1 / 117

นิพนธ์ พัวพงศกร สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

พฤติกรรมทางเศรษฐกิจของคนชั้นกลาง : ตลาดสินค้า-บริการอำนวยความสะดวกและการไต่เต้าทางสังคมของคนชั้นกลาง (ผลการศึกษาเบื้องต้น). นิพนธ์ พัวพงศกร สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. การแสดงปาฐกถา 60 ปี คณะเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ ห้องประชุมชั้น 5 คณะเศรษฐศาสตร์ มธ. 27 กรกฏาคม 2552. คำถาม.

vielka-diaz
Télécharger la présentation

นิพนธ์ พัวพงศกร สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. พฤติกรรมทางเศรษฐกิจของคนชั้นกลาง : ตลาดสินค้า-บริการอำนวยความสะดวกและการไต่เต้าทางสังคมของคนชั้นกลาง (ผลการศึกษาเบื้องต้น) นิพนธ์ พัวพงศกร สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย การแสดงปาฐกถา 60 ปี คณะเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ ห้องประชุมชั้น 5 คณะเศรษฐศาสตร์ มธ. 27 กรกฏาคม 2552

  2. คำถาม คนชั้นกลาง คือ ใคร มีจำนวนเท่าไร แบบแผนการบริโภคของคนชั้นกลาง : คนชั้นกลางเป็นตลาดของสินค้าอำนวยความสะดวกในบ้าน คนชั้นกลางเป็นบ่อเกิดของผู้ประกอบการหรือไม่ : การศึกษา งานและรายได้ของคนชั้นกลาง

  3. ประเด็นปาฐกถา มูลเหตุจูงใจ แนวคิด และวิธีศึกษา ความหมายและชีวิตคนชั้นกลาง แบบแผนการบริโภคของคนชั้นกลาง การศึกษา งาน และรายได้ของคนชั้นกลาง คนชั้นกลางกับการเลือกนโยบายเศรษฐกิจ

  4. 1. มูลเหตุจูงใจ : ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างพันธมิตรกับนปช. • บทความของนิธิ เอียวศรีวงศ์ “การปรับระบบการเมือง” มติชนรายวัน(15 ส.ค.-15 ก.ย. 2551) อธิบายเรื่องการขาดความมั่นคงทางเศรษฐกิจของคนชั้นกลางในชนบท • บทความของ Banerjee and Duflo (2008), Easterly 2001 และ Birdsall, et.al 2000 เป็นงานวิชาการที่เป็นแนวทางการศึกษาเรื่องพฤติกรรมคนชั้นกลางไทยในการปาฐกถาครั้งนี้ • งานวิชาการของนักเศรษฐศาสตร์ไทยมีน้อยมาก เช่น สังศิต พิริยะรังสรรค์ ผาสุก พงษ์ไพจิตร อภิชาติ สถิตนิรมัย งานส่วนใหญ่เป็นงานด้านรัฐศาสตร์ เช่น อเนก เหล่าธรรมทัศน์ เกษียร เตชะพีระ Christ Baker เป็นต้น

  5. 2. แนวคิด และวิธีศึกษา นโยบาย/ปัจจัยภายนอกที่ก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียม เช่น โลกาภิวัฒน์ ความขัดแย้ง คนชั้นกลาง ฉันทามติ (1) การออมเพื่อประกอบกิจการ/ ระบบคุณค่าที่เน้นสะสมทุน (2) มนุษย์เงินเดือนกับงานที่มั่นคง : ลงทุนการศึกษาและสุขภาพ ของตนและลูก (3) นโยบาย สินค้า มหาชน (4) ตลาด สินค้า คุณภาพ การเติบโต ทางเศรษฐกิจ ? ? Productivity Economies of scale 2.1 แนวคิดเรื่องคนชั้นกลางกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ ที่มา : 1. Acemoglu and Zilibotti 1997 ; และ Doepke and Zilibotti 2005 2. Banerjee and Duflo 2008 3. Easterly 2001 4. Murphy, Shleifer and Vishny 1989

