1 / 42

กฎหมายเบื้องต้น

กฎหมายเบื้องต้น. ประเภทของกฎหมาย. ที่มาของกฎหมาย. ศักดิ์ของกฎหมาย. ที่มาของกฎหมาย. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔ วรรคสอง บัญญัติว่า

abra-hyde
Télécharger la présentation

กฎหมายเบื้องต้น

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กฎหมายเบื้องต้น

  2. ประเภทของกฎหมาย ที่มาของกฎหมาย ศักดิ์ของกฎหมาย

  3. ที่มาของกฎหมาย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔ วรรคสอง บัญญัติว่า “เมื่อไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้ ให้วินิจฉัยคดีนั้นตามจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น ถ้าไม่มีจารีตประเพณี เช่นว่านั้น ให้วินิจฉัยคดีอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง และถ้าบทกฎหมายเช่นนั้นก็ไม่มีด้วย ให้วินิจฉัยตามหลักกฎหมายทั่วไป” กฎหมายไทยมี ๓ประการ คือ ๑. กฎหมายลายลักษณ์อักษร ๒. จารีตประเพณี ๓. หลักกฎหมายทั่วไป

  4. กฎหมายลายลักษณ์อักษร แบ่งตามรูปแบบและองค์กรที่ตรา ได้ดังนี้ - กฎหมายรัฐธรรมนูญ - ประราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ - พระราชบัญญัติ - พระราชกำหนด - พระราชกฤษฎีกา - กฎกระทรวง - กฎหมายที่ตราโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

  5. จารีตประเพณี - จารีตประเพณีในฐานะกฎหมายทั่วไป หมายถึง ทางปฏิบัติที่สืบทอดกันมาในสังคมหนึ่ง จนกลุ่มคนในสังคมนั้นมีความรู้สึกร่วมกันว่าจำเป็นต้องปฏิบัติตามเพราะมีผลผูกพันในฐานะที่กลายเป็นกฎหมาย - ป.แพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔ วรรคสอง กำหนดว่า ในการใช้กฎหมายเมื่อไม่มีกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่จะยกมาปรับแก่คดีได้ จะต้องใช้จารีตประเพณี - ป.แพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๓๖๘ “สัญญานั้นท่านให้ตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริต โดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วย”

  6. จารีตประเพณีที่จะเป็นที่มาของกฎหมายนั้นจะต้องมีลักษณะ...จารีตประเพณีที่จะเป็นที่มาของกฎหมายนั้นจะต้องมีลักษณะ... ๑. เป็นจารีตประเพณีที่สืบทอดกันมาเป็นเวลานานและสม่ำเสมอจนกลายเป็นทางปฏิบัติ หรือความเคยชิน หรือธรรมเนียม ๒. ประชาชนมีสภาพจิตใจที่รู้สึกว่าจารีตประเพณีเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง และจะต้องปฏิบัติตาม Ex. บิดามารดาเฆี่ยนตีสั่งสอนบุตรได้ เป็นต้น ข้อจำกัดในการใช้จารีตประเพณี... ๑. กฎหมายจารีตประเพณีจะสร้างความผิดอาญาขึ้นใหม่ไม่ได้ (แล้วกรณีผิดจารีตประเพณีแต่ไม่ผิดกฎหมายอาญา ทำได้) Ex. นักกีฬาชกมวยตายบนเวที ๒. กฎหมายจารีตประเพณีจะกำหนดหน้าที่ของบุคคลเพิ่มขึ้นไม่ได้

  7. หลักกฎหมายทั่วไป (General principle of law) - คือ หลักกฎหมายซึ่งผู้พิพากษาในฐานะศาลค้นหามาจากแหล่งต่างๆ เพื่อใช้บังคับกฎหมาย ผู้พิพากษาเป็นเพียงผู้ค้นหาไม่ใช่สร้างหลักกฎหมายทั่วไปขึ้น - หลักกฎหมายทั่วไปมีลักษณะกว้างมาก ดังนั้น ศาลจะเป็นผู้ทำหน้าที่ค้นหาหลักกฎหมายทั่วไปโดยอาศัย... ๑. สุภาษิตกฎหมาย เช่น กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา ผู้ประมาทเลินเล่อย่อมเป็นผู้เสียเปรียบ ๒. การพิเคราะห์โครงสร้างกฎหมาย เช่น กฎหมายคุ้มครองผู้กระทำการโดยสุจริต ๓. การเปรียบเทียบหลักกฎหมายต่างประเทศ

