1 / 43

PHYSICS OF THE ATOM

PHYSICS OF THE ATOM . Dr. Rachen Ratanarojanakul. ฟิสิกส์อะตอม บทนำ โครงสร้างของอะตอม.

Anita
Télécharger la présentation

PHYSICS OF THE ATOM

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. PHYSICS OF THE ATOM Dr. Rachen Ratanarojanakul

  2. ฟิสิกส์อะตอมบทนำโครงสร้างของอะตอมฟิสิกส์อะตอมบทนำโครงสร้างของอะตอม

  3. นักวิทยาศาสตร์ได้สนใจศึกษาเรื่องของอะตอมมาเป็นเวลานานแล้ว ในปีค.ศ.1808 ดาลตันได้เสนอว่าอะตอมเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของสสารที่ไม่สามารถแบ่งแยกออกได้ แต่ต่อมาได้มีการค้นพบว่าอะตอมไม่ใช่หน่วยที่เล็กที่สุดของสสาร ในปีค.ศ.1897 เจ.เจ.ทอมป์สันได้ค้นพบอิเลกตรอนซึ่งเป็นอนุภาคที่มีประจุลบ โดยทั่วไปแล้วอะตอมจะมีสภาพเป็นกลางคือมีจำนวนประจุบวกเท่ากับจำนวนประจุลบ นอกจากนี้ยังพบว่ามวลของอิเลกตรอนมีค่าน้อยมากเมื่อเทียบกับมวลของอะตอมที่เบาที่สุดคืออะตอมของไฮโดรเจน ดังนั้นจึงสรุปว่ามวลของอะตอมส่วนใหญ่มาจากมวลของอนุภาคที่มีประจุบวก ขั้นต่อไปศึกษาโครงสร้างของอะตอมคือการจัดเรียงตัวกันของประจุบวกและประจุลบในอะตอม

  4. แบบจำลองของทอมป์สัน • ทอมป์สันได้เสนอแบบจำลองของอะตอมโดยให้ประจุบวกกระจายกันอยู่ทั่วไปในอะตอมและอิเลกตรอนที่มีประจุลบฝังตัวอยู่รอบๆ แต่แบบจำลองนี้ไม่สามารถอธิบายการกระเจิงของอนุภาคอัลฟ่าที่ยิงเข้าไปภายในอะตอมแล้วถูกเบี่ยงเบนเป็นมุมมากกว่า 90 องศาได้

  5. แบบจำลองของรัทเธอร์ฟอร์ดในปี ค.ศ.1911 รัทเธอร์ฟอร์ดได้เสนอแนวความคิดว่าประจุบวกทั้งหมดจะรวมกันอยู่ที่ศูนย์กลางของอะตอมเรียกว่านิวเคลียสโดยมีอิเลกตรอนโคจรอยู่รอบๆ ตามแบบจำลองนี้สนามไฟฟ้าที่บริเวณใกล้นิวเคลียสจะมีค่าสูงสุด จึงทำให้เกิดแรงผลักอย่างแรงเมื่ออนุภาคอัลฟ่าเคลื่อนที่เข้ามาใกล้ ดังนั้นอนุภาคอัลฟ่าจึงถูกเบี่ยงเบนเป็นมุมมากกว่า 90องศาได้ รัทเธอร์ฟอร์ดได้คำนวณหาค่าการกระเจิงของอนุภาคอัลฟ่า เขียนสมการได้เป็น

  6. ทฤษฎีอะตอมของบอร์มีสมมุติฐาน รากฐานจากสัจจพจน์ 4 ข้อดังนี้1.อิเลกตรอนในอะตอมเคลื่อนที่เป็นวงกลมรอบนิวเคลียสภายใต้แรงดึงดูดคูลอมบ์และประพฤติตามกฎฟิสิกส์ดั้งเดิม2.อิเล็กตรอนเคลื่อนที่อยู่ในวงโคจรพิเศษรอบนิวเคลียส จะไม่แผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า3.อิเลกตรอนจะแผ่รังสี(หรือดูดกลืนพลังงาน)คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเมื่อมีการเปลี่ยนสถานะจากวงโคจรพิเศษหนึ่งไปยังอีกวงโคจรพิเศษหนึ่ง

