1 / 67

หนังสืออ่านเสริม

หนังสืออ่านเสริม. เรื่อง ลดภาวะโลกร้อน เที่ยวสวนสวยงามของกรุงเทพมหานคร โดย Program Power Point. บูรณาการกับ. สาระการเรียนรู้ภาษาไทย สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา. โรงเรียนคลองกะจะ (พงษ์สมบัติบำรุง) สำนักงานเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร. คำนำ

vila
Télécharger la présentation

หนังสืออ่านเสริม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. หนังสืออ่านเสริม เรื่อง ลดภาวะโลกร้อน เที่ยวสวนสวยงามของกรุงเทพมหานคร โดย Program Power Point

  2. บูรณาการกับ • สาระการเรียนรู้ภาษาไทย • สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ • สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา

  3. โรงเรียนคลองกะจะ (พงษ์สมบัติบำรุง)สำนักงานเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร

  4. คำนำ หนังสืออ่านเสริมโดยใช้ Program Power Pointชุดนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ผ่านคอมพิวเตอร์ ด้วย Program Power Pointใช้เป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ชอบ เรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับครูผู้สอนสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สามารถใช้ เป็นเครื่องมือฝึกการอ่านสำหรับเสริมหรือเป็นการบ้าน

  5. ซึ่งในหนังสือเสริมการอ่านนี้ สามารถบูรณาการกับสาระ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในเรื่องของสิ่งแวดล้อม รวมทั้ง ได้รับความรู้ประวัติความเป็นมาของแต่ละสวน ซึ่งเป็นการ เรียนรู้ของกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา เมื่อเด็กอ่านจบแล้ว จะมีคำถามตรวจสอบความรู้ ความเข้าใจ 10 ข้อ ซึ่งครูผู้สอนสามารถใช้เป็นแบบทดสอบ ตรวจสอบความรู้ของผู้อ่านได้

  6. จุดประสงค์ 1. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย • สามารถตอบคำถามเกี่ยวกับเนื้อหา จากคำบรรยายภาพได้

  7. จุดประสงค์ 2. กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ • สามารถตอบคำถามเรื่องประโยชน์ ของสวนได้

  8. จุดประสงค์ 3. กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา • สามารถตอบคำถามถึงความเป็นมา หรือความสำคัญของสวนได้

  9. สวนลุมพินี

  10. สวนลุมพินี • ที่ตั้ง ถนนพระราม 4 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

  11. ประวัติความเป็นมา • สวนลุมพินีเป็นสวนสาธารณะแห่งแรกของกรุงเทพมหานคร และพระราชมรดกที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานไว้ให้แก่ชาวพระนคร โดยมีจุดเริ่มต้นใน พ.ศ.2468 ซึ่งทรงครองราชย์สมบัติครบ 15 ปี ประกอบกับ เศรษฐกิจตกต่ำหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ทรงมีพระราชดำริจะจัด งานแสดงพิพิธภัณฑ์สรรพสินค้าและทรัพยากรธรรมชาติ

  12. ลักษณะเด่นและจุดที่น่าสนใจในสวนลักษณะเด่นและจุดที่น่าสนใจในสวน • สวนลุมพินีมีลักษณะเป็นสวนอเนกประสงค์โดยเป็นสวนสาธารณะที่รวมไว้ด้วยประโยชน์ใช้สอยเพื่อกิจกรรมนันทนาการหลากหลายที่จัดเตรียมบริการประชาชน เป็นที่ตั้งของศูนย์นันทนาการ สมาคม ชมรมต่าง ๆ ภายใต้ภาพรวมใน การเป็นพื้นที่สีเขียวซึ่งมีเอกลักษณ์ที่มีความร่มรื่นด้วยต้นไม้ขนาดใหญ่อายุเก่าแก่รายล้อมอยู่มากและกระจายอยู่ท่ามกลาง

  13. ธรรมชาติที่จัดแต่งด้วยสระน้ำกว้างใหญ่ กลุ่มพรรณไม้ ดอกไม้ใบต่างสีสันไม่ว่าจะเป็นสวนป่าเขียวชอุ่ม สวนปาล์ม ที่สง่างามหรือสวนไผ่ที่ให้ความรู้สึกนุ่มนวลพลิ้วไหวและด้วยเป็นพื้นที่สีเขียวกว้างใหญ่ท่ามกลางตึกอาคารจึงมีหน้าที่ต่อระบบนิเวศในการเป็นที่พักพิงและแหล่งอาหารของสรรพชีวิต

