1 / 25

บทความหัวข้อ “การจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค” เรื่อง

บทความหัวข้อ “การจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค” เรื่อง “การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค” โดย นายกิตติพงศ์ สมพงษ์พันธุ์ หัวหน้างานแหล่งน้ำ กองวิชาการ สำนักงานประปาเขต 3 การประปาส่วนภูมิภาค.

Télécharger la présentation

บทความหัวข้อ “การจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค” เรื่อง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทความหัวข้อ “การจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค” เรื่อง “การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค” โดย นายกิตติพงศ์ สมพงษ์พันธุ์ หัวหน้างานแหล่งน้ำ กองวิชาการ สำนักงานประปาเขต 3 การประปาส่วนภูมิภาค

  2. บทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้เขียนเอง และไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับหน่วยงานที่ผู้เขียนสังกัดอยู่แต่ประการใด และหากมีข้อความในบทความที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงหรือไม่ตรงกับความคิดเห็นของผู้ใด ผู้เขียนกราบขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

  3. การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค นายกิตติพงศ์ สมพงษ์พันธุ์ บทคัดย่อ เนื่องจากน้ำเป็นทรัพยากรที่มีจำกัด และไม่สามารถใช้ทรัพยากรอื่นทดแทน โดยน้ำมีบทบาทสำคัญต่อชีวิตมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการจัดการน้ำเพื่อให้เกิดสมดุลและเพียงพอจึงเป็นสิ่งจำเป็น แต่การจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคสำหรับมนุษย์เป็นสิ่งจำเป็นที่สุด(สำหรับสังคมมนุษย์) โดยเฉพาะการเข้ามามีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการบริหารจัดการน้ำดังกล่าว จะเกิดผลดีโดยส่วนรวม เช่น ลดปัญหา ลดความขัดแย้ง และเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ หรือไม่ ขึ้นอยู่กับ การมีบทบาทในด้านต่างๆ ของประชาชน รัฐ และเอกชน ที่จะผสมผสานบทบาท รวมทั้งใช้บทบาทให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวม นั่นเป็นสิ่งสำคัญ และบทความนี้ผู้เขียนได้รวบรวม บทบาทของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น ประชาชนหรือผู้ใช้น้ำ รัฐ เอกชน เป็นต้น และปัญหาที่คิดว่าได้เกิดขึ้นในปัจจุบัน และนำเสนอแนวทางบางแนวทางที่เห็นว่าจะต้องปรับเปลี่ยนบทบาทการมีส่วนร่วมดังกล่าวในอนาคต

  4. ความสำคัญของน้ำ “น้ำคือต้นกำเนิดของชีวิตทั้งมวล” คัมภีร์อัลกุรอาน “อโป หิ สถะ มโยภุวะ” (น้ำเป็นสิ่งค้ำจุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุด น้ำจึงเปรียบประดุจมารดา) คัมภีร์ไตตตตรียะ สังหิตา “ประเพณีวันลอยกระทง คือ ประเพณีการขอขมาพระแม่คงคา” ประเพณีของไทยในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 “ถ้าสงครามในศตวรรษนี้คือการต่อสู้เพื่อแย่งชิงน้ำมัน สงครามในศตวรรษหน้าจะกลายเป็นการต่อสู้เพื่อแย่งชิงน้ำ” คำกล่าวของ นายอิสมาอิล เซราเจลดิน รองประธานธนาคารโลก ในปี คศ. 1995