  6. แนวคิดเรื่องบทบาทคนชั้นกลางที่มีต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแนวคิดเรื่องบทบาทคนชั้นกลางที่มีต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ • คนชั้นกลางเป็นบ่อกำเนิดของ “ผู้ประกอบการ” เพราะมีระบบคุณค่าที่นิยมการออมและการลงทุนในทุนมนุษย์ ซึ่งเป็นหัวใจของกระบวนการสะสมทุนในระบบเศรษฐกิจทุนนิยม (Doepke and Zilibotti 2005) • นอกจากนั้นคนชั้นกลางมีสมรรถนะและเต็มใจที่จะกระเหม็ดกระแหม่นำเงินออมไปลงทุนเพื่ออนาคต ทำให้เกิดผู้ประกอบการรายใหม่ ผล คือการจ้างงาน และผลิตภาพการผลิตของสังคมเพิ่มขึ้น (Acemoglu and Zilibotti 1997) • คนชั้นกลางส่วนใหญ่ ไม่ใช่ผู้ประกอบการ แต่เป็นมนุษย์เงินเดือนที่ลงทุนด้านการศึกษาของตน และลูกเพื่อให้ได้งานดีๆที่มั่นคง (decent work) ความมั่นคงในชีวิตและงานย่อมทำให้ผลิตภาพการทำงานสูงขึ้น (productivity) เศรษฐกิจก็จะเติบโตต่อเนื่อง (Banerjee and Duflo 2008)

  7. การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมทำให้มีคนชั้นกลางมากขึ้น เมื่อรายได้ต่อหัว และจำนวนคนชั้นกลางเพิ่มขึ้นถึงระดับขั้นต่ำระดับหนึ่ง ความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคบางประเภทจะเพิ่มมากจนคุ้มที่จะผลิตสินค้าดังกล่าวในประเทศ เพราะเมื่อขนาดการผลิตใหญ่พอ ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยจะต่ำลงจนสินค้าที่ผลิตในประเทศสามารถแข่งขันกับต่างประเทศ แนวคิดนี้เป็นข้อสังเกตของสื่อมวลชน เช่น Forbes Asia (10 November, 2008 : 67) Unger (FER 2006) ส่วนงานวิชาการอธิบายว่าคนชั้นกลางต้องการบริโภคสินค้าที่มีคุณภาพสูงขึ้น ทำให้เกิดการลงทุนในการผลิตและการตลาด (รวมทั้งลอจิสติกส์) ผลคือ รายได้ของทุกคนในประเทศสูงขึ้น (Murphy, Shleiler and Vishmy 1989).

  8. แนวคิดสุดท้าย คือ สังคมที่ประชาชนมีความแตกต่างกันมากทั้งด้านเชื้อชาติ ศาสนา และเศรษฐกิจ จะมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจต่ำกว่าประเทศที่คนส่วนใหญ่ในสังคมไม่แตกต่างกัน โดยเฉพาะประเทศที่คนส่วนใหญ่เป็นคนชั้นกลาง เพราะคนชั้นกลางส่วนใหญ่มีความต้องการคล้ายคลึงกัน เช่น มีรสนิยมและทัศนคติต่อนโยบายการลงทุนด้านสินค้ามหาชน (public good policy) ที่ตรงกัน เรียกว่า “ฉันทามติของคนกลาง” นโยบายดังกล่าวจะเกื้อหนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (Easterly 2001) • แนวคิดที่ใกล้เคียงกับแนวคิดสุดท้ายข้างต้น คือ นโยบายการเมืองและเศรษฐกิจที่สำคัญต่อการจรรโลงการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน และลดความยากจน จะต้องเป็นนโยบายที่ได้รับการสนับสนุนจากคนชั้นกลาง เพราะนโยบายบางอย่างจะมีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนชั้นกลาง แม้ว่ากระแสโลกาภิวัฒน์และการเปิดเสรีทางการเงินจะเกิดผลประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจ และช่วยลดจำนวนคนยากจน แต่ก็อาจสร้างความเครียดแก่คนชั้นกลาง เพราะ แม้คนชั้นกลางจะรวยขึ้น แต่กลับมีฐานะแย่ลงเมื่อเทียบกับกลุ่มคนรวย (top driven inequality) (Birdsall,et al. 2000)

