1 / 57

การตรวจรับพัสดุ การตรวจการจ้าง และผู้ควบคุมงาน

การตรวจรับพัสดุ การตรวจการจ้าง และผู้ควบคุมงาน. การตรวจรับพัสดุ. ระเบียบฯ พัสดุ ข้อ 71 : หน้าที่ของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ. สถานที่ตรวจรับ :- ตรวจรับพัสดุ ณ. ที่ทำการของผู้ใช้พัสดุ. 1. สถานที่ซึ่งกำหนดไว้ในสัญญาหรือข้อตกลง. 2. สถานที่อื่น ในกรณีที่ไม่มีสัญญา หรือข้อตกลง

vic
Télécharger la présentation

การตรวจรับพัสดุ การตรวจการจ้าง และผู้ควบคุมงาน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การตรวจรับพัสดุ การตรวจการจ้าง และผู้ควบคุมงาน

  2. การตรวจรับพัสดุ ระเบียบฯ พัสดุ ข้อ 71 : หน้าที่ของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ สถานที่ตรวจรับ :- ตรวจรับพัสดุ ณ ที่ทำการของผู้ใช้พัสดุ 1 สถานที่ซึ่งกำหนดไว้ในสัญญาหรือข้อตกลง 2 • สถานที่อื่น ในกรณีที่ไม่มีสัญญาหรือข้อตกลง • * ต้องได้รับอนุมัติจาก หัวหน้าส่วนราชการก่อน 3

  3. หน้าที่ของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ (ต่อ) หลักเกณฑ์การตรวจรับ :- 3 1 2 ตรวจให้ถูกต้องครบถ้วน ตามหลักฐาน ที่ตกลงกันไว้ กรณี ที่มีการทดลองหรือตรวจสอบในทางเทคนิคหรือทางวิทยาศาสตร์ จะเชิญผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒิมาให้คำปรึกษา หรือส่งพัสดุนั้นไปทดลองหรือตรวจสอบ ณ สถานที่ ของผู้ชำนาญการ หรือผู้ทรงคุณวุฒิก็ได้ กรณีจำเป็นที่ไม่สามารถตรวจนับเป็นจำนวนหน่วยทั้งหมดได้ให้ตรวจรับตามหลักวิชาการสถิติ ตรวจให้ถูกต้องครบถ้วน ตามหลักฐานที่ตกลงกันไว้

  4. หน้าที่ของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ (ต่อ) ระยะเวลาตรวจรับ กรณีตรวจรับถูกต้องครบถ้วน โดยปกติ ให้ตรวจรับพัสดุในวันที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างนำพัสดุมาส่ง และให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นไปโดยเร็วที่สุด รับพัสดุไว้ และถือว่าผู้ขายหรือผู้รับจ้าง ได้ส่งมอบถูกต้องครบถ้วนตั้งแต่วันที่นำพัสดุนั้นมาส่ง แล้วมอบแก่ เจ้าหน้าที่พัสดุ ทำใบตรวจรับอย่างน้อย 2 ฉบับ โดยลงชื่อไว้เป็นหลักฐาน (มอบแก่ผู้ขาย 1 เจ้าหน้าที่พัสดุ 1 เพื่อประกอบการเบิกจ่ายเงิน ) รายงานผลให้ หัวหน้าส่วนราชการทราบ

  5. หน้าที่ของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ (ต่อ) กรณีถูกต้องแต่ไม่ครบจำนวน/ หรือครบแต่ไม่ถูกต้องทั้งหมด กรณีตรวจรับไม่ถูกต้อง ให้รับเฉพาะที่ถูกต้อง ไม่ถูกต้องในรายละเอียด ให้รายงานหัวหน้าส่วนราชการเพื่อสั่งการทันที มอบของให้เจ้าหน้าที่พัสดุ ทำใบตรวจรับ 2 ฉบับ ส่งผู้ขาย & จนท.พัสดุ • รีบรายงาน หน.ส่วนราชการ เพื่อแจ้งผู้ขาย/ ผู้รับจ้าง • ทราบภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันตรวจพบ

  6. หน้าที่ของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ (ต่อ) กรณีพัสดุเป็นชุด / หน่วย ให้ดูว่า ถ้าขาดส่วนประกอบอย่างใดอย่างหนึ่ง จะใช้การไม่ได้อย่างสมบูรณ์ ถือว่ายังไม่ได้ส่งมอบ รีบรายงาน หัวหน้าส่วนราชการทราบภายใน 3 วันทำการ นับแต่ตรวจพบ

  7. หน้าที่ของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ (ต่อ) กรรมการตรวจรับบางคนไม่ยอมรับพัสดุ ให้ทำความเห็นแย้งไว้ ถ้าหัวหน้าส่วนราชการ สั่งการให้รับพัสดุไว้ * ให้ดำเนินการออกใบตรวจรับให้ผู้ขาย/ ผู้รับจ้างและ จนท.พัสดุ

