1 / 56

ธีระพล คู่คิด นิติกรชำนาญการ 9 กรกฎาคม 2555

หลักกฎหมายที่ควรรู้เกี่ยวกับ การทำสัญญากู้ยืมเงิน. ธีระพล คู่คิด นิติกรชำนาญการ 9 กรกฎาคม 2555. ขอบเขตการนำเสนอ. ภาษากฎหมายที่เกี่ยวข้อง กลุ่มออมทรัพย์ฯโดยผลของกฎหมาย ลักษณะของสัญญา บ่อเกิดของสัญญา ประเภทของสัญญายืม มารู้จักกับสัญญาค้ำประกัน ข้อควรระวังในการทำสัญญากู้ยืมเงิน

Télécharger la présentation

ธีระพล คู่คิด นิติกรชำนาญการ 9 กรกฎาคม 2555

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. หลักกฎหมายที่ควรรู้เกี่ยวกับหลักกฎหมายที่ควรรู้เกี่ยวกับ การทำสัญญากู้ยืมเงิน ธีระพล คู่คิด นิติกรชำนาญการ9 กรกฎาคม 2555

  2. ขอบเขตการนำเสนอ • ภาษากฎหมายที่เกี่ยวข้อง • กลุ่มออมทรัพย์ฯโดยผลของกฎหมาย • ลักษณะของสัญญา บ่อเกิดของสัญญา • ประเภทของสัญญายืม • มารู้จักกับสัญญาค้ำประกัน • ข้อควรระวังในการทำสัญญากู้ยืมเงิน • วิธีปฏิบัติเมื่อคู่ความผิดสัญญา

  3. ภาษากฎหมายที่เกี่ยวข้องภาษากฎหมายที่เกี่ยวข้อง 1. กรรมสิทธ์ 2. โมฆะกรรม กับ โมฆียะกรรม 3. สัญญาทางแพ่ง 4. สัญญาทางปกครอง 5. หลักกฎหมายปิดปาก

  4. ภาษากฎหมายที่เกี่ยวข้อง (ต่อ) 6. บุคคลธรรมดา กับ นิติบุคคล 7. สัญญาประธาน 8. สัญญาอุปกรณ์ 9. ปัญหาข้อเท็จจริง กับ ปัญหาข้อกฎหมาย

  5. กฎหมายกับงานพัฒนาชุมชนกฎหมายกับงานพัฒนาชุมชน - ไม่มีกฎหมายระดับ พ.ร.บ. หรือ พ.ร.ก. - ข้อดี คือ มีทางเลือกปฏิบัติได้หลายทาง - ข้อเสีย คือ ภารกิจไม่ชัดเจน

  6. รู้จักกลุ่มออมทรัพย์ฯ ในมุมมอง ข้อกฎหมาย และ ลักษณะของคดีความอันเกิดจากกลุ่ม ออมทรัพย์ฯ

  7. ทรัพย์ หมายความว่า วัตถุมีรูปร่าง ป.พ.พ. มาตรา 137 ทรัพย์สิน หมายความรวมทั้งทรัพย์และวัตถุไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคาและถือเอาได้ ป.พ.พ. มาตรา 138

  8. ข้อควรรู้เบื้องต้นในการทำสัญญาข้อควรรู้เบื้องต้นในการทำสัญญา 1. ความสามารถของคู่สัญญา2. ต้องเกิดจากความสมัครใจ3. คู่สัญญาต้องมีเจตนาให้ใช้บังคับได้ตามกฎหมาย4. กรณีคู่สัญญาเป็นนิติบุคคล ให้ดูวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งด้วย5. วัตถุประสงค์ของสัญญาต้อง 5.1 ไม่ต้องห้ามโดยชัดแจ้งของกฎหมาย 5.2 ไม่เป็นการพ้นวิสัย 5.2 ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน

  9. ตัวอย่างสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อย และศีลธรรมอันดีของประชาชน ฎ.921/2542 มีข้อตกลงว่าถ้าจำเลยชนะคดี จำเลยจะต้องโอนที่ดินที่ได้จากการชนะคดีนั้นให้นายจ้าง เป็นการแสวงหาประโยชน์จากการที่ผู้อื่นเป็นความกัน ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน เป็นโมฆะ

