทำเฉพาะโครงการสำคัญ (Flagship Project) ตามประเด็นยุทธศาสตร์ ที่เป็นโครงการ ที่ดำเนินการโดยจังหวัด/กลุ่มจังหวัด

  19. 5 ประเด็นยุทธศาสตร์ พัฒนาคุณภาพการผลิตและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ข้าวหอมมะลิคุณภาพ ตัวอย่าง โครงการแบบย่อ (Project Brief) * ข้อมูลที่ปรากฎเป็นเพียงตัวอย่างประกอบเท่านั้น

  20. ประเด็นยุทธศาสตร์ : พัฒนาคุณภาพการผลิตและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ข้าวหอมมะลิคุณภาพ การวิจัยและพัฒนา(R&D) + ปัจจัยพื้นฐาน การเพิ่มผลผลิต พัฒนาคุณภาพ และลดต้นทุน การแปรรูป เพิ่มและสร้าง คุณค่า การพัฒนาระบบ การตลาด การบริหารจัดการ สินค้า (Logistics) การพัฒนา เกษตรกรและสถาบัน เกษตรกร ตัวอย่าง • การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเกษตร • การพัฒนาและปรับปรุงพันธ์ข้าวหอมมะลิ • การพัฒนาพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ แหล่งน้ำและ ระบบชลประทาน • การวางแผนการผลิตของประเทศ โดยคำนึงถึงการจัดสรรการใช้พื้นที่ • การบูรณาการการรับรองมาตรฐานสำหรับประเทศ ที่ทัดเทียมสากล • การพัฒนาระบบประกันราคาข้าวและตลาดซื้อขายล่วงหน้า • การทำการตลาดเพื่อประชาสัมพันธ์ข้าวหอมมะลิสู่ครัวโลก • วางแผนเส้นทางขนส่งในประเทศ เพื่อรองรับ ASEAN Supply Chain • จัดตั้งศูนย์กระจายสินค้า เพื่อเป็นจุดส่งผ่านสินค้าทั้งในและต่างประเทศ • ส่งเสริมความร่วมมือกัยสถาบันการศึกษา เพื่ออบรมผู้ประกอบและสร้างความแข็งแกร่งในด้านโล จิสติกส์และซัพพลายเชน • การส่งเสริมการจัดทำระบบ Zero Waste • การจัด model ตัวอย่าง เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปข้าวหอมมะลิ • การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ • บริการปรึกษาแนะนำเทคโนโลยีการผลิตใหม่ อาทิ Post Harvest Technology • สนับสนุนสินเชื่อและการแปลงสินทรัพย์ให้เป็นทุนแก่เกษตรกร ระดับกระทรวง • การเจรจาจับคู่ระหว่างผู้ส่งออกและเกษตรกร (Contract Farming) • การพัฒนา/ยกระดับมาตรฐานตลาดกลางข้าวหอมมะลิ ให้ได้รับการยอมรับระดับสากล • การพัฒนาจัดการข้อมูลการตลาด (Market Intelligence Unit) โดยมีการรวบรวมข้อมูลผลิตภัณฑ์ นาข้าวการเกษตร ในพื้นที่ทั้งหมด การจัดงานแสดงสินค้าผลิตภัณฑ์การเกษตรระดับท้องถิ่น • การปรับปรุงคุณภาพแม่น้ำชีที่มีมลพิษ • การพัฒนาระบบเกษตรอินทรีย์ (Organic Farm) โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อลดการใช้สารเคมี • การพัฒนาการบริหารจัดการเพื่อขอรับรองมาตรฐานคุณภาพเพื่อการส่งออกGAP/GMP/HACCP • การคัดแยกข้าวหอมมะลิตามคุณภาพเพื่อจัดเกรดสินค้า • การพัฒนากระบวนการ แปรรูปและ วัสดุเหลือใช้ ภาคการเกษตร • ส่งเสริมให้เอกชนมาลงทุนระบบการเก็บรักษาข้าวหอมมะลิ • การจัดตั้งศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตรเพื่อส่งออกแบบครบวงจรในพื้นที่ (Food Processing Capacity Building and Export Development Center) • การส่งเสริม สืบทอดวัฒนธรรมและวิถีชีวิตทางการเกษตร • การวิจัย และพัฒนาข้าวหอมมะลิชนิดพิเศษ ระดับกลุ่มจังหวัด ระดับจังหวัด • การทำส่งเสริมการรวมกลุ่มของเกษตรกรและการจัดตั้งสหกรณ์การเกษตรในชุมชน • การส่งเสริมจัดทำปุ๋ยหมักชีวภาพใช้ในระดับชุมชน เพื่อเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร • การทำแปลงสาธิตเกษตรอินทรีย์ในระดับอำเภอ และระดับตำบล • การส่งเสริมให้เกษตรกร ใช้น้ำส้มควันอ้อยเพื่อ กำจัดศัตรูพืช ระดับท้องถิ่น * ข้อมูลที่ปรากฎเป็นเพียงตัวอย่างประกอบเท่านั้น