  8. ประธาน + กรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง และประธานจะต้องอยู่ด้วยทุกครั้ง องค์ประชุม • ถือเสียงข้างมาก • ถ้าเสียงเท่ากัน ให้ประธานออกเสียงเพิ่มอีก 1 เสียง มติกรรมการ • คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ • คณะกรรมการตรวจการจ้าง • ต้องใช้มติเอกฉันท์ ยกเว้น!! การประชุมของคณะกรรมการ

  9. การตรวจการจ้างและการควบคุมงานก่อสร้างการตรวจการจ้างและการควบคุมงานก่อสร้าง ระเบียบฯ พัสดุ ข้อ ๗๒ :หน้าที่ของคณะกรรมการตรวจการจ้าง ดูการปฏิบัติงานของผู้รับจ้าง 1 ตรวจรายงานของผู้ควบคุมงาน ตรวจตามแบบรูป รายการละเอียดตามที่ ระบุในสัญญาทุกสัปดาห์ 2 • รับทราบการสั่งการของผู้ควบคุมงาน กรณีสั่งผู้ รับจ้างหยุด/ พักงาน 3 แต่ต้องรายงาน หัวหน้าส่วนราชการสั่งการ 4

  10. หน้าที่ของคณะกรรมการตรวจการจ้าง (ต่อ) • ให้ออกตรวจสถานที่ที่จ้าง • ให้มีอำนาจ • - สั่งเปลี่ยนแปลง แก้ไข เพิ่มเติม ตัดทอนงานจ้างได้ เพื่อให้เป็นไปตามรูปแบบ /รายการ / ข้อตกลง • ตรวจผลงานที่ส่งมอบ • - ภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันประธานกรรรมการ • รับทราบการส่งมอบงาน • - ตรวจให้เสร็จโดยเร็วที่สุด • (มติคณะรัฐมนตรี ๓ วัน, ๕ วัน) กรณีมีข้อสงสัย เห็นว่าไม่น่าจะเป็นตามหลักวิชาการ

  11. หน้าที่ของคณะกรรมการตรวจการจ้าง (ต่อ) กรณีตรวจพบว่าไม่ถูกต้อง กรณีตรวจถูกต้อง ทั้งหมด / เฉพาะงวดใด ทำใบรับรองผลการปฏิบัติงานมอบให้ผู้รับจ้าง , จนท.พัสดุ ให้รายงานหัวหน้าส่วนราชการทราบ ผ่านจนท.พัสดุเพื่อสั่งการ ถ้าหัวหน้าส่วนราชการสั่งให้รับไว้ ให้ทำใบรับรองผลการปฏิบัติงานได้ รายงาน หส.ราชการ ผู้ว่าจ้าง ทราบ หากมติกรรมการตรวจการจ้างบางคนไม่ยอมรับงาน ให้ทำ ความเห็นแย้งไว้แล้วรายงานหัวหน้าส่วนราชการเพื่อสั่งการ

  12. ผู้ควบคุมงาน ระเบียบฯ ข้อ ๓๗ ในการจ้างก่อสร้างแต่ละครั้ง ให้หัวหน้า ส่วนราชการแต่งตั้งผู้ควบคุมงานที่มีความรู้ ความชำนาญทางด้านช่างตามลักษณะของ งานก่อสร้างจากข้าราชการหรือลูกจ้างประจำในสังกัด หรือข้าราชการหรือลูกจ้างประจำในสังกัดอื่นตามที่ได้รับความยินยอมจากหัวหน้าส่วนราชการของผู้นั้นแล้ว

  13. ผู้ควบคุมงาน (ต่อ) ในกรณีที่ลักษณะของงานก่อสร้างมีความจำเป็นต้องใช้ความรู้ความชำนาญหลายด้าน จะแต่งตั้งผู้ควบคุมเฉพาะด้านหรือเป็นกลุ่มบุคคลก็ได้คุณวุฒิของผู้ควบคุมงานตามที่ผู้ออกแบบเสนอแนะโดยปกติ คุณวุฒิไม่ต่ำกว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพในกรณีจำเป็นจะต้องจ้างที่ปรึกษาเป็นผู้ควบคุมงานแทนข้าราชการหรือลูกจ้างประจำ ให้ถือปฏิบัติตามหมวด 2 ส่วนที่ 3 หรือส่วนที่ ๔ แล้วแต่กรณี

