1 / 37

รู้เท่าทันพิษภัยบุหรี่

วรรณิกา มโนรมณ์ 21 พฤศจิกายน 2551. รู้เท่าทันพิษภัยบุหรี่. สนับสนุนโดย. FROM : สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. Leading cancer in Thailand (estimated),1999. Ministry of Public Health, Cancer in Thailand, Vol.IV, 1998-2000 BKK., 2007. ASR=Age Standardized incidence Rates.

vivian
Télécharger la présentation

รู้เท่าทันพิษภัยบุหรี่

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. วรรณิกา มโนรมณ์ 21 พฤศจิกายน 2551 รู้เท่าทันพิษภัยบุหรี่ สนับสนุนโดย

  2. FROM :สถาบันมะเร็งแห่งชาติ

  3. Leading cancer in Thailand(estimated),1999 Ministry of Public Health, Cancer in Thailand, Vol.IV, 1998-2000 BKK., 2007 ASR=Age Standardized incidence Rates FROM :สถาบันมะเร็งแห่งชาติ

  4. Lung cancer in different regions, 1999-2000 = 2,344 new cases = 4,947 new cases ASR=Age Standardized incidence Rates FROM :สถาบันมะเร็งแห่งชาติ

  5. แสดงโรคมะเร็งที่พบบ่อย 10 อันดับแรกในเพศชาย :NCI 2007 % FROM :สถาบันมะเร็งแห่งชาติ

  6. แสดงโรคมะเร็งที่พบบ่อย 10 อันดับแรกในเพศหญิง :NCI 2007 % FROM :สถาบันมะเร็งแห่งชาติ

  7. แสดงจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดแยกตามช่วงอายุ :NCI 2007 FROM :สถาบันมะเร็งแห่งชาติ

  8. แสดงจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดแยกตามระยะของโรค:NCI 2007 FROM :สถาบันมะเร็งแห่งชาติ

  9. สารพิษในบุหรี่ กลุ่มที่ 1 ทาร์ หรือน้ำมันดิน คือไฮโดรคาร์บอนที่รวมตัวกันเป็นสาร ที่มีความเหนียวติดอยู่กับเนื้อปอด มีคุณสมบัติเป็นสาร ก่อมะเร็ง กลุ่มที่ 2 นิโคติน มีผลทำให้เสพติดได้ มีฤทธิ์ต่อสมองและระบบประสาทส่วนกลาง มีผลต่อระบบทางเดินอาหาร ระบบหัวใจและการไหลเวียนของโลหิต กลุ่มที่ 3 ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ซึ่งขัดขวางการรับออกซิเจนของเม็ดเลือดแดง และทำให้ไขมันพอกพูนตามผนังเส้นเลือดมากขึ้น FROM : http://www.ashthailand.or.th

  10. สารประกอบในบุหรี่(1) • บุหรี่มีสารประกอบต่างๆอยู่ประมาณ 4,000 ชนิด มีสารก่อมะเร็งไม่น้อยกว่า 60 ชนิด สารบางชนิดที่เป็นอันตรายที่สำคัญคือ • นิโคตินเป็นสารที่ทำให้คนติดบุหรี่ ออกฤทธิ์โดยตรงต่อสมองทั้งเป็นตัวกระตุ้นและกดประสาทส่วนกลาง ถ้าได้รับสารนี้ขนาดน้อยๆ เช่นการสูบบุหรี่ 1-2 มวนแรก อาจจะกระตุ้นให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า แต่ถ้าสูบมากหลายมวนก็จะกดประสาทส่วนกลาง ทำให้ความรู้สึกต่างๆช้าลง ร้อยละ 95ของนิโคตินจะไปจับอยู่ที่ปอด บางส่วนจับอยู่ที่เยื่อหุ้มริมฝีปาก และบางส่วนถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดมีผลโดยตรงต่อหมวกไตก่อให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนอิฟิเนฟริน [epinephrine] ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติและไม่เป็นจังหวะ หลอดเลือดที่แขนและขาหดตัว เพิ่มไขมันในเส้นเลือด บุหรี่หนึ่งมวนจะมีนิโคติน 0.8-1.8 มิลิกรัม(ค่ามาตรฐานกำหนดไว้ 1 มิลิกรัม) และสำหรับบุหรี่ก้นกรองก็ไม่ได้ทำให้ปริมาณนิโคตินลดลง FROM : http://www.ashthailand.or.th

