1 / 33

บทที่ 5 ความเสี่ยงในการตรวจสอบ และการควบคุมภายใน

บทที่ 5 ความเสี่ยงในการตรวจสอบ และการควบคุมภายใน. ขั้นตอนการวางแผนงานสอบบัญชี. การพิจารณารับงานสอบบัญชี. การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจที่ตรวจสอบ. การวิเคราะห์เปรียบเทียบในเบื้องต้น. การกำหนดระดับความมีสาระสำคัญ. การประเมินความเสี่ยงในการสอบบัญชีที่ยอมรับได้ และความเสี่ยงสืบเนื่อง.

Télécharger la présentation

บทที่ 5 ความเสี่ยงในการตรวจสอบ และการควบคุมภายใน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 5ความเสี่ยงในการตรวจสอบและการควบคุมภายใน

  2. ขั้นตอนการวางแผนงานสอบบัญชีขั้นตอนการวางแผนงานสอบบัญชี การพิจารณารับงานสอบบัญชี การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจที่ตรวจสอบ การวิเคราะห์เปรียบเทียบในเบื้องต้น การกำหนดระดับความมีสาระสำคัญ การประเมินความเสี่ยงในการสอบบัญชีที่ยอมรับได้ และความเสี่ยงสืบเนื่อง การทำความเข้าใจในระบบการควบคุมภายในและการประเมินความเสี่ยงจากการควบคุม การพัฒนาแผนการสอบบัญชีโดยรวมและแนวการสอบบัญชี

  3. ความเสี่ยงในการปฏิบัติงานตามวิชาชีพความเสี่ยงในการปฏิบัติงานตามวิชาชีพ ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการลูกค้า ซึ่งอาจมีผลทำให้ผู้สอบบัญชีเสื่อมเสียชื่อเสียง การเผยแพร่ข่าวสารในเชิงลบ หรือถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย

  4. ความเสี่ยงในการสอบบัญชี (Audit Risk:AR) ความเสี่ยงที่ผู้สอบบัญชีแสดงความคิดเห็นที่ไม่เหมาะสมเมื่องบการเงินแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ (Material Misstatement)

  5. องค์ประกอบของความเสี่ยงในการสอบบัญชีองค์ประกอบของความเสี่ยงในการสอบบัญชี • ความเสี่ยงสืบเนื่อง (Inherent Risk: IR) • ความเสี่ยงจากการควบคุม (Control Risk:CR) • ความเสี่ยงจากการตรวจสอบ (Detection Risk: DR) • IR และ CR เป็นความเสี่ยงที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของผู้สอบฯรวมเรียกว่า Risk of Material Misstatement: RMM • DR อยู่ภายใต้การควบคุมของผู้สอบบัญชีได้ = ความเสี่ยงจากการตรวจสอบที่วางแผนไว้ (Planned Detection Risk: PDR) RMM PDR

  6. ความเสี่ยงสืบเนื่อง (Inherent Risk : IR) โอกาสที่ยอดคงเหลือของบัญชีหรือประเภทของรายการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริง ซึ่งอาจมีสาระสำคัญในแต่ละรายการ หรือมีสำระสำคัญเมื่อรวมกับการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงในยอดคงเหลืออื่นหรือประเภทของรายการอื่น โดยไม่คำนึงถึงการควบคุมภายในที่อาจมีอยู่ ซึ่งอาจป้องกัน หรือตรวจพบและแก้ไขการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงดังกล่าวได้

  7. ผู้สอบบัญชีใช้ดุลยพินิจในการประเมินความเสี่ยงสืบเนื่องใน 2 ระดับใหญ่ๆ • ความเสี่ยงสืบเนื่องในระดับงบการเงิน • ลักษณะทางธุรกิจของกิจการ • ความซื่อสัตย์ ประสบการณ์และความรู้ของผู้บริหาร และการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารในระหว่างการตรวจสอบ • แรงกดดันที่ผิดปกติต่อผู้บริหาร • ปัจจัยซึ่งกระทบต่ออุตสาหกรรมที่กิจการดำเนินงานอยู่

