1 / 15

1. ลักษณะภูมิประเทศของกรุงเทพมหานคร

“Groundwater resources of Bangkok and its vicinity” By พรพิมล ธรรมนูญ 4405383 เมธี แสงศรีจันทร์ 4405438. 1. ลักษณะภูมิประเทศของกรุงเทพมหานคร. ตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบภาคกลาง มีเนื้อที่ประมาณ 1,600 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองเป็น 38 เขต ตั้งอยู่ในตอนกลางของที่ราบภาคกลางตอนใต้

yachi
Télécharger la présentation

1. ลักษณะภูมิประเทศของกรุงเทพมหานคร

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. “Groundwater resources of Bangkok and its vicinity”Byพรพิมล ธรรมนูญ 4405383เมธี แสงศรีจันทร์ 4405438

  2. 1. ลักษณะภูมิประเทศของกรุงเทพมหานคร • ตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบภาคกลางมีเนื้อที่ประมาณ 1,600 ตารางกิโลเมตร • แบ่งการปกครองเป็น 38 เขต • ตั้งอยู่ในตอนกลางของที่ราบภาคกลางตอนใต้ • พื้นที่มีความสูงประมาณไม่เกิน 3 เมตร จากระดับน้ำทะเล • ดินเป็นดินเหนียวและดินเหนียวปนทราย • พื้นที่ส่วนใหญ่เหมาะแก่การปลูกข้าว ทำไร่และทำสวน • มีแม่น้ำสำคัญไหลผ่านเพียงสายเดียว คือ เจ้าพระยา

  3. 2. ลักษณะทางธรณีวิทยาของกรุงเทพมหานคร • เป็นพื้นที่ราบลุ่มทั้งจังหวัดมีระดับความสูงเฉลี่ย 1-3 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง • เป็นตะกอนน้ำพา (Alluvium) เนื้อละเอียดถึงละเอียดมากสะสมตัวกันเป็นชั้นหนามาก มีเลนส์ของทรายแป้ง ทราย

  4. 3. ลักษณะทางอุทกธรณีวิทยาของกรุงเทพมหานคร • เป็นแหล่งกรวดทรายขนาดใหญ่เม็ดกรวดและทรายมีขนาดใหญ่และมีลักษณะกลมมนแทรกสลับอยู่กับชั้นดินเหนียว • ชั้นน้ำบาดาลแต่ละชั้นจะมีชั้นดินเหนียวรองรับอยู่ด้านล่างและปิดทับอยู่ด้านบนจัดเป็นชั้นน้ำบาดาลใต้แรงดัน(Confined aquifer) • ตะกอนที่สะสมตัวอยู่ในที่ราบลุ่มน้ำหลากและบริเวณที่ราบต่ำของลุ่มน้ำเก่ามีหน่วยเรียกว่าชั้นน้ำที่ราบน้ำท่วมถึงอายุควอเทอร์นารี(Qfd: Quaternary flood plain deposits aquifer)หรือเรียกว่าชั้นน้ำเจ้าพระยา (Qcp: Chao Phraya aquifer) ประกอบด้วย

  5. -ชั้นน้ำกรุงเทพฯ (Bankok Aquifer)ประกอบด้วยชั้นน้ำย่อย 2 ชั้นคือชั้นน้ำกรุงเทพฯชั้นบนและชั้นน้ำกรุงเทพฯชั้นล่างประกอบตะกอนด้วยทรายละเอียดทรายหยาบและกรวดมีคุณสมบัติในการกักเก็บน้ำปริมาณมากแต่คุณภาพไม่เหมาะสมที่จะใช้ในการบริโภคได้ ส่วนใหญ่จะเป็นน้ำกร่อยและน้ำเค็ม • ชั้นน้ำพระประแดง (Phra Pradaeng Aquifer)มีความหนา 20-50 เมตร ประกอบด้วย กรวดและทรายมีดินเหนียวแทรกสลับ คุณภาพน้ำมีตั้งแต่จืด กร่อยจนถึงเค็ม

