1 / 52

เป้าหมายกระบวนการยุติธรรมทางอาญา

เป้าหมายกระบวนการยุติธรรมทางอาญา. กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. เป้าหมายกระบวนการยุติธรรมทางอาญา. กระบวนการยุติธรรมทางอาญากระแสหลัก มุ่งเน้นที่การลงโทษ กระบวนการยุติธรรมทางเลือก กระบวนการยุติธรรมเชิง สมานฉันท์ (Restorative Justice ) กระบวนการยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน (Juvenile Justice).

adelle
Télécharger la présentation

เป้าหมายกระบวนการยุติธรรมทางอาญา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เป้าหมายกระบวนการยุติธรรมทางอาญาเป้าหมายกระบวนการยุติธรรมทางอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

  2. เป้าหมายกระบวนการยุติธรรมทางอาญาเป้าหมายกระบวนการยุติธรรมทางอาญา • กระบวนการยุติธรรมทางอาญากระแสหลัก • มุ่งเน้นที่การลงโทษ • กระบวนการยุติธรรมทางเลือก • กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์(Restorative Justice) • กระบวนการยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน (Juvenile Justice) กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

  3. “กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์” (Restorative Justice) • หมายถึง “การอำนวยความยุติธรรมที่ต้องการทำให้ทุกฝ่ายซึ่งได้รับผลกระทบจากอาชญากรรมได้กลับคืนสู่สภาพดีเช่นเดิม อันเป็นการสร้าง ‘ความสมานฉันท์ในสังคม’ เป็นเป้าหมายสุดท้าย” กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

  4. หลักเกณฑ์สำคัญ 5 ประการของกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ • 1.เน้นที่ความเสียหายและความต้องการของผู้เสียหายอันเป็นผลต่อเนื่องมาจากความเสียหายที่เกิดจากความเสียหายนั้น รวมทั้งความต้องการของชุมชนและความต้องการของผู้กระทำความผิด • 2.จัดการกำหนดภาระหน้าที่ในการแก้ไขซึ่งเป็นผลมาจากการทำให้เกิดความเสียหายนั้น (ได้แก่ภาระหน้าที่ของผู้กระทำผิด รวมทั้งภาระหน้าที่ของชุมชนและของสังคมในการแก้ไขเยียวยาความเสียหายด้วย) • 3.ใช้กระบวนการเปิดให้เข้ามามีส่วนร่วม และเป็นกระบวนการที่ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมมือในกระบวนการนั้น • 4.ให้ทุกฝ่ายที่มีส่วนได้เสียในสถานการณ์นั้นเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งรวมทั้งผู้เสียหาย ผู้กระทำผิดสมาชิกของชุมชนและสังคม • 5.พยายามหาทางทำสิ่งที่เสียหายไปให้กลับคืนดีดังเดิม กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

  5. การดำเนินคดีเด็กและเยาวชน (Juvenile Justice) แตกต่างจากการดำเนินคดีอาญาผู้ใหญ่ที่กระทำผิด(Criminal Justice) ดังนี้ • 1. มีการแยกห้องพิจารณาคดีเด็กและเยาวชนออกต่างหากจากห้องพิจารณาผู้ใหญ่ และเป็นการพิจารณาลับ • 2. การพิจารณาไม่เคร่งครัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (Informal and Flexible) และมีผู้พิพากษาสมทบ ซึ่งมาจากผู้มีความรู้ด้านเด็กและเยาวชน ร่วมเป็นองค์คณะกับผู้พิพากษาอาชีพในการพิจารณาพิพากษาคดี • 3. มีบริการคุมประพฤติ เพื่อสืบเสาะข้อเท็จจริงและสอดส่องความประพฤติในเกือบทุกคดี • 4. มีบริการสถานแรกรับ เพื่อแยกการควบคุมตัวในระยะแรก ไม่ปะปนกับผู้ใหญ่ระหว่างสอบสวนหรือพิจารณาคดี กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