  8. ผู้สอบบัญชีใช้ดุลยพินิจในการประเมินความเสี่ยงสืบเนื่องใน 2 ระดับใหญ่ๆ • ความเสี่ยงสืบเนื่องในระดับสิ่งที่ผู้บริหารได้ให้การรับรองไว้ของประเภทรายการ ยอดคงเหลือของบัญชีและการเปิดเผยข้อมูล • ความซับซ้อนของรายการ และเหตุการณ์อื่นที่อาจต้องใช้ผลงานของผู้เชี่ยวชาญ หรือบัญชีที่ต้องอาศัยการประมาณการและดุลยพินิจในการกำหนดยอดคงเหลือ • ความเป็นไปได้ที่สินทรัพย์จะสูญหายหรือถูกยักยอก • รายการผิดปกติและซับซ้อน รายการที่ไม่ผ่านการประมวลผลตามปกติ

  9. ความเสี่ยงจากการควบคุม (Control Risk :CR) ความเสี่ยงที่ระบบบัญชีหรือระบบการควบคุมภายในไม่สามารถป้องกัน หรือตรวจพบและแก้ไขการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงได้อย่างทันเวลา

  10. ตัวอย่างความเสี่ยงจากการควบคุมตัวอย่างความเสี่ยงจากการควบคุม • ไม่มีนโยบายหรือแนวทางในการปฏิบัติงาน ซึ่งส่งผลให้ไม่มี • การแบ่งแยกหน้าที่อย่างเพียงพอ • เจ้าหน้าที่มีหน้าที่จัดทำเช็คและทำงบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคาร • โดยผู้บังคับบัญชาไม่เคยสอบทานรายละเอียดการทำเลย • ดูเพียงมีการจัดทำ • มีการไว้ใจพนักงานมากเกินไป จึงให้ทำหน้าที่ทุกอย่างเกี่ยวกับ • รายงานทางการเงิน • ไม่สามารถอธิบายเหตุผลของรายการปรับปรุงเกี่ยวกับสินทรัพย์ • และรายการกระทบยอดที่ค้างนานได้

  11. ความเสี่ยงจากการตรวจสอบ (Detection Risk : DR) ความเสี่ยงที่วิธีการตรวจสอบเนื้อหาสาระ ซึ่งผู้สอบบัญชีใช้จะไม่สามารถพบการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงที่มีอยู่ในยอดคงเหลือของบัญชีหรือประเภทของรายการ ซึ่งอาจเนื่องจากสาเหตุเหล่านี้ • ความเสี่ยงจากการเลือกตัวอย่าง • วิธีการตรวจสอบที่ไม่มีประสิทธิภาพ • มีข้อบกพร่องในการปฏิบัติงานตรวจสอบ หรือสรุปความเห็นผิดพลาดเกี่ยวกับหลักฐานการสอบบัญชี

  12. ความเสี่ยงสืบเนื่อง (IR) การควบคุมภายใน ความเสี่ยงจากการควบคุม (CR) การตรวจสอบ ความเสี่ยงจากการตรวจสอบ (DR)

  13. แบบจำลองความเสี่ยงในการสอบบัญชี(Audit Risk Model) AAR = RMM x PDR AAR = IR x CR x PDR PDR= AAR RMM PDR = AAR IR x CR AAR Acceptable Audit Risk ความเสี่ยงในการสอบบัญชีที่ยอมรับได้ IR Inherent Risk ความเสี่ยงสืบเนื่อง CR Control Risk ความเสี่ยงจากการควบคุม PDR Planned Detection Risk ความเสี่ยงจากการตรวจสอบที่วางแผนไว้ RMMRisk of Material Misstatementความเสี่ยงจากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริง

  14. ความสัมพันธ์ของความเสี่ยงกับหลักฐานการสอบบัญชีความสัมพันธ์ของความเสี่ยงกับหลักฐานการสอบบัญชี สถานการณ์ AAR IR CR PDRปริมาณหลักฐานที่ ต้องการ 1 สูง ต่ำ ต่ำ สูงน้อย 2 ต่ำ ต่ำ ต่ำ กลาง กลาง 3 ต่ำ สูง สูง ต่ำมาก 4 กลาง กลาง กลาง กลางกลาง 5 สูง ต่ำ กลาง กลางกลาง

  15. ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบของความเสี่ยงในการสอบบัญชีความสัมพันธ์ขององค์ประกอบของความเสี่ยงในการสอบบัญชี PDR สูง AAR กลาง ต่ำ IR x CR 0 ต่ำ กลาง สูง

  16. ระบบการควบคุมภายใน (Internal Control System) กระบวนการ นโยบายและวิธีการปฏิบัติซึ่งผู้บริหารของกิจการกำหนดขึ้นเพื่อช่วยให้กิจการบรรลุถึงเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ได้สำเร็จ ซึ่งจะทำให้เกิดความมั่นใจเท่าที่จะสามารถทำได้ว่าการดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพซึ่งรวมถึงการปฏิบัติตามนโยบายของผู้บริหารการป้องกันรักษาทรัพย์สินการป้องกันและการตรวจพบการทุจริตและข้อผิดพลาดความถูกต้องและความครบถ้วนของการบันทึกบัญชีและการจัดทำข้อมูลทางการเงินที่เชื่อถือได้อย่างทันเวลา

  17. แนวคิดการควบคุมภายในของ COSO ระบบการควบคุมภายในประกอบด้วยนโยบายและวิธีปฏิบัติงานที่กำหนดขึ้นภายในองค์กร เพื่อให้ความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลว่าจะบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ในเรื่องต่อไปนี้ • ความเชื่อถือได้ของงบการเงิน • ประสิทธิภาพ (Efficiency) และประสิทธิผล(Effectiveness) ของการดำเนินงาน • การปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง

  18. องค์ประกอบของการควบคุมภายในตาม COSO • สภาพแวดล้อมของการควบคุม(Control Environment) • การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) • กิจกรรมการควบคุม(Control Activities) • สารสนเทศและการสื่อสาร(Information and Communication) • การติดตามและประเมินผล(Monitoring)

  19. 1. สภาพแวดล้อมของการควบคุม นโยบาย วิธีการและวิธีปฏิบัติต่างๆที่แสดงให้เห็นถึงทัศนคติของผู้บริหารที่มีต่อการควบคุมภายใน • ความซื่อสัตย์และจริยธรรมของผู้บริหาร • ความรู้ความสามารถของผู้บริหาร • การมีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิภาพของคณะกรรมการบริหารและ Audit committee • โครงสร้างการจัดองค์กร • การมอบหมายอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ • นโยบายการจัดการด้านบุคลากร

  20. 2. การประเมินความเสี่ยง ผู้บริหารต้องหามาตรการเพื่อจัดการกับความเสี่ยง โดยการระบุปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงและโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง แล้วพัฒนาวิธีการเพื่อลดความเสี่ยงให้อยู่ระดับที่ยอมรับได้ • การจัดให้มีระบบการควบคุมภายในที่สำคัญ อาจช่วยป้องกันความเสี่ยงที่เกิดจากการทุจริตและข้อผิดพลาดได้ในระดับหนึ่ง • การบริหารสินค้าคงเหลืออย่างมีประสิทธิภาพช่วยป้องกันความเสี่ยงที่สินค้าคงเหลือมีมากเกินไป • การวิเคราะห์และอนุมัติการให้สินเชื่อและมาตรการการติดตามหนี้ที่มีประสิทธิภาพ ช่วยป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดหนี้สูญ

  21. 3. กิจกรรมการควบคุม นโยบายและวิธีการต่างๆที่จะสนับสนุนกิจกรรมที่จะป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิด • การแบ่งแยกหน้าที่อย่างเหมาะสม • การอนุมัติรายการบัญชีและการปฏิบัติงาน • การตรวจสอบการปฏิบัติงานโดยอิสระ