  21. ตารางเปรียบเทียบโครงการแบบย่อ (project brief) กับแบบฟอร์มข้อมูลพื้นฐานโครงการของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด

  22. สรุปการดำเนินการขั้นต่อไปสรุปการดำเนินการขั้นต่อไป จังหวัดและกลุ่มจังหวัด ดำเนินการทบทวน สถานการณ์แผนพัฒนา จังหวัด/กลุ่มจังหวัดและ จัดทำโครงร่างแผน ปฏิบัติราชการประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2555 ตามกรอบหลักเกณฑ์ และแนวทางดังกล่าว และระยะเวลาตาม ปฏิทินที่ ก.น.จ. ได้มีมติเห็นชอบ    ฝ่ายเลขานุการ ก.น.จ. ร่วมกับหน่วยงานกลาง ที่เกี่ยวข้องจัดประชุม เชิงปฏิบัติการชี้แจงหลักเกณฑ์และแนวทางพร้อมทั้งปฏิทินการจัดทำแผนฯ จัดประชุม อ.ก.น.จ. ด้านแผนและด้านงบประมาณ คณะที่ 1- 5 เพื่อให้จังหวัด/ กลุ่มจังหวัดเสนอโครงร่าง ของแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีของจังหวัด/ กลุ่มจังหวัด พ.ศ. 2555 และรับข้อสังเกตจาก อ.ก.น.จ.ฯ เพื่อประกอบ ในการจัดทำรายละเอียด ให้สมบูรณ์ต่อไป 13 ก.ย. 53 14 ก.ย. - 25 ต.ค. 53 3 – 4 พ.ย. 53

  23. www.opdc.go.th www.KORNORJOR.com

  24. หัวข้อนำเสนอ • ที่มา “การบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ” • 2. การดำเนินงานที่ผ่านมา • 3. แนวทางในการปรับปรุง • 4. หลักเกณฑ์และแนวทางในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดและของกลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 • (มติ ก.น.จ. ครั้งที่ 3/2553 วันที่ 30 ส.ค. 53