  11. สารประกอบในบุหรี่(2) • ทาร์หรือน้ำมันดินประกอบด้วยสารหลายชนิด เกาะกันเป็นสีน้ำตาล เป็นสารก่อให้เกิดมะเร็งได้เช่นมะเร็งปอด กล่องเสียง หลอดลม หลอดอาหาร ไต กระเพาะปัสสาวะ และอื่นๆ ซึ่งร้อยละ 50 ของทาร์จะไปจับที่ปอด ทำให้เกิดระคายเคืองอันเป็นสาเหตุของการไอเรื้อรังมีเสมหะ ในคนที่สูบบุหรี่วันละซองจะรับน้ำมันทาร์เข้าไปประมาณ 30มิลิกรัม/มวน หรือ110กรัม/ปี บุหรี่ไทยมีสารทาร์อยู่ระหว่าง 12-24 มิลิกรัม/มวน • คาร์บอนมอนอกไซด์ เป็นก๊าซที่ทำลายคุณสมบัติในการเป็นพาหะนำออกซิเจนของเม็ดเลือดแดง ทำให้เม็ดเลือดแดงไม่สามารถจับออกซิเจนได้เท่าเวลาปกติ เกิดการขาดออกซิเจน ทำให้มึนงง ตัดสินใจช้า เหนื่อยง่าย ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหัวใจ • ไฮโดรเจนไซยาไนด์ เป็นก๊าซพิษที่ทำลายเยื่อบุผิวหลอดลมส่วนต้น ทำให้มีอาการไอเรื้อรัง มีเสมหะเป็นประจำโดยเฉพาะในตอนเช้าจะมีมากขึ้น FROM : http://www.ashthailand.or.th

  12. สารประกอบในบุหรี่(3) • ไนโตรเจนไดออกไซด์ เป็นก๊าซพิษที่ทำลายเยื่อบุหลอดลมส่วนปลาย และถุงลมทำให้ผนังถุงลมบางโป่งพอง ถุงลมเล็กๆหลายอันแตกรวมกันรวมกันเป็นถุงลมใหญ่ ทำให้มีถุงลมจำนวนน้อย การยืดหยุ่นในการหายใจเข้าออกน้อยลง ทำให้เกิดโรคถุงลมโป่งพอง • แอมโมเนีย มีฤทธิ์ระคายเคืองเนื้อเยื่อ ทำให้แสบตา แสบจมูก หลอดลมอักเสบ ไอและมีเสมหะมาก • สารกัมมันตรังสี ควันบุหรี่มีสารโพโลเนียม 210ที่มีรังสีอัลฟาอยู่ เป็นสาเหตุการเกิดโรคมะเร็งปอด และควันบุหรี่ยังเป็นพาหะร้ายแรงในการนำสารกัมมันตรังสี ทำให้ผู้ที่อยู่รอบข้างที่ไม่สูบุหรี่หายใจเอาอากาศที่มีสารพิษนี้เข้าไปด้วย FROM : http://www.ashthailand.or.th

