1 / 38

บทที่ 2 แนวความคิดด้านการบริหารจัดการ

บทที่ 2 แนวความคิดด้านการบริหารจัดการ. วิวัฒนาการของแนวความคิดด้านการบริหารจัดการ 1. ทฤษฎีการจัดการสมัยดั้งเดิม 2. ทฤษฎีการบริหารจัดการเชิงพฤติกรรมศาสตร์ 3. ทฤษฎีการบริหารจัดการสมัยปัจจุบัน. ทฤษฎีการจัดการสมัยดั้งเดิม. การจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์ การจัดการตามระบบราชการ

Sophia
Télécharger la présentation

บทที่ 2 แนวความคิดด้านการบริหารจัดการ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 2แนวความคิดด้านการบริหารจัดการ

  2. วิวัฒนาการของแนวความคิดด้านการบริหารจัดการวิวัฒนาการของแนวความคิดด้านการบริหารจัดการ • 1. ทฤษฎีการจัดการสมัยดั้งเดิม • 2. ทฤษฎีการบริหารจัดการเชิงพฤติกรรมศาสตร์ • 3. ทฤษฎีการบริหารจัดการสมัยปัจจุบัน

  3. ทฤษฎีการจัดการสมัยดั้งเดิมทฤษฎีการจัดการสมัยดั้งเดิม • การจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์ • การจัดการตามระบบราชการ • การจัดการตามหลักการบริหาร

  4. การจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์การจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์ • Frederick W.Taylor ได้ชื่อว่าเป็นบิดาของการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ • หลักของ Taylor คือ “Principles of Scientific Manangement”

  5. หลักของ Taylor คือ “Principles of Scientific Manangement” • ใช้หลักวิทยาศาสตร์ • ยอมรับความกลมกลืนในกิจกรรมกลุ่ม • มุ่งสู่ความร่วมมือของมนุษย์ • ทำงานเพื่อผลผลิตสูงสุด • พัฒนาคนงานทุกคนให้ใช้ความสามารถสูงสุดและสร้างความมั่นคงสูงสุดให้องค์การ

  6. 2 การจัดการแบบระบบราชการ • Max Weber’s bureaucratic management หมายถึง การจัดการแบบระบบราชการของ Weber • Weber’s theory of bureaucracy หมายถึง ทฤษฎีระบบราชการของ Weber

  7. การจัดการตามหลักการบริหารการจัดการตามหลักการบริหาร • Henri Fayol ถือว่าเป็น บิดาของทฤษฎีการจัดการตามหลักการบริหาร • หลักทั่วไปของการจัดการ เป็นคำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของผู้จัดการ มี 14 ข้อ

  8. หลักการจัดการ 14 ข้อของ Fayol • การแบ่งงานกันทำ • อำนาจหน้าที่และความารับผิดชอบ • ความมีระเบียบวินัย • การมีผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียว • การมีเป้าหมายเดียวกัน • ผลประโยชน์ส่วนตัวมีความสำคัญน้อยกว่าผลประโยชน์ขององค์การ • ค่าตอบแทนและวิธีการจ่ายค่าตอบแทนควรจะยุติธรรม

  9. 8. การรวมอำนาจ ต้องกำหนดระดับการรวมอำนาจและการกระจายอำนาจที่เหมาะสม 9. มีสายการบังคับบัญชา 10. คำสั่ง องค์การจะกำหนดตำแหน่งหน้าที่สำหรับทุกคน

  10. 11. หลักความเสมอภาค ความเมตตา และความยุติธรรม 12. ความมั่นคงในงาน 13. ความคิดริเริ่ม 14. ความสามัคคี

  11. 2. ทฤษฎีการบริหารจัดการเชิงพฤติกรรมศาสตร์ • การบริหารแนวมนุษยสัมพันธ์ • จิตวิทยาอุตสาหกรรม • The Hawthorne Study • การศึกษาระบบสังคม

  12. 2.1 การบริหารแนวมนุษยสัมพันธ์ ปี 1930-1950 • เปลี่ยนแปลงแนวความคิดจากที่ว่า • “คนเป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิตจิตใจ และไม่มีความสำคัญ ต่อสายการผลิต” มาเป็น “คนเป็นสิ่งที่มีชีวิตจิตใจ และเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง”

  13. 2.1.1 ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ • เป็นทฤษฎีที่ว่า บุคคลมีสิ่งกระตุ้นให้ตอบสนองตามลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ 5 ประการ

  14. ความต้องการของร่างกายความต้องการของร่างกาย • ความต้องการความมั่นคงหรือความปลอดภัย • ความต้องการยอมรับ • ความต้องการการยกย่อง • ความต้องการความสำเร็จในชีวิต

  15. 5. ความต้องการความสำเร็จในชีวิต 4. ความต้องการการยกย่อง 3. ความต้องการการยอมรับ 2. ความต้องการความมั่นคงหรือความปลอดภัย 1. ความต้องการของร่างกาย