  25. 1. ที่มา รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มาตรา 78 (2) พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 52 วรรคสาม เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานแบบบูรณาการในจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัด ให้จังหวัด หรือกลุ่มจังหวัดยื่นคำขอจัดตั้งงบประมาณได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ในกรณีนี้ให้ถือว่าจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัด เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ มาตรา 53/1 ให้จังหวัดจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดให้สอดคล้องกับ แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระดับชาติ และความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นในจังหวัด ในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดจัดให้มีการประชุมปรึกษาหารือร่วมกันระหว่างหัวหน้าส่วนราชการที่มีสถานที่ตั้งทำการอยู่ในจังหวัดไม่ว่าจะเป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาคหรือราชการบริหารส่วนกลางและผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมดในจังหวัด รวมทั้งผู้แทนภาคประชาสังคม และผู้แทนภาคธุรกิจเอกชน การจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดตามวรรคหนึ่งจำนวนและวิธีการสรรหาผู้แทนภาคประชาสังคม และผู้แทนภาคธุรกิจเอกชนตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา เมื่อประกาศใช้แผนพัฒนาจังหวัดแล้ว ในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการดำเนินกิจการของส่วนราชการและหน่วยงานอื่นของรัฐทั้งปวงที่กระทำในพื้นที่จังหวัดต้องสอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัดดังกล่าว มาตรา 55/1 มาตรา 53/2 ให้นำความในมาตรา 53/1 มาใช้บังคับกับการจัดทำแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดด้วยโดยอนุโลม มาตรา 55/1 ในจังหวัดหนึ่งนอกจากกรุงเทพมหานคร ให้มีคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า “ก.ธ.จ.” ทำหน้าที่สอดส่องและเสนอแนะการปฏิบัติภารกิจของหน่วยงานของรัฐในจังหวัดให้ใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีและเป็นไปตามหลักการที่กำหนดไว้ในมาตรา ๓/๑

  26. เจตนารมณ์ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 และ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2551 ยึดพื้นที่ Area-based Approach ความร่วมมือ Collaboration/ Joined-Up Government การพัฒนา Development Model การจัดการที่ดี Governance Model • ยึดพื้นที่เป็นหลักในการพัฒนาเพื่อกระจายการพัฒนาและลดความเหลื่อมล้ำของความเจริญเติบโตระหว่างพื้นที่ต่างๆ ในประเทศ แบ่งเป็น 18 กลุ่มจังหวัดและ 75 จังหวัด (กลุ่มจังหวัดเน้นยุทธศาสตร์เรี่องการสร้าง competitiveness จังหวัดเน้นยุทธศาสตร์เรื่องพัฒนาสังคม รวมถึงการสร้างโอกาสและอาชีพ) • ต้องการให้แต่ละพื้นที่มี position ในการพัฒนาที่ชัดเจน และผ่านการเห็นชอบร่วมกันทุกฝ่าย เพื่อให้เกิดความยั่งยืนและร่วมมือร่วมใจกัน • การจัดการความสัมพันธ์แนวดิ่งระหว่างส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น • แบ่งหน้าที่กันทำตามแต่ละยุทธศาสตร์ (มาเจรจาและทำข้อตกลงร่วมกัน) • ลดความซ้ำซ้อนของการใช้งบประมาณแผ่นดิน หรือระดมทรัพยากรเข้ามาใช้ร่วมกันให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ • การจัดการความสัมพันธ์แนวนอนระหว่างภาครัฐและภาคส่วนอื่นในสังคม (ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม) • ประสานการลงทุนภาคเอกชน และเชื่อมโยงเข้ากับแผนชุมชน • กำหนดให้ ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นตัว linkage ฝ่ายต่าง ๆ เข้าด้วยกัน

  27. ภาพพึงประสงค์ของการบูรณาการแผนและงบประมาณของส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี กระทรวง/กรม งบประมาณ function xxxxx นโยบายรัฐบาล/ แผนการบริหารราชการแผ่นดิน งบฯ จว./กลุ่ม จว. แผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด กระบวนการบูรณาการแผนและการมีส่วนร่วมตามมาตรา 19 ของ พ.ร.ฎ. ฯ งบประมาณท้องถิ่น xxxxx แผนพัฒนาท้องถิ่น แผนชุมชน