  5. การจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคในอดีตการจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคในอดีต ภาคประชาชน ราษฎรในท้องถิ่นได้รวมกลุ่มกันขึ้นเพื่อจัดหาน้ำ จัดสรรน้ำและอนุรักษ์น้ำ เพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร มีมาตั้งแต่โบราณ เช่น ภาคเหนือ สร้างเหมือง ฝาย ในลำน้ำธรรมชาติ ทุกคนช่วยแรงงานสร้าง และแต่งตั้งผู้อาวุโสของท้องถิ่นเป็นผู้บริหารจัดการ เรียกว่า แกเหมือง แกฝาย จัดสรรน้ำให้โดยเป็นธรรม หากมีการลักใช้น้ำ จะถูกประณามหรือลงโทษต่างๆตามจารีตของท้องถิ่นที่กำหนดขึ้น และอาจถูกปรับสินไหมตามกฎหมายของรัฐในสมัยโบราณ ที่เรียกว่า กฎหมายมังราย หรือ มังรายศาสตร์ ภาคอื่นๆของประเทศ ขุดลอกหนองน้ำ อ่างเก็บน้ำ ขุดสระ ขุดคลอง เพื่อ การอุปโภคบริโภค การเกษตร การคมนาคม โดยอาศัยแรงงานในชุมชนร่วมมือกัน และ จัดสรรน้ำด้วยการบริหารงานภายในชุมชนเช่นเดียวกัน

  6. การจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคในอดีต (ต่อ) กรุงสุโขทัย “ กลางเมืองสุโขทัย มีน้ำตระพังโหม สีใสกินดี ...ดั่งกินน้ำโขงเมื่อแล้ง รอบเมืองสุโขทัยนี้ …” คำจารึกในศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ 1 ด้านที่ 2 ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช (ตระพังโหม หมายถึง บ่อมหัศจรรย์ มีน้ำใช้ได้ตลอดปี) กรุงศรีอยุธยา พระเจ้าอู่ทอง ทรงสร้างกรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองหลวง ได้โปรดเกล้าฯให้ขุดคลองจำนวนมาก ให้มีน้ำไหลเวียน และประชาชนได้ใช้ประโยชน์ด้านการเกษตร อุปโภคบริโภค คมนาคม รวมทั้งป้องกันพระนครจากสงคราม เมืองลพบุรี สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้โปรดเกล้าฯ ให้ขุดทำนบกั้นน้ำทะเลชุบศร เป็นเขื่อนกั้นน้ำฝนไว้ใช้ แล้วางท่อดินเผา เข้าสระพักน้ำ และวางท่อจ่ายน้ำไปยังสถานที่สำคัญต่างๆในเมืองลพบุรี

  7. การจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคในอดีต (ต่อ) กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที 1 – รัชกาลที่ 4 ได้โปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลอง เชื่อมกับแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อใช้ประโยชน์ในการเกษตร อุปโภคบริโภค และคมนาคม รัชกาลที่ 5 ได้โปรดเกล้าฯ ตั้งกรมสุขาภิบาล เพื่อจัดทำน้ำประปา ในแก่ประชาชนในเขตพระนคร เนื่องจากเกรงว่า การใช้น้ำจากคลองต่างๆจะเกิดอหิวาตกโรคได้ รวมทั้งขุดคลองประปา และคลองต่างๆ ในเขตปริมณฑล พ.ศ. 2496 กรมโยธาธิการ ก่อสร้างระบบประปา ณ ศูนย์กลางทหารปืนใหญ่ โคกกระเทียม ให้ชื่อว่า การประปาพิบูลสงคราม ผลิตและจำหน่ายน้ำประปาให้แก่ทหารและประชาชนในพื้นที่ นับเป็นการประปาแห่งแรกของไทยที่อยู่ในส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2509 รัฐบาลได้จัดให้มีโครงการจัดหาน้ำสะอาดทั่วราชอาณาจักร มีคณะกรรมการบริหารโครงการ และมีหน่วยงานดำเนินการก่อสร้าง ทั้งสิ้น 11 หน่วยงาน พ.ศ. 2522 ได้จัดตั้ง การประปาส่วนภูมิภาค โดยรับโอนกิจการประปาและบุคลากรจาก กองประปาส่วนภูมิภาค กรมโยธาธิการ และ กองประปาชนบท กรมอนามัย มาเป็นลูกจ้างและพนักงานของการประปาส่วนภูมิภาค

