1 / 7

ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วย อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พ.ศ. 2554

ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วย อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พ.ศ. 2554 โดยนางศุภัคชญา ภวังคะรัต กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน. ฐานอำนาจตามกฎหมาย. พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542

Télécharger la présentation

ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วย อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พ.ศ. 2554

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วย อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พ.ศ. 2554 โดยนางศุภัคชญา ภวังคะรัต กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน

  2. ฐานอำนาจตามกฎหมาย พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 มาตรา 30(5) บุคคลซึ่งกระทรวง ทบวง กรม กทม. เมืองพัทยา อบจ. เทศบาล สุขาภิบาล องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด หรือสภากาชาดไทย มอบหมายให้ประกอบโรคศิลปะในความควบคุมของ จนท. ซึ่งเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะหรือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทั้งนี้ตามระเบียบที่ รมว. กำหนด พระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 มาตรา 26 (4) บุคคลซึ่งกระทรวง ทบวง กรม กทม.เมืองพัทยา อบจ. เทศบาล สุขาภิบาล องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา หรือสภากาชาดไทยมอบหมายให้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือประกอบโรคศิลปะในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือผู้ประกอบโรคศิลปะในสาขานั้น ๆ ทั้งนี้ ตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขฯ พ.ศ. 2545 ข้อ 7 ให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านซึ่งได้ผ่านการอบรมและได้รับหนังสือรับรองความรู้ความสามารถจากกระทรวงสาธารณสุขและยังคงเป็น อสม. ให้ทำการประกอบโรคศิลปะโดยใช้ยาสมุนไพรและผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร การนวด การอบ การประคบและวิธีอื่น ตามที่กำหนดในแบบเรียนด้วยตนเองของกระทรวงสาธารณสุข ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ฯ พ.ศ. 2539 ข้อ 15 ให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านซึ่งได้ผ่านการอบรมและได้รับหนังสือรับรองความรู้และความสามารถจากกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงสาธารณสุขยังแต่งตั้งให้เป็น อสม. อยู่ ทำการประกอบวิชาชีพเวชกรรมและใช้ยาได้ ดังต่อไปนี้ อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขอาศัยอำนาจตามพรบ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินออกระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยอาสาสมัครสาะรณสุขประจำหมู่บ้าน พ.ศ. 2554

  3. ความเชื่อมโยงฐานของอำนาจทางกฎหมายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขความเชื่อมโยงฐานของอำนาจทางกฎหมายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กฎหมายกลาง กฎหมายเฉพาะ พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 มาตรา 4 “การประกอบโรคศิลปะ “ หมายความว่าการประกอบวิชาชีพที่กระทำหรือมุ่งหมายจะกระทำต่อมนุษย์เกี่ยวกับการตรวจโรค การวินิจฉัยโรค การบำบัดโรค การป้องกันโรค การส่งเสริมและการฟื้นฟูสุขภาพ การผดุงครรภ์ แต่ไม่รวมถึงการประกอบวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุขสุขอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นๆ พระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาล พ.ศ. 2528 พระราชบัญญัติวิชาชีพทันตกรรม พ.ศ. 2537 พระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. 2537 พระราชบัญญัติวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ พ.ศ. 2547พระราชบัญญัติวิชาชีพกายภาพบำบัด พ.ศ. 2547 อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขซึ่งเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติดังกล่าว หากมีผู้ไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายได้กระทำการตามกฎหมายวิชาชีพอาจมีโทษทางอาญาได้ โดย นพ. สสจ. เป็นผู้ควบคุมในระดับจังหวัด(พนักงานเจ้าหน้าที่) อสม. เป็นบุคคลได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ตามกฎหมายวิชาชีพ 2 ฉบับ

  4. ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พ.ศ. 2554 คุณสมบัติของ อสม. 1.18 ปีบริบูรณ์ 2. มีชื่อในทะเบียนบ้านและอาศัยอยู่เป็นการประจำไม่น้อยกว่า 6 เดือน 3.มีความรู้อ่านออกเขียนได้ • มีคณะกรรมการ • กรรมการโดยตำแหน่ง • กรรมการทรงคุณวุฒิ • วาระ 4 ปี กำหนดให้มี อสม. อื่นได้ โดยประกาศของ รมว. หลักเกณฑ์ การรวมกลุ่มของ อสม. เป็น องค์กร อสม. เจตนารมณ์ : พัฒนาคุณภาพมาตรฐานระบบ อสม. หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือก อสม. 1. กำหนดสัดส่วนของ อสม. 2. กำหนดวิธีการคัดเลือก หัวหน้าครัวเรือนไม่น้อยกว่า 10 หลังเรือนเห็นชอบ 3. กำหนดให้ สสจ. อปท. และองค์กร อสม. สนับสนุนการฝึกอบรม อสม. ใหม่ 4. เมื่อ อสม. พ้นจากตำแหน่ง 5 ปี ต้องอบรมใหม่ 5. การออกประกาศนียบัตร 6. สสจ. ดำเนินการขึ้นทะเบียนพร้อมออกบัตร กำหนดเรื่องสถาบันฝึกอบรมและพัฒนา อสม. และมาตรฐานครูฝึกอบรม การสิ้นสุดสภาพของ อสม. 1. ตาย 2. ลาออก 3. คนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ ความสามารถ 4. นพ. สสจ. มีคำสั่งให้พ้นสภาพ การอบรม 1. อสม. ใหม่ 2. อบรมฟื้นฟูความรู้ หรือความชำนาญเฉพาะทาง