  28. 2. การดำเนินงานที่ผ่านมา • ข้อจำกัด • - ระยะเวลาในทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีฯ (2553=17 วัน/2554=25 วัน) • - กรอบวงเงิน (2553 และ 2554=18,000 ล้านบาท) • ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ -ประธาน ก.น.จ. -การรับฟังความคิดเห็นจากจังหวัด/กลุ่มจังหวัด 4 ภูมิภาค -คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณพ.ศ. 2554 สภาผู้แทนราษฎร และคณะอนุกรรมาธิการท้องถิ่นและจังหวัด -คณะกรรมาธิการพิจารณาศึกษาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณพ.ศ. 2554 วุฒิสภา -การตรวจติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด แผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด และการบริหารงบประมาณ ของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ครั้งที่ 1ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 (มค.–มีค. 53)

  29. สรุปมุมมองของนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับการพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดสรุปมุมมองของนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับการพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด จากปาฐกถาพิเศษ“บทบาทของภาคเอกชนกับการมีส่วนร่วมขับเคลื่อนแผนการปรองดองแห่งชาติ”เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 53 • การพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ในส่วนของภาครัฐมีการดำเนินการมานาน แต่เพิ่งจะมีกฎหมายรองรับ และมีการขับเคลื่อนที่ชัดเจนในช่วง 2 – 3 ปี และคาดว่าจะดำเนินการตามเจตนารมณ์ได้อย่างแท้จริงก็อาจจะเป็นปีนี้ หรือในปีถัดไป • ปัญหาของการขับเคลื่อนหรือการพัฒนาในเรื่องของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดในอดีตเกิดจาก • การที่รัฐบาลใช้งบประมาณผ่านกระทรวง ทบวง กรม เป็นหลัก ทำให้ความต้องการและศักยภาพของคนในพื้นที่ต่าง ๆ ไม่สามารถถ่ายทอดมาสู่การจัดสรรงบประมาณ • การจัดทำแผนการพัฒนาในระดับชาติ จะเป็นการดูภาพใหญ่หรือภาพรวม ทำให้มองข้ามความหลากหลาย หรือปัจจัยที่เป็นเรื่องเฉพาะของแต่ละพื้นที่ • องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะดำเนินการในกระบวนการพัฒนาจำกัดอยู่เฉพาะในพื้นที่ที่แต่ละองค์กรรับผิดชอบ ทำให้ศักยภาพของกลุ่มจังหวัดจะถูกมองข้ามไปหรือละเลยไป • การจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด จะต้องคำนึงถึงยุทธศาสตร์ของกลุ่มจังหวัด พร้อมจัดทำโครงการที่จะมาส่งเสริมและสนับสนุนกันด้วย • การจัดตั้ง กรอ. จังหวัดเป็นการเชื่อมประสานกับภาคส่วนอื่น ๆ ในสังคม ในการจัดทำแผนและยุทธศาสตร์ของการบริหารจังหวัดและกลุ่มจังหวัด เพื่อเป็นการเริ่มกระบวนการประสานการพัฒนากลุ่มจังหวัดและจังหวัดที่จะเป็นรูปธรรมและเป็นไปตามเจตนารมณ์อย่างแท้จริง • ระบบการพัฒนากลุ่มจังหวัดและจังหวัดนี้จะเป็นภูมิคุ้มกันไม่ให้ฝ่ายการเมืองเข้ามายุ่งเกี่ยวในเรื่องของงบประมาณการพัฒนากลุ่มจังหวัดและจังหวัด โดยฝ่ายการเมืองไม่สามารถเข้าไปเปลี่ยนแปลงได้จนกว่าจะได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มงานจังหวัดบูรณาการพัฒนาจังหวัด (ก.น.จ.) ก่อน

  30. ความเห็นของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2554 สภาผู้แทนราษฎร และคณะอนุกรรมาธิการท้องถิ่นและจังหวัด และความเห็นของคณะกรรมาธิการศึกษาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2554 วุฒิสภา

  31. ความเห็นของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2554 สภาผู้แทนราษฎร และคณะอนุกรรมาธิการท้องถิ่นและจังหวัด และความเห็นของคณะกรรมาธิการศึกษาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2554 วุฒิสภา (ต่อ)

  32. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ของผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีและผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย

  33. ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นจากจังหวัด/กลุ่มจังหวัดข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นจากจังหวัด/กลุ่มจังหวัด และทีมบูรณาการกลาง

  34. ภาพพึงประสงค์กับการปฏิบัติจริงภาพพึงประสงค์กับการปฏิบัติจริง แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี กระทรวง/กรม งบประมาณ function xxxxx 1 นโยบายรัฐบาล/ แผนการบริหารราชการแผ่นดิน งบฯ จว./กลุ่ม จว. 17,160 งบบริหารจัดการ 840 (จังหวัด 10 ล้าน/กลุ่มจังหวัด 5 ล้าน) 18,000 แผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด 3 Contingency fund (งบฉุกเฉิน/ แก้ไขปัญหาเร่งด่วน) 4 2 กระบวนการบูรณาการแผนและการมีส่วนร่วมตามมาตรา 19 ของ พ.ร.ฎ. ฯ งบประมาณท้องถิ่น xxxxx แผนพัฒนาท้องถิ่น แผนชุมชน งบบริหารจัดการ ใช้เพื่อ การจัดประชุมหารือเพื่อจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดกับภาคส่วนต่าง ๆ  การจัดประชุม ก.บ.จ. หรือ ก.บ.ก.  การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจแก่ภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อเข้ามา มีส่วนร่วมในการจัดทำแผน สนับสนุนในการขับเคลื่อนการดำเนินการตามแผน การพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ การติดตามประเมินผล

  35. 3. แนวทางในการปรับปรุง

  36. 3. แนวทางในการปรับปรุง 3.5 หลักเกณฑ์และแนวทางการกำหนดกรอบ การจัดสรรงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555

  37. แนวทางการกำหนดกรอบการจัดสรรงบประมาณของจังหวัด/กลุ่มจังหวัดแนวทางการกำหนดกรอบการจัดสรรงบประมาณของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด มติ ก.น.จ. เมื่อวันที่ 16 มี.ค. 52 มีมติเห็นชอบ ดังนี้ 1. กำหนดกรอบงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด จำนวน 18,000 ล้านบาท 2. การจัดสรรงบประมาณให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัดเฉพาะ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ให้อิงกับฐานงบประมาณที่ แต่ละจังหวัดได้รับจากปีงบประมาณที่ผ่านมาและใช้ผลรวม ของวงเงินงบประมาณของจังหวัดที่ได้รับการจัดสรรภายใน กลุ่มจังหวัดนั้นมาใช้เป็นกรอบงบประมาณ เพื่อจัดสรรให้ กลุ่มจังหวัดและแต่ละจังหวัดในกลุ่มจังหวัด 3. เห็นชอบให้มีการจัดสรรงบบริหารจัดการของจังหวัดๆ ละ 10 ล้านบาท และกลุ่มจังหวัด ๆ ละ 5 ล้านบาท โดยให้ รวมอยู่ภายใต้กรอบงบประมาณที่แต่ละจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ได้รับการจัดสรรเพื่อเป็นงบประมาณสำหรับการบริหารงานประจำ 4. วงเงินจัดสรรที่หักงบบริหารจัดการของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแล้ว ให้นำมากำหนดเป็นงบประมาณสำหรับดำเนินโครงการตามแผน ปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด โดยควรกำหนด สัดส่วนงบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดด้วย และนำมาจัดสรร ให้แต่ละจังหวัดภายในกลุ่มโดยคิดเป็นสัดส่วนแต่ละจังหวัดเทียบกับ ฐานงบประมาณเดิมที่ได้รับ 5. ในการพิจารณาจัดสรรงบประมาณในปีต่อๆ ไป จะให้ความสำคัญในการ จัดสรรงบประมาณให้กับกลุ่มจังหวัดเป็นหลัก โดยควรกำหนดสัดส่วน งบประมาณให้กลุ่มจังหวัดมากขึ้น มติ ก.น.จ. เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2552 มีข้อสังเกตสรุปได้ว่า ให้มีการทบทวน หลักเกณฑ์และแนวทางการจัดสรร งบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและ เป็นธรรมยิ่งขึ้น