  22. 4. สารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อกำหนดวิธีการบันทึกรายการที่เกิดขึ้น จัดทำและรายงานผลของรายการดังกล่าว ตลอดจนการกำหนดให้มีวิธีการควบคุมสินทรัพย์ของกิจการ 5. การติดตามและประเมินผล เพื่อให้มั่นใจได้ว่านโยบายและวิธีการต่างๆที่กำหนดไว้มีการปฏิบัติตาม อย่างมีประสิทธิภาพ

  23. การบริหารความเสี่ยง - ERM องค์ประกอบของการบริหารความเสี่ยง • สภาพแวดล้อม • การกำหนดวัตถุประสงค์ • การระบุเหตุการณ์ • การประเมินความเสี่ยง • การตอบสนองความเสียง • กิจกรรมการควบคุม • สารสนเทศและการสื่อสาร • การติดตามผล

  24. การประเมินความเสี่ยงจากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญการประเมินความเสี่ยงจากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ พิจารณาจากองค์ประกอบการควบคุมภายใน • สภาพแวดล้อม • การประเมินความเสี่ยง • กิจกรรมการควบคุม • สารสนเทศและการสื่อสาร • การติดตามผล

  25. การทำความเข้าใจในระบบการควบคุมภายในและการประเมินความเสี่ยงจากการควบคุมการทำความเข้าใจในระบบการควบคุมภายในและการประเมินความเสี่ยงจากการควบคุม • การทำความเข้าใจในระบบการควบคุมภายในและการประเมินความเสี่ยงจากการควบคุม ผู้สอบบัญชีควรได้มาซึ่งความเข้าใจในระบบบัญชีและระบบการควบคุมภายในอย่างเพียงพอ เพื่อที่จะกำหนดและข้าใจเกี่ยวกับประเภทของรายการที่สำคัญในการดำเนินงานของกิจการ การเกิดขึ้นของรายการบันทึกรายการบัญชีและเอกสารประกอบรายการที่สำคัญตลอดจนบัญชีที่สำคัญในงบการเงินกระบวนการของการบัญชีและรายงานทางการเงินจากจุดเริ่มต้นของรายการและเหตุการณ์ที่สำคัญจนถึงการนำรายการหรือเหตุการณ์ดังกล่าวมาแสดงอยู่ในงบการเงิน

  26. การทำความเข้าใจในระบบการควบคุมภายในและการประเมินความเสี่ยงจากการควบคุมการทำความเข้าใจในระบบการควบคุมภายในและการประเมินความเสี่ยงจากการควบคุม ผู้สอบบัญชีควรพิจารณาระดับของความเสี่ยงสืบเนื่องและความเสี่ยงจากการควบคุมที่ได้ประเมินไว้ในการกำหนดลักษณะ ระยะเวลาและขอบเขตของวิธีการตรวจสอบเนื้อหาสาระที่จำเป็นเพื่อลดความเสี่ยงในการสอบบัญชีให้อยู่ในระดับต่ำพอที่จะยอมรับได้

  27. ขั้นตอนการทำความเข้าใจระบบบัญชีและระบบการควบคุมภายในขั้นตอนการทำความเข้าใจระบบบัญชีและระบบการควบคุมภายใน 1. วิธีการทำความเข้าใจระบบบัญชีและระบบการควบคุมภายใน • ประสบการณ์ตรวจสอบที่ผ่านมาและการสอบทานเพิ่มความมั่นใจในงวดปัจจุบัน • สอบถามผู้บริหารผู้ควบคุมงานและบุคคลากรอื่นรวมทั้งการอ้างอิงถึงเอกสารเช่นคู่มือการปฏิบัติงาน • ตรวจสอบเอกสารและบันทึกรายการ - walk through • สังเกตการณ์การปฏิบัติงานและการดำเนินงานของกิจการ

