1 / 42

คณะผู้จัดทำ

คณะผู้จัดทำ. 1. นางสาวขนิษฐา คะโต รหัส 491790193 2. นางสาวศศิวิมล เกตุจู รหัส 511890046 3. นางสาววารีรัตน์ ไชยวงศ์ รหัส 511890047 4. นางสาวพิกุลทอง กันธิยะ รหัส 511890053 5. นางสาวศรีสมร ยศมูล รหัส 511890078

Télécharger la présentation

คณะผู้จัดทำ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. คณะผู้จัดทำ 1. นางสาวขนิษฐา คะโต รหัส 491790193 2. นางสาวศศิวิมล เกตุจู รหัส 511890046 3. นางสาววารีรัตน์ ไชยวงศ์ รหัส 511890047 4. นางสาวพิกุลทอง กันธิยะ รหัส 511890053 5. นางสาวศรีสมร ยศมูล รหัส 511890078 6. นางสาวยุพา ใจจำ รหัส 511890108 7. นางสาวพนิดา แก้วมา รหัส 511890109 8. นางสาวอุษณีภรณ์ ต๊ะวงค์ รหัส 511890075 9. นางสาวสุนิสา แก้วคำปา รหัส 511890077 10 นางสาวพรพรรษา เมี้ยงหอม รหัส 511890118 11.นายวีรยุทธ ปาเอื้อม รหัส 511890119

  2. ต้นทุนฐานกิจกรรม Activity-based costing

  3. ประวัติการพัฒนา แต่เดิมนั้น การประเมินราคาผลิตภัณฑ์นั้น จะใช้มูลค่าของแรงงานโดยตรง (direct labor) และ วัสดุโดยตรง (direct material) เป็นฐาน และคิดค่าโสหุ้ย (overhead costs) ในลักษณะอัตราส่วนเทียบกับค่าใช้จ่ายทางตรง (มูลค่าแรงงานและวัสดุโดยตรง) ซึ่งการประเมินราคาด้วยวิธีนี้ ใช้งานได้ดีในเฉพาะโรงงานที่ผลิตผลิตภัณฑ์ไม่หลากหลาย แต่สำหรับโรงงานที่ผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลายนั้น ค่าโสหุ้ยมีบทบาทและส่งผลกระทบมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายในการตั้งเครื่อง (setup), วัสดุทางอ้อม (indirect material) หรือค่าใช้จ่ายในการออกแบบ เป็นต้น จนทำให้การประเมินราคาด้วยวิธีดั้งเดิมนั้นไม่มีความแม่นยำ

  4. ต้นทุนฐานกิจกรรม (Activity based costing : ABC) เป็นแนวคิดของระบบการบริหารต้นทุนแบบใหม่ซึ่งมีจุดมุ่งหมายให้ผู้บริหารหันมาให้ความสนใจกับการบริหารกิจกรรมและต้นทุนที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นจึงมีการบริหารโดยแบ่งออกเป็นกิจกรรมต่าง ๆ และถือว่ากิจกรรมเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดต้นทุน ส่วนผลิตภัณฑ์นั้นเป็นสิ่งที่ใช้กิจกรรมต่าง ๆ อีกทีหนึ่ง กิจกรรม คือ การกระทำที่เปลี่ยนทรัพยากรของกิจการออกมาเป็นผลผลิตได้ ดังนั้น การบัญชีต้นทุนกิจกรรมนอกจากเน้นการระบุกิจกรรมของกิจการแล้ว ยังพยายามระบุต้นทุนของกิจกรรม เพื่อใช้ในการคำนวณต้นทุนผลิตภัณฑ์ และเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพในการดำเนินงาน

  5. หลักการของ ABC ABC นั้น มีสมมติฐานที่ทรงความสำคัญอยู่ 2 ประการ 1. ทรัพยากรจะถูกใช้เมื่อมีกิจกรรมเกิดขึ้น 2. กิจกรรมนั้นเป็นกิจกรรมที่มีเป้าประสงค์เพื่อผลิตสินค้าให้สมบูรณ์