  14. สวนจตุจักร • ที่ตั้ง : ถนนกำแพงเพชร 1 แขวงลาดยาว  เขตจตุจักร กทม.10900

  15. ประวัติความเป็นมา • สวนสาธารณะแห่งนี้เปิดเป็นทางการมาตั้งแต่วันที่ 4 ธันวาคม 2523 โดยมีจุดเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2518 ซึ่ง การรถไฟแห่งประเทศไทยได้น้อมเกล้า ฯ ถวายที่ดิน 100 ไร่ เพื่อสร้างสวนสาธารณะตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสเฉลิม พระชนมพรรษาครบ 4 รอบ ในวันที่ 5 ธันวาคม 2518

  16. ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามของ สวนแห่งนี้ว่า "สวนจตุจักร"เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2519

  17. ลักษณะเด่นและจุดที่น่าสนใจในสวนลักษณะเด่นและจุดที่น่าสนใจในสวน • สวนจตุจักรเกิดจากความร่วมแรงร่วมใจของหน่วยงานต่าง ๆพ่อค้า ประชาชนทั้งหลายที่ตระหนักถึงคุณค่าของพื้นที่สีเขียวเพื่อการพักผ่อน และสิ่งแวดล้อม ยังคงมีอนุสรณ์เป็นประจักษ์พยานแห่งความร่วมมือในครั้งนั้นที่ยังคงตกแต่ง เพิ่มความงาม เป็นสัญลักษณ์ของสวนสาธารณะเก่าแก่คู่เมืองหลวง ได้แก่ หอนาฬิกา นาฬิกาดอกไม้ ประติมากรรมอาเซียน 6 ประเทศ

  18. สวนหลวง ร.๙

  19. ที่ตั้ง :  ถนนสุขุมวิท 103 แขวงหนองบอน   เขตประเวศ กทม. 10250

  20. ประวัติความเป็นมา สวนหลวง ร.๙ สร้างขึ้นด้วยความร่วมมือร่วมใจของ กรุงเทพมหานคร มูลนิธิสวนหลวง ร.๙ องค์กรภาครัฐและเอกชน รวมถึงปวงชนชาวไทยเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ในศุภมงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ ใน พ.ศ. 2530 โดยสร้างบนที่ดินของกรุงเทพมหานครบริเวณหนองบอน ที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์แต่มีศักยภาพในการเป็นพื้นที่รับน้ำก่อนระบายสู่ แหล่งธรรมชาติซึ่งเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมตาม พระราชดำริ

  21. โครงการเริ่มตั้งแต่ปีพ.ศ.2527 ตามความมุ่งหวังร่วมกันที่จะสร้าง สวนสาธารณะระดับนครให้เป็นหน้าตาของประเทศ และสร้างพื้นที่สีเขียว เพื่อให้ประชาชนได้มาเที่ยวพักผ่อน ด้วยที่ดินผืนนี้ไม่ได้ต่อเนื่องกันเป็น ผืนเดียว แต่มีหลายสิบโฉนด และหลายแปลงปะปนในที่ดินเอกชน จึงต้อง แลกที่ดินกับเอกชน และได้รับบริจาคเพิ่ม ทำให้มีพื้นที่รวมถึง 500 ไร่ เหมาะสมกับการเป็นสวนระดับนคร และการแปรสภาพจากพื้นที่ลุ่มรกร้าง เต็มไปด้วยหลุมบ่อ และทุ่งนา ดงหญ้าสูงท่วม กลายเป็นสวนสาธารณะ สมบูรณ์แบบที่งามสง่าจับตาดังเนรมิต แสดงถึง พลังศรัทธา ความสมาน สามัคคี และความจงรักภักดีต่อองค์พระประมุขของชาติ และเป็น อนุสรณ์ แห่งสายสัมพันธ์อันลึกซึ้งระหว่างพระมหากษัตริย์ และราษฎรชาวไทย ผลงานยิ่งใหญ่นี้จะสืบทอดเป็น มรดกล้ำค่าสู่ชนรุ่นต่อไป