  14. มติคณะรัฐมนตรี ข้อ 2.5 กรณีที่มีค่าควบคุมงานและหรือค่าจ้างที่ปรึกษา ให้ผู้รับจ้างเป็นผู้รับภาระค่าควบคุมงานและหรือค่าจ้างที่ปรึกษาสำหรับระยะเวลาที่ได้ขยายออกไป หมายความถึง ค่าจ้างควบคุมงานซึ่งส่วนราชการได้ทำสัญญาจ้างบุคคลภายนอกให้เป็นผู้ควบคุมงานหรือเป็นที่ปรึกษาควบคุมงานไม่รวมถึงในกรณีที่ส่วนราชการผู้ว่าจ้างแต่งตั้งผู้ควบคุมงานจากข้าราชการหรือลูกจ้างประจำในสังกัด หรือข้าราชการหรือลูกจ้างประจำในสังกัดอื่นตามที่ได้รับความยินยอมจากหัวหน้าส่วนราชการของผู้นั้น ตามระเบียบฯ ข้อ ๓๗ ดังนั้น ผู้รับจ้างย่อมไม่ต้องรับภาระค่าควบคุมงานในลักษณะดังกล่าวแต่ประการใด

  15. หน้าที่ของผู้ควบคุมงานจ้างหน้าที่ของผู้ควบคุมงานจ้าง • ตรวจตามรูปแบบ รายการละเอียด ข้อตกลงในสัญญาทุกวัน • ให้มีอำนาจ - สั่งเปลี่ยนแปลง แก้ไขเพิ่มเติม ตัดทอน เฉพาะกรณี เพื่อให้เป็นไปตามสัญญาและหลักวิชาการช่าง • ถ้าผู้รับจ้างขัดขืนไม่ทำตาม - ให้สั่งหยุดงานเฉพาะส่วน /ทั้งหมดไว้ก่อนจนกว่า จะยอมปฏิบัติตาม - รีบรายงานคณะกรรมการตรวจงานจ้างทันที ระเบียบฯพัสดุข้อ ๗๓

  16. หน้าที่ของผู้ควบคุมงานจ้าง (ต่อ) รูปแบบ รายการละเอียด ข้อกำหนดสัญญา ขัดกัน กรณีเห็นว่า • คาดหมายว่าแม้เป็นไปตามรูปแบบฯ ก็จะไม่มั่นคง แข็งแรง ไม่ปลอดภัย ไม่เป็นไปตามหลักวิชาช่าง - สั่งพักงานไว้ก่อน - รายงาน คกก. ตรวจงานจ้างโดยเร็ว

  17. หน้าที่ของผู้ควบคุมงานจ้าง (ต่อ) จดบันทึกเป็นรายวัน ดังนี้ • - สภาพการปฏิบัติงาน / เหตุการณ์แวดล้อม/ • - ผลการปฏิบัติงาน /การหยุดงาน/ สาเหตุหยุดงาน / • - วัสดุที่ผู้รับจ้างใช้ - รายงาน คกก. ตรวจงานจ้างทุกสัปดาห์ - เก็บรายงานไว้ เพื่อมอบให้ จนท.พัสดุ เมื่อเสร็จงาน แต่ละงวด - ถือเป็นเอกสารสำคัญ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ

  18. หน้าที่ของผู้ควบคุมงานจ้าง (ต่อ) จดบันทึกเป็นรายวัน ดังนี้ • เมื่อถึงวันกำหนดลงมือทำงานของผู้รับจ้าง หรือวันกำหนดส่งมอบงานแต่ละงวด - ให้รายงานผลการทำงานของผู้รับจ้าง ว่าเป็นไปตามสัญญา หรือไม่ (ภายใน 3 วันทำการนับแต่วันถึงกำหนดนั้น ๆ)

  19. หนังสือเวียน ที่เกี่ยวข้อง

  20. หนังสือสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ นร ๑๓๐๕/ว ๕๘๕๕ ลงวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๔๔ เรื่อง ระยะเวลาในการตรวจการจ้างงานก่อสร้างและการตรวจรับพัสดุ

  21. กำหนดระยะเวลาในการตรวจรับ/ตรวจการจ้างกำหนดระยะเวลาในการตรวจรับ/ตรวจการจ้าง งานจ้างก่อสร้างแบบราคาเหมารวม (Lump Sum) วันทำการ ราคาค่างาน ผู้ควบคุมงาน คณะกรรมการตรวจการจ้าง งวดงาน งวดสุดท้าย งวดงาน งวดสุดท้าย ทุกราคาค่างาน 3 วัน 3 วัน 3 วัน 5 วัน งานจ้างก่อสร้างแบบราคาต่อหน่วย (Unit Cost) วันทำการ คณะกรรมการตรวจการจ้าง ราคาค่างาน ผู้ควบคุมงาน รายงวด ครั้งสุดท้าย รายงวด ครั้งสุดท้าย ไม่เกิน 30 ล้านบาท ไม่เกิน 60 ล้านบาท ไม่เกิน 100 ล้านบาท เกิน 100 ล้านบาทขึ้นไป 4 วัน 8 วัน 12 วัน 16 วัน 8 วัน 12 วัน 16 วัน 20 วัน 3 วัน 3 วัน 3 วัน 3 วัน 5 วัน 5 วัน 5 วัน 5 วัน ** ทำไม่เสร็จภายในกำหนด ให้รายงาน หน.ส่วนราชการ + สำเนาแจ้งคู่สัญญาทราบ **

