1 / 26

การจัดสรรงบประมาณ และการบริหารองค์กรสภานิสิต

การจัดสรรงบประมาณ และการบริหารองค์กรสภานิสิต. โดย อาจารย์วีระศักดิ์ เครือเทพ ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประธานสภานิสิต ปีการศึกษา 2538. หัวข้อการบรรยาย. ชวนคุยเรื่องการจัดสรรงบประมาณและ การจัดองค์การ : อดีต-ปัจจุบัน ปัญหา และอุปสรรค หลักการงบประมาณ

Télécharger la présentation

การจัดสรรงบประมาณ และการบริหารองค์กรสภานิสิต

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การจัดสรรงบประมาณและการบริหารองค์กรสภานิสิตการจัดสรรงบประมาณและการบริหารองค์กรสภานิสิต โดย อาจารย์วีระศักดิ์ เครือเทพ ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประธานสภานิสิต ปีการศึกษา 2538

  2. หัวข้อการบรรยาย • ชวนคุยเรื่องการจัดสรรงบประมาณและการจัดองค์การ: อดีต-ปัจจุบัน ปัญหา และอุปสรรค • หลักการงบประมาณ • หลักการจัดองค์การและการบริหาร • ระบบการทำงานเพื่อรองรับการจัดสรรงบประมาณและการบริหารงานของสภานิสิต

  3. การจัดสรรงบประมาณในราวปี พ.ศ.2536-2538 หลักการพิจารณางบประมาณ • ในอดีต เน้นการพิจารณารายการใช้จ่ายเป็นหลัก จึงได้พยายามเพิ่มความสำคัญของผลงานที่คาดว่าจะได้รับ (ผลผลิต) และต้นทุนในการดำเนินการ การปฏิบัติงานของสภานิสิต • ประชุมสภานิสิตส่วนใหญ่ใช้เวลากับการจัดสรรงบประมาณ แต่มักจะไม่ค่อยได้ติดตามประเมินผลงานของชมรมต่างๆ มีเพียงแต่การพิจารณาประเมินผลงานของ อบจ. เท่านั้น • การพิจารณาโครงการต่างๆ เป็นแบบแยกส่วน ทำให้ภาพรวมของกิจกรรมนิสิตตลอดทั้งปีขาดหายไป จึงส่งผลให้เวลาส่วนใหญ่ของการประชุมสภานิสิตไปกับการจัดสรรงบประมาณ

  4. การจัดสรรงบประมาณในราวปี 2536-2538 (ต่อ) ระบบข้อมูลที่ใช้ในการจัดสรรงบประมาณ • มีเพียงการรวบรวมเอกสารโครงการในปีก่อนหน้านั้น และพิจารณาเปรียบเทียบกับสิ่งที่ได้ดำเนินการมาในอดีตในด้านหลักการเหตุผล งบประมาณที่ใช้ เป็นหลัก มากกว่าการตั้งคำถามถึงผลสำเร็จของชมรม/อบจ. ผลที่เกิดขึ้น • สภานิสิตถูกมองว่าเป็นหน่วยตัดงบฯ มากกว่าหน่วยให้คำปรึกษาแนะนำ ส่วนชมรมและ อบจ. ตอบสนองด้วยการทำงบประมาณสำหรับเผื่อตัดงบฯ • บทบาทของสภานิสิตในการดูแลทุกข์สุขและสวัสดิภาพของนิสิตจุฬาฯ โดยรวม ขาดหายไป • สมาชิกสภานิสิตเบื่อหน่ายกับการตัดงบประมาณ • การประชุมสภานิสิตเป็น “การเล่นกับเงิน” มากกว่า “เล่นกับผลงาน” • ไม่สามารถหาจุดสมดุลระหว่าง “การควบคุมของสภานิสิต” และ “ความคล่องตัวในการดำเนินงานของฝ่ายบริหาร (ชมรม/อบจ.)”

  5. การจัดองค์การและการบริหารการจัดองค์การและการบริหาร • คณะกรรมการบริหารประกอบไปด้วย ประธานสภานิสิต รองประธานสภานิสิตคนที่หนึ่ง รองประธานสภานิสิตคนที่สอง และเลขาธิการสภานิสิต • การแบ่งฝ่ายกรรมาธิการ (กมธ.) แบ่งออกเป็นฝ่ายวิชาการ ฝ่ายกีฬา ฝ่ายศิลปวัฒนธรรม ฝ่ายพัฒนาสังคม และ กมธ.อบจ. • กมธ. แต่ละฝ่ายทำหน้าที่พิจารณานโยบายและโครงการ พิจารณาจัดสรรงบประมาณ และติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการ • ในการประชุมของสภานิสิต จะมีการประชุมตั้งแต่สองสัปดาห์ต่อครั้ง จนถึงสัปดาห์ละครั้ง และการประชุมแต่ละครั้งใช้เวลานาน จนทำให้สมาชิกขาดหายไป บ่อยครั้งที่มีสมาชิกไม่ครบองค์ประชุม

  6. แลกเปลี่ยนความคิดเห็นสภาพปัจจุบันเป็นเช่นใด?มีปัญหา และอุปสรรคใดบ้าง?

