210 likes | 483 Vues
จัดทำโดย นาย ทวี เลไธ สง 513030122-5 คณะเกษตรศาสตร์ นาย เจษฎากร หลวงมณี 513030332-4 คณะเกษตรศาสตร์ น . ส . วิลาสินี ทองเอียง 523220069-6 คณะศิลปกรรมศาสตร์ นาย ปฐมพล คำพิมพา 523220116-3 คณะศิลปกรรมศาสตร์. ธรรมาสน์อีสาน.
E N D
จัดทำโดย นาย ทวี เลไธสง 513030122-5 คณะเกษตรศาสตร์ นาย เจษฎากร หลวงมณี 513030332-4คณะเกษตรศาสตร์ น.ส. วิลาสินี ทองเอียง 523220069-6คณะศิลปกรรมศาสตร์ นาย ปฐมพล คำพิมพา 523220116-3 คณะศิลปกรรมศาสตร์ ธรรมาสน์อีสาน
1.เพื่อศึกษาลักษณะรูปแบบและความเชื่อ และคติความเชื่อในการสร้างธรรมาสน์ของชาวบ้านในภาคอีสาน 2.เพื่อศึกษาการประดับตกแต่ง และความสัมพันธ์ระหว่างวิถีชีวิตชุมชนกับงานแกะสลักธรรมาสน์ 3.โอกาสในการใช้ ในพิธีต่างๆของธรรมาสน์ 4.ศึกษาการจัดทำ จัดการในชุมชนในเรื่องของธรรมาสน์อีสาน 5.เพื่อศึกษาแนวทางการอนุรักษ์ ส่งเสริม และพัฒนาธรรมาสน์อีสาน วัตถุประสงค์ที่ต้องการศึกษา
เป็นหัวข้อที่น่าศึกษา เนื่องจากการสร้างธรรมาสน์ในปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงลักษณ์ รูปแบบตามแบบสมัยใหม่โดยธรรมาสน์ในลักษณะดั้งเดิมตามแบบอีสานหาดูได้ยาก และ กำลังจะสูญหาย รวมทั้งเป็นงานศิลปะ ที่เป็นภูมิปัญญาที่เกี่ยวข้องกับด้านต่างๆทั้ง วรรณกรรม ศาสนา ความเชื่อ ประเพณี การแกะสลัก ตกแต่ง ทำไมจึงสนใจเกี่ยวกับ ธรรมาสน์อีสาน
1.ประวัติชุชน บ้านลาดนาเพียง 2.ประวัติวัดเสมอภาพ 3. ประเพณีในชุมชน4.ความหมายของธรรมาสน์ 5.ลักษณะโดยทั่วไปของธรรมาสน์ 6.ประวัติธรรมาสน์วัดเสมอภาพและการสร้าง 7.การนำไปใช้ในงานประเพณี 8.ธรรมาสน์ในภาคอีสาน9. วิธีการอนุรักษ์พัฒนาและส่งเสริม ประเด็นที่ทำการศึกษา
ธรรมาสน์มาจากคำว่า ธรรม + อาสน์ คือ ที่สำหรับพระภิกษุสามเณรนั่งแสดงธรรมใน การประกอบศาสนกิจพิธีโดยเฉพาะการแสดงพระธรรมเทศนาต่อพุทธศาสนิกชน หรือไว้ สำหรับพระภิกษุสงฆ์องค์ประธานของพิธีกรรมต่างๆ ภายใน สิม(อุโบสถ)ของภาคอีสาน หรือเป็นศาสนกิจอย่างที่เรียกว่าการสวดปาติโมกข์หรือปั่นปาติโมกข์ ซึ่งเป็นการทบทวน พระธรรมวินัยศีล 227 ข้อของพระสงฆ์ด้วยกันเอง( ติ๊ก แสนบุญ,2552 ) ธรรมาสน์คืออะไร
ส่วนประกอบของธรรมาสน์ ธรรมาสน์ ประกอบด้วยส่วนประกอบสำคัญ 3 ส่วนคือ ส่วนฐาน เรือนธรรมาสน์ และ ส่วนหลังคา ส่วนฐานโดยมากมีเสาหลัก 4 ต้นบ้าง 6 ต้นบ้าง 8 ต้นบ้าง แต่บางแห่งมีเพียง เสาต้นเดียวนิยมการจัดวางผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมโดยคำนึงถึงความเหมาะสมกับ การนั่งของพระภิกษุ จำนวน 1 รูป เป็นสำคัญ( นิยม วงศ์พงศ์คำ , 2547 ) ลักษณะโดยทั่วไปของธรรมาสน์
