1 / 30

ชุดฝึกอบรมครูและศึกษานิเทศก์ การใช้คอมพิวเตอร์พกพาเพื่อการศึกษา

ชุดฝึกอบรมครูและศึกษานิเทศก์ การใช้คอมพิวเตอร์พกพาเพื่อการศึกษา. หน่วยที่ ๑. คุณธรรมและจริยธรรมนักการศึกษา. โดย ศาสตราจารย์ ดร . ชัยยงค์ พรหมวงศ์. ประเด็นสารกถา. ความหมายของคุณธรรมและจริยธรรม คุณธรรม ๑๐ ประการในการใช้คอมพิวเตอร์พกพา จริยธรรมการใช้คอมพิวเตอร์พกพา.

Télécharger la présentation

ชุดฝึกอบรมครูและศึกษานิเทศก์ การใช้คอมพิวเตอร์พกพาเพื่อการศึกษา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ชุดฝึกอบรมครูและศึกษานิเทศก์การใช้คอมพิวเตอร์พกพาเพื่อการศึกษาชุดฝึกอบรมครูและศึกษานิเทศก์การใช้คอมพิวเตอร์พกพาเพื่อการศึกษา หน่วยที่ ๑ คุณธรรมและจริยธรรมนักการศึกษา โดยศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์

  2. ประเด็นสารกถา ความหมายของคุณธรรมและจริยธรรม คุณธรรม ๑๐ ประการในการใช้คอมพิวเตอร์พกพา จริยธรรมการใช้คอมพิวเตอร์พกพา

  3. คุณธรรมและจริยธรรมนักการศึกษาคุณธรรมและจริยธรรมนักการศึกษา การใช้คอมพิวเตอร์พกพา ผู้ใช้ต้องมีคุณธรรมและจริยธรรมกำกับเพื่อให้การใช้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ปราศจากอิทธิพลความโลภ โกรธ หลงที่จะทำให้การใช้ คอมพิวเตอร์พกพาการศึกษาไม่เป็นไปในทิศทางที่ถูกที่ควร

  4. D คุณธรรม (Moral) คือ คุณงามความดี ที่ได้ประพฤติดี ประพฤติชอบ ตามค่านิยมที่พึงประสงค์ การปลูกฝังคุณธรรมเป็นสิ่งที่บิดามารดาและครูบาอาจารย์ต้องดำเนินการตั้งแต่เด็กในวัยเยาว์

  5. D คุณธรรมตามพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กล่าวว่า “เมื่อกล่าวถึงคุณธรรมโดยทั่วไปจะระบุชื่อคุณธรรมว่าความละอายแก่ใจ ความเมตตากรุณา ความหวังดี ความซื่อสัตย์สุจริต ความเห็นอกเห็นใจ ความจริงใจ ความยุติธรรม ความเที่ยงตรง ความเสียสละ ความสามัคคี ความอดทน ความอดกลั้น ความขยัน การให้อภัย ความเกรงใจและอื่น ๆ การฝึกฝน และปฏิบัติตนให้มีคุณธรรม ไม่จำเป็นต้องพะวงในการเรียกชื่อคุณธรรม เพราะเป็นสิ่งที่ดีที่ทุกคนสามารถยึดถือปฏิบัติได้โดยไม่ต้องคำนึงว่าเป็นของลัทธิใด การฝึกฝนคุณธรรมควรฝึกตาม ความต้องการและสภาพแวดล้อม

  6. คุณธรรมสำหรับประชาชน ๔ ประการ คุณธรรมสำหรับประชาชน ๔ ประการ เพื่อความร่มเย็นของชาติบ้านเมืองตามพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังนี้ 1. การรักษาความสัตย์ ความจริงใจต่อตัวเองที่จะประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม 2. การรู้จักข่มใจตนเอง ฝึกใจตนเองให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัตย์ความดีนั้น 3. การอดทน อดกลั้น และอดออม ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัตย์สุจริตไม่ว่าจะด้วยประการใด 4. การรู้จักละวางความชั่ว ความทุจริต และรู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง

  7. คุณธรรมการใช้คอมพิวเตอร์พกพาเพื่อการศึกษาคุณธรรมการใช้คอมพิวเตอร์พกพาเพื่อการศึกษา การใช้คอมพิวเตอร์พกพาเพื่อการศึกษานั้น ควรนำหลักการคุณธรรมดังกล่าวข้างต้นมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อนำไปสู่การประพฤติปฏิบัติที่ดีงามเหมาะสมกับบริบทในสังคมและชุมชนของนักเรียน โดยกำหนดคุณธรรม ๑๐ ประการ

  8. คุณธรรม 10 ประการ การใช้คอมพิวเตอร์พกพา เพื่อภาพอนาคตการศึกษไทยสู่ภควันตภาพต้องใช้คุณธรรม 10 ประการ 1. มีความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) โดยใช้คอมพิวเตอร์พกพาเป็นเครื่องมือและเวทีในการเสาะหาความรู้ การทดลองสิ่งแปลกใหม่และแสดงออกซึ่งจินตนาการ