  22. ลักษณะเด่นและจุดที่น่าสนใจของสวนลักษณะเด่นและจุดที่น่าสนใจของสวน โครงสร้างหลักของสวนหลวง ร.๙ ได้รับการกำหนดให้สอดคล้องกับหลัก 5 ประการ คือเฉลิมพระเกียรติส่งเสริมวิชาการรวบรวม พันธุ์ไม้ท้องถิ่น อนุรักษ์สิ่งมีชีวิตและพักผ่อนหย่อนใจแฝงด้วย การปลูกฝังทัศนคติการจัดภูมิทัศน์ภายในสวนจึงสอดคล้องกับหลักดังกล่าวและลักษณะของสวนระดับเมือง ซึ่งแบ่งออกเป็น 6 บริเวณ

  23. อุทยานเบญจสิริ • ที่ตั้ง ติดถนนสุขุมวิท ระหว่างซอยสุขุมวิท 22 -24  แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กทม. 10110

  24. ประวัติความเป็นมา "อุทยานเบญจสิริ" เป็นนามพระราชทานของสวนสาธารณะ แห่งนี้ซึ่งกระทรวงการคลังโดย กรมธนารักษ์ จัดสร้างขึ้นตามที่ได้รับ มอบหมายจากมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2532 อนุมัติ ให้กรมอุตุนิยมวิทยา ย้ายที่ทำการจากที่ดินราชพัสดุไปสร้างใหม่ ณ ถนนบางนาตราด ด้วยเหตุที่ตั้งเดิมเป็นเขตที่มีปัญหามลภาวะ ทางอากาศส่งผลให้การตรวจอากาศทำได้ไม่เที่ยงตรง

  25. พร้อมให้สร้างสวนสาธารณะในบริเวณดังกล่าวแทน เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายในวันมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถครบ 5 รอบวันที่ 12 สิงหาคม 2535และเพื่อเป็น การระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอันใหญ่หลวงต่อพระราช กรณียกิจ ของพระองค์ เกี่ยวกับการเสริมสร้างสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติ ตลอดจนคุณภาพชีวิตของพสกนิกรชาวไทย กรมธนารักษ์ เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี 2533 โดยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่น หลายหน่วยงานนี่มีจุดประสงค์ร่วมกันในการเฉลิมพระเกียรติ และ เล็งเห็นประโยชน์ร่วมกัน

  26. รวมทั้งคุณค่ามหาศาลของ พื้นที่สีเขียวใจกลางเมืองย่านธุรกิจ การค้าสำคัญที่มีมูลค่าที่ดินแปลงนี้สูงถึง 4,000 ล้านบาทใน ขณะนั้น นับเป็นเพราะพระบารมีโดยแท้ จึงเกิดแหล่งธรรมชาติ แห่งนี้ขึ้น ตอบสนองความต้องการด้านจิตใจที่อ่อนล้า จาก ความเครียดในชีวิตประจำวัน ที่ไม่อาจทดแทนด้วยความเจริญ ด้านวัตถุ

  27. ลักษณะเด่นและจุดที่น่าสนใจของสวนลักษณะเด่นและจุดที่น่าสนใจของสวน สวนสาธารณะแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของ ผู้ใช้บริการเป็นหลัก จึงออกแบบโดยนำผลการสำรวจความต้องการผู้ใช้ที่ อาศัยในบริเวณใกล้เคียงมาพิจารณา เพื่อสร้างสวนที่สมบูรณ์แบบ ในจินตนาการของประชาชน ภาพรวมของสวนจึงเน้นให้มีพื้นที่โล่ง เขียวขจีเปิดให้เห็นความงามของท้องฟ้าถึงร้อยละ 70 เพื่อผู้อาศัยในย่านนี้ ที่เคยพบแต่สภาพแออัดและตึกสูงเสียดฟ้ารอบตัวและสีสันธรรมชาติ และ ความเขียวร่มรื่นด้วยแนวไม้ใหญ่รอบสวนให้ร่มเงา

