1 / 43

การแปรรูปปิโตเลี่ยมแห่งประเทศไทย

การแปรรูปปิโตเลี่ยมแห่งประเทศไทย. การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย(ปตท.) บริษัท ปตท. จำกัด ( มหาชน ) หรือ บมจ.ปตท. จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2544 หลังการแปลงสภาพ ตามพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ

Télécharger la présentation

การแปรรูปปิโตเลี่ยมแห่งประเทศไทย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การแปรรูปปิโตเลี่ยมแห่งประเทศไทยการแปรรูปปิโตเลี่ยมแห่งประเทศไทย

  2. การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย(ปตท.)การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย(ปตท.) บริษัท ปตท. จำกัด ( มหาชน ) หรือ บมจ.ปตท. จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1ตุลาคม 2544 หลังการแปลงสภาพ ตามพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 โดยรับโอนกิจการ สิทธิ หนี้ ความรับผิด สินทรัพย์ และพนักงานทั้งหมดจากการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) (ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2521) บมจ.ปตท.มีทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 20,000 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 2,000 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท ทั้งนี้ หุ้นของ บมจ.ปตท. ได้ทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยวันแรก ในวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2544 และมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่

  3. การแปลงสภาพของ ปตท. ส่วนที่ 1 เนื้อหาการแปลงสภาพของ ปตท.ให้เปลี่ยนทุนปตท. เป็นหุ้น และจัดตั้งบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ให้ภาครัฐคงสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทฯ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อุตสาหกรรมกำกับดูแลในด้านนโยบายบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

  4. ส่วนที่ 2 สาระสำคัญการประกอบธุรกิจปิโตรเลียม ให้บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) มีอำนาจได้รับยกเว้น มีสิทธิพิเศษ หรือได้รับความคุ้มครอง ตามที่กฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย หรือกฎหมายอื่นได้บัญญัติไว้ให้แก่ ปตท. และกำหนดให้ทรัพย์สินของบริษัทเฉพาะที่ได้รับมาจากการเวนคืน หรือทรัพย์สินของบริษัทในระบบขนส่งปิโตรเลียมทางท่อ เป็นทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี และให้ลูกจ้างของบริษัทเฉพาะที่รัฐมนตรีแต่งตั้งเพื่อปฏิบัติงานเกี่ยวกับการสร้างและบำรุงรักษาคลังปิโตรเลียมและระบบท่อฯ เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา เนื่องจากการแปรรูป ปตท. โดยขายหุ้นให้กับประชาชนทำให้รัฐลดความเป็นเจ้าของ ปตท. ลง จึงควรมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม เพื่อให้ทรัพย์สินของ ปตท. ที่ได้มาโดยอำนาจรัฐ และบุคลากรที่เกี่ยวข้องยังคงจะต้องมีอำนาจตามกฎหมายอยู่ เพื่อสามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง

  5. ส่วนที่ 3 มติคณะรัฐมนตรีให้ยุบเลิก มติคณะรัฐมนตรี (25 กันยาย2544)เงื่อนเวลายุบเลิก พระราชกำหนดกำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2544 กำหนดให้ยุบเลิก ปตท.โดยยกเลิกพระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2521 พระราชกำหนดการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2523 และพระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ฉบับที่21)พ.ศ.2537ตั้งแต่วันที่1ตุลาคม2544เป็นต้นไปจดทะเบียนชื่อบริษัท : บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) วันที่จดทะเบียน : 1 ตุลาคม 2544 ทุนจดทะเบียน : สองหมื่นล้านบาท

  6. อุตสาหกรรม ปิโตรเคมี บทบาทของ ปตท. ในฐานะกลไกของรัฐและการเป็นแกนนำในการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมใหม่ๆ เริ่มมีความจำเป็นน้อยลงตามลำดับ แต่กลับมีความจำเป็นต้องปรับบทบาทให้เป็นไปในเชิงธุรกิจมากขึ้น เนื่องจาก ปตท. จำเป็นต้องแข่งขันกับบริษัทน้ำมันคู่แข่ง และจะต้องสามารถตัดสินใจลงทุนได้ ในเชิงธุรกิจอย่างแท้จริง ประกอบกับแนวโน้มในหลายๆ ประเทศทั่วโลกได้พัฒนาบริษัทน้ำมันแห่งชาติให้มีบทบาทในเชิงธุรกิจ สถานการณ์ดังกล่าวได้นำมาสู่แนวคิดในการปรับเปลี่ยนบทบาทและโครงสร้างองค์กรของ ปตท. ให้มีบทบาทในเชิงพาณิชย์และมีขีดความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2534 ให้ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้าง ปตท. โดยให้พิจารณาว่าควรจัดโครงสร้างในรูปแบบใดจึงจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

  7. แนวทางการแปรรูปการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย 1.ในหลักการ การจัดโครงสร้างเพื่อการแปรรูป ปตท. จะอาศัยพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 เพื่อให้มีการแปรรูปเป็นไปตามเป้าหมายของรัฐบาล ที่กำหนดให้มีการนำ ปตท. เข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ภายในปี 2544 โดยการกำหนดให้นำ ปตท. รัฐวิสาหกิจทั้งองค์กร แปลงสภาพเป็นบริษัท ปตท. จำกัด โดยมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมดในขั้นต้น ก่อนที่จะแปรสภาพเป็นบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (บมจ. ปตท.) เพื่อระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯในระยะต่อไป

  8. 2.สำหรับกิจการระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ จะถูกแยกออกจากกิจการการจัดหาและจำหน่ายก๊าซฯ ของ ปตท. ในลักษณะการแบ่งแยกตามกฎหมาย โดยจัดตั้งเป็นบริษัท ปตท. ท่อส่งก๊าซธรรมชาติ จำกัด ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2542 โดยมี บมจ. ปตท. เป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด และให้มีการทำสัญญาในการดำเนินกิจการระหว่างกิจการทั้งสองเพื่อให้มีการดำเนินการที่แยกออกจากกันอย่างเด็ดขาด นอกจากนั้นเห็นควรให้มีการจัดตั้งบริษัท ปตท. ท่อจัดจำหน่ายก๊าซธรรมชาติ จำกัด เพื่อรองรับแผนการขยายการจำหน่ายก๊าซฯ ของ ปตท. ด้วย

  9. 3.การบริหารจัดการบริษัทในเครือในธุรกิจสำรวจและผลิต ปตท. จะยังคงถือหุ้นใน บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม ในสัดส่วนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 51 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมือวันที่ 4 พฤศจิกายน 2540 เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนและเพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการแปรรูป ปตท. ที่กำหนดให้ ปตท. สผ. เป็นหนึ่งในบริษัทลูกของ ปตท. ที่จะมุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจแบบ Integrated Vertical Structure รวมทั้งเพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนบทบาทของ ปตท.สผ.ให้เป็นกลไกของรัฐในระดับความร่วมมือระหว่างประเทศ ปตท.จะดำเนินการเชิงปฏิบัติการอย่างใกล้ชิดกับบริษัท ไทยออยล์ จำกัด โดยให้เป็นโรงกลั่นหลักในการสนับสนุนภาคการตลาดของธุรกิจน้ำมันของ ปตท. ปตท. จะขายหุ้นทั้งหมดในบริษัทบางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เมื่อโอกาสเอื้ออำนวย ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งทางธุรกิจ และเพื่อส่งเสริมให้มีการแข่งขันในระดับการค้าปลีกอย่างสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ปตท. จะทยอยลดสัดส่วนการถือหุ้นในโรงกลั่นระยองฯ โรงกลั่นสตาร์ฯ เมื่อโอกาสเอื้ออำนวย สนับสนุนให้ให้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตของบริษัทในเครือคล่ายปิโตรเคมีเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและจะทยอยลดสัดส่วนการถือหุ้นบริษัทในเครือที่ไม่มีความสัมพันธ์โดยตรงเชิงธุรกิจเมื่อโอกาสเอื้ออำนวย เช่นบริษัทปุ๋ยแห่งชาติจำกัด (มหาชน) เป็นต้น

