1 / 34

นโยบายการขยายโอกาสการทำงานแก่อาจารย์เกษียณอายุ ในสถาบันอุดมศึกษา : แนวโน้มในอนาคต

นโยบายการขยายโอกาสการทำงานแก่อาจารย์เกษียณอายุ ในสถาบันอุดมศึกษา : แนวโน้มในอนาคต. โดย นายพันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี ผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายการพัฒนาทรัพยากรบุคคลอุดมศึกษา. บุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาในภาพรวม. ตารางที่ 1 จำนวนบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษา. บุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาในภาพรวม.

Télécharger la présentation

นโยบายการขยายโอกาสการทำงานแก่อาจารย์เกษียณอายุ ในสถาบันอุดมศึกษา : แนวโน้มในอนาคต

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. นโยบายการขยายโอกาสการทำงานแก่อาจารย์เกษียณอายุ ในสถาบันอุดมศึกษา : แนวโน้มในอนาคต โดย นายพันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี ผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายการพัฒนาทรัพยากรบุคคลอุดมศึกษา

  2. บุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาในภาพรวมบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาในภาพรวม ตารางที่ 1 จำนวนบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษา

  3. บุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาในภาพรวมบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาในภาพรวม

  4. โครงสร้างอายุของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาโครงสร้างอายุของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา

  5. โครงสร้างอายุของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาโครงสร้างอายุของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา

  6. อายุเฉลี่ยของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาอายุเฉลี่ยของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา

  7. จำนวนผู้เกษียณอายุราชการของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ในระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2556 – 2560)

  8. จำนวนผู้เกษียณอายุราชการของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ในระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2556 – 2560)

  9. โครงสร้างอายุของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา จำแนกตามประเภทสถาบันอุดมศึกษา

  10. โครงสร้างอายุของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา จำแนกตามประเภทสถาบันอุดมศึกษา จากแผนภูมิดังกล่าวสรุปได้ดังนี้ • ช่วงอายุต่ำกว่า 24 ปี ไม่มีข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา • ช่วงอายุ 25 – 29 ปี - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลมีข้าราชการพลเรือนอยู่ในช่วงอายุนี้มากที่สุด จำนวน 11 คน - สถาบันอุดมศึกษาของรัฐเท่ากับมหาวิทยาลัยราชภัฏ จำนวน 4 คน - และสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐมีข้าราชการพลเรือนอยู่ในช่วงอายุนี้น้อยที่สุด จำนวน 1 คน • ช่วงอายุ 30 – 34 ปี - มหาวิทยาลัยราชภัฏมีข้าราชการพลเรือนอยู่ในช่วงอายุนี้มากที่สุด จำนวน 80 คน - สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ จำนวน 73 คน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จำนวน 72 คน ตามลำดับ - สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐมีข้าราชการพลเรือนอยู่ในช่วงอายุนี้น้อยที่สุด จำนวน 20 คน

  11. โครงสร้างอายุของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา จำแนกตามประเภทสถาบันอุดมศึกษา • ช่วงอายุ 35 – 39 ปี - สถาบันอุดมศึกษาของรัฐมีข้าราชการพลเรือนอยู่ในช่วงอายุนี้มากที่สุด จำนวน 1,895 คน - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จำนวน 776 คน - สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ จำนวน 765 คน ตามลำดับ - ส่วนมหาวิทยาลัยราชภัฏมีข้าราชการพลเรือนอยู่ในช่วงอายุนี้น้อยที่สุดจำนวน 630 คน • ช่วงอายุ 40 -44 ปี - สถาบันอุดมศึกษาของรัฐมีข้าราชการพลเรือนอยู่ในช่วงอายุนี้มากที่สุด จำนวน 3,110 คน - สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ จำนวน 1,472 คน , มหาวิทยาลัยราชภัฏ จำนวน 1,113 คน - ส่วนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลมีข้าราชการพลเรือนอยู่ในช่วงอายุนี้น้อยที่สุด จำนวน 919 คน