  38. มติ ก.น.จ. เมื่อวันที่ 30 ส.ค. 53 1. หลักเกณฑ์และแนวทางการกำหนดกรอบการจัดสรรงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555เห็นชอบเป็นดังนี้ 1) กรอบงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 สำหรับจังหวัดและกลุ่มจังหวัด = 18,000 ล้านบาท (ก.น.จ. มีมติเห็นชอบในหลักการให้กรอบวงเงินงบประมาณของจังหวัด/กลุ่มจังหวัดปรับเปลี่ยนตามสัดส่วนของงบประมาณที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงดังกล่าวต่อไป) 2) งบบริหารจัดการของจังหวัด ๆ ละ 10 ล้านบาท และกลุ่มจังหวัด ๆ ละ 5 ล้านบาท โดยให้รวมอยู่ภายใต้กรอบงบประมาณที่แต่ละจังหวัดและกลุ่มจังหวัดได้รับการจัดสรร 3) กำหนดสัดส่วนการจัดสรรงบประมาณกลุ่มจังหวัดและจังหวัดเป็น 30 : 70 (วงเงินงบประมาณ 18,000 ล้านบาท จำแนกเป็นงบกลุ่มจังหวัด 5,400 ล้านบาท (30%) และเป็นงบจังหวัด 12,600 ล้านบาท (70%)) 4) เห็นชอบกับองค์ประกอบที่ใช้เป็นแนวทางการจัดสรรงบประมาณตามความเห็นของ อ.ก.น.จ.ฯ แต่ให้ปรับสัดส่วนขององค์ประกอบใหม่ โดย - ปรับลดสัดส่วนเรื่องการจัดสรรเฉลี่ยเท่ากันทุกจังหวัด และการจัดสรรตามผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (Gross Provincial Products: GPP) - นำไปเพิ่มในเรื่องการจัดสรรตามจำนวนประชากรของแต่ละจังหวัด และการจัดสรรตามความผกผัน ของรายได้ต่อครัวเรือนในแต่ละจังหวัด ก.น.จ. มีมติอนุมัติให้ อ.ก.น.จ. เกี่ยวกับการพัฒนาระบบการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัด แบบบูรณาการ นำไปพิจารณาปรับปรุงเพิ่มสัดส่วนตามมติ ก.น.จ. ข้างต้น และให้แจ้งจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ถือปฏิบัติต่อไปได้โดยไม่ต้องเสนอ ก.น.จ.

  39. ตารางเปรียบเทียบกรอบการจัดสรรงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัดตารางเปรียบเทียบกรอบการจัดสรรงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด

  40. มติ ก.น.จ. วันที่ 19 พ.ย. 52 : หลักเกณฑ์และแนวทางการกำหนดกรอบ การจัดสรรงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 2. สัดส่วนระหว่างงบประมาณกลุ่มจังหวัดและ งบประมาณจังหวัด 30:70 ใช้ผลรวมของวงเงินงบประมาณของจังหวัดที่ได้รับการจัดสรรภายในกลุ่มจังหวัดนั้นมาใช้เป็นกรอบ เพื่อจัดสรรให้กลุ่มจังหวัดและแต่ละจังหวัดในกลุ่มนั้น โดยกำหนดสัดส่วนให้ชัดเจน

  41. เปรียบเทียบระยะเวลา การจัดทำแผนพัฒนาและแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 - 2555

  42. สรุปผลการดำเนินการของ ก.น.จ.(ต่อ) 5. ออกประกาศ ก.น.จ. รวม 5 ฉบับ 6. ออกหนังสือเวียนแจ้งจังหวัด กลุ่มจังหวัดและส่วนราชการเกี่ยวกับนโยบายหลักเกณฑ์ แนวทาง และวิธีการปฏิบัติตามมติ ก.น.จ. ปี พ.ศ. 2552 = 22 ฉบับ ปี พ.ศ. 2553 = 8 ฉบับ 7. พิจารณาเห็นชอบแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด แผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด และคำของบประมาณของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 และ พ.ศ. 2554