  8. การจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคในปัจจุบันการจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคในปัจจุบัน ภาคประชาชน มีการลดบทบาทของประชาชนในองค์กรจัดการน้ำในรูปแบบดั้งเดิม ซึ่งประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนบริหารจัดการกันเองอย่างเต็มรูปแบบ โดยได้กำหนดให้ส่วนราชการต่างๆหรือองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามาวางแผน บริหารจัดการ จัดสรรน้ำ ก่อสร้างสาธารณูปโภคด้านน้ำแทน แต่ก็ยังมีเพียงบางแห่งที่ยังมีภาคประชาชนมีส่วนในการบริหารจัดการน้ำ ภาครัฐและองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น มีบทบาทในการจัดการน้ำ ทั้งทางด้านอุปโภคบริโภค ทั้งที่เป็นหน่วยงานราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน มีบทบาทในการจัดหาน้ำดังนี้ 1. บทบาทในการจัดหาและจำหน่ายน้ำดิบ ทั้งที่เป็นน้ำดิบเพื่ออุตสาหกรรม และน้ำดิบเพื่อการผลิตน้ำประปา 2. บทบาทในการจัดหาและจำหน่ายน้ำประปาให้หน่วยงานของรัฐ โดยรับซื้อน้ำตามสัญญาที่ได้ตกลงกันไว้ และหน่วยงานของรัฐมีหน้าที่รับน้ำที่ผลิตส่งจ่ายให้ผู้ใช้น้ำในเขตบริการ 3. บทบาทในการจัดหาและจำหน่ายน้ำดื่มบรรจุขวดหรือถัง

  9. ทิศทางการจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคในอนาคตทิศทางการจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคในอนาคต นโยบายน้ำแห่งชาติได้ใช้การบริหารจัดการน้ำแบบผสมผสาน(Integrated Water Resources Management,IWRM) แบบบูรณาการ และแบบการบริหารจัดการลุ่มน้ำ ควบคู่กัน เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรน้ำร่วมกับทรัพยากรอื่นๆและระบบนิเวศน์ โดยได้เพิ่มบทบาทการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน มีการแบ่งลุ่มน้ำออกเป็น 25 ลุ่มน้ำหลัก มีองค์กรบริหารจัดการลุ่มน้ำ ทั้ง 25 ลุ่มน้ำ และต่อมาได้กำหนดให้การจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคแยกออกจากการบริหารจัดการแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรอย่างชัดเจน(มติ ครม. เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2546)

  10. ทิศทางการจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคในอนาคต (ต่อ) การกำหนดนโยบายการมีส่วนร่วม (สิ่งที่ผู้เขียนคาดหวัง) การมีส่วนร่วมภาคประชาชนหรือผู้ใช้น้ำ 1. การมีส่วนร่วมบางส่วน มีหลายขั้นเช่น -บทบาทเป็นผู้ใช้น้ำ สามารถมีส่วนร่วมในการ แจ้งข้อมูลหรือร้องเรียนปัญหาต่างๆเช่น น้ำไม่สะอาด น้ำไม่ไหล มีท่อแตกท่อรั่ว ค่าน้ำรายเดือนสูงเกินไป หรือ การขอเป็นผู้ใช้น้ำ เป็นต้น -บทบาทเป็นตัวแทนของผู้ใช้น้ำ โดยเข้าเป็นกรรมการบริหารจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคในระดับท้องถิ่นหรือระดับชาติ หรือเป็นกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติหรืออนุกรรมการลุ่มน้ำทั้ง 25 ลุ่มน้ำ -บทบาทเป็นหุ้นส่วน หรือ ผู้ลงทุน จะมีบทบาทมากขึ้น เช่น สามารถเลือกตั้งผู้บริหาร กำหนดแผน กรอบกติกา ติดตามผลการดำเนินงาน เพิ่มทุน รับผลตอบแทนหรือกำไรจากการดำเนินงาน โดยมีรัฐบาลเข้าร่วมทุน ร่วมในการบริหารจัดการ กำหนดนโยบายหรือแผน กฎกติกาและกิจกรรมต่างๆ - บทบาทเป็นผู้จัดตั้ง รวมทุนหรือจัดหางบประมาณ บริหารจัดการ และอื่นๆ แต่อยู่ในความควบคุมของระบบราชการ หรือ หน่วยงานทางราชการ เข้ามีส่วนร่วม ในแต่ละกิจกรรมของการบริหารจัดการ

