1 / 75

คณะติดตามและประเมินผลฯ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

ยินดีต้อนรับ. คณะติดตามและประเมินผลฯ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. 1 กรกฎาคม 2556. กลยุทธ์ที่ 1. พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ตามหลักสูตรและส่งเสริมความสามารถด้านเทคโนโลยี เพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้. ประเด็นที่ 1. 2.

adler
Télécharger la présentation

คณะติดตามและประเมินผลฯ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ยินดีต้อนรับ คณะติดตามและประเมินผลฯ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ 1 กรกฎาคม 2556

  2. กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ตามหลักสูตรและส่งเสริมความสามารถด้านเทคโนโลยี เพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้

  3. ประเด็นที่ 1.2 ร้อยละ 100ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 อ่านออกเขียนได้ คิดเลขเป็น

  4. ข้อมูลสารสนเทศ • จำนวนนักเรียนชั้น ป.3 ปีการศึกษา 2555 ที่เข้าสอบ จำนวน 1,689 คน • มีผลสอบความสามารถด้านภาษา ด้านคิดคำนวณ และด้านเหตุผล ดังนี้

  5. วิธีการที่ทำให้การดำเนินงานเกิดผลสำเร็จตามเป้าหมายวิธีการที่ทำให้การดำเนินงานเกิดผลสำเร็จตามเป้าหมาย 1. กำหนดเป็นนโยบายสำคัญ แนวทางขับเคลื่อน จัดทำโครงการ 2. ดำเนินงานตามโครงการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพผู้เรียน ปีการศึกษา 2555 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 • จัดประชุมครูผู้สอนชั้น ป.3 ชี้แจงแนวทางการจัดสอบและเตรียมความพร้อมก่อนสอบ • จัดประชุมชี้แจงคณะกรรมการดำเนินงานประเมินระดับ สพป. • - ประชาสัมพันธ์การสอบให้ผู้ปกครองทราบทุก รร./ทุกคน 3. ดำเนินงานตามโครงการพัฒนาคุณภาพการสอนภาษาไทย • ประชุมเชิงปฏิบัติการครู ป.1 เรื่อง เด็กอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้แก้ง่ายนิดเดียว • - ประชุมเชิงปฏิบัติการครู ป.3 เรื่อง พัฒนาความรักการอ่าน เขียน และการคิดวิเคราะห์ 4. ดำเนินงานตามโครงการพัฒนาความสามารถด้านการอ่าน เขียน นักเรียนชั้น ป.3-ป.6 • สพป.พบ.2 กำหนดกลยุทธ์เฉพาะด้านการอ่านออก เขียนได้ เพื่อเป็นเป้าหมายคือ นักเรียนชั้น ป.3 • อ่านออกเขียนได้ 100 % • พัฒนาความสามารถด้านการอ่าน เขียนนักเรียนชั้น ป.2 กลุ่มเป้าหมาย 54 ร.ร. • - พัฒนาความสามารถด้านการอ่าน เขียนนักเรียนชั้น ป.3 กลุ่มเป้าหมาย 47 ร.ร.

  6. ปัญหา/อุปสรรค • 1. ข้อจำกัดความสามารถของผู้ปกครองในการดูแลบุตรหลานด้านการอ่าน • เขียนภาษาไทย • 2. การนำองค์ความรู้สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนของครูและบูรณาการความรู้ เทคนิค • ในกระบวนการเรียนการสอน • 3. พัฒนาด้านการอ่านเขียนภาษาไทยที่อาศัยระยะเวลานานในกลุ่มผู้เรียนที่ใช้ • ภาษาถิ่นในการสื่อสารซึ่งมีภาษาพูด อ่าน เขียนเป็นของตนเองที่ไม่มีฐานภาษา • มาจากภาษาไทย เช่น กะเหรี่ยง มอญ เขมร