  9. งานวิจัยที่กล่าวถึงบางเรื่องพยายามพิสูจน์ว่าคนชั้นกลางมีบทบาทต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ บางเรื่องเป็นแนวคิดหรือแบบจำลอง (เช่น Acemoglu and Zilibotti 1997 ; Doepke and Zilobotti 2005 ; Murphy, et al. 1989) ส่วนงานของ Banerjee and Duflo (2008) ก็เป็นเพียงการหาข้อสรุปเกี่ยวกับวิถีชีวิตทางเศรษฐกิจจากการศึกษาพฤติกรรมการบริโภคการลงทุนด้านการศึกษาและอาชีพของคนชั้นกลาง แต่ยังไม่มีทฤษฎีเศรษฐศาสตร์รองรับ • การศึกษาครั้งนี้ จึงเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการทำความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภค การลงทุนด้านการศึกษา และงานอาชีพของคนชั้นกลางเทียบกับคนจน และคนที่มีฐานะดีที่สุด ผู้เขียนหวังว่าความเข้าใจดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อนโยบายการสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ที่สามารถลดความแตกต่างทางเศรษฐกิจและความขัดแย้งระหว่างคนกลุ่มต่างๆ

  10. 2.2 วิธีศึกษา • จำนวนคนชั้นกลางใช้นิยาม 2 แบบ (1) 2-10 $ ต่อคน ต่อวันของ Banerjee and Duflo (2008) Birdsall,et.al. (2000) และ (2) quintiles ของ Easterly (2001) ข้อมูลการสำรวจรายได้-รายจ่ายของครัวเรือนระหว่างปี 2528-2550 ของสำนักงานสถิติ • แบบแผนบริโภคอาศัยทฤษฏีอุปสงค์ต่อสินค้า โดยแบ่งสินค้าตามความยืดหยุ่นต่อรายได้ของอุปสงค์ต่อสินค้าและบริการและใช้ข้อมูล SES ปี 2550 โดยแบ่งครัวเรือนไทยเป็น 5 กลุ่มรายจ่าย และข้อมูลอนุกรมเวลาด้านการใช้จ่ายของครัวเรือน 2528-2550 • การศึกษางานและรายได้คนชั้นกลางเป็นงานทดสอบสมมุติฐานของ Banerjee and Duflo (2008) และใช้ข้อมูล SES ปี 2528-2550

  11. 3. ใครคือคนชั้นกลาง มีจำนวนเท่าไร • ความหมาย : ไม่ตายตัว เปลี่ยนแปลงตามพัฒนาการของระบบเศรษฐกิจ โครงสร้างอาชีพ ระดับการศึกษาขั้นต่ำของแต่ละอาชีพ และระบบคุณค่าในสังคม • ในงานวิชาการยุคแรก นิยามของคนชั้นกลางจะยึดโยงกับการผลิตสินค้าชนิดใหม่ การเปลี่ยนแปลงอาชีพและสถานภาพทางสังคมของผู้ประกอบอาชีพ • ต่อมาโครงสร้างเศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้อาชีพต่างๆ เปลี่ยนแปลงไป • ดังนั้นนักสังคมวิทยาจึงนิยามคนชั้นกลางจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอาชีพ ระดับการศึกษา และทัศนคติของคนกลุ่มต่างๆ

