1 / 19

บทที่ 6 บัญชีฟาร์มและการบันทึกกิจการฟาร์ม

บทที่ 6 บัญชีฟาร์มและการบันทึกกิจการฟาร์ม. ความหมายของการลงบัญชีและการบันทึกกิจการฟาร์ม

Télécharger la présentation

บทที่ 6 บัญชีฟาร์มและการบันทึกกิจการฟาร์ม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 6 บัญชีฟาร์มและการบันทึกกิจการฟาร์ม • ความหมายของการลงบัญชีและการบันทึกกิจการฟาร์ม • เป็นการรวบรวมข้อมูลและข่าวสารความรู้ที่เกี่ยวข้องกับกิจการต่างๆของหน่วยธุรกิจฟาร์มโดยการจดบันทึกข้อมูลและข่าวสารความรู้ดังกล่าวให้อยู่ในรูปแบบทางบัญชีและบันทึกต่างๆที่มีระบบแบบแผนเพื่อความสะดวกและง่ายต่อความเข้าใจและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์และวินิจฉัยสถานภาพด้านการเงิน การคลัง ตลอดจนวัดผลสำเร็จนการทำธุรกิจฟาร์ม เพื่อทราบถึงจุดอ่อนและปัญหาที่มีอยู่ของธุรกิจฟาร์ม อันจะมีส่วนช่วยประกอบการตัดสินใจเพื่อแก้ปัญหาของธุรกิจฟาร์มและช่วยปรับปรุงการดำเนินธุรกิจฟาร์มให้ได้ผลดี รวมทั้งใช้เป็นรากฐานในการวางแผนฟาร์มล่วงหน้า

  2. ความสำคัญของบัญชีฟาร์มและบันทึกต่างๆความสำคัญของบัญชีฟาร์มและบันทึกต่างๆ • 1) ช่วยในการประเมินและวิเคราะห์สถานภาพด้านการเงินและการคลัง • 2) ช่วยในการประเมินและคิดผลทางเศรษฐกิจของธุรกิจฟาร์ม • 3) ช่วยในการควบคุมและดำเนินธุรกิจฟาร์มหรืองานประจำของฟาร์มให้เป็นไปอย่างราบรื่น รวดเร็ว และได้ผลดี • 4) ช่วยประกอบการตัดสินใจในการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงธุรกิจฟาร์ม ตลอดจนการวางแผนงบประมาณฟาร์มล่วงหน้า

  3. ชนิดของบัญชีฟาร์มและบันทึกชนิดของบัญชีฟาร์มและบันทึก • 1) บัญชีแสดงทรัพย์สินและหนี้สินของธุรกิจฟาร์ม Net Worth Statement • 2) บัญชีแสดงรายได้และรายจ่ายของธุรกิจฟาร์ม Income Statement • 3) บัญชีแสดงการหมุนเวียนเงินสดของฟาร์ม Cash Flow Statement • 4) บันทึกอื่นๆที่เกี่ยวกับธุรกิจฟาร์ม

  4. บัญชีแสดงทรัพย์สินและหนี้สินของธุรกิจฟาร์มบัญชีแสดงทรัพย์สินและหนี้สินของธุรกิจฟาร์ม • เป็นบัญชีแสดงและสรุปมูลค่าของทรัพย์สิน (Assets) หนี้สิน (Liability) และมูลค่าของทรัพย์สินสุทธิที่เป็นเจ้าของฟาร์ม (Net Worth or Operator Capital) ณ เวลาใดเวลาหนึ่งที่ทำการสำรวจและวิเคราะห์ • ชี้ให้เห็นถึงฐานะและความมั่นคงทางด้านทรัพย์สินของฟาร์มในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง มีประโยชน์ต่อเกษตรกรเจ้าของฟาร์มในการไปติดต่อขอกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน • ประกอบด้วย 3 ส่วนที่สำคัญคือ 1) ประเภทและมูลค่าของทรัพย์สินฟาร์ม (Assets) 2) ประเภทและจำนวนหนี้สินของฟาร์ม (Liability) และ 3) มูลค่าของทรัพย์สินสุทธิที่เป็นเจ้าของฟาร์ม (Net Worth)

  5. ประเภทของทรัพย์สิน • แบ่งตามลักษณะของสภาพคล่องตัว (Liquidation) • 1) ทรัพย์สินทุนหมุนเวียน (Current Asset)หมายถึงทรัพย์สินประเภทที่สามารถเปลี่ยนมาเป็นเงินสด (โดยการขายหรือแลกเปลี่ยน) ได้ง่ายและรวดเร็ว มีสภาพคล่องตัวสูง เช่น พืชผลที่ผลิตคงเหลือ ปศุสัตว์ที่เลี้ยงไว้เพื่อจำหน่าย ปัจจัยการผลิตคงเหลือ ปัจจัยการผลิตที่ตกลงซื้อล่วงหน้า เงินสดในมือที่ถืออยู่ บัญชีเงินฝากในธนาคาร บัญชีลูกหนี้ ฯลฯ • 2) ทรัพย์สินดำเนินการ (Intermediate Asset) หมายถึงทรัพย์สินประเภทที่มีความคล่องปานกลาง และมักเป็นทรัพย์สินที่ใช้และให้บริการต่างๆในกระบวนการผลิต หรือใช้ประกอบในกระบวนการผลิตของฟาร์ม เช่น พ่อพันธุ์ แม่พันธุ์สัตว์ เครื่องจักรเครื่องมือต่างๆ เช่น รถไถนาเดินตาม เครื่องสูบน้ำ เครื่องพ่นยา ฯลฯ การตีมูลค่าของทรัพย์สินประเภทนี้ต้องใช้มูลค่าของทรัพย์สินที่หักค่าเสื่อม (Depreciation) แล้ว