  8. ประเภทของกฎหมาย 1. กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร กับกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร • กฎหมายลายลักษณ์อักษร (Written law) คือ • กฎหมายที่ บัญญัติขึ้นที่ผ่านกระบวนการตรากฎหมายที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ • Ex. พ.ร.บ. พ.ร.ก. ประมวลกฎหมายต่างๆ

  9. กฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร (Unwitten law) คือ • กฎหมายที่ ไม่ได้บัญญัติขึ้นที่ผ่านกระบวนการตรากฎหมายที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ • Ex. กฎหมายจารีตประเพณี และหลักกฎหมายทั่วไป • กฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษรนี้ เรียกอีกอย่างว่า • “กฎหมายจารีตประเพณี”

  10. 2. กฎหมายเอกชน กับกฎหมายมหาชน แบ่งโดยยึดถือความสัมพันธ์เป็นเกณฑ์ - ความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน เรียกว่า กฎหมายเอกชน - ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับเอกชน เรียกว่า กฎหมายมหาชน กฎหมายเอกชน (Private law) คือ เอกชนต่างมีความเท่าเทียมกัน ในฐานะ “ผู้ใต้ปกครอง” กฎหมายกำหนดสถานะและนิติสัมพันธ์ระหว่างเอกชน ต่อกันเอง

  11. กฎหมายมหาชน (Public law) คือ ในฐานะที่รัฐหรือหน่วยงานของรัฐเป็น “ผู้ปกครอง” กฎหมายกำหนดสถานะและนิติสัมพันธ์ระหว่างรัฐหรือหน่วยงานของรัฐกับเอกชน กฎหมายมหาชนที่สำคัญ คือ กฎหมายรัฐธรรมนูญ

  12. เกณฑ์การแบ่งแยกกฎหมายเอกชนกับกฎหมายมหาชนเกณฑ์การแบ่งแยกกฎหมายเอกชนกับกฎหมายมหาชน

  13. สาขาย่อยของกฎหมายทั้ง 2 ประเภท สาขาย่อยของกฎหมายเอกชน • - กฎหมายแพ่ง (Civil law) ความสัมพันธ์ระหว่างเอกชน ประกอบไปด้วยเรื่องสถานะบุคคล คือบุคคล ครอบครัว และทรัพย์สิน คือ ทรัพย์ มรดก และหนี้ คือ บ่อเกิดแห่งหนี้ และผลแห่งหนี้ • - กฎหมายพาณิชย์ (Commercial law) ความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนในฐานะเป็นผู้ผลิตและผู้จำหน่ายสินค้า คือ การตั้งองค์กรธุรกิจ การจัดหาทุน การทำนิติกรรมทางพาณิชย์ เช่น ธนาคาร การค้าหลักทรัพย์ • !! ในประเทศไทยจะรวมเป็นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

  14. สาขาย่อยของกฎหมายเอกชน (ต่อ) - กฎหมายการเกษตร (Agriculture law) คือ กฎหมายว่าด้วยกิจกรรมทางด้านการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ เช่น กฎหมายปฏิรูปที่ดิน - กฎหมายสังคม (Social law) คือ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสังคม เช่น กฎหมายแรงงาน กฎหมายประกันสังคม เป็นต้น - กฎหมายอาญา (Criminal law) คือ กฎหมายที่กำหนดความผิดทางอาญาพื้นฐานที่สังคมเห็นว่าเป็นการกระทำที่ต้องลงโทษ - กฎหมายระหว่างประเทศแผนกบุคคลคือ กฎหมายที่ใช้บังคับต่อนิติสัมพันธ์ขอลเอกชนที่มีลักษณะระหว่างประเทศ เช่น กฎหมายสัญชาติ เป็นต้น

