1 / 14

บทบาทและภารกิจของกรมส่งเสริมการเกษตร ในการแก้ไขปัญหาความยากจน

บทบาทและภารกิจของกรมส่งเสริมการเกษตร ในการแก้ไขปัญหาความยากจน. โดย นายอนันต์ ลิลา ผู้อำนวยการกองแผนงาน 29 พฤษภาคม 2549. นโยบาย

yoland
Télécharger la présentation

บทบาทและภารกิจของกรมส่งเสริมการเกษตร ในการแก้ไขปัญหาความยากจน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทบาทและภารกิจของกรมส่งเสริมการเกษตรในการแก้ไขปัญหาความยากจนบทบาทและภารกิจของกรมส่งเสริมการเกษตรในการแก้ไขปัญหาความยากจน โดย นายอนันต์ ลิลา ผู้อำนวยการกองแผนงาน 29 พฤษภาคม 2549

  2. นโยบาย กรมส่งเสริมการเกษตรยึดถือนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นหลักในการดำเนินการแก้ไขปัญหาความยากจน โดยกำหนดให้การแก้ไขปัญหาความยากจนของเกษตรกรเป็นภารกิจหลักของกรมฯ

  3. บทบาทของกรมส่งเสริมการเกษตรในการแก้ไขปัญหาความยากจนบทบาทของกรมส่งเสริมการเกษตรในการแก้ไขปัญหาความยากจน 1. ร่วมเป็นคณะกรรมการ/อนุกรรมการ/คณะทำงาน - ระดับชาติ โดยร่วมกำหนดทิศทาง/แนวทางการดำเนินงาน และจัดทำข้อมูลแผนงาน/โครงการของกรมส่งเสริมการเกษตรที่สนับสนุนการแก้ไขปัญหาความยากจน - ระดับจังหวัด เพื่อบูรณาการการทำงานกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภายในและภายนอกกระทรวงฯ - ระดับอำเภอ เพื่อบูรณาการการดำเนินงานในระดับพื้นที่

  4. 2. จัดทำโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน 2.1 โครงการประจำปี 2549 ของกรมฯที่สนับสนุนการแก้ไขปัญหาความยากจน 1) โครงการคาราวานแก้จน 2) โครงการพัฒนาองค์กรเกษตรกรและเครือข่าย 3) โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 4) โครงการพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา 5) โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งฟาร์ม

  5. 2.2 โครงการเสนอของบกลาง ปี 2548 1) โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้และการแก้ไขปัญหา ในหมู่บ้านยากจน งบประมาณ 1,009.33 ล้านบาท 2) โครงการส่งเสริมการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริแก่เยาวชนและเกษตรกรอาสา งบประมาณ 18.45 ล้านบาท *ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการพิจารณาของ ศตจ.

  6. 3. ร่วมดำเนินการในการจัดคาราวานแก้จน กรมส่งเสริมการเกษตรได้ร่วมดำเนินการในการจัดคาราวาน แก้จน ซึ่งเป็นกิจกรรมในการ X-Ray และเสาะหาผู้ยากจนในทุก หมู่บ้านเพิ่มเติม และแยกแยะความต้องการของประชาชนเพื่อ เตรียมการให้ความช่วยเหลือ 4. บทบาทใน ศตจ.กษ. กรมส่งเสริมการเกษตรได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบงานด้าน การติดตามประเมินผลใน ศตจ.กษ. โดยได้จัดทำโปรแกรมและให้ ทุกจังหวัดรายงานผลการแก้ไขปัญหาความยากจนผ่านทาง internet

  7. ภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 1. กรมส่งเสริมการเกษตรได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำโครงการแปลงเรียนรู้ควบคู่การผลิตเพื่อยังชีพ(ปี 2548) และศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน(ปี 2549) โดยมีหน่วยงานอื่นๆในสังกัด กษ. ร่วมดำเนินการ (ได้รับงบฯจาก ศตจ.) 2. การปฏิบัติงานตามตัวชี้วัด “ร้อยละที่ลดลงของเกษตรกรที่ยากจนหลังจากมีขบวนการในการเรียนรู้และให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจแก้ไขปัญหา“ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดของกลุ่มภารกิจด้านส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรและระบบสหกรณ์ โดยมอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตรเป็นผู้วางระบบการจัดเก็บข้อมูล