ลักษณะลวดลายและการประดับตกแต่ง โครงสร้างทั้งหมดของธรรมาสน์มีการประดับตกแต่งด้วยประติมากรรมแกะสลัก ไม้ บางแห่งฉลุไม้ เท่านั้น แล้วตกแต่งผิวพื้นด้วยงานจิตรกรรม เครื่องมือและวัสดุที่นำมาสร้าง ธรรมาสน์เป็น เครื่องมือแบบดั้งเดิมที่ชาวบ้านมีอยู่แล้วนำมาประยุกต์ใช้กับวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น เนื้อหาเรื่องราวที่ พบในลวดลายต่างๆ ที่สะท้อนเนื้อหาเกี่ยวกับความเชื่อ วิถีชีวิตของชาวบ้านและการสร้างดุลยภาพทางด้านความงาม ( นิยม วงศ์พงศ์คำ , 2547 ) ลักษณะโดยทั่วไปของธรรมาสน์
พระครูปราโมทจันทสาร ได้กล่าวไว้ว่า ธรรมาสน์เก่าแก่โบราณคู่วัดเสมอภาพหลังนี้ สืบค้นประวัติได้ไม่ ชัดเจนว่าสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ใด จากการสืบค้นประวัติการสร้างจาก คนเฒ่าคนแก่ได้ให้ข้อมูลว่า สร้างประมาณปี พ.ศ. 2483 โดยผู้เป็นนายช่างชื่อ พ่อจารย์ตา ไม่ทราบนาม (ขณะทำ การจัดสร้างผู้ให้ข้อมูลมีอายุ 15 และ 10 ปี ตามลำดับ ท่านได้เห็นด้วยตาของท่านเอง) ในขณะที่ทำการก่อสร้างนั้นท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสด้วยและทีมงานในการก่อสร้างก็ เป็นพระสงฆ์ สามเณรภายในวัด โดยผู้ที่ปรากฏชื่อ คือ สามเณรที โดยเคน และสามเณรโจม ไม่ทราบนามสกุล ประวัติธรรมาสน์โบราณ วัดเสมอภาพ
1.วัสดุหรือไม้ในการจัดทำ ไม้ที่นำมาทำธรรมาสน์หลังนี้เป็นไม้กระทุ่มและไม้ก้านเหลือง ซึ่งเป็นไม้ที่มีอยู่ ในท้องถิ่นในสมัยนั้นมีอยู่มากตามไร่นาและป่าในบริเวณบ้านลาดนาเพียง พอสมควร ปัจจุบันเป็นไม้ที่หายากหรือเกือบ ไม่มีเลย ขั้นตอนและวิธีการทำ วัสดุเทคนิคในการจัดทำ
2.วิธีการผ่าไม้ - ใช้วิธีการผ่าด้วยขวานมีหงอน และตอกลิ่มเหมือนการทำแป้นมุงหลังคาบ้านในสมัยนั้น - ใช้กบมือเป็นอุปกรณ์ไสไม้ให้มีพื้นผิวที่เกลี้ยงเกลา ขั้นตอนและวิธีการทำ วัสดุเทคนิคในการจัดทำ
3. วิธีการจัดทำ 3.1 ใช้สอหินหรือดินสอขี้กาเขียนลายไปตามไม้ที่จัดเตรียมไว้แล้ว โดยการ เขียนลายเน้นเรื่องราวในพุทธประวัติและวรรณคดีอีสานเป็นหลัก 3.2 การแกะสลักลาย ใช้เลื่อยที่เรียกในสมัยนั้นว่าเลื่อยแทงโปร่ง ซึ่งเป็นเลื่อยที่ ทำมาจากริ้วจ้อง หรือคันร่ม มีคันเหมือนแห้วให้เป็นตัวชักอยู่ด้านบนมีที่เหยียบ อยู่ด้านล่างเหมือนที่ทอผ้าในการแกะสลักลาย ขั้นตอนและวิธีการทำ วัสดุเทคนิคในการจัดทำ