  15. สาขาย่อยของกฎหมายมหาชนสาขาย่อยของกฎหมายมหาชน • กฎหมายรัฐธรรมนูญ (Constitutional law) เป็นกฎหมายที่กำหนดโครงสร้างการปกครองของรัฐ และคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน • กฎหมายปกครอง (Administrative law) คือ กฎหมายที่กำหนดสถานะและความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายปกครองของรัฐต่อรัฐ และรัฐต่อประชาชน • กฎหมายการคลังและการภาษีอากร (Public finance and taxationlaw) คือ กฎหมายที่เกี่ยวกับการหารายได้เข้ารัฐและหน่วยงานของรัฐ และการจัดการทรัพย์สินที่เป็นเงินตราของรัฐ

  16. กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (Procedure law) คือ กฎหมายซึ่งกำหนดเขตอำนาจศาลและการดำเนินกระบวนการพิจารณา ตลอดจนการบังคับคดีแพ่ง

  17. 3. กฎหมายสารบัญญัติกับกฎหมายวิธีสบัญญัติ - กฎหมายสารบัญญัติ (Substentive law) คือ กฎหมายที่บัญญัติถึง เนื้อหา หน้าที่ ข้อห้าม หรือเป็นกฎหมายที่ควบคุมความประพฤติของคนในสังคมโดยตรง เช่น ป.แพ่งและพาณิชย์ ป.อาญา - กฎหมายวิธีสบัญญัติ (Procederal law) คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงกระบวนการยุติข้อพิพาทที่เกิดขึ้นตามกฎหมายสบัญญัติ ได้แก่ ป.วิแพ่ง ป.วิอาญา เป็นต้น

  18. 4. กฎหมายในประเทศ กับกฎหมายระหว่างประเทศ - กฎหมายในประเทศ (Internal law) คือ กฎหมายที่ออกโดยองค์กรที่มีอำนาจตรากฎหมาย ได้แก่ กฎหมายต่างๆ ที่รัฐสภาตรา (พ.ร.บ.ต่างๆ) และใช้บังคับภายในรัฐที่ออกกฎหมายนั้นเท่านั้น - กฎหมายระหว่างประเทศ (International law) คือ กฎหมายที่บัญญัติขึ้นโดยองค์กรระหว่างประเทศ และใช้บังคับในสังคมระหว่างประเทศ เช่น บัญญัติโดย UN หรือเกิดจากการความตกลงระหว่างประเทศภาคีสมาชิก ที่เห็นพ้องต้องกันในกฎหมายนั้น จำแนกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา

  19. ศักดิ์ของกฎหมาย (Hierarchy of law) ศักดิ์ของกฎหมายลายลักษณ์อักษร เรียงลำดับจากศักดิ์สูงไปศักดิ์ต่ำได้ดังนี้ กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ข้อบัญญัติหรือข้อบังคับขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

  20. ศักดิ์ของกฎหมายมีผลในทางกฎหมาย ๓ ประการ คือ ๑. กฎหมายที่มีศักดิ์ต่ำกว่าจะตราออกใช้ได้ก็แต่โดยอาศัยกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่าให้อำนาจไว้ ๒. กฎหมายที่มีศักดิ์ต่ำกว่าจะตราออกใช้เกินอำนาจที่กฎหมายแม่บทให้ไว้ไม่ได้ ๓. กฎหมายที่ศักดิ์ต่ำกว่าจะขัดแย้งกับกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่าไม่ได้ กรณีที่ขัดแย้งต้องให้กฎหมายที่ศักดิ์สูงกว่าบังคับ

  21. กฎหมายรัฐธรรมนูญ • เป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ปกครองประเทศ • รัฐธรรมนูญเป็นผู้กำหนดกลไกในการปกครองประเทศ • รับรองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน • กฎหมายใดที่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญจึงใช้บังคับไม่ได้

  22. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ • เป็นกฎเกณฑ์การปกครองประเทศซึ่งแยกออกมาบัญญัติรานละเอียดต่างหากออกไปจากรัฐธรรมนูญ เพื่อช่วยขยายบทบัญญัติให้มีความสมบูรณ์ครบถ้วนยิ่งขึ้น • กฎหมายที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้ตราในรูปแบบของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ได้แก่ • ๑. พ.ร.บ. ร.ธ. ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และ ส.ว. • ๒. พ.ร.บ. ร.ธ. ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง • ๓. พ.ร.บ. ร.ธ. ว่าด้วยพรรคการเมือง • ๔. พ.ร.บ. ร.ธ. ว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา • ๕. พ.ร.บ. ร.ธ. ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต • ๖. พ.ร.บ. ร.ธ. ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง • ๗. พ.ร.บ. ร.ธ. ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน • ๘. พ.ร.บ. ร.ธ. ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ

  23. พระราชบัญญัติ กษัตริย์ รัฐสภา ผู้ตรา คำแนะนำ, ยินยอม ผู้มีอำนาจเสนอร่างพระราชบัญญัติ ผู้มีอำนาจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ ผู้มีอำนาจตราพระราชบัญญัติ การใช้บังคับเป็นกฎหมาย

  24. ผู้มีอำนาจเสนอร่างพระราชบัญญัติผู้มีอำนาจเสนอร่างพระราชบัญญัติ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า ๕๐,๐๐๐ คน เข้าชื่อร้องขอต่อประธานรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ส.ส. จำนวนไม่น้อยกว่า ๒๐ คน รับรอง และพรรคการเมืองที่ ส.ส. สังกัดมีมติให้เสนอได้

  25. ผู้มีอำนาจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติผู้มีอำนาจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ โดยสภาผู้แทนราษฎร พิจารณา ๓ วาระ วาระที่ ๑ สภาพิจารณาและลงมติจะรับหลักการหรือไม่รับหลักการ วาระที่ ๒ พิจารณาโดยละเอียด อาจมีการอภิปรายได้เฉพาะที่มีการ แก้ไข วาระที่ ๓ สภาเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ ไม่มีการอภิปราย หาก เห็นชอบประธานสภาจะเสนอร่าง พ.ร.บ.แก่วุฒิสภาเพื่อ พิจารณาต่อไป โดยวุฒิสภาพิจารณาร่าง ๓ วาระ เช่นเดียวกับสภาผู้แทนราษฎร นายกรัฐมนตรีจะนำร่างพระราชบัญญัติทูลเกล้าถวาย

  26. ผู้มีอำนาจตราพระราชบัญญัติผู้มีอำนาจตราพระราชบัญญัติ พระมหากษัตริย์ ทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับเป็นกฎหมาย

  27. การบังคับใช้กฎหมาย ราชกิจจานุเบกษา (Royal Thai Government Gazette ) ประกาศให้ประชาชนทราบ

  28. พระราชกำหนด คือ กฎหมายรูปแบบหนึ่งที่...... ตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจรัฐธรรมนูญให้ไว้ กษัตริย์ รัฐสภา ผู้ตรา คำแนะนำ, ยินยอม ประเภทที่ ๑ พระราชกำหนดทั่วไป ตราขึ้นเพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยของสาธารณะ ความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ ประเภทที่ ๒ พระราชกำหนดเกี่ยวด้วยภาษีและเงินตรา ตราขึ้นเกี่ยวกับภาษีอากรหรือเงินตรา ซึ่งต้องได้รับการพิจารณาด่วน และลับเพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดินในระหว่างสมัยประชุม

  29. ผู้มีอำนาจเสนอร่างพระราชกำหนดผู้มีอำนาจเสนอร่างพระราชกำหนด รัฐมนตรีผู้ซึ่งรักษาการ ตามพระราชกำหนดนั้น

  30. ผู้มีอำนาจพิจารณาร่างพระราชกำหนดผู้มีอำนาจพิจารณาร่างพระราชกำหนด คณะรัฐมนตรี

  31. ผู้มีอำนาจตราพระราชกำหนดผู้มีอำนาจตราพระราชกำหนด พระมหากษัตริย์

  32. การบังคับใช้กฎหมาย เมื่อได้ราชกิจจานุเบกษาแล้ว

  33. การอนุมัติพระราชกำหนดการอนุมัติพระราชกำหนด ถ้ามีความรีบด่วนมาก ไม่อาจตรากฎหมายโดยรัฐสภาออกใช้ได้ทัน รัฐธรรมนูญให้อำนาจกับคณะรัฐมนตรีใช้ชั่วคราวก่อนได้ แล้วค่อยนำพระราชกำหนดที่ตราออกมาเป็นกฎหมายให้รัฐสภาอนุมัติอีกครั้ง ถ้าไม่อนุมัติถือว่าสิ้นไป แต่ถ้าอนุมัติ ชั่วคราวนั้น จะกลายเป็นถาวร