  13. สูบบุหรี่มือสอง • คุณไม่สูบุหรี่แต่คุณก็มีสิทธิ์เป็นโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่หากคุณอยู่ใน สิ่งแวดล้อมที่คนสูบบุหรี่เราเรียกคนที่ได้รับบุหร ี่โดยที่ไม่ได้สูบว่า"สูบบุหรี่มือสอง" • ที่มาของควันบุหรี่มาได้ 2 ทางคือ • ควันที่เกิดจากการเผาบุหรี่หรือซิการ์ • ควันซึ่งเกิดจากหายใจออกของผุ้ที่สูบบุหรี่ • ควันที่ออกมายังมีสารก่อมะเร็งเท่ากับควันที่ก่อนจะถูกสูด • ผู้ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สูบบุหรี่มากและได้ควันบุหรี่มาก จะมีโอกาสเกิดโรคมากด้วย • การสูบบุหรี่นั้นนอกจากจะมีผลต่อผู้สูบโดยตรงแล้วยังทำให้ผู้อื่นในบรรยากาศของควันบุหรี่สูดเอาพิษจาก FROM : http://www.ashthailand.or.th

  14. สูบบุหรี่มือสอง • เด็ก การสูบบุหรี่ของคนในครอบครัวทำให้เด็กป่วยด้วยโรคหลอดลมอักเสบ ปอดบวม หอบหืด หูชั้นกลางอักเสบเพิ่มขึ้น และมีสมรรถภาพปอดแย่กว่าเด็กที่พ่อแม่ไม่สูบบุหรี่ • หญิงมีครรภ์ สูบบุหรี่จะทำให้น้ำหนักตัวขณะตั้งครรภ์เพิ่มน้อยกว่าปกติ และมีโอกาสแท้ง คลอดก่อนกำหนด ตกเลือดระหว่างคลอดและหลังคลอดมากเป็น 2 เท่าของหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่สูบบุหรี่ นอกจากนั้นยังเกิดภาวะรกเกาะต่ำและรกรอกตัวก่อนกำหนดมากขึ้นลูกที่คลอดจากแม่ที่สูบบุหร ี่อาจจะมีน้ำหนักและความยาวน้อยกว่าปกติ พัฒนาการทางสมองช้ากว่าปกติ อาจจะมีความผิดปกติทางระบบประสาท ระบบความจำ FROM : http://www.ashthailand.or.th

  15. สูบบุหรี่มือสอง • คู่สมรสของผู้สูบบุหรี่ มีโอกาสเป็นมะเร็งปอดมากกว่าคู่สมรสที่ไม่สูบบุหรี่ 2 เท่า มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ 3 เท่า และเสียชีวิตเร็วกว่าปกติถึง 4 ปี • คนทั่วไป คนทั่วไปที่ต้องอยู่ในบรรยากาศที่ผู้อื่นสูบบุหรี่ ควันบุหรี่จะทำให้เคืองตา ปวดศีรษะ คัดจมูก น้ำมูกไหล โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการหอบหืด โรคหัวใจ โรคหลอดลมอักเสบ ก็จะทำให้อาการของโรคเพิ่มมากขึ้นสูบบุหรี่มือสองทำให้เกิดมะเร็งปอด FROM : http://www.ashthailand.or.th

  16. สูบบุหรี่มือสอง • การแยกที่สำหรับผู้สูบบุหรี่และไม่สูบบุหรี่สามารถลดปริมาณควันได้แต่ก็ได้รับควัน • การที่เด็กที่เสียชีวิตในขวบปีแรกก็มีความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ของพ่อแม่ • สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่นหอบหืด หลอดลมอักเสบหากได้ควันบุหรี่ก็อาจจะทำให้อาการกำเริบ FROM : http://www.ashthailand.or.th

  17. คำเตือนที่พิมพ์บนซองบุหรี่ที่ขายในประเทศไทยคำเตือนที่พิมพ์บนซองบุหรี่ที่ขายในประเทศไทย • การสูบบุหรี่ทำให้เกิดมะเร็งปอด • การสูบบุหรี่ทำให้เกิดโรคหัวใจ • การสูบบุหรี่ทำให้เกิดโรคถุงลมโป่งพอง • การสูบบุหรี่ทำให้หลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน • การสูบบุหรี่เป็นการตายผ่อนส่ง • การสูบบุหรี่เป็นการติดสิ่งเสพติด • ควันบุหรี่เป็นอันตรายต่อผู้ใกล้ชิด • การเลิกบุหรี่ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคร้าย • ควันบุหรี่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ • การเลิกสูบบุหรี่ทำให้ร่างกายแข็งแกร่งขึ้น คำเตือนเหล่านี้เป็นคำเตือนมาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลก และมีหลักฐานในการเกิดโรคต่าง ๆ ชัดเจน FROM : http://www.ashthailand.or.th

