440 likes | 721 Vues
“วิกฤติชาติ การแก้ไข และอนาคตเศรษฐกิจไทย”. Presented by Group 3 MPPM 15. นายกรัฐมนตรีไทย ปีพ.ศ. 2544- จนถึงปัจจุบัน. นายสมัคร สุนทรเวช. นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ. พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร. พลเอก สุร ยุทธ์ จุลานนท์. 17 ก.พ. 2544 ถึง 19 ก.ย. 2549. 1 ต.ค. 2549 ถึง
E N D
“วิกฤติชาติ การแก้ไข และอนาคตเศรษฐกิจไทย” Presented by Group 3 MPPM 15
นายกรัฐมนตรีไทย ปีพ.ศ.2544- จนถึงปัจจุบัน นายสมัคร สุนทรเวช นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ 17 ก.พ. 2544 ถึง 19 ก.ย. 2549 1 ต.ค. 2549 ถึง 29 ม.ค. 2551 29 ม.ค. 2551 ถึง 9 ก.ย. 2551 9 ก.ย. 2551 ถึง 2 ธ.ค. 2551 17 ธ.ค. 2551 ถึง ปัจจุบัน
ปัญหาเศรษฐกิจจากปัจจัยในประเทศปัญหาเศรษฐกิจจากปัจจัยในประเทศ สร้างความสามัคคีของคนไทยชาติ ยุติความขัดแย้งอย่างสันติ นโยบายมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ จัดการโดย
ปัญหาเศรษฐกิจจากปัจจัยภายนอกปัญหาเศรษฐกิจจากปัจจัยภายนอก
นโยบายเศรษฐกิจ ปี 2544-2549 สมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
มาตรการนโยบายแก้ไขเศรษฐกิจมาตรการนโยบายแก้ไขเศรษฐกิจ
ผลงานด้านความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ: กรณีศึกษาการฟื้นตัวและการขยายตัวทางเศรษฐกิจและความเคลื่อนไหวของดัชนีหลักทรัพย์[สมชัย จิตสุชน/ชัยสิทธิ์ อนุชิตวรวงศ์] ข้อสรุปผลการวิเคราะห์: 1. การฟื้นตัวจากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจของไทยนั้นขึ้นกับความรุนแรงของวิกฤติเศรษฐกิจ ประเทศส่วนใหญ่ฟื้นตัวก่อนไทย ยกเว้นเพียงอินโดนีเซียซึ่งประสบปัญหาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ในขณะที่รัฐบาลทักษิณได้ประโยชน์จากความมีเสถียรภาพก่อนหน้าการเข้ามาบริหาร 2. ไม่มีหลักฐานบ่งชี้ว่า ในภาวะปกติ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยภายใต้การบริหารของรัฐบาลทักษิณสูงกว่าอัตราปกติของประเทศ หรือสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้านที่มีระดับพัฒนาการเศรษฐกิจใกล้เคียงกับไทย 3. มีหลักฐานสนับสนุนการใช้ทฤษฎี Dual Track Economy สำหรับประเทศไทยโดยเฉพาะในช่วงที่มีทรัพยากรส่วนเกินเหลืออยู่ แต่รัฐบาลทักษิณมิได้มีส่วนในการเพิ่มอุปสงค์ภายในมากนัก การเพิ่มขึ้นของการบริโภคมาจากปัจจัยอื่นมากกว่า เช่นอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ 4. ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ของไทยมีผลตอบแทนแท้จริงในระยะที่รัฐบาลทักษิณบริหารค่อนข้างสูง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะดัชนีตกต่ำไปลึกมากก่อนรัฐบาลทักษิณ อย่างไรก็ตามพบว่าในระยะสองปีหลังของรัฐบาลทักษิณ อัตราผลตอบแทนของไทยติดลบและมีผลงานต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน ผลรวมคือแม้รัฐบาลทักษิณจะบริหารมา 5 ปีเต็ม อัตราผลตอบแทนตลาดหลักทรัพย์ไทยก็ยังไม่สามารถลบล้างความเสียหายที่เกิดขึ้นจากวิกฤติเศรษฐกิจได้
เปรียบเทียบอัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจแต่ละช่วงเวลาเปรียบเทียบอัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจแต่ละช่วงเวลา ช่วงฟื้นตัวเศรษฐกิจไทย หมายเหตุ : อัตราปกติ หมายถึงอัตราการขยายตัวช่วงปี 2523-2539 ที่ไม่รวมปีที่ขยายตัวต่ำมากไปหรือสูงมากไป