  7. หลักการงบประมาณ • งบประมาณแบบแสดงรายการ (Line-Item Budgeting)เกิดขึ้นประมาณศตวรรษที่14 • งบประมาณแบบแสดงผลงาน (Performance Budgeting) เกิดขึ้นประมาณปี ค.ศ. 1920 • งบประมาณแบบมุ่งการวางแผน (Planning Programing Budgeting: PPB)เกิดขึ้นประมาณช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ทั้งนี้ ระบบงบประมาณที่เกิดขึ้นในภายหลังเป็นระบบงบประมาณที่มุ่งลดข้อจำกัดของระบบงบประมาณในอดีต

  8. งบประมาณแบบแสดงรายการ (Line-Item) • ให้ความสำคัญกับการใช้ทรัพยากร (Inputs) ในการดำเนินโครงการ โดยจะเน้นให้มีการแจกแจงรายการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์อย่างละเอียด • คำถามหลักในการพิจารณางบประมาณ • จะซื้ออะไร และนำไปใช้ทำอะไร • ซื้อเป็นจำนวนเท่าใด • มีราคาเท่าใด • หลักการพื้นฐานของระบบงบประมาณแบบแสดงรายการคือการเน้น “การควบคุม (Control)” หรือมีลักษณะของ “การมุ่งควบคุมก่อนการใช้จ่าย (Pre-audit)” • ข้อมูลที่จำเป็นในการพิจารณางบประมาณ ได้แก่ ข้อมูลการจัดซื้อในอดีต ราคากลาง

  9. งบประมาณแบบแสดงรายการ (Line-Item) (ต่อ) ข้อดี • ง่ายต่อการพิจารณาจัดสรรงบประมาณ และไม่ต้องใช้ฐานข้อมูลจำนวนมากนัก • ช่วยควบคุมการจัดซื้อให้อยู่ในวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน ข้อจำกัด • ทำให้เกิดความไม่คล่องตัวในการจัดซื้อ และในการดำเนินงาน • หากสภาพการณ์เปลี่ยนแปลงไป รายได้จัดซื้อที่มิได้รับอนุมัติอาจไม่สามารถจัดซื้อได้ หรือในทางกลับกัน รายการที่ได้รับอนุมัติจัดซื้อ แต่ไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน ก็จะทำให้เกิดความสิ้นเปลือง • ไม่สามารถพิจารณาถึงความคุ้มค่าหรือประสิทธิภาพของการดำเนินโครงการได้

  10. งบประมาณแบบแสดงผลงาน (Performance Budget) • ให้ความสำคัญกับผลงาน/ผลผลิต (Outputs) ที่จะได้รับจากการดำเนินโครงการต่างๆ โดยไม่สนใจว่าจะจัดซื้อวัสดุหรืออุปกรณ์อะไรบ้าง • คำถามหลักในการพิจารณางบประมาณ • จะได้ผลผลิต/ผลงานอะไร • ได้ผลผลิต/ผลงานเป็นจำนวนเท่าใด • ต้นทุนของผลผลิต/ผลงานต่อชิ้นเป็นเท่าใด • หลักการพื้นฐานของระบบงบประมาณแบบแสดงผลงานคือการเน้น “ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน (Management Efficiency)” หรือมีลักษณะของ “การตรวจสอบผลการดำเนินงาน (Post-audit)” • ข้อมูลที่จำเป็นในการพิจารณางบประมาณ ได้แก่ ข้อมูลต้นทุนต่อหน่วยในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ และจำนวนผลผลิต/ผลงานที่ดำเนินการได้ในอดีต

  11. งบประมาณแบบแสดงผลงาน (Performance Budget) (ต่อ) ข้อดี • ช่วยให้การพิจารณาจัดสรรงบประมาณก่อให้เกิดการใช้จ่ายเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ และคุ้มค่าโดยการจัดสรรตามต้นทุนต่อหน่วย • ช่วยให้ฝ่ายบริหารเกิดความคล่องตัวในการบริหารงานและการจัดซื้อวัสดุ-อุปกรณ์ที่มุ่งต่อการผลิตผลงาน ข้อจำกัด • ต้องใช้ข้อมูลที่แสดงถึงผลการดำเนินงานในอดีต ทั้งในด้านของจำนวนผลผลิต/ผลงาน และข้อมูลต้นทุนค่าใช้จ่าย • การพิจารณาถึง “ความคุ้มค่า” ของผลผลิต/ผลงานของโครงการต่างๆ อาจกระทำได้ลำบาก