  7. จุดที่ควรพัฒนา • 1. วิธีการที่เหมาะสมในการดูแลบุตรหลานของผู้ปกครองที่มีข้อจำกัดทางความสามารถ • ด้านการอ่าน เขียนภาษาไทย • 2. วิธีบูรณาการองค์ความรู้ เทคนิคสู่กระบวนการเรียนการสอน/การปฏิบัติในชั้นเรียน • ของครู • 3. การใช้วิจัยเป็นฐานและใช้ BBL ในการพัฒนาการอ่านเขียนภาษาไทยที่อาศัยระยะ • เวลานานในกลุ่มผู้เรียนที่ใช้ภาษาถิ่นในการสื่อสารซึ่งมีภาษาพูด อ่าน เขียน • เป็นของตนเองที่ไม่มีฐานภาษามาจากภาษาไทย เช่น กะเหรี่ยง มอญ เขมร

  8. แนวทางการพัฒนา • 1. การนำแนวคิด หลักการ วิธีการห้องเรียนกลับด้าน (ทำการบ้านที่โรงเรียน) • มาใช้พัฒนาการอ่าน • 2. ส่งเสริมให้ครูใช้วิธีบูรณาการองค์ความรู้ เทคนิคสู่กระบวนการเรียนการสอน/ • การปฏิบัติในชั้นเรียนของครูอย่างหลากหลาย • 3. ส่งเสริมความสามารถการพัฒนาผู้เรียนที่ใช้ภาษาถิ่นในการสื่อสารซึ่งมีภาษาพูด อ่าน • เขียนเป็นของตนเองที่ไม่มีฐานภาษามาจากภาษาไทย (เช่น กะเหรี่ยงมอญ เขมร ) • โดยใช้ BBL ทั้งกับเด็กปกติให้พัฒนาความสามารถด้านอ่าน เขียน

  9. ประเด็นที่ 1.5 • ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาหลัก • ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน • จากการประเมินระดับชาติเพิ่มขึ้นร้อยละ 3

  10. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระดับชั้น ป.6 (O-NET )

  11. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระดับชั้น ป.6 (O-NET ) สาระการเรียนรู้หลักที่มีผลสัมฤทธิ์เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3 จากปีการศึกษา 2554 มีจำนวน 1รายการ

  12. วิธีการที่ทำให้การดำเนินงานเกิดผลสำเร็จตามเป้าหมายวิธีการที่ทำให้การดำเนินงานเกิดผลสำเร็จตามเป้าหมาย 7. จัดสอบ LAS นร. ป.2 ป.5 และ ม.2 ทุกคน ใน 5 วิชาหลัก 8. สนับสนุนงบประมาณจัดกิจกรรมทบทวนความรู้เพื่อเตรียมสอบ ONETป.6, ม.3 ในแต่ละศูนย์เครือข่าย ในรูปฐานการเรียนรู้ 9. สนับสนุนงบประมาณให้กับศูนย์เครือข่าย และทุกโรงเรียน เพื่อดำเนินงานยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ตามสภาพปัญหาและความจำเป็นของโรงเรียนและศูนย์เครือข่าย 10.ดำเนินการโครงการพัฒนาคุณภาพภาษาไทยทุกระดับชั้น 11.พัฒนาครูผู้สอนภาษาอังกฤษ โดยกิจกรรมค่ายวิชาการแบบเข้ม (O-NET) ครูผู้สอนป.6 และ ม.3 เพื่อวิเคราะห์ และสร้างข้อสอบให้สอดคล้องกับระดับพฤติกรรมตามตัวชี้วัด/มาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรแกนกลาง 51 และมีนำข้อสอบไปใช้พัฒนาผู้เรียน,กิจกรรมค่ายพัฒนาทักษะการสื่อสาร การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ให้ครู ป.1-ม.3 12.จัดค่ายภาษาอังกฤษนักเรียน พัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษนักเรียน ป.1 – ป.6