ผลงานด้านความโปร่งใสในการบริหารเศรษฐกิจ: กรณีศึกษาหุ้นกลุ่มชิน [สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์] ข้อสรุปผลการวิเคราะห์: 1. รัฐบาลทักษิณมีนโยบายและมาตรการหลายอย่างที่ให้ประโยชน์อย่างเฉพาะเจาะจงต่อธุรกิจที่ใกล้ชิดกับผู้นำรัฐบาล นโยบายและมาตรการเหล่านี้เป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้หลักทรัพย์ของชิน คอร์ปอเรชั่น ซึ่งถือครองโดยกลุ่มชินวัตรและดามาพงศ์มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นโดยรวม 41,258 ล้านบาท จนสามารถขายให้แก่นักลงทุนต่างชาติได้ในราคา 73,000 ล้านบาทในปี 2549 2. แม้ในภาพรวมจากมุมมองระดับมหภาค ผลงานของตลาดหลักทรัพย์ไทยจะไม่มีความแตกต่างกับประเทศเพื่อนบ้านนัก แต่หากวิเคราะห์แยกส่วนจะพบว่ามีลักษณะที่น่าสนใจบางประการ อันอาจเป็นสิ่งบ่งชี้ถึงปัญหาความโปร่งใสในการบริหารเศรษฐกิจของรัฐบาลทักษิณได้ โดยพบว่ามีธุรกิจจำนวนหนึ่งที่ได้รับประโยชน์มากกว่าบางกลุ่ม
บริษัทจดทะเบียนที่มีการเพิ่มมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดสูงสุด 10 แห่ง (หน่วย:ล้านบาท) ที่มา ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ผลงานด้านนโยบายประชานิยม กรณีศึกษากองทุนหมู่บ้านและจดทะเบียนคนจน [สมชัย จิตสุชน/จิราภรณ์ แผลงประพันธ์] ข้อสรุปผลการวิเคราะห์: 1.นโยบายกองทุนหมู่บ้านประสบความสำเร็จพอควรในการเข้าถึงกลุ่มผู้ที่มีศักยภาพในการใช้ประโยชน์จากเงินกู้กองทุน คือเป็นเกษตรกรที่สามารถนำเงินไปลงทุนด้านการเกษตรได้ อย่างไรก็ตามยังมีปัญหาในเรื่องการกู้ยืมซ้ำซ้อนและอาจไม่ทั่วถึง ตลอดจนยังมีผู้กู้จำนวนหนึ่งที่ต้องกู้ยืมเงินจากแหล่งอื่นมาใช้คืนเงินกองทุน 2. ในการประเมินผลต่อการเพิ่มรายได้และลดรายจ่ายนั้น พบว่ามีความแตกต่างกันพอสมควรระหว่างผู้กู้ที่ใช้ประโยชน์จากเงินกองทุนได้และผู้ที่ไม่ได้ประโยชน์จากเงินกองทุน ทำให้ในภาพรวมเงินกองทุนหมู่บ้านมิได้มีผลทำให้รายได้ของผู้กู้เพิ่มสูงกว่าผู้ที่มิได้กู้เงินกองทุนอย่างมีนัยสำคัญ 3. ข้อมูลการจดทะเบียนคนจนมีปัญหาในเรื่องความสมบูรณ์และแม่นยำ เพราะมีคนจนถึงกว่าร้อยละ 70 ที่มิได้จดทะเบียนและผู้จดทะเบียนร้อยละ 85 ไม่ใช่คนจน อาจทำให้เกิดปัญหาการละเลยคนจนที่แท้จริงหากรัฐบาลยึดถือฐานข้อมูลนี้โดยไม่ตรวจสอบกับแหล่งอื่น
นโยบายเศรษฐกิจ ปี 2549-2551 สมัยรัฐบาล พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์
นโยบายเศรษฐกิจ มาตรการสำคัญ • GDP ขยายตัว ปี 50 > ปี 49 • อัตราเงินเฟ้อ ปี 50 < ปี 49
วิเคราะห์การใช้นโยบายวิเคราะห์การใช้นโยบาย จุดเด่นเป็นนโยบายที่นำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นกรอบนโยบาย และมุ่งเน้นการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านเศรษฐกิจของชุมชนฐานรากร่วมกับภาคเศรษฐกิจระบบตลาดและภาคเศรษฐกิจส่วนรวมในการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยให้ความสำคัญกับหลักคุณธรรม จริยธรรมในการดำเนินการทางเศรษฐกิจในระบบตลาดเสรี แต่ผลงานยังไม่ปรากฏผลตามกรอบนโยบายอย่างเป็นรูปธรรม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หลักคุณธรรมกำกับการพัฒนา เศรษฐกิจในระบบตลาดเสรี