  8. กรมส่งเสริมการเกษตรกับการแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการ อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด ในฐานะที่มีหน่วยงานถึงในระดับพื้นที่ กรมฯได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานหลักในการจัดการแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการฯ โดยแบ่งการทำงานเป็น 3 ระยะ ดังนี้ 1. การเตรียมการ - ได้ลงพื้นที่ร่วมกับหน่วยงานต่างๆในการศึกษา วิเคราะห์พื้นที่ เพื่อจัดทำข้อมูลพื้นฐาน และแนวทางการพัฒนาอำเภออาจสามารถ - เตรียมความพร้อมของสถานที่ เกษตรกร และการจัดการต่างๆสำหรับการลงพื้นที่ของนายกรัฐมนตรีและคณะ

  9. 2. การดำเนินการระหว่างการสาธิตการแก้ไขปํญหาความยากจนเชิงบูรณาการของนายกรัฐมนตรี (16-20 มค.49) - เข้าร่วมในกระบวนการแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการ - เข้าร่วมประชุมและจัดเตรียมข้อมูล/แผนงานในส่วนที่เกี่ยวข้องสำหรับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้บริหารกระทรวงฯ เพื่อนำเสนอนายกรัฐมนตรี - ประสานงานเพื่อให้การดำเนินการแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการเป็นไปด้วยดี

  10. 3. การดำเนินการต่อเนื่อง/ขยายผล - ดำเนินการให้ความช่วยเหลือเกษตรกร ทั้งที่เป็นรายบุคคล และการแก้ปัญหาในระดับชุมชน - ติดตามและรายงานผลการช่วยเหลือเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง - ร่วมเป็นคณะกรรมการ/อนุกรรมการติดตามผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการ อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด - ส่งเจ้าหน้าที่เข้ารับการฝึกอบรมเพื่อเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้การแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการด้านการเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งจัดโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยผู้ผ่านการอบรมฯจะไปอบรมให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ของกรมฯในแต่ละเขตตรวจราชการต่อไป

  11. กลไกการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดการทำงานในลักษณะบูรณาการในทุกระดับ กรมส่งเสริมการเกษตรได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาความยากจน โดยผ่านกลไก ดังนี้ 1. ศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนระดับชาติ/จังหวัด/อำเภอ ซึ่งเป็นกลไกหลักในการบูรณาการการดำเนินงานในภาพรวมที่มีกระทรวงมหาดไทยเป็นเจ้าภาพ เพื่อนำนโยบาย/แนวทางการดำเนินงานของ ศตจ.ไปสู่การปฏิบัติ

  12. 2. ศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์(ศตจ.กษ.) ทั้งระดับจังหวัด/อำเภอ ซึ่งเป็นกลไก ในการบูรณาการการแก้ไขปัญหาความยากจนของหน่วยงาน ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 3. หน่วยงานของกรมส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ ได้แก่ สำนักงานเกษตรจังหวัด/อำเภอ และศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล ซึ่งเป็นกลไกในการนำแนวทางการดำเนินงานของกรมส่งเสริมการเกษตรไปสู่การปฏิบัติ

  13. แนวทางการดำเนินงานแก้ไขปัญหาความยากจนของกรมส่งเสริมการเกษตรแนวทางการดำเนินงานแก้ไขปัญหาความยากจนของกรมส่งเสริมการเกษตร 1. ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินงาน 2. เน้นการสร้างกระบวนการเรียนรู้แก่เกษตรกรและการมีส่วนร่วมของชุมชน ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน 3. บูรณาการการดำเนินงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับ 4. ใช้ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลเป็นกลไกหลักในการแก้ไขปัญหาความยากจนในระดับพื้นที่

  14. ขอบคุณ

More Related