  13. วิธีการที่ทำให้การดำเนินงานเกิดผลสำเร็จตามเป้าหมายวิธีการที่ทำให้การดำเนินงานเกิดผลสำเร็จตามเป้าหมาย • 13. พัฒนาครูสอนวิชาสังคมศึกษา ชั้น ป.6 เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา โดยการอบรม • เชิงปฏิบัติการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตย, อบรมการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ผ่านแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์,อบรมยกระดับผลสัมฤทธิ์สาระเศรษฐศาสตร์ • 14. พัฒนาครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ด้วยโปรแกรม inspiring science • 15. มีการนิเทศติดตามระดับศูนย์อำเภอ และศูนย์เครือข่ายโดยรองผอ.สพป. และศึกษานิเทศก์ที่ได้รับมอบหมาย • 16. มอบเกียรติบัตรเป็นขวัญกำลังใจ และเป็นแรงจูงใจสำหรับผู้บริหาร และครูผู้สอนที่มีคะแนนเฉลี่ย O-NET • อยู่ในระดับดี • 17. ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการสอบ O-NET ด้วยวิธีการติดป้ายประชาสัมพันธ์ และ ให้โรงเรียนประชาสัมพันธ์ • ให้ผู้ปกครองทราบถึงความสำคัญของการสอบ

  14. ปัญหา/อุปสรรค • 1. มีโรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 75 โรงเรียน คิดเป็น ร้อยละ 59.05 ของโรงเรียนทั้งหมด • ทำให้เกิดปัญหาโรงเรียนมีครูไม่ครบชั้น ครูสอนไม่ตรงวิชาเอก และบางโรงเรียนไม่มี • ผู้บริหารโรงเรียน • 2. ความรู้ความเข้าใจรูปแบบการวัดและประเมินผลของครูผู้สอน

  15. จุดที่ควรพัฒนา 1. ระบบบริหารจัดการเรียนการสอนโรงเรียนขนาดเล็ก 2. รูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามธรรมชาติวิชา 3. รูปแบบการวัดและประเมินผล 4. ระบบการนิเทศติดตาม กำกับของโรงเรียน/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 5. การสร้างขวัญกำลังใจของโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จ แนวทางการพัฒนา 1. พัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบคละชั้น 2. จัดให้มีครูผู้สอนตรงสาขาวิชามากขึ้น

  16. กลยุทธ์ที่ 2 • ปลูกฝังคุณธรรม ความสำนึกในความเป็นชาติไทย และวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

  17. ประเด็นที่ 2.2 • ร้อยละ 100 ของนักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม กตัญญู • และมีความสำนึกในความเป็นไทย

  18. จำนวนโรงเรียนในสังกัด 126 โรงเรียน มีนักเรียนทั้งหมด จำนวน 16,260 คน นักเรียนได้รับการพัฒนาให้มีคุณธรรม จริยธรรม กตัญญู และมีความสำนึกในความเป็นไทยครบทุกคน

  19. ผลการพัฒนานักเรียนที่ประสบความสำเร็จที่เป็นแบบอย่างได้ผลการพัฒนานักเรียนที่ประสบความสำเร็จที่เป็นแบบอย่างได้ • ด้านคุณธรรม จริยธรรม 1.โรงเรียนวัดห้วยเสือ(มงคลประชาสรรค์) 2.โรงเรียนวัดช้างแทงกระจาด • ด้านความกตัญญู โรงเรียนวัดหนองแก • ด้านความสำนึกในความเป็นไทย 1. โรงเรียนนิคมสร้างตนเองเขื่อนเพชรฯ 2. โรงเรียนบ้านหนองปืนแตก

  20. วิธีการที่ทำให้การดำเนินงานเกิดผลสำเร็จตามเป้าหมายวิธีการที่ทำให้การดำเนินงานเกิดผลสำเร็จตามเป้าหมาย • 1.ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง • 2.จัดทำคู่มือการดำเนินงานให้แก่สถานศึกษาในสังกัดใช้เป็นแนวทางการดำเนินงาน • 3. จัดตั้งโรงเรียนแม่ข่ายคุณธรรม ครอบคลุมทุกพื้นที่ • 4.จัดประชุมโรงเรียนลูกข่ายอย่างน้อยภาคเรียนละ 1ครั้ง • 5.จัดตลาดนัดคุณธรรมปีการศึกษาละ 1 ครั้งเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำเสนอวิธีการปฏิบัติ • ที่เป็นเลิศและประสบความสำเร็จ • 6. ติดตามผลการดำเนินงานของโรงเรียนเป็นระยะ และเข้าร่วมประชุมกับโรงเรียนแม่ข่าย • 7. สพป.ส่งเสริมและพัฒนาการดำเนินการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม นักเรียนในสถานศึกษา โดยได้จัดทำ • โครงการค่ายโครงงานคุณธรรม, โครงการปกป้องลูกหลานด้วยวิถีคนเมืองเพชร, • โครงการเด็กดีเมืองเพชรหัวใจไทยแท้