  12. งบประมาณแบบมุ่งการวางแผน (PPB) • ให้ความสำคัญกับการวางแผนการดำเนินงานขององค์กรในระยะปานกลางถึงระยะยาวว่าจะมุ่งบรรลุเป้าหมายหรือผลสำเร็จประการใด • คำถามหลักในการพิจารณางบประมาณ • เพื่อให้บรรลุเป้าหมายระยะยาว จะต้องดำเนินโครงการใดและมีทางเลือกอื่นหรือไม่ • ผลงานที่ผลิตได้นำไปสู่การบรรลุเป้าหมายขององค์กรในระยะยาวได้อย่างไร • ความคืบหน้าของการดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในแต่ละปีเป็นอย่างไร • จะต้องดำเนินโครงการอะไรเพิ่มเติมเพื่อให้เป้าหมายที่กำหนดขึ้นบรรลุผลสำเร็จ • หลักการพื้นฐานคือการเน้น “การวางแผนพัฒนาในระยะยาว”หรือมีลักษณะ ที่ “มุ่งเชื่อมโยงจัดสรรทรัพยากร-การผลิตผลงาน-และเป้าหมายที่ต้องการบรรลุผล” • ข้อมูลที่จำเป็นในการพิจารณางบประมาณ ได้แก่ ข้อมูลนโยบาย/แผนงานในระยะยาว ข้อมูลการวิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุนของทางเลือกต่างๆ ข้อมูลติดตามความคืบหน้าของการดำเนินงานที่มุ่งบรรลุเป้าหมาย

  13. งบประมาณแบบมุ่งการวางแผน (PPB) (ต่อ) ข้อดี • ช่วยให้ตอบคำถามได้ว่าการจัดสรรงบประมาณในแต่ละปีจะตอบสนองต่อเป้าหมายในการพัฒนาองค์กรในระยะยาวได้อย่างไร • ช่วยให้เกิดการพิจารณาทางเลือกในการดำเนินการอย่างกว้างขวาง และมีการเลือกวิธีการดำเนินงานที่เหมาะสมที่สุด อันจะทำให้การใช้จ่ายเงินงบประมาณมีประสิทธิภาพและความคุ้มค่าได้สูงสุด ข้อจำกัด • ต้องใช้ข้อมูลและการวิเคราะห์เปรียบเทียบทางเลือกในการดำเนินการเป็นอย่างมาก จนอาจเกินกว่าขีดความสามารถและระยะเวลาของการดำเนินกิจกรรมนิสิต

  14. สรุปคุณลักษณะของระบบงบประมาณทั้งสามแบบสรุปคุณลักษณะของระบบงบประมาณทั้งสามแบบ

  15. ตัวอย่างการจัดสรรงบประมาณทั้งสามลักษณะ (1) Line-Item • โครงการปฐมนิเทศนิสิตใหม่ • หลักการและเหตุผล • รายการงบประมาณ • แบตเตอรี่ 100 ก้อน ราคา 5,000 บาท • กระดาษโปสเตอร์ 200 แผ่น ราคา 2,000 บาท • เชือก 30 ม้วน ราคา 1,000 บาท • ... ... • รวมงบประมาณทั้งสิ้น ราคา xxxx บาท

  16. ตัวอย่างการจัดสรรงบประมาณทั้งสามลักษณะ (2) Performance • โครงการปฐมนิเทศนิสิตใหม่ • หลักการและเหตุผล • จำนวนนิสิตใหม่ที่คาดว่าจะเข้าร่วมงาน xxxx คน • รายการงบประมาณ • กระดาษโปสเตอร์ ราคา 2,000 บาท • เชือก ราคา 1,000 บาท • ... ... • รวมงบประมาณทั้งสิ้น ราคา YYYY บาท • ต้นทุนในการจัดงานปฐมนิเทศต่อนิสิต เท่ากับ YYYY / XXXX บาท

  17. ตัวอย่างการจัดสรรงบประมาณทั้งสามลักษณะ (3) PPB • นโยบาย อบจ. / ชมรม คือ .................. • โครงการปฐมนิเทศนิสิตใหม่ • หลักการและเหตุผลของโครงการ • ทางเลือก ผลผลิต และงบประมาณในการดำเนินการ วิเคราะห์ความสอดคล้องกับนโยบาย