  28. ดังนั้น ผู้มาเยือนจึงได้สัมผัสดินแดนแห่งธรรมชาติที่สงบนิ่งให้ ความรู้สึกกลับสู่ธรรมชาติต่างจากความสับสนวุ่นวายที่อยู่ ภายนอกแค่เอื้อม รวมทั้งมีเอกลักษณ์ แห่งการเฉลิมพระเกียรติฯ นั่นคือประติมากรรมรูปปั้นเหรียญ ที่ระลึกพระบรมรูปสมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ประทับยืนเต็มพระองค์ ขนาด 3 เมตร เป็นที่มาของ " สวนประติมากรรม " ซึ่งนำเสนอ ประติมากรรมหลากหลายที่ถ่ายทอดความงาม ทางศิลปะแนวคิด ลึกซึ้ง และปรัชญาอันเป็นผลงานของศิลปินมีชื่อเสียง

  29. สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ฯสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ฯ

  30. ที่ตั้ง  ถนนกำแพงเพชร 2 แขวงลาดยาว   เขตจตุจักร กทม. 10900

  31. ประวัติความเป็นมา สวนสาธารณะแห่งนี้บังเกิดขึ้นตามมติที่ประชุม คณะรัฐมนตรีในปี 2534 โดยมอบให้กระทรวงคมนาคม จัดสร้าง บนที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยด้านทิศใต้ของ สนามกอล์ฟรถไฟ เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายในวโรกาส มหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ 5 รอบในวันที่ 12 สิงหาคม 2535

  32. ในส่วนการหาทุนสมทบและทุนในการดูแลสวนระยะยาว มูลนิธิ สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ เป็นผู้รับไปดำเนินการ โดยได้รับ การสนับสนุนจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ในสังกัดกระทรวง คมนาคมและหน่วยงานเอกชน ซึ่งโครงการระยะที่ 1 พื้นที่ 140 ไร่ แล้วเสร็จและส่งมอบให้กรุงเทพมหานครดูแลตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2538 และมีพิธีเปิดเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2539 สำหรับโครงการ ระยะที่ 2 มีพื้นที่ 60 ไร่ จะดำเนินการต่อไป

  33. ลักษณะเด่นและจุดที่น่าสนใจของสวนลักษณะเด่นและจุดที่น่าสนใจของสวน "สวนป่า" คือ ลักษณะที่กำหนดสำหรับสวนสมเด็จพระนางเจ้า สิริกิติ์ฯเพื่อพัฒนาให้เชื่อมโยงต่อเนื่อง ทั้งลักษณะทางกายภาพและ สุนทรียสัมผัสกับสวนวชิรเบญจทัศและสวนจตุจักรที่อยู่ติดกัน นำมาซึ่ง พื้นที่สีเขียวในเมืองที่กว้างไพศาล คืนธรรมชาติแก่สิ่งมีชีวิต และสร้าง คุณค่าต่อสิ่งแวดล้อมในนามของ " อุทยานการเรียนรู้จตุจักร " โดย นำเสนอแนวคิดหลักในการเป็นสวนพฤกษศาสตร์ ที่สมบูรณ์แห่งหนึ่ง ในประเทศไทย

  34. สวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ)

  35. ที่ตั้ง :  ถนนกำแพงเพชร 3 แขวงลาดยาว   เขตจตุจักร กทม. 10900

  36. ประวัติความเป็นมา ด้วยการตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาสภาพแวดล้อมใน รูปการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมือง เพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพชีวิต ของชาวกรุงเทพฯ ให้ทัดเทียมมหานครใหญ่ในภูมิภาค จึงเป็นที่มาของ มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2534 และวันที่ 29 มกราคม 2534 สมัยที่พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ให้จัดสร้างสวนสาธารณะบนพื้นที่ "สนามกอล์ฟรถไฟ" ที่ดินของ การรถไฟแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม

  37. ส่วนแรก 140 ไร่ให้สร้างเป็นสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ส่วน ที่เหลือ 375 ไร่ กรุงเทพมหานครรับมอบที่ดินจากกระทรวงคมนาคม เมื่อ 5 พฤศจิกายน 2541 และจ่ายค่าชดเชยให้การรถไฟ ฯ จำนวน 555 ล้านบาท และเริ่มเข้าปรับปรุงพื้นที่สนามกอล์ฟเดิมเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2542 ต่อมา เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติและเพื่อความเป็น สิริมงคล เนื่องในวโรกาสที่ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงมีพระชนมายุครบ 50 พรรษา ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2545 กรุงเทพมหานครได้ขอพระราชทานชื่อให้กับ สวนรถไฟ ซึ่งได้ทรงพระราชทานนามใหม่ให้ว่า "สวนวชิรเบญจทัศ"

More Related