  6. 5. มีบริการของแพทย์และจิตแพทย์เพื่อตรวจพิเคราะห์ทางกายและทางจิตแก่เด็กและเยาวชน รวมทั้งการจำแนกประเภทเด็กและเยาวชน (Classification) • 6. มีรายงานประกอบการพิจารณาของศาล ทั้งด้านกฎหมายและประวัติครอบครัวรวมทั้งสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน • 7. มีบริการสังคมสงเคราะห์ เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่เด็กและเยาวชน รวมทั้งครอบครัว • 8. คำพิพากษาหรือคำสั่งให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน ศาลมีอำนาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้เสมอ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

  7. ระบบการดำเนินคดีอาญา • การดำเนินคดีอาญาระบบไต่สวน และระบบกล่าวหา ระบบไต่สวน ไม่มีการแยกองค์กรที่ทำหน้าที่สอบสวนฟ้องร้อง กับหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีออกจากกัน ผู้ถูกดำเนินคดีไม่ได้รับความคุ้มครองสิทธิ (ผู้ถูกดำเนินคดีเป็นกรรมคดี) กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

  8. กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

  9. กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

  10. ระบบกล่าวหามีการแยกองค์กรที่ทำหน้าที่สอบสวนฟ้องร้อง กับหน้าที่พิจารณาพิพากษาออกจากกัน ผู้ถูกดำเนินคดีได้รับความคุ้มครอง ห้ามมิให้ดำเนินกระบวนการพิจารณาที่ไม่ชอบ และมีสิทธิอย่างเต็มที่ที่จะต่อสู้คดี(ผู้ถูกดำเนินคดีถูกยกขึ้นให้เป็นประธานแห่งคดี) กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

  11. ประเภทของคดีอาญา คดีความผิดต่อส่วนตัว (ความผิดอันยอมความได้) ความผิดที่เกิดขึ้นแล้ว มีผลกระทบต่อบุคคลที่ถูกกระทำเท่านั้น ส่วนบุคคลอื่น(รัฐ)ไม่ได้รับความเสียหายด้วย คดีความผิดอาญาแผ่นดิน ความผิดที่เกิดขึ้นแล้ว นอกจากจะมีผลกระทบต่อ ผู้ถูกกระทำแล้วยังส่งผลกระทบต่อรัฐด้วย กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

  12. ความสำคัญของประเภทของคดีความสำคัญของประเภทของคดี 1.ใครเป็นผู้มีสิทธิดำเนินคดี ? ( ผู้เสียหาย ) โดยเฉพาะอย่างยิ่งความผิดต่อส่วนตัว บุคคลที่นำคดีมาสู่ กระบวนการ จะต้องเป็นผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดนั้น เท่านั้น ป.วิ.อ. ม. 2(7) “คำร้องทุกข์” หมายความถึง การที่ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่ามีผู้กระทำความผิดเกิดขึ้น จะรู้ตัวผู้กระผิดหรือไม่ ก็ตาม...” กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

  13. ป.วิ.อ. ม. 28 “บุคคลเหล่านี้มีอำนาจฟ้องคดีอาญาต่อศาล (1) พนักงานอัยการ (2) ผู้เสียหาย” กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

  14. คำพิพากษาฎีกาที่ 87/2506 (ญ) ผู้รับฝากเงินมีอำนาจ เอาเงินที่รับฝากไปใช้จ่ายได้ และมีหน้าที่คืนเงินแก่ผู้ฝาก ให้ครบจำนวน ฉะนั้น การที่ผู้รับฝากจ่ายเงินให้จำเลยไป เพราะถูกจำเลยหลอกลวง ต้องถือว่าผู้รับฝากเป็นผู้เสียหาย ส่วนผู้ฝากไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจร้องทุกข์ เมื่อปรากฏว่า ผู้รับฝากไม่ได้ร้องทุกข์ ผู้ว่าคดี(อัยการ)ไม่มีอำนาจฟ้อง ในความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ.มาตรา 341 (ความผิดต่อส่วนตัว) กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

  15. 2. ความผิดต่อส่วนตัว มีอายุความร้องทุกข์ภายในกำหนดเวลา 3 เดือนนับแต่รู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำผิด ตาม ป.อ.มาตรา 96 ป.อ. ม. 96 “ภายใต้บังคับมาตรา 95 ในกรณีความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายในสามเดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ” กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