  9. คุณธรรม 10 ประการ 2. รักษาความสัตย์ (Honesty) ด้วยการไม่นำคอมพิวเตอร์พกพาไปใช้โกหก หลอกลวงเพื่อประโยชน์ตนเองและพวกพ้อง จนสร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนเองและผู้อื่น

  10. คุณธรรม 10 ประการ 3. มีความรอบคอบ (Mindful) ในการใช้คอมพิวเตอร์พกพาไม่นำไปใช้เพื่อสนองราคะและตัณหา เช่น โหลดภาพหรือภาพทัศน์ที่ยั่วยุกามารมณ์ ทำให้จิตใจมัวหมอง

  11. คุณธรรม 10 ประการ 4. มีความกล้าหาญ (Courageous) คือกล้าลองกล้าทำในการคอมพิวเตอร์พกพาเพื่อประโยชน์ในการเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ให้แก่นเองและผู้อื่น

  12. คุณธรรม 10 ประการ 5. รู้จักประมาณตน (Contentment) มีความพึงพอใจในความสามารถของตนเองในการคอมพิวเตอร์พกพา เมื่อหาได้และมีไว้เป็นเจ้าของก็ใช้ประโยชน์ให้เต็มที่ไม่ฟุ้งเฟ้อซื้อหา คอมพิวเตอร์พกพา ที่มีราคาเกินกว่าประโยชน์ที่ตนจะใช้ได้หรือได้ใช้

  13. คุณธรรม 10 ประการ 6. อดทนอดกลั้น (Adversity) มีความอดทนต่อสิ่งยั่วยวน ไม่ตามใจตนเองในการใช้คอมพิวเตอร์พกพา ไม่เป็นทาสของความโลภและความโกรธ เมื่อใช้ คอมพิวเตอร์พกพา ไม่ได้ดั่งใจหรือทันใจตนเอง

  14. คุณธรรม 10 ประการ 7. กตัญญูผู้มีพระคุณ (Grateful) ต้องมีความกตัญญูต่อผู้จัดซื้อจัดหาคอมพิวเตอร์พกพามาให้ได้ใช้ และต้องรู้คุณ คอมพิวเตอร์พกพา ที่เป็นแหล่งความรู้ เป็นห้องปฏิบัติการและเป็นเวทีสร้างสรรค์ผลงาน ด้วยการดูแลรักษาไม่ทิ้งๆ ขว้างๆ ปล่อยให้สกปรกหรือเปรอะเปื้อนจนเสียหายหรือสูญหาย

  15. คุณธรรม 10 ประการ 8. การุณผู้อื่น (Merciful) เปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้ใช้คอมพิวเตอร์พกพาของตน ไม่หวงหรือห่วง เต็มใจแบ่งปันเพื่อให้ผู้อื่นได้รับความรู้ เช่นเดียวกับตน

  16. คุณธรรม 10 ประการ 9. ควรตื่นอยู่เสมอ (Alert) เมื่อใช้คอมพิวเตอร์พกพา ควรศึกษาคุณสมบัติและวิธีการใช้ให้เต็มที่เปิดตาเปิดใจรับรู้พัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว

  17. คุณธรรม 10 ประการ 10.ค้นให้เจอแหล่งความรู้ (Searching) ควรใช้คอมพิวเตอร์พกพาในการเสาะแสวงหาความรู้อยู่เป็นนิจ ใช้เป็นโคมไฟส่องความมืดเพื่อให้รู้รอบและรอบรู้ ก้าวทันต่อเหตุการณ์

  18. จริยธรรมการใช้คอมพิวเตอร์พกพาจริยธรรมการใช้คอมพิวเตอร์พกพา จริยธรรม (Ethics) หมายถึง แนวทางการประพฤติปฏิบัติสู่สังคมเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขตามเงื่อนไขของคุณธรรม เพื่อให้แน่ใจว่า มีคุณธรรมแล้วต้องมีจริยธรรมด้วย

  19. จริยธรรมการใช้คอมพิวเตอร์พกพาจริยธรรมการใช้คอมพิวเตอร์พกพา ศาสตราจารย์สุมน อมรวิวัฒน์ สรุปความหมายของจริยธรรมไว้ว่า จริยธรรม คือ แบบแผนของความประพฤติที่ยึดหลักของศีลธรรม ลักษณะที่แตกต่างระหว่าง “ศีลธรรม” และ “จริยธรรม” ก็คือศีลธรรมเป็นหลักการของคุณงามความดีที่มนุษย์ยึดถือปฏิบัติ อิงหลักศาสนาและมีหลักเป็นสากล ส่วนจริยธรรมนั้นแม้จะมีความหมายบางส่วนคล้ายคลึงกับคำว่าศีลธรรม แต่มักเป็นคำที่ใช้ในสาขาวิชาพฤติกรรมศาสตร์ เน้นลักษณะของความประพฤติที่สังคมนิยมชมชอบว่าถูกต้องเหมาะสม (สุมน อมรวิวัฒน์ 2530)