  12. โครงสร้างอายุของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา จำแนกตามประเภทสถาบันอุดมศึกษา • ช่วงอายุ 45 – 49 ปี - สถาบันอุดมศึกษาของรัฐมีข้าราชการพลเรือนอยู่ในช่วงอายุนี้ มากที่สุด จำนวน 3,742 คน - สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ จำนวน 1,615 คน - มหาวิทยาลัยราชภัฏ จำนวน 946 - ส่วนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลมีข้าราชการพลเรือนอยู่ในช่วงอายุนี้น้อยที่สุด จำนวน 685 คน • ช่วงอายุ 50 – 54 ปี - สถาบันอุดมศึกษาของรัฐมีข้าราชการพลเรือนอยู่ในช่วงอายุนี้มากที่สุด จำนวน 4,188 คน - สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ จำนวน 1,319 คน - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จำนวน 1,179 คน - ส่วนมหาวิทยาลัยราชภัฏมีข้าราชการพลเรือนอยู่ในช่วงอายุนี้น้อยที่สุด จำนวน 1,096 คน

  13. โครงสร้างอายุของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา จำแนกตามประเภทสถาบันอุดมศึกษา • ช่วงอายุ 55 – 59 ปี - สถาบันอุดมศึกษาของรัฐมีข้าราชการพลเรือนอยู่ในช่วงอายุนี้มากที่สุด จำนวน 3,136 คน - มหาวิทยาลัยราชภัฏ จำนวน 957 คน - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จำนวน 792 คน - ส่วนสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐมีข้าราชการพลเรือนอยู่ในช่วงอายุนี้น้อยที่สุด จำนวน 763 คน • ช่วงอายุ 60 – 65 ปี - สถาบันอุดมศึกษาของรัฐมีข้าราชการพลเรือนอยู่ในช่วงอายุนี้มากที่สุด จำนวน 447 คน - มหาวิทยาลัยราชภัฏ จำนวน 140 คน - สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ จำนวน 122 คน - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลมีข้าราชการพลเรือนอยู่ในช่วงอายุนี้น้อยที่สุด จำนวน 31 คน

  14. โครงสร้างอายุของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา จำแนกตามตำแหน่งวิชาการ จำนวนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาจำแนกตามตำแหน่งวิชาการ

  15. โครงสร้างอายุข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาสายวิชาการโครงสร้างอายุข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาสายวิชาการ

  16. โครงสร้างอายุข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาสายวิชาการโครงสร้างอายุข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาสายวิชาการ • ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งอาจารย์ มีอายุเฉลี่ย 46.13 ปี โดยส่วนใหญ่ อยู่ในช่วงอายุ 40 – 44 ปี จำนวน 2,100 คน ช่วงอายุ 35 – 39 ปี จำนวน 1,838 คน ช่วงอายุ 50 – 54 ปี จำนวน 1,373 คน ช่วงอายุ 45 – 49 ปี จำนวน 1,311 คน ช่วงอายุ 55 – 59 ปี จำนวน 955 คน ช่วงอายุ 30 – 34 ปี จำนวน 155 คน ช่วงอายุ 60 – 65 ปี จำนวน 36 คน และช่วงอายุ 25 – 29 ปี จำนวน 8 คน ตามลำดับ • ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ มีอายุเฉลี่ย 49.23 ปี โดยส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 50 – 54 ปี จำนวน 1,884 คน ช่วงอายุ 55 – 59 ปี จำนวน 1,592 คน ช่วงอายุ 45 – 49 ปี จำนวน 1,516 คน ช่วงอายุ 40 – 44 ปี จำนวน 618 คน ช่วงอายุ 60 – 65 ปี จำนวน 67 คน ช่วงอายุ 35 – 39 ปี จำนวน 13 คน และช่วงอายุ 30 - 34 ปี จำนวน 1 คน ตามลำดับ ส่วนช่วงอายุ 25 – 29 ปีไม่มีข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ • ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งรองศาสตราจารย์ มีอายุเฉลี่ย 53.36 ปี โดยส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 55 – 59 ปี จำนวน 1,093 คน ช่วงอายุ 50 – 54 ปี จำนวน 956 คน ช่วงอายุ 45 – 49 ปี จำนวน 610 คน ช่วงอายุ 60 – 65 ปี จำนวน 524 คน ช่วงอายุ 40 – 44 ปี จำนวน 441 คน ช่วงอายุ 35 – 39 ปี จำนวน 99 คน ช่วงอายุ 30 - 34 ปี จำนวน 1 คน ตามลำดับ ส่วนช่วงอายุ 25 – 29 ปีไม่มีข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งรองศาสตราจารย์ • ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งศาสตราจารย์ มีอายุเฉลี่ย 56.10 ปี โดยส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 55 – 59 ปี จำนวน 120 คน ช่วงอายุ 50 – 54 ปี จำนวน 114 คน ช่วงอายุ 40 – 44 ปี จำนวน 89 คน ช่วงอายุ 45 – 49 ปี จำนวน 85 คน ช่วงอายุ 60 – 65 ปี จำนวน 54 คน ช่วงอายุ 35 – 39 ปี จำนวน 28 คน ตามลำดับ ส่วนช่วงอายุ 25 – 29 ปี และช่วงอายุ 30 – 34 ปี ไม่มีข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งศาสตราจารย์

