1 / 29

รู้เท่าทัน เข้าใจลูกวัยรุ่น

รู้เท่าทัน เข้าใจลูกวัยรุ่น. พญ.วิมลรัตน์ วันเพ็ญ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์. ประเด็น. เข้าใจวัยรุ่น เลิกบ่นกันเถอะ มาฝึกการสื่อสารที่ถูกต้องกัน. คำจำกัดความ. ระยะเวลาจาก puberty ถึงวัยผู้ใหญ่

zoey
Télécharger la présentation

รู้เท่าทัน เข้าใจลูกวัยรุ่น

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. รู้เท่าทัน เข้าใจลูกวัยรุ่น พญ.วิมลรัตน์ วันเพ็ญ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์

  2. ประเด็น • เข้าใจวัยรุ่น • เลิกบ่นกันเถอะ มาฝึกการสื่อสารที่ถูกต้องกัน

  3. คำจำกัดความ • ระยะเวลาจาก pubertyถึงวัยผู้ใหญ่ • โดย puberty เริ่มต้นอายุ 11 – 16 ปีในผู้ชาย และ 9 – 16 ปีในผู้หญิง • โดยวัยผู้ใหญ่ โดยทั่วไปหมายถึง วัยที่สามารถเป็นอิสระจากผู้ปกครอง ถ้าตามกฎหมาย คือ อายุ 20 ปี

  4. การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย • เปลี่ยนแปลงมากในช่วง 11 – 13 ปี • โตเร็ว โดยเฉพาะส่วนคอ แขน ขา มากกว่าลำตัว ดูเก้งก้าง กล้ามเนื้อเพิ่ม • ไขมันสะสมเพิ่มขึ้นในผู้หญิง แต่ในผู้ชายไขมันจะลดลงเด็กจะกินจุ และ กินมากขึ้น และต้องการแคลอรี่มากขึ้น (GHมากขึ้น) • วงจรการนอนเปลี่ยนแปลง ร่างกายต้องการพักผ่อน • ฮอร์โมนเพศหลั่ง มีผลให้อวัยวะเพศเติบโตและมีการเปลี่ยนแปลงในรูปร่าง เช่น มีเต้านม ขนรักแร้ ขนที่อวัยวะเพศ ฝันเปียก เปลี่ยนแปลงเสียง มีหนวด • ฮอร์โมนเพศชายมากกว่าผู้ใหญ่

  5. การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย • ช่วงวัยรุ่นตอนต้นมีการเชื่อมโยงใยสมองส่วนหน้ามาก ทำให้เกิดความสับสน ซึ่งเป็นลักษณะโดดเด่นของวัยรุ่น เมื่อเริ่มเข้าวัยผู้ใหญ่ความเชื่อมโยงลดลงแต่เป็นระเบียบมากขึ้น • สมองส่วนอยาก(limbic system) ได้รับอิทธิพลจากฮอร์โมนเพศ ทำให้มีความต้องการทางเพศ แสวงหาความตื่นเต้น ความรุนแรง

  6. การเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจการเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจ • การสนใจตนเอง สนใจรูปร่างหน้าตาของตนเองมากขึ้น บางครั้งส่องอยู่หน้ากระจกนานๆ อ่อนไหวต่อคำวิจารณ์ สายตา ท่าที กลัวถูกตำหนิ จึงต้องแต่งตัวตามอย่างเพื่อนๆในกลุ่ม • ความต้องการเป็นอิสระ ต้องการพึ่งตนเอง ไม่ชอบให้คนออกคำสั่ง อยากตัดสินใจด้วยตนเอง มักมีความคิดที่ไม่ตรงกับพ่อแม่ แต่ถ้าพ่อแม่ไม่สนใจเลยก็หงุดหงิด รับฟังเพื่อนมากขึ้น รับฟังคนนอกบ้านมากขึ้น