  10. บทบาทและความสำคัญของปิโตเลี่ยมแห่งประเทศไทย(ปตท.) การดำเนินธุรกิจอย่างมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี จะทำให้ ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายได้ประโยชน์ต่าง ๆ ตามส่วน ด้วยความเป็นธรรม ตรวจสอบได้ และบริษัทเองก็ได้รับการยอมรับนับถือโดยทั่วไปด้วยว่า เป็นบริษัทสำรวจและผลิตปิโตรเลียมชั้นนำที่มีความสามารถ มีวิถีทางในการดำเนินการและศักยภาพในการแข่งขันอันดับแนวหน้าของโลก หรือกล่าวได้ว่าทำให้ ปตท.สผ. บรรลุเป้าหมาย คือ “เติบโต รุ่งเรือง มั่นคง ยั่งยืน และสง่างาม” นั่นเอง

  11. ผลิตภัณฑ์และบริการ ปัจจุบัน ปตท.จำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมต่างๆ ได้แก่ น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันหล่อลื่น ก๊าซหุงต้ม ก๊าซธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์ก๊าซ ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ผลพลอยได้จากการแยกก๊าซธรรมชาติ เพื่อตอบสนองความต้องการในทุกธุรกรรม ทั้งในภาคครัวเรือน การขนส่ง พาณิชยกรรม และอุตสาหกรรม ตลอดระยะเวลาของการดำเนินธุรกิจ ปตท.ได้ครองบทบาทของการเป็นผู้นำในการนำผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม ออกสู่ตลาดเป็นรายแรกเสมอมา อาทิ น้ำมันเบนซินมีค่าออกเทนสูง น้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่ว น้ำมันดีเซลกำมะถันต่ำ ฯลฯ จนสามารถก้าวสู่ความเป็นผู้นำการตลาดของผลิตภัณฑ์น้ำมันเชื้อเพลิงตั้งแต่ปี 2536 ทั้งนี้ ปตท. มีสถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ที่ศึกษา ค้นคว้า วิจัย เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมของ ปตท. และความต้องการของผู้บริโภค เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับสภาพรถยนต์ และการใช้ในประเทศไทยให้มากที่สุดและต่อเนื่อง

  12. การควบคุมคุณภาพ ปตท.ตระหนักดีว่าการควบคุมคุณภาพก๊าซธรรมชาติเป็นงานที่มีความสำคัญมาก และเนื่องจากก๊าซธรรมชาติที่ ปตท.ส่งให้โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ นั้นรับจากหลากหลายแหล่งที่มีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน จึงได้ทำการปรับปรุงก๊าซฯ ในฝั่งตะวันออกให้มีคุณภาพเดียวกันหมดและคงที่ ก่อนส่งเข้าระบบท่อเพื่อส่งต่อไปยังลูกค้าแต่ละราย นอกจากนี้ยังได้จัดให้มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่รับผิดชอบในการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพก๊าซธรรมชาติให้เป็นไปตามสัญญาอย่างสม่ำเสมอตามวิธีมาตรฐานสากล เพื่อความมั่นใจสูงสุดว่าก๊าซธรรมชาติที่ซื้อจาก ปตท.มีคุณภาพได้มาตรฐานอย่างต่อเนื่อง ในการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพของก๊าซธรรมชาตินั้นมีการดำเนินการวิเคราะห์

  13. แก๊สโซฮอล์ ความเป็นมาของ "แก๊สโซฮอล์" ในประเทศไทย เกิดขึ้นจากแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2528 ที่ทรงเล็งเห็นว่าประเทศไทยอาจประสบกับปัญหาการขาดแคลนน้ำมันและปัญหาพืชผลทางการเกษตรมีราคาตกต่ำ จึงทรงมีพระราชดำริให้โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา ศึกษาถึงการนำอ้อยมาแปรรูปเป็นแอลกอฮอล์ โดยการนำแอลกอฮอล์ที่ผลิตได้นี้มาผสมกับน้ำมันเบนซินผลิตเป็นน้ำมัน "แก๊สโซฮอล์" (Gasohol) เพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน ปี พ.ศ. 2529 ทางโครงการส่วนพระองค์ได้เริ่มผลิตแอลกอฮอล์จากอ้อย หลังจากนั้นได้มีหน่วยงานรัฐและเอกชนให้ความร่วมมือในการพัฒนาแอลกอฮอล์ที่ใช้เติมรถยนต์อย่างต่อเนื่อง จนเมื่อปี พ.ศ. 2539 การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ร่วมกับ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วท.) และโครงการส่วนพระองค์ ได้ร่วมกันปรับปรุงคุณภาพแอลกอฮอล์ที่ใช้เติมรถยนต์ โดยการนำแอลกอฮอล์ที่โครงการส่วนพระองค์ผลิตได้ที่มีความบริสุทธิ์จากเดิม 95% ไปกลั่นซ้ำเป็นแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ 99.5% แล้วจึงนำมาผสมกับน้ำมันเบนซิน ออกเทน 91 ในอัตราแอลกอฮอล์ 1 ส่วน กับเบนซิน 9 ส่วน เป็นน้ำมัน "แก๊สโซฮอล์" ทดลองเติมให้กับรถเครื่องยนต์เบนซินของโครงการส่วนพระองค์ ปัจจุบัน รถเครื่องยนต์เบนซินของโครงการส่วนพระองค์ ได้เติมแก๊สโซฮอล์เป็นน้ำมัน