  16. คำพิพากษาฎีกาที่ 239/2523 โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยบุกรุกเคหสถานในเวลากลางคืน แต่ขอให้ลงโทษตาม ม. 362,364 ซึ่งเป็นบทความผิดอันยอมความได้โดยมิได้ร้องทุกข์ภายในกำหนด 3 เดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดคดีโจทก์จึงขาดอายุความ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

  17. หลักการดำเนินคดีอาญา • หลักการดำเนินคดีอาญาโดยเอกชน (private prosecution) • ให้เอกชนซึ่งเป็นผู้เสียหายสามารถฟ้องคดีต่อศาลได้ • หลักการดำเนินคดีอาญาโดยรัฐ(public prosecution) • เฉพาะรัฐเท่านั้นที่ฟ้องคดีต่อศาล • หลักการดำเนินคดีอาญาโดยประชาชน (popular prosecution) • ให้ประชาชนทุกคนฟ้องคดีที่เกิดขึ้นได้ทุกคน แม้จะมิได้เป็นผู้ถูกกระทำก็ตาม กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

  18. หลักการดำเนินคดีอาญา • หลักการดำเนินคดีอาญาโดยเอกชน (private prosecution) • -มีความคิดเริ่มต้นที่การแก้แค้นตอบแทนผู้ละเมิด • เพื่อลดความอาฆาตมาดร้ายของบุคคลในสังคม หรือผู้เสียหาย • -การควบคุมความสงบเรียบร้อยจึงอยู่ที่เอกชน กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

  19. หลักการดำเนินคดีอาญาโดยรัฐ(public prosecution) • -กฎหมายมีจุดมุ่งหมายในการแก้ไขผู้กระทำผิดให้สามารถกลับเข้าอยู่ในสังคมของเขาได้อย่างเป็นสุข จำกัดโอกาสกระทำผิดของผู้ที่กระทำผิดติดนิสัย และการป้องกันหรือปราบปรามผู้กระทำความผิดนั้น • -การควบคุมการรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองเป็นหน้าที่ของรัฐหาใช่ของเอกชนไม่ • -ความผิดอาญาเป็นความผิดต่อสังคมหรือมหาชน สังคมหรือมหาชนเท่านั้นที่เป็นผู้เสียหาย ผู้ตกเป็นเหยื่อของการกระทำความผิดหาใช่ผู้เสียหายไม่ • -เอกชนจึงไม่มีอำนาจฟ้องร้องขอให้ศาลลงโทษผู้กระทำผิดด้วยตนเอง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

  20. หลักการดำเนินคดีอาญาโดยประชาชน (popular prosecution) • -ถือว่าการรักษาความสงบเรียบร้อยเป็นของประชาชนทุกคน ประชาชนทุกคนจึงฟ้องคดีอาญาได้โดยไม่คำนึงว่าผู้ฟ้องจะเป็นผู้เสียหายที่แท้จริงหรือไม่ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

  21. ผู้เสียหาย กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

  22. รูปแบบการดำเนินคดีอาญารูปแบบการดำเนินคดีอาญา • การดำเนินคดีอาญาตาม ป.วิ.อ. มี 2 ลักษณะ • การดำเนินคดีอาญาโดยรัฐ • เป็นการดำเนินการโดยเจ้าพนักงานของรัฐ (พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการ) ทั้งความผิดที่รัฐและเอกชนเป็นผู้เสียหาย • ในความผิดที่เอกชนเป็นผู้เสียหาย รัฐจะดำเนินคดีแทนเอกชนได้ต่อเมื่อ ผู้เสียหายได้มอบคดีให้รัฐดำเนินคดีแทน โดยการร้องทุกข์ให้รัฐดำเนินคดีแทนตนเอง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

  23. การดำเนินคดีอาญาโดยรัฐการดำเนินคดีอาญาโดยรัฐ ราชทัณฑ์ ฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ ผู้เสียหาย อัยการ ศาล คุมประพฤติ ผู้เสียหาย สถานพินิจและ คุ้มครองเด็ก กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