  10. ตัวอย่างสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อย และศีลธรรมอันดีของประชาชน ฎ.6919/2544 การที่ ก,ข,ค และ ง ตกลงให้เงินรายละ 400,000 บาท แก่นายสมชายเป็นค่าทนายความนั้นเป็นบันทึกข้อตกลง จึงถือได้ว่าเป็นสัญญารับจ้างว่าความโดยวิธีแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ลูกความเมื่อ ก ข ค และ ง ซึ่งเป็นลูกความชนะคดีเท่านั้น หากทั้งสี่ตกเป็นฝ่ายแพ้คดี นายสมชายย่อมไม่ได้รับส่วนแบ่งตามข้อตกลง อันมีลักษณะเข้าทำนองซื้อขายความกันวิชาชีพทนายความเป็นวิชาชีพที่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายหลายประการ ผู้ที่ได้จดทะเบียนและได้รับใบอนุญาตให้เป็นทนายความจึงมีพันธกรณีต่อสังคมที่จะต้องปฏิบัติและดำรงตนให้ต้องด้วยหลักจริยธรรมทางวิชาชีพ ทนายความมีส่วนสำคัญในการจรรโลงความยุติธรรมในสังคม จึงไม่พึงทำสัญญากับลูกความของตนในลักษณะที่ตนเองเข้าไปมีส่วนได้เสียโดยตรงในคดีจนกระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ข้อสัญญาที่ให้ทนายความเข้าไปมีส่วนได้เสียในผลคดีโดยตรงในทำนองซื้อขายความกันย่อมไม่ต้องด้วยหลักจริยธรรมทางวิชาชีพทนายความ ถือว่าเป็นข้อสัญญาที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนเป็นโมฆะ

  11. ตัวอย่างสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อย และศีลธรรมอันดีของประชาชน ฎ.4016/2548 สัญญาที่โจทก์ในฐานะทนายความเรียกร้องค่าจ้าง เป็นส่วนแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่ดินที่เป็นมูลพิพาทที่ นาย ก. แบ่งที่ดินอันจะพึงได้รับเป็นที่ดิน 40 เปอร์เซ็นต์ ถ้าเป็นเงินจากการขายที่ดินพิพาทที่ได้มาทั้งหมดขอแบ่ง 40 เปอร์เซ็นต์ เมื่อจำเลยชนะคดี อันมีลักษณะเป็นการหาประโยชน์จากการที่ผู้อื่นเป็นความกันซึ่งเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนจึงเป็นโมฆะ

  12. ตัวอย่างสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อย และศีลธรรมอันดีของประชาชน ฎ. 5690/2552 การที่โจทก์จำเลยจดทะเบียนหย่ากัน เพื่อประโยชน์ในการ เสียภาษี แต่ยังคงอยู่กินและอุปการะเลี้ยงดูกัน เสมือนมิได้หย่ากันเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้ระหว่างกัน การหย่าดังกล่าวเป็นโมฆะ

  13. ประเภทของสัญญายืม และ ลักษณะของทรัพย์ที่ยืมแต่ละประเภท

  14. มารู้จักกับ “สัญญา” กันก่อน - ลักษณะของสัญญา(สัญญา/เอกเทศสัญญา)- สัญญาเกิดขึ้นได้อย่างไร- หลักการบังคับตามสัญญา (Pacta Sunt Servanda) สัญญากู้ยืมเงิน หมายถึง สัญญาซึ่งเกิดจากบุคคลใดบุคคลหนึ่งซึ่งเรียกว่า "ผู้กู้" มีความต้องการจะใช้เงิน ไปขอกู้ยืมจากบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า "ผู้ให้กู้" และผู้กู้ตกลงจะใช้คืน ภายในกำหนดเวลาใดเวลาหนึ่ง

  15. มารู้จักกับสัญญากู้ยืมเงินมารู้จักกับสัญญากู้ยืมเงิน • ลักษณะของสัญญากู้ยืมเงิน • ถือเป็นการยืมใช้สิ้นเปลืองตาม ป.พ.พ. มาตรา 650 • กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของผู้ให้ยืมโอนไปแก่ผู้ยืม • ผู้ยืมมีหน้าที่เพียงคืนทรัพย์สินเป็นประเภท ชนิด และปริมาณเช่นเดียวกันให้แทนทรัพย์สินซึ่งให้ยืมนั้น • สัญญายืมจะบริบูรณ์ก็ต่อเมื่อมีการส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ยืม