  21. ปัญหา/อุปสรรค • 1. ผู้บริหารสถานศึกษามีการโยกย้ายไปอยู่โรงเรียนอื่น ทำให้นโยบาย • ด้านการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม มีการเปลี่ยนแปลง ไม่ต่อเนื่อง • 2. เป้าหมายผลสัมฤทธิ์ของการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมของหน่วยเหนือ • มีการปรับเปลี่ยนบางส่วน ทำให้การเก็บข้อมูลที่ได้ไม่ตรงตามเป้าหมาย • จุดที่ควรพัฒนา ด้านความต่อเนื่องของเป้าหมายและนโยบายของการดำเนินงานด้านการปลูกฝัง คุณธรรมจริยธรรมของทุกระดับ

  22. แนวทางการพัฒนา 1. เน้นย้ำให้ผู้บริหารโรงเรียนทุกโรงเรียนคงไว้ในด้านวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ ของแต่ละโรงเรียน และให้พัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อยกระดับการปฏิบัติที่เป็นเลิศ ถึงแม้มีการเปลี่ยนผู้บริหารสถานศึกษา 2. ติดตามข้อมูลข่าวสารด้านเป้าหมาย นโยบายด้านการปลูกฝังคุณธรรมของ หน่วยเหนืออย่างใกล้ชิด และเก็บข้อมูลด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ของโรงเรียนในสังกัดให้ครอบคลุมทุกด้าน 3. มีการมอบนโยบายด้านการรายงานผลการดำเนินงานด้านการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนแก่สถานศึกษาในสังกัดที่ชัดเจน และมีการติดตาม อย่างต่อเนื่อง

  23. ประเด็นที่ 2.3 ร้อยละ 100 ของโรงเรียนจัดการศึกษา ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

  24. โรงเรียนที่นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง บูรณาการในการจัดการเรียนการสอน ครบทุกกลุ่มสาระฯ จำนวน 91 โรงเรียน จากโรงเรียนทั้งหมด 126 โรงเรียนคิดเป็นร้อยละ 72.22  โครงการ/กิจกรรมของ สพป. ที่ส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานของโรงเรียน โครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ดำเนินการดังนี้ 1. พัฒนาสถานศึกษาพอเพียง ปี 2554 โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระดับเขตพื้นที่การศึกษา 2. อบรมเชิงปฏิบัติการสถานศึกษาเพื่อน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ อย่างยั่งยืน จำนวน 50 โรงเรียน 3. นิเทศ ติดตามผลการดำเนินงานของโรงเรียนโดยศึกษานิเทศก์ที่รับผิดชอบศูนย์เครือข่าย

  25. วิธีการที่ทำให้การดำเนินงานเกิดผลสำเร็จตามเป้าหมายวิธีการที่ทำให้การดำเนินงานเกิดผลสำเร็จตามเป้าหมาย • 1. อบรมเชิงปฏิบัติการ / แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสถานศึกษาพอเพียง ปี 2554 • 2. ประชุมเชิงปฏิบัติการโรงเรียนระยะที่ 3 ครบทุกโรงเรียน • 3. จัดนิทรรศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำเสนอผลการปฏิบัติงานจากสถานศึกษาพอเพียง ปี 2554 • เมื่อวันที่ 17 - 18 ก.ค. 2555 • 4. นำเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในการประชุมประจำเดือนผู้บริหารสถานศึกษาในเดือนกุมภาพันธ์ • เดือนพฤษภาคม2556 • 5. นิเทศ ติดตามผลการดำเนินงานของโรงเรียนโดยศึกษานิเทศก์ที่รับผิดชอบศูนย์เครือข่าย • เพื่อ • - คัดเลือกโรงเรียนที่พร้อมรับการประเมินสถานศึกษาพอเพียง ปี 2555 จำนวน 21 โรงเรียน • - นิเทศการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน • - แลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยผ่าน Website ของกลุ่มนิเทศ ฯ สพป.พบ.2