  17. ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาจำแนกตามสายงานข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาจำแนกตามสายงาน

  18. ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาจำแนกตามสายงานข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาจำแนกตามสายงาน

  19. ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาจำแนกตามสายงานข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาจำแนกตามสายงาน จากแผนภูมิดังกล่าวสรุปได้ดังนี้ ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาสายวิชาการ จำนวน 19,228 คน โดยส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 50 – 54 ปี จำนวน 4,349 คน ช่วงอายุ 40 – 44 ปี จำนวน 4,116 คน ช่วงอายุ 55 – 59 ปี จำนวน 3,754 คน ช่วงอายุ 45 – 49 ปี จำนวน 3,537 คน ช่วงอายุ 35 – 39 ปี จำนวน 2,589 คน ช่วงอายุ 60 – 65 ปี จำนวน 684 คน ช่วงอายุ 30 – 34 ปี จำนวน 185 คน ตามลำดับ ส่วนช่วงอายุที่มีข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาสายวิชาการน้อยที่สุด คือช่วงอายุ 25 – 29 ปี จำนวน 14 คน ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาสายสนับสนุน จำนวน 12,875 คน โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงอายุ 45 – 49 ปี จำนวน 3,451 คน ช่วงอายุ 50 -54 ปี จำนวน 3,433 คน ช่วงอายุ 40 – 44 ปี จำนวน 2,498 คน ช่วงอายุ 55 – 59 ปี จำนวน 1,894 คน ช่วงอายุ 35 – 39 ปี จำนวน 1,477 คน ช่วงอายุ 30 – 34 ปี จำนวน 60 คน ช่วงอายุ 60 – 65 ปี จำนวน 56 คน ตามลำดับ ส่วนช่วงอายุที่มีข้าราชการพลเรือนสายสนับสนุนน้อยที่สุด คือช่วงอายุ 25 – 29 ปี จำนวน 6 คน

  20. นโยบายการขยายโอกาสการทำงานแก่อาจารย์เกษียณอายุในสถาบันอุดมศึกษานโยบายการขยายโอกาสการทำงานแก่อาจารย์เกษียณอายุในสถาบันอุดมศึกษา ประกาศ ก.พ.อ. เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการต่อเวลาราชการของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2550

  21. ที่มา : มาตรา ๗๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้บัญญัติให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งมีตำแหน่งตั้งแต่ระดับรองศาสตราจารย์ขึ้นไป เมื่ออายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ในสิ้นปีงบประมาณ อาจให้รับราชการเพื่อทำหน้าที่สอนหรือวิจัยต่อไปได้จนถึงสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบห้าปีบริบูรณ์ ซึ่ง ก.พ.อ. ได้ออกหลักเกณฑ์ในการขยายเวลาราชการของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๘ เพื่อขยายเวลาราชการกับข้าราชการที่เกษียณอายุราชการตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๘ เป็นต้นไป และเมื่อนำไปปฏิบัติแล้ว เกิดปัญหาเกี่ยวกับผลงานทางวิชาการที่ใช้ในการพิจารณาต่อเวลาราชการ ว่าจะใช้จำนวนทั้งหมดเท่าไร ก.พ.อ. จึงออกหลักเกณฑ์ในการขยายเวลาราชการของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ ๒๕๔๙ เพื่อขยายเวลาราชการกับข้าราชการที่เกษียณอายุราชการตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๙ เป็นต้นไป และเมื่อนำไปปฏิบัติแล้วยังพบปัญหาเกี่ยวกับความเข้าใจผิดว่าการขยายเวลาราชการเป็นสิทธิของผู้ที่เกษียณอายุราชการ รวมทั้งประเภทของผลงานที่ใช้ประกอบการขยายเวลาราชการ มีน้อยไม่ครอบคลุมผลงานทุกประเภทที่คณาจารย์ทำ ก.พ.อ. จึงออกประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการต่อเวลาราชการของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๐