  18. วิธีป้องกันสูบบุหรี่มือสองที่บ้านวิธีป้องกันสูบบุหรี่มือสองที่บ้าน • ให้สมาชิกที่สูบบุหรี่ให้ไปสูบบุหรี่นอกบ้านโดยปรึกษากันถึงผลเสียที่จะเกิดกับเด็ก • ถ้าผู้สูบไม่ยอมออกนอกบ้านให้หาห้องที่ถ่ายเทอากาศดีให้เขาสูบ • ให้เปิดหน้าต่างเพื่อให้อากาศถ่ายเท • สนับสนุนให้เลิกบุหรี่ • ถ้าแขกที่มาเยี่ยมสูบบุหรี่บอกเขาว่าบ้านนี้ปลอดบุหรี่ และอย่ามีจานเขี่ยบุหรี่ไว้ในบ้าน FROM : http://www.ashthailand.or.th

  19. วิธีป้องกันสูบบุหรี่มือสองที่ทำงานวิธีป้องกันสูบบุหรี่มือสองที่ทำงาน • ให้นายจ้างประกาศนโยบายสถานที่ปลอดบุหรี่ • ให้จัดที่ทำงานสำหรับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ และให้ห่างไกลจากผู้ที่สูบบุหรี่ • บอกผู้ที่สูบบุหรี่ให้ไปสูบไกลๆคุณ • ใช้พัดลมหรือเปิดหน้าต่างเพื่อให้อากาศถ่ายเท • ติดป้าย"ขอบคุณที่กรุณาไม่สูบบุหรี่"ไว้ที่ทำงาน FROM : http://www.ashthailand.or.th

  20. วิธีป้องกันสูบบุหรี่มือสองในที่สาธารณะวิธีป้องกันสูบบุหรี่มือสองในที่สาธารณะ • เลือกสถานที่ปลอดบุหรี่ เช่นโรงแรม ร้านอาหาร หรือรถเช่าที่ปลอดบุหรี่ • หากมีผู้ที่สูบบุหรี่ในสถานที่ห้ามสูบให้แจ้งเจ้าหน้าให้จัดการ • ไม่พาเด็กไปในที่ๆมีการสูบบุหรี่ FROM : http://www.ashthailand.or.th

  21. เพดานห้องสูบบุหรี่ smoking area ceiling From : www.funnypictures.net.au

  22. การเลิกสูบบุหรี่ด้วยตัวเองการเลิกสูบบุหรี่ด้วยตัวเอง • เพราะในบุหรี่หรือยาสูบมีสารนิโคติน ซึ่งออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท-สมอง มีฤทธิ์การเสพติดสูงมาก การสูบบุหรี่ทำให้สมอง และระบบประสาทส่วนกลางได้รับสารนิโคตินรวดเร็วมากคือประมาณ 6 วินาที เร็วกว่าการได้รับยาเสพติดอื่นๆ เร็วกว่าการฉีดเฮโรอินเข้าเส้นเลือดเสียอีก • เมื่อสมองและระบบประสาทส่วนกลางได้รับสารนิโคตินอย่างรวดเร็วง่ายดายและฤทธิ์เสพติดของบุหรี่ ทำให้มีความพอใจ มีความอยากบุหรี่เมื่อระดับนิโคตินในเลือดลดต่ำลง • แต่โดยที่การสูบบุหรี่ส่วนหนึ่งเป็นการติดพฤติกรรม หรือความเคยชินต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ที่คุ้นเคยมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง ทำให้ยากต่อการละ-เลิก แต่ก็ไม่ยากเกินความสามารถ หากเราต้องการจะเอาชนะใจตนเองให้ได้ FROM : http://www.ashthailand.or.th