  26. จุดที่ควรพัฒนา • การใช้แหล่งเรียนรู้ภายในเป็นฐานการเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แนวทางการพัฒนา • นิเทศ online การใช้แหล่งเรียนรู้ภายในเป็นฐานการเรียนรู้หลักปรัชญา • ของเศรษฐกิจพอเพียง

  27. กลยุทธ์ที่ 3 • ขยายโอกาสทางการศึกษาให้ทั่วถึง • และลดความเหลื่อมล้ำ • ผู้เรียนได้รับโอกาสในการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ

  28. ประเด็นที่ 3.2 • อัตราการออกกลางคันลดลง

  29. นักเรียนปีการศึกษา 2554 จำนวน 12,443 คน ออกกลางคัน จำนวน 51 คน คิดเป็นร้อยละ 0.40 นักเรียนปีการศึกษา 2555 จำนวน 12,333 คน ออกกลางคัน จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 0.13 อัตราการออกกลางคันปีการศึกษา 2555ลดลงจากปีการศึกษา 2554 ร้อยละ 0.27

  30. วิธีการที่ทำให้การดำเนินงานเกิดผลสำเร็จตามเป้าหมายวิธีการที่ทำให้การดำเนินงานเกิดผลสำเร็จตามเป้าหมาย การติดตามนักเรียนออกลางคันของ สพป.เพชรบุรี เขต 2 มีวิธีการดำเนินการ ดังนี้ • 1.แจ้งสถานศึกษาต่าง ๆ ในการสำรวจรายชื่อและสาเหตุนักเรียนออกกลางคัน • 2.รวบรวมสรุปรายชื่อและสาเหตุนักเรียนออกลางคัน • 3.แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามเด็กออกกลางคัน • 4.ออกติดตาม ประสาน โรงเรียนผู้ปกครอง ผู้นำชุมชนที่เกี่ยวข้องกับนักเรียนร่วมกัน • ปรึกษาหารือ เพื่อติดตามนักเรียนออกกลางคันให้กลับมาเข้าเรียน • 5.รวบรวมรายชื่อนักเรียนและสาเหตุการออกลางคัน รายงานผู้ดูแลระบบการช่วยเหลือนักเรียน • เพื่อให้ความช่วยเหลือในอีกขั้นหนึ่ง • 6.สพป.พบ. 2 ได้จัดทำโครงการการศึกษาทางเลือก เพื่อช่วยเหลือเด็กออกลางคัน • 7.สถานศึกษา ให้การช่วยเหลือ สนับสนุนนักเรียนที่กลับเข้ามาเรียนต่อในรูปแบบต่าง ๆ

  31. ปัญหา/อุปสรรค • ส่วนใหญ่นักเรียนมีปัญหาครอบครัว ร้อยละ 37.03 • รองลงมา คือ ปัญหาความยากจน และปัญหาการสมรส เป็นลำดับที่ 3 • จุดที่ควรพัฒนา ควรพัฒนาในเรื่องปัญหาครอบครัว เพราะส่วนใหญ่แล้ว บิดา มารดา แยกทางกัน ไปมีครอบครัวใหม่ เด็กต้องอยู่กับ ย่า ยาย ทำให้เกิดปัญหาความยากจนตามมา แนวทางการพัฒนา เพิ่มความถี่ในการเยี่ยมบ้านเด็กและให้ครบทุกหลัง

  32. ประเด็นที่ 3.3 • ร้อยละ 100 ของโรงเรียนที่จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิต • เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันปัญหาสังคมให้กับผู้เรียน