  16. สัญญากู้ยืมเงินต้องทำอย่างไรสัญญากู้ยืมเงินต้องทำอย่างไร • เมื่อกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไป ป.พ.พ. มาตรา 653 • มีหลักฐานเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ • ลายมือชื่อผู้ให้ยืม พยาน • อัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละสิบห้าต่อปี (1.25/เดือน) ป.พ.พ. มาตรา 654 • ห้ามคิดดอกเบี้ยในดอกเบี้ยที่ค้างชำระ แต่ถ้าค้างชำระดอกเบี้ยเกินหนึ่งปี คู่สัญญาจะตกลงกันให้เอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระนั้นทบเข้ากับเงินต้นก่อน แล้วจึงคิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ถูกทบเข้ากันนั้น ก็ได้ แต่ข้อตกลงนี้ต้องทำเป็นหนังสือ มาตรา 655

  17. สัญญากู้ยืมเงินต้องทำอย่างไร(ต่อ)สัญญากู้ยืมเงินต้องทำอย่างไร(ต่อ) • กรณีทำสัญญากู้ยืมเงินแต่ยินยอมรับทรัพย์สินอื่น แทนเงิน

  18. ผลทางกฎหมายของสัญญากู้ยืมเงิน แต่ละส่วน • ชื่อสัญญา • สถานที่ทำสัญญา • วันที่ทำสัญญา • วิธีส่งมอบเงิน • อัตราดอกเบี้ย • ระยะเวลาใช้คืนเงินกู้ยืม

  19. ผลทางกฎหมายของสัญญากู้ยืมเงิน แต่ละส่วน(ต่อ) • มาตรการบังคับเมื่อผู้กู้ผิดสัญญา • ใช้วิธีทางอนุญาโตตุลาการ หรือ ตกลงกันให้มีคนกลางชี้ขาด • คำว่า “สัญญานี้ทำขึ้นสองฉบับ มีข้อความถูกต้องตรงกัน...” • การลงชื่อ ผู้กู้ ผู้ให้กู้ และพยาน • การติดอากรแสตมป์

  20. กรณีมีการแก้ไขจำนวนเงินในสัญญากู้ยืมกรณีมีการแก้ไขจำนวนเงินในสัญญากู้ยืม • 1. แก้ไขในขณะเขียนสัญญากู้ • 2. ยืมครั้งใหม่โดยใช้วิธีแก้ตัวเลขในสัญญาเดิม • 3. แก้ไขจำนวนเงินให้สูงขึ้นโดยผู้กู้ไม่ทราบ หรือไม่ยินยอม • 4. สัญญากู้ไม่ได้กรอกจำนวนเงินไว้ • 4.1 มากรอกจำนวนเงินภายหลังซึ่งสูงกว่าที่กู้จริง • 4.2 มากรอกจำนวนเงินภายหลังตามที่กู้จริง • 5. กู้ยืมกันเพียงครั้งเดียว แต่ผู้กู้ลงชื่อไว้ในสัญญา 2 ฉบับ

  21. สัญญาค้ำประกันประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 • หมายถึง สัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ค้ำ • ประกัน ยินยอมผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่งเพื่อ • ชำระหนี้ ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น

  22. สัญญาค้ำประกัน • เป็นสัญญาอุปกรณ์ • เป็นสัญญาแยกต่างหากจากสัญญากู้ยืมเงินอีกฉบับหนึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 680 • มีบุคคลผู้เกี่ยวข้อง 3 ฝ่าย ได้แก่ เจ้าหนี้ ลูกหนี้ และผู้ค้ำประกัน • กฎหมายบังคับให้ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญ

  23. สัญญาค้ำประกัน (ต่อ) • สัญญากู้ยืมเงินต้องสมบูรณ์ก่อน สัญญาประกันจึงจะมีผลสมบูรณ์ มาตรา 681 • จะทำสัญญาค้ำประกันสำหรับหนี้ที่มีอยู่แล้ว หรือหนี้ในอนาคตก็ได้ • ผู้ค้ำประกันหลายคนจะช่วยค้ำประกันให้ลูกหนี้คนเดียวก็ได้ แต่ผู้ค้ำประกันทุกคนจะต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม

  24. สัญญาค้ำประกัน (ต่อ) • จะค้ำประกันแบบจำกัดวงเงินก็ได้ หรือจะค้ำประกันเฉพาะเงินต้นก็ได้ หรือจะค้ำประกันแบบไม่จำกัดก็ได้ • เมื่อลูกหนี้ผิดนัดลงเมื่อใด เจ้าหนี้ชอบที่จะเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้แต่เมื่อนั้น แต่ถ้าผู้ค้ำประกันพิสูจน์ได้ว่าลูกหนี้ยังมีความสามารถที่จะชำระหนี้ได้ และไม่เป็นการยากถ้าจะบังคับอย่างจริงจัง ผู้ค้ำฯจะขอให้เรียกลูกหนี้ชำระหนี้ก่อนก็ได้ เรียกว่า “สิทธิบ่ายเบี่ยงของผู้ค้ำ” มาตรา 686-689

  25. ผลเมื่อผู้ค้ำประกันชำระหนี้ผลเมื่อผู้ค้ำประกันชำระหนี้ • มีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากลูกหนี้ • สามารถยกข้อต่อสู้ของลูกหนี้ มาเป็นข้อต่อสู้ของผู้ค้ำ ได้ด้วย • กรณีที่ผู้ค้ำฯชำระแล้วไม่แจ้งลูกหนี้ ลูกหนี้ไม่ทราบมาชำระหนี้ซ้ำอีก ผู้ค้ำจะฟ้องเรียกเงินคืนฐานลาภมิควรได้เท่านั้น

  26. ข้อควรรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสัญญาค้ำประกันข้อควรรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสัญญาค้ำประกัน ฎ.199/2545 สัญญาค้ำประกันเป็นสัญญาที่ผู้ค้ำประกันมีความรับผิดแต่เพียงอย่างเดียว การตีความจึงต้องเป็นไปโดยเคร่งครัด (ฎ. 4057/2548) ฎ.1373/2513 (ประชุมใหญ่) ค้ำประกันลูกจ้างตำแหน่งหัวหน้าช่างเครื่องไฟฟ้า นายจ้างใช้ให้ขับรถแล้วไปชนผู้อื่น ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิด

  27. ข้อควรรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสัญญาค้ำประกันข้อควรรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสัญญาค้ำประกัน ฎ.1483/2527 ค้ำประกันตำแหน่งพนักงานขับรถ แต่ปลอมใบเบิกค่ารักษาพยาบาล ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิด ฎ.5720/2533 ค้ำประกันตำแหน่ง ร.ป.ภ.ธนาคาร แต่หลอกลวงเงินลูกค้าธนาคารนายจ้าง ผู้ค้ำประกันไม่ต้อง รับผิด

  28. ข้อควรรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสัญญาค้ำประกันข้อควรรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสัญญาค้ำประกัน ฎ.8401/2538 นางสาว เอ ค้ำประกันการเข้าทำงานของนางสาว บี ในตำแหน่งพนักงานธุรการ ตามหนังสือสัญญาจ้างก็ระบุไว้โดยชัดแจ้งว่า นายจ้างตกลงจ้างนางสาว บี เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ของนายจ้างในตำแหน่งพนักงานธุรการ ต่อมานายจ้างมีคำสั่งแต่งตั้งให้นางสาว บี ดำรงตำแหน่งพนักงาน รับ-จ่าย เงิน มีหน้าที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการ รับ-จ่าย เงินค่าขายสินค้าและค่าซื้อสินค้า รวมทั้งค่าใช้จ่ายต่าง ๆ นางสาว เอ ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันนางสาว บี ในตำแหน่งเดิมซึ่งเข้าทำงาน คือ พนักงานธุรการแม้จะไม่จำกัดว่าเป็นการค้ำประกันเฉพาะในตำแหน่งดังกล่าวและไม่มีกำหนดเวลาก็ตาม การที่นายจ้างได้มีคำสั่งให้นางสาว บี ดำรงตำแหน่งพนักงาน รับ-จ่าย เงิน ให้รับผิดชอบในเรื่องการเงิน อันเป็นการเพิ่มความเสี่ยงภัยและความรับผิดให้แก่นางสาว เอผู้ค้ำประกันมากขึ้นนางสาว เอ จึงไม่ต้องรับผิดในหน้าที่การงานตำแหน่งพนักงาน รับ-จ่าย เงินของนางสาว บี แม้จะได้ความว่า นางสาว เอ ได้ทราบและมิได้คัดค้านการที่นายจ้างแต่งตั้งให้นางสาว บี ดำรงตำแหน่งพนักงานรับ-จ่ายเงิน ก็ไม่มีผลทำให้ความรับผิดของนางสาว เอ ตามหนังสือสัญญาค้ำประกันเปลี่ยนแปลงไป