  22. ประกาศ ก.พ.อ. เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการต่อเวลาราชการของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.2550 ข้อ 5 ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ที่ได้รับการพิจารณาให้ต่อเวลาราชการ ต้องมีคุณสมบัติ • ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ หรือ รองศาสตราจารย์ อยู่ก่อนหรือ ณ วันที่ 31 มีนาคม ของปีที่เกษียณอายุราชการ หากดำรงตำแหน่งหลังจากนี้ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณารับเข้าปฏิบัติงานต่อในแนวทางอื่นๆ • เป็นผู้เกษียณอายุราชการตาม พรบ.บำเหน็จ บำนาญ ข้าราชการ พ.ศ. 2494 และฉ.แก้ไขเพิ่มเติม ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม เป็นต้นไป • เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม และมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ ผ่านการตรวจสุขภาพโดยมีใบรับรองแพทย์จากสถาบันของรัฐรับรองและรับรองไว้ไม่เกิน 1 ปี • ทำหน้าที่สอนหรือวิจัย • มีภาระงานและมีผลงานวิชาการย้อนหลัง 3 ปี จนถึงวันที่ 31 มีนาคม ของปีที่เกษียณอายุราชการตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด

  23. ประกาศ ก.พ.อ. เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการต่อเวลาราชการของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.2550 (ก) ตำแหน่งศาสตราจารย์ (ก ๑) ปฏิบัติตามมาตรฐานภาระงานขั้นต่ำในฐานะอาจารย์ผู้สอนในสถาบัน อุดมศึกษา ตามที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด และ (ก ๒) มีผลงานทางวิชาการ ดังต่อไปนี้ (ก ๒.๑) ตำราที่ได้รับการเผยแพร่ เฉลี่ยปีละ ๑ เล่ม หรือ (ก ๒.๒) หนังสือที่ได้รับการเผยแพร่ เฉลี่ยปีละ ๑ เล่ม หรือ (ก ๒.๓) งานวิจัยที่ได้รับการเผยแพร่ เฉลี่ยปีละ ๑ เรื่อง หรือ (ก ๒.๔) ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่นที่ได้รับการเผยแพร่เฉลี่ยปีละ ๑ รายการ หรือ (ก ๒.๕) บทความทางวิชาการที่ได้รับการเผยแพร่ เฉลี่ยปีละ ๓ เรื่อง การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนดกรณีที่ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ไม่ครบ ๓ ปี ก่อนเกษียณอายุราชการ ให้ใช้ผลงาน ทางวิชาการที่เคยเสนอกำหนดตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์มานับรวมได้ (ข) ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ (ข ๑) ปฏิบัติตามมาตรฐานภาระงานขั้นต่ำในฐานะอาจารย์ผู้สอนในสถาบัน อุดมศึกษา ตามที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด และ (ข ๒) มีผลงานทางวิชาการ ดังต่อไปนี้ (ข ๒.๑) ตำราที่ได้รับการเผยแพร่ เฉลี่ยปีละ ๑ เล่ม หรือ

  24. ประกาศ ก.พ.อ. เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการต่อเวลาราชการของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.2550 (ข ๒.๒) หนังสือที่ได้รับการเผยแพร่ เฉลี่ยปีละ ๑ เล่ม หรือ (ข ๒.๓) งานวิจัยที่ได้รับการเผยแพร่ เฉลี่ยปีละ ๑ เรื่อง หรือ (ข ๒.๔) ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่นที่ได้รับการเผยแพร่เฉลี่ยปีละ ๑ รายการ หรือ (ข ๒.๕) บทความทางวิชาการที่ได้รับการเผยแพร่ เฉลี่ยปีละ ๒ เรื่อง การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด กรณีที่ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ไม่ครบ ๓ ปี ก่อนเกษียณอายุราชการ ให้ใช้ผลงาน ทางวิชาการที่เคยเสนอกำหนดตำแหน่งเป็นรองศาสตราจารย์มานับรวมได้