  12. Birdsall, et al., 2000 สรุปคำนิยามของนักวิชาการ 3 กลุ่มดังนี้ • “คนชั้นกลางไม่ใช่ชนชั้นกรรมาชีพ ไม่ใช่คนรวย แต่เป็นคนที่ประกอบอาชีพอิสระ ผู้ประกอบวิชาชีพ เป็นลูกจ้างพนักงานของสถานประกอบการที่ต้องใช้ความรู้และทำงานบริหารจัดการ รวมทั้งผู้ประกอบการขนาดเล็ก • เป็นกลุ่มคนที่เห็นความสำคัญของการออมและการศึกษา เพราะให้ความสำคัญกับอนาคต • เป็นกลุ่มคนที่พยายามแสวงหาโอกาสในการยกฐานะทางสังคมของตนจากรายได้ จากงานที่มั่นคง คนกลุ่มนี้ไม่ใช่คนจน ไม่ใช่แรงงานหาเช้ากินค่ำ และไม่ใช่คนรวย แต่เป็นกลุ่มคนตรงกลาง

  13. ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์ (2536) ให้นิยามคล้ายกับนิยามตามประเด็นแรก • นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์ (2536) แบ่งคนชั้นกลางเป็น 2 กลุ่ม (1) นักธุรกิจ ซึ่งความมั่นคงถูกกำหนดโดยระบบตลาด (2) ผู้ประกอบอาชีพชั้นสูง และคนงานปกขาว ซึ่งอาศัยทักษะความชำนาญเฉพาะตัวทำให้ตนมีความก้าวหน้าทางการงาน • ผาสุก พงษ์ไพจิตร (2536) แบ่งคนชั้นกลางเป็น 4 กลุ่มคือ (1) นักวิชาชีพผู้จัดการ ผู้บริหาร (2) กลุ่มพี่น้อง (3) คนงาน คอปกขาวระดับล่าง (4) นักคิดและนักวิชาการ

  14. การวัดคนชั้นกลางของนักเศรษฐศาสตร์ : ไม่มีสูตรตายตัว ขึ้นกับวิจารณญาณ • คนกลุ่มquintiles 2-4 หรือคนจำนวน 60% ที่มีรายได้ (หรือรายจ่าย) อยู่ตรงกลางระหว่างคนจนสุด 20% (quintile 1) กับคนรวยสุด 20% (quintile 5)(Easterly 2001) • 75% ถึง 125% ของรายได้ (หรือรายจ่าย) มัธยฐาน (Birdsall,et.al.2000) • $2-$10 (ppp หรือ purchasing power parity) (Banerjee and Duflo 2008)

  15. ระหว่างคนที่มีรายได้สูงกว่าเส้นความยากจน กับ รายได้มัธยฐานของกลุ่มคนรวยสุด 10% ของประชากร ทั้งนี้เพราะในทางปฏิบัติคนส่วนใหญ่ที่ตกอยู่ในกลุ่มรายได้สูงสุด 10% ตามการสำรวจรายได้รายจ่ายไม่ใช่มหาเศรษฐี • คนชั้นกลางอยู่ตรงไหน : ขึ้นกับการขีดเส้นรายได้ ดังรูปที่แสดงเส้นการกระจายรายได้ของไทยระหว่างปี 2533-49

  16. ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ การสำรวจรายได้รายจ่ายของครัวเรือน คนชั้นกลางอยู่ตรงไหน ?(สัดส่วนประชากร ตามระดับรายได้ต่อหัวที่แท้จริง)

  17. Quantiles 2-4 ล้านบาท 50 45 40 35 30 25 20 2533 2535 2537 2539 2541 2543 2545 2547 2549 75-125% median ล้านบาท ล้านคน ส่วนต่างเส้นยากจนกับรายจ่ายคนรวย (346 บาท) • จำนวนคนชั้นกลางในไทยปี 2533-2549 $2-10 ต่อคนต่อวัน