  24. การฟ้องคดีอาญา • การดำเนินคดีอาญาโดยเอกชน(ผู้เสียหาย) • เป็นการดำเนินคดีโดยผู้เสียหายโดยการฟ้องคดีอาญาให้ศาลลงโทษผู้ต้องหาด้วยตนเอง ซึ่งอาจจะเกิดจากผู้เสียหายไม่ประสงค์ให้รัฐดำเนินคดีแทนตนเอง หรือมีเหตุที่เจ้าพนักงานจะไม่ดำเนินคดีแทน ฟ้อง ศาล ผู้เสียหาย กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

  25. ผู้เสียหาย ป.วิ.อ. ม.2(4) “บุคคลผู้ได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำนาจจัดการแทนได้ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 4, 5 และ 6” • จากมาตราข้างต้นผู้เสียหาย จึงมี 2 ประเภท • 1. ผู้เสียหายที่แท้จริง หมายถึง บุคคลผู้ได้รับความเสียหาย อันเนื่องมาจากการกระทำความผิดฐานใดฐานหนึ่ง(โดยตรง) • 2. ผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหาย หมายถึง บุคคลที่ไม่ใช่ผู้เสียหายที่แท้จริง แต่กฎหมายให้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายที่แท้จริงได้ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

  26. ผู้มีอำนาจดำเนินคดี กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

  27. หลักเกณฑ์การพิจารณาการเป็นผู้เสียหายที่แท้จริงหลักเกณฑ์การพิจารณาการเป็นผู้เสียหายที่แท้จริง • พิจารณาจากหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ • 1. มีการกระทำความผิดอาญาเกิดขึ้น • ประการแรกต้องพิจารณาว่า การกระทำของผู้กระทำมีกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด(อาญา) หรือไม่ • ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

  28. มีกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดอาญา กฎหมายสาร บัญญัติ (ประมวลกฎหมายอาญา และพ.ร.บ. ที่มีโทษทางอาญาอื่นๆ) อาจมีผู้เสียหายที่แท้จริง ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดอาญา ไม่มีผู้เสียหายทางอาญา อาจมีผู้เสียหายในทางแพ่ง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

  29. 2. บุคคลนั้นได้รับความเสียหายอันเนื่องจากการกระทำความผิดนั้น • เมื่อพบว่ามีกฎหมายบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด ก็พิจารณาต่อไปว่า บุคคลใดเป็นผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำผิดนั้น กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

  30. เป็นผู้ได้รับความเสียหายเป็นผู้ได้รับความเสียหาย อาจเป็นผู้เสียหายที่แท้จริง ไม่เป็นผู้ได้รับความเสียหาย อาจเป็นผู้ได้รับความเสียหายในทางแพ่ง (ม.420) กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

  31. แนวทางการวินิจฉัยการเป็นผู้เสียหาย ในที่นี้จะนำเสนอ 2 แนวทาง คือ • แนวทางของ ดร.คณิต ณ นคร • แนวทางของศาลยุติธรรม การพิจารณาการเป็นเสียหายตามแนวของ อ.คณิต ณ นคร • อ.คณิต ณ นคร ให้พิจารณาจากคุณธรรมของกฎหมายในเรื่องนั้นๆว่า คือ อะไร • คุณธรรมทางกฎหมาย ได้แก่ สิ่งที่กฎหมายมุ่งจะคุ้มครอง • ผู้เสียหาย คือ บุคคลซึ่งเป็นเจ้าของคุณธรรมทางกฎหมาย กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

  32. เช่น ก. ใช้ปืนยิง ข. หนึ่งนัด ถูกต้นขาแต่ไม่ถูกอวัยวะสำคัญรักษา 30 วันก็หายเป็นปกติ • การกระทำของ ก. เป็นการกระทำความผิดต่อชีวิต ร่างกาย • ความผิดต่อชีวิต ร่างกาย กฎหมายมุ่งคุ้มครองอะไร กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