  22. หลักเกณฑ์การตรวจการจ้างก่อสร้างหลักเกณฑ์การตรวจการจ้างก่อสร้าง ว.5855 ผู้ควบคุมงานและคณะกรรมการตรวจการจ้างจะต้องเร่งรัดตรวจการจ้างให้แล้วเสร็จไปโดยเร็วที่สุด และต้องไม่เกินระยะเวลาตรวจการจ้างก่อสร้างตามตารางดังกล่าวข้างต้น 1 ผู้รับจ้างต้องมีหนังสือแจ้งส่งมอบให้แก่ส่วนราชการ (ส่งงานสารบรรณ/เจ้าหน้าที่พัสดุ/ผู้ควบคุมงาน) 2 ผู้รับหนังสือส่งมอบงานต้องนำหนังสือไปให้งานสารบรรณลงรับในวันนั้นทันที (ไม่ทัน/วันทำการถัดไป) แล้วส่งมอบให้ผู้ควบคุมงานต่อไป- 3

  23. 2. ระยะเวลาในการตรวจการจ้าง ว.5855 การนับวันดำเนินการของผู้ควบคุมงาน จะเริ่มนับจากวันถัดจากวันที่ผู้ควบคุมงานได้รับมอบหนังสือส่งงานแล้ว 4 ในกรณีที่ผู้ควบคุมงานไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลา ให้รายงานประธานกรรมการตรวจการจ้างพร้อมด้วยเหตุผลความจำเป็น 5 6 การนับวันดำเนินการของคณะกรรมการตรวจการจ้าง จะเริ่มนับถัดจากวันที่ผู้ควบคุมงานได้ดำเนินการเสร็จและรายงานให้ประธานกรรมการตรวจการจ้างทราบ ในกรณีที่คณะกรรมการตรวจการจ้างไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลา ให้รายงานหัวหน้าส่วนราชการ+เหตุผล+สำเนาแจ้งผู้รับจ้างทราบ 7

  24. ว.5855 หลักเกณฑ์การตรวจรับพัสดุ - ตรวจรับในวันที่คู่สัญญานำพัสดุมาส่ง ให้เสร็จสิ้นโดยเร็วที่สุด แต่อย่างช้าไม่เกิน ๕ วันทำการ นับแต่วันที่คู่สัญญานำพัสดุมาส่ง ไม่รวมระยะเวลาตรวจทดลอง หรือตรวจสอบในทางเทคนิค - กรณีที่ไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลา ให้รายงานหัวหน้าส่วนราชการ+เหตุผล+สำเนาแจ้งให้คู่สัญญาทราบ

  25. ระยะเวลาการตรวจรับ กรณีผู้รับจ้างส่งงานหลายๆ งวดพร้อมกันรวมงวดสุดท้าย (ราชภัฎบุรีรัมย์หารือ อกพ.12/2551) ผู้รับจ้างส่งมอบงานหลายงวดในคราวเดียวกัน คณะกรรมการตรวจการจ้างต้องดำเนินการตรวจการจ้างงานก่อสร้างทุกงวดพร้อมกันในคราวเดียว และต้องแล้วเสร็จภายในระยะเวลา ๕ วันทำการ ไม่ใช่รวมจำนวนระยะเวลาตรวจการจ้างตามจำนวนงวดที่ส่งมอบ

  26. หนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค ๐๔๐๖.๔/ว ๑๘ ลงวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ เรื่อง หลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่าตอบแทนคณะกรรมการตรวจการจ้างและผู้ควบคุมงานก่อสร้าง

  27. ค่าตอบแทน หมายความว่า เงินที่ทางราชการจ่ายเพื่อตอบแทนการปฏิบัติงานให้กับบุคคลภายนอกและข้าราชการที่ได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นคณะกรรมการตรวจการจ้างและหรือผู้ควบคุมงานก่อสร้าง

  28. ค่าตอบแทนคณะกรรมการตรวจการจ้างและผู้ควบคุมงานก่อสร้างค่าตอบแทนคณะกรรมการตรวจการจ้างและผู้ควบคุมงานก่อสร้าง หลักเกณฑ์ • กรณีมาตรฐานกำหนดตำแหน่งกำหนดไว้โดยชัดแจ้ง ให้มีหน้าที่ตรวจการจ้าง และหรือควบคุมงานก่อสร้าง 1 • กรณีมาตรฐานกำหนดตำแหน่งมิได้กำหนดไว้ชัดแจ้ง แต่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประจำในการตรวจการจ้างและหรือควบคุมงานก่อสร้าง จึงถือเป็นงานปกติประจำที่อยู่ในความรับผิดชอบโดยตรง 2 ทั้งสองกรณี ไม่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทน

  29. ค่าตอบแทนคณะกรรมการตรวจการจ้างและผู้ควบคุมงานก่อสร้างค่าตอบแทนคณะกรรมการตรวจการจ้างและผู้ควบคุมงานก่อสร้าง หลักเกณฑ์ • กรณีมาตรฐานกำหนดตำแหน่งมิได้กำหนดไว้ชัดแจ้งให้มีหน้าที่ตรวจการจ้าง และหรือควบคุมงานก่อสร้าง และมิได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ตรวจการจ้างและหรือควบคุมงานก่อสร้างเป็นปกติประจำ 3 หากได้รับแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการตรวจการจ้างและหรือผู้ควบคุมงานก่อสร้าง มีสิทธิได้รับค่าตอบแทน

  30. ค่าตอบแทนคณะกรรมการตรวจการจ้างและผู้ควบคุมงานก่อสร้างค่าตอบแทนคณะกรรมการตรวจการจ้างและผู้ควบคุมงานก่อสร้าง 4. เกณฑ์การจ่าย 4.1 • จ่ายเฉพาะวันที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ ไม่เกินกำหนดระยะเวลาของสัญญา 4.2 • แต่งตั้งมากกว่า ๑ โครงการ หากปฏิบัติหน้าที่ในวันเดียวกัน /เบิกจ่ายได้ในอัตราที่สูงกว่าเพียงอัตราเดียว • งดเบิกจ่ายค่าตอบแทนอื่น เช่นค่าล่วงเวลา 4.3 4.4 • มีการหยุดงานก่อสร้างในวันใด หากคณะกรรมการตรวจการจ้างหรือผู้ควบคุมงาน เดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ และไม่ทราบล่วงหน้าว่ามีการหยุดงานหรือทราบล่วงหน้าว่ามีการหยุดงานแต่ต้องเข้าไปปฏิบัติหน้าที่เพื่อติดตามและแก้ไขปัญหาอุปสรรค ถือว่าได้ปฏิบัติหน้าที่แล้ว ให้มีสิทธิได้รับค่าตอบแทน

  31. อัตราค่าตอบแทนคณะกรรมการตรวจการจ้างอัตราค่าตอบแทนคณะกรรมการตรวจการจ้าง 1 เดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ ณ สถานที่ที่กำหนดในสัญญาเบิกได้ไม่เกิน 350 บาท ต่อคนต่อวัน ปฏิบัติหน้าที่ในลักษณะการประชุมคณะกรรมการตรวจการจ้าง ให้ได้รับเบี้ยประชุมกรรมการตามนัยหลักเกณฑ์และอัตราแห่งพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. ๒๕๔๗ 2

  32. อัตราค่าตอบแทนผู้ควบคุมงานก่อสร้างอัตราค่าตอบแทนผู้ควบคุมงานก่อสร้าง 300 บาท ต่อวันต่องาน ผู้ควบคุมงาน หัวหน้าผู้ควบคุมงาน 350 บาท ต่อวันต่องาน

  33. กรณีแต่งตั้งบุคคลภายนอก ซึ่งมิใช่บุคลากรของรัฐ ให้ได้รับค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเท่า ของอัตราที่กำหนด

  34. ข้อหารือเกี่ยวกับปัญหาการตรวจรับพัสดุข้อหารือเกี่ยวกับปัญหาการตรวจรับพัสดุ 34

  35. ข้อเท็จจริง จังหวัดระยอง ได้มอบหมายให้สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดระยองจัดซื้อจัดจ้างพัสดุของโครงการตลาดกลางยางพาราภาคตะวันออก มีการก่อสร้างอาคารของโครงการ การส่งมอบพัสดุจึงจำเป็นต้องเก็บรักษาไว้ก่อนเพื่อรอการก่อสร้างให้แล้วเสร็จ โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ทำหนังสือฝากไว้กับผู้จำหน่าย โดยมีเงื่อนไขว่า เมื่อมีการส่งคืนพัสดุที่ฝากไว้ คณะกรรมการจะดำเนินการตรวจรับอีกครั้ง คณะกรรมการตรวจรับชุดเดิม ๒ ใน ๓ ได้ย้ายไปปฏิบัติงานที่จังหวัดอื่น จังหวัดระยองจึงได้มีหนังสือแจ้งให้คณะกรรมการตรวจรับชุดเดิมมาดำเนินการตรวจตามเงื่อนไขในการฝาก โดยไม่ได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับขึ้นใหม่ แต่คณะกรรมการตรวจรับชุดเดิมอ้างว่าตนเองได้ย้ายออกจากพื้นที่จังหวัดระยองแล้ว จึงไม่มีหน้าที่ในการตรวจรับอีกต่อไป ข้อหารือเกี่ยวกับหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ

  36. โดยหลักการ เมื่อส่วนราชการได้รับพัสดุไว้แล้ว ไม่ว่าจะได้มาด้วยประการใด และเจ้าหน้าที่พัสดุได้รับมอบแล้ว เจ้าหน้าที่พัสดุมีหน้าที่ต้องลงบัญชีหรือทะเบียนเพื่อควบคุมพัสดุ แล้วแต่กรณี แยกเป็นชนิด และแสดงรายการตามตัวอย่างที่ กวพ. กำหนด โดยให้มีหลักฐานการรับเข้าบัญชีหรือทะเบียนไว้ประกอบรายการด้วย และเก็บรักษาพัสดุให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ปลอดภัย และให้ครบถ้วนถูกต้องตรงตามบัญชีหรือทะเบียน • หากจังหวัดระยองไม่มีสถานที่เพียงพอสำหรับเก็บพัสดุ ก็ชอบที่จะเช่าสถานที่เพื่อเก็บรักษาพัสดุได้ตามระเบียบฯ ข้อ ๑๒๙ การที่จังหวัดระยองได้ฝากพัสดุของทางราชการไว้กับผู้ขาย อันอาจทำให้ส่วนราชการไม่สามารถทำการควบคุมและตรวจสอบพัสดุได้ตามระเบียบฯ เป็นเหตุให้พัสดุของทางราชการเกิดการสูญหายหรือได้รับคืนไม่ถูกต้องครบถ้วนตามหลักฐานการฝาก จึงเป็นการดำเนินการที่ไม่เป็นไปตามระเบียบฯ ทั้งนี้ การกระทำดังกล่าวอาจเข้าข่ายเป็นความผิดตามระเบียบฯ ข้อ ๑๐ ด้วย แนวทางพิจารณาของ อกพ. (ต่อ)

  37. ตามนัยหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร ๐๒๐๔/ว ๑๗๐ ลงวันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๔๔ เรื่อง การพ้นจากการเป็นกรรมการที่แต่งตั้งโดยระบุชื่อบุคคลและตำแหน่งหรือส่วนราชการ • การแต่งตั้งกรรมการแบ่งออกเป็น ๓ ประเภท ได้แก่ • การแต่งตั้งกรรมการโดยระบุชื่อตำแหน่ง • การแต่งตั้งกรรมการโดยระบุชื่อตัวบุคคล • การแต่งตั้งกรรมการโดยระบุชื่อตัวบุคคลและระบุตำแหน่ง แนวทางพิจารณาของ อกพ. (ต่อ)

  38. เป็นการแต่งตั้งกรรมการที่ต้องการความรับผิดชอบตามตำแหน่งที่ระบุไว้ ให้แต่งตั้งโดยระบุเพียงชื่อตำแหน่ง ไม่ต้องระบุชื่อตัวบุคคล ซึ่งตำแหน่งดังกล่าวต้องมีเพียงตำแหน่งเดียว เช่น ตำแหน่งผู้อำนวยการกอง ในกรณีนี้ผู้ดำรงตำแหน่งนั้นๆ อาจมอบหมายให้ผู้อื่นมาทำหน้าที่แทนได้ภายใต้บทบัญญัติว่าด้วยการมอบอำนาจให้รักษาราชการแทน หรือปฏิบัติราชการแทนตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการแผ่นดิน ในกรณีที่บุคคลนั้นพ้นจากตำแหน่งดังกล่าว บุคคลนั้นย่อมสิ้นสภาพการเป็นกรรมการไปด้วย และบุคคลที่เข้ามาดำรงตำแหน่งดังกล่าวก็จะเป็นกรรมการโดยอัตโนมัติ กรรมการโดยระบุชื่อตำแหน่ง 38

  39. เป็นการแต่งตั้งกรรมการที่ต้องการความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ หรือความเหมาะสม อันเป็นคุณสมบัติเฉพาะของบุคคล ให้แต่งตั้งโดยระบุชื่อตัวบุคคล ไม่ต้องระบุตำแหน่งหรือส่วนราชการต้นสังกัดซึ่งในกรณีนี้ จะมอบหมายให้ผู้ใดมาทำหน้าที่แทนไม่ได้ กรรมการโดยระบุชื่อตัวบุคคลถึงแม้จะมีคำสั่งให้ย้ายไปรับราชการในส่วนราชการแห่งใหม่ ก็ยังคงมีหน้าที่ความรับผิดชอบอยู่เช่นเดิม โดยจะพ้นสภาพการเป็นกรรมการก็ต่อเมื่อหัวหน้าส่วนราชการมีคำสั่งยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงการเป็นกรรมการ กรรมการโดยระบุชื่อตัวบุคคล 39