  18. ส่วนแบ่งรายจ่ายคนชั้นกลาง และจำนวนคนชั้นกลางปี 2549 ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ การสำรวจรายได้ รายจ่ายครัวเรือน ปี 2549

  19. จำนวนครัวเรือนชั้นกลาง แยกตาม 2 นิยาม • นิยาม 69-346 บาท/คน/วัน ทำให้ได้จำนวนคนชั้นกลาง น้อยมากในช่วงปี 2529-33 แต่เพิ่มเป็น 12 ล้านครัวเรือนในปี 2550 • ปรับนิยามเป็น “เส้นความยากจน” ถึง 346 บาท/คน/วัน • จำนวนคนชั้นกลางอยู่ระหว่างนิยามทั้งสองข้างต้น คือ 12-15 ล้านครัวเรือน

  20. คนชั้นกลางอยู่ที่ไหน ครัวเรือนกลุ่มคนชั้นกลางแยกตามภาค

  21. คนรวยอยู่ที่ไหน ครัวเรือนกลุ่มคนรวยแยกตามภาค

  22. คนชั้นกลางอยู่ที่ไหน ครัวเรือนกลุ่มคนชั้นกลางแยกตามเขต

  23. คนรวยอยู่ที่ไหน ครัวเรือนกลุ่มคนรวยแยกตามเขต

  24. Q2 ทุกกลุ่ม Q3 Q4 จำนวนคนชั้นกลางในแต่ละภาค ที่มา : การสำรวจรายได้รายจ่ายครัวเรือน ปี 2549

  25. จำนวนคนชั้นกลาง (Q2 3 4)ในแต่ละภาค เทศบาล นอกเทศบาล ที่มา : การสำรวจรายได้รายจ่ายครัวเรือน ปี 2549

  26. จำนวนคนชั้นกลางในแต่ละพื้นที่จำนวนคนชั้นกลางในแต่ละพื้นที่ ทุกกลุ่ม Q2 Q3 Q4 ที่มา : การสำรวจรายได้รายจ่ายครัวเรือน ปี 2549

  27. สรุป : จำนวนคนชั้นกลางเพิ่มขึ้นตามการเติบโตทางเศรษฐกิจ • ช่วงฟองสบู่ และหลังวิกฤตเศรษฐกิจ 2540-41 มีคนชั้นกลางเพิ่มมากที่สุด • มีข้อสังเกตว่าในช่วงก่อนฟองสบู่ (2529-33) จำนวนคนชั้นกลางมีน้อยมาก (เพียง 12% ของครัวเรือนทั่วประเทศ) และส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯ • ข้อมูลนี้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงเรื่องคนชั้นกลางในกรุงเทพฯมีบทบาททางการเมืองสูง ถึงขั้น “เป็นผู้ล้มรัฐบาล” ตามทัศนะของอเนก เหล่าธรรมทัศน์ แต่ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาคนชั้นกลางในต่างจังหวัด (โดยเฉพาะระดับล่าง) เพิ่มขึ้นมากจนมีบทบาทสำคัญทางการเมืองไม่ยิ่งหย่อนกว่าคนกรุงเทพฯ

  28. 4. แบบแผนการบริโภคของคนชั้นกลาง : คนชั้นกลางเป็นตลาดสินค้าอำนวยความสะดวกในบ้าน 4.1 การเติบโตของสินค้าอุปโภค-บริโภคระหว่างปี 2529-2550 • สื่อมวลชนรายงานว่าการเติบโตของคนชั้นกลางเป็นปัจจัยสำคัญของการเติบโตของสินค้าบางประเภท เช่น ตู้เย็น รถยนต์ อาหารสำเร็จรูป • Unger (2006) รายงานว่าเมื่อครัวเรือนชั้นกลางของจีนที่มีรายได้ไม่ต่ำกว่าปีละ $10,000 จะสามารถซื้อทั้งอพาร์ทเมนท์และรถยนต์ขนาดเล็กได้ • รายจ่ายวันละ 346 บาทต่อคนสูงกว่า $10,000 ต่อครัวเรือนเล็กน้อย • การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของจำนวนครัวเรือนชั้นกลางไทย ในช่วงเศรษฐกิจฟองสบู่ อธิบายการเติบโตของรายจ่ายนอกบ้านของคนชั้นกลาง • สัดส่วนรายจ่ายบริโภคอาหารนอกบ้านก็เพิ่มขึ้นตามรายได้ครัวเรือนและจำนวนครัวเรือนชั้นกลาง แต่จะลดลงหลังจากรายได้สูงถึงระดับหนึ่ง