  43. ความเห็นของกรรมการ ก.น.จ. ในการประชุมเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2553 1. แผนจังหวัดคือ bottom up ส่วนแผนกลุ่มจังหวัดคือ top down ในเชิงนโยบาย ซึ่งในครั้งต่อไป กำหนดให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่กำกับดูแล เป็นผู้ชี้ว่ากลุ่มจังหวัดใดจะทำเรื่องใดในแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด 2. โครงการของกลุ่มจังหวัดส่วนใหญ่ยังปรากฏว่าเป็นโครงการที่มาจากแต่ละจังหวัด ในกลุ่มจัดทำและเสนอขึ้นมารวมกันเป็นโครงการของกลุ่มมากกว่า (ขนมชั้น) จึง ทำให้เกิดการไม่บูรณาการกันระหว่างจังหวัดในกลุ่ม ซึ่งถูกวิจารณ์มาก 3. ปัญหาที่ผ่านมาคือ ส่วนใหญ่โครงการของกลุ่มจังหวัดจะขาดความต่อเนื่องในแต่ละปี ดังนั้น ในการพิจารณาแผนฯ ปีต่อไปควรจะต้องตรวจสอบกับปีที่ผ่านมาด้วย

  44. มติ ก.น.จ. เมื่อวันที่ 30 ส.ค. 53 (ต่อ) 1. หลักเกณฑ์และแนวทางการกำหนดกรอบการจัดสรรงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555เห็นชอบเป็นดังนี้ 5) เห็นชอบหลักเกณฑ์การพิจารณาคุณภาพของแผนจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ตามที่ อ.ก.น.จ.ฯ เสนอ แต่ให้ปรับปรุงคะแนนใหม่โดยให้แผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด 40% และแผนปฏิบัติราชการ ประจำปี 60% ทั้งนี้ ก.น.จ. ได้มีมติอนุมัติให้ อ.ก.น.จ. เกี่ยวกับการพัฒนาระบบการบริหารงานจังหวัด และกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการไปพิจารณาหลักเกณฑ์การพิจารณาคุณภาพของแผนจังหวัด และกลุ่มจังหวัดตามมติ ก.น.จ. ข้างต้น และให้แจ้งจังหวัดและกลุ่มจังหวัดถือปฏิบัติต่อไปได้ โดยไม่ต้องเสนอ ก.น.จ. 6) ไม่เห็นชอบให้มีงบประมาณเพื่อแก้ปัญหาฉุกเฉินเร่งด่วน(Contingency Fund) ให้กับ ผู้ว่าราชการจังหวัด ในระบบงบประมาณจังหวัด/กลุ่มจังหวัด