  14. เชื้อเพลิงจากสถานีบริการน้ำมัน ปตท. ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา รวมทั้ง ปตท. เริ่มเปิดจำหน่ายอย่างเป็นทางการให้กับประชาชนทั่วไป เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2544 ณ สถานีบริการ ปตท. บริเวณที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของ ปตท. "แก๊สโซฮอล์" ที่ ปตท. ออกจำหน่ายเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้ จากการผสมระหว่าง เอทานอล หรือที่เรียกว่า เอทิลแอลกอฮอล์ (Ethyl Alcohol) ซึ่งเป็น แอลกอฮอล์ บริสุทธิ์ 99.5% โดยปริมาตร ผสมกับน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วออกเทน 91 (ชนิดที่มีคุณสมบัติบางตัวต่างจากเบนซิน 91 ที่จำหน่ายอยู่ในปัจจุบัน) ในอัตราส่วนเบนซิน 9 ส่วน เอทานอล 1 ส่วน จึงได้เป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ออกเทน 95 ที่มีคุณสมบัติเป็นไปตามข้อกำหนดของกรมธุรกิจพลังงานกระทรวงพลังงานการผสมแอลกอฮอล์ลงในน้ำมันเบนซินในข้างต้น เป็นในลักษณะของสารเติมแต่งปรับปรุงค่า Oxygenates และออกเทน (Octane) ของน้ำมันเบนซิน ซึ่งสามารถใช้ทดแทนสารเติมแต่งชนิดอื่นที่นิยมใช้ในปัจจุบัน คือ Methyl-Tertiary-Butyl-Ether (MTBE) อนึ่ง เอทานอล หรือ เอทิลแอลกอฮอล์ เป็น แอลกอฮอล์ ที่ได้จากการแปรรูปจากพืชจำพวกแป้งและน้ำตาล เช่น อ้อย ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง ฯลฯ

  15. ผลดีต่อเครื่องยนต์ 1.ช่วยประหยัดเชื้อเพลิง เช่นเดียวกับน้ำมันเบนซินออกเทน 95 2X 2.ไม่มีผลกระทบต่อสมรรถนะการใช้งานและอัตราการเร่งดีกว่าหรือไม่แตกต่าง จากน้ำมันเบนซิน95.2 3. ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการปรับแต่งเครื่องยนต์ 4.)สามารถเติมผสมกับน้ำมันที่เหลืออยู่ในถังได้เลย โดยไม่ต้องรอให้น้ำมันในถังหมด

  16. ภัณฑ์จากก๊าซธรรมชาติ ก๊าซธรรมชาติจากแหล่งในอ่าวไทยนั้นประกอบด้วยสารไฮโดรคาร์บอนหลายชนิดที่มีคุณค่า ด้วยเหตุนี้ ปตท. จึงได้ลงทุนดำเนินการก่อสร้างโรงแยกก๊าซฯ ณ จังหวัดระยองและนครศรีธรรมราช เพื่อทำการแยกผลิตภัณฑ์ต่างๆ นับเป็นการเพิ่มมูลค่าสูงสุดของทรัพยากรในประเทศและถือเป็นการบุกเบิกการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ อีกมากมายที่สำคัญ ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์จากโรงแยกก๊าซฯ ในปัจจุบันนำส่งป้อนเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเป็นส่วนใหญ่ และมีการจำหน่ายให้แก่ลูกค้าอุตสาหกรรมต่างๆ โดยตรงด้วย นอกจากนี้ผลผลิตจากโรงแยกก๊าซฯ ที่เกินความต้องการส่วนหนึ่งสามารถส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศอีกด้วย