  23. วิธีการเลิกสูบบุหรี่ • การดูแลตัวเอง พร้อมความตั้งใจสูง กำลังใจของผู้ต้องการเลิกบุหรี่เอง และบุคคลรอบข้าง • การให้สุขศึกษา เข้าคลินิกอดบุหรี่ อาจเป็นกลุ่มหรือรายบุคคล • การใช้ยาช่วยระงับ ลด อาการเครียด เช่นยานอนหลับ • การใช้สารนิโคตินทดแทน ในรูปแบบต่างๆเช่นหมากฝรั่ง แผ่นแปะผิวหนังนิโคติน • การฝังเข็มช่วยลดอาการอยาก คลายอาการหงุดหงิด • รับคำปรึกษาจากแพทย์ • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง • การใช้สื่อต่างๆสร้างพลัง-กำลังใจ การรวมกลุ่มโปรแกรมอดบุหรี่สำหรับชุมชน FROM : http://www.ashthailand.or.th

  24. วิธีที่ผู้เลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จแนะนำ(1)วิธีที่ผู้เลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จแนะนำ(1) • เตรียมตัว ตั้งใจแน่วแน่ ว่าต้องเลิกบุหรี่ด้วยตัวเอง เตรียมความพร้อมทังร่างกายและจิตใจ • ให้จดบันทึกเวลาและเหตุผลการสูบบุหรี่ จดเหตุการณ์ที่ทำให้อยากสูบบุหรี่ เช่นการดื่มสุรา กาแฟ สูบขณะขับรถ • เปลี่ยนพฤติกรรม เช่นเก็บบุหรี่ไว้อีกที่หนึ่ง ใช้มืออีกข้างสูบแทน ขณะสูบบุหรี่ไม่ต้องทำอะไรให้นึกว่าทำไมถึงสูบ • ให้สูบนอกอาคาร • เมื่ออยากสูบบุหรี่ให้รอสัก2-3 นาทีคิดเรื่องอื่นเพื่อเปลี่ยนความสนใจหรือเคี้ยวหมากฝรั่งและดื่มน้ำมากๆ FROM : http://www.ashthailand.or.th

  25. วิธีที่ผู้เลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จแนะนำ(2)วิธีที่ผู้เลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จแนะนำ(2) • ซื้อบุหรี่ครั้งละซองและซื้อชนิดที่ไม่เคยสูบ • กำหนดวัน"ปลอดบุหรี่"ของตนเองอาจจะเป็นวันสำคัญทางศาสนา วันเกิดของตนเอง หรือบุตร-ภรรยา ไม่ควรเลือกช่วงที่เครียด ควรหาใครบางคนรับรู้และคอยช่วยเหลือ • แจ้งแก่คนในครอบครัว ที่ทำงาน นายจ้าง เพื่อนสนิท เพื่อนร่วมงาน เพื่อให้กำลังใจเป็นแรงสนับสนุนให้เลิกได้สำเร็จ • เมื่อถึงวันสำคัญ ที่กำหนดแล้วว่า"วันปลอดบุหรี่"ให้หยุดเลย • ทิ้งบุหรี่และอุปกรณ์ทั้งหมด เพื่อไม่ให้สิ่งเหล่านั้นมากระตุ้นให้อยากบุหรี่อีก • เปลี่ยนพฤติกรรม เช่นไม่ดื่มกาแฟ • ให้งดสุรา กาแฟ อาหารรสจัด ละเว้นการรับประทานอาหารให้อิ่มจนเกินไป FROM : http://www.ashthailand.or.th

