1 / 19

ทฤษฎีควอนตัมเบื้องต้น

ทฤษฎีควอนตัมเบื้องต้น. ทฤษฎีควอนตัมเบื้องต้น. หลักความไม่แน่นอนของ Heisenburg ทำให้ไม่สามารถอธิบายการเคลื่อนที่ของอนุภาคระดับอะตอมได้ จากการที่เราไม่สามารถอธิบายปรากฏการณ์บางอย่างที่มีขนาดเล็กได้โดยใช้ฟิสิกส์ยุคเก่า เป็นที่มาของทฤษฎีควอนตัม

aaron
Télécharger la présentation

ทฤษฎีควอนตัมเบื้องต้น

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ทฤษฎีควอนตัมเบื้องต้นทฤษฎีควอนตัมเบื้องต้น

  2. ทฤษฎีควอนตัมเบื้องต้นทฤษฎีควอนตัมเบื้องต้น • หลักความไม่แน่นอนของ Heisenburgทำให้ไม่สามารถอธิบายการเคลื่อนที่ของอนุภาคระดับอะตอมได้ • จากการที่เราไม่สามารถอธิบายปรากฏการณ์บางอย่างที่มีขนาดเล็กได้โดยใช้ฟิสิกส์ยุคเก่า เป็นที่มาของทฤษฎีควอนตัม • Planckเสนอแนวคิดของความไม่ต่อเนื่องของพลังงาน เป็นจุดเริ่มของ กลศาสตร์ควอนตัม

  3. University of Groningen, the Netherlands การแผ่รังสีของวัตถุดำ และสมมติฐานของ Planck • วัตถุใดๆ หากที่อุณหภูมิสูงกว่า 0K จะแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าความยาวคลื่นต่างๆ นอกจากนี้เมื่อวัตถุอยู่ในสมดุลความร้อน วัตถุนั้นจะแผ่รังสีและดูดรังสีด้วยอัตราเดียวกัน • วัตถุที่สามารถดูดกลืนรังสีได้ทุกความยาวคลื่นเรียกว่า วัตถุดำ(black body) • ในทางปฏิบัติอาจใช้แบบจำลองดังภาพ แทนวัตถุดำ

  4. University of Wisconsin - Green Bay การแผ่รังสีของวัตถุดำ และสมมติฐานของ Planck • การกระจายสเปกตรัมของรังสีที่แผ่จากวัตถุดำ แสดงได้ดังภาพ โดยแกน xคือความถี่ () และแกน yคือความเข้มแสงI()

  5. การแผ่รังสีของวัตถุดำ และสมมติฐานของ Planck • จากกราฟ พื้นที่ใต้โค้งหรือ คือปริมาณรังสีที่แผ่ออกมาทั้งหมดซึ่งจะเพิ่มขึ้นเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น Stefanพบว่าพลังงานทั้งหมดที่วัตถุดำแผ่ออกเป็นปฏิภาคตรงกับกำลังสี่ของอุณหภูมิสัมบูรณ์ Tของวัตถุดำดังความสัมพันธ์เมื่อ  คือค่าคงที่ของ Stefanซึ่งมีค่า 5.67 x 10-8 W.m-2.K-4 • สมการนี้เรียกว่า กฎของ Stefan

  6. การแผ่รังสีของวัตถุดำ และสมมติฐานของ Planck • จากการกระจายสเปกตรัมของรังสีที่แผ่จากวัตถุดำ Wilhelm Weinพบว่าความเข้มสูงสุดของรังสีที่วัตถุดำแผ่ออกมาจะเบี่ยงเบนไปทางความถี่สูงขึ้นหรือความยาวคลื่นที่สั้นลง • ถ้าให้ m เป็นความยาวคลื่นที่มีความเข้มสูงที่สุด เราสามารถเขียนความสัมพันธ์ ได้ดังนี้ หรือ เมื่อ bคือค่าคงที่ของ Wienมีค่า 2.898 x 10-3m.Kและเรียกสมการนี้ว่า กฎการเคลื่อนที่ของ Wien (Wien’s displacement law)