  33. 1. โรงเรียนที่จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันปัญหาสารเสพติดให้กับผู้เรียน จำนวน 126 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 100 2. ผลการดำเนินงานที่ สพป. ส่งเสริม สนับสนุนสถานศึกษา 2.1 จากการส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษาดำเนินการ ทำให้สถานศึกษา บุคลากรที่เกี่ยวข้อง ได้รับรางวัลตามโครงการสถานศึกษาป้องกันยาเสพติดดีเด่น รางวัลเสมา ปปส. กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 2 โรงเรียน ประเภทบุคคล จำนวน 3 ราย เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2556 2.2 ผลการประเมินผู้เรียนตามจุดเน้นการพัฒนาผู้เรียนของ สำนักวิชาการและมาตรฐาน การศึกษาของ สพฐ. ผ่านเว็บไซต์ฐานข้อมูล http:/www.stabdb.com/chool มีผลการประเมินมิติที่ 2 รายการมีทักษะชีวิต อยู่ในระดับ 5 ร้อยละของโรงเรียนที่ผู้เรียน เรียนรู้อย่างมีความสุข มีความสามารถ ทักษะ และคุณลักษณะตามจุดเน้น ร้อยละ 92.85

  34. วิธีการที่ทำให้การดำเนินงานเกิดผลสำเร็จตามเป้าหมายวิธีการที่ทำให้การดำเนินงานเกิดผลสำเร็จตามเป้าหมาย ระดับ สพป. 1. แจ้งนโยบายการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาของ กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้สถานศึกษานำไปปฏิบัติในสถานศึกษาเพื่อจัดทำ แผนปฏิบัติการ 2.เสริมสร้างขวัญ กำลังใจ ยกย่องเชิดชูเกียรติบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน 3.สพป.พบ.2 จัดทำแผนงาน/โครงการ ตามแผนงานที่ 3 การสร้างภูมิคุ้มกันและ ป้องกันปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา (Potential Demand) 4.สพป.พบ.2 แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด อย่างยั่งยืนในสถานศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2556 5.นิเทศ กำกับ ติดตามการดำเนินงาน

  35. ระดับสถานศึกษา 1. สถานศึกษา จัดทำแผนงาน/โครงการตามแผนงานที่ 3 การสร้างภูมิคุ้มกันและ ป้องกันปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา(Potential Demand) 2. สถานศึกษา จัดกิจกรรมการสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันปัญหายาเสพติด ในสถานศึกษา(Potential Demand) 3. สถานศึกษามีเครือข่ายในการทำงานการสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันปัญหายาเสพติด ในสถานศึกษา(Potential Demand) ร่วมกับภาคีเครือข่าย 4. สรุป รายงานสถานการณ์

  36. ปัญหา/อุปสรรค/ข้อจำกัดปัญหา/อุปสรรค/ข้อจำกัด 1. ในพื้นที่โครงการชุมชนอุ่นใจ ได้ลูกหลานกลับคืน (พื้นที่การแพร่ระบาดระดับจังหวัด) มีสถานศึกษาที่อยู่ในความรับผิดชอบของ สพป.ตั้งอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว จำนวน 4 โรงเรียน นักเรียน 726 คน 2. การพัฒนาบุคลากรผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้มีทักษะการจัดกิจกรรมตาม 5 มาตรการ มีจำนวนครั้งและจำนวนคนน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่รับผิดชอบ

  37. จุดที่ควรพัฒนา ดำเนินการตามมาตรการ 5 มาตรการ กลยุทธ์ 4 ต้อง 2 ไม่ มาดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ดำเนินการในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในพื้นที่โครงการ กำหนดเป้าหมาย สถานศึกษา 2556 กระทรวงศึกษาธิการ