  6. ความสำคัญของต้นทุนฐานกิจกรรมความสำคัญของต้นทุนฐานกิจกรรม การบัญชีต้นทุนฐานกิจกรรม กระตุ้นให้ผู้บริหารให้ความสนใจกับการบริหารกิจกรรมและต้นทุนโดยให้ข้อมูลที่สำคัญแก่ผู้บริหารอันเป็นประโยชน์ ดังนี้ 1. การคำนวณต้นทุนผลิตภัณฑ์ 2. การบริหารเงินสดและสภาพคล่องทางการเงิน 3. การควบคุมต้นทุน 4. การตัดสินใจ 5. การเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ 6. การสร้างความเป็นเลิศแก่กิจการ

  7. ความแตกต่างระหว่างการบัญชีต้นทุนกิจกรรมและการบัญชีต้นทุนแบบเดิมความแตกต่างระหว่างการบัญชีต้นทุนกิจกรรมและการบัญชีต้นทุนแบบเดิม การปันส่วนต้นทุนตามระบบเดิมจะประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ 1. ค่าใช้จ่ายจะถูกจัดเข้าสู่กลุ่มต้นทุนต่างๆ (Cost Pools) ตามเกณฑ์ใดเกณฑ์หนึ่งที่ผู้วางระบบเห็นว่าเหมาะสม (ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ผู้บริหารในการประเมินผลการปฏิบัติงานผู้รับผิดชอบกลุ่มต้นทุนนั้น ๆ) 2. ค่าใช้จ่ายการผลิตซึ่งสะสมอยู่ในแต่ละกลุ่มต้นทุนจะถูกปันส่วนเข้าสู่ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องโดยใช้สิ่งที่มีความสัมพันธ์กับปริมาณการผลิต เช่น ชั่วโมงเครื่องจักร ชั่วโมงแรงงานทางตรง

  8. ขั้นตอนของการปันส่วนต้นทุนฐานกิจกรรมเป็นดังนี้ขั้นตอนของการปันส่วนต้นทุนฐานกิจกรรมเป็นดังนี้ 1. ปันส่วนต้นทุนตามรหัสบัญชี 2. ปันส่วนต้นทุนกิจกรรมต่าง ๆ เข้าสู่ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ข้อแตกต่างมี 2 ประการ 1) ระบบต้นทุนฐานกิจกรรมจะกำหนดกลุ่มต้นทุนในรูปของกิจกรรม (Activity Cost Pool) มากกว่าจะกำหนดในรูปของกลุ่มต้นทุน (Cost Pool) 2) ตัวผลักดันกิจกรรมหรือตัวผลักดันต้นทุน (Activity or Cost Driver) ซึ่งใช้เป็นฐานในการคำนวณต้นทุนผลิตภัณฑ์จะมีโครงสร้างแตกต่างไปจากฐานในระบบเดิม ซึ่งในแต่ละกิจกรรมต้องมีการวิเคราะห์ว่าอะไรเป็นตัวผลักดันหรือเป็นสาเหตุสำคัญที่แท้จริงที่ทำให้ต้นทุนของกิจกรรมนั้น ๆ เปลี่ยนแปลงไป

  9. ข้อแตกต่างของทั้ง 2 วิธีแสดงได้ดังภาพ

  10. ขั้นตอนของการบัญชีต้นทุนกิจกรรมประกอบด้วยขั้นตอนของการบัญชีต้นทุนกิจกรรมประกอบด้วย 1. การวิเคราะห์และระบุกิจกรรม 2. การคำนวณต้นทุนกิจกรรม ตัวอย่างกิจกรรม

  11. 3. การวิเคราะห์และระบุตัวผลักดันต้นทุนกิจกรรม

  12. 4. การคำนวณต้นทุนผลิตภัณฑ์ ขั้นตอนต่าง ๆ แสดงได้ดังนี้

  13. ระบบต้นทุนฐานกิจกรรมแบ่งกิจกรรมในการผลิต (การดำเนินงาน) ออกเป็น 4 ระดับ ดังนี้ 1) Unit – Level Activity 2) Batch – Level Activity 3) Product – Sustaining Activity 4) Facility – Sustaining Activity