  45. มติ ก.น.จ. เมื่อวันที่ 30 ส.ค. 53 (ต่อ) 2. หลักเกณฑ์และแนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555ให้มีการปรับปรุง ดังนี้ 1) ลักษณะโครงการที่ไม่ให้เสนอขอเป็นคำของบประมาณจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ข้อ 2 จาก “การก่อสร้าง ถนนที่เป็นเส้นทางใหม่” เป็น “ไม่ควรก่อสร้างถนนที่เป็นการก่อสร้างเส้นทางใหม่ เว้นแต่เป็นการสร้างทาง ที่จะทำให้ประเด็นยุทธศาสตร์ของจังหวัด/กลุ่มจังหวัดบรรลุผลได้อย่างแท้จริง” 2) ปรับปรุงขั้นตอนในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีฯ ขั้นตอนที่ 2 จาก “ให้ ก.บ.จ./ก.บ.ก. นำโครงร่างแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2555 เสนอต่อที่ประชุมสภาองค์กรชุมชนในระดับจังหวัด และที่ประชุม กรอ.จังหวัด/ กรอ.กลุ่มจังหวัด เพื่อขอรับข้อคิดเห็น” เป็น “ ให้ ก.บ.จ./ก.บ.ก. นำโครงร่างแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2555 ให้จังหวัดจัดประชุมระดับจังหวัดโดยเชิญภาคส่วนต่างๆ (ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน และท้องถิ่น) เพื่อรับฟังข้อคิดเห็น” ก.น.จ. ได้มีมติเพิ่มเติมว่า ให้รองนายกรัฐมนตรี/รัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายให้กำกับดูแล การปฏิบัติราชการในพื้นที่ภูมิภาครับผิดชอบในการกำหนดจุดเน้นในการพัฒนา เพื่อเป็นกรอบแนวทาง ในการจัดทำแผนพัฒนาและแผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัด 3. เห็นชอบปฏิทินการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555โดยให้ปรับระยะเวลาและขั้นตอนให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

  46. สรุปประเด็นการพิจารณาตามที่ ก.น.จ. อนุมัติให้ อ.ก.น.จ.ฯ พิจารณาเห็นชอบ โดยไม่ต้องเสนอ ก.น.จ. อีก 1. การปรับสัดส่วนขององค์ประกอบที่ใช้เป็นกรอบการจัดสรร งบประมาณจังหวัด/กลุ่มจังหวัด 2. การปรับคะแนนเกณฑ์คุณภาพแผนจังหวัด/กลุ่มจังหวัด

  47. มติ ก.น.จ. เมื่อวันที่ 30 ส.ค. 53 หลักเกณฑ์และแนวทางในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 ลักษณะโครงการที่ไม่ให้/ไม่ควรเสนอขอเป็นคำของบประมาณจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ก.น.จ. 1. พื้นที่ดำเนินการอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ หรือที่สาธารณะ เว้นแต่ได้รับ อนุญาตหรือเห็นชอบจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ • เห็นชอบกับ • หลักการ • ขอบเขตของแผนฯ • แนวทางการจัดทำคำขอ • งบประมาณจังหวัด/ • กลุ่มจังหวัด • ลักษณะโครงการที่จะ • จัดทำเป็นคำขอ • งบประมาณจังหวัด/ • กลุ่มจังหวัด 2. ไม่ควรก่อสร้างถนนที่เป็นการก่อสร้างเส้นทางใหม่ เว้นแต่เป็นการสร้างทาง ที่จะทำให้ประเด็นยุทธศาสตร์ของจังหวัด/ กลุ่มจังหวัดบรรลุผลได้อย่าง แท้จริง 3. เป็นการขุดลอกคูคลอง 4. เป็นการจัดซื้อครุภัณฑ์เพื่อแจกจ่ายแก่ประชาชนโดยตรง ยกเว้นในกรณี ของครุภัณฑ์ที่จัดซื้อนั้นเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมภายใต้โครงการที่ สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด 5. มีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน (เว้นแต่ฝึกอบรมด้าน อาชีพ และวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาที่สำคัญของพื้นที่ หรือการทำแผนแม่บทซึ่ง มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ซึ่งต้องใช้องค์ความรู้จาก สถาบันการศึกษา) 6. เป็นโครงการในลักษณะของกิจกรรมย่อย (ควรมีการบูรณาการภารกิจ หรือกิจกรรมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกันเป็นโครงการ เพื่อให้ เกิดการแก้ไขปัญหาเชิงบูรณาการอย่างมีประสิทธิผล) 7. เป็นโครงการบริการสาธารณะ หรือบริการประชาชนซึ่งเป็นภารกิจประจำของ หน่วยงานราชการต่างๆ หรือ อปท. อยู่แล้ว เว้นแต่เป็นโครงการที่จะทำให้ ประเด็นยุทธศาสตร์บรรลุผลอย่างแท้จริง

More Related