  7. ถ้าให้ Ei เป็นพลังงานในชั้นเริ่มต้น Efเป็นพลังงานในชั้นสุดท้าย ผลต่างของพลังงาน ถ้า Ei > Ef อิเลกตรอนจะปล่อยพลังงานออกมาในรูปของโฟตอนซึ่งพลังงานที่ปล่อยออกมามีค่าเท่ากับ hfถ้า Ei < Ef อิเลกตรอนจะดูดกลืนพลังงาน hf 4.โมเมนตัมเชิงมุมของอิเลกตรอนมีค่าเป็นจำนวนเต็มเท่าของค่าคงที่ของแพลงค์หารด้วยจากสมมุติฐานของบอร์ สามารถคำนวณหาค่าพลังงานและรัศมีวงโคจรของอิเล็กตรอนในชั้นที่ n ใดๆได้

  8. อะตอมที่มีหลายอิเลกตรอนการจัดเรียงตัวกันของอิเลกตรอนสำหรับอะตอมที่มีหลายอิเลกตรอนอธิบายโครงสร้างของอะตอมโดยใช้ตัวเลขควอนตัมเป็นตัวกำหนด ตัวเลขควอนตัมที่ใช้มี 4 ตัวคือ n ตัวเลขควอนตัมหลักใช้กำหนดระดับพลังงานหลักโดยที่ n เป็นเลขจำนวนเต็มคือ 1, 2, 3,4,….. ซึ่งตรงกับ shell K,L,M,N,.. ตามลำดับn shell 1 K 2 L 3 M 4 N

  9. l ตัวเลขควอนตัมโมเมนตัมเชิงมุมใช้กำหนดระดับพลังงานย่อย(subshell)ของอิเลกตรอนเมื่อกำหนดค่า n ใดๆค่าของ l จะมีค่าตั้งแต่ 0 ถึง n-1l = 0,1,2,3,4,5,……… เรียก subshell s,p,d,f,g,h,…...ตามลำดับ l subshell 0s 1p 2d 3 f 4g 5 h . .

  10. m ตัวเลขควอนตัมแม่เหล็กใช้กำหนดการจัดตัวของรูปร่างการกระจายของอิเลกตรอนหรือ orbitals ในแต่ละระดับย่อยในแต่ละค่าของ l ค่าของ m จะมีทั้งหมด 2l+1 ค่าโดยมีค่าจาก –lถึง +l นั่นคือ m = -l,-l+1,-l+2,…,l-2,l-1,+l จะมี 2l+1 ค่าตัวอย่างของ mlจำนวน m=2l+1 ค่าของ m0 1 01 3 -1,0,+1 2 5 -2,-1,0,+1,+2ตัวเลขควอนตัมสปิน s เป็นตัวเลขที่ใช้บอกถึงการหมุนรอบตัวเองของอิเลกตรอนทั้งในทิศทางตามเข็มและทวนเข็มนาฬิกา

  11. สปินจะเป็นคุณสมบัติโดยเฉพาะของแต่ละอนุภาคในกรณีของอิเลกตรอนจะมีสปิน 2 ค่าคือ การจัดเรียงอิเลกตรอนในโครงสร้างอะตอมอาศัยหลัก 3 อย่างคือ1.หลักการกีดกันของเพาลีกล่าวว่า “ ไม่มีอิเล็กตรอน 2 ตัวใดๆในอะตอมที่จะมีตัวเลขควอนตัม n,l,m,s เหมือนกันทั้งหมด ”2.หลักเกณฑ์ของฮุนด์กล่าวว่า “การเติมอิเล็กตรอนในออร์บิทัล(ชั้น)ย่อยที่มีพลังงานเท่ากัน ให้เติมอิเล็กตรอนเพียงตัวเดียว ซึ่งมีสปินเหมือนกันลงในออร์บิทัลย่อยก่อน จากนั้นถ้ามีอิเลกตรอนเหลืออีกให้เติมอิเล็กตรอนให้เข้าคู่กัน (สปินต่างกัน)

  12. 3.หลักของเอาฟเบา เกี่ยวข้องกับตัวเลขควอนตัม n และ l กล่าวว่า “การเติมอิเล็กตรอนที่สถานะพื้น (ground state) จะต้องเติมในชั้นที่มีระดับพลังงานต่ำกว่าให้เต็มก่อน จากนั้นจึงเติมในชั้นที่มีพลังงานสูงขึ้นไป”ความสัมพันธ์ระหว่างตัวเลขควอนตัมทั้ง 4n l ระดับย่อย m s = +1/2,-1/2 1 0 1s 0 2 0 2s 01 2p -1,0,1 3 0 3s 01 3p -1,0,1 2 3d -2,-1,0,1,2 4 0 4s 01 4p -1,0,1 2 4d -2,-1,0,1,23 4f -3,-2,-1,0,1,2,3

  13. การเติมอิเล็กตรอนตามหลักของเอาฟเบาจะต้องเติมอิเล็กตรอนในชั้นที่มีพลังงานต่ำกว่าให้เต็มก่อนดังรูป1s2s 2p3s 3p 3d4s 4p 4d 4f5s 5p 5d 5f ………….6s 6p 6d 6f ………….7s 7p 7d 7f ………….