  6. -ชั้นน้ำนครหลวง (Nakhon Luang Aquifer) ประกอบด้วยชั้นกรวดและทราย ที่มีการคัดขนาดดีขนาดปานกลาง (moderately well sorted) ถึงดี (well sorted) มีคุณสมบัติในการกักเก็บน้ำที่ดี คุณภาพน้ำดี ยกเว้นในพื้นที่ฝั่งธนบุรีและตอนใต้ของกรุงเทพฯ คุณภาพน้ำจะกร่อยจนถึงเค็ม -ชั้นน้ำนนทบุรี (Nonthaburi Aquifer) มีคุณสมบัติในการกักเก็บน้ำคล้ายคลึงกับของชันน้ำนครหลวง -ชั้นน้ำสามโคก (Sam Khok Aquifer) ประกอบด้วยชั้นกรวดทรายและดินเหนียวแทรกสลับกรวดราย มีการคัดขนาดดีพอใช้ (fair well sorted)

  7. -ชั้นน้ำพญาไท (Phaya Thai Aquifer) ประกอบด้วยกรวดทราย มีดินเหนียวแทรกสลับ มีการคัดขนาดอยู่ในเกณฑ์พอใช้ มีคุณสมบัติในการกักเก็บน้ำคล้ายกับชั้นน้ำสามโศก -ชั้นน้ำธนบุรี (Thon Buri Aquifer) ประกอบด้วย กรวด ทราย โดยมีดินเหนียวชั้นบาง ๆ แทรกสลับชั้นกรวด ทราย มีการคัดขนาดดี (well sorted) -ชั้นน้ำปากน้ำ (Pak Nam Aquifer) ประกอบด้วย ชั้นทราย กรวด และมีดินเหนียวแทรกสลับลักษณะของกรวด ทราย มีการคัดขนาดที่ดี น้ำบาดาลชั้นนี้จะอุณภูมิสูงถึง 50 C

  8. ชั้นน้ำพระประแดง ชั้นน้ำนครหลวง ชั้นน้ำนนทบุรี ชั้นน้ำธนบุรี และชั้นน้ำพญาไท เป็นชั้นน้ำคุณภาพดี มีความสามารถในการให้น้ำสูง และมีการพัฒนานำขึ้นมาใช้กันมากในเขตกรุงเทพมหานครส่วนชั้นน้ำกรุงเทพ ซึ่งเป็นชั้นน้ำชั้นบนสุด พบว่ามีคุณภาพกร่อยถึงเค็ม จึงไม่นิยมพัฒนานำขึ้นมาใช้ ชั้นน้ำมีความสามารถในการให้น้ำมากกว่า 20 ลบ.ม./ชม. ในทุกๆ พื้นที่ และมีค่าระดับน้ำปกติเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 23-30 เมตร คุณภาพน้ำโดยทั่วไปอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง 4. คุณภาพน้ำบาดาล

  9. ในส่วนของผลการวิเคราะห์ทางเคมีสรุปได้ว่า -คลอไรด์ โดยรวมอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน (ต่ำกว่า 200 มก./ล.)และไม่เกินปริมาณที่ยอมรับได้ (600 มก./ล.) มีที่พบเกินมาตรฐาน อยู่ในเขตพื้นที่หนองแขม เขตมีนบุรี บ้าง -แมงกานีส โดยรวมอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน (ต่ำกว่า 0.3 มก./ล.) และไม่เกินปริมาณที่ยอมรับได้ (0.5 มก./ล.) มีที่พบเกินมาตรฐานอยู่บ้าง ที่แขวงหนองคางพลู เขตหนองแขม มีค่าเกินกว่า 1.0 มก./ล. -เหล็ก โดยรวมอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน (ต่ำกว่า 0.5 มก./ล.) และไม่เกินปริมาณที่ยอมรับได้ (1.0 มก./ล.) มีที่พบเกินมาตรฐาน กระจายตัวในบางเขตเช่น เขตจตุจักร เขตบางขุนเทียน เป็นต้น