  40. เป็นการแต่งตั้งกรรมการที่ต้องการคุณสมบัติเฉพาะของบุคคลและอำนาจหน้าที่ในตำแหน่งหน้าที่ที่บุคคลดังกล่าวเป็นการแต่งตั้งกรรมการที่ต้องการคุณสมบัติเฉพาะของบุคคลและอำนาจหน้าที่ในตำแหน่งหน้าที่ที่บุคคลดังกล่าว ดำรงตำแหน่งอยู่ หรืออำนาจหน้าที่ของหน่วยงานที่บุคคลดังกล่าวปฏิบัติหน้าที่อยู่ ให้แต่งตั้งโดยระบุชื่อตัวบุคคลและระบุตำแหน่งของบุคคลนั้น หรือระบุหน่วยงานที่บุคคลนั้นปฏิบัติหน้าที่อยู่ ซึ่งจะแต่งตั้งบุคคลอื่นให้มาประชุมแทนไม่ได้ และในกรณีที่บุคคลนั้นพ้นจากตำแหน่งดังกล่าว ให้เป็นที่เข้าใจว่าต้องพ้นจากความเป็นกรรมการด้วย หรืออาจจะระบุการพ้นจากตำแหน่งไว้ด้วยก็ได้ ถ้าไม่ประสงค์เช่นนั้น ก็ไม่ควรออกคำสั่งในลักษณะนี้มาแต่แรก กรรมการโดยระบุชื่อตัวบุคคลและระบุตำแหน่ง

  41. ปัญหาข้อหารือเกี่ยวกับปัญหาข้อหารือเกี่ยวกับ การตรวจรับพัสดุบางส่วน 41

  42. ข้อเท็จจริง สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้ทำสัญญาซื้อขายเครื่องปรับอากาศพร้อมติดตั้ง จำนวน ๘๐ เครื่อง กับบริษัทฯ โดยผู้ขายได้ส่งมอบเครื่องปรับอากาศ จำนวน ๘๐ เครื่องให้แก่ผู้ซื้อภายในกำหนดเวลาตามสัญญา แต่ปรากฏว่า เครื่องปรับอากาศที่มีขนาดต่ำกว่า ๓๐,๐๐๐ บีทียู จำนวน ๓๔ เครื่อง ไม่ได้รับมาตรฐานประหยัดพลังงานเบอร์ ๕ ตามเงื่อนไข ที่กำหนดไว้ในสัญญา จึงเป็นส่งมอบครบถ้วนแต่ไม่ถูกต้องตามสัญญาบางส่วน ข้อหารือ สำนักงานฯ ควรบอกเลิกสัญญากับบริษัทฯ หรือ ควรตรวจรับบางส่วนโดยแก้ไขสัญญาเพื่อให้รับในส่วนที่ถูกต้อง จำนวน ๔๖ เครื่อง และไม่ตรวจรับจำนวน ๓๔ เครื่อง

  43. ตามระเบียบฯ ข้อ 71 (5) • ในกรณีที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างส่งมอบพัสดุถูกต้องแต่ไม่ครบจำนวน หรือส่งมอบครบจำนวนแต่ไม่ถูกต้องทั้งหมดถ้าสัญญาหรือข้อตกลงมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นให้ตรวจรับไว้เฉพาะจำนวนที่ถูกต้อง • รายงานหัวหน้าส่วนราชการ เพื่อแจ้งให้ผู้ขายหรือผู้รับจ้างทราบภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันตรวจพบ แต่ทั้งนี้ ไม่ตัดสิทธิของส่วนราชการที่จะปรับผู้ขายหรือผู้รับจ้างในจำนวนที่ส่งมอบไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้องนั้น • หากส่วนราชการจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่ง ได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม แต่ทั้งนี้จะให้เป็นที่เสื่อมเสียแก่สิทธิของบุคคลภายนอกหาได้ไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๓๙๑ • หากเห็นว่า การตรวจรับเฉพาะส่วนที่ถูกต้อง ไว้ใช้ในราชการ จะเป็นประโยชน์แก่ทางราชการมากกว่าการบอกเลิกสัญญา ก็สามารถที่จะตรวจรับบางส่วนไว้ใช้ในราชการได้ ตามเงื่อนไขของสัญญา แนววินิจฉัยของ อกพ.

  44. ข้อหารือเกี่ยวกับการตรวจรับในกรณีสุ่มตรวจข้อหารือเกี่ยวกับการตรวจรับในกรณีสุ่มตรวจ 44

  45. ข้อเท็จจริง • - กรมพัฒนาที่ดินจ้างทำแผนที่ภาพถ่ายตามโครงการจัดทำแผนที่เพื่อการ บริหารทรัพยากรธรรมชาติและทรัพย์สินของกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ • ตามสัญญากำหนดว่า ผู้รับจ้างต้องสร้างหมุดหลักฐานภาคพื้นดินทั้งประเทศ จำนวนทั้งสิ้น ๒,๘๑๐ หมุด และกระทรวงฯ ได้เลือกกรมแผนที่ทหารเป็นหน่วยงานอิสระในการตรวจสอบคุณภาพหมุดหลักฐานตามสัญญา • - บริษัทฯ ผู้รับจ้างได้ส่งมอบงานให้กรมพัฒนาที่ดินทำการตรวจรับ คณะกรรมการตรวจรับพัสดุทำการตรวจสอบหลักหมุดหลักฐานแล้ว จำนวน ๒,๗๑๖ หมุด คงเหลือ ๙๔ หมุด ในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดน ภาคใต้ และ ๔ อำเภอในจังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นพื้นที่อันตรายจาก เหตุการณ์ความ ไม่สงบในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่การเข้าไป ตรวจรับมีความเสี่ยงต่อการ สูญเสียชีวิตสูง