  11. ทิศทางการจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคในอนาคต (ต่อ) การกำหนดนโยบายการมีส่วนร่วม (สิ่งที่ผู้เขียนคาดหวัง) การมีส่วนร่วมภาคประชาชนหรือผู้ใช้น้ำ 2. การมีส่วนร่วมเต็มรูปแบบ ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในการจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคอย่างเต็มรูปแบบ ตั้งแต่การจัดตั้งหาทุนหรืองบประมาณ กำหนดแผนงาน กำหนดกติกา โครงสร้างการบริหาร การควบคุมตรวจสอบ รวมทั้งการประเมินผล รวมทั้งกิจกรรมอื่นๆทั้งหมด โดยการจัดตั้งองค์กรของตนเองโดยอิสระ ปราศจากการแทรกแซงจากระบบราชการ หรือองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น โดยการลงทุนเอง(เกิดขึ้นแล้วในบางประเทศ)หรือได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลในขั้นต้น และบริหารจัดการกันเองในหมู่สมาชิกผู้ใช้น้ำโดยการคัดเลือกคณะกรรมการคณะต่างๆในการดำเนินงานในขั้นตอนต่างๆ ทั้งนี้ให้เป็นไปตามมาตรฐานน้ำอุปโภคบริโภคที่ยอมรับกันเองในหมู่สมาชิก

  12. ทิศทางการจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคในอนาคต (ต่อ) การกำหนดนโยบายการมีส่วนร่วม (สิ่งที่ผู้เขียนคาดหวัง) การมีส่วนร่วมภาครัฐและองค์กรของรัฐ 1. การเพิ่มบทบาท บทบาทของรัฐบางอย่างที่ยังต้องสร้างขึ้นในอนาคต เช่น - จัดตั้งหน่วยงานเพื่อการตรวจสอบผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำทั้งของรัฐ เอกชน หรือองค์กรที่ประชาชนจัดตั้งขึ้นโดยตรวจสอบทั้งคุณภาพน้ำ ปริมาณน้ำ ให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่กำหนด และ ลงโทษหากไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด -จัดตั้งหน่วยงานซึ่งรับผิดชอบฝึกอบรม การบริหาร วิชาการช่าง การบัญชี รวมทั้งเป็นที่ปรึกษา แก่หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรของประชาชน ที่ผลิตและจำหน่ายน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค

  13. ทิศทางการจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคในอนาคต (ต่อ) การกำหนดนโยบายการมีส่วนร่วม (สิ่งที่ผู้เขียนคาดหวัง) การมีส่วนร่วมภาครัฐและองค์กรของรัฐ 2. การลดบทบาท บางครั้งบทบาทในปัจจุบันอาจต้องลดบทบาทลง หรือยังคงอยู่ ก็ได้ เช่น -ลดบทบาทการบริหารจัดการ โดยให้ประชาชนหรือผู้ใช้น้ำเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการมากขึ้น -ลดบทบาทการควบคุมราคาค่าน้ำโดยให้ค่าน้ำที่จัดเก็บสะท้อนต้นทุนจริงที่เกิดขึ้นในแต่ละแห่ง แต่ยังควบคุมไม่ให้ขายน้ำในราคาที่มีผลกำไรมากจนเกินไป -ลดบทบาทในการสนับสนุนงบประมาณ โดยเฉพาะงบประมาณในการ บำรุงรักษา ปรับปรุงระบบ รวมทั้งขยายเขตจ่ายน้ำ ทั้งนี้อาจมีบทบาทเพียงการสนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้างและบริหารจัดการในขั้นต้นเท่านั้น -ลดบทบาทการกำหนดนโยบายหรือวางแผน โดยให้ผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ เข้าร่วมกำหนดตั้งแต่ต้น