  29. อายุความฟ้องคดีผิดสัญญาอายุความฟ้องคดีผิดสัญญา • 10 ปี นับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัด • อายุความ 5 ปี (มาตรา 193/33) อายุความฟ้องผู้ค้ำประกันและอายุความไล่เบี้ย 10 ปี (ฎ.3944/2525, 4544/2532, 2790/2549)

  30. ข้อควรระวังในการทำสัญญากู้ยืมเงินข้อควรระวังในการทำสัญญากู้ยืมเงิน • ความสามารถ/อำนาจ ของบุคคลในการทำสัญญา • คุณสมบัติของผู้ที่เข้าทำสัญญา • วัตถุประสงค์ของสัญญาขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือไม่ • จำนวนเงินตัวเลขกับตัวหนังสือตรงกันหรือไม่ • อย่าลงชื่อโดยยังไม่ทราบจำนวนเงิน • ความสามารถในการชำระคืนของผู้กู้ และผู้ค้ำฯ

  31. ทำอย่างไรเมื่อต้องฟ้องคดีทำอย่างไรเมื่อต้องฟ้องคดี • การกู้ยืมเงินเป็นเรื่องทางแพ่ง • พิจารณาเรื่อง เขตศาล และ เขตอำนาจศาล • คดีขาดอายุความหรือไม่ • เตรียมพยานหลักฐาน สัญญาต้องติดอากรแสตมป์ • คิดคำนวณความคุ้มค่าในการดำเนินคดี • ติดต่อว่าจ้างทนายความ • เตรียมค่าธรรมเนียมศาล ร้อยละ 2.50 ของทุนทรัพย์ที่พิพาท ไม่เกิน 200,000 บาท

  32. การพิจารณาคดีแพ่ง • ที่นั่งของบุคคลฝ่ายต่างๆ ในห้องพิจารณาคดี • การชี้สองสถาน การไกล่เกลี่ย • การสืบพยาน พยานบุคคล พยานเอกสาร พยานวัตถุ • การบังคับคดีแพ่ง • การยึดทรัพย์ อายัดทรัพย์

  33. ทรัพย์สินที่ไม่อยู่ภายใต้การบังคับคดีทรัพย์สินที่ไม่อยู่ภายใต้การบังคับคดี • เครื่องนุ่งห่มหลับนอน เครื่องใช้ในครัวเรือน หรือเครื่องใช้สอยส่วนตัว ราคาโดยประมาณรวมกันไม่เกินห้าหมื่นบาท (เป็นดุลพินิจของศาล อาจเกินได้ตามฐานานุรูป) • เครื่องมือ เครื่องใช้ที่จำเป็นในการเลี้ยงชีพไม่เกินหนึ่งแสนบาท (เป็นดุลพินิจของศาล อาจเกินได้ตามฐานานุรูป) • วัตถุ เครื่องใช้ อุปกรณ์ ที่จำเป็นต้องใช้ทำหน้าที่แทนอวัยวะ • ทรัพย์สินอันมีลักษณะเป็นของส่วนตัวโดยแท้ • ที่กล่าวมารวมของภรรยาและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะด้วย

  34. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม 1. ตัวร่างสัญญา ควรให้เป็นแนวทางหรือรูปแบบเดียวกัน 2. วางแม่แบบ ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ เพื่อให้กลุ่มได้เลือกนำไปใช้ 3. มีการจัดทำหนังสือระบุผู้รับผลประโยชน์ไว้หรือไม่ 4. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ทั้งที่สำเร็จและล้มเหลวซึ่งกันและกันเมื่อมีโอกาส จะเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันได้ 5. ความไว้ใจเป็นเรื่องดี แต่ก็มีอันตราย