  16. 2.1.2 ทฤษฎี X ทฤษฎี Y ของ McGregor • ข้อสมมติเกี่ยวกับทฤษฎี X • โดยทั่วไปมนุษย์ไม่ชอบการทำงาน และจะหลีกเลี่ยงงาน ถ้าสามารถทำได้ • คนส่วนใหญ่ ต้องถูกบังคับ ควบคุม สั่งการ ลงโทษ • มนุษย์โดยเฉลี่ย พอใจการถูกบังคับ ต้องการเลี่ยงความรับผิดชอบ มีความทะเยอทะยานน้อย และต้องการความปลอดภัย

  17. ข้อสมมติเกี่ยวกับทฤษฎี Y • มนุษย์มีความพยายามด้านร่างกายและจิตใจในการทำงาน • มนุษย์สามารถควบคุมตัวเองเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการ • ระดับของการบรรลุวัตถุประสงค์ ขึ้นอยู่กับขนาดของรางวัลที่สัมพันธ์กับความสำเร็จ

  18. มนุษย์โดยเฉลี่ยเรียนรู้ภายใต้สภาพที่เหมาะสม และยอมรับความรับผิดชอบ • สมรรถภาพของมนุษย์ขึ้นอยู่กับระดับของการจิตนาการ ความซื่อสัตย์และความคิดสร้างสรรค์ • ศักยภาพที่เฉลียวฉลาดของความเป็นมนุษย์โดยเฉลี่ยมีการใช้ประโยชน์บางส่วน

  19. การจัดการบุคคลของทฤษฎี X • พนักงานต้องการทำงานให้น้อยที่สุด ดังนี้ ผู้จัดการต้องควบคุม สั่งการ จูงใจ ให้รางวัล หรือลงโทษเพื่อให้บุคคลทำงานบรรลุจุดมุ่งหมายขององค์การ • พนักงานมีความทะเยอทะยานน้อยและไม่ชอบความรับผิดชอบ • โดยทั่วไปพนักงานจะต่อต้านการเปลี่ยนแปลง

  20. การจัดการบุคคลของทฤษฎี Y • โดยธรรมชาติพนักงานชอบการทำงาน • พนักงานมีความคิดริเริ่มในการแก้ปัญหาและบรรลุจุดมุ่งหมายขององค์การ • พนักงานมีความรับผิดชอบ • พนักงานมีศักยภาพในการพัฒนาตนเอง

  21. 2.1.3 ทฤษฎี 2 ปัจจัยของ Herzberg • ปัจจัยรักษา หรือปัจจัยสุขอนามัย เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลในการสร้างความไม่พึงพอใจในการทำงาน • ปัจจัยการจูงใจ เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้าง แรงจูงใจและสร้างความพึงพอใจในการทำงาน

  22. 2.2 จิตวิทยาอุตสาหกรรม • Hugo Munsterberg ได้ชื่อว่าเป็นบิดาของจิตวิทยาอุตสาหกรรม • เขียนหนังสือชื่อ “จิตวิทยาและประสิทธิภาพอุตสาหกรรม” ปีค.ศ.1912

  23. จิตวิทยาและประสิทธิภาพอุตสาหกรรมของ Munsterberg • วิธีการค้นหาบุคคลที่มีคุณภาพด้านจิตใจ ซึ่งเหมาะสมที่สุดสำหรับงานที่เขาทำ • ลักษณะสภาพทางจิตวิทยา ที่ทำให้เกิดผลผลิตที่ดีที่สุดน่าพอใจสูงสุดและมากที่สุด • วิธีการที่ธุรกิจมีอิทธิพลต่อคนงานเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุด คือ “ค่านิยมร่วมกัน” ระหว่างผู้บริหารและคนงาน

  24. 2.3The Hawthorne Study ของ Elton Mayo,F.J.Roethlisberger และคณะ • โครงการ Hawthorne เป็นโครงการศึกษาวิจัยพฤติกรรมองค์การที่สำคัญที่สุด เกิดขึ้นปีค.ศ. 1927-1932 • พบว่าการเปลี่ยนแปลงช่วงเวลาพักผ่อนที่สั้นลงและระบบการจ่ายค่าตอบแทนที่จูงใจ ไม่ได้อธิบายการเปลี่ยนแปลงในผลผลิต

  25. ปัจจัยกำหนดพฤติกรรมมนุษย์ในการปฏิบัติงานปัจจัยกำหนดพฤติกรรมมนุษย์ในการปฏิบัติงาน • ปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องด้วยคือ ปัจจัยทางสังคม เช่น • อิทธิพล / แรงกดดันของกลุ่ม • การยอมรับของเพื่อนร่วมงาน • การจัดการที่มีประสิทธิผล • การใช้ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