  6. 3) ทรัพย์สินถาวร (Long-term Asset)หมายถึงทรัพย์สินประเภทที่มีสภาพคล่องค่อนข้างต่ำ การซื้อขายแลกเปลี่ยนต้องใช้เวลานาน มักเป็นทรัพย์สินประเภทถาวร หรืออสังหาริมทรัพย์ต่างๆ เช่น ที่ดิน ยุ้งฉาง โรงเรือน บ้าน ต้นไม้ยืนต้น ฯลฯ การซื้อหรือขายทรัพย์สินประเภทนี้จะส่งผลกระทบต่อฐานะด้านการเงิน การคลังของฟาร์มมาก เพราะต้องใช้เงินจำนวนมากในการซื้อขาย • ประเภทของหนี้สิน หนี้สินที่จะจดบันทึกในบัญชีฟาร์มนั้นเป็นหนี้สินที่เกิดจากการกู้ยืมเงินของหน่วยธุรกิจฟาร์มมาเพื่อใช้ซื้อทรัพย์สินประเภทต่างๆ แบ่งตามระยะเวลากำหนดในการชำระคืนได้ 3 ประเภทคือ • 1) หนี้สินระยะสั้น (Current Liability)เป็นหนี้สินที่เกิดจากการกู้ยืมเงินมาเพื่อใช้ซื้อทรัพย์สินหมุนเวียนของธุรกิจฟาร์ม และยังคงค้างชำระอยู่ ต้องชดใช้คืนภายในกำหนดไม่เกิน 1 ปีนับจากวันที่กู้ยืมมา

  7. 2) หนี้สินระยะปานกลาง (Intermediate Liability)เป็นหนี้สินที่เกิดจากการกู้ยืมเงินมาเพื่อใช้ซื้อทรัพย์สินประกอบการ เช่น กู้มาซื้อรถไถนาเดินตาม เครื่องสูบน้ำ ฯลฯ และยังคงค้างชำระอยู่ และมีกำหนดต้องใช้คืนตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไปแต่ไม่เกิน 5 ปี • 3) หนี้สินระยะยาว (Long-term Liability)เป็นหนี้สินของหน่วยธุรกิจฟาร์มที่เกิดจากการกู้ยืมเงินมาเพื่อใช้ซื้อหรือลงทุนในทรัพย์สินถาวร เช่น กู้เงินมาสร้างโรงเรือน ซื้อที่ดิน ฯลฯ และมีกำหนดเวลาที่ต้องใช้คืนตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป

  8. วิธีการคิดค่าเสื่อมของทรัพย์สินวิธีการคิดค่าเสื่อมของทรัพย์สิน • การจดบันทึกมูลค่าของทรัพย์สินจะต้องตีมูลค่าของทรัพย์สิน ณ วันที่ทำการสำรวจ มีทรัพย์สินบางประเภทมีอายุการใช้งานได้นานหลายปี (Durable goods) มูลค่าของทรัพย์สินจะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพ เนื่องจากเกิดการสึกหรอจากการใช้งาน และความล้าสมัยของทรัพย์สินนั้น ทำให้มูลค่าของทรัพย์สินประเภทนี้ลดค่าลง มูลค่าที่ลดลงนี้เรียกว่า ค่าเสื่อม (Depreciation) ของทรัพย์สินทุน • ในการคิดค่าเสื่อมของทรัพย์สิน จะต้องทราบ • 1) ราคาที่ซื้อมา • 2) มูลค่าซาก (Salvage Value) • 3) มูลค่าของทรัพย์สินทุนที่ยังเหลืออยู่ (Residual Value)

  9. ในทางบัญชีมีวิธีคิดค่าเสื่อมได้ 3 วิธีคือ • 1) คิดค่าเสื่อมแบบเส้นตรง (Straight line method) • 2) คิดค่าเสื่อมแบบลดลง (Declining balance method) • 3) คิดค่าเสื่อมแบบ Sum of the years digits method • คิดค่าเสื่อมแบบเส้นตรง (Straight line method) • DSL = (C –S)/N • DSL = ค่าเสื่อมของทรัพย์สินทุนต่อปีที่คิดแบบเส้นตรง • C = ราคาของทรัพย์สินที่ซื้อมา (Acquisition value) • S = มูลค่าซากของทรัพย์สิน • N = จำนวนปีของทรัพย์สินทุนที่คาดว่าจะใช้ประโยชน์ได้