  14. ตัวอย่างบริษัท พรนุรักษ์ จำกัด ผลิตสินค้า 4 ชนิด ได้แก่ ก (ขนาดเล็ก ปริมาณน้อย)ข (ขนาดเล็ก ปริมาณมาก) ค (ขนาดใหญ่ ปริมาณน้อย)และ ง (ขนาดใหญ่ ปริมาณมาก) โดยใช้เครื่องจักรเครื่องเดียวกันและมีกระบวนการผลิตเหมือนกันทุกประการ สินค้าแต่ละชนิดมีความแตกต่างกันในเรื่องของขนาดและปริมาณการผลิต และจำเป็นต้องใช้กิจกรรม 7 อย่างในการผลิต ดังนี้ -    การจัดซื้อวัตถุดิบ (10% ของค่าวัตถุดิบ) -    แรงงานทางตรง (10 บาท/ชั่วโมงแรงงานทางตรง) -    การเดินเครื่องจักร (15 บาท/ชั่วโมงเครื่องจักร) -    การเตรียมการผลิต (120 บาท/การเตรียมการผลิต 1 ครั้ง) -    การสั่งซื้อวัตถุดิบ (125 บาท/คำสั่งซื้อ) -    การขนย้ายวัตถุดิบ (25 บาท/Batch) -    การประกอบชิ้นส่วน (500 บาท/ชิ้น)

  15. การแบ่งลำดับกิจกรรมทำได้ดังนี้การแบ่งลำดับกิจกรรมทำได้ดังนี้

  16. การใช้กิจกรรมแยกตามผลิตภัณฑ์ เป็นดังนี้

  17. การคำนวณ และปันส่วนตามระบบต้นทุนแบบเดิม (เกณฑ์ชั่วโมงแรงงานทางตรง) เป็นดังนี้

  18. อัตราค่าใช้จ่ายในการผลิตคือ 45.11 บาท/ชั่วโมงแรงงาน (9,924/220) จะเห็นว่าหากใช้วิธีคำนวณและปันส่วนในระบบแบบเดิม สินค้าที่ผลิตในปริมาณมาก (ข และ ง) มีต้นทุนการผลิตต่อหน่วยเท่าสินค้าที่ผลิตในปริมาณน้อย (ก และ ค) และ ต้นทุนต่อหน่วยของสินค้าขนาดใหญ่ (ค และ ง) สูงเป็น 3 เท่าของสินค้าขนาดเล็ก (ก และ ข) เนื่องจากใช้ชั่วโมงแรงงานมากกว่า 3 เท่า (5:15, 50:150) การคำนวณต้นทุนต่อกิจกรรม เป็นดังนี้

  19. การปันส่วนตามระบบต้นทุนฐานกิจกรรม เป็นดังนี้

  20. ต้นทุนรวมตามฐานกิจกรรม เป็นดังนี้

  21. ในการคำนวณและปันส่วนตามวิธีเดิมนั้น จะเห็นว่าสินค้าที่ผลิตในปริมาณมาก ใช้ชั่วโมงแรงงานเป็น 10 เท่าของสินค้าที่ผลิตในปริมาณน้อย (ก = 5 ช.ม., ข = 50 ช.ม., ค = 15 ช.ม. และ ง = 150 ช.ม.) ทำให้สินค้า ข และ ง ซึ่งผลิตในปริมาณมากต้องรับภาระค่าใช้จ่ายการผลิตมากกว่าสินค้า ก และ ค ถึง 10 เท่า เช่นกัน โดยต้นทุนต่อหน่วยสินค้าที่มีขนาดเท่ากันจึงมีจำนวนเท่ากัน ( ก และ ข มีต้นทุนต่อหน่วย 22.25 บาท ค และ ง มีต้นทุนต่อหน่วย 67.67 บาท) และ เนื่องจากสินค้าขนาดใหญ่ใช้ชั่วโมงแรงงานทางตรงเป็น 3 เท่าของสินค้าขนาดเล็ก การปันส่วนค่าใช้จ่ายในระบบบัญชีต้นทุนแบบเดิมจะทำให้สินค้า ค และ ง ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในการผลิตมากกว่าสินค้า ก และ ข ถึง 3 เท่า ในขณะเดียวกันก็ทำให้สินค้า ค และ ง มีต้นทุนต่อหน่วยสูงเป็น 3 เท่าของสินค้า ก และ ข ด้วย