  26. 2.4 การศึกษาระบบสังคมในการจัดการและทฤษฎีระบบสังคม โดย Chester l.Barnard • หลักของงานการจัดการประกอบด้วยมุมมองในการตัดสินใจ ความเป็นผู้นำ และการยอมรับอำนาจของสติปัญญาซึ่งเกิดจากประสบการณ์ในการจัดการ • ต้องสร้างความร่วมมือในองค์การที่เป็นทางการ

  27. 3 ทฤษฎีการบริหารจัดการสมัยปัจจุบัน • ทฤษฎีระบบ • ทฤษฎีการจัดการเชิงสถานการณ์ • ทฤษฎี Z ของ Ouchi • การค้นหาลักษณะความเป็นเลิศขององค์การ

  28. 3.1 ทฤษฎีระบบ • มององค์การเป็นระบบตามหน้าที่ ที่สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม และมององค์การในลักษณะ ระบบเปิด คือมีปฏิสัมพันธ์ กับ สิ่งแวดล้อม ซึ่งต่างจากทฤษฎีองค์การในยุคดั้งเดิม ซึ่งมององค์การเป็นระบบปิด คือไม่มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม

  29. ทฤษฎีการจัดการเชิงสถานการณ์ทฤษฎีการจัดการเชิงสถานการณ์ • มุ่งที่การปรับปรุงพฤติกรรมการจัดการตามสถานการณ์ เช่น • เมื่อเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลง • เมื่อสิ่งแวดล้อมภายนอกเปลี่ยนแปลง • เมื่อบุคคล / กลยุทธ์ขององค์การเปลี่ยนแปลง

  30. 3.2 ทฤษฎีการจัดการเชิงสถานการณ์ • เป็นการประสมประสาน 3 ทัศนะ คือ • หลักวิทยาศาสตร์หรือเหตุผล • พฤติกรรมศาสตร์ • เชิงปริมาณ

  31. 3.3 ทฤษฎี Z ของ Ouchi • ทฤษฎี A แทนทัศนะการจัดการของอเมริกา ซึ่งเน้นการจ้างงานระยะสั้น ความรับผิดชอบและการตัดสินใจเฉพาะบุคคล • ทฤษฎี J แทนทัศนะการจัดการของญี่ปุ่น ซึ่งเน้นการจ้างงานตลอดชีพ ความรับผิดชอบและการตัดสินใจร่วมกัน • ทฤษฎี Z ประสมประสาน A และ J

  32. 3.4 การค้นหาลักษณะความเป็นเลิศขององค์การ โดย Peters & Waterman • ธุรกิจดีเด่นต่าง ๆ มีคุณสมบัติ 8 ประการ คือ • การมุ่งการกระทำ • การอยู่ใกล้ชิดกับลูกค้า • การส่งเสริมความเป็นอิสระ/ความเป็นเจ้าของ • การเพิ่มประสิทธิภาพโดยอาศัยคน

  33. 5. การสัมผัสและมุ่งที่ค่านิยม • 6. การดำเนินธุรกิจที่เชี่ยวชาญ • 7. การมีโครงสร้างที่เรียบง่ายและมีที่ปรึกษาน้อยลง • 8. การเข้มงวดและผ่อนปรนในขณะเดียวกัน

  34. การศึกษาบทบาทการจัดการ โดย Henry Mintzberg • สรุปว่า ผู้บริหารไม่ได้ทำเฉพาะหน้าที่การจัดการแบบดั้งเดิม ซึ่งประกอบด้วย การวางแผน การจัดองค์การ การประสานงาน และการควบคุมเท่านั้น แต่ต้องทำกิจกรรมอื่น ๆ ด้วย เช่น

  35. 1 บทบาทระหว่างบุคคล • บทบาทการเป็นหัวหน้า การทำหน้าที่ที่เป็นระเบียบแบบแผน และหน้าที่ด้านสังคม ในฐานะเป็นตัวแทนขององค์การ • บทบาทของผู้นำ • บทบาทในการติดต่อ โดยเฉพาะกับบุคคลภายนอก

  36. 2. บทบาทเกี่ยวกับข้อมูล • บทบาทการรับข้อมูล การรับข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานขององค์การ • บทบาทการกระจายข้อมูล การรับข้อมูลไปยังผู้ใต้บังคับบัญชา • บทบาทการเจรจา การส่งข้อมูลไปยังภายนอกองค์การ

  37. 3. บทบาทการตัดสินใจ • บทบาทการเป็นผู้ประกอบการ • บทบาทการจัดการข้อขัดแย้ง • บทบาทการจัดสรรทรัพยากร • บทบาทการติดต่อ การติดต่อกับบุคคลและกลุ่มบุคคลต่าง ๆ

  38. กิจกรรมที่ 1 (เก็บคะแนน)ให้สรุปว่า • ในองค์กรของท่านมีการจัดการอย่างไร..สอดคล้องกับทฤษฏีใดบ้าง • ให้ท่านบรรยายสถานการณ์ของท่าน ณ ปัจจุบัน และอนาคต โดยใช้หลักการของ มาสโลว์

More Related