  18. PPB Performance Line-Item คำแนะนำสำหรับการเลือกใช้ระบบงบประมาณในกิจกรรมสโมสรนิสิต

  19. เหตุผลสนับสนุนให้ใช้ระบบงบประมาณแบบแสดงผลงานเหตุผลสนับสนุนให้ใช้ระบบงบประมาณแบบแสดงผลงาน • ส่งเสริมให้เกิดความคุ้มค่าและประสิทธิภาพของการใช้จ่าย และความคล่องตัวในการทำกิจกรรม • ดำเนินการได้ง่าย และไม่จำเป็นต้องใช้ข้อมูลมากนัก • สามารถดำเนินการได้ภายใต้ข้อจำกัดของการดำเนินกิจกรรมนิสิตในแต่ละปีการศึกษา ทั้งนี้ต้องพัฒนาระบบข้อมูลต้นทุนของกิจกรรมประเภทต่างๆ และสภานิสิตจะต้องเพิ่มบทบาทในการตรวจสอบผลงานที่ได้ดำเนินงานของ อบจ. และชมรมต่างๆ

  20. พักสักครู่

  21. การจัดองค์กรและการบริหารงานการจัดองค์กรและการบริหารงาน • โครงสร้างสภานิสิต • การบริหารงาน • ระบบปฏิบัติการ-ระบบสนับสนุน

  22. การจัดโครงสร้างองค์กรสภานิสิตการจัดโครงสร้างองค์กรสภานิสิต • แบ่งตามกลุ่มลูกค้า/กลุ่มที่รับบริการ (แบ่งตามฝ่ายต่างๆ ของ อบจ. และชมรม) • ข้อดี ทำให้การพิจารณางบประมาณของแต่ละกลุ่มมีความสอดคล้องกับลักษณะกิจกรรมของแต่ละกลุ่ม/ฝ่ายเป็นการเฉพาะ • ข้อจำกัด ทำให้ขาดมาตรฐานร่วมกันระหว่างฝ่าย • แบ่งตามหน้าที่ (หน้าที่ในการจัดสรรงบประมาณ, หน้าที่ในการตรวจสอบติดตามผล, หน้าที่ในการพิทักษ์สวัสดิภาพของนิสิตจุฬาฯ, ฯลฯ เป็นต้น) • ข้อดี ทำให้มีมาตรฐานในการทำหน้าที่ในแต่ละด้านไปในทิศทางเดียวกัน • ข้อจำกัด ขาดความยืดหยุ่นต่อกลุ่ม/ฝ่ายที่มีลักษณะกิจกรรมที่ต่างกัน

  23. การบริหารงานของสภานิสิตการบริหารงานของสภานิสิต • กำหนดบทบาทหน้าที่ให้ชัดเจน โดยอาจกำหนดร่วมกับสำนักงานนิสิตสัมพันธ์ อบจ. และชมรม • วางแผนการดำเนินงานตลอดทั้งปี เช่น • เดือน เม.ย. ถึง มิ.ย. เป็นช่วงเวลาพิจารณาโครงการประจำปี • เดือน ก.ค. ถึง ต.ค. เป็นช่วงเวลาประเมินผลโครงการช่วงที่ 1 • เดือน พ.ย. ถึง ก.พ. เป็นช่วงเวลาประเมินผลโครงการช่วงที่ 2 • เดือน มี.ค. เป็นช่วงสรุปผลงาน และเตรียมส่งมอบงาน • ให้ความสำคัญกับบทบาทหน้าที่ในด้านต่างๆ ของสภานิสิตให้ครอบคลุมและสมดุล ไม่ควรมุ่งเฉพาะด้านการพิจารณางบประมาณมากเกินไป • ควรมีการติดตามประเมินผลการดำเนินงานของสภานิสิตเป็นระยะ เช่น ทุก 3 เดือน ฯลฯ เป็นต้น

  24. การเตรียมระบบปฏิบัติสนับสนุนการดำเนินงานการเตรียมระบบปฏิบัติสนับสนุนการดำเนินงาน • พัฒนาระบบข้อมูลการจัดสรรงบประมาณ • ให้มีข้อมูลนโยบาย-โครงการ-ผลผลิต-งบประมาณ-ต้นทุน-ปัญหาอุปสรรค • พัฒนาระบบเครือข่ายการทำงานภายในสภานิสิต และระหว่างสภานิสิตกับ อบจ. และชมรม (เพื่อการติดตามงานและการสื่อสาร) • พัฒนาเครือข่ายในการทำงานร่วมกับสภานิสิต-นักศึกษากับสถาบันการศึกษาแห่งอื่น เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและการเรียนรู้จากกันและกัน

  25. แลกเปลี่ยนความคิดเห็นแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

  26. ติดต่อเพิ่มเติม • ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์คณะรัฐศาสตร์ ตึก 3 ชั้น 1(ภายในสถานศึกษารัฐวิสาหกิจ)โทร. 0-2218-7259E-mail: weerasak.k@chula.ac.th weerasakk@yahoo.com • เอกสาร Download ได้ที่http://www.polsci.chula.ac.th/weerasak/data/Services/sccu_April2548.ppt

More Related