  26. วิธีที่ผู้เลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จแนะนำ(3)วิธีที่ผู้เลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จแนะนำ(3) • ไม่ควรนั่งที่โต๊ะอาหารนานเกินไป เพราะหลังอาหารทุกมื้อจะอยากบุหรี่อีก • ควรดื่มน้ำผลไม้ เช่นน้ำส้ม น้ำมะนาว เพราะความเป็นกรดจะชะล้างนิโคตินออกไป • เมื่ออยากสูบบุหรี่ให้หางานอย่างอื่นทำ เคียวหมากฝรั่ง หรือไปในที่ๆสูบบุหรี่ไม่ได้ เช่นโรงหนัง รถเมล์ ขี่จักรยาน เดินเล่น โทรคุยกับเพื่อน • ให้รางวัลตัวเองเมื่ออดบุหรี่ได้โดยไปดูหนัง • เมื่อเริ่มเลิกบุหรี่ได้แล้ว • ในช่วงแรกที่อดบุหรี่อาจจะรู้สึกหงุดหงิด ให้สูดหายใจเข้าออกลึกๆ ดื่มน้ำมากๆเพื่อลดความอยากหรืออาจจะอาบน้ำถ้าเป็นไปได้ • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หางานอดิเรกทำเพื่อคลายเครียด เพราะส่วนใหญ่หลังเลิกบุหรี่ น้ำหนักตัวจะเพิ่มขึ้น การออกกำลังกาย การควบคุมอาหาร อดอาหารหวาน ลดอาหารไขมัน จะเป็นการคุมน้ำหนักได้อีกทางหนึ่ง • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ทำประจำตอนสูบบุหรี่ เลี่ยงสถานการณ์ สถานที่ที่เคยสูบบุหรี่เป็นประจำ FROM : http://www.ashthailand.or.th

  27. เมื่อเริ่มเลิกบุหรี่ได้แล้ว(1)เมื่อเริ่มเลิกบุหรี่ได้แล้ว(1) • ในช่วงแรกที่อดบุหรี่อาจจะรู้สึกหงุดหงิด ให้สูดหายใจเข้าออกลึกๆ ดื่มน้ำมากๆเพื่อลดความอยากหรืออาจจะอาบน้ำถ้าเป็นไปได้ • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หางานอดิเรกทำเพื่อคลายเครียด เพราะส่วนใหญ่หลังเลิกบุหรี่ น้ำหนักตัวจะเพิ่มขึ้น การออกกำลังกาย การควบคุมอาหาร อดอาหารหวาน ลดอาหารไขมัน จะเป็นการคุมน้ำหนักได้อีกทางหนึ่ง • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ทำประจำตอนสูบบุหรี่ เลี่ยงสถานการณ์ สถานที่ที่เคยสูบบุหรี่เป็นประจำ FROM : http://www.ashthailand.or.th

  28. เมื่อเริ่มเลิกบุหรี่ได้แล้ว(2)เมื่อเริ่มเลิกบุหรี่ได้แล้ว(2) • ฝึกปฏิเสธ ซ้อมพูดกับตัวเอง เพื่อนฝูง"ไม่ครับ" "ผมไม่สูบ""นายแน่มากที่เลิกสูบบุหรี่ได้" • ให้นึกถึงสิ่งที่ดีๆเมื่ออดบุหรี่ได้ • เมื่อเกิดความเครียดหรือปัญหาให้หาทางแก้ไขและบอกตัวเองว่าบุหรี่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อีกต่อไปแล้ว • หยอดกระปุกให้ลูกเมื่อไม่ได้สูบบุหรี่ • หากท่านล้มเหลวครั้งแรกให้พยายามใหม่ มีหลายคนที่สามารถประสบผลสำเร็จเมื่อมีความพยายาม • บอกเพื่อนร่วมงานหรือครับครัวว่า ห้ามสูบบุหรี่ใกล้ตัว ห้ามหยิบยื่นบุหรี่ ห้ามทิ้งบุหรี่ไว้ให้เห็น ห้ามชักชวนให้สูบบุหรี่ • ปิดประกาศหน้าห้องว่า"เขตปลอดบุหรี่" • ใช้เวลาส่วนใหญ่ในที่ๆสูบบุหรี่ไม่ได้ • หลีกเลี่ยงกาแฟ สุรา อาหารรสจัด FROM : http://www.ashthailand.or.th

  29. อาการที่เกิดขึ้นจากการอดบุหรี่ และวิธีแก้ไข(1) • หงุดหงิด งุ่นง่าน อยากสูบบุหรี่จนแทบคุมไม่ได้เพราะร่างกายคุณติดนิโคติน และนี่เองเป็นสาเหตุให้คุณอยากสูบบุหรี่ การแก้ไข • ดื่มน้ำให้มากที่สุด ดื่มบ่อยๆเพื่อชำระนิโคตินออกจากร่างกายให้หมดไปให้เร็วที่สุด • ออกกำลังกาย เช่นเดินเร็วๆ ปั่นจักรยาน เพื่อช่วยผ่อนคลาย เหงื่อจะช่วยขับนิโคตินออกไป • อาบน้ำอุ่น และถูตัวด้วยผ้าขนหนูให้ทั่วตัวจะทำให้ผ่อนคลายได้ดี • พูดคุยกับคนข้างเคียงที่คุ้นเคย เพื่อระบายความหงุดหงิดออกไปบ้าง • งดเว้นอาหารจากเนื้อสัตว์ อาหารติดมัน และอาหารรสจัดต่างๆ FROM : http://www.ashthailand.or.th

  30. อาการที่เกิดขึ้นจากการอดบุหรี่ และวิธีแก้ไข(2) 2. ง่วง กระสับกระส่าย ไม่มีสมาธิในการใช้ความคิด การแก้ไข • นอนหลับ หรือนั่งเพื่อผ่อนคลายในห้องที่เงียบๆ ฟังเพลงเบาๆผ่อนความรู้สึกสับสนออกไป • งดเว้นงานที่ต้องใช้ความคิดมากๆ • พักร้อนหรือลาครึ่งวันเพื่อพักผ่อน • ดื่มนมอุ่นๆ FROM : http://www.ashthailand.or.th

  31. อาการที่เกิดขึ้นจากการอดบุหรี่ และวิธีแก้ไข(3) 3 . โกรธ ขุ่นเคืองง่าย การแก้ไข • อดทนกับอารมณ์ของตัวเอง บอกคนข้างเคียงให้ทราบ และขอร้องให้อดทน เข้าใจคุณ • แสดงออกในทางสร้างสรรค์ เช่นเต้นรำ เล่นกีฬา ออกกำลังกาย • ถ้าทนไม่ไหวให้ทุบหมอน ชกหมอน เข้าห้องน้ำตะโกนก็ช่วยได้ • เขียนระบายความรู้สึกในสมุดบันทึก • คุยปัญหากับเพื่อนสนิท FROM : http://www.ashthailand.or.th

  32. อาการที่เกิดขึ้นจากการอดบุหรี่ และวิธีแก้ไข(3) 4 . หมดแรง ปวดศีรษะ ไอมีเสมหะ เจ็บคอ หายใจผิดปกติ บุหรี่เป็นตัวกระตุ้น เมื่อไม่ได้สูบทำให้หมดแรงเป็นธรรมดา วิธีแก้ไข • หากิจกรรมที่กระตุ้นความรู้สึกมีชีวิตชีวาขึ้น เช่นออกกำลังกาย เต้นรำ • พักผ่อนด้วยวิธีการนอนหรือออกไปสูดอากาศธรรมชาติ • ดื่มน้ำอุ่น หรือน้ำผลไม้จะช่วยให้ชุ่มคอ • รับประทานยาแก้ปวด อาการทางกายเหล่านี้เป็นการเปลี่ยนแปลงทางเคมีเพื่อปรับตัวสู่ภาวะปกติเท่านั้น อย่าตกใจ อาการจะเป็นชั่วคราวประมาณ 72 ชั่วโมงเท่านั้น FROM : http://www.ashthailand.or.th

  33. ฝึกใช้สุนัขตรวจ มะเร็งปอด-เต้านม • คณะนักวิจัยสังกัดมูลนิธิไพน์สตรีท ในเมืองซานอันเซลโม รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ กำลังคิดค้นวิธีตรวจมะเร็งระยะแรกแนวใหม่ เพราะทำโดยการนำ "สุนัข" มาดมกลิ่นลมหายใจของมนุษย์ เพื่อตรวจดูว่ามี "สารเคมี" ผิดปกติที่เป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงโรคมะเร็งปนเปื้อนอยู่หรือไม่ • สุนัขที่ทีมวิจัยนำมา "ฝึก" ดมกลิ่นความผิดปกติดังกล่าวมี 2 สายพันธุ์ นั่นคือ "ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์" ซึ่งเป็นสายพันธุ์สุนัขที่ตำรวจนิยมนำมาฝึกใช้ดมค้นหายาเสพติดและระเบิด กับ "โปรตุกีส วอเทอร์ด๊อก" สุนัขท้องถิ่นของโปรตุเกส http://www.tlcthai.com/webboard/view_topic.php?table_id=1&cate_id=4&post_id=19287

  34. ฝึกใช้สุนัขตรวจ มะเร็งปอด-เต้านม • ทีมวิจัยอธิบายถึงวิธีการทดลองครั้งนี้ว่า ในลมหายใจของผู้ป่วยโรค "มะเร็งเต้านม" และ "มะเร็งปอด" จะมีสารอนุพันธ์ "แอลเคน" รวมทั้ง "เบนซีน" เจือปนอยู่มากกว่าคนปกติ • ดังนั้น ทีมวิจัยจึงนำลาบราดอร์ 3 ตัว และโปรตุกีส วอเทอร์ด๊อกอีก 2 ตัว มาฝึกดมกลิ่นแยกแยะสาร 2 ตัวนี้จากลมหายใจของผู้ป่วยมะเร็งทั้ง 2 ชนิด ซึ่งเป่าเก็บเอาไว้ในหลอดทดลอง •  ผลการทดลองเบื้องต้นพบว่า จากจำนวนผู้ป่วยมะเร็งเต้านม 31 คน สุนัขสามารถดมกลิ่นลมหายใจและชี้ตัวผู้ป่วยถูกต้องร้อยละ 88 ส่วนผู้ป่วยมะเร็งปอด ชี้ตัวถูกต้องถึงร้อยละ 99 • การวิจัยครั้งนี้ต้องใช้เวลาต่อไปอีกระยะ ในอนาคตอาจใช้เป็นหนึ่งในวิธีการตรวจหามะเร็งในระยะเริ่มต้น ควบคู่ไปกับเทคโนโลยีทางการแพทย์ประเภทอื่นๆ http://www.tlcthai.com/webboard/view_topic.php?table_id=1&cate_id=4&post_id=19287

  35. สรุปบทบาทของผู้ตรวจประเมิน-สภาเทคนิคการแพทย์ต่อการรณรงค์ลดการสูบบุหรี่ในบุคลากรทางห้องปฏิบัติการสรุปบทบาทของผู้ตรวจประเมิน-สภาเทคนิคการแพทย์ต่อการรณรงค์ลดการสูบบุหรี่ในบุคลากรทางห้องปฏิบัติการ • เป็นบุคลากรต้นแบบ “ไม่สูบบุหรี่” • เผยแพร่สื่อความรู้ที่เกี่ยวข้องกับพิษภัยบุหรี่ ร่วมสนับสนุน โครงการเผยแพร่องค์ความรู้จากงานวิจัยและบทความวิชาการการควบคุมการบริโภคยาสูบที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ ให้กับบุคลากรทางห้องปฏิบัติการที่ไปตรวจประเมิน • สนับสนุนให้ห้องปฏิบัติการ จัดสถานที่เป็นเขตปลอดบุหรี่ 100%

  36. NO Thank You !

More Related