4. เทคนิคในการจัดทำ 4.1 วัสดุที่นำมาจัดทำต้องเป็นไม้ที่ยังไม่แห้ง เพราะจะง่ายต่อการแกะสลักลาย และไม่เสี่ยงต่อการที่ไม้จะแตก 4.2 การขึ้นโครงตัวธรรมาสน์ มีการออกแบบและจัดทำเค้าโครงจนเสร็จทั้งหลัง ก่อน โดยแยกชิ้นส่วนต่างๆไปตามหมายเลย และลายที่แกะแล้วก็จะมีลักษณะ เดียวกัน ขั้นตอนและวิธีการทำ วัสดุเทคนิคในการจัดทำ
5. สีที่ทาหรือแต้มลาย เป็นสีสมัยใหม่ในขณะนั้น เป็นสีกระป๋องเล็กๆที่มีชื่อเรียกว่า “สีน้ำหัง” ในขณะ นั้นมีราคากระป๋อง ละประมาณ 5-10 สตางค์ ซึ่งเข้าใจว่าเป็นสีเคมีรุ่นแรกๆใน สมัยนั้น ลวดลายที่พบในธรรมาสน์ : ครุฑ , กินรี กินนร นกเอี้ยง ,ดอกไม้ , ดอกบัว ,บันไดลายนาคเกี้ยว,กระต่าย ,นางอัปสร ,พระพุทธเจ้าแสดงธรรม เทศนา ขั้นตอนและวิธีการทำ วัสดุเทคนิคในการจัดทำ
ขั้นตอนและวิธีการทำ วัสดุเทคนิคในการจัดทำ
ขั้นตอนและวิธีการทำ วัสดุเทคนิคในการจัดทำ
6. ครูคาย ในการจัดทำนั้นผู้เป็นหัวหน้าช่างจะทำการขึ้นครู หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า การยอ ครู ด้วยขันหมากเบ็งเวียนซ้ายเวียนขวา หรือเรียกว่าขันหมากเบ็งซ้ายขวาก็ได้ ส่วนประกอบอย่างอื่นไม่มีใครจำได้ชัดเจน แต่ยังพอทราบว่าหัวหน้าช่าง หรือ พ่อจารย์ตาจะสั่งห้ามทุกคนเข้าใกล้บริเวณจุดตั้งคายเด็ดขาด ขั้นตอนและวิธีการทำ วัสดุเทคนิคในการจัดทำ
คุณ สมชาย คำโพธิ์ กล่าวว่า ทางวัดปัจจุบันมีการใช้ธรรมาสน์รูปแบบสมัยใหม่ แต่ยังคงเก็บรักษา ซึ่งขาดการดูแลเอาใจใส่ ลูกหลานรุ่นหลังยังคงไม่ทราบถึง ประโยชน์และคุณค่า ถึงแม้มีคนรับซื้อของโบราณจำนวนมากมาขอซื้อ ทางวัด และชาวบ้านยังคงไม่มีการขายหรือเคลื่อนย้ายไปไหน และยังเป็นความ ภาคภูมิใจของชาวบ้านทุกคนที่มีรักและหวงแหนในสมบัตินี้อยู่ แนวทางการอนุรักษ์ส่งเสริมและพัฒนา
ติ๊ก แสนบุญ, (2552) , ธรรมาสน์อีสาน, นิตยสารศิลปวัฒนธรรม, ฉบับ 9 ,หน้า 72 นิยม วงศ์พงษ์คำ ,(2547), ความสัมพันธ์ระหว่างวิถีชีวิตกับงานแกะสลักธรรมาสน์ ในภาคอีสาน : กรุงเทพฯ ศูนย์ข้อมูลกลางวัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น .ศิลปวัตถุ ; ค้นข้อมูลวันที่ 3 มกราคม 2554 จาก http://cd.m-culture.go.th/vdn/index.php?c=showitem&item=419 ปีที่พิมพ์ 2531 สัมภาษณ์. พระครูปราโมทจันทสาร. เจ้าอาวาสวัดเสมอภาพ. สัมภาษณ์ วันที่ 5 กุมภา พันธุ์ 2554 . ที่ วัดเสมอภาพ บ้านลาดนาเพียง ตำบลสาวะถี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น สัมภาษณ์. นาย สมชาย คำโพธิ์ .มรรคนายกวัดเสมอภาพ. สัมภาษณ์ วันที่ 5 กุมภา พันธุ์ 2554 . ที่ วัดเสมอภาพ บ้านลาดนาเพียง ตำบลสาวะถี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เอกสารอ้างอิง