  46. กรมฯ จะใช้ภาพที่ผู้รับจ้างส่งมาประกอบในการตรวจรับ ร่วมกับวิธีสุ่มตรวจในอัตราร้อยละ ๒๐ โดยยกเว้นบริเวณที่มี ความเสี่ยงสูงได้หรือไม่ • ตามระเบียบฯ ข้อ ๗๑ (๒) • ตามสัญญาฯ ข้อ ๓.๙ การรับมอบงานกำหนดว่า จะพิจารณาจากผลงานที่ผู้รับจ้างได้จัดส่ง และจะมีการ สุ่มตัวอย่าง จำนวนไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๕ ของจำนวนหมุดหลักฐานเพื่อตรวจสอบค่าพิกัด และ ร้อยละ ๙๐ ของจำนวนสุ่มตัวอย่าง จะต้องมีความคลาดเคลื่อนของค่าพิกัดไม่มากกว่า ๕ เซนติเมตร โดยการสุ่มตัวอย่างให้หน่วยงานอิสระเป็นผู้ดำเนินการ • กรมแผนที่ทหารได้ดำเนินการตรวจสอบและรายงานผลต่อกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แล้ว ข้อหารือ แนววินิจฉัยของ อกพ.

  47. ในการตรวจรับหมุดหลักฐานจำนวน ๙๔ หมุด ที่เป็นปัญหาดังกล่าว หากคณะกรรมการตรวจรับพัสดุของกรมพัฒนาที่ดินได้พิจารณาจากภาพที่ผู้รับจ้างจัดส่งมาให้ และผลการตรวจสอบของกรมแผนที่ทหาร ประกอบกับการสุ่มตรวจอีกครั้งหนึ่งในอัตราร้อยละ ๒๐ ของพื้นที่ที่เป็นปัญหาแล้ว สามารถพิจารณาความถูกต้องครบถ้วนของงานที่ผู้รับจ้างส่งมอบได้แล้ว กรณีก็อยู่ในขอบข่ายที่สามารถดำเนินการได้ แนววินิจฉัยของ อกพ. 47

  48. การตรวจรับพัสดุไม่ตรงตาม Spec 48

  49. ข้อเท็จจริง • - กรมการแพทย์ได้ทำสัญญาซื้อขายรถพร้อมอุปกรณ์ตรวจมะเร็งเต้านม • ตามสัญญาฯ ข้อ ๕.๘ กำหนดว่า บริษัท ฯ จะต้องส่งมอบเครื่องรุ่นใหม่ล่าสุดที่ผ่านการรับรองของคณะกรรมการอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา (FDA) ใน วันส่งมอบเครื่อง พร้อม Upgradesoftware ให้ทันสมัยตลอดระยะเวลารับประกัน • - ปรากฏว่า บริษัทฯ ได้ส่งมอบรถพร้อมอุปกรณ์ตรวจมะเร็งเต้านม โดยได้ทำการติดตั้งเครื่องเอกซเรย์เต้านมระบบดิจิตอลรุ่นใหม่ล่าสุด โดยไม่ได้แจ้งให้กรมการแพทย์ทราบล่วงหน้าก่อนจึงไม่ได้มีการแก้ไขสัญญาในส่วนรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของเครื่องเอกซเรย์เต้านมระบบดิจิตอล • - ผู้ขายได้ส่งมอบ รถพร้อมอุปกรณ์ตรวจมะเร็งเต้านม รุ่นใหม่ล่าสุด โดย เครื่องเอกซเรย์ฯ ดังกล่าวยังคงเป็นยี่ห้อเดิม แต่เปลี่ยนรุ่น ใหม่ ซึ่งคณะกรรมการตรวจรับพัสดุพิจารณาแล้วเห็นว่า เครื่องเอกซเรย์รุ่นที่ผู้ขายติดตั้งให้นั้น เป็นรุ่นที่มีคุณภาพโดยรวม ดีกว่ารุ่นที่กำหนดในสัญญา

  50. กรมการแพทย์ สามารถตรวจรับพัสดุ ดังกล่าวได้ โดยไม่ต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาตามระเบียบฯ ข้อ ๑๓๖ อีกแต่อย่างใด โดยอาศัยเงื่อนไขของสัญญา ข้อ ๕.๘ ดังกล่าว ทั้งนี้ คณะกรรมการตรวจรับพัสดุต้องตรวจรับให้ถูกต้องครบถ้วนตรงตามแคตตาล๊อคของเครื่องเอกซเรย์รุ่นใหม่ที่ผู้ขายส่งให้ โดยให้ถือว่าแคตตาล็อคเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา และจะต้องให้คู่สัญญาลงนามกำกับในแคตตาล็อคเพื่อเป็นหลักฐานแนบท้ายสัญญาด้วย แนววินิจฉัยของ อกพ.

More Related