  35. ความรู้เพิ่มเติม ฎ.307/2549 การรับสภาพหนี้มิได้ก่อให้เกิดมูลหนี้ขึ้นใหม่ เพียงแต่เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงเท่านั้น ฎ. 178/2549แม้สัญญากู้ยืมระหว่างโจทก์และจำเลยมีหนี้ส่วนที่เป็นโมฆะรวมอยู่ด้วย เนื่องจากโจทก์คิดดอกเบี้ยเกินอัตรา ที่กฎหมายกำหนด โจทก์ก็ยังมีสิทธิเรียกร้องต้นเงินอันเป็นหนี้ประธานที่สมบูรณ์แยกออกจากส่วนที่เป็นโมฆะได้ มิใช่สัญญากู้ ตกเป็นโมฆะทั้งหมด จำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งตามกฎหมาย

  36. ความรู้เพิ่มเติม ฎ.291/2511, 1346/2517 ค่าใช้จ่ายในการทวงหนี้ไม่ใช่ผลโดยตรงจากการผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ และไม่ใช่ค่าเสียหายพิเศษ ไม่มีกฎหมายบังคับให้ฝ่ายผิดสัญญาต้องรับผิด เมื่อสัญญาไม่ได้ระบุถึงค่าใช้จ่ายเหตุนี้ไว้ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ให้โจทก์ ฎ.3688/2546เจ้าของเดิมอุทิศที่ดินให้แก่วัดเป็นที่ธรณีสงฆ์การโอนกรรมสิทธิ์จะต้องกระทำตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 34 คือ โอนกรรมสิทธิ์โดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา แม้ที่ดินดังกล่าวจะได้มีการทำนิติกรรม และจดทะเบียนโอนต่อกันมาหลายทอดจนถึงจำเลยเมื่อมิได้กระทำตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 34 จึงเป็นการโอนที่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายย่อมเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150  โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินซึ่งจำเลยครอบครองอยู่ได้โดยหาจำต้องฟ้องเจ้าของเดิมและผู้รับโอนคนก่อนจำเลยไม่

  37. ลักษณะของคดีความอันอาจเกิดกับกลุ่มออมทรัพย์ฯลักษณะของคดีความอันอาจเกิดกับกลุ่มออมทรัพย์ฯ 1. ผิดสัญญา (เป็นคดีแพ่ง) 2. ยักยอกทรัพย์ (ป.อ. มาตรา 352) 3. ลักทรัพย์ (ป.อ. มาตรา 334) 4. ฉ้อโกงทรัพย์ (ป.อ. มาตรา 341)

  38. การระงับข้อพิพาท 1. การระงับข้อพิพาทในศาล 2. การระงับข้อพิพาทนอกศาล 2.1 อนุญาโตตุลาการพ.ศ. 2545 2.2 ผู้ไกล่เกลี่ย ตามกฎกระทรวง ว่าด้วยการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาททางแพ่ง พ.ศ. 2553 2.3 นายอำเภอหรือปลัดอำเภอ ตามกฎกระทรวง ว่าด้วยการ ไกล่เกลี่ยความผิดที่มีโทษทางอาญา พ.ศ. 2553

  39. พัฒนาการของกลุ่มออมทรัพย์ฯ โดยข้อกฎหมาย จากอดีต ถึง ปัจจุบัน ธีระพล คู่คิด นิติกร

  40. 1. ธปท. มีหนังสือ ที่ ธปท.ม. 1368/2531 ลงวันที่ 19 กันยายน 2531 แจ้งว่า การดำเนินกิจการของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตส่วนหนึ่งอาจเข้าข่ายต้องห้ามตามกฎหมาย 2 ฉบับ ในขณะนั้น ได้แก่ 1.1 พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 1.2 พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505

  41. 2. กรมการพัฒนาชุมชน มีหนังสือ ที่ มท.2503/7368 ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2531 แจ้งหลักการและแนวทางปฏิบัติของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตซึ่งกรมการพัฒนาชุมชนสนับสนุนและส่งเสริมให้ชาวบ้านดำเนินการตามหมู่บ้านในชนบทให้ ธปท.ทราบ

  42. 3. ธปท. มีหนังสือ ที่ ธปท.ม. 1769/2531 ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2531 เชิญกรมการพัฒนาชุมชนเพื่อหารือร่วมกัน ในวันที่ 19 ธันวาคม 2531