  17. โครงการในอนาคต เพื่อเป็นการรองรับความต้องการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นและเพื่อผลิตก๊าซอีเทนสำหรับใช้เป็นวัตถุดิบให้กับโครงการขยายกำลังการผลิตของบริษัท ไทยโอเลฟินส์ จำกัด ปตท. จึงมีแผนงานที่จะก่อสร้างโรงแยกก๊าซธรรมชาติหน่วยที่ 5 ขนาด 530 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ที่ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง โรงแยกก๊าซธรรมชาติดังกล่าวมีความสามารถในการผลิตอีเทน 520,000 ตันต่อปี ก๊าซปิโตรเลียมเหลว 646,000 ตันต่อปี และก๊าซโซลีนธรรมชาติ 177,000 ตันต่อปี และคาดว่าจะแล้วเสร็จพร้อมดำเนินการได้ในปี 2547 รวมเงินลงทุนโครงการทั้งสิ้นประมาณ 13,578 ล้านบาท(ที่ระดับอัตราแลกเปลี่ยน45บาทต่อ1เหรียญสหรัฐ) นอกจากนี้ในปี 2548 ปตท.วางแผนที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการแยกก๊าซฯ ของโรงแยกก๊าซฯ หน่วยที่ 1 ที่ จ.ระยอง โดยการขยายและปรับปรุงประสิทธิภาพซึ่งจะส่งผลให้มีความสามารถในการแยกก๊าซอีเทนเพิ่มขึ้นอีก 50,000 ตันต่อปี

  18. วิเคราะห์ SWOT จุดอ่อน 1.การแปรรูปเป็นไปอย่างล่าช้า เพราะต้องอยู่ในการดำเนินงานของรัฐ ซึ่งกว่าจะเห็นเป็นรูปร่างได้นั้นต้องใช้เวลานาน และอีกอย่างต้นทุนในการดำเนินงานเริ่มแรกนั้นใช้ทุนสูง 2.เมื่อมีการแปรรูปนั้นจะส่งผลกระทบและเป็นภาระในการบริโภคของประชาชน ซึ่งประชาชนจะต้องแบกรับกับภาวะค่าน้ำมันแพง 3.ทำให้รัฐบาลต้องมีบทบาทมากในเรื่องของการตึงราคาน้ำมัน 4.ทำให้รัฐบาลต้องรีดภาษีในภาคอื่นๆ เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงกับประชาชน ในเร่องของการ บริโภคที่จะต้องจ่ายค่าสินค่าที่เพิ่มขึ้น แต่รับได้ของที่เท่าเดิม 5.มีการขยายสาขาไปตามต่างจังหวัดทำให้ต้องเสียต้นทุนในการขนส่งเพิ่มขึ้น

  19. วิเคราะห์ SWOT (ต่อ) จุดแข็ง 1.เป็นผู้นำในเรื่องของการค้าน้ำมัน 2.ธุรกิจประเภทนี้จึงมีโอกาสล้มน้อย 3.บริษัทมีฐานะการเงินที่เข้มแข็งเมื่อเปรียบเทียบกับหลายบริษัทในปัจจุบัน 4.รัฐเข้ามามีส่วนร่วมในการลงทุนอยู่ คือ รัฐยังคงถือหุ้นในส่วนของ ปตท. อยู่ 5.มีกำไรเพิ่มขึ้น 6.มีโรงกลั่นเป็นของตัวเอง

  20. วิเคราะห์ SWOT (ต่อ) โอกาส ด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ ในเรื่องของการกลั่นน้ำมันเพื่อลดต้นทุน พัฒนาประสิทธิภาพของการกลั่นน้ำมันที่จะลดต้นทุนด้วย การลงทุนกับประเทศเพื่อนบ้าน อาทิเช่น พม่า เวียดนาม มาเลเซีย ในเรื่องของการวางท่อก๊าซ ความเสี่ยง การลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน อาทิเช่น พม่า เวียดนาม มาเลเซีย บริษัทต้องเผชิญกับปัญหาในเรื่องของการเมืองของแต่ละประเทศ โดยเฉพาะการวางท่อก๊าซพาดผ่านประเทศเพื่อนบ้าน ปัญหาจากกลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติ และความเสี่ยงในเรื่องของภัยธรรมชาติ