  29. รูปที่ 1 จำนวนครัวเรือนคนชั้นกลาง มูลค่าจ่ายบริโภคนอกบ้าน ครัวเรือนคนชั้นกลาง มูลค่าบริโภคนอกบ้าน

  30. รูปที่ 2 สัดส่วนรายจ่ายบริโภคนอกบ้าน ของคนชั้นกลาง จำนวนครัวเรือนคนชั้นกลาง

  31. มูลค่ารายจ่ายอาหารนอกบ้านมูลค่ารายจ่ายอาหารนอกบ้าน ล้านบาท สัดส่วน

  32. คนชั้นกลางเป็นผู้ใช้จ่ายรายใหญ่ด้านบันเทิง-ท่องเที่ยวคนชั้นกลางเป็นผู้ใช้จ่ายรายใหญ่ด้านบันเทิง-ท่องเที่ยว มูลค่ารายจ่ายบันเทิง เดินทาง ท่องเที่ยว สัดส่วน ล้านบาท

  33. จำนวนครัวเรือนคนชั้นกลางจำนวนครัวเรือนคนชั้นกลาง ร้อยละครัวเรือนมีรถยนต์ • จำนวนคนชั้นกลางยังอธิบายการที่ครัวเรือนชั้นกลางส่วนใหญ่เริ่มมี รถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้ามากขึ้น

  34. ครัวเรือน 3 กลุ่มที่มีรถยนต์และรถกระบะ สัดส่วน ครัวเรือน

  35. จำนวนครัวเรือนคนชั้นกลางจำนวนครัวเรือนคนชั้นกลาง ร้อยละครัวเรือนมีเครื่องปรับอากาศ ครัวเรือนชั้นกลางที่มีเครื่องปรับอากาศ

  36. ครัวเรือน 3 กลุ่มที่มีเครื่องปรับอากาศ สัดส่วน ครัวเรือน

  37. ครัวเรือน 3 กลุ่มที่มีเครื่องซักผ้า สัดส่วน ครัวเรือน

  38. ครัวเรือน 3 กลุ่มที่มีรถจักรยานยนต์ สัดส่วน ครัวเรือน

  39. 4.2 แบบแผนการบริโภคคนชั้นกลางเทียบกับคนจนและรวย 2550 • ศึกษาจาก SES ปี 2550 โดยแบ่งครัวเรือนออกเป็น 5 กลุ่ม ตามรายจ่ายต่อหัว • กลุ่มคนชั้นกลาง คือ คนชั้นกลางระดับล่าง (Q2) คนชั้นกลางระดับกลาง (Q3) และคนชั้นกลางระดับบน (Q3) • อีก 2 กลุ่ม คือ คนจน (Q1) และคนรวย (Q5) • วิธีนี้มีข้อดี-ข้อเสีย

  40. ข้อดี คือ (1) หลีกเลี่ยงการใช้วิจารณญานในการกำหนดระดับรายได้ต่อหัว (หรือรายจ่ายต่อหัว) ของคนชั้นกลาง (2) ผู้มีรายจ่ายต่อหัวต่ำที่สุดในกลุ่ม Q2 ไม่ใช่คนยากจน เพราะมีรายจ่ายสูงกว่าเส้นความยากจน (1,386 บาท/หัว) ส่วนผู้ที่มีรายจ่ายสูงสุดในกลุ่ม Q4 ก็ไม่ใช่คนรวย