  38. แนวทางการพัฒนา ระดับเขต 1.สร้างความตระหนัก ผู้บริหาร ครู บุคลากร นักเรียน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดกิจกรรม ทักษะชีวิต มาตรการ 5 มาตรการ กลยุทธ์ 4 ต้อง 2 ไม่ ในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ โครงการชุมชนอุ่นใจได้ลูกหลานกลับคืน (พื้นที่การแพร่ระบาดระดับจังหวัด) 2.สร้างความต่อเนื่องในการดำเนินงานการสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันปัญหายาเสพติด ในสถานศึกษา(Potential Demand) โดยกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิต ด้านการสร้างภูมิคุ้มกัน สารเสพติดในสถานศึกษา ซึ่งบูรณการร่วมกันในสาระสุขศึกษา เน้นทักษะชีวิต ด้วยกระบวนการ R.C.A. ระดับชั้น ป.5 3.สร้างเครือข่ายการทำงาน ขยายเครือข่ายทุกระดับ ทุกภาคส่วนเพื่อร่วมระดมทรัพยากร ในการทำงาน

  39. กลยุทธ์ที่ 4 • พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งระบบ • ให้สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ (Teacher Enhancement)

  40. ประเด็นที่ 4.1 • ร้อยละ 100 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา • ที่พัฒนาครูให้สามารถจัดการเรียนการสอน • ด้วยคอมพิวเตอร์พกพาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  41. ครู ป.1 ที่ได้รับการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์พกพา ให้มีความรู้และทักษะ จำนวน 142 คน คิดเป็นร้อยละ 100  ครู ป. 1 จัดทำหรือปรับแผนการจัดการเรียนการสอนด้วยตนเอง จำนวน 142 คน คิดเป็นร้อยละ 100

  42. วิธีการที่ทำให้การดำเนินงานเกิดผลสำเร็จตามเป้าหมายวิธีการที่ทำให้การดำเนินงานเกิดผลสำเร็จตามเป้าหมาย • 1. ตั้งคณะกรรมการดำเนินงานตรวจรับส่งมอบ Tablet ให้กับโรงเรียน โดยมีศูนย์บริการ • Advice มาร่วมดำเนินการ • 2.ดำเนินการอบรม ให้กับศึกษานิเทศก์ ครูผู้สอน ป.1 กับครู ICT ทุกโรงเรียนตามโครงการ • ประชุมอบรมปฏิบัติการการใช้ Tablet เพื่อการเรียนการสอน ปีงบประมาณ 2555

  43. กระบวนการนิเทศ ติดตาม เขตพื้นที่ได้จัดอบรมการบริหารจัดการการใช้ Tabletให้กับศึกษานิเทศก์เพื่อให้มีความรู้ความสามารถในการออกนิเทศตามศูนย์เครือข่ายที่รับผิดชอบ • ผลการนิเทศ พบว่า โรงเรียนมีการจัดเตรียมบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในด้านคอมพิวเตอร์ ร้อยละ 60.42 โรงเรียนมีการจัดปรับปรุงระบบไฟฟ้า ร้อยละ 56.25 โรงเรียนส่งเสริม สนับสนุนเปิดโอกาสให้ครูผู้สอนพัฒนาตนเองเพื่อใช้คอมพิวเตอร์พกพา ร้อยละ 56.25 มีการนิเทศในรูปแบบวิจัย 2 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนบ้านแหลมทอง และโรงเรียนบ้านดอนเตาอิฐรวมทั้งระบบการนิเทศของกลุ่มนิเทศ

  44. ปัญหา/อุปสรรค 1. ทัศนคติของครูที่อายุมากที่มีต่อการใช้Tablet 2. ครูผู้สอนยังไม่ได้รับเครื่อง Tabletจึงทำให้กระบวนการจัดการเรียนรู้ไม่สมบูรณ์ • จุดที่ควรพัฒนา 1. ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูปรับแผนการเรียนรู้โดยใช้ Tabletเพิ่มมากขึ้น 2. ส่งเสริมการติดตั้งระบบ Internetไร้สายให้ถึงห้องเรียนทุกระดับชั้น โดยเฉพาะชั้น ป.1