  33. นาย ก. ยืมรถของนาย ข. ไปซื้อตั๋วรถที่สถานีรถไฟระหว่างจอดรถเพื่อลงไปซื้อตั๋ว นาย ค. ได้ขโมยรถคันดังกล่าวไป • เช่นนี้ถ้า นาย ก. เป็นผู้เสียหายที่จะมีอำนาจแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อให้ติดตามจับกุมนาย ค. มาดำเนินคดีหรือไม่ • มีการการะทำผิดอาญาหรือไม่ • ตอบ มี ความผิดฐานลักทรัพย์ • ความผิดฐานลักทรัพย์ มีสิ่งที่กฎหมายมุ่งประสงค์จะคุ้มครองอะไรบ้าง(คุณธรรมทางกฎหมาย) กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

  34. คุณธรรมทางกฎหมายในความผิดฐานลักทรัพย์คุณธรรมทางกฎหมายในความผิดฐานลักทรัพย์ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

  35. สรุป แนวทางของอาจารย์คณิต • ต้องรู้ว่า ความผิดแต่ละเรื่อง แต่ละฐานความผิด มีวัตถุประสงค์คุ้มครองเรื่องอะไร • ความผิดเรื่องหนึ่ง ฐานหนึ่ง ไม่จำเป็นต้องมีคุณธรรมทางกฎหมายเรื่องเดียวเท่านั้น กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

  36. การพิจารณาการเป็นผู้เสียหายตามแนวการวินิจฉัยของศาลการพิจารณาการเป็นผู้เสียหายตามแนวการวินิจฉัยของศาล • ศาลพิจารณาจากประเภทของกฎหมาย • ก. กฎหมายที่มีวัตถุประสงค์คุ้มครองสิทธิของเอกชน เช่น ชีวิต ร่างกาย อนามัย ชื่อเสียง ทรัพย์สิน เสรีภาพ • สิ่งดังกล่าวเป็นของบุคคลใด บุคคลนั้น คือ ผู้เสียหาย • ข้อสังเกต • ความผิดที่มีวัตถุประสงค์คุ้มครองสิทธิเอกชนบางฐานความผิด รัฐก็เป็นผู้เสียหายได้ หากความผิดนั้นเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

  37. ข. กฎหมายที่มีวัตถุประสงค์ที่คุ้มครองรัฐ หรือเจ้าพนักงานของรัฐโดยเฉพาะ โดยปกติรัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย เอกชนไม่อาจเป็นผู้เสียหายได้ • เช่น ความผิดต่อเจ้าพนักงาน ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ความผิดเกี่ยวกับเงินตรา เป็นต้น กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

  38. ยกเว้นแต่เอกชนคนหนึ่งคนใดจะได้รับความเสียหายเป็นพิเศษจากการกระทำความผิดนั้นก็สามารถเป็นผู้เสียหายในความผิดนั้นได้ยกเว้นแต่เอกชนคนหนึ่งคนใดจะได้รับความเสียหายเป็นพิเศษจากการกระทำความผิดนั้นก็สามารถเป็นผู้เสียหายในความผิดนั้นได้ • ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ คือ การกระทำความผิดกระทบต่อสิทธิของปัจเจกชนในทางหนึ่งทางใด เช่น ชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ชื่อเสียง ทรัพย์สิน หรือสิทธิในด้านใดด้านหนึ่ง • แต่ผลกระทบต่อสิทธิของปัจเจกชน นั้นจะต้องเป็นผลโดยตรงมาจากการกระทำความผิดอาญานั้น กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

  39. ตัวอย่าง 227/2531 • นายดำไม่พอใจที่บิดาของตน ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้แก่ พี่น้องของ นายดำ เท่าๆกัน ทั้งที่ได้เคยขอทรัพย์มรดกบางชิ้นจากบิดา แล้ว • นายดำจึงไปขอให้นายขัน ปลัดอำเภอซึ่งเป็นเพื่อนสนิท ให้ช่วยทำให้นายดำ ได้รับมรดกของบิดาเพียงคนเดียว • นายขันได้อาศัยโอกาสที่ตนมีหน้าช่วยนายอำเภอทำพินัยกรรมให้ชาวบ้านให้แก่ชาวบ้าน ปลอมพินัยกรรมของบิดานายดำ ว่ายกมรดกให้แก่ นายดำ แต่เพียงผู้เดียว • หลังจากบิดาตาย นายดำ ได้นำพินัยกรรมปลอมไปรับโอนมรดกที่สำนักงานที่ดิน เจ้าพนักงานที่ดินไม่ทราบว่าเป็นพินัยกรรมปลอม จึงโอนที่ดินให้แก่ นายดำ แต่เพียงผู้เดียว กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