นโยบายไม่ได้พูดถึงเรื่องปัญหาการจัดการดูแลทรัพยากรธรรมชาติไม่ว่าจะเป็น ป่า ที่ดิน น้ำ ทรัพยากรชายฝั่ง ฯลฯ ที่ถือได้ว่าเป็นทุนทางเศรษฐกิจที่สำคัญ • สนับสนุนการออมในทุกระดับและพูดถึงการดำเนินนโยบายงบประมาณแบบขาดดุล เพื่อให้สามารถรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างพอเพียงและมีการลงทุนทางด้านโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและเสริมภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจ ในขณะที่จะเสริมสร้างวินัยทางการเงินการคลังของภาครัฐ โดยการใช้จ่ายอย่างมีเหตุผลและประหยัดเท่านั้น มิได้กล่าวถึงกลไกภาษีเลยแม้แต่น้อย • หลักเศรษฐกิจพอเพียงของรัฐบาลชุดนี้อาจเป็นแค่วาทกรรมที่ยังคงโครงสร้างชั้นภูมิทางอำนาจและความสามารถในการแสวงหากำไรหรือการขูดรีดมูลค่าส่วนเกินแบบเดิมๆอยู่ ก็อาจกล่าวได้ว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ก็เป็นการต่อสู้ของชนชั้นนำระหว่าง 2 กลุ่มคือทุนนิยมกับศักดินา • เศรษฐกิจพอเพียงเป็นแค่แนวคิดที่มีไว้ให้คนเลือกปฏิบัติ สรุปได้ว่าเป็นเพียงแค่ พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน รวมทั้งมีคุณธรรมและความรู้ ซึ่งก็ไม่ต่างกันกับการที่รัฐบาลได้ประกาศในนโยบายด้านเศรษฐกิจดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ว่าเป็นแนวทางที่ทุกคนทุกวิถีชีวิตสามารถนำไปใช้ได้ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกร กรรมกร ไปจนถึงเจ้าของบริษัทยักษ์ใหญ่ต่างๆเป็นแค่การเปลี่ยนแปลงคติในการดำเนินชีวิตหรือปรัชญาชีวิตของตน แต่โครงสร้างความสัมพันธ์ในระบบเศรษฐกิจยังคงมีลักษณะเดิมอยู่นั่นเอง วิเคราะห์นโยบายการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
นโยบายเศรษฐกิจ ปี 2551 สมัยรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช
มาตรการนโยบายแก้ไขเศรษฐกิจมาตรการนโยบายแก้ไขเศรษฐกิจ
วิเคราะห์การใช้นโยบายวิเคราะห์การใช้นโยบาย นโยบายของรัฐบาลนายสมัคร แสดงออกในรูปแบบมาตรการทางเศรษฐกิจ ที่ออกมาบังคับใช้ มีผลทันทีเพื่อหวังผลกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยใช้มาตรการทางภาษีเป็นตัวนำแต่เป็นไปในลักษณะของนโยบายประชานิยม มากกว่าที่จะส่งผลดีหรือกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว ส่วนนโยบายด้านอื่นๆ ยังไม่ปรากฎผลชัด เนื่องจากระยะเวลาในการบริหารงานค่อนข้างน้อย จึงยังไม่สามารถผลักดันนโยบายและมาตรการทางเศรษฐกิจอื่นๆ มาใช้ แต่รัฐบาลในชุดปัจจุบันของนายอภิสิทธิ์ ก็ยังคงนำมาตรการบางอย่างมาสานต่อ เช่น การต่ออายุ 6 มาตรการ ออกไปอีก เนื่องจากเป็นนโยบายประชานิยม
นโยบายเศรษฐกิจ ปี 2551 สมัยรัฐบาล นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์
เน้นปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเน้นปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ
วิเคราะห์การใช้นโยบายวิเคราะห์การใช้นโยบาย 1นโยบายเร่งด่วน ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่รัฐบาลได้ประเมินไว้ กลับไม่มีความชัดเจน ยากที่นำไปผลักดันหรือส่วนราชการนำไปปฏิบัติ ในขณะที่นโยบายที่ดำเนินการในระยะ 3 ปี กลับมีความชัดเจนมากกว่า 2เป็นผลพวงของรากฐานความคิดเดิมการบริโภคนิยม ผ่านDemand Sideของนายกฯสมัคร เช่น Mega Project SML OTOP และพักหนี้เกษตรกร 3ยังยึดหลักการหาเสียงด้วยเงินงบประมาณ ในลักษณะประชานิยม จนเกิดหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น 4นโยบายทางด้านเศรษฐกิจเร่งด่วนที่ตั้งไว้ มีการผลักดันด้วยมติคณะรัฐมนตรีเพื่อให้หน่วยงานที่รับผิดชอบไปดำเนินการน้อยมาก จึงไม่มีการแก้ไขสถานการณ์ทางเศรษฐกิจให้ดีขึ้น จนเป็นภาระต่อไปยังรัฐบาลชุดถัดไป (นายอภิสิทธิ์ฯ)
นโยบายเศรษฐกิจ ปี 2551-52 สมัยรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ “ ความสุขของคนไทย คือเป้าหมายของรัฐบาล ”
นโยบายด้านเศรษฐกิจ (เน้นที่สำคัญ) แก้ไขและบรรเทาปัญหาเศรษฐกิจ เพื่อแก้ไขและบรรเทาผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก รัฐบาลชุดนี้ได้ใช้มาตรการหลายชนิดผสมผสานกัน เช่น ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน บรรเทาการว่างงาน ช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ในขณะเดียวกันก็มองหาหนทางเพิ่มรายได้ให้กับประชาชน และลงทุนทางสังคมในเชิงรุก
นโยบายการบริหารเศรษฐกิจมหภาคนโยบายการบริหารเศรษฐกิจมหภาค สร้างเสถียรภาพและความมั่นคงของสถาบันการเงิน รักษาวินัยการคลัง โดยปรับงบประมาณประเทศให้สอดคล้องกับเงินของแผ่นดิน นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ
โครงการช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชนและบุคลากรภาครัฐ( เช็คช่วยชาติ 2,000 บาท ) กระตุ้นเศรษฐกิจโดยการสร้างกำลังซื้อโดยการให้ผู้ที่มีรายได้น้อยคนละ2,000 บาทครอบคลุมผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคม บุคลากรภาครัฐที่มีรายได้ต่ำกว่า15,000 บาทต่อเดือน
โครงการส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) มาตรการด้านการเงิน รัฐปล่อยสินเชื่อและการค้ำประกันแก่ผู้ประกอบการSMEs ผ่านการเงินเฉพาะกิจ (SFIs) มาตรการด้านภาษี ช่วยเหลือและสนับสนุนผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมและวิสาหกิจชุมชน 1.สนับสนุนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยลดอัตราจำนองอสังหาริมทรัพย์ เหลือร้อยละ 0.01 ไปจนถึงสิ้นปี 2552 2.มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนธุรกิจท่องเที่ยว 3.มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้และโครงสร้างองค์กร ที่ผ่านการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
วิเคราะห์การใช้นโยบาย รัฐบาลภายใต้การนำของ ฯพณฯ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี 1.ให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจพอเพียง 2.มุ่งเน้นการแก้ปัญหาโครงสร้างของตลาด ตลาดปัจจัยการผลิต ตลาดสินค้าและบริการ และตลาดการเงิน มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของหน่วยเศรษฐกิจระดับเล็ก กลาง และใหญ่ 3.การลงทุนเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศในระยะยาว ทั้งในด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน ลอจิสติกส์ การเกษตร สาธารณสุข ทรัพยากรมนุษย์ ฯลฯ โดยการลงทุนเหล่านี้จะสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2553-2555
