1 / 10

นายวิชชุกร บัวคำซาว วิทยาลัยเทคโนโลยีเมโทร จังหวัดเชียงใหม่

การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาโครงการสำหรับนักศึกษาแผนกวิชาช่างยนต์ โดยใช้วิธีการสอนแบบ Project Based Learning. นายวิชชุกร บัวคำซาว วิทยาลัยเทคโนโลยีเมโทร จังหวัดเชียงใหม่. ปัญหาการวิจัย.

Télécharger la présentation

นายวิชชุกร บัวคำซาว วิทยาลัยเทคโนโลยีเมโทร จังหวัดเชียงใหม่

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาโครงการสำหรับนักศึกษาแผนกวิชาช่างยนต์ โดยใช้วิธีการสอนแบบ Project Based Learning นายวิชชุกร บัวคำซาว วิทยาลัยเทคโนโลยีเมโทร จังหวัดเชียงใหม่

  2. ปัญหาการวิจัย จากสภาพการจัดการเรียนการสอน รายวิชาโครงการ ในปัจจุบัน นักศึกษายังไม่สามารถ คิดริเริ่มการพัฒนางานในสาขาวิชาชีพ ปฏิบัติการวางแผน ทำรายงาน นำเสนอผลงาน แก้ไขปัญหาที่เกิดได้ การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning : PBL) เป็นการเรียนรู้ด้วยโครงงานจะเป็นไปตามความสนใจของนักเรียน การออกแบบโครงงานที่ดีจะกระตุ้น ให้เกิดการค้นคว้าอย่างกระตือรือร้นและใช้ทักษะการคิดขั้นสูง

  3. ปัญหาการวิจัย (ต่อ) ดังนั้นในฐานผู้วิจัยเป็นครูผู้สอน รายวิชาโครงการ มีความต้องการที่จะพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จึงได้หาวิธีรูปแบบการเรียนรู้ที่เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนในครั้งนี้ โดยใช้วิธีการสอนแบบโครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning : PBL)

  4. วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาโครงการ สำหรับนักศึกษาแผนกวิชาช่างยนต์ โดยใช้วิธีการสอนแบบ Project Based Learning ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2546

  5. กรอบแนวคิดตัวแปรการวิจัยกรอบแนวคิดตัวแปรการวิจัย

  6. ประชากรและกลุ่มตัวอย่างประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากร ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ครั้งนี้ได้แก่ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปี่ที่ 3 และ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 2 แผนกวิชาช่างยนต์ ที่ลงทะเบียนเรียน วิชาโครงการ รหัสวิชา 2101-5001 และ 3101-6001 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 2 แผนกวิชาช่างยนต์ ที่ลงทะเบียนเรียน วิชาโครงการ รหัสวิชา 3101-6001 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 โดยวิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง ( Purposive  sampling ) จำนวน 33 คน

  7. ผลวิเคราะห์การวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยใช้วิธีการสอนแบบ Project Based Learning ในรายวิชาโครงการ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 เป็นระยะเวลา 16 สัปดาห์รวมทั้งเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีดังนี้ - เนื้อหาความรู้ที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้คือ รายวิชาโครงการ - กิจกรรมการเรียนการสอน Project Based Learning ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1. การคิดและเลือกหัวข้อเรื่องโครงงาน 2. ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง 3. การเขียนเค้าโครงของโครงงาน 4. การปฏิบัติโครงงาน 5. การเขียนรายงาน 6. การนำเสนอผลงาน

  8. ผลวิเคราะห์การวิจัย

  9. สรุปผลการวิจัย ผลการเรียนรู้ของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาโครงการ จำนวน 33 คน พบว่า มีระดับการเรียนรู้ของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2 อันดับแรก ดังนี้ ระดับการเรียนรู้ 4 มีจำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 51.52 และระดับการเรียนรู้ 3.5 จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 30.30 ตามลำดับ จากการตรวจสอบผลการเรียนรู้ของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 77.18 คะแนน ซึ่งมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 75 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ระดับมาก ที่ผลการวิจัยเป็นเช่นนี้ เนื่องมาจากการเรียนรู้ โดยใช้โครงการเป็นฐาน จากการนำเสนอผลงาน ผลการดำเนินงานที่เป็นระบบ และทุกคนมี ส่วนร่วม ส่งผลให้นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้

  10. ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะจากการวิจัย 1. การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Project Based Learning อาจารย์ผู้สอนต้องมีความรู้ ด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นอย่างดี และก่อนให้นักศึกษาทำโครงการควร ให้ความรู้แก่นักศึกษาเกี่ยวกับวิธีการเขียนโครงการ องค์ประกอบของโครงการก่อน เพื่อ ให้นักศึกษามีความเข้าใจและสามารถเขียนโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Project Based Learning ในรายวิชาโครงการ สำหรับนักศึกษา สามารถนำไปประยุกต์ใช้สาหรับเนื้อหารายวิชาอื่นๆ ในการวางแผน กำหนดกิจกรรม เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ด้วยตนเอง หรือพัฒนาทักษะต่างๆ อาทิ ทักษะการทำงานเป็นทีม ทักษะการคิด ทักษะการแก้ปัญหา เป็นต้น

More Related