  7. Max Planck American Physical Society การแผ่รังสีของวัตถุดำ และสมมติฐานของ Planck • เนื่องจากความล้มเหลวในการอธิบายการแผ่รังสีของวัตถุดำโดยใช้ทฤษฎียุคเก่า Max Planckนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันได้เสนอแนวคิดใหม่ โดยอธิบายว่าอะตอมที่ประกอบกันเป็นผนังภายในของวัตถุดำจะทำตัวเป็น Oscillatorซึ่งจะให้กำเนิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเพียงบางความถี่ โดย Oscillatorนั้นจะปล่อยและดูดพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าด้วยปริมาณที่เป็นสัดส่วนกับความถี่

  8. การแผ่รังสีของวัตถุดำ และสมมติฐานของ Planck • Planckตั้งสมมติฐาน 2ประการคือ • Oscillator ที่สั่นจะมีค่าพลังงานใดๆ มิได้ นอกจากค่าที่กำหนดตามสมการ E = nhเมื่อ hคือค่าคงที่ของ Planckซึ่งมีค่าเท่ากับ 6.625 x 10-34 J.Sและ nคือ quantum numberซึ่งเป็นเลขจำนวนเต็มบวก และพลังงานที่ oscillatorสั่นจะไม่ต่อเนื่องที่เรียกว่า quantum state • Oscillatorจะดูดหรือคายพลังงานเป็นหน่วย หรือ quantum of energyโดย quantumของพลังงานมีค่า hซึ่งถ้า oscillatorเปลี่ยนสภานะไป 1 สถานะ แสดงว่า oscillatorต้องปล่อยหรือดูดพลังงานในปริมาณ E = nh = h

  9. E = Emax E = 0 E = 5h E = 4h E = 3h E = 2h E = h การแผ่รังสีของวัตถุดำ และสมมติฐานของ Planck • ความแตกต่างระหว่างค่าพลังงานของอะตอมที่สั่นใน 1 มิติตามฟิสิกส์ยุคเก่าและตามสมมติฐานของ Planckคือในฟิสิกส์ยุคเก่าอะตอมจะมีพลังงานเท่าไรก็ได้ในช่วงพลังงานจาก 0 ถึง Emaxในขณะที่พลังงานของอะตอมตามสมมติฐานของ Planckอะตอมจะมีพลังงานไม่ต่อเนื่อง ดังภาพ

  10. N P Rijksuniversiteit Groningen - The Netherlands Photoelectric Effect • แนวคิดที่ว่าพลังงานมีลักษณะเป็นควอนตัม (ไม่ต่อเนื่อง) ยากที่จะเป็นที่ยอมรับเนื่องจากขัดกับทฤษฎียุคเก่า • ภายหลัง Einsteinได้นำแนวคิดดังกล่าวไปอธิบายปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กตริกได้สำเร็จ จึงเริ่มเป็นที่ยอมรับมากขึ้น

  11. Photoelectric Effect • Photoelectric effectคือปรากฏการณ์ที่ เมื่อมีแสงหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่สูงตกกระทบบนผิวโลหะ จะมีอิเล็กตรอนหลุดออกมาจากผิวโลหะนั้น • จากภาพการทดลองหากเพิ่มความต่างศักย์ที่ขั้ว Pให้เป็นบวกมากขึ้นจะทำให้มีกระแสไฟฟ้าไหลเพิ่มขึ้นจนถึงค่าหนึ่ง • ถ้าทำให้ Pมีค่าเป็นลบจะผลักอิเล็กตรอนด้วยพลังงาน |eV| เมื่อขั้ว Pมีค่าเป็นลบเพิ่มขึ้นถึงค่าหนึ่ง จะทำให้ไม่มีกระแสไหลในวงจร เรียกความต่างศักย์นี้ว่า ศักย์ไฟฟ้าหยุดยั้ง (stopping potential, V0) ซึ่งสรุปได้ว่า

  12. Photoelectric Effect • ผลการศึกษาสรุปได้ว่า • ถ้าความถี่  ของแสงคงที่ กระแสโฟโตอิเล็กตริกจะเพิ่มขึ้นเมื่อความเข้ม Iของแสงตกกระทบเพิ่มขึ้น • โฟโตอิเล็กตรอนหลุดจากผิวโลหะภายในเวลาน้อยกว่า 10-9วินาที • โลหะแต่ละชนิดจะมี ความถี่ขีดเริ่ม(threshold frequency, 0)แตกต่างกัน • พลังงานจลน์สูงสุดไม่ขึ้นกับความเข้มของแสงตกกระทบ • พลังงานจลน์สูงสุดขึ้นกับความถี่ของแสงตกกระทบ