  28. ขั้นตอนการทำความเข้าใจระบบบัญชีและระบบการควบคุมภายในขั้นตอนการทำความเข้าใจระบบบัญชีและระบบการควบคุมภายใน 2. วิธีบันทึกระบบบัญชีและระบบการควบคุมภายใน • การเขียนคำอธิบาย (Narrative) • การใช้ผังทางเดินเอกสาร (Flowchart) • การใช้แบบสอบถาม (Internal Control Questionaire)

  29. การประเมินความเสี่ยงจากการควบคุมการประเมินความเสี่ยงจากการควบคุม ข้อมูลที่รวบรวมจากการทำความเข้าใจในระบบบัญชีและระบบการควบคุมภายในสามารถช่วยผู้สอบบัญชีในการวางแผนการตรวจสอบ ดังต่อไปนี้ • สามารถระบุถึงรายการที่อาจมีการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอย่างเป็นสาระสำคัญได้ • สามารถประเมินความเสี่ยงจากการควบคุม ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดลักษณะระยะเวลา และขอบเขตของวิธีการตรวจสอบเนื้อหาสาระที่จำเป็น เพื่อลดความเสี่ยงของการสอบบัญชีให้อยู่ในระดับต่ำที่ยอมรับได้

  30. การประเมินความเสี่ยงจากการควบคุมการประเมินความเสี่ยงจากการควบคุม การประเมินความเสี่ยงจากการควบคุมในเบื้องต้น สำหรับแต่ละยอดคงเหลือในบัญชี หรือแต่ละประเภทของรายการ ที่มีสาระสำคัญ หลังจากผู้สอบบัญชีได้มาซึ่งความเข้าใจในระบบบัญชี และระบบการควบคุมภายในแล้ว

  31. การทดสอบการควบคุม (Test of Control) • หากกิจการมีจุดอ่อนในระบบบัญชีและระบบการควบคุมภายในมาก ก็ไม่ควรใช้การทดสอบการควบคุม • อาจไม่ใช้การทดสอบการควบคุม หากเห็นว่าการใช้วิธีการตรวจสอบเนื้อหาสาระให้ประโยชน์ในการช่วยลดต้นทุน และประหยัดเวลาในการสอบบัญชี วิธีการทดสอบการควบคุม • การตรวจสอบเอกสารประกอบรายการ • การสอบถามบุคคลากรเกี่ยวกับระบบการควบคุมภายในกิจการ • การสังเกตุการณ์เกี่ยวกับการควบคุมภายใน • การปฏิบัติซ้ำเกี่ยวกับการควบคุมภายใน

  32. ข้อควรพิจารณาในการทดสอบการควบคุมข้อควรพิจารณาในการทดสอบการควบคุม • การให้ได้มาซึ่งความเข้าใจในระบบบัญชีและระบบการควบคุมภายในอาจถือเป็นการทดสอบการควบคุมได้ • หากเห็นว่าระบบมีประสิทธิผล สามารถใช้ผลดังกล่าวกำหนดลักษณะ ระยะเวลา และขอบเขตการตรวจสอบเนื้อหาสาระได้ • ไม่คำนึงถึงจำนวนเงิน • ควรมั่นใจว่าการทดสอบได้ครอบคลุมทุกช่วงระยะเวลา • หากพบการไม่ปฏิบัติตามระบบเพียงบางครั้ง ต้องขยายขอบเขต แต่หากเป็นการไม่ปฏิบัติตามตลอดรอบระยะเวลาบัญชีอาจตัดสินใจไม่เชื่อถือในระบบ • ควรมั่นใจว่าระบบมีประสิทธิผลและปฏิบัติตามสม่ำเสมอตลอดระยะเวลาบัญชี

  33. การรายงานจุดอ่อนของระบบการควบคุมภายในการรายงานจุดอ่อนของระบบการควบคุมภายใน • ผู้สอบบัญชีควรแจ้งให้ทราบจุดอ่อนของระบบการควบคุมภายในที่มีสาระสำคัญ พร้อมข้อเสนอแนะเป็นลายลักษณ์อักษรหรือหนังสือถึงผู้บริการในระดับที่เหมาะสม(Management Letter)

More Related