  41. ข้อเสีย (1) ครัวเรือนส่วนใหญ่ในกลุ่ม Q5 เป็นคนชั้นกลางไม่ใช่คนรวย เพราะมีรายได้ต่อหัวเฉลี่ย 13,901 บาท/เดือน ในปี 2549 อันที่จริงประชากรในกลุ่มรายได้สูงสุด Q5 อย่างน้อยครึ่งหนึ่งยังเป็นคนชั้นกลาง (2) การแบ่งประชากรเป็น 5 กลุ่มจะได้คนชั้นกลางในกลุ่ม Q2-Q4 เท่ากับ 60% ของประชากร วิธีนี้จึงไม่อาจนำมาใช้วัดจำนวนคนชั้นกลางได้ แต่สามารถใช้วิเคราะห์พฤติกรรมของคนชั้นกลางส่วนใหญ่ได้ แม้จะไม่สามารถครอบคลุมคนชั้นกลางที่มีฐานะใกล้เคียงคนยากจน (Q1) และคนชั้นกลางที่มีฐานะค่อนข้างดีบางคนในกลุ่ม Q5 ก็ตาม

  42. อาหาร : เมื่อประชาชนฐานะดีขึ้น สัดส่วนบริโภคลดลงตาม Engel law • คนชั้นกลางในเมืองทั้ง 3 กลุ่ม มีสัดส่วนค่าอาหารสูงกว่าชนบท ทั้งๆที่ราคาอาหารในชนบทแพงกว่า (Somchai and Ammar 2008) • เพราะคนในเมืองซื้ออาหารสำเร็จรูปและบริโภคนอกบ้านมากกว่า เนื่องจากคนเมืองมีต้นทุนเวลาสูง • ข้อสังเกต : ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาการขยายตัวของตลาดอาหารปลอดภัย และอาหารเพื่อสุขภาพและอาหารแปรรูปแช่แข็งใหม่ๆ (เช่น เกี๊ยวกุ้ง ฯลฯ) สอดคล้องกับแนวคิดว่าคนชั้นกลางต้องการสินค้าที่มีคุณภาพสูง ทำให้การผลิตและการตลาดสินค้าดังกล่าวขยายตัวอย่างรวดเร็ว

  43. - นอกจากนี้ คนชั้นกลางยังมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกพร้อมเพรียง เช่น รถยนต์ แอร์ เครื่องซักผ้า ยกเว้น ทีวี และจักรยานยนต์ที่ครัวเรือนทุกฐานะส่วนใหญ่มีในครอบครอง ร้อยละครัวเรือนทุกกลุ่มทีมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวก ไป...ตาราง B เทศบาล นอกเทศบาล หมายเหตุ : จำนวนครัวเรือนที่มีทรัพย์สินประเภทนั้นในแต่ละเขต หาร จำนวนครัวเรือนทั้งหมดในแต่ละเขต 43

  44. เครื่องใช้ไฟฟ้า-นอกเทศบาลเครื่องใช้ไฟฟ้า-นอกเทศบาล เครื่องใช้ไฟฟ้า-เทศบาล เครื่องอำนวยความสะดวก-เทศบาล เครื่องอำนวยความสะดวก-นอกเทศบาล 44 ที่มา : การสำรวจรายได้รายจ่ายครัวเรือน ปี 2550

  45. รถยนต์/จักรยานยนต์-เทศบาลรถยนต์/จักรยานยนต์-เทศบาล รถยนต์/จักรยานยนต์-นอกเทศบาล 45 ที่มา : การสำรวจรายได้รายจ่ายครัวเรือน ปี 2550