  25. ประกาศ ก.พ.อ. เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการต่อเวลาราชการของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.2550 ข้อ ๖การพิจารณาข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ให้ต่อเวลาราชการ (๑) สถาบันอุดมศึกษาโดยความเห็นชอบของสภาสถาบันอุดมศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณากำหนดจำนวนและตัวบุคคลของคณาจารย์ที่จะเกษียณอายุราชการ และจะให้ปฏิบัติงานต่อด้วยแนวทางต่างๆ รวมทั้งแนวทางการต่อเวลาราชการ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขฉบับนี้ ทั้งนี้เฉพาะในสาขาวิชาที่ได้วิเคราะห์แล้วว่ามีความขาดแคลนและจำเป็นต้องรักษาคณาจารย์ให้ปฏิบัติงานต่อภายหลังเกษียณอายุราชการเท่านั้น (๒) สถาบันอุดมศึกษาโดยความเห็นชอบของสภาสถาบันอุดมศึกษา พิจารณาดำเนินการอนุมัติต่อเวลาราชการแก่คณาจารย์ที่ผ่านการพิจารณาในข้อ ๖ (๑) ซึ่งต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ข้อ ๕ และต้องได้รับคำยินยอมจากผู้นั้นด้วย ทั้งนี้ ให้สถาบันอุดมศึกษาดำเนินการให้ต่อเวลาราชการให้แล้วเสร็จก่อนที่ข้าราชการผู้นั้นจะเกษียณอายุราชการไม่น้อยกว่า ๖ เดือน

  26. ประกาศ ก.พ.อ. เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการต่อเวลาราชการของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.2550 ข้อ ๘ ข้าราชการที่ได้รับการพิจารณาให้ต่อเวลาราชการ ให้รับราชการต่อไปได้จนถึงวันสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบห้าปีบริบูรณ์ ข้อ ๙ ข้าราชการที่ได้รับการพิจารณาให้ต่อเวลาราชการ และได้รับคำสั่งให้รับราชการ ต่อไป ต้องปฏิบัติหน้าที่เฉพาะการสอนหรือวิจัยเท่านั้น ไม่สามารถดำรงตำแหน่งทางการบริหารได้ ในกรณีที่ภาระงานใดอาจถือว่าเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนหรือวิจัย หรือไม่นั้น ให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของสภาสถาบันอุดมศึกษา

  27. การปรับปรุงประกาศ ประกาศ ก.พ.อ.เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการต่อเวลาราชการของข้าราชการ พลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ... ความเห็นของ อ.ก.พ.อ. ระบบฯ และ อ.ก.พ.อ. กฎหมายฯ ของร่างประกาศ ก.พ.อ.ฯ รวมทั้งข้อสังเกตของที่ประชุม ก.พ.อ. ใน ๕ ประเด็น ดังต่อไปนี้

  28. การปรับปรุงประกาศ (ร่าง) ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการต่อเวลาราชการของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ... ประเด็นที่ ๑ เรื่องระยะเวลาการดำเนินการต่อเวลาราชการได้จนถึง วันสิ้นปีงบประมาณ ประเด็นที่ ๒ เรื่องคุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ที่ต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า ประเด็นที่ ๓ เรื่องการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ประเด็นที่ ๔ เรื่องการประเมินผลการปฏิบัติงานหลังได้รับการต่อเวลาราชการ ประเด็นที่ ๕ การดำรงตำแหน่งและการปฏิบัติหน้าที่หลังจากที่ได้รับการต่อ เวลาราชการแล้ว

  29. (ร่าง) ประกาศ ก.พ.อ.เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการต่อเวลาราชการของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ... ข้อ ๖ ข้าราชการที่จะได้รับการพิจารณาให้ต่อเวลาราชการต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ (๑) ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ หรือรองศาสตราจารย์ ซึ่งสำเร็จการศึกษาระดับ ปริญญาเอก หรือเทียบเท่าภายในวันสิ้นปีงบประมาณของปีที่เกษียณอายุราชการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ซึ่งได้ยื่นคำขอดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ไว้แล้วก่อนยื่นคำขอต่อเวลาราชการ ก็ให้มีสิทธิยื่นได้ แต่สถาบันอุดมศึกษาจะต่อเวลาราชการให้บุคคลนั้นได้ก็ต่อเมื่อประกาศแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์นั้นได้ก่อนสิ้นปีงบประมาณที่เกษียณอายุราชการ (๒) เป็นผู้เกษียณอายุราชการ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๘เป็นต้นไป (๓) คุณสมบัติอื่นที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด (๔) มีภาระงานและมีผลงานทางวิชาการย้อนหลัง ๓ ปี จนถึงวันสิ้นปีงบประมาณของ ปีที่เกษียณอายุราชการ ดังนี้

