1 / 12

ระบบสี และ การแสดงผลภาพ

ระบบสี และ การแสดงผลภาพ. หน่วยที่ 2. ระบบสีในคอมพิวเตอร์กราฟิก. แม่สีแสงทั้งสาม

amable
Télécharger la présentation

ระบบสี และ การแสดงผลภาพ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ระบบสี และ การแสดงผลภาพ หน่วยที่ 2

  2. ระบบสีในคอมพิวเตอร์กราฟิกระบบสีในคอมพิวเตอร์กราฟิก แม่สีแสงทั้งสาม วิธีการส่วนใหญ่ในการแสดงผลสีในเครื่องคอมพิวเตอร์จะใช้การนำตัวแปรของแม่สีแสงมาผสมเพื่อให้เกิดเป็นสีตัวอื่นๆ ซึ่งเป็นหลักการ ช่วงสีกระตุ้นทั้งสาม ซึ่งเป็นหลักการที่ว่าด้วยการรับรู้สีสันจากแสงสว่างที่เรามองเห็นด้วยตาเปล่า ทั้งนี้เป็นผลจากการผสมกันของแสงสีแดง แสงสีเขียว และ แสงสีน้ำเงิน (RGB) โดยมีอัตราส่วนความเข้มของแม่สีแต่ละตัวเป็นตัวแปรสำคัญทำให้ปรากฏสีสันต่าง ๆ ที่หลากหลายในธรรมชาติ แม่สีแสงในคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยสีแดงสีเขียว และ สีน้ำเงิน ( RGB )

  3. ระบบสีในคอมพิวเตอร์กราฟิกระบบสีในคอมพิวเตอร์กราฟิก แม่สีแสงทั้งสาม หากรวมสีที่มีค่าความเข้มสูงสุดเข้าด้วยกันก็จะได้ สีขาว และถึงแม้ว่าสี RGB จะเป็นแม่สีที่ถูกใช้กับคอมพิวเตอร์กราฟิกอย่างแพร่หลาย แต่สำหรับ ศิลปินและนักออกแบบมักคุ้นเคยกับกับการใช้ แม่สีชุด หรือที่เรียกว่า CMY ประกอบด้วย สีฟ้าอ่อนไชแอน ( Cyan )สีแดงม่วงมาเจนตา ( Magenta ) และ สีเหลือง( Yellow ) เนื่องจากแม่สีชุดเป็นแม่สีที่ดูดกลืนแสง ดังนั้นเมื่อนำมาผสมกันในอัตราส่วนเท่าๆ กัน จะทำให้ผิววัตถุแลดูเข้มลงจนดำคล้ำ ด้วยเหตุนี้ทำให้แม่สีชุดเป็นแม่สีที่ถูกนำไปใช้ในการสร้างสรรค์งานศิลปะ รวมทั้งเป็นแม่สีสำคัญสำหรับกระบวนการพิมพ์

  4. ระบบสีในคอมพิวเตอร์กราฟิกระบบสีในคอมพิวเตอร์กราฟิก แม่สีแสง และ แม่สีชุด • สีแดง RED • สีเขียว GREEN • สีน้ำเงิน BLUE • สีเหลือง YELLOW • สีฟ้าไชแอน CYAN • สีม่วงมาเจนตา MAGENTA • สีขาว WHITE

  5. สีสัน ความสว่าง และความอิ่มตัวของสี ความหลากหลายของสีสันที่เรามองเห็นในธรรมชาติ ล้วนเป็นผลมาจากองค์ประกอบของตัวแปรสำคัญ 3 ตัว คือ สีสัน ( Hue ) ค่าของสีที่มาจากการสะท้อนแสงของวัตถุที่มองเห็น เป็นตัวสีที่กำเนิดจากการผสมกันของแม่สี เกิดเป็นสีในระดับทุติยภูมิ ตติยภูมิ ฯลฯ องค์ประกอบตัวนี้ทำให้เรามองเห็นความต่างระหว่างสีแดง และ สีเขียว สีเหลือง และ สีม่วง สีสันเหล่านี้ถูกนำมาจัดระเบียบด้วยการสร้าง เป็นวงล้อสี

  6. สีสัน ความสว่าง และความอิ่มตัวของสี ความหลากหลายของสีสันที่เรามองเห็นในธรรมชาติ ล้วนเป็นผลมาจากองค์ประกอบของตัวแปรสำคัญ 3 ตัว คือ สว่าง การเปล่งแสง ( Luminance ) เป็นระดับความมืด และ ความสว่างที่ปรากฏในสีใดสีหนึ่ง ระดับที่สว่างที่สุดของทุกสี คือ สีขาว และ ระดับที่มืดที่สุด คือ สีดำ มืด

  7. สีสัน ความสว่าง และความอิ่มตัวของสี ความหลากหลายของสีสันที่เรามองเห็นในธรรมชาติ ล้วนเป็นผลมาจากองค์ประกอบของตัวแปรสำคัญ 3 ตัว คือ สีที่สดที่สุด ความอิ่มตัว ( Saturation ) เป็นระดับ ความสด และ ความหมองที่เกิดขึ้นจากการผสมกันระหว่างสีที่อยู่ตรงข้ามในวงล้อสี โดยระดับสีที่สดที่สุด คือ สีที่ไม