  14. ทิศทางการจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคในอนาคต (ต่อ) การกำหนดนโยบายการมีส่วนร่วม (สิ่งที่ผู้เขียนคาดหวัง) การมีส่วนร่วมภาคเอกชน เอกชนที่ได้รับการแปรรูปจากรัฐหรือรับสัมปทานจากรัฐ ควรเป็นบริษัทมหาชน โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนหรือผู้ใช้น้ำเป็นหุ้นส่วนในกิจการให้มากที่สุด ทั้งนี้เพื่อให้มีบทบาทมากขึ้นในการบริหารจัดการ รวมทั้งได้ผลตอบแทนในผลกำไรที่เกิดขึ้น บทบาทนี้จะทำให้ประชาชนหรือผู้ใช้น้ำมีความรู้สึกเป็นเจ้าของกิจการ รวมทั้งมีจิตสำนึกในการบำรุงรักษาแหล่งน้ำที่ใช้ผลิตน้ำดังกล่าว รวมทั้งรักษาสิ่งแวดล้อมอื่นๆ

  15. ปัญหาที่เกิดขึ้นในการจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคปัญหาที่เกิดขึ้นในการจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ภาคประชาชนหรือผู้ใช้น้ำ 1. ยังไม่มีการจัดตั้งองค์กรภาคประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม ทำให้ไม่สามารถมีบทบาท ในการบริหารจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคด้วยตนเอง ทำให้ไม่ได้สร้างความรู้สึกที่เป็นเจ้าของ หวงแหนทรัพยากรน้ำ และอนุรักษ์แหล่งน้ำให้อยู่อย่างยั่งยืน แต่มีเพียงการให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานของรัฐเป็นผู้ดำเนินการเท่านั้น 2.งบประมาณที่บำรุงรักษาหรือขยายเขตบริการ ยังอยู่ในงบประมาณรวมขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยราชการ การสนับสนุนงบประมาณควรมีงบเฉพาะขององค์กรภาคประชาชนแยกอยู่ต่างหาก หรืองบประมาณที่ได้มาจากการจัดเก็บค่าน้ำเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ บำรุงรักษา พัฒนาปรับปรุงระบบ รวมทั้งขยายเขตการให้บริการ 3.เนื่องจากสภาพธรรมชาติหรือข้อจำกัดอื่นๆ ทำให้ต้องจัดทำระบบการจ่ายน้ำครอบคลุมองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นมากกว่าหนึ่งแห่ง ยิ่งสมควรต้องจัดตั้งองค์กรภาคประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ทั้งหมดเพื่อบริหารจัดการแทนองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีอยู่เดิม

  16. ปัญหาที่เกิดขึ้นในการจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค (ต่อ) ภาคประชาชนหรือผู้ใช้น้ำ 4. ยังมีการแทรกแซงจากการเมืองหรือกลไกของรัฐเข้าสู่ภาคประชาชนเนื่องจากยังเกี่ยวข้ององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานของรัฐ จึงยังไม่เป็นอิสระในการดำเนินงาน เพื่อประโยชน์ของผู้ใช้น้ำได้อย่างเต็มที่ 5. ขาดช่องทางรับรู้ข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับตนเองโดยตรง ที่ถูกต้อง ครอบคลุม รวดเร็วและชัดเจน แม้ในส่วนราชการก็ยังไม่ได้ให้ข้อมูลข่าวสารที่เพียงพอแก่ประชาชน โดยเฉพาะการพัฒนาความรู้ ศักยภาพ ของประชาชน เพื่อให้ประชาชน และชุมชนเข็มแข็ง และมีความรู้ความสามารถในด้านต่างๆ มากขึ้น 6. เนื่องจากบทบาทของรัฐในการวางแผนและจัดหาสาธารณูปโภคมากขึ้น โดยลดบทบาทภาคประชาชนในการดำเนินการแต่ละขั้นตอน ทำให้ความรู้สึกเป็นเจ้าของในทรัพยากรหรือสาธารณูปโภคของประชาชนลดลง จิตสำนึกในการช่วยกันดูแลรักษาหวงแหนและอนุรักษ์จะเกิดขึ้นได้ยาก แม้จะต้องใช้งบประมาณของรัฐ ประชาสัมพันธ์ หรือ อบรมสัมมนามากเท่าใด ก็ยังไม่ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ

  17. ปัญหาที่เกิดขึ้นในการจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค (ต่อ) ภาคองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น 1. ยังไม่สามารถขอรับการจัดสรรงบประมาณในโครงการใหญ่ที่ใช้งบประมาณสูง 2. บางแห่งการเก็บค่าบริการจากผู้ใช้น้ำยังเก็บในราคาที่ต่ำ (3-5 บาทต่อลูกบาศก์เมตร) ทำให้ไม่สามารถมีงบประมาณในการบริหารจัดการ บำรุงรักษาระบบประปา และการขยายเขตจ่ายน้ำ ทำให้ต้องใช้เงินจากงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาล(อาจมีเงื่อนไขสำหรับการเมืองระดับท้องถิ่นและระดับชาติเข้ามาแทรกแซง) หรือใช้งบรายได้จากด้านอื่นขององค์กรมาสนับสนุน 3. ระบบการเงินยังไม่แยกออกจากระบบเงินรวมของท้องถิ่น 4. การวางแผนและดำเนินการในด้านอื่นๆบางครั้งยังไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อแหล่งน้ำ หรือชุมชนอื่น รวมทั้งการพัฒนาแหล่งน้ำในบางแห่งยังไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบในด้านอื่นๆ และชุมชนอื่น

  18. ปัญหาที่เกิดขึ้นในการจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค (ต่อ) ภาคองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น 5. ขาดผู้เชี่ยวชาญหรือขาดการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ในการบริหารจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ทำให้น้ำมีคุณภาพไม่ได้ตามมาตรฐาน รวมทั้งปัญหาน้ำสูญเสียในระบบส่งจ่ายน้ำมีสูง 6. ไม่มีการกำกับดูแลในด้านคุณภาพน้ำโดยหน่วยงานของรัฐอื่นที่จัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ รวมทั้งประเมินผลด้านการบริหารจัดการโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านนี้โดยตรง 7. ขาดการพัฒนาเทคโนโลยี่ในการผลิตและจ่ายน้ำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบประปา 8. การแสวงหาผลประโยชน์อันมิชอบยังมีอยู่

  19. ปัญหาที่เกิดขึ้นในการจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค (ต่อ) ภาครัฐ 1. ระบบชลประทาน หรือ แหล่งน้ำได้ก่อสร้างขึ้น บางแห่ง ไม่ได้ออกแบบให้มีการใช้น้ำเพื่ออุปโภคบริโภค รวมไว้ตั้งแต่เริ่มวางแผน ทำให้ไม่มีน้ำเหลือสำหรับการอุปโภคบริโภคที่เกิดขึ้นในภายหลัง หรือ ไม่มีอาคารประกอบที่รองรับกับการรับน้ำไปใช้ในการผลิตน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค 2. โครงการพัฒนาแหล่งน้ำหลายแห่งได้เกิดปัญหาความขัดแย้งกับผู้ใช้น้ำในภาคต่างๆ หรือสร้างปัญหาให้แก่ประชาชนหรือชุมชน โดยเฉพาะการเวนคืนที่ดิน และ การย้ายถิ่นฐาน การเปลี่ยนอาชีพ และการตกงาน รวมทั้งการลดลงของรายได้ 3. ขาดการให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ครอบคลุมและรวดเร็ว แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และประชาชนที่มีผลกระทบโดยตรง จากโครงการพัฒนาต่างๆของรัฐรวมทั้ง การไม่ได้ให้โอกาสประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย เข้าร่วม วางแผน ดำเนินการ ควบคุมดูแล บริหารจัดการ และ ประเมินผล ทำให้โครงการพัฒนาต่างๆที่เกิดขึ้น เกิดความขัดแย้งระหว่าง ประชาชนทั่วไป ผู้มีส่วนได้เสียในภาคต่างๆ โดยเฉพาะ ปัญหาการขาดแคลนน้ำและคุณภาพน้ำดิบที่ไม่เหมาะสมในการผลิตน้ำประปา ที่เกิดขึ้นจากโครงการพัฒนาดังกล่าว