  7. ด้านสติปัญญาและความคิดด้านสติปัญญาและความคิด • นามธรรม เข้าใจเชิงทฤษฎี • มีความคิดรวบยอดที่ลึกซึ้งมากขึ้น สามารถวิจารณ์ เปรียบเทียบบรรยายได้ละเอียดขึ้น ตั้งสมมุติฐานได้ รู้จักดึงเหตุผลจากสิ่งที่ฟัง • ยังคงยึงตนเองเป็นศูนย์กลาง เป็นเสิศ ถูกต้อง จึงหลุ่มหลง เชื่อมั่นกับสิ่งที่ตนเองคิด เช่น ศิลปะ โคลง กลอน นิยาย • ถ้าถูกใจก็สามารถถูกชักจูงได้ง่าย

  8. การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ • อารมณ์ไม่แน่นอน เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย กิริยารุนแรง ก้าวร้าว พูดจาไม่น่าฟัง • อาจมีพฤติกรรมถอยหลัง ทะเลาะกับน้อง ขี้เกียจ อยากให้คนมาดูแล โกรธง่าย • เครียดกับเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ความรับผิดชอบที่มากขึ้น การคบเพื่อนใหม่

  9. การพัฒนาทางด้านสังคม • เพื่อนคือสิ่งที่สำคัญ การยอมรับจากเพื่อน การกระทำที่เหมือนเพื่อนในกลุ่ม จึงเกิดการลอกเลียนแบบ

  10. วัยรุ่นไม่ชอบพ่อแม่ที่วัยรุ่นไม่ชอบพ่อแม่ที่ • ดุด่าว่ากล่าว เทศนาสั่งสอน • พูดผูกขาดฝ่ายเดียว พ่อแม่เป็นจอมเผด็จการ • อารมณ์บูด ระบายอารมณ์ใส่ • เอาเรื่องของลูกไปพูดกับคนอื่น • พูดเปรียบเทียบกับคนอื่น • ตำหนิต่อหน้าคนอื่น • เพิกเฉย ไม่คุยกับลูก • ไม่ถามความเห็น ตัดสินใจเองตลอด

  11. สูตร 3 Rs Relationship Rules Resilient Child (เด็กว่านอนสอนง่าย) No Relationship Rules Rebellious Child (เด็กดื้อ) Relationship No Rules Spoiled Child (เด็กถูกตามใจ)

  12. วงจรปัญหา เด็กเลี้ยงยาก ก่อพฤติกรรมที่เป็นปัญหามากขึ้น ก่อพฤติกรรมที่เป็นปัญหา มองตัวเองด้อย ขาดความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ถูกตำหนิ ถูกลงโทษ

  13. เคยพูดมั้ย? • ทำตัวงี่เง่าอีกแล้ว....ไปไกลๆเลย • ซนอีกแล้ว...อยู่เฉยๆเป็นมั้ย • ชอบทำตัวแบบนี้เรื่อยเลย แม่เบื่อจริงๆเลย • นี่...รู้จักเขียนหนังสือให้มันสวยๆหน่อยได้มั้ย • เมื่อไหร่จะเริ่มฟังที่แม่พูดซักที ชอบทำหูทวนลมอยู่เรื่อย • เมื่อไหร่จะรับผิดชอบซะที...จะต้องให้บ่นเช้า บ่นเย็นตลอดหรือไง • เลิกทำตัวเป็นเด็กเล็กๆได้แล้ว น่าเบื่อ น่ารำคาญที่สุดเลย

  14. การสื่อสารกับวัยรุ่น • ฝึกใช้คำพูดที่ขึ้นต้น “ฉัน” มากกว่า “เธอ” • แบ่งคำพูดเป็น 3 ส่วน • บอกพฤติกรรมที่รับไม่ได้ • บอกความรู้สึกที่เกิดขึ้นบอกผลลัพธ์ที่เกิดจากพฤติกรรมและความรู้สึก • บอกพฤติกรรมที่ต้องการ

  15. การสื่อสารกับวัยรุ่น • หลีกเลี่ยงการใช้คำถามที่ขึ้นต้นว่า “ทำไม” • ให้ถามในเชิงอยากรู้เหตุผลของการทำอย่างนั้น • อยากรู้จริงๆว่าอะไรทำให้ลูกทำอย่างนั้น • พอจะบอกครูได้ไหมว่า ลูกคิดอย่างไรก่อนที่จะทำอย่างนั้น • เกิดอะไรขึ้น ทำให้ลูกทำอย่างนั้น • มันเกิดอะไรขึ้น ไหนลองเล่าให้ฟังหน่อย