  22. ตามวิธีการปันส่วนต้นทุนฐานกิจกรรมจะมีการคำนวณแตกต่างไปจากเดิม คือ สินค้าที่ผลิตในปริมาณน้อย จะแบกรับค่าใช้จ่ายการผลิตที่แตกต่างกันมากกว่าสินค้าที่ผลิตในปริมาณมาก และสินค้าที่มีขนาดเล็ก จะแบกรับค่าใช้จ่ายการผลิตที่แตกต่างกันมากกว่าสินค้าขนาดใหญ่ โดยกระบวนการต่าง ๆ ในการปันส่วนสรุปได้ตามภาพ ดังนี้

  23. สมมติฐานของระบบต้นทุนฐานกิจกรรมสมมติฐานของระบบต้นทุนฐานกิจกรรม แนวคิดของระบบ ABC คือผลผลิตถูกผลิตขึ้นโดยองค์กรผ่านกลยุทธ์และแผนงานซึ่งมีผลให้องค์กรมีกิจกรรมที่ต้องปฏิบัติ ซึ่งการปฏิบัติงานตามกิจกรรมจะทำให้เกิดต้นทุน ในแง่ของสถาบันการศึกษา ระบบ ABC เน้นการบริหารสถาบันการศึกษาโดยแบ่งออกเป็นกิจกรรมต่าง ๆ และถือว่า • พันธกิจ กลยุทธ์ และแผนงานของสถาบันการศึกษาเป็นตัวผลักดันให้เกิดกิจกรรมต่าง ๆ • กิจกรรมการกระทำที่เปลี่ยนทรัพยากรหรือปัจจัยนำเข้า (Input) ของสถาบันการศึกษาออกมาเป็นผลผลิต (Output) • กิจกรรมต่าง ๆ ของสถาบันการศึกษาเป็นตัวผลักดันให้เกิดต้นทุน • 4. ผลผลิต (เช่น บัณฑิต) เป็นตัวใช้กิจกรรมต่าง ๆ อีกทีหนึ่ง

  24. ข้อควรคำนึงในการพัฒนาระบบต้นทุนฐานกิจกรรมข้อควรคำนึงในการพัฒนาระบบต้นทุนฐานกิจกรรม 1. อย่าคาดหวังว่าทุกคนในองค์กรจะเข้าใจระบบ ABC เหมือนกันหรือในทิศทางเดียวกัน 2. การพัฒนาระบบ ABC ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงระบบ แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมทั้งการบริหารและการปฏิบัติงาน 3. ระบบ ABC มีต้นทุนในการพัฒนาสูงและทำให้ทุกคนมีภาระงานเพิ่มขึ้น 4. การนำระบบ ABC มาใช้ควรเป็นไปในลักษณะของระบบรายงานเพื่อการบริหารมากกว่าที่จะนำเอามาใช้เพื่อทดแทนระบบบัญชีหรือระบบการควบคุมการดำเนินงานปัจจุบันที่การ5. ระบบ ABC โดยลำพังไม่ได้ให้ข้อมูลเพื่อการบริหารงานที่สมบูรณ์ในตัวเอง แต่จำเป็นต้องอาศัยการวิเคราะห์ การหาวิธีการปฏิบัติงานที่ดีกว่าหรือที่ดีที่สุด และการเปรียบเทียบกับสถาบันการศึกษาอื่น 6. การนำระบบ ABC ไปใช้อย่างได้ผลจำเป็นที่สถาบันการศึกษาจะต้องมีการกระจายอำนาจหน้าที่และการตัดสินใจพร้อมกันไป 7. หากการพัฒนาระบบ ABC ให้ความสำคัญกับองค์ประกอบในเชิงทฤษฎีมากกว่าการได้มาซึ่งข้อมูลเพื่อการบริหาร