  46. สินค้าฟุ่มเฟือย : รายจ่ายสินค้าบริการฟุ่มเฟือยสูงขึ้นตามฐานะ คือ : ท่องเที่ยว งานเลี้ยง บันเทิง ไป...ตาราง B เทศบาล นอกเทศบาล • ค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่การอุปโภค-บริโภค : ประกัน ดอกเบี้ย หวย เทศบาล นอกเทศบาล 46 ที่มา : การสำรวจรายได้รายจ่ายครัวเรือน ปี 2549

  47. แต่คนชั้นกลางเล่นหวยมากกว่าคนจนและคนรวยแต่คนชั้นกลางเล่นหวยมากกว่าคนจนและคนรวย ค่าเล่นหวย เทศบาล นอกเทศบาล 47 ที่มา : การสำรวจรายได้รายจ่ายครัวเรือน ปี 2550

  48. ค่าเดินทาง ค่าซื้อและค่าซ่อมแซมพาหนะรวมกันสูงเป็นอันดับ 3 รองจากที่อยู่อาศัย คนชั้นกลางระดับสูง (Q4) ในชนบทมีรายจ่ายค่าเดินทางสูงใกล้เคียงกับคนเมือง นัยต่อนโยบายขนส่งมวลชน สำหรับคนที่อยู่ชานเมือง ค่าเดินทาง ไป...ตาราง A เทศบาล นอกเทศบาล 48 ที่มา : การสำรวจรายได้รายจ่ายครัวเรือน ปี 2550

  49. รายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ : คนชั้นกลางห่วงสุขภาพน้อยกว่าคนรวยหรือไม่ คนชั้นกลางมีค่าซื้อสุราที่บ้านและบุหรี่ในสัดส่วนที่สูงกว่าคนจน-คนรวย คนทุกกลุ่มมีส่วนแบ่ง “ค่ายา” ใกล้เคียงกัน แต่คนรวยมี “ค่าบริการรักษาพยาบาล” สูงกว่า ข้อสังเกต : สัดส่วนรายจ่ายค่ารักษาพยาบาลของครัวเรือนไทยต่ำกว่าประเทศกำลังพัฒนาในงานของ Banerjee and Duflo (2008) ทั้งนี้อาจเป็นผลจากนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ไป...ตาราง A นอกเทศบาล เทศบาล ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ เทศบาล นอกเทศบาล แอลกอฮอล์ ยาสูบ 49 ที่มา : การสำรวจรายได้รายจ่ายครัวเรือน ปี 2550

  50. สาธารณูปโภคในบ้าน ครัวเรือนไทยเกือบทั้งหมดมีบ้านที่อยู่อาศัยและมีห้องเฉลี่ย 2.5 ห้องต่อครัวเรือน ครัวเรือนชั้นกลางมีความพร้อมเพรียงทั้งตัวบ้านที่มีวัสดุถาวร (ยกเว้น 3% -4% ของกลุ่มคนจน) ส้วมและไฟฟ้า คนฐานะดีขึ้นนิยมอยู่ห้องแถว ทาวน์เฮาส์ และห้องชุดมากขึ้น เพราะสะดวก ข้อยกเว้นคือ น้ำประปา : 20% ของครัวเรือนทั่วประเทศมีน้ำประปาในบ้าน 28% มีน้ำดื่มบรรจุขวด มลพิษ : ครัวเรือนยากจนและชั้นกลางระดับล่าง (Q2) โดยเฉพาะชนบทใช้ไม้ฟืน (28.5 %-40.5%) ครัวเรือนจนและชั้นกลางระดับล่างส่วนใหญ่เผาขยะ (20% สำหรับ Q1 ในเดือน 78%Q1 ในชนบท 71%Q2 ในชนบท) มีครัวเรือนในชนบท 2.2-3% ทิ้งขยะในที่สาธารณะรวมทั้ง 2% ของครัวเรือนฐานะดีในชนบท ไป...ตาราง C 50

More Related