  10. -ความกระด้าง โดยรวมอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน (ต่ำกว่า 300 มก./ล.)และไม่เกินปริมาณที่ยอมรับได้ (500 มก./ล.) มีที่พบเกินมาตรฐานอยู่ที่บริเวณทางตะวันตกไปทางตอนกลางจนถึงทางเหนือ -ความกร่อยเค็ม พบว่าพื้นที่ทางด้านทิศใต้ของกรุงเทพมหานคร ในเขตมีนบุรี สาทร จอมทอง และพื้นที่ทางเหนือติดต่อระหว่างเขตลาดพร้าวกับบึงกุ่ม มีปริมาณทั้งหมดที่ละลายในน้ำสูงกว่า 600 มก./ล.

  11. 5. วิกฤตการณ์น้ำบาดาลและผลกระทบในบริเวณกรุงเทพฯและปริมณฑล • การสูบน้ำบาดาลมาใช้มากเป็นระยะติดต่อกันเป็นเวลานานในบริเวณ • ดังกล่าวทำให้เกิดปัญหาวิกฤตการณ์น้ำบาดาลและผลกระทบ คือ • ระดับน้ำบาดาลลดต่ำลงโดยไม่มีการคืนตัว ทำให้เกิดวิกฤตการณ์น้ำ • บาดาลและผลกระทบ ทำให้ปริมาณน้ำที่สูบได้น้อยลงระดับน้ำอยู่ลึกทำให้สูบน้ำไม่ขึ้น ต้องเปลี่ยนเครื่องสูบใหม่หรือเจาะบ่อใหม่ • - การทรุดตัวของแผ่นดิน จากการที่ระดับน้ำหรือแรงดันลดลงทำให้เกิดการอัดตัวของชั้นดิน หรือดินปนทราย ทำให้เกิดการทรุด • ตัวของแผ่นดิน ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมขัง

  12. - การไหลของน้ำเค็มเข้าสู่แหล่งน้ำจืดในบริเวณชั้นน้ำที่อยู่บนที่ราบ ชายฝั่งทะเลหรือ บริเวณที่ราบปากแม่น้ำ ชั้นน้ำบาดาลส่วนใหญ่จะมีน้ำ จืดและน้ำเค็มวางตัวต่อเนื่องกันอยู่อย่างสมดุล เมื่อมีการสูบใช้น้ำมาก ขึ้นทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสมดุลทำให้ น้ำเค็มไหลเข้าสู่แหล่งน้ำจืด

  13. คำถาม 1. จงบอกลักษณะทางอุทกธรณีวิทยาของกรุงเทพมหานคร ? 2. ชั้นน้ำบาดาลในกรุงเทพมหานคร แบ่งออกเป็นกี่ชั้น อะไรบ้าง ? 3. เหตุใดเราจึงพบว่าชั้นน้ำบาดาลในกรุงเทพมหานครมีหลายๆชั้น ? 4. ชั้นน้ำบาดาลในกรุงเทพมหานครจัดอยู่ในชั้นน้ำบาดาลประเภทใด ? 5. จงบอกชั้นน้ำคุณภาพดี มีความสามารถในการให้น้ำสูง และมีการ พัฒนานำขึ้นมาใช้กันมากในเขตกรุงเทพมหานครมา 2 ชั้น? 6. จงเปรียบเทียบลักษณะทางธรณีวิทยา และอุทกธรณีวิทยา ระหว่างชั้น น้ำพระประแดง กับชั้นน้ำสามโคก? 7. ชั้นน้ำบาดาลในกรุงเทพมหานครชั้นไหนที่มีความลึกมากที่สุด และอยู่ ลึกเท่าใด?

  14. 8. จงบอกลักษณะทางธรณีวิทยา และอุทกธรณีวิทยาของชั้นน้ำธนบุรี ? 9. เหตุใดชั้นน้ำกรุงเทพ และชั้นน้ำพระประแดง จึงไม่เหมาะที่จะนำมา บริโภค? 10. การนำน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ในปริมาณมากทำให้เกิดผลที่ตามมาอย่างไร บ้าง และเราจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไรบ้าง?

More Related