  21. ผลกระทบจาการแปรรูป สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนหลังการแปรรูป ปตท. ก็คือ วัตถุประสงค์ขององค์กรที่เปลี่ยนแปลงไป จากการเป็นรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินการสาธารณูปโภคเพื่อประชาชน กลายเป็นบริษัทจำกัด (มหาชน) ที่ดำเนินธุรกิจเพื่อผลประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหุ้นเป็นสำคัญ ในขณะที่เป้าหมายในเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพสู่มาตรฐานสากล ความโปร่งใส และการเพิ่มการแข่งขันการให้บริการแก่ประชาชน ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ในการแปรรูปกลับไม่เกิดขึ้นตามที่มีการกล่าวอ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการแข่งขันให้บริการประชาชน ซึ่งก่อนการแปรรูป ปตท. เมื่อปี 2544 ได้มีการให้คำมั่นสัญญาที่จะดำเนินการเมื่อมีการนำหุ้น ปตท.เข้าตลาดหลักทรัพย์แล้ว คือ1. จะมีการแยกธุรกิจท่อส่งก๊าซออกจากธุรกิจส่วนอื่นภายใน 1 ปี เพื่อเปิดทางให้มีการแข่งขัน ลดการผูกขาดการจัดหาก๊าซ2. จะมีการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลอิสระ สาขาก๊าซธรรมชาติและไฟฟ้า เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค3. จะประกันผลตอบแทนการลงทุนขยายท่อก๊าซของ ปตท. (IRROE) = 16%

  22. ค่าจ้างพนักงาน

  23. ตัวอย่างผลกระทบที่เกิดขึ้นตัวอย่างผลกระทบที่เกิดขึ้น 1.น้ำมัน ก่อนการแปรรูป ปตท.เคยมีบทบาทหลักในการตรึงราคาน้ำมันในภาวะที่ราคาในตลาดโลกสูง ซึ่งเป็นการทำเพื่อผลประโยชน์ของประเทศ ไม่ใช่คิดถึงผลประโยชน์ของ ปตท.เป็นตัวตั้ง แต่หลังจากแปรรูป ปตท.แล้ว เมื่อรัฐบาลมีนโยบายตรึงราคาน้ำมัน รัฐต้องใช้กองทุนน้ำมันในการตรึงราคาน้ำมัน ซึ่งขณะ นี้ (มีนาคม 2548) ปรากฏว่ากองทุนน้ำมันมีหนี้สะสมจากการตรึงราคาน้ำมันถึง 7 หมื่นล้านบาทแล้ว ในขณะที่การบริโภคน้ำมันไม่ได้ลดลงตามกลไกราคาที่แท้จริง หนี้สินก้อนมหึมานี้จะกลายเป็นภาระของผู้บริโภคในอนาคต เพราะเมื่อราคาน้ำมันในตลาดโลกลดลง รัฐบาลก็จะไม่สามารถลดราคาน้ำมันในประเทศได้ เนื่องจากต้องหาเงินไปชดเชยกองทุน น้ำมัน โดยสรุปแล้ว ผู้ที่ได้ประโยชน์สูงสุดจากการตรึงราคาน้ำมันก็คือ ปตท. ในฐานะผู้ขายน้ำมัน

  24. ตัวอย่างผลกระทบที่เกิดขึ้น(ต่อ)ตัวอย่างผลกระทบที่เกิดขึ้น(ต่อ) 2.ก๊าซหุงต้ม ก่อนการแปรรูปรัฐบาลใช้นโยบายตรึงราคาก๊าซหุงต้มเพื่อให้ประชาชนสามารถใช้ก๊าซในราคาถูก แต่ในปี 2544 ซึ่งมีการแปรรูป ปตท. รัฐบาลได้ประกาศราคาก๊าซหุงต้มลอยตัว ทำให้ราคาสูงขึ้นเป็นลำดับ จากราคาถังละ 160 บาท ปัจจุบันราคาถังละเกิน 300 บาทแล้ว ก๊าซหุงต้มถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนชั้นล่าง และส่วนหนึ่งใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถแท็กซี่ แต่ก๊าซหุงต้มถือเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง และ ปตท.กำลังหาช่องทางที่จะจำหน่ายเป็นสินค้าส่งออก ซึ่งในอนาคตผู้บริโภคอาจได้รับผลกระทบเพิ่มขึ้นอีก