  5. หัวหน้าครัวเรือนไม่น้อยกว่า 1ใน 3 ของหลังคาเรือนลงชื่อร้องเรียน อสม. ในละแวกบ้านของตน คณะกรรมการระดับจังหวัดดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง คณะกรรมการฯ ลงมติให้ อสม. พ้นสภาพ ไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรมด้านสุขภาพ ไม่รักษาจรรยาบรรณของ อสม. มีความประพฤติเสียหาย เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ นพ.สสจ. มีคำสั่งให้พ้นสภาพ

  6. การรักษาจรรยาบรรณของ อสม.(หมวด 5) 1.ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความขยัน อดทน เต็มใจ เชื่อมั่น ศรัทธา เสียสละ ซื่อสัตย์สุจริต 2.ไม่เรียกร้องหรือแสวงหาประโยชน์ส่วนตน 3. ยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม เมตตาธรรม และรักษาความสามัคคีในหมู่คณะ 4. ดำเนินการตามบทบาทหน้าที่โดยเคารพต่อ กฎหมายและเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ 5. มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่นได้ บทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบของ อสม. (หมวด 3) 1. ปฏิบัติตามนโยบายกระทรวง สธ. 2. เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ หรือจัดการรณรงค์ และให้ ความรู้ทางด้าน สสม. 3. ให้บริการสาธารณสุขแก่ประชาชนตามระเบียบ กสธ. 4. จัดกิจกรรมเฝ้าระวังและป้องกันปัญหาสาธารณสุข 5. เป็นแกนนำในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพฯ 6. ให้ความรู้ด้านการเข้าถึงสิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพ การมีส่วนร่วมในการเสนอความเห็นของชุมชน เกี่ยวกับนโยบายสาธารณะด้านสุขภาพ 7. ศึกษา พัฒนาตนเองฯ และเข้าร่วมประชุม 8. ดำเนินการตามมาตรฐานสมรรถนะของ อสม. 9. ประสานการดำเนินงานสาธารณสุขในชุมชนและ ปฏิบัติงานร่วมกับ จนท. ฯ สิทธิประโยชน์ (หมวด 4) 1. สวัสดิการช่วยเหลือค่าห้องพิเศษและ ค่าอาหารพิเศษ 2. เบิกค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตาม บทบาทหน้าที่ 3. ได้รับเงินค่าป่วยการ 4. การประกาศเกียรติคุณ 5. โควตาศึกษาต่อ 6. สิทธิประโยชน์อื่นๆ

  7. บทเฉพาะกาล • 1. หลักสูตรฝึกอบรมมาตรฐาน อสม. ปี พ.ศ. 2550 ถือว่าเป็นหลักสูตรฝึกอบรมมาตรฐาน อสม. ตามระเบียบนี้ เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้ง • 2. อสม. และ อสม. กทม. ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น อสม. ก่อนระเบียบนี้ใช้งคับให้ถือว่าเป็น อสม. ตามระเบียบนี้ บุคคลที่ได้ผ่านการอบรมตามหลักสูตรฝึกอบรมมาตรฐาน อสม. และได้รับประกาศก่อนระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนภายในหนึ่งปี จึงจะถือว่าเป็น อสม. ตามระเบียบนี้ • บุคคลที่ปฏิบัติหน้าที่ครูฝึกอบรม อสม. อยู่ก่อนระเบียบนี้ใช้บังคับให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้โดยความเห็นชอบของ นพ. สสจ. • 4. บัตรประจำตัว อสม. ซึ่งออกก่อนระเบียบนี้ใช้บังคับให้ใช้ได้จนกว่าจะมีการออกบัตรประจำตัว อสม. ตามระเบียบนี้มาทดแทน • 5. ในระยะเริ่มแรกที่ยังไม่มีองค์กร อสม. ตามระเบียบนี้ ให้ประธานชมรม อสม. ในระดับต่างๆ เป็นผู้แทนองค์กร อสม. ตามระเบียบนี้

More Related