  10. ฟาร์มรักเกษตรซื้อรถไถนาเดินตามมาในราคา 25,000 บาท คาดว่าจะใช้งานได้นาน 5 ปี หลังจากหมดสภาพแล้ว สามารถขายเป็นเศษเหล็กได้ในราคา 2,500 บาท • DSL = (25,000 – 2,500)/5 = 4,500 บาท • คิดค่าเสื่อมแบบลดลง (Declining balance method) • DDB = (C –A) * R • DDB = ค่าเสื่อมของทรัพย์สินทุนต่อปีที่คิดแบบลดลง • C = ราคาของทรัพย์สินที่ซื้อมา • A = ค่าสึกหรอสะสม (Accumulated depreciation) • R = อัตราค่าเสื่อมเป็น % ซึ่งปกติจะคิดเป็นสองเท่าของการคิดค่าเสื่อม แบบเส้นตรง

  11. ฟาร์มรักเกษตรซื้อรถไถนาเดินตามมาในราคา 25,000 บาท คาดว่าจะใช้งานได้นาน 5 ปี หลังจากหมดสภาพแล้ว สามารถขายเป็นเศษเหล็กได้ในราคา 2,500 บาท (R = 40% ซึ่งเป็นสองเท่าของวิธีคิดแบบเส้นตรง) • DDBปีที่หนึ่ง = (25,000 – 0)* .4 = 10,000 บาท • DDBปีที่สอง = (25,000 – 10,000) * .4 = 6,000 บาท • DDBปีที่สาม = (25,000 – 16,000) * .4 = 3,600 บาท • DDBปีที่สี่ = (25,000 – 19,600) * .4 = 2,160 บาท • DDBปีที่ห้า = (25,000 – 21,760 – 2,500) = 740 บาท

  12. คิดค่าเสื่อมแบบ Sum of the years digits method • DSD = (C –S) * N/SD • DSD = ค่าเสื่อมของทรัพย์สินทุนต่อปีที่คิดแบบ Sum of the years digits method • N = จำนวนปีของทรัพย์สินที่คาดว่าจะใช้ประโยชน์ในธุรกิจฟาร์มได้ • SD = จำนวนปีทั้งหมดของอายุการใช้งานของทรัพย์สินรวมกัน • SD = 1+2+3+4+5 = 15 • DSDปีที่หนึ่ง = (25,000 – 2,500) * 5/15 = 7,500 บาท • DSDปีที่สอง = (25,000 – 2,500) * 4/15 = 6,000 บาท • DSDปีที่สาม = (25,000 – 2,500) * 5/15 = 4,500 บาท • DSDปีที่สี่ = (25,000 – 2,500) * 2/15 = 3,000 บาท

  13. DSDปีที่ห้า = (25,000 – 2,500) * 1/15 = 1,500 บาท

  14. มูลค่าที่เหลืออยู่ของทรัพย์สินมูลค่าที่เหลืออยู่ของทรัพย์สิน ราคาที่ซื้อมา 25,000 Straight line 20,000 Declining balance 15,000 Sum of the years digits 10,000 Salvage value 5,000 0 จำนวนปีที่คาดว่าจะใช้ได้

  15. ขั้นตอนการจดบันทึกบัญชีแสดงทรัพย์สินและหนี้สินขั้นตอนการจดบันทึกบัญชีแสดงทรัพย์สินและหนี้สิน • 1) สำรวจและตรวจสอบจำนวนทรัพย์สินและหนี้สินทั้งหมดของฟาร์มที่มีอยู่ ณ วันที่ทำการสำรวจ • 2) คำนวณหามูลค่าของทรัพย์สินและหนี้สินแต่ละชนิดที่มีอยู่ • 2.1) ทรัพย์สินหมุนเวียนใช้ราคาตลาดหรือราคาซื้อมา • 2.2) ทรพัย์สินประกอบการใช้ราคาซื้อ - ค่าเสื่อมสะสม • 2.3) มูลค่าที่ดินอาจจะใช้สูตร V = R/r • V = มูลค่าปัจจุบันของที่ดิน • R = ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ยต่อปีที่คาดว่าจะได้รับจากที่ดินนั้น • r = อัตราผลตอบแทนของเงินทุนที่เจ้าของฟาร์มควรจะได้รับ

  16. ฟาร์มรักเกษตรมีที่ดินอยู่ 20 ไร่ ใช้ปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ คิดคำนวณแล้วจะได้รับรายได้สุทธิทั้งหมดปีละ 800,000 บาทต่อปี อัตราผลตอบแทนเงินทุนที่ฟาร์มนี้จะได้รับเท่ากับ 10% ต่อปี • V = 800,000/.1 = 8,000,000 บาทต่อ 20 ไร่ • หรือ = 8,000,000/20 = 400,000 บาทต่อไร่ • 3) แบ่งประเภทของทรัพย์สินและหนี้สินของธุรกิจฟาร์มออกเป็นหมวดหมู่ตามชนิดของมัน • 4) คำนวณหามูลค่าของทุนสุทธิที่เป็นของเจ้าของฟาร์ม

  17. รายละเอียดของฟาร์มดินดำน้ำชุ่ม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2547 มีรายการต่าง ๆ ดังนี้

More Related