  14. การแผ่รังสีของวัตถุดำความหมายของวัตถุดำ คือวัตถุที่ดูดกลืนพลังงานทั้งหมดที่มาตกกระทบและไม่สามารถที่จะสะท้อนแสงได้ โดยทั่วไปแล้วไม่มีวัตถุใดที่จะเป็นวัตถุดำ 100 % เราสามารถสร้างแบบจำลองของวัตถุดำได้โดยใช้ก้อนวัตถุที่มีโพรงกลวงมีช่องเปิดเล็กๆและหุ้มด้วยฉนวนเมื่อคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าผ่านช่องเปิดเล็กๆนี้เข้าไปจะสะท้อนกลับไปกลับมาไม่สามารถสะท้อนกลับออกมาได้ นั่นคือถูกดูดกลืนทั้งหมดดังรูป

  15. แนวความคิดของฟิสิกส์ยุคเก่าที่เกี่ยวกับพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่ออกมาจากพื้นผิววัตถุกล่าวว่า “วัตถุทุกชนิดที่มีอุณหภูมิสูงกว่าศูนย์องศาสัมบูรณ์แผ่พลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า”พลังงานที่แผ่ออกจากวัตถุดำถ้านำวัตถุดำไปทำให้ร้อนจนเกิดสมดุลย์ความร้อนที่อุณหภูมิต่างๆกัน แล้วหาความสัมพันธ์ระหว่างการแจกแจงของอัตราการแผ่พลังงานรังสีกับความยาวคลื่นและอุณหภูมิ จากผลการทดลองจะได้กราฟดังรูป

  16. จากผลการทดลองพบว่า 1.คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่ออกมามีความยาวคลื่นต่างๆกัน2.พลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่ออกมาจากวัตถุดำขึ้นกับความยาวคลื่นและอุณหภูมิเท่านั้นไม่ขึ้นกับชนิดหรือรูปร่างของวัตถุดำ

  17. นักวิทยาศาสตร์ได้พยายามอธิบายสเปกตรัมของการแผ่รังสีของวัตถุดำโดยใช้แนวความคิดฟิสิกส์ยุคเก่า ได้คำตอบไม่ตรงกับผลการทดลอง เรย์เลย์และจีนส์ได้อธิบายการแผ่รังสีของวัตถุดำโดยใช้ทฤษฎีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และหลักการแบ่งเท่ากันของพลังงาน (Equipartition Theory) ได้ความสัมพันธ์ระหว่างความหนาแน่นของพลังงานรังสีที่แผ่ออกมาและความยาวคลื่น (หรือความถี่) ตามสมการI(f)df คือความหนาแน่นพลังงานในช่วงความถี่ f และ f+df k คือค่าคงที่โบลซ์มานมีค่า = T คืออุณหภูมิในหน่วยเคลวิน

  18. สูตรของเรย์เลย์และจีนส์ (Rayleigh-Jeans law)ใช้ได้ดีในช่วงความยาวคลื่นสูง แต่ให้ผลขัดแย้งกับผลการทดลองเมื่อความยาวคลื่นต่ำ

  19. สูตรของแพลงค์ในปีค.ศ.1901 แพลงค์ได้เสนอแนวความคิดใหม่ว่าพลังงานที่แผ่ออกมาจากวัตถุดำมีค่าไม่ต่อเนื่องแต่จะเป็นช่วงๆหรือห้วงๆโดยเป็นเลขจำนวนเต็มของ hf ซึ่ง h เป็นค่าคงที่ ต่อมาเรียกค่าคงที่ของแพลงค์มีค่าเท่ากับ 6.626 x10-34 joule-sec และ f คือความถี่แพลงค์สามารถหาความสัมพันธ์ระหว่างความหนาแน่นของพลังงานรังสีที่แผ่ออกมาและความยาวคลื่นได้โดยสมการซึ่งให้ผลตรงกับการทดลอง

  20. ทวิภาพของคลื่นและอนุภาค (Wave-Particle duality)แสงซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสามารถแสดงตัวเป็นได้ทั้งคลื่นและอนุภาค ในปีค.ศ.1923 Louise de Broglie ได้เขียนสมการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างคลื่นและอนุภาคดังนี้โดยที่ความยาวคลื่น เป็นคุณสมบัติของคลื่น และโมเมนตัม p เป็นคุณสมบัติของอนุภาค h คือค่าคงที่ของแพลงค์โฟโตอิเลกตริกเอฟเฟกค้นพบโดย Hertz ในปี ค.ศ.1887 เป็นปรากฏการณ์ที่อิเลกตรอนหลุดจากโลหะหรือวัตถุใดๆเมื่อมีแสงตกกระทบโลหะหรือวัตถุนั้น