  25. ผลประโยชน์ทางการเมืองเข้าแทรกซ้อน จากข้อมูลรายชื่อผู้บริหาร ปตท.และรายชื่อคณะกรรมการ ปตท.เป็นที่น่าสังเกตว่าผู้ที่มาดำรงตำแหน่งระดับสูงของ ปตท.นั้นบุคคลส่วนใหญ่จะเป็นข้าราชการ และเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลในรัฐบาล โดยเฉพาะตระกูลชินวัตร เช่น คณะกรรมการ ปตท.นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ปลัดกระทรวงยุติธรรม ซึ่งเป็นน้อยเขยของ นายกทักษิณ ชินวัตร และนายโอฬาร ไชยประวัติ ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทชินคอร์ปและนายกสภามหาวิทยาลัยชินวัตรนอกจากนี้ในรายชื่อผู้บริหาร ปตท. มีชื่อนายทรงวุฒิ ชินวัตร และซึ่งดำรงตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารองค์กร โดยเพิ่งเข้ามาดำรงตำแหน่งในปี 2547 ก่อนหน้านี้ไม่มีชื่ออยู่ จากรายชื่อเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า มีอิทธิพลทางการเมืองมาแทรกซึมอยู่

  26. สรุป: ใครได้อะไรจากการแปรรูป ปตท. 1.ประชาชน • จ่ายค่าไฟแพงขึ้น ก๊าซหุงต้มก็แพงขึ้น และมีหนี้กองโต อันเนื่องมาจากภาวะราคาน้ำมันเพิ่มสูง จึงทำให้รัฐบาลต้องดึงราคาน้ำมันโดยการรีดเก็บภาษีจากประชาชนเพิ่มขึ้นจากด้านอื่นๆ เช่น ด้านการบริโภค • มีผลิตภัณฑ์หลากหลาย คุณภาพระดับสากล

  27. สรุป: ใครได้อะไรจากการแปรรูป ปตท.(ต่อ) 2.นักลงทุน /ตลาดทุน • ได้รับประโยชน์จากราคาหุ้นที่พุ่งทะยานอย่างสวยงาม ซึ่งจะเห็นได้จากการที่หุ้นของปตท. จะขายหุ้นในราคาที่สูง จึงส่งผลให้นักลงทุนได้รับกำไรจากการขายหุ้นคนเล่นหุ้นที่ได้ประโยชน์อย่างเต็มไม้เต็มมือจริงๆ ที่มักมีความเกี่ยวข้องกับการเมืองก็มีไม่ถึงหลักร้อยซึ่งได้กำไรมหาศาลจากการแปรรูปครั้งนี้ • เป็นทางเลือกในการลงทุน • ส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน

  28. สรุป: ใครได้อะไรจากการแปรรูป ปตท.(ต่อ) 3.ประเทศ • กำไรของ ปตท. นับแต่มีการแปรรูป จำนวนที่ควรตกเป็นขอ รัฐทั้งหมด กลับต้องแบ่งไปให้เอกชนกึ่งหนึ่ง โดยผลประโยชน์เข้ากระเป๋าเอกชน • ความมั่นคงพลังงาน/เสถียรภาพราคาพลังงานในระยะยาว • สร้างชื่อเสียง/ความน่าเชื่อถือ • กระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

  29. สรุป: ใครได้อะไรจากการแปรรูป ปตท.(ต่อ) 4.เศรษฐกิจ • สนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ • ลดการนำเข้า • สร้างรายได้เข้าประเทศ 5.สังคม • โครงสร้างการพัฒนาชุมชน • ส่งเสริมการประหยัดพลังงาน • อนุรักษ์และเผยแพร่ความเป็นไทย

  30. สรุป: ใครได้อะไรจากการแปรรูป ปตท.(ต่อ) 6.รัฐบาล • รายได้และมูลค่าของทรัพย์สินเพิ่มขึ้น • ภาระหนี้ลดลง • สนองนโยบายเพื่อพัฒนาประเทศ 7.สิ่งแวดล้อม • คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม • การปลูกป่า