  34. พระราชกฤษฎีกา กษัตริย์ คณะรัฐมนตรี ผู้ตรา คำแนะนำ กรณี ๑ รัฐธรรมนูญกำหนดให้ตราพระราชกฤษฎีกาในกิจการสำคัญเกี่ยวกับฝ่าย บริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ เช่น พระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภา พระราชกฤษฎีกา ยุบสภาผู้เทนราษฎร กรณี ๒ เป็นการตราพระราชกฤษฎีกาโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย ตราเพื่อใช้กับฝ่ายบริหาร ไม่ใช้บังคับ แก่ประชาชนทั่วไป เช่น พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการ กรณี ๓ อาศัยอำนาจตามกฎหมายแม่บท (พ.ร.บ.หรือ พ.ร.ก.)ที่ใช้อำนาจตราพระราชกฤษฎีกาได้

  35. ผู้มีอำนาจเสนอร่างพระราชกฤษฎีกาผู้มีอำนาจเสนอร่างพระราชกฤษฎีกา บุคคลที่มีความเกี่ยวข้องหรือ ที่ได้รักษาการตามกฎหมายแม่บทที่ออกให้พระราชกฤษฎีกานั้น

  36. ผู้มีอำนาจพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกาผู้มีอำนาจพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกา คณะรัฐมนตรี

  37. ผู้มีอำนาจตราร่างพระราชกฤษฎีกาผู้มีอำนาจตราร่างพระราชกฤษฎีกา พระมหากษัตริย์

  38. การใช้บังคับเป็นกฎหมายการใช้บังคับเป็นกฎหมาย เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา

  39. กฎกระทรวง เป็นกฎหมายที่รัฐมนตรีผู้รักษาการตามกฎหมายแม่บทออกเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายแม่บท ผู้มีอำนาจเสนอร่างกฎกระทรวง ผู้มีอำนาจพิจารณาร่างกฎกระทรวง รัฐมนตรีผู้รักษาการตามกฎหมาย แม่บทซึ่งให้อำนาจ คณะรัฐมนตรี ผู้มีอำนาจตรากฎกระทรวง การบังคับใช้กฎหมาย รัฐมนตรีผู้รักษาการตามกฎหมาย แม่บทซึ่งให้อำนาจ เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา

  40. กฎหมายที่ตราโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกฎหมายที่ตราโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น - จำกัดบริเวณเฉพาะท้องถิ่นนั้นๆ องค์การบริหารส่วนจังหวัด ข้อบัญญัติ อปท. เทศบาล เทศบัญญัติ สุขาภิบาล ข้อบังคับสุขาภิบาล องค์การบริหารส่วนตำบล ข้อบังคับตำบล กรุงเทพมหานคร ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ข้อบัญญัติเมืองพัทยา เมืองพัทยา

  41. เกร็ดควรจำ กฎหมายที่ใช้ชื่อว่า “พระราช” นำหน้าชื่อ แสดงว่ากฎหมายนั้นต้องตราโดยพระมหากษัตริย์ จำแนกโดยพิจารณาถึงองค์กรที่มีอำนาจพิจารณากฎหมาย ก. กฎหมายที่บัญญัติโดยนิติบัญญัติ (รัฐสภา) ๑) รัฐธรรมนูญ ๒) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ๓) พระราชบัญญัติ ข. กฎหมายที่บัญญัติโดยฝ่ายบริหาร (คณะรัฐมนตรี) ๑) พระราชกำหนด ๒) พระราชกฤษฎีกา ๓) กฎกระทรวง ค. กฎหมายที่บัญญัติโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

  42. เกร็ดควรจำ (ต่อ) (๓) ประมวลกฎหมายของประเทศไทยที่ถือว่าเป็น ๔ เสาหลัก คือ ๑) ประมวลกฎหมายอาญา ๒) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ๓) ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ๔) ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (๔) สภาตำบลจัดเป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาค ไม่มีอำนาจออกกฎหมายเอง องค์การบริหารส่วนตำบลเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่นมีอำนาจออกข้อบังคับตำบล (๕) การตราพระราชกฤษฎีกานั้น คณะรัฐมนตรีเป็นผู้พิจารณา ไม่ต้องนำไปให้รัฐสภาพิจารณาไม่ว่าในกรณีใดๆ

More Related