  16. การสื่อสารกับวัยรุ่น • ตำหนิที่พฤติกรรมมากกว่าตัวเด็ก • ไม่ควรพูดว่านิสัยไม่ดี เพราะเด็กจะต่อต้าน และอาจย้อนกลับว่าเพราะเหมือนพ่อแม่ หรือ พ่อแม่ไม่สั่งสอน • การนอนตื่นสาย เป็นสิ่งที่ไม่ดี (ลูกนิสัยแย่มากที่ตื่นสาย) • การทำอย่างนั้น ไม่ฉลาดเลย (ลูกโง่มากที่ทำอย่างนั้น) • แม่ไม่ชอบให้ทะเลาะกัน เป็นพี่น้องต้องรักกัน (ลูกเป็นพี่ที่ใช้ไม่ได้เลย)

  17. มาฝึกการสื่อสารกัน!!!

  18. กรณีที่ 1 • แม่เดินไปที่ห้องลูกสาว วัย 11 ปี ตั้งใจว่าจะเอาเสื้อแสนสวยตัวใหม่ไปให้ลูกสาวสุดที่รัก เมื่อเดินไปถึง เหลือบเห็นเสื้อผ้าที่ใช้แล้วกองอยู่กับพื้น จึงพูดเสียงดังใส่ลูกสาวว่า • “ ทำไมห้องถึงรกอย่างนี้ บอกกี่ครั้งกี่หนแล้วไม่เคยจำซักที”

  19. กรณีที่ 2 • เช้าวันนี้คุณพ่อต้องไปส่งลูกที่โรงเรียน เนื่องจากคุณแม่ไปสัมมนาต่างจังหวัด กว่าจะปลุกลูกชายวัย 12 ปี ขึ้นมาอาบน้ำ แปรงฟัน แต่งตัว และกินข้าวเช้าได้ ก็ใช้เวลานานพอสมควร และลูกชายยังโอ้เอ้ ทำนู่นทำนี่อยู่ คุณพ่อกลัวไปทำงานไม่ทัน จึงพูดกับลูกว่า • “เร็วๆ เข้าสิ ชักช้าอยู่ได้”

  20. หลักของการชม • ชมทันที หรือ ขณะที่ลูกทำพฤติกรรมที่คุณต้องการ • ชมเฉพาะเวลาที่ทำดีเท่านั้น ไม่ชมเมื่อพฤติกรรมไม่เหมาะสม • ชมด้านดีของลูกทุกด้านให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ • ชมทั้งความพยายามที่ลูกทำ และความสำเร็จที่ลูกได้รับ • บอกความรู้สึก และ ระบุพฤติกรรมที่ลูกได้ทำอย่างชัดเจน • ไม่มีคำวิจารณ์ ตำหนิ ประชด รวมอยู่ในคำชม • สบตา โอบกอด สัมผัสตัวลูกขณะชม

  21. หลักของการชม(ต่อ) • ฝึกชมด้วยสีหน้า ลักษณะท่าทาง(เช่น สายตา รอยยิ้ม ผงกศีรษะ ชูนิ้วโป้ง ตบเบาๆที่หลัง) • ชมด้วยการเขียนเป็นบางครั้ง • ชมด้วยความรู้สึกจริงใจ ยอมรับ และเห็นคุณค่าในความพยายามของลูกที่ทำพฤติกรรมที่คุณต้องการ

  22. องค์ประกอบของคำชม • บอกความรู้สึกของคุณพ่อคุณแม่ที่เกิดขึ้น เช่น พ่อแม่รู้สึกดีใจ มีความสุข ภูมิใจ เป็นต้น • บอกพฤติกรรมที่ลูกทำ เช่น ลูกช่วยล้างจาน แบ่งปันของเล่นให้น้อง ยอมรับเมื่อทำผิด เป็นต้น • บอกถึงคุณลักษณะของลูกเมื่อทำพฤติกรรมนั้น เช่น ช่วยแบ่งเบาภาระ มีน้ำใจ กล้าหาญ เป็นต้น