สรุปความเห็นโดยรวมต่อนโยบาย ของรัฐบาลอภิสิทธิ์ 1.กดดอกเบี้ยเงินฝากในอัตราต่ำติดดินแต่ขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ในอัตราสูงเกินเพดานที่ผู้ประกอบการจะรับไหวเอาเปรียบ 2.แจกเงิน 2,000บาท แก่ผู้มีรายได้ต่ำกว่า 15,000บาท โดยไม่คำนึงถึงแก่ประชาชนที่ยากจน ไม่มีงานทำที่เดือดร้อนทุกข์ยากในชนบท 3.รัฐบาลต้องไม่หวังผลทางการเมือง ต้องมองให้ไกล ทำโครงการที่ก่อให้เกิดการจ้างงานจริงๆ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
ผลของการนำนโยบายไปปฏิบัติผลของการนำนโยบายไปปฏิบัติ 1.สร้างความเชื่อมั่นแก่ภาคเอกชนในการลงทุนและการบริโภค 2.ร่วมมือกับภาคเอกชนในการชะลอและป้องกันการเลิกจ้าง 3.สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก 4.รักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐและสร้างระบบประกันความเสี่ยงทางการเกษตร 5.ลดภาระค่าครองชีพของประชาชน และกำกับดูแลราคาอุปโภคบริโภคและการบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ
สรุปความเห็นโดยรวมต่อนโยบาย ของรัฐบาลอภิสิทธิ์(ต่อ) 4.ระบบเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ที่มีการเชื่อมโยงสอดคล้องกัน 5.นโยบายของรัฐต้องดึงให้ชุมชนที่เกี่ยวข้องมามีส่วนร่วมในการเมืองประชาชนสามารถกำหนดทิศทางได้ ทุกคนมีศักดิ์ศรี และมีสิทธิ์ที่จะได้รับการดูแลในฐานะที่เป็นคนไทย 6.เศรษฐกิจต้องมีกติกาการแข่งขันที่เป็นธรรม บนพื้นฐานของความสามารถและมีการกระจายรายได้อย่างทั่วถึงและยั่งยืน 7.สร้างสังคมให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ รัฐบาลต้องนำพาประเทศให้ก้าวพ้น ”ประชานิยม”
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ปี พ.ศ.2544-2550 (GDP) GDP ณ ราคาประจำปี ที่มา สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี
ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติปี พ.ศ.2544-2550 (GNP) GNP ณ ราคาประจำปี ที่มา สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี
จำนวนผู้ประกันตนที่ขึ้นทะเบียนขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจำนวนผู้ประกันตนที่ขึ้นทะเบียนขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน การเปลี่ยนแปลงการใช้จ่าย ภาคครัวเรือน ปี 2550-2552
ช่องว่างความยากจน ความรุนแรงปัญหาความยากจน เส้นความยากจน สัดส่วนคนจน และจำนวนคนจน ระหว่างปี พ.ศ. 2541-2550 ที่มา : ข้อมูลจากการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน สำนักงานสถิติแห่งชาติ
มุมมองของนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำที่มีต่ออนาคตเศรษฐกิจไทยมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำที่มีต่ออนาคตเศรษฐกิจไทย ดร. อัมมาร สยามวาลา นักวิชาการเกียรติคุณ ทีดีอาร์ไอ • เชื่อว่าประชานิยมยังอยู่คู่กับสังคมไทยไปอีกนาน • ภาระหนี้ของประเทศที่สูงมาก ตัวแปรหลักที่จะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจในอนาคต • ปัญหาเงินเฟ้อ ทำให้รัฐต้องใช้เงินจำนวนมากเพื่อแก้ปัญหาประชาชน นำไปสู่ ปัญหา Fiscal Crisis ดร.โอฬาร ไชยประวัติ รองนายกรัฐมนตรี • มองว่า 10 ปีข้างหน้าชนบทจะขยายตัวมากกว่าในเมือง • ราคาสินค้าเกษตรมีแนวโน้วสูงขึ้น ทำให้รายได้เกษตรขยายตัวประมาณ 40%และจีดีพีประเทศเพิ่ม • 5-10 ปีข้างหน้า ราคาน้ำมันและอาหารจะเป็นตัวกำหนดทิศทางเศรษฐกิจไทย
มุมมองของนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำที่มีต่ออนาคตเศรษฐกิจไทยมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำที่มีต่ออนาคตเศรษฐกิจไทย ดร.บัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย • เศรษฐกิจของประเทศสามารถก้าวไปสู่เศรษฐกิจสมัยใหม่ • หากประชาชนจำนวนมากได้รับการศึกษา มีโอกาสในการแข่งขันในตลาด • ปัญหาการกระจายรายได้ลดลง ดร.ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรางการคลัง • อนาคตไทยต้องมีโครงสร้างที่สามารถปรับเปลี่ยนตามกระแสโลก • มีการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจมากขึ้น เช่น การลดภาษีในอาฟต้า ปี 2015 • การรวมกลุ่มทางการค้า และการลงทุนของอาเซียน เป็น”ยุทธศาสตร์ในเชิงภูมิภาค
มุมมองของนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำที่มีต่ออนาคตเศรษฐกิจไทยมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำที่มีต่ออนาคตเศรษฐกิจไทย ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการฝ่ายวิจัย บล.ภัทร • ทั่วโลกวิตกจะเกิดภาวะเงินตึงตัวอย่างรุนแรงในตลาดการเงินโลก • ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ สู่ตลาดการเงินของประเทศต่างๆ • เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจถดถอยตามมา ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ • ความน่าเชื่อถือของประเทศที่กำลังลดลง • ปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐ • ปัญหาการเมืองภายในประเทศ เจ้าหน้าที่ระดับสูงไม่กล้าปฏิบัติงานจริง การประสานงานระหว่างนโยบายการเงิน และการคลัง
คาดการณ์ว่า GDP จะโตถึง 4 กว่า เนื่องจากเศรษฐกิจฟื้นตัว 6 ปัจจัยเสี่ยงทางเศรษฐกิจของประเทศไทย
บทสรุปอนาคตเศรษฐกิจไทยบทสรุปอนาคตเศรษฐกิจไทย
สมาชิกกลุ่ม 3 ห้อง 2 MPPM 15 • พิชิตพล ลีฬหารัตน์ รหัสนักศึกษา 5210122108 • พิรกิตติ์ รัตนดาราโชค 5210122124 • ปรางทิพย์ ติณสูลานนท์ 5210122126 • สุภเมธินี ศีลเสน 5210122127 • นันท์ธีรา ธารณาวัฒน์5210122138 • สโรชา รัตนาวะดี 5210122142 • ปัทมาภรณ์ พิภพไชยาสิทธิ์ 5210122153 • ภัฑิรา วาดวงศรี 5210122159 • สมนึก อินทสิทธิ์ 5210122160 • ชวลิต เลขะวัฒนะ 5210122161 • อรวรรณ ก้องปฐพีชัย 5210122175
สมาชิกกลุ่ม 3 ห้อง 2 MPPM 15 12.เสกสรร ตั้งตรงน้ำจิต รหัสนักศึกษา 5210122176 13.ศรันย์ดิษฐ์ เบญจพงศ์ 5210122177 14.อนุศักดิ์ จันทคราม5210122189 15.ปกาศิต แก้วสุขแท้ 5210122190 16.พรทิพย์ กล้วยไม้ ณ อยุธยา 5210122191 17.อภินันท์ สุนทรานนท์ 5210122192 18.จำรัส พัฒนเสรี 5210122205 19.บงการ ศรีวโร5210122206 20.วราภรณ์ วงษ์ศิริ5210122208 21.ศิวพงษ์ ภู่มาลา 5210122214
สมาชิกกลุ่ม 3 ห้อง 2 MPPM 15 22.สาคร สวนอุดม รหัสนักศึกษา 5210122215 23.ดิเรก ภักดีจาตุรันต์ 5210122216 24.ชิตพล จิระรัตน์พิศาล 5210122217 25.ปรียนันท์ กิติพงษ์พัฒนา 5210122218 26.ไอลดา กฤตศิลป์ 5210122219 27.เจริญ รัตนบรรณสกุล 5210122220 28.วารี สังข์ศิลป์ไชย 5210122221 29.พจนีย์ วรรณรัตน์ 5210122223 The end