  21. คุณสมบัติของอิเล็กตรอนที่หลุดออกมา1. อิเล็กตรอนหลุดออกมาทันทีที่แสงตกกระทบ2 .พลังงานจลน์ของอิเลกตรอนที่หลุดออกมาไม่ขึ้นกับความเข้มของแสงที่มาตกกระทบ3. พลังงานจลน์ของอิเลกตรอนขึ้นอยู่กับความถี่ของแสงที่ตกกระทบ4. จะมีความถี่ต่ำสุด ถ้าแสงที่มีความถี่น้อยกว่านี้ตกกระทบวัตถุจะไม่เกิดโฟโตอิเลกตริกเอฟเฟก5. จำนวนอิเลกตรอนที่หลุดออกมาจะเป็นปฏิภาคโดยตรงกับความเข้มของแสงไม่สามารถที่จะอธิบายปรากฏการณ์นี้ได้โดยใช้ทฤษฎีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแบบเก่า เพราะว่า

  22. 1. จากทฤษฎีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าดั้งเดิมจะต้องใช้เวลาประมาณ 1 นาทีก่อนที่อิเลกตรอนจะหลุดออกมา แต่จากผลการทดลองอิเลกตรอนจะหลุดออกมาทันทีทันใด (ใช้เวลาน้อยกว่า 10-10วินาที)2. พลังงานของคลื่นจะแปรผันโดยตรงกับความเข้มของแสงแต่จากผลการทดลองพลังงานจลน์ของอิเลกตรอนไม่ขึ้นกับความเข้มของแสง แต่จะแปรผันโดยตรงกับความถี่แสงในปีค.ศ.1915 ไอน์สไตน์ได้ให้คำอธิบายโดยใช้แนวความคิดของแพลงค์เกี่ยวกับลักษณะเป็นกลุ่มก้อน(ควอนตัม)ของพลังงาน และกฎการอนุรักษ์พลังงาน สามารถเขียนสมการได้เป็นhf=W + K.Eโดยที่ W = ฟังก์ชั่นงาน, K.E = พลังงานจลน์ของอิเลกตรอน

  23. อธิบายความหมายของสมการได้ดังนี้ อนุภาคโฟตอนมีพลังงาน hf ตกกระทบอิเลกตรอนในโลหะและถ่ายเทพลังงานทั้งหมดให้แก่อิเลกตรอน อิเลกตรอนใช้พลังงานนี้เอาชนะพลังงานยึดเหนี่ยวหรือฟังก์ชั่นงาน (W) พลังงานที่เหลือก็คือพลังงานจลน์ของอิเลกตรอนโดยทั่วไปแล้วจะมีค่าความถี่ต่ำสุด f0 ถ้าแสงมีความถี่ต่ำกว่านี้จะไม่สามารถทำให้อิเลกตรอนหลุดออกจากผิวโลหะได้ความถี่ต่ำสุดหรือความถี่ขีดเริ่ม f0 หาได้โดย สมการ hf0 = Wจำนวนอิเลกตรอนที่หลุดออกมาเป็นปฏิภาคโดยตรงกับความเข้มของแสง เนื่องจากถ้าแสงมีความเข้มสูงก็มีโฟตอนจำนวนมาก

  24. การทดลองเพื่อพิสูจน์ทฤษฎีMillikan ทำการทดลองเพื่อตรวจสอบสมการของ Einstein โดยใช้แสง Cs แสง K และแสง W ในการวัดพลังงานจลน์ของอิเลกตรอนที่หลุด ออกมานั้นให้ขั้วโลหะขั้วหนึ่งมีศักดาไฟฟ้าเป็นบวกเมื่อเทียบกับ photo cathode ดังรูป

  25. เมื่อเพิ่มศักดาไฟฟ้าบวกจนกระทั่งไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเครื่องวัดกระแสแสดงว่าไม่มีอิเลกตรอนหลุดออกจากพื้นผิวของ photo cathode ถ้าศักดาไฟฟ้านี้มีค่าเท่ากับ V0 (volt) ดังนั้นV0 e = ½ mv2 เมื่อ e คือประจุของอิเลกตรอน จะได้ V0 e = ½ mv2 = hf – Wเป็นสมการเส้นตรง รูปแบบของสมการเส้นตรงที่เรารู้จักดีคือ y=ax+b เมื่อเปรียบเทียบกับ สมการข้างบน V0 e คือ y, f คือ x, slope a=h และจุดตัดแกน y (y-intercept) b = – Wทำการวัดค่า V0 และความถี่ f ของแสงความถี่ต่างๆกันแล้วนำมาเขียนกราฟ ถ้าสมการของ Einstein ถูกต้องจะได้กราฟเส้นตรงมีความชันเท่ากับ h

  26. ผลการทดลองความชันของเส้นตรงทั้งสามเส้นเท่ากันดังนั้นเขียนได้ว่าพลังงานจลน์ = a(f0-f) เมื่อ a คือค่าความชันของเส้นตรงทั้งสามเส้น จากการทดลองสามารถหาค่าคงที่ของแพลงค์ได้ การทดลองนี้พิสูจน์ว่าสมการของ Einstein สำหรับ photoelectric effect นั้นถูกต้อง และยืนยันว่าแสงสามารถแสดงคุณสมบัติเหมือนอนุภาค(ที่เรียกว่าอนุภาคphoton)ได้

  27. ตัวอย่างการคำนวณถ้าพลังงานที่ใช้ต้านอิเลกตรอนที่มีพลังงานสูงสุดจากหลอดทดลอง photoelectric มีค่า 0.4 eV เมื่อฉายแสงสีม่วงความยาวคลื่น 4000 ไปยังแผ่นโลหะที่ทำหน้าที่ให้อิเลกตรอน จงหา ก. ความถี่ของแสงนี้ ข. พลังงานของแสง ค. ฟังก์ชั่นงานของโลหะ ง. ความถี่ขีดเริ่ม (f0)จ. ความยาวคลื่นขีดเริ่ม () และ ฉ. ถ้าฉายแสงความยาวคลื่น 3000 ไปยังแผ่นโลหะนั้นอิเลกตรอนจะหลุดออกมาด้วยความเร็วสูงสุดเท่าใด

  28. ปรากฏการณ์คอมป์ตันค้นพบโดย A.H.Compton ในปี ค.ศ.1923 เกิดจากการฉายรังสีเอ็กซ์ที่มีความยาวคลื่นไปยังแท่งกราไฟต์ วัดความยาวคลื่นของรังสีเอ็กซ์ที่กระเจิงออกมาที่มุมต่างๆกันกับแนวเดิมพบว่าความยาวคลื่นของรังสีเอ็กซ์ที่กระเจิงจะไม่เท่ากับความยาวคลื่นเดิมของรังสีที่ตกกระทบ ทฤษฎีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเดิมอธิบายไม่ได้เพราะจากทฤษฎีเดิมอิเลกตรอนในอะตอมจะถูกบังคับให้สั่นด้วยความถี่เดียวกับความถี่ของรังสีเอ็กซ์ที่ตกกระทบ ดังนั้นควรได้รังสีเอ็กซ์กระเจิงออกมาด้วยความยาวคลื่นเท่าเดิม จากการคำนวณโดยใช้กฏการอนุรักษ์พลังงาน กฏการอนุรักษ์โมเมนตัม และทฤษฎีสัมพัทธภาพ สามารถคำนวณหาความยาวคลื่นของรังสีเอ็กซ์ที่กระเจิงออกมาได้

  29. จากกฏการอนุรักษ์พลังงานพลังงานก่อนชนเท่ากับพลังงานหลังชนhf + m0c2 = hf’ + mc2h คือค่าคงที่ของแพลงค์, f คือความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า(รังสีเอ็กซ์)ที่มาตกกระทบ, f’ คือความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า(รังสีเอ็กซ์)ที่กระเจิง

  30. บรรณานุกรม1.ธีรพันธุ์ ม่วงไทย. ฟิสิกส์ยุคใหม่.พิมพ์ครั้งที่ 10, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2544. 2. มนตรี พิรุณเกษตร. ฟิสิกส์2 ระดับมหาวิทยาลัยฉบับเสริมประสบการณ์. กรุงเทพฯ : บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่นจำกัด, 2540. 3. Wehr, M.R., Richards, Jr., J.A. and Adair III, T.W., Physicsof the Atom, Addison- Wesley Publishing Company, Inc, 3rd ed., Philippines copyright, 1978.4. Eisberg, R., Resnick, R., Qugntum Physics, John Wiley & Sons, 2nd ed., New York, 1985.5. Arya, A.P., Elementary Modern Physics, Addison- Wesley, Philippines copyright, 1974.

More Related