  40. ตัวอย่าง 227/2531 • การกระทำของ นายขัน มีความผิดหรือไม่ • ความผิดดังกล่าวมีคุณธรรมทางกฎหมายอะไร • ใครเป็นเจ้าของคุณธรรมดังกล่าว • พี่น้องของนายดำ เป็นผู้เสียหายในความผิดดังกล่าวหรือไม่ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

  41. คำพิพากษาฎีกาที่ 227/2531 จำเลยเป็นเจ้าพนักงานกระทำต่อหน้าที่ราชการในการปลอมแปลงพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองแล้วนำไปใช้ย่อมทำให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับพินัยกรรมฉบับที่แท้จริงได้รับความเสียหายโจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย • ความผิดฐานเจ้าพนักงานปลอมเอกสาร ม.161 เป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ มีวัตถุประสงค์คุ้มครองรัฐ ดังนั้นปกติถือว่ารัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย • แต่การปลอมพินัยกรรมยัง มีผลกระทบต่อโจทก์ ซึ่งเป็นทายาทในฉบับที่แท้จริงด้วย ดังนั้น โจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

  42. ทำไม ? • กฎหมายกำหนดว่า ถ้าเจ้ามรดกทำพินัยกรรมหลายฉบับมีข้อความขัดกัน ให้ถือว่าพินัยกรรมฉบับเก่าถูกเพิกถอนโดยพินัยกรรมฉบับหลัง (ป.พ.พ. ม.1697) • ดังนั้นการการทำพินัยกรรมปลอมจึงมีผลกระทบต่อโจทก์ เพราะจะทำให้ถูกเพิกถอนสิทธิในการรับมรดกโดยกฎหมายดังกล่าว กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

  43. ตัวอย่าง ฏีกาที่ 9179/2547 • นาย ก. อยากได้เงินจากบริษัทประกันภัยที่ตนได้ทำประกันความรับผิดของตนเองที่มีต่อผู้อื่น(ประกันภัยค้ำจุน)ไว้ • นาย ก. จึงสร้างเรื่องว่าตนขับรถชนรถของนาย ข. บาดเจ็บซึ่งมีผลทำให้บริษัทต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ นาย ข. แทนนาย ก. ตามสัญญาประกันภัย • แต่ตามสัญญาประกันภัยจะต้องมีหลักฐานการเกิดอุบัติเหตุจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ • นาย ก. จึงไปแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจถึงเรื่องดังกล่าว แล้วนำหลักฐานการแจ้งความไปขอรับเงินประกันที่บริษัทจะต้องจ่ายให้แก่นาย ข. • บริษัทไม่ทราบว่าเป็นความเท็จได้จ่ายเงินให้แก่นาย ก. ไป ต่อมาบริษัทรู้ความจริง จึงฟ้องนาย ก. ข้อหาแจ้งความเท็จตาม มาตรา 137 และ แจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารมหาชน และเอกสารราชการ มาตรา 267 • บริษัทประกันภัยเป็นผู้เสียหายในความผิดทั้งสองหรือไม่ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