  25. ขั้นตอนในการนำระบบต้นทุนฐานกิจกรรมมาติดตั้งขั้นตอนในการนำระบบต้นทุนฐานกิจกรรมมาติดตั้ง 1. การกำหนดความต้องการข้อมูลของสถาบันการศึกษา คณะและภาควิชาต่าง ๆ 2. การประเมินผลระบบบริหารต้นทุนของสถาบันการศึกษา คณะและภาควิชาต่าง ๆ ในปัจจุบัน 3. การศึกษาความเป็นไปได้เพื่อประเมินประโยชน์ที่จะได้รับและต้นทุนที่ต้องเสียไปในการพัฒนาระบบ 4. การสร้างความยอมรับให้เกิดขึ้นกับฝ่ายบริหารของสถาบันการศึกษา คณะและภาควิชา

  26. 5. การพัฒนาแนวคิดในการสร้างระบบ ABC 6. การจัดทำแผนงาน/ระยะเวลาของโครงการ รวมทั้งการฝึกอบรมและการสร้างความเข้าใจร่วม 7. การวิเคราะห์กิจกรรม กำหนดรายการกิจกรรม ตัวผลักดันต้นทุนต่าง ๆ (ตัวผลักดันทรัพยากร (Resource Driver) และตัวผลักดันกิจกรรม (Activity Driver)) รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมกับตัวผลักดันกิจกรรม 8. การออกแบบ จัดทำ และทดสอบระบบ 9. การติดตามและตรวจสอบผลของนำระบบ ABC มาใช้และปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับความต้องการ

  27. กระบวนการทำงานของระบบต้นทุนฐานกิจกรรมกระบวนการทำงานของระบบต้นทุนฐานกิจกรรม • - การกำหนดวัตถุประสงค์และสิ่งที่ต้องการคิดต้นทุน (Cost Object) • - การแต่งตั้งคณะทำงานและผู้รับผิดชอบ • - การสำรวจระบบสารสนเทศเพื่อจัดทำโครงสร้างระบบ • - การประชาสัมพันธ์และให้การอบรม • - การวิเคราะห์และระบุกิจกรรมของสถาบันการศึกษา • - การระบุทรัพยากรประเภทต่าง ๆ • การกำหนดตัวผลักดันทรัพยากรและการระบุต้นทุนทรัพยากร • เข้าสู่กิจกรรมต่าง ๆ • - การวิเคราะห์และการกำหนดตัวผลักดันกิจกรรม • - การระบุต้นทุนกิจกรรมเข้าสู่สิ่งที่ต้องการคิดต้นทุน

  28. กรณีศึกษาการประยุกต์ระบบต้นทุนฐานกิจกรรมกับสถาบันการศึกษากรณีศึกษาการประยุกต์ระบบต้นทุนฐานกิจกรรมกับสถาบันการศึกษา

  29. การนำระบบต้นทุนฐานกิจกรรมมาประยุกต์กับการคำนวณค่าใช้จ่ายต่อหัวของสถาบันการศึกษา การคำนวณจะจำกัดขอบเขตอยู่แต่เฉพาะต้นทุนและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เท่าที่เกิดในระดับคณะโดยไม่รวมถึงต้นทุนและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของหน่วยงานสนับสนุนในระดับสถาบันการศึกษา เช่น งานบริหารทั่วไป งานบริการห้องสมุด งานกิจการนักศึกษา งานทะเบียน งานบริการคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน งานพัฒนาสื่อการสอน โดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้เป็นแนวทางอ้างอิงสำหรับสถาบันการศึกษาในการนำระบบต้นทุนฐานกิจกรรมไปประยุกต์ในโอกาสต่อไป

  30. ก่อนที่จะศึกษาถึงการนำระบบต้นทุนฐานกิจกรรมมาประยุกต์กับการคำนวณค่าใช้จ่ายต่อหัวของสถาบันการศึกษา ผู้เข้ารับการอบรมควรมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบต้นทุนฐานกิจกรรมในบริบทของสถาบันการศึกษาเสียก่อน ดังนั้น ในบทนี้จะมีเนื้อเรื่องตามลำดับดังนี้ 1. ความเป็นเลิศของสถาบันการศึกษา 2. ข้อบกพร่องของระบบการบริหารต้นทุนแบบเดิม 3. นิยามและวัตถุประสงค์ของระบบต้นทุนฐานกิจกรรม 4. สมมติฐานของระบบต้นทุนฐานกิจกรรม