  23. ตัวอย่างสิ่งดีๆในตัวลูกตัวอย่างสิ่งดีๆในตัวลูก • ร่าเริง แจ่มใส ช่างสังเกต สงสารคนอื่น เห็นใจผู้อื่น รู้จักขออนุญาต มองโลกในแง่ดี มั่นใจในตนเอง เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รู้จักจอโทษ มีอารมณ์ขัน ซื่อสัตย์ รู้จักขอบคุณ ยิ้มง่าย กล้าแสดงออก ประหยัดอดออม ใจดี กล้าหาญเด็ดเดี่ยว เข้ากับคนอื่นได้ง่าย • เชื่อฟัง พูดจาไพเราะ มีสัมมาคาระ ให้เกียรติผู้อื่น มีน้ำใจ ช่วยงานบ้าน แบ่งของให้พี่น้อง รักพี่รักน้อง รักพ่อรักแม่ เข้ากับผู้ใหญ่ได้ดี เป็นห่วงคนในบ้าน ใส่ใจความร็สึกผู้อื่น ยอมรับคำตักเตือน

  24. ตัวอย่างสิ่งดีๆในตัวลูกตัวอย่างสิ่งดีๆในตัวลูก • คบเพื่อนที่ดี มีน้ำใจ รับฟังความคิดเห็นผู้อื่น เล่นกับคนอื่นได้ดี ร็จักเกรงใจคนอื่น สุภาพ เอื้ออาทร ห่วงใยเพื่อน มนุษยสัมพันธ์ดี • ตั้งใจ มีความพยายาม รอบคอบ ช่างสังเกต ความจำดี มีความคิดสร้างสรรค์ ตรงเวลา ชอบไปโรงเรียน มีระเบียบเรียบร้อย ไม่ย่อท้อต่องานยาก รับผิดชอบทำการบ้าน • ชอบเล่นกีฬา ชอบเล่นดนตรี เก่งศิลปะ ชอบประดิษฐ์ รักสัตว์เลี้ยง ร้องเพลงเพราะ ชอบค้นคว้าหาความรู้ มีความสนใจหลากหลาย ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

  25. รู้แล้วก็อย่าลืมบอกลูกนะ!!!รู้แล้วก็อย่าลืมบอกลูกนะ!!!

  26. ข้อคิดดีๆ • การให้ความรักอย่างเดียว ไม่เพียงพอที่จะเลี้ยงลูกให้ประสบผลสำเร็จ • เมื่อเด็กได้ยินคนอื่นพูดถึงตัวเองบ่อยๆ ไม่ว่าด้านดีหรือไม่ดี ในที่สุดเขาจะเชื่อว่าเขาเป็นคนอย่างนั้นจริงๆ • ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ประสบความสำเร็จ • เมื่อเด็กเชื่อว่าตนเองมีคุณค่า มีความสามารถ เขาจะประพฤติตัวในทางที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ • เมื่อเด็กชอบตัวเอง เขาจะมุ่งมั่นทำงานหนักขึ้นเพื่อให้ตัวเองเก่งขึ้น

  27. ข้อคิดดีๆ • เน้นที่ข้อเด่นหรือจุดดีของเด็กเพื่อการปรับปรุงข้อด้อยหรือจุดบกพร่อง • หลีกเลี่ยงการใช้คำพูดตำหนิรุนแรงที่จะทำให้เด็กสูญเสียความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง • เด็กไม่ต้องการคนมาพูดตอกย้ำว่าเขาผิดหรือเลวอย่างไร แต่ต้องการคนที่จะมาสอนว่าครั้งต่อไปเขาควรทำอย่างไรจึงจะถูก • ใช้คำพูดที่ส่งเสริมกำลังใจและเป็นเชิงบวกมากกว่า • เมื่อต้องตำหนิให้เน้นที่พฤติกรรม

  28. มีความสุขกับการเลี้ยงลูกนะคะมีความสุขกับการเลี้ยงลูกนะคะ

More Related