  44. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9179/2547 • จำเลยที่ 3 แจ้งความอันเป็นเท็จต่อพนักงานสอบสวนว่า จำเลยที่ 3 ได้ขับรถจักรยานยนต์เฉี่ยวชนจำเลยที่ 4 ได้รับบาดเจ็บ เพื่อประสงค์ให้พนักงานสอบสวนจดข้อความอันเป็นเท็จลงในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี ซึ่งเป็นเอกสารราชการเพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานเท่านั้น อันเป็นการกระทำต่อเจ้าพนักงานโดยตรง โดยจำเลยที่ 3 ไม่ได้เจาะจงว่ากล่าวถึงโจทก์เลย โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหายโดยตรง แม้ข้อความเท็จนั้นจะครบองค์ประกอบเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 137 และมาตรา 267 แต่ข้อความเท็จที่จำเลยแจ้งมิได้มีการกล่าวอ้างถึงการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดที่กระทบกระเทือนถึงโจทก์ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย • ทั้งการกระทำของจำเลยที่ 3 ใน ส่วนหลังเกิดขึ้นหลังจากการกระทำผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตำรวจและ เจ้าพนักงานตำรวจได้จดข้อความเท็จลงในเอกสารราชการสำเร็จแล้ว เป็นการกระทำอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากการกระทำที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

  45. ตัวอย่าง ฎีกาที่ 2415/2535 • นายเอ ไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจว่า รถจักรยานยนต์ของตนถูกนาย บี ขโมยไป ซึ่งเป็นความเท็จ นายบี จึงเป็นโจทก์ฟ้องนาย เอ ข้อหาแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน ตามมาตรา 173 • นายบีเป็นผู้เสียหาย หรือไม่ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

  46. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2415/2535 • จำเลย ไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์ลักทรัพย์ของจำเลยซึ่งเป็นความ เท็จ ทำให้โจทก์ถูกดำเนินคดีอาญา แม้ความผิดฐานแจ้งความเท็จแก่เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137เป็นความผิดต่อเจ้าพนักงาน ซึ่งปกติรัฐเป็นผู้เสียหายโดยตรงก็ตาม แต่โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ จากการร้องทุกข์ของจำเลยซึ่งเป็นเท็จโจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหายที่แท้จริงในข้อหาดังกล่าวและมีอำนาจฟ้อง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

  47. ความแตกต่างระหว่าง ฎีกาที่ 9179/2547 กับ ฎีกาที่ 2415/2535 • ฎีกาที่ 9179/2547 • แจ้งความ แสดงหลักฐานเท็จ ได้เงิน • ฎีกาที่ 2415/2535 • แจ้งความ ชื่อเสียง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

  48. ค. กฎหมายที่มีวัตถุประสงค์ที่กำหนดให้กระทำ หรือมิให้กระทำการใดเพื่อประโยชน์ในทางปกครอง การฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าว รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย เอกชนไม่อาจเป็นผู้เสียหาย ได้เลย • เช่น พระราชบัญญัติอาวุธปืน พระราชบัญญัติจราจรทางบก พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ เป็นต้น กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

  49. ตัวอย่างเช่น • นาย ก. ขับรถด้วยความประมาทชน นาย ข.ได้รับบาดเจ็บสาหัส ปรากฏว่ารถที่ นาย ก. ขับ ไม่มี พ.ร.บ. ประกันบุคคลที่ 3 และ นาย ก. ก็ไม่มีใบอนุญาต ขับรถด้วย • นาย ข. เป็นผู้เสียหายในความผิดใดบ้าง • มีการกระทำผิดกฎหมายอาญาหรือไม่ • 1. กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ป.อ. ม. 297 • 2. ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์หรือผู้อื่นได้รับความเสียหาย พ.ร.บ.จราจรทางบก • 3. ขับรถโดยไม่มีใบอนุญาต พ.ร.บ. จราจรทางบก • 4. ขับรถที่ไม่มี พ.ร.บ.ประกันบุคคลที่ 3 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

  50. 1. กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ป.อ. ม. 297 • คุณธรรมทางกฎหมาย ? • 2. ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์หรือผู้อื่นได้รับความเสียหาย พ.ร.บ.จราจรทางบก • คุณธรรมทางกฎหมาย ? • 3. ขับรถโดยไม่มีใบอนุญาต พ.ร.บ. จราจรทางบก • คุณธรรมทางกฎหมาย ? • 4. ขับรถที่ไม่มี พ.ร.บ.ประกันบุคคลที่ 3 • คุณธรรมทางกฎหมาย ? กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ชุดที่ 1

More Related