  31. 5. ข้อควรคำนึงในการพัฒนาระบบต้นทุนฐานกิจกรรม • 6. ปัจจัยที่จะช่วยให้การพัฒนาระบบต้นทุนฐานกิจกรรมประสบความสำเร็จ • 7. ขั้นตอนในการนำระบบต้นทุนฐานกิจกรรมมาติดตั้ง • 8. กระบวนการทำงานของระบบต้นทุนฐานกิจกรรม • 8.1 การกำหนดวัตถุประสงค์และสิ่งที่ต้องการคิดต้นทุน • 8.2 การแต่งตั้งคณะทำงานและผู้รับผิดชอบ • 8.3 การสำรวจระบบสารสนเทศเพื่อจัดทำโครงสร้างระบบ • 8.4 การประชาสัมพันธ์และให้การอบรม • 8.5 การวิเคราะห์และระบุกิจกรรมของสถาบันการศึกษา • 8.6 การระบุทรัพยากรประเภทต่าง ๆ

  32. 8.7 การกำหนดตัวผลักดันทรัพยากรและการระบุต้นทุนทรัพยากรเข้าสู่กิจกรรมต่าง ๆ • 8.8 การวิเคราะห์และการกำหนดตัวผลักดันกิจกรรม • 8.8.1 วิธีการวิเคราะห์และระบุกิจกรรม • 8.8.2 ทางเลือกในการวิเคราะห์และระบุกิจกรรม • 8.8.3 ขั้นตอนในการวิเคราะห์และระบุกิจกรรม • 8.9 การกำหนดตัวผลักดันทรัพยากรและการคำนวณต้นทุนกิจกรรมการระบุต้นทุนกิจกรรมเข้าสู่สิ่งที่ต้องการคิดต้นทุน • 9. กรณีศึกษาการประยุกต์ระบบต้นทุนฐานกิจกรรมกับสถาบันการศึกษา

  33. ความเป็นเลิศของสถาบันการศึกษาความเป็นเลิศของสถาบันการศึกษา องค์ประกอบสำคัญของความเป็นเลิศของสถาบันการศึกษา ได้แก่ 1. ความมีประสิทธิภาพทางด้านต้นทุน การประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ของสถาบันการศึกษานั้นผู้บริหารจะต้องกระทำโดยตระหนักถึงความมีประสิทธิภาพทางด้านต้นทุนเป็นสำคัญ แต่ไม่ได้หมายความว่าสถาบันการศึกษาจะต้องพยายามลดต้นทุนให้อยู่ในระดับต่ำสุด แต่อย่างน้อยต้นทุนก็ควรจะต่ำกว่าต้นทุนถัวเฉลี่ยของอุตสาหกรรม

  34. 2. การบริหารงานในลักษณะที่มองกิจกรรมต่าง ๆ ของสถาบันการศึกษาเป็นภาพรวม ผู้บริหารจะต้องเข้าใจความเกี่ยวเนื่องระหว่างกิจกรรมต่าง ๆ ต้นทุนที่เกิดขึ้นในหน่วยงานหนึ่งอาจได้รับผลกระทบมาจากการตัดสินใจจากหน่วยงานอื่น 3. การให้ความสำคัญกับทุกกิจกรรมของสถาบันการศึกษา ความเป็นเลิศของสถาบันการศึกษาจะเกี่ยวข้องกับทุก ๆ ส่วนขององค์กร ไม่เฉพาะกิจกรรมการผลิตบัณฑิตเท่านั้น 4. การพัฒนากิจกรรมต่าง ๆ ของสถาบันการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ความเป็นเลิศของสถาบันการศึกษาส่วนหนึ่งเกิดจากการที่ผู้บริหารเน้นการพัฒนากิจกรรมทั้งหมดอย่างต่อเนื่อง โดยการให้ความสำคัญกับการบริหารกิจกรรมเพื่อลดความสูญเปล่าหรือกิจกรรมที่ไม่เพิ่มค่าให้เหลือน้อยที่สุดหรือให้หมดไป