  30. (ร่าง) ประกาศ ก.พ.อ.เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการต่อเวลาราชการของข้าราชการ พลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ... (ก) ปฏิบัติงานตามมาตรฐานภาระงานขั้นต่ำในฐานะอาจารย์ผู้สอนใน สถาบันอุดมศึกษา ตามที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด และ (ข) มีผลงานทางวิชาการ อันได้แก่ ตำรา หนังสือ งานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ในลักษณะอื่น อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันเฉลี่ยปีละหนึ่งเล่มหรือรายการ หรือบทความทางวิชาการ เฉลี่ยปีละไม่น้อยกว่าสามเรื่อง ทั้งนี้เฉพาะที่ได้รับการเผยแพร่และมีคุณภาพตามหลักเกณฑ์ ที่ ก.พ.อ.กำหนด ในกรณีที่ผู้ขอต่อเวลาราชการดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ ให้ลดบทความ ทางวิชาการเหลือเฉลี่ยปีละไม่น้อยกว่าสองเรื่อง ในกรณีที่ผู้ขอต่อเวลาราชการดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์หรือรองศาสตราจารย์ ไม่ครบสามปี ให้นำผลงานทางวิชาการในขณะดำรงตำแหน่งก่อนหน้านั้นมานับรวมได้

  31. (ร่าง) ประกาศ ก.พ.อ.เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการต่อเวลาราชการของข้าราชการ พลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ... ข้อ ๗ ข้าราชการผู้ใดประสงค์จะขอต่อเวลาราชการ ให้ยื่นคำขอตามวิธีการ แบบ และภายในระยะเวลาที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด ข้อ ๘ ในการพิจารณาต่อเวลาราชการให้แก่ข้าราชการ ให้สถาบันอุดมศึกษาดำเนินการดังต่อไปนี้ (๑) ให้สถาบันอุดมศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองการต่อเวลาราชการ ให้แก่ข้าราชการคณะหนึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิในสภาสถาบันอุดมศึกษาเป็นประธาน อธิการบดี เป็นรองประธาน และกรรมการอื่นตามจำนวนที่สภาสถาบันอุดมศึกษาเห็นสมควร (๒) ให้คณะกรรมการตาม (๑) พิจารณาคำขอต่อเวลาราชการ และเสนอแนะ ต่อสภาสถาบันอุดมศึกษาว่าจะสมควรอนุมัติต่อเวลาราชการให้ผู้ใดหรือไม่ (๓) ให้สถาบันอุดมศึกษาโดยความเห็นชอบของสภาสถาบันอุดมศึกษาดำเนินการ ต่อเวลาราชการให้แก่ข้าราการให้แล้วเสร็จก่อนสิ้นปีงบประมาณที่ข้าราชการนั้นจะเกษียณอายุ การอนุมัติหรือไม่อนุมัติให้ต่อเวลาราชการของสภาสถาบันอุดมศึกษาให้เป็นที่สุด

  32. (ร่าง) ประกาศ ก.พ.อ.เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการต่อเวลาราชการของข้าราชการ พลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ... ข้อ ๙ ให้สถาบันอุดมศึกษาประเมินผลการปฏิบัติงานข้าราชการที่ได้รับการต่อเวลาราชการเป็นรายปีตามมาตรฐานภาระงานทางวิชาการที่ ก.พ.อ. กำหนด ในกรณีที่ข้าราชการดังกล่าวไม่ผ่านการประเมินในปีใด ให้สถาบันอุดมศึกษาดำเนินการสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ เพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ มาตรา ๕๗ ข้อ ๑๐ ข้าราชการที่ได้รับการพิจารณาให้ต่อเวลาราชการ ให้รับราชการต่อไปได้จนถึงวันสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบห้าปีบริบูรณ์

  33. (ร่าง) ประกาศ ก.พ.อ.เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการต่อเวลาราชการของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ... ข้อ ๑๑ ข้าราชการที่ได้รับการพิจารณาให้ต่อเวลาราชการ และได้รับคำสั่งให้รับราชการต่อไป ต้องปฏิบัติหน้าที่เฉพาะการสอนหรือวิจัยเท่านั้น จะดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งประเภทผู้บริหาร ตามมาตรา ๑๘(ข) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และงานบริหารอื่นที่ ก.พ.อ. กำหนดมิได้

More Related