  43. ผู้เข้าร่วมหารือประกอบด้วยผู้เข้าร่วมหารือประกอบด้วย กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย 1. นายยุวัฒน์ วุฒิเมธี รองอธิบดี 2. นายสมมิตร คอวนิช หนฝ.พัฒนาอาชีพ กองปฏิบัติการ 3. นายวีระศักดิ์ อนันตมงคล หน.งานพัฒนาเงินทุน กองปฏิบัติการฝ่ายกฎหมาย ธนาคารแห่งประเทศไทย 1. นายยง ศรีนาม ผู้อำนวยการ 2. นายคำรณ คำแก้ว รองผู้อำนวยการ 3. นายเสริมสิงห์ สิงหเสนี ผู้ช่วยผู้อำนายการ 4. นายชาญชัย บุญฤทธิ์ไชยศรี หัวหน้านิติกร 5.นางจิรารัตน์ ตัณฑ์กุลรัตน์ หัวหน้านิติกร 6. นายวิชัย จิตตปาลกุล นิติกร

  44. สรุปสาระสำคัญจากบันทึกช่วยจำสรุปสาระสำคัญจากบันทึกช่วยจำ ระหว่าง กรมการพัฒนาชุมชน กับธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2531 ณ ห้องประชุม 516 ชั้น 5 ธนาคารแห่งประเทศไทย

  45. ข้อชี้แจงของ กรมการพัฒนาชุมชน 1. หลักการของกลุ่มออมทรัพย์ฯ มุ่งออมเงินตามกำลังความสามารถโดยเน้นเรื่องความสม่ำเสมอ แม้จำนวนเงินที่ออมจะน้อยก็จะได้สิทธิดีกว่าสมาชิกที่มีเงินออมมาก แต่ออมไม่สม่ำเสมอ

  46. ข้อชี้แจงของ กรมการพัฒนาชุมชน 2. สมาชิกจะกู้ได้ไม่เกินจำนวนเงินที่ตนออมไว้ ถ้าสมาชิกคนใดจะกู้เกินนั้นจะต้องมีสมาชิกอื่นมาค้ำประกันและจะกู้ได้อีกไม่เกินที่ผู้ค้ำประกันได้ออมไว้ (มีรายละเอียดเพิ่มเติม)

  47. ข้อชี้แจงของ กรมการพัฒนาชุมชน 3. นอกจากการให้เงินกู้แก่สมาชิกแล้ว ยังดำเนินกิจการยุ้งฉางกิจการธนาคารข้าว และศูนย์สาธิตการตลาด

  48. ข้อชี้แจงของ กรมการพัฒนาชุมชน 4. การจัดทำระบบบัญชี กรมการพัฒนาชุมชนจะอบรมระบบบัญชีที่เหมาะสม เพื่อให้ชาวบ้านเข้าใจง่าย

  49. ข้อชี้แจงของกรมการพัฒนาชุมชนข้อชี้แจงของกรมการพัฒนาชุมชน 5. หลังจากดำเนินการมาประมาณ 10 ปี บางกลุ่มไม่เลือกที่จะนำเงินไปฝากธนาคาร แต่รับฝากเงินที่เรียกว่า เงินสัจจะสะสมพิเศษและปล่อยกู้แก่บุคคลภายนอกที่มิได้เป็นสมาชิกด้วย บางครั้งก็คิดดอกเบี้ยในอัตราสูงกว่ากฎหมายกำหนด เรื่องนี้มิใช่เป็นเรื่องที่กรมการพัฒนาชุมชนให้ความเห็นชอบ แต่เป็นเรื่องที่กลุ่มฯดำเนินการไปเอง หากกรมฯทราบจะชี้แจงก่อน หากยังฝ่าฝืนจะตัดออกจากการสนับสนุนของกรมฯ และจะแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนไว้เป็นหลักฐาน

  50. ข้อชี้แจงของธนาคารแห่งประเทศไทยข้อชี้แจงของธนาคารแห่งประเทศไทย มีกฎหมายที่ธนาคารแห่งประเทศไทยดูแล 2 ฉบับ ที่กรมการพัฒนาชุมชนควรตระหนักเพื่อมิให้การดำเนินงานของกลุ่มออมทรัพย์ฯเข้าข่ายเป็นความผิดต่อกฎหมาย ได้แก่1.1 พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 1.2 พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505

More Related