  35. 5. ความพอใจของนักศึกษา ความเป็นเลิศของสถาบันการศึกษาจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าหลักสูตรและบริการอื่น ๆ ของสถาบันการศึกษาไม่สร้างความพอใจหรือไม่ตรงกับความต้องการของนักศึกษา 6. การปันส่วนที่ถูกต้อง การที่จะเข้าใจโครงสร้างต้นทุนของสถาบันการศึกษาและบริหารต้นทุนได้อย่างเหมาะสมนั้น ผู้บริหารจำเป็นจะต้องทราบว่าสถาบันการศึกษาของตนประกอบขึ้นมาด้วยกิจกรรมอะไรบ้าง และจะต้องรู้จักวิธีการบริหารกิจกรรมเหล่านั้น นอกจากนี้ จำเป็นจะต้องใช้วิธีการปันส่วนต้นทุนที่ทำให้ได้ข้อมูลค่าใช้จ่ายต่อหัวนักศึกษาที่ไม่มีการบิดเบือนหรือบิดเบือนน้อยที่สุด

  36. นิยามและวัตถุประสงค์ของระบบต้นทุนฐานกิจกรรมนิยามและวัตถุประสงค์ของระบบต้นทุนฐานกิจกรรม ในแง่ของสถาบันการศึกษา ระบบ ABC เป็นเครื่องมือในการบริหารงานที่ช่วยให้ฝ่ายบริหารบรรลุวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. ฝ่ายบริหารมีกระบวนการสร้างข้อมูลทางด้านต้นทุนของกระบวนการและบริการที่แม่นยำกว่าระบบการบริหารต้นทุนแบบเดิม 2. ฝ่ายบริหารมีระบบการคำนวณต้นทุนบริการที่ชัดเจน โดยต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่เป็นประเภทเดียวกัน 3. ฝ่ายบริหารสามารถเข้าใจการปฏิบัติงานโดยแบ่งออกเป็นกิจกรรมต่าง ๆ ได้ดีขึ้น ฝ่ายบริหารสามารถพัฒนาสถาบันการศึกษาให้มีคุณค่ามากขึ้นโดยเน้นที่การบริหาร 4.กิจกรรม (Activity Management) โดยทำความเข้าใจกิจกรรมต่าง ๆ และศึกษาเปรียบเทียบกับมาตรฐานภายในและภายนอกองค์กร

  37. การปันส่วนจะใช้ตัวผลักดันกิจกรรมซึ่งมีความสัมพันธ์อย่างเป็นเหตุเป็นผลกับต้นทุนที่เกิดขึ้น ABC ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการบริหารงาน 5 ประการดังนี้ 1. ABC ช่วยให้การคำนวณต้นทุนผลผลิต ของสถาบันการศึกษามีความถูกต้องมากขึ้น 2. ABC ช่วยให้การวัดผลปฏิบัติงาน มีประสิทธิภาพมากขึ้น 3. ABC ช่วยในการลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของสถาบันการศึกษา 4. ABC ช่วยในการสนับสนุนการตัดสินใจของฝ่ายบริหารกล่าวคือจากการเก็บต้นทุนตามกิจกรรม ทำให้สถาบันการศึกษาทราบต้นทุนเต็มของกิจกรรมนั้น ๆ และสามารถวิเคราะห์ต้นทุนเหล่านี้ในการพิจารณาตัดสินใจระหว่างทางเลือกในการบริหารกิจกรรมนั้นได้ 5. ABC ช่วยให้เกิดการพัฒนากิจกรรมต่าง ๆ ของสถาบันการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

  38. สมมติฐานของระบบต้นทุนฐานกิจกรรมสมมติฐานของระบบต้นทุนฐานกิจกรรม 1. พันธกิจ กลยุทธ์ และแผนงานของสถาบันการศึกษาเป็นตัวผลักดันให้เกิดกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การพัฒนาหลักสูตร การลงทะเบียนและประมวลผล การเรียนการสอน กิจกรรมนักศึกษา การบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ การส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ การบริหารและธุรการทั่วไป 2. กิจกรรมคือการกระทำที่เปลี่ยนทรัพยากรหรือปัจจัยนำเข้า (Input) ของสถาบันการศึกษาออกมาเป็นผลผลิต (Output) 3. กิจกรรมต่าง ๆ ของสถาบันการศึกษาเป็นตัวผลักดันให้เกิดต้นทุน 4. ผลผลิต (เช่น บัณฑิต) เป็นตัวใช้กิจกรรมต่าง ๆ อีกทีหนึ่ง