  31. สรุป: ใครได้อะไรจากการแปรรูป ปตท.(ต่อ) 8.องค์กร • ประสิทธิภาพและความคล่องตัวสูงขึ้น • ฐานะทางการเงินเข้มแข็ง ศักยภาพเพิ่มขึ้น มุ่งเน้นธรรมาภิบาล 9.พนักงาน • มีความมั่นคง ประสิทธิภาพสูงขึ้น มีวัฒนธรรมที่ดี 10.ภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรม • ต้นทุนพลังงานในระดับต่ำ • เพิ่มความสามารถการแข่งขัน

  32. วิเคราะห์โดยทฤษฎีศาสตร์และการคลังสาธารณะวิเคราะห์โดยทฤษฎีศาสตร์และการคลังสาธารณะ

  33. ราคา s อุปทานส่วนเกิน • ในด้านของ Demand และ Supply ราคาน้ำมัน p1 E p อุปสงค์ส่วนเกิน p2 D ปริมาณน้ำมัน Qd1 Qs2 Q0 Qs1 Qd2 เมื่อราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นจะทำให้มีอุทานมากกว่าอุปสงค์จึงทำให้เกิดอุปทานส่วนเกินและเมื่อราคาลดลงจะทำให้อุปสงค์มากกว่าอุปทานจึงทำให้เกิดอุปสงค์ส่วนเกิน

  34. วิเคราะห์โดยทฤษฎีเศรษฐศาสตร์และการคลังสาธารณะ(ต่อ)วิเคราะห์โดยทฤษฎีเศรษฐศาสตร์และการคลังสาธารณะ(ต่อ) • 2.เมื่อมีการแปรรูปทำให้รัฐบาลมีรายได้เพิ่มขึ้น จึงทำให้รัฐบาลนำเงินส่วนนี้ไปใช้จ่ายในโครงการเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยที่เป็นการลดภาระหนี้ลดด้วย • 3.น้ำมันจัดได้ว่าเป็นสินค้าที่แบ่งแยกการบริโภคออกจากกันได้อย่างชัดเจน และเป็นปรปักษ์ในการบริโภคคือว่าเมื่อมีคนหนึ่งบริโภคแล้วจะทำให้ความพอใจของอีกคนลดลง • ถ้าเกิดว่าเขาไม่มีเงินในการซื้อเขาก็จะไม่มีสิทธิที่จะใช้น้ำมันจะเห็นได้ว่ากลไกราคาสามารถทำงานได้อย่างดีเพราะฉะนั้นจัดได้ว่าน้ำมันเป็นสินค้าเอกชนอย่าง • 4.ในเรื่องของการเก็บภาษีจากผู้ที่รายได้มากมาช่วยผู้ที่ใช้น้ำมันโดยการตึงราคาจากรัฐบาลเป็นการจักสรรที่วิเศษที่สุด • เพราะแม้ว่าผู้ที่มีรายได้มากจะมีความพอใจที่ลดลงแต่ภาพโดยรวมแล้วสังคมขึ้นเพราะผู้บริโภคไม่ต้องแบกภาระเรื่องของราคาน้ำมันที่สูงเกินไป

  35. วิเคราะห์โดยทฤษฎีเศรษฐศาสตร์และการคลังสาธารณะ(ต่อ)วิเคราะห์โดยทฤษฎีเศรษฐศาสตร์และการคลังสาธารณะ(ต่อ) จุด J ไม่ใช่การจัดสรรที่วิเศษที่สุด รัฐบาลควรจะทำการจัดสรร การกระจายสวัสดิการของสังคมให้อยู่ที่จุด Y ซึ่งจะทำให้ระดับความพึงพอใจของคนรวยลดลงแต่ว่าของสังคมดีขึ้น จุดY จึงเป็นจุดที่วิเศษที่สุด • 5.เป็นการจัดสรรที่ดีที่สุด ความพอใจของคนรวย M A A1 J Y S4 S3 S2 ความพอใจของสังคม S1 B B1 N

  36. END

  37. สมาชิกกลุ่ม นายจักรพงษ์ บุญครอง 483230014-3 นางสาวกุสุมา โสมประโคน 483230006-0 นางสาวนาตยา ชาติเจริญ 483230053-1 นางสาวรุจรดา พูลแสนดี 48323098-9 นางสาวศศิธร เห็นงาม 483230116-3 สาขาเศรษฐศาสตร์ปีที่ 2

More Related