  45. แนวทางการพัฒนา 1. เพิ่มเติมการนิเทศการใช้Tablet เพื่อปรับทัศนคติที่ดีต่อการใช้ Tablet 2. พัฒนาระบบการสอนเพื่อให้สื่อเนื้อหาในTabletสามารถนำเสนอผ่านหน้าจอ เพื่อให้ครูได้จัดการเรียนรู้ไปพร้อมกับผู้เรียน โดยการนำบทเรียนใน Tablet ลงใน คอมพิวเตอร์พีซี และให้โรงเรียนหรือครูซื้อ Tablet ทั่วไป แล้วนำข้อมูลเนื้อหาติดตั้ง เพื่อให้ครูมี Tablet ไว้เป็นสื่อเตรียมการสอนนักเรียนได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยได้ทดลอง นำร่องแล้ว 3 โรงเรียน ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ

  46. ประเด็นที่ 4.2 ร้อยละ 100 ของครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการเตรียมความพร้อมด้านภาษาที่สอง เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

  47. จำนวนครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 1,206 คน • โรงเรียน • - จำนวนครู 1,131 คน • - บุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียน - คน • สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา • - บุคลากรทางการศึกษาของ สพป.75 คน •  จำนวนครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับการเตรียมความพร้อมด้านภาษาที่สอง • เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 1,112 คน คิดเป็นร้อยละ 92.21

  48. วิธีการที่ทำให้การดำเนินงานเกิดผลสำเร็จตามเป้าหมายวิธีการที่ทำให้การดำเนินงานเกิดผลสำเร็จตามเป้าหมาย • 1. สำรวจความต้องการ ด้านเนื้อหาที่ใช้ในการฝึกปฏิบัติการจริง • 2. ประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน จัดเตรียมเอกสารประกอบการอบรม สถานที่และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง • 3. บุคลากรแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเว็บไซต์ ของ สพป.พบ.2 • 4. สำรวจความต้องการ ด้านเนื้อหาที่ใช้ในการฝึกปฏิบัติการจริง โดยประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน • 5. จัดค่ายอบรม 3 วัน ให้บุคลากรได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน • 6. จัดค่ายภาษาอังกฤษสำหรับครูผู้สอนภาษาอังกฤษและจัดการอบรมปฏิบัติการใช้สื่อการเรียนการสอน • ภาษาอังกฤษสำหรับครูระดับประถมศึกษา ( Teachers Kit ) • 7. จัดอบรมครูผู้สอนภาษาอังกฤษให้ใช้สื่อการเรียนการสอน Teachers Kit ชั้น ป.1- 3 ให้มีความรู้ • ความสามารถและทักษะทางด้านภาษาอังกฤษให้สูงขึ้น ให้มีความมั่นใจในการใช้ภาษา • 8. นิเทศติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ • 9. สรุปรายงานผล

  49. วิธีดำเนินการพัฒนาบุคลากรวิธีดำเนินการพัฒนาบุคลากร • ได้ใช้วิธีการที่หลากหลายและสื่อสารหลายช่องทาง • 1. การฝึกอบรมและให้ความรู้โดยเจ้าของภาษา • 2. จัดทำเอกสารและแจกให้บุคลากรทุกคนศึกษาและฝึกฝน • 3. เสียงตามสาย ให้ความรู้และฝึกร่วมกัน • 4. กำหนดช่วงเวลา 09.00-10.00 น. ของวันพุธเป็น Speaking English Hour • เพื่อให้บุคลากรฝึกใช้ภาษาอังกฤษร่วมกันในชีวิตประจำวัน • 5. ประเมินผลและมอบเกียรติบัตรผู้ผ่านการพัฒนาตามหลักสูตรของโครงการ • 6. สพป.จัดจ้างวิทยากรชาวต่างประเทศจำนวน 2 คน เพื่อการใช้ภาษาอังกฤษสื่อสาร/ • จัดกิจกรรมกับคณะครู,นักเรียนทุกโรงเรียน ตามโครงการแผนปฏิบัติการ ปี 2556

  50. จุดที่ควรพัฒนา ให้ครูได้รับประสบการณ์ตรงจากวิทยากรที่เป็นชาวต่างชาติหรือเจ้าของภาษา และควรจัดสรรงบประมาณเพื่อให้ครูได้รับการฝึกประสบการณ์บ่อย ๆ ครั้ง

More Related