  39. ปัจจัยที่จะช่วยให้การพัฒนาระบบต้นทุนฐานกิจกรรมประสบความสำเร็จปัจจัยที่จะช่วยให้การพัฒนาระบบต้นทุนฐานกิจกรรมประสบความสำเร็จ 1.ความเข้าใจในผลผลิตและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องอย่างถ่องแท้ 2.กิจกรรมที่กำหนดขึ้นต้องช่วยให้สถาบันการศึกษาสามารถออกแบบและพัฒนาเพื่อให้มีระบบการบริหารต้นทุนที่ดีขึ้น 3.การกำหนดกิจกรรมควรมุ่งเน้นกิจกรรมที่มีสาระสำคัญและควรหลีกเลี่ยงการกำหนดกิจกรรมที่ไม่จำเป็นและการลงลึกในรายละเอียดมากเกินไป 4. ความชัดเจนของตัวผลักดันต้นทุน (Cost Driver) ที่นำมาใช้ในการจัดสรรค่าใช้จ่ายทางอ้อมไปยังผลผลิต

  40. 5. สำหรับสถาบันการศึกษาของรัฐที่มีขนาดใหญ่ ควรจัดทำเป็นโครงการนำร่อง ก่อน เพื่อเป็นการชักจูงพนักงานและผู้บริหารให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงมาใช้ระบบ ABC จะทำให้เกิดการพัฒนากิจกรรมต่าง ๆ ของสถาบันการศึกษาอย่างไร 6. ฝ่ายบริหารไม่ว่าจะในระดับสถาบันการศึกษาโดยรวม คณะ และภาควิชา ต้องให้ความเห็นชอบกับการนำระบบ ABC มาติดตั้ง ขณะเดียวกันผู้ปฏิบัติงานในแต่ละหน่วยงานต้องให้ความร่วมมือและยอมรับในประโยชน์ที่จะได้รับจากระบบ ABC เนื่องจากระบบ ABC ไม่ได้เป็นเรื่องที่คณะทำงานที่รับผิดชอบในการนำระบบ ABC มาติดตั้งจะสามารถทำได้โดยลำพัง แต่นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่ว่าจะบริหารองค์กรกันอย่างไร ดังนั้น การนำระบบ ABC มาใช้ย่อมส่งผลกระทบต่อหน่วยงานทุกระดับในองค์กรอย่างแน่นอน

  41. 7. การจัดการให้เกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงโดยอาศัยการออกแบบ พัฒนา จัดทำ และการติดตั้งระบบงานแต่ละขั้นตอน

  42. กระบวนการทำงานของระบบต้นทุนฐานกิจกรรมกระบวนการทำงานของระบบต้นทุนฐานกิจกรรม กระบวนการทำงานของระบบ ABC ที่จะกล่าวถึงในส่วนนี้สรุปเป็นขั้นตอนได้ 9 ขั้นตอนดังนี้ 1. การกำหนดวัตถุประสงค์และสิ่งที่ต้องการคิดต้นทุน 2. การแต่งตั้งคณะทำงานและผู้รับผิดชอบ 3. การสำรวจระบบสารสนเทศเพื่อจัดทำโครงสร้างระบบ 4. การประชาสัมพันธ์และให้การอบรม 5. การวิเคราะห์และระบุกิจกรรมของสถาบันการศึกษา 6. การระบุทรัพยากรประเภทต่าง ๆ 7. การกำหนดตัวผลักดันทรัพยากรและการระบุต้นทุนทรัพยากรเข้าสู่กิจกรรมต่าง ๆ 8. การวิเคราะห์และการกำหนดตัวผลักดันกิจกรรม 9. การระบุต้นทุนกิจกรรมเข้าสู่สิ่งที่ต้องการคิดต้นทุน

More Related