  13. Photoelectric Effect • Einsteinได้นำแนวความคิดของ Planckมาอธิบายปรากฏการณ์ photoelectricโดยอธิบายว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่  มีลักษณะเป็นอนุภาคเล็กๆ ที่มีพลังงาน เรียกว่า ควอนตัมของพลังงาน หรือ photonซึ่งมีพลังงานเท่ากับ h • เมื่อ photonตกกระทบบนผิวโลหะจะคายพลังงานทั้งหมดให้อิเล็กตรอน หากมีพลังงานมากพอ จะทำให้อิเล็กตรอนหลุดเป็นอิสระ ซึ่งในโลหะแต่ละชนิด พลังงานที่ทำให้อิเล็กตรอนเป็นอิสระ Wจะต่างกันเรียกพลังงานนี้ว่า work functionดังนั้น

  14. ทวิภาพของคลื่นและอนุภาคทวิภาพของคลื่นและอนุภาค • นักฟิสิกส์เริ่มยอมรับสมบัติความเป็นอนุภาคของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งจะทำให้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามีสมบัติทวิภาค (wave-particle duality) • Louis de Broglie ได้มีการเสนอแนวคิดที่ว่า หากคลื่นมีคุณสมบัติเป็นอนุภาคได้ อนุภาคก็มีคุณสมบัติเป็นคลื่นได้เช่นกัน ซึ่งต่อมาได้มีการทดลองและสรุปว่าเป็นจริง • จากทฤษฎีที่ว่า E = hและทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษที่ว่า E = pcเมื่อ pคือโมเมนตัมของ photon • ทั้งสองทฤษฎีสรุปได้ว่า p = h/

  15. ทวิภาพของคลื่นและอนุภาคทวิภาพของคลื่นและอนุภาค • จะเห็นได้ว่า โมเมนตัม (คุณสมบัติของอนุภาค) และ ความยาวคลื่นสัมพันธ์กัน • ดังนั้น อิเล็กตรอน หรือโปรตอน ซึ่งเป็นอนุภาคก็มีความเป็นคลื่นด้วยแต่จะต่างจากโฟตอนคือ โฟตอนไม่มีมวลและมีความเร็วเท่ากับแสง ส่วนอนุภาคจะมีมวลแต่ความเร็วจะน้อยกว่าแสง • de Broglieจึงตั้งสมมติฐานว่า อนุภาคใดๆ ที่เคลื่อนที่ด้วยโมเมนตัม Pจะมีความยาวคลื่น  ซึ่งมีค่าเท่ากับ h/pและเรียกคลื่นของอนุภาคนี้ว่า de Broglie waveหรือ matter wave.

  16. Heisenberg’s Uncertainty Principle • เนื่องจากความเป็นคลื่นของอนุภาคทำให้เกิดความไม่แน่นอนของตำแหน่งของอนุภาค • Heisenburgศึกษาความไม่แน่นอนดังกล่าวและสรุปว่า หากการวัดตำแหน่งมีความแม่นยำมาก ความแม่นยำในการวัดโมเมนตัมของอนุภาคจะมีน้อย ซึ่งสามารถสรุปเป็นสมการคือ

  17. Schrödinger’s Equation

  18. Schrödinger’s Equation • กฎของNewtonอธิบายการเคลื่อนที่ของอนุภาคในฟิสิกส์ยุคเก่า • Schrödinger’s equationอธิบายการเคลื่อนที่ของ matter waveโดยอาศัย wave functionในการอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ในฟิสิกส์ยุคใหม่ • Schrödinger’s equation (1มิติ) เขียนได้ดังนี้คือ

  19. QUIZ • จงหาพลังงานจลน์สูงสุดของอิเล็กตรอน work functionและความถี่ขีดเริ่มของการเกิด photoelectric effectถ้าความยาวคลื่นของแสงเท่ากับ 500 nmและค่า stopping potentialเท่ากับ 0.5 volt. (หมายเหตุ: 1 eV = 1.6x10-19J, h = 6.625x10-34J.s) • จงคำนวณความยาวคลื่นของลูกเทนนิสมวล 200 gที่มีความเร็ว 180 km/h (ค่าคงที่ของ Planckคือ 6.625x10-34Js)

More Related