  20. จริยธรรม 6ประการ 1. ความรับผิดชอบในการใช้คอมพิวเตอร์พกพา ไม่นำไปใช้ในทางที่ผิด เช่น ไม่หลอกลวง โฆษณาชวนเชื่อ ยั่วยุกามารมณ์

  21. จริยธรรม 6ประการ 2.รักษาความถูกต้องในการเสนอเนื้อหาสาระบน คอมพิวเตอร์พกพา และการใช้เนื้อหาสาระของผู้อื่นด้วยการอ้างอิงอย่างเหมาะสม

  22. จริยธรรม 6ประการ 3. ความมีมารยาท ไม่นำ คอมพิวเตอร์พกพา ไปใช้เปิดเผยความลับของผู้อื่นเพื่อประจารหรือทำอนาจาร

  23. จริยธรรม 6ประการ 4. การเข้าถึงแหล่งข้อมูลหรือการเลือกแหล่งข้อมูลอย่างถูกต้อง ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ หรือใช้ข้อมูลข่าวสารของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต

  24. จริยธรรม 6ประการ 5. รักษากฎหมาย ไม่นำ คอมพิวเตอร์พกพา ไปใช้ในทางที่ผิดกฎหมาย กฎระเบียบ ค่านิยม และขนบธรรมเนียมประเพณีของสังคม

  25. จริยธรรม 6ประการ 6.สอดส่องดูแลการใช้ คอมพิวเตอร์พกพา ของตนเองและผู้อื่น มิให้ผิดคุณธรรมและจริยธรรม

  26. จริยธรรม 6ประการ โดยสรุป การใช้ คอมพิวเตอร์พกพา ผู้ใช้ต้องมีคุณธรรมประจำใจและประพฤติปฏิบัติตามจริยธรรมที่ดีงาม เพื่อประกันความสำเร็จของการใช้ คอมพิวเตอร์พกพา เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพ สามารถนำพาประเทศชาติไปสู่ความสำเร็จได้.

  27. อภิปรายกลุ่มจิ๋ว ขอให้สมาชิกที่นั่งติดกัน 2-3 คน อภิปรายในประเด็นต่อไปนี้ 1) คุณธรรมกับจริยธรรมต่างกันอย่างไร 2) ขอให้กำหนดแบบจำลองจริยธรรม (Tablet Use Ethical Model) ในการใช้ คอมพิวเตอร์พกพา 1 แบบจำลอง

  28. ขอบคุณ Dr. Chaiyong Brahmawong Telephone: (083)905-8301 E-mail: chaiyong@irmico.com www.chaiyongvision.com www.buddhabirthplace.com

  29. ศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาทางไกล มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี การศึกษา ...ค.บ., ...ค.ม. (จุฬา) ...M.S. in Ed. (Ed. Admin); ...Ph.D in Educational Technology (USC) ประสบการณ์ ...หน.ศูนย์โสตทัศนศึกษากลางจุฬาฯ ...หนึ่งในกลุ่มผู้ก่อตั้งมสธ. ...ผอ.สำนักเทคโนโลยีการศึกษา มสธ. ...ผู้เชี่ยวชาญด้าน ฝึกอบรม การศึกษาทางไกล และ สื่อสารการศึกษาของUNDP/UNESCOที่อินโดนีเซีย ศรีลังกา มัลดีฟส์ อินเดีย ปากีสถาน ญี่ปุ่น ลาวฟิลิปปินส์ ...ผู้พัฒนาระบบการสอน “แผนจุฬา” “แผนมสธ.” ระบบการสอน แบบศูนย์การ เรียน และการสอนแบบอิงประสบการณ์ (EBA) ...ผู้อำนวยการ โครงการศึกษาไร้พรมแดน มหาวิทยาลัยสุรนารี ...รองอธิการบดี มสธ. ...ผู้อำนวยการสำนักฝึกอบรม เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สถาบันพระปกเกล้า

  30. แบบทดสอบความเห็น เห็นด้วย เห็นด้วย ไม่แน่ใจ ไม่เห็นด้วยไม่เห็นด้วย อย่างยิ่ง อย่างยิ่ง ๑. ทานมีผล ๒. ยัญบูชาแล้วมีผล ๓. การเซ่นไหว้มีผล ๔. วิบากกรรมดี กรรมชั่วมี ๕. มารดามีคุณ ๖. บิดามีคุณ ๗. โลกหน้ามี ๘. โลกนี้มี ๙. โอปปาติกะมี ๑๐. สมณะ ชี พราหมณ์ผู้ทำ ให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งมี

More Related