  20. ปัญหาที่เกิดขึ้นในการจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค (ต่อ) ภาครัฐ 4. การควบคุมดูแลและจัดการน้ำเสียในภาคการใช้น้ำอื่นๆยังไม่ได้ผล ทำให้ปัญหาน้ำเสียมีมากขึ้น 5. การแปรรูปกิจการจัดการน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค จากหน่วยงานของรัฐให้เอกชนดำเนินการ ไม่ได้ให้ภาคประชาชน หรือผู้มีส่วนได้เสีย มีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การวางแผน การทำสัญญา การควบคุมให้เป็นไปตามสัญญา การลงโทษเมื่อผิดเงื่อนไขสัญญา และการประเมินผล และกิจกรรมอื่นๆ ทำให้เกิดผลกระทบกับผู้ใช้น้ำ เช่น ค่าน้ำที่สูง การจ่ายน้ำไม่เพียงพอ คุณภาพน้ำไม่ได้มาตรฐาน เป็นต้น และผลกระทบกับผู้ใช้น้ำภาคอื่นๆ เช่น การขาดแคลนน้ำ มลภาวะจากน้ำหรือดินตะกอน เป็นต้น 6. การควบคุมคุณภาพน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค ยังไม่มีหน่วยงานของรัฐโดยตรงในการตรวจสอบ ติดตามและลงโทษ ผู้ผลิตน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค เพื่อให้คุณภาพน้ำอุปโภคบริโภคเป็นไปตามมาตรฐาน และมีผลทำให้ประชาชน ไม่มั่นใจในคุณภาพน้ำที่หน่วยงานของรัฐผลิตน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ประชาชนหันไปซื้อน้ำ บริโภคจากเอกชนที่ผลิตน้ำขวดหรือบรรจุถังจำหน่าย(ซึ่งแท้จริงยังไม่ได้ผลิตน้ำได้มาตรฐานน้ำดื่มครบทุกรายเช่นกัน) ทำให้ต้องเพิ่มภาระรายจ่ายของประชาชน เนื่องจากน้ำดังกล่าวมีราคาแพง และยังมีโอกาสได้รับน้ำที่ไม่ได้มาตรฐาน

  21. ปัญหาที่เกิดขึ้นในการจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค (ต่อ) ภาครัฐ 7. ขาดนโยบายในการส่งเสริมให้ภาคประชาชน จัดตั้งองค์กรของตนเอง ในการดำเนินงาน จัดการน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค โดยอาจสนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้างระบบผลิตและจ่ายน้ำในขั้นต้น แต่ในขั้นตอนการดำเนินงาน การบริหารจัดการต่างๆ การบำรุงรักษา การขยายเขตจ่ายน้ำ ให้ใช้รายได้จากการเก็บค่าน้ำจากประชาชนผู้ใช้น้ำเอง โดยผู้ใช้น้ำกำหนดอัตราค่าน้ำกันเอง รัฐอาจมีหน้าที่ดูแลให้การผลิตน้ำได้มาตรฐาน ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านต่างๆให้มีความรู้ความสามารถมากขึ้นเท่านั้น 8. ยังมีการใช้เทคโนโลยี่เพื่อการผลิตน้ำและจ่ายน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคที่มีประสิทธิภาพสูงน้อยเกินไป 9. รัฐบาลควบคุมการขึ้นค่าน้ำประปาของรัฐวิสาหกิจที่ประกอบกิจการผลิตและจำหน่ายน้ำประปาเพื่อการอุปโภคบริโภคทำให้ขายน้ำในราคาที่ต่ำกว่าต้นทุนที่แท้จริง ทำให้ประสบปัญหาการขาดทุน และไม่มีงบประมาณเพียงพอในการดำเนินงานต่างๆ ต้องของบอุดหนุนจากรัฐบาล แต่ได้รับไม่เพียงพอกับความจำเป็น ทำให้เสียโอกาสในการขยายการบริการและปรับปรุงระบบการผลิตและระบบจ่ายน้ำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น(ทำให้เกิดช่องทางที่ให้เอกชนเข้ามามีส่วนในการผลิตน้ำเพื่อจำหน่ายให้กับหน่วยงานของรัฐเพื่อส่งจ่ายให้ผู้ใช้น้ำ)

