1 / 17

การออกแบบและพัฒนา CAI

การออกแบบและพัฒนา CAI. ดร.รุจโรจน์ แก้วอุไร. ขั้นตอนในการออกแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน. ขั้นตอนในการออกแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นขั้นตอนสำคัญ ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ผู้สนใจสร้างคอมพิวเตอร์ ช่วยสอนจำเป็นต้องศึกษาขั้นตอนในการออกแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และ

Sophia
Télécharger la présentation

การออกแบบและพัฒนา CAI

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การออกแบบและพัฒนา CAI ดร.รุจโรจน์ แก้วอุไร

  2. ขั้นตอนในการออกแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอนขั้นตอนในการออกแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ขั้นตอนในการออกแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นขั้นตอนสำคัญ ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ผู้สนใจสร้างคอมพิวเตอร์ ช่วยสอนจำเป็นต้องศึกษาขั้นตอนในการออกแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และ นำมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติก่อนที่จะลงมือสร้าง เพราะการ สร้างคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยไม่มีขั้นตอนการออกแบบที่แน่ชัด นอกจากจะ ทำให้เกิดการเสียเวลาแล้วยังส่งผลให้ได้งานซึ่งไม่ตรงกับวัตถุประสงค์หรือ ไม่มีประสิทธิภาพได้

  3. การย้อนกลับเพื่อทดสอบและปรับปรุงการย้อนกลับเพื่อทดสอบและปรับปรุง กำหนด เป้าหมาย วัตถุประสงค์ วิเคราะห์รูปแบบการสอน เรียนรู้ เนื้อหา สร้าง ความคิด ขั้นตอนที่ 2 Alessi and Trollip, 1991 ได้เสนอขั้นตอนการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่น่าสนใจ ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนการออกแบบ 7 ขั้นตอน โดยสามารถทำเป็นแบบจำลองได้ดังต่อไปนี้ ขั้นตอนที่ 1. ขั้นตอนการเตรียม

  4. ออกแบบ บทเรียน ขั้นแรก วิเคราะห์งานและ แนวคิด ประเมิน และแก้ไข การออกแบบ ทอน ความคิด ประเมิน และแก้ไข บทเรียน เขียน ผังงาน สร้างโปรแกรม สร้าง สตอรี่บอร์ด ผลิตเอกสาร ประกอบ ขั้นตอนที่ 3 จบ ขั้นตอนที่ 2. ขั้นตอนการออกแบบบทเรียน ขั้นตอนที่ 3-7

  5. ในส่วนของการออกแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ละขั้นตอนนี้ในส่วนของการออกแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ละขั้นตอนนี้ จะอธิบายขั้นตอนการออกแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอนทั้ง 7 ขั้น ดังต่อไปนี้ ขั้นตอนที่ 1. ขั้นตอนการเตรียม (Preparation) - กำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ (Determine Goal and Objective) - รวบรวมข้อมูล (Collect Resources) - เรียนรู้เนื้อหา (Learn Content) - สร้างความคิด (Generate Ideas)

  6. ขั้นตอนที่ 2. ขั้นตอนการออกแบบบทเรียน (Design Instruction) - ทอนความคิด (Elimination of Idea) - วิเคราะห์งานและแนวคิด (Task and Concept Analysis) - ออกแบบบทเรียนขั้นแรก (Preliminary lesson Description) - ประเมินและแก้ไขการออกแบบ (Evaluation and revision of the design)

  7. ขั้นตอนที่ 3. ขั้นตอนการเขียนผังงาน (Flowchart Lesson) ผังงานคือชุดของสัญลักษณ์ต่างๆ ซึ่งอธิบายขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม การเขียนผังงานเป็นสิ่งสำคัญทั้งนี้ก็เพราะคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ดี จะต้องมีปฏิสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ และปฏิสัมพันธ์นี้จะสามารถถูกถ่ายทอดออกมาในรูปของสัญลักษณ์ซึ่งแสดงกรอบการตัดสินใจและกรอบเหตุการณ์ ขั้นตอนที่ 4. ขั้นตอนการสร้างสตอรี่บอร์ด (Create Storyboard) การสร้างสตอรี่บอร์ดเป็นขั้นตอนของการเตรียมการนำเสนอข้อความ ภาพ รวมทั้งสื่อในรูปแบบมัลติมีเดียต่างๆ ลงบนกระดาษ เพื่อให้การนำเสนอ ข้อความและสื่อในรูปแบบต่างๆ เหล่านี้เป็นไปอย่างเหมาะสมบนจอคอมพิวเตอร์ต่อไป

  8. ขั้นตอนที่ 5. ขั้นตอนการสร้าง/เขียนโปรแกรม (Program Lesson) ขั้นตอนการสร้าง/เขียนโปรแกรมนี้เป็นกระบวนการเปลี่ยนสตอรี่-บอร์ดให้กลายเป็นคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ขั้นตอนที่ 6. ขั้นตอนการผลิตเอกสารประกอบการเรียน (Produce Supporting Materials) เอกสารประกอบการเรียนเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เอกสารประกอบการเรียนอาจแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ - คู่มือการใช้ของผู้เรียน - คู่มือการใช้ของผู้สอน - คู่มือสำหรับแก้ปัญหาเทคนิคต่างๆ - เอกสารประกอบเพิ่มเติมทั่วไป

  9. ขั้นตอนที่ 7. ขั้นตอนการประเมินและแก้ไขบทเรียน (Evaluate and Revise) ในช่วงสุดท้ายบทเรียนและเอกสารประกอบทั้งหมดควรที่จะได้รับการ การประเมิน โดยเฉพาะการประเมินในส่วนของการนำเสนอและการทำงาน ของบทเรียน

  10. ขั้นตอนการออกแบบการสอนในคอมพิวเตอร์ช่วยสอนขั้นตอนการออกแบบการสอนในคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งซึ่งทำให้เกิดการสอนที่มีประสิทธิภาพก็ได้แก่ การเตรียมการสอนของผู้สอน ขั้นตอนการสอนประกอบไปด้วยการสอน 9 ขั้นตอน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นและสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ภายในของผู้เรียน ขั้นตอนการสอนประกอบไปด้วยขั้นตอน 9 ขั้น ดังนี้ • ดึงดูดความสนใจ • ขั้นตอนแรกของการสอนก็คือ การดึงดูดความสนใจจากผู้เรียน ทั้งนี้ • เพื่อเป็นการกระตุ้นและจูงใจให้ผู้เรียนมีความต้องการที่จะเรียน

  11. 2. บอกวัตถุประสงค์ การบอกวัตถุประสงค์แก่ผู้เรียน ทั้งนี้เพื่อเป็นการให้ผู้เรียนได้ทราบ ถึงเป้าหมายในการเรียนโดยรวมหรือสิ่งต่างๆ ที่ผู้เรียนจะสามารถทำได้หลังจาก ที่เรียนจบบทเรียน 3. ทบทวนความรู้เดิม การทบทวนความรู้เดิมของผู้เรียนตามทฤษฎีโครงสร้างความรู้ (Schema Theory) การรับรู้ ( perception) เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ เนื่องจากไม่มีการเรียนรู้ใดเกิดขึ้นได้โดยปราศจากการรับรู้ นอกจากนี้การรับ ข้อมูลนั้นเป็นการสร้างความหมายโดยการเชื่อมโยงความรู้ใหม่เข้ากับความรู้เดิม

  12. 4. การเสนอเนื้อหาใหม่ เป็นการนำเสนอเนื้อหาโดยใช้ตัวกระตุ้น (stimuli) ที่เหมาะสมในการ เสนอเนื้อหาใหม่เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการสอน ทั้งนี้เพื่อช่วยให้การรับรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 5. ชี้แนวทางการเรียนรู้ การชี้แนวทางการเรียนรู้ในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้น ผู้ออกแบบควรที่จะสร้างสรรค์เทคนิคเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนค้นหาคำตอบด้วยตนเอง

  13. 6. กระตุ้นการตอบสนอง เป็นขั้นตอนต่อจากการชี้แนวทางการเรียนรู้ กล่าวคือ หลังจากที่ผู้เรียนได้รับการชี้แนวทางการเรียนรู้แล้ว ขั้นต่อไปก็คือ การทดสอบว่าผู้เรียนเข้าใจในสิ่งที่สอนหรือไม่ 7. ให้ผลป้อนกลับ คือ การให้ผลป้อนกลับหรือการให้ข้อมูลย้อนกลับไปยังผู้เรียนเกี่ยวกับความถูกต้องและระดับความถูกต้องของคำตอบนั้นๆ การให้ผลป้อนกลับถือว่าเป็นการเสริมแรงอย่างหนึ่งซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้ในตัวของผู้เรียน เราสามารถแบ่งผลป้อนกลับได้เป็น 4 ประเภทตามลักษณะการปรากฏได้ดังนี้

  14. 1. แบบไม่เคลื่อนไหว (Passive Feedback) • 2. แบบเคลื่อนไหว (Active Feedback) • 3. แบบโต้ตอบ (Interactive Feedback) • 4. แบบทำเครื่องหมาย (Markup Feedback) • นอกจากนี้เรายังสามารถแบ่งผลป้อนกลับออกตามธรรมชาติของเนื้อหาเป็น • 2 ลักษณะกว้างๆ ได้แก่ • 1. ผลป้อนกลับพร้อมคำอธิบาย (Constructive Feedback) • 2. ผลป้อนกลับไร้คำอธิบาย (Non- constructive Feedback)

  15. 1. แบบไม่เคลื่อนไหว (Passive Feedback) หมายถึง การเสริมแรงด้วยการแสดงคำหรือ ข้อความว่า ถูกต้อง ผิด ข้อความว่า ตอบอีกครั้ง และ คำเฉลยหรือข้อความที่บอกเป็นนัย 2. แบบเคลื่อนไหว (Active Feedback)หมายถึง การเสริมแรงด้วยการแสดงภาพหรือกราฟิก เช่น ภาพหน้ายิ้ม หน้าเสียใจ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักจะออกแบบให้มีลักษณะเคลื่อนไหวได้ นอกจากนั้นยังครอบคลุมถึงการใช้ภาพอธิบายคำตอบของผู้เรียน ซึ่งในบางครั้งการใช้ข้อความอธิบายอาจไม่ชัดเจนพอ

  16. 3. แบบโต้ตอบ (Interactive Feedback) หมายถึง การเสริมแรงด้วยการให้ผู้เรียนได้มี กิจกรรมเชิงโต้ตอบกับบทเรียนซึ่งกิจกรรมนั้น ๆ ไม่ใช่เนื้อหาโดยตรง เช่น การเล่นเกมที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา เป็นต้น 4. แบบทำเครื่องหมาย (Markup Feedback) หมายถึง การทำเครื่องหมายบนคำตอบของ ผู้เรียนเมื่อคำตอบของผู้เรียนถูกแค่เพียงบางส่วน ซึ่งเครื่องหมายมักจะอยู่ในรูปของการขีดเส้นใต้ การใช้สีที่แตกต่าง เป็นต้น การทำเครื่องหมายนี้จำกัดเฉพาะ ข้อคำถามประเภทเติมคำหรือข้อความให้สมบูรณ์

  17. 8. ทดสอบความรู้ การทดสอบความรู้ เป็นการประเมินว่าผู้เรียนนั้นได้เกิดการเรียนรู้ตามที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้หรือไม่ อย่างไร 9. การจำและนำไปใช้ สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนมีความคงทนในการจำข้อมูลความรู้ใดข้อมูลความรู้หนึ่ง ผู้ออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจึงควรที่จะนำเสนอการสรุปแนวคิดที่สำคัญซึ่งครอบคลุมถึงการเชื่อมโยงข้อมูลความรู้ใหม่กับข้อมูลความรู้เดิมของผู้เรียน และควรจัดให้มีคำแนะนำเกี่ยวกับแหล่งความรู้เพิ่มเติมอีกด้วย

More Related