1 / 63

ฝ่ายทะเบียนประวัติและบำเหน็จความชอบ

ฝ่ายทะเบียนประวัติและบำเหน็จความชอบ. กองการเจ้าหน้าที่ กรมอนามัย. 2 กรกฎาคม 2552 ณ โรงแรมเอบีน่าเฮ้าส์. ฝ่ายทะเบียนประวัติและบำเหน็จความชอบ. งานทะเบียนประวัติ ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ เกษียณอายุราชการ บำเหน็จ บำนาญ กบข. กสจ. การลาตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี การออกบัตรประจำตัวข้าราชการ

von
Télécharger la présentation

ฝ่ายทะเบียนประวัติและบำเหน็จความชอบ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ฝ่ายทะเบียนประวัติและบำเหน็จความชอบฝ่ายทะเบียนประวัติและบำเหน็จความชอบ กองการเจ้าหน้าที่ กรมอนามัย 2 กรกฎาคม 2552 ณ โรงแรมเอบีน่าเฮ้าส์

  2. ฝ่ายทะเบียนประวัติและบำเหน็จความชอบฝ่ายทะเบียนประวัติและบำเหน็จความชอบ • งานทะเบียนประวัติ ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ • เกษียณอายุราชการ บำเหน็จ บำนาญ กบข. กสจ. • การลาตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี • การออกบัตรประจำตัวข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างประจำ • งานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ • งานเลื่อนเงินเดือน และค่าจ้าง เงินรางวัล งบประมาณ งบบุคลากร (ข้าราชการและลูกจ้างประจำ) • งานพัฒนาระบบข้อมูลและสารสนเทศ (DPIS 4)

  3. ฝ่ายทะเบียนประวัติและบำเหน็จความชอบฝ่ายทะเบียนประวัติและบำเหน็จความชอบ นางรัตนา ฤทธิ์เดช นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการพิเศษ หัวหน้าฝ่าย งานเงินเดือน และค่าจ้างประจำ /งบประมาณ งบบุคลากร (ข้าราชการและลูกจ้าง) และข้อมูลการจัดสรรเงินรางวัล งานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ งานทะเบียนประวัติ งานระบบข้อมูล DPIS น.ส.อรุณี ลวะเปารยะ นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ น.ส.นงคราญ ช้างสี นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ นางวิไล เกิดทองเล็ก นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ น.ส.วาสนา สงวนหมู่ นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ น.ส.ประภาภัทร อัมรี นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ น.ส.พเยาว์ ป้อมแก้ว พนักงานพิมพ์ดีดชั้น 4 น.ส.สุดาภรณ์ เรืองสุคนธ์ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน น.ส.วาสนา สงวนหมู่ นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ นายพีระพงษ์ โกสัยสุก พนักงานพิมพ์ดีดชั้น 3 น.ส.ณัฐธญาณ์ แลบัว พนักงานพิมพ์ดีดชั้น 3 นางประเสริฐ นันทิวัฒน์ ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่อนามัย น.ส.ธนพร แจ่มพึ่ง พนักงานพิมพ์ดีดชั้น 3 หมายเหตุ รับผิดชอบงานร่วมกัน

  4. ฝ่ายทะเบียนประวัติและบำเหน็จความชอบฝ่ายทะเบียนประวัติและบำเหน็จความชอบ งานเงินเดือนและค่าจ้างประจำ /งบประมาณ งบบุคลากร (ข้าราชการ ลูกจ้าง) และข้อมูลการจัดสรรเงินรางวัล งานทะเบียนประวัติ งานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ งานระบบข้อมูล DPIS • จัดทำทะเบียนประวัติของข้าราชการ และลูกจ้างประจำ • บำเหน็จบำนาญ • กองทุน กบข. กสจ. • เกษียณอายุข้าราชการ ลูกจ้างประจำ • ดำเนินการเรื่องการลาตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี • การออกบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ • บันทึกและแก้ไขข้อมูลโครงการจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาล • บันทึกข้อมูลโครงการจ่ายตรงเงินเดือน • การขอ/คืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ • การขอพระราชทานเพลิงศพ • การบันทึกข้อมูลบุคคลลงในระบบ DPIS • การเลื่อนเงินเดือนข้าราชการ และเลื่อนขั้นค่าจ้างลูกจ้างประจำ • จัดทำงบประมาณ งบบุคลากร (ข้าราชการและลูกจ้างประจำ) • จัดทำข้อมูลการจัดสรรเงินรางวัล

  5. สำหรับระบบบำเหน็จบำนาญข้าราชการของไทยในอดีตนั้น ข้าราชการและขุนนางจะรับราชการจนสิ้นอายุไม่มีกฎหมายให้ปลดชราหรือเกษียณอายุ โดยเฉพาะในสมัยก่อนข้าราชการจะเป็นทั้งข้าราชการพลเรือนและทหารไปด้วยกันและส่วนใหญ่จะต้องออกไปราชการสงครามซึ่งอาจจะเสียชีวิตไปก่อนถึงวัยชรา ซึ่งในสมัยก่อนยังไม่มีระบบบำเหน็จบำนาญ การบำเหน็จความชอบก็เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย

  6. ประวัติและความเป็นมา ระบบบำเหน็จบำนาญในประเทศ เริ่มขึ้นตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้แนวความคิดการเกษียณอายุมาจากประเทศอังกฤษได้ตราเป็นพระราชบัญญัติเบี้ยบำนาญ เป็นกฎหมายฉบับแรกที่วางหลักเกณฑ์ของเบี้ยบำนาญ

  7. ภายหลังได้มีการยกเลิกพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้วให้ตราเป็นพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญฝ่ายพลเรือน โดยแยกข้าราชการพลเรือนและทหารเป็นกฎหมายคนละฉบับกันพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญ พ.ศ.2482 ถูกยกเลิกโดย พ.ศ. 2494 ซึ่งเป็นพระราชบัญญัติที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ เป็นกฎหมายที่วางหลักเกณฑ์บำเหน็จบำนาญข้าราชการที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน โดยใช้บังคับทั้งข้าราชการทหารและพลเรือน

  8. บำเหน็จ คือเงินรางวัลค่าเหนื่อย ค่าความชอบเป็นพิเศษ เช่นปูนบำเหน็จ ตามกฎหมายคือ เงินตอบแทนความชอบที่ได้รับราชการมา ซึ่งจ่ายครั้งเดียวเมื่อออกจากราชการ

  9. บำนาญ คือเงินตอบแทนความชอบที่ได้รับราชการหรือทำงานเป็นเวลานาน ซึ่งจ่ายเป็นรายเดือนจนตลอดชีวิต คือหมายถึงเงินตอบแทนที่ข้าราชการได้รับเมื่อออกจากงาน โดยอาจได้รับครั้งเดียวเป็นเงินก้อน เรียกว่าบำเหน็จ แต่กรณีที่รับเป็นรายเดือนจะเรียกว่าบำนาญ

  10. จากความหมายของบำเหน็จบำนาญ ดังกล่าว ระบบบำเหน็จบำนาญ จึงหมายถึงระบบที่ประกันรายได้ให้แก่ ข้าราชการหรือลูกจ้าง โดยนายจ้างคือรัฐ จะจ่ายเงินรางวัลหรือเงิน ตอบแทนความชอบที่รับราชการให้ข้าราชการ หรือลูกจ้าง เมื่อข้าราชการออกจากงาน

  11. บำเหน็จบำนาญข้าราชการบำเหน็จบำนาญข้าราชการ บำเหน็จ หมายถึง เงินตอบแทนความชอบที่ได้รับราชการมา ซึ่งจ่ายเป็นเงินก้อนครั้งเดียว บำนาญ หมายถึง เงินตอบแทนความชอบที่ได้รับราชการมา ซึ่งจ่ายเป็นรายเดือนจนกว่าจะถึงแก่กรรม ประเภทของบำเหน็จบำนาญ มี 4 ประเภท คือ 1. บำเหน็จบำนาญปกติ 2. บำนาญพิเศษ 3. บำเหน็จดำรงชีพ 4. บำเหน็จตกทอด

  12. บำเหน็จ บำนาญปกติมี 4 เหตุ คือ 1.เลิกหรือยุบตำแหน่ง 2.ทางราชการมีคำสั่งให้ออกโดยไม่มีความผิด 1.เหตุทดแทน 2.เหตุทุพพลภาพ ข้าราชการที่เจ็บป่วยทุพพลภาพซึ่งแพทย์ที่ทางราชการรับรอง 3.เหตุสูงอายุ ลาออกเมื่ออายุครบ 50 ปีบริบูรณ์หรือมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ 4.เหตุรับราชการนาน มีเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญครบ 25 ปี บริบูรณ์ - กรณีผู้มีเวลาราชการครบ 10 ปี แต่ไม่ถึง 25 ปี ประสงค์จะลาออกจากราชการและไม่เข้าเกณฑ์ 4 เหตุดังกล่าว ให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จ - ผู้ที่ถูกปลดออกจากราชการมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนลาออกจากราชการ * มีเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบาญ 10 ปีขึ้นไป แต่ไม่ถึง 25 ปีให้ได้รับบำเหน็จ * มีเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญ 25 ปี ให้ได้รับบำนาญ หรือจะเลือกรับบำเหน็จก็ได้

  13. วิธีการคำนวณบำเหน็จบำนาญปกติวิธีการคำนวณบำเหน็จบำนาญปกติ บำเหน็จ = เงินเดือนเดือนสุดท้าย x จำนวนเวลาราชการ บำนาญ =เงินเดือนเดือนสุดท้าย x จำนวนเวลาราชการ 50

  14. บำนาญพิเศษ หมายถึง เงินที่รัฐจ่ายให้เป็นรายเดือนแก่ข้าราชการ ซึ่งได้รับอันตรายจนพิการ หรือป่วยเจ็บทุพพลภาพ จนไม่สามารถรับราชการต่อไปได้ หรือจ่ายให้แก่ทายาทของบุคคลดังกล่าว

  15. บำเหน็จดำรงชีพ ผู้มีสิทธิรับเงิน คือ ผู้ที่รับเงินบำเหน็จบำนาญเท่านั้น โดยจะได้รับบำหน็จดำรงชีพ ขอรับได้ 15 เท่าของบำนาญรายเดือน ไม่เกิน 2แสนบาท อายุ 65 ปีบริบูรณ์ ขอรับในส่วนที่เกิน 2 แสนบาท ได้อีกแต่ไม่เกิน 4 แสนบาท บำเหน็จตกทอด แบ่งเป็น 2 ประเภท 1.บำเหน็จตกทอดกรณีข้าราชการประจำตาย 2. บำเหน็จตกทอดกรณีผู้รับบำนาญตาย จ่าย 30 เท่าของบำนาญรายเดือนที่รับ

  16. ผู้มีสิทธิได้รับบำเหน็จตกทอดผู้มีสิทธิได้รับบำเหน็จตกทอด 1. บุตร ให้ได้รับ 2 ส่วน ถ้าผู้ตายมีบุตรตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ให้ได้รับ 3 ส่วน 2. สามี หรือภรรยา ให้ได้รับ 1 ส่วน 3. บิดา มารดา หรือบิดา หรือมารดา ที่มีชีวิตอยู่ให้ได้รับ 1 ส่วน กรณีพิจารณาจ่ายบำเหน็จตกทอดให้พิจารณาตามข้อ 1-3 ก่อน หากไม่มีทายาทตามข้อ 1-3 ถึงจะพิจารณาถึงข้อ 4 4. บุคคลซึ่งผู้ตายแสดงเจตนาให้เป็นผู้รับบำเหน็จตกทอด ตามแบบและวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด

  17. วิธีคำนวณบำเหน็จตกทอดวิธีคำนวณบำเหน็จตกทอด 1. กรณีข้าราชการประจำตายสูตรคำนวณ บำเหน็จตกทอด = เงินเดือนเดือนสุดท้าย x จำนวนเวลาราชการ2. กรณีผู้รับบำนาญตายสูตรคำนวณ บำเหน็จตกทอด = บำนาญรายเดือน x 30

  18. บำเหน็จลูกจ้าง มี 2 ประเภท บำเหน็จปกติ คือ เงินที่จ่ายให้ลูกจ้างประจำ เมื่อออกจากงานหรือตายโดยจ่ายเป็นเงิน ก้อนครั้งเดียว บำเหน็จพิเศษ คือ เงินที่จ่ายเป็นเงินก้อนครั้งเดียวให้ 1.ลูกจ้างประจำ/ลูกจ้างชั่วคราวที่ได้รับ อันตราย/ป่วยเจ็บเพราะการปฏิบัติหน้าที่ 2.ทายาทของลูกจ้างประจำหรือลูกจ้างชั่วคราว ที่ป่วย/เจ็บจากการปฏิบัติหน้าที่ วิธีคำนวณบำเหน็จปกติ บำเหน็จปกติลูกจ้างประจำ =อัตราค่าจ้างเดือนสุดท้าย x จำนวนเดือนที่ทำงาน 12 หมายเหตุ เศษของบาทปัดทิ้ง การนับเวลาทำงานให้นับเป็นจำนวนเดือน สำหรับจำนวนเดือนถ้า มีหลายช่วงให้รวมกันแล้วนับสามสิบวันเป็นหนึ่งเดือน เศษของเดือน ถ้าถึง 15 วัน ให้นับเป็นหนึ่งเดือน

  19. กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กบข. กบข. จัดตั้งตามพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 ซึ่งมีผลบังคับใช้วันที่ 27 มีนาคม 2540 สมาชิก กบข.ข้าราชการซึ่งรับราชการอยู่ก่อนวันที่ 27 มีนาคม 2540 และสมัครเป็นสมาชิก กบข. ข้าราชการซึ่งบรรจุหรือย้ายโอนมาเป็นข้าราชการภายหลังวันที่ 27 มีนาคม 2540 จะต้องเป็นสมาชิก กบข.ทุกคน สมาชิกไม่สามารถลาออกจากกบข.ในขณะที่ยังรับราชการอยู่ แต่จะพ้นจากสมาชิกภาพ ก็ต่อเมื่อสมาชิกออกจากราชการไม่ว่ากรณีใด ๆ

  20. ยอดเงินประเภทต่าง ๆ เงินบำเหน็จ คือเงินที่รัฐจ่ายให้แก่สมาชิกเพียงครั้งเดีย เมื่อสมาชิกพ้นจากสมาชิกภาพและมีเวลาราชการ 10 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป หรือออกจากราชการด้วยเหตุสูงอายุ เหตุทุพพลภาพ เหตุทดแทนและมีเวลาราชการ 1 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป เงินบำนาญ คือ เงินที่รัฐจ่ายให้แก่สมาชิกเป็นายเดือน เมื่อสมาชิกพ้นจากสมาชิกภาพและมีเวลาราชการ 25 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป หรือลาออกจากราชการด้วยเหตุสูงอายุ เหตุทุพพลภาพ เหตุทดแทนและมีเวลาราชการ 10 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป เงินประเดิม คือ เงินที่รัฐจ่ายให้สมาชิกที่รับราชการอยู่ก่อนวันที่ 27 มี.ค.2540 โดยเงินประเดิมจะจ่ายให้แก่สมาชิกที่ออกจากราชการ ซึ่งมีสิทธิรับและเลือกรับบำนาญเท่านั้น

  21. ยอดเงินประเภทต่าง ๆ เงินสะสม คือ เงินที่สมาชิกจ่ายสะสมเข้ากองทุนตาม ในอัตราร้อยละ 3 ของเงินเดือนเป็นประจำทุกเดือน เงินสมทบ คือ เงินที่รัฐบาลจ่ายสมทบเข้ากองทุนให้สำหรับสมาชิกที่สะสมเงิน ในอัตราร้อยละ 3 ของเงินเดือนทุกเดือน เงินชดเชย คือ เงินที่รัฐบาลจ่ายให้สมาชิกในอัตราร้อยละ 2 ของเงินเดือนทุกเดือน โดยเงินชดเชยจะจ่ายให้แก่สมาชิกที่ออกจากราชการ ซึ่งมีสิทธิรับและเลือกรับบำนาญเท่านั้น

  22. สิทธิการเลือกขอรับเงินจากกองทุนบำเหน็บำนาญข้าราชการสิทธิการเลือกขอรับเงินจากกองทุนบำเหน็บำนาญข้าราชการ สมาชิกที่สิ้นสุดสมาชิกภาพเนื่องจากออกจากราชการ มีสิทธิเลือกดังนี้ 1. ขอรับเงินที่มีสิทธิได้รับทั้งจำนวน 2. ขอโอนเงินที่มีสิทธิได้รับไปยังกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการออกจากงานหรือการชราภาพ 3. ขอฝากเงินที่มีสิทธิได้รับให้กองทุนบริหารต่อ 4. ขอทยอยรับเงินที่มีสิทธิได้รับ 5. ขอรับเงินที่มีสิทธิได้รับบางส่วน ส่วนที่เหลือขอทยอยรับ • ในการขอใช้สิทธิเลือกตามข้อ 3 และ 4 ต้องมียอดเงินในบัญชีไม่ต่ำกว่า 35,000 บาท ณ วันที่ยื่นคำขอ • ในการขอใช้สิทธิเลือกตามข้อ 5 ต้องมียอดเงินส่วนที่เหลือขอทยอยรับในบัญชีไม่ต่ำกว่า 35,000 บาท ณ วันที่ยื่นคำขอ • การขอทยอยรับ ต้องรับเป็นรายงวด ๆ ละเท่า ๆ กัน อาจเลือกรับเป็นราย 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี ก็ได้ แต่ต้องมีจำนวนเงินขั้นต่ำรายงวดไม่ต่ำกว่างวดละ 3,000 บาท • ให้ผู้ขอใช้สิทธิเลือกตามข้อ 3-5 แจ้งความประสงค์ตามแบบที่เลขาธิการกำหนด

  23. การคำนวณบำเหน็จบำนาญ ตาม พรบ.กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 สมาชิก กบข. การคำนวณเวลาราชการ ตัวอย่าง เวลาราชการ+ปกติเวลาราชการทวีคูณ 37 ปี 5 เดือน 26 วัน เป็นเวลา 37+ 5+ 26= 37+0.42+0.07=37.49 ปี 12 360 การคำนวณบำเหน็จ กบข. = เงินเดือนเดือนสุดท้าย x เวลาราชการ ตัวอย่าง 21,970 x 37.49 = 823,655.30 บาท การคำนวณบำนาญ กบข. เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย x เวลาราชการ 50 ตัวอย่าง18,423x 37.49 = 13,813 บาท 50 ไม่เกิน70% ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย 18,423x70= 12,896.10 บาท 100 จะได้รับบำนาญจำนวน 12,896 บาท 10 สตางค์

  24. การคำนวณเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย กรณีเลื่อนระดับ ตัวอย่าง ข้าราชการได้เลื่อนระดับและปรับอัตราเงินเดือน จากระดับ 7 อัตราเงินเดือน 31,650 บาท เป็นระดับ 8 อัตราเงินเดือน 32,160 บาทเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2547 เกษียณอายุ 1 ตุลาคม 2550

  25. ตัวอย่าง การคำนวณเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือน สุดท้าย กรณีเกษียณอายุ เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย =ยอดรวม (บาท) หาร 60 สูตร =เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย x เวลาราชการ= อัตราบำนาญ หาร 50 (ไม่เกิน 70%ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย) บำเหน็จดำรงชีพ = อัตราบำนาญ x 15 (ไม่เกิน 2 แสนบาท) หมายเหตุ เงินเดือนในวันที่ 1 ก.ย. 2552 – 30 ก.ย. 2552 เป็นเงินเดือนซึ่งเลื่อนให้เพื่อประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญกรณีเกษียณอายุเท่านั้น

  26. ตัวอย่างวิธีการคำนวณบำเหน็จบำนาญเว็บไซต์กรมบัญชีกลางwww.cgd.go.thเมนูทดลองคำนวณบำเหน็จบำนาญ(ต่อ)ตัวอย่างวิธีการคำนวณบำเหน็จบำนาญเว็บไซต์กรมบัญชีกลางwww.cgd.go.thเมนูทดลองคำนวณบำเหน็จบำนาญ(ต่อ)

  27. ตัวอย่างวิธีการคำนวณบำเหน็จบำนาญ เว็บไซต์กรมบัญชีกลางwww.cgd.go.thเมนูทดลองคำนวณบำเหน็จบำนาญ * รายละเอียดการคำนวณเป็นเพียงตัวอย่างเบื้องต้น

  28. การเกษียณอายุ คือ การที่ข้าราชการต้องพ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการเป็นการออกจากราชการโดยผลของกฎหมาย ซึ่งปัจจุบันข้าราชการที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์แล้ว จะต้องพ้นจากราชการ เมื่อสิ้นปีงบประมาณที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ดังนั้น วันที่พ้นจากราชการเพราะเกษียณอายุคือวันที่ 1 ตุลาคม วันสุดท้ายที่อยู่ในราชการคือ วันที่ 30 กันยายน ซึ่งเป็นวันสิ้นปีงบประมาณ * การนับอายุบุคคลในปัจจุบัน ให้นับอายุบุคคลเริ่มนับตั้งแต่วันเกิด ดังนั้นผู้ที่เกิดในวันที่ 1 ตุลาคม จะมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ในวันที่ 30 กันยายน และจะต้องพ้นจากราชการเพราะครบเกษียณอายุในวันรุ่งขึ้นคือ 1 ตุลาคม ไม่มีโอกาสได้รับราชการต่อไปอีก 1 ปี ** สำหรับผู้ที่เกิดในวันที่ 2-31 ตุลาคม, เดือนพฤศจิกายน- ธันวาคม จะได้บวกอีก 1 ปี ** *วัน เดือน ปีเกิด ที่ลงไว้ใน ก.พ.7 ใช้เป็นหลักฐานในการคำนวณและควบคุมเกษียณอายุ

  29. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สำหรับลูกจ้างประจำของส่วนราชการ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว (กสจ.) - การสมัครเป็นสมาชิกต้องเป็นลูกจ้างประจำของส่วนราชการที่เบิกจ่ายจากเงินงบประมาณ “หมวดค่าจ้าง” - การยื่นใบสมัครไม่มีกำหนดเวลา ยื่นเมื่อไหร่ก็ได้ - ต้องนำส่งเงินสะสม เงินสมทบ ในอัตราร้อยละ 3 - ประโยชน์ของการเป็นสมาชิก เมื่อออกจากราชการจะได้รับเงินก้อนจากกองทุน (เงินสะสม + เงินสมทบ + เงินผลประโยชน์) นอกเหนือจากบำเหน็จปกติซึ่งรับตามสิทธิอยู่แล้ว

  30. การลาตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการการลาตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2535 (การนับวันลาให้นับตามปีงบประมาณ) ประเภทการลา การลาป่วย การลาคลอดบุตร การลากิจส่วนตัว การลาพักผ่อน การลาอุปสมบท การลาศึกษาฯ การลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ การลาเข้ารับการตรวจเลือกฯ การลาติดตามคู่สมรส

  31. การลาป่วย การยื่นใบลาป่วย ให้เสนอต่อผู้บังคับบัญชาก่อนหรือในวันที่ลา เว้นแต่กรณีจำเป็น ให้ยื่นในวันแรกที่มาปฏิบัติราชการก็ได้ การยื่นใบลาป่วย การลาป่วยตั้งแต่ 30 วันขึ้นไป ต้องมีใบรับรองแพทย์ การลาป่วยไม่ถึง 30 วัน ไม่ว่าจะเป็นการลาครั้งเดียว หรือหลายครั้งติดต่อกัน ผู้มีอำนาจอนุญาตจะสั่งให้มีใบรับรองแพทย์ประกอบใบลา หรือสั่งให้ไปรับการตรวจจากแพทย์เพื่อประกอบการพิจารณาอนุญาตก็ได้ ใบรับรองแพทย์ สิทธิการลา ลาป่วย 60-120 วันทำการ โดยได้รับอนุญาต จากอธิบดี และได้รับเงินเดือนระหว่างลา ผู้มีอำนาจการอนุญาต ดูระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาฯ พ.ศ. 2535

  32. การลาคลอดบุตร การยื่นใบลา ให้เสนอต่อผู้บังคับบัญชาก่อนหรือในวันที่ลา และมีสิทธิลาคลอดบุตรครั้งหนึ่งได้ 90 วัน (นับวันหยุดราชการรวมด้วย) ไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์ และได้รับเงินเดือนระหว่างลาคลอดบุตร 90 วัน (ผอ.กอง/ศูนย์) มีอำนาจพิจารณาหรืออนุญาตการลา การยื่น ใบลาคลอดบุตร หากได้รับอนุญาตให้ลาคลอดบุตรแล้ว และได้หยุดราชการไปแล้วแต่ไม่ได้ คลอดบุตรตามกำหนด สามารขอถอนวันลาคลอดที่หยุดไปได้ และให้ถือว่า วันที่ได้หยุดราชการไปแล้วเป็นวันลากิจส่วนตัว การลาคลอดบุตรคาบเกี่ยวกับการลาประเภทใด ซึ่งยังไม่ครบกำหนดวันลา ของการลาประเภทนั้น ให้ถือว่าการลาประเภทนั้นสิ้นสุดลงและให้นับเป็นการ ลาคลอดบุตรตั้งแต่วันเริ่มวันลาคลอด เช่น อยู่ระหว่างลาศึกษา เมื่อได้รับ อนุญาตให้ลาคลอดได้แล้ว ถือว่าการลาศึกษาสิ้นสุดลง (หรือเลือกใช้สิทธิ การลาประเภทนั้น ๆ อย่างใดอย่างหนึ่งได้)

  33. การลากิจส่วนตัว การยื่นใบลา ให้เสนอต่อผู้บังคับบัญชา และเมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะหยุดราชการได้ เว้นแต่มีเหตุจำเป็น ไม่ต้องรอรับอนุญาตก็สามารถหยุดราชการไปก่อนได้ แต่ต้องชี้แจงเหตุผลให้ผู้มีอำนาจอนุญาตทราบโดยเร็ว การยื่น ใบลา ในกรณีมีเหตุพิเศษไม่อาจส่งใบลาก่อนได้ ให้เสนอใบลาพร้อมทั้งเหตุผลความจำเป็นต่อผู้บังคับบัญชาทันทีใน วันแรกที่มาปฏิบัติราชการ เหตุพิเศษ สิทธิลากิจโดยได้รับเงินเดือน ข้าราชการมีสิทธิลากิจ โดยได้รับเงินเดือน ปีละไม่เกิน 45 วันทำการ

  34. การลากิจเพื่อเลี้ยงดูบุตรการลากิจเพื่อเลี้ยงดูบุตร หากประสงค์จะลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตรให้มีสิทธิลาต่อเนื่องจากการลาคลอดบุตรได้ไม่เกิน 150 วันทำการ โดยไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือนระหว่างลา การเรียกตัวกลับเข้าปฏิบัติราชการ ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ลากิจส่วนตัว เว้นแต่การลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตร ซึ่งได้หยุดราชการไปยังไม่ครบกำหนด ถ้ามีราชการจำเป็นเกิดขึ้น ผู้บังคับบัญชาจะเรียกตัวมาปฏิบัติราชการก็ได้

  35. การลาพักผ่อน สิทธิการลาพักผ่อน ข้าราชการมีสิทธิลาพักผ่อนประจำปีในปีหนึ่งได้ 10 วันทำการ เว้นแต่ข้าราชการที่บรรจุเข้ารับราชการไม่ถึง 6 เดือน ผู้ใดที่ยังไม่ได้ลาพักผ่อนประจำปีหรือลาไม่ครบ 10 วันทำการ ให้สะสมวันที่ยังมิได้ลาในปีนั้นไปรวมเข้ากับปี ต่อ ๆ ไปได้ แต่รวมกันต้องไม่เกิน 20 วันทำการ สำหรับผู้ที่รับราชการไม่น้อยกว่า 10 ปี ให้มีสิทธินำวันลาพักผ่อนสะสมมารวมกับวันลาในปีปัจจุบันได้ไม่เกิน 30 วัน ทำการ สะสม วันลา

  36. การขออนุญาต ให้เสนอใบลาต่อผู้บังคับบัญชา และเมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะหยุดราชการได้ การเรียกตัวกลับ ผู้ที่ลาพักผ่อนซึ่งหยุดราชการไปยังไม่ครบกำหนด ถ้ามีราชการจำเป็นเกิดขึ้น ผู้บังคับบัญชาจะเรียกตัวมา ปฏิบัติราชการก็ได้ ข้าราชการประเภทใดที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาและมีวันหยุดภาคการศึกษา หากได้หยุดราชการตามวันหยุดภาคการศึกษาเกินกว่าวันลาพักผ่อนตามระเบียบนี้ ไม่มีสิทธิลาพักผ่อนตามที่กำหนดไว้ในส่วนนี้ ผู้ไม่มีสิทธิลาพักผ่อน

  37. การลาอุปสมบทหรือการลาไปประกอบพิธีฮัจย์การลาอุปสมบทหรือการลาไปประกอบพิธีฮัจย์ การขออนุญาต ให้เสนอใบลาต่อผู้บังคับบัญชาก่อนวันอุปสมบทหรือก่อนวันเดินทางไม่น้อยกว่า 60 วัน ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ลาแล้วจะต้องอุปสมบทหรือเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ภายใน 10 วัน และจะต้องกลับมารายงานตัวเข้าปฏิบัติราชการภายใน 5 วัน นับแต่วันที่ลาสิกขา วันเริ่มต้นอุปสมบท การถอนวันลา ข้าราชการที่ได้รับอนุญาตให้ลาแล้ว ไม่สามารถอุปสมบทหรือประกอบพิธีฮัจย์ตามที่ขอลาไว้ สามารถขอถอนวันลาได้โดยให้ถือว่าเป็นวันลากิจส่วนตัว คำสั่งกระทรวงสาธารณสุข ที่ 374/2537 ลว. 2 มิถุนายน 2537 มอบอำนาจ ให้อธิบดี พิจารณาอนุญาตขรก/ลจที่ปฏิบัติราชการอยู่ในส่วนกลางผู้ว่าราชการจังหวัด พิจารณาอนุญาตขรก/ลจในราชการบริหาร ส่วนกลางที่ปฏิบัติราชการเป็นการประจำอยู่ในจังหวัดนั้น ๆ ผู้มีอำนาจการลาอุปสมบท

  38. การลาศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัย (กองแผนงานและฝ่ายพัฒนาบุคลากรกองการเจ้าหน้าที่ เป็นผู้รับผิดชอบขออนุมัติกรม) ลาศึกษา ณ ต่างประเทศ(กองแผนงาน) ให้เสนอใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงปลัดกระทรวงหรือหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรง เพื่อพิจารณาอนุญาต ลาศึกษา ภายในประเทศ(ฝ่ายพัฒนาบุคลากร) ให้เสนอใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงหัวหน้าส่วนราชการ หรือหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรง เพื่อพิจารณาอนุญาต เว้นแต่ข้าราชการกรุงเทพมหานคร

  39. หลักเกณฑ์การไปต่างประเทศระหว่างลาหรือระหว่างวันหยุดราชการหลักเกณฑ์การไปต่างประเทศระหว่างลาหรือระหว่างวันหยุดราชการ ยื่นเรื่องขออนุญาตก่อนกำหนดเดินทาง อย่างน้อย 15 วัน เดิมตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2520 มีประเภทการลาไปต่างประเทศด้วย แต่ในระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2535 ไม่มีการลาประเภทนี้ แต่มีกำหนดไว้ ดังนี้ ข้อ 13. ข้าราชการซึ่งประสงค์จะไปต่างประเทศในระหว่างการลาตามระเบียบนี้ หรือในระหว่างวันหยุดราชการ ให้เสนอขออนุญาตต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงหัวหน้าส่วนราชการ ในระหว่างการลาไม่ว่าประเภทใด ๆ หรือในระหว่างวันหยุดราชการถ้าจะไปต่างประเทศในระหว่างนั้น ต้องขออนุญาตต่อผู้บังคับบัญชา ตามลำดับ จนถึงหัวหน้า ส่วนราชการ * เช่น – ในระหว่างการลาพักผ่อน การลากิจ ระหว่างวันหยุดราชการ ถ้าจะไปต่างประเทศต้องขออนุญาตต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับ * - ในกรณีอยู่ในระหว่างการลาศึกษา และอยู่ในช่วงปิดภาคการศึกษา หรือกรณีอยู่ในระหว่างลาคลอดบุตร ถ้าจะไปต่างประเทศต้องขออนุญาตต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับ (ตามหนังสือกรมอนามัยที่ สธ0902.05/ว833 ลงวันที่ 17 พฤษภาคม 2549 ขอให้ทุกหน่วยงานได้กำชับเจ้าหน้าที่ ที่ประสงค์จะขออนุญาตลาไปต่างประเทศ ส่งเรื่อง ให้กองการเจ้าหน้าที่ก่อนกำหนดวันเดินทาง อย่างน้อย 15 วัน เพื่อเสนอกรมฯ พิจารณาอนุญาตต่อไป)

  40. การลาเข้ารับการตรวจเลือก หรือเข้ารับการเตรียมพล ข้าราชการที่ได้รับหมายเรียกเข้ารับการตรวจเลือกให้รายงานต่อผู้บังคับบัญชาก่อนวันเข้ารับการตรวจเลือกไม่น้อยกว่า 48 ชั่วโมง ส่วนข้าราชการที่ได้รับหมายเรียกเข้ารับการเตรียมพล ให้รายงานภายใน 48 ชั่วโมง นับแต่เวลาที่ได้รับหมายเรียก และให้ไปเข้ารับการตรวจเลือกหรือเตรียมพล ตามวันเวลาในหมายเรียกนั้น โดยไม่ต้องรอคำสั่งอนุญาต และให้ผู้บังคับบัญชาเสนอรายงานลาไปตามลำดับจนถึงหัวหน้าส่วนราชการ การลาเข้ารับการตรวจเลือก การรายงานตัวกลับเข้าปฏิบัติราชการ ให้รายงานตัวกลับเข้าปฏิบัติราชการตามปกติต่อผู้บังคับบัญชาภายใน 7 วัน เว้นแต่กรณีจำเป็น อาจขยายเวลาให้ได้แต่รวมแล้วไม่เกิน 15 วัน

  41. การลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศการลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ การขออนุญาต ให้เสนอใบลาต่อผู้บังคับบัญชากามลำดับจนถึงรัฐมนตรีเจ้าสังกัดเพื่อพิจารณา - เป็นข้าราชการเป็นระยะเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปี เว้นแต่ผู้ที่ไปปฏิบัติงานที่องค์การสหประชาชาติ ให้ลดลงเป็น 2 ปี - เป็นผู้มีความรู้ความสามารถเหมาะสม มีความประพฤติเรียบร้อยและไม่อยู่ในระหว่างถูกสอบส่วนว่ากระทำผิดวินัย คุณสมบัติ การขอยกเว้นหรือผ่อนผัน ให้เสนอเหตุผลความจำเป็นต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัด เพื่อพิจารณาเป็นราย ๆ ไป

  42. การรายงานตัวเข้าปฏิบัติ ราชการ ให้รายงานตัวเข้าปฏิบัติราชการภายใน 10 วัน นับแต่วันถัดจากวันเสร็จสิ้นการปฏิบัติงาน และรายงานผลการปฏิบัติงานให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดทราบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่กลับมาปฏิบัติราชการ

  43. การลาติดตามคู่สมรสไปต่างประเทศการลาติดตามคู่สมรสไปต่างประเทศ ให้เสนอใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงปลัดกระทรวงหรือหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรง แล้วแต่กรณี เพื่อพิจารณาอนุญาตให้ลาได้ไม่เกิน 2 ปี ในกรณีจำเป็นอาจให้ลาต่อได้อีก 2 ปี แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 4 ปี ถ้าเกิน 4 ปี ต้องลาออกจากราชการ การขออนุญาต อำนาจการอนุญาต ผู้มีอำนาจจะอนุญาตให้ลาครั้งเดียวหรือหลายครั้งก็ได้โดยมิให้เสียหายแก่ราชการ แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินระยะเวลาตามที่กำหนด สิทธิการลา ไม่ได้รับเงินเดือนในระหว่างลา

  44. การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หลักเกณฑ์การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่ข้าราชการและลูกจ้างประจำ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ พ.ศ. 2536 การเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้เริ่มจากเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกสลับกัน การเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จะเสนอขอปีติดกันมิได้ คุณสมบัติ 1. เป็นผู้มีสัญชาติไทย 2. เป็นผู้ประพฤติดีและปฏิบัติงานราชการหรืปฏิบัติงานที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนด้วยความอุตสาหะ ซื่อสัตย์ และเอาใจใส่ต่อหน้าที่อย่างดียิ่ง และ 3. เป็นผู้ไม่เคยมีพระบรมราชนุญาตให้เรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หรือต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก (เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือ ความผิดลหุโทษ)

  45. การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ข้าราชการการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ข้าราชการ 1. การขอพระราชทานครั้งแรกจะต้องเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญและต้องรับราชการมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ นับแต่วันเริ่มเข้ารับราชการจนถึงวันที่ 5 ตุลาคม ของปี (ก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่จะขอพระราชทานไม่น้อยกว่า 60 วัน 2. ต้องเป็นข้าราชการระดับ 2 ขึ้นไป การนับระยะเวลารับราชการเพื่อการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ กรณี ข้าราชการลาออกแล้วได้รับการบรรจุกลับเข้ารับราชการ สามารถนับระยะเวลาต่อจากระยะเวลาก่อนลาออกจากราชการได้

  46. หลักเกณฑ์การขอเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นสายสะพาย ระดับ 8 1. ต้องได้รับเงินเดือนตามบัญชีที่กำหนดตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการเสนอขอเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย พ.ศ. 2536 (จะต้องมีเงินเดือนเต็มขั้นของระดับ 8) 2. ดำรงตำแหน่งผู้บังคับบัญชา เช่น ผู้อำนวยการกอง 3. ได้ ท.ช. มาแล้ว ไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ จึงขอ ป.ม. ได้ 4. ให้ขอได้ในปีก่อนเกษียณอายุราชการหรือในปีที่เกษียณอายุราชการเท่านั้น

  47. เหรียญจักรพรรดิมาลา • รับราชการมาด้วยความเรียบร้อยเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 25 ปี นับแต่เริ่มรับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ จนถึงวันที่ 5 ตุลาคมของปีที่จะขอพระราชทาน โดยจัดทำประวัติการรับราชการ ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบันตามแบบ คนละ 3 ชุด • การพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา พระราชทานเป็นกรรมสิทธิ์ เมื่อผู้ได้รับพระราชทานวายชนม์ ให้ทายาทโดยธรรม รักษาไว้เป็นที่ระลึก แต่ถ้าผู้ได้รับพระราชทานก็ดี ทายาทโดยธรรมก็ดี ประพฤติตนไม่สมเกียรติ อาจทรงเรียกคืนได้ ถ้าส่งคืนไม่ได้ด้วยประการใด ๆ ภายในกำหนดสามสิบวันจะต้องใช้ราคาเหรียญนั้น • ข้าราชการผู้ที่มีคุณสมบัติครบตามหลักเกณฑ์ แต่ต้องพ้นจากราชการเพราะครบเกษียณอายุราชการหรือลาออกจากราชการในปีที่จะเสนอขอพระราชทาน สามารถเสนอขอพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลาได้ในปีที่เกษียณอายุราชการหรือลาออกจากราชการ

  48. หลักเกณฑ์การเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ให้แก่ลูกจ้างประจำ 1. ต้องปฏิบัติงานติดต่อกันมาเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 8 ปีบริบูรณ์ นับแต่วันเริ่มจ้างจนถึงวันที่ 5 ตุลาคม ของปี (ก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่จะขอพระราชทานไม่น้อยกว่า 60 วัน 2. เป็นลูกจ้างประจำที่มีชื่อและลักษณะงานเป็นลูกจ้างโดยตรงหมวดฝีมือ หรือ ลูกจ้างประจำที่มีชื่อและลักษณะเหมือนข้าราชการ

  49. แนวทางและวิธีปฏิบัติการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชฯของกรมอนามัยแนวทางและวิธีปฏิบัติการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชฯของกรมอนามัย

  50. การคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์การคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หลักเกณฑ์การคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์เป็นหน้าที่ของผู้ได้รับพระราชทานฯ ต้องกระทำตามข้อบัญญัติที่กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ไว้ 3 กรณี คือ 1. คืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นรอง เมื่อผู้ได้รับพระราชทานฯ ได้รับพระราชทานเครื่องราชฯ ชั้นสูงขึ้น (ช้างเผือก, มงกุฎไทย) ไม่ต้องคืนประกาศนียบัตรกำกับเครื่องราช อิสริยาภรณ์ 2. คืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุกชั้นที่ได้รับ เมื่อผู้ได้รับพระราชทานฯ ถึงแก่กรรม โดยให้ทายาทเป็นผู้ส่งคืน (ช้างเผือก, มงกุฎไทย) ไม่ต้องคืนประกาศนียบัตรกำกับ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ 3. คืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เมื่อทรงพระกรุณาให้เรียกคืน ต้องคืนประกาศนียบัตรกำกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ การคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในกรณีใด ๆ ตามที่กล่าวข้างต้น ถ้าผู้ได้รับพระราชทานฯ ไม่สามารถนำเครื่องราชอิสริยาภรณ์มาคืน ก็สามารถชดใช้เงินแทนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตามราคาที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีกำหนด ซึ่งจะมีการปรับราคาตามมติคณะรัฐมนตรี ทุก 3 ปี

More Related