  22. ปัญหาที่เกิดขึ้นในการจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค (ต่อ) ภาครัฐ 10. การแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือนักการเมืองทำให้ประสิทธิภาพของการบริหารงานของหน่วยงานต่างๆของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและจำหน่ายน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคลดลง รวมทั้งเอื้อประโยชน์ให้เอกชนเข้ามาแสวงหาผลกำไรจากการจัดการน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคที่มากเกินไป และทำให้รัฐเสียเปรียบ หรือ ผู้มีส่วนได้เสียเกิดความเสียหาย ภาคเอกชน 1. มีจิตสำนึกในการผลิตน้ำที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน รวมทั้งการบำบัดน้ำเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิตก่อนปล่อยลงแหล่งน้ำสาธารณะ 2. ไม่กำหนดรายละเอียดเงื่อนไขในสัญญาที่ผูกขาดกิจการหรือได้เปรียบกับรัฐหรือผู้ใช้น้ำ ทำให้ได้ผลประโยชน์มากเกินไป หรือผลักภาระ หรือความเสี่ยง ให้กับรัฐหรือผู้ใช้น้ำ หรือผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ รวมทั้งทำให้เกิดปัญหาการแย่งน้ำกับผู้ใช้น้ำรายอื่นๆ 3. ไม่ติดสินบนแก่เจ้าพนักงานหรือผู้มีอำนาจของรัฐ เพื่อหลีกเลี่ยงหรือทำผิดกฎหมายโดยไม่ถูกลงโทษ หรือ ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ ลงนามในสัญญาที่ทำให้รัฐ หรือ ผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆเสียประโยชน์ หรือเอกชนรายอื่น เสียโอกาสในการแข่งขันทางการค้าอย่างเสรี

  23. บทสรุป การจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ไม่มีรูปแบบการบริหารจัดการที่ตายตัวแน่นอน เป็นไปได้หลากหลายรูปแบบกว่าที่กล่าวไว้ข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ สภาพแวดล้อม ค่านิยม ระบบการปกครองหรืออำนาจรัฐ สถานการณ์ของโลก และปัจจัยอื่นๆที่มีอยู่ในปัจจุบันและเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต แต่ที่สำคัญคือรูปแบบการบริหารจัดการที่นำมาใช้จะต้องลดปัญหา ลดข้อขัดแย้ง และเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน โดยเฉพาะต้องให้ตระหนักว่า น้ำเป็นทรัพยากรที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติที่มีจำกัด ไม่สามารถใช้ทรัพยากรอื่นทดแทนได้ และถูกปนเปื้อนด้วยมลพิษมากขึ้นทุกขณะ และถึงแม้ว่าน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคจำเป็นที่สุดสำหรับมนุษย์ก็ตาม แต่การจัดการน้ำให้เหมาะสม และ เพียงพอสำหรับ กิจกรรมอื่นๆของมนุษย์ ของสิ่งมีชีวิตอื่นๆและสิ่งแวดล้อม โดยให้เกิดสมดุลทางนิเวศวิทยา และยั่งยืนต่อไปในอนาคต โดยทุกภาคส่วนต้องเข้าร่วมมือกันประสานงานกันอย่างจริงจัง จริงใจและเป็นระบบ โดยเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง นั้น สำคัญที่สุด

  24. เอกสารอ้างอิง 1.วันทนา ศิวะ.2546.สงครามน้ำ:การเปลี่ยนถ่ายอำนาจจากชุมชนสู่เอกชน มลพิษ และผลประโยชน์ สำนักพิมพ์สวนเงินมีมา,กรงเทพฯ 2.คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านวิชาการ ของ Global Water Partnership.2546.การบริหารจัดการน้ำแบบผสมผสาน หจก.บี.วี.ออฟเซ็ต,กรุงเทพฯ 3.สนอง จันทนินทร .2549.บทความ.แนวทางการบริหารจัดการน้ำและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในระบบลุ่มน้ำ 4.การประปาส่วนภูมิภาค.2550.บทความในเวบไซท์ของ กปภ. ประวัติ กปภ,กรุงเทพฯ

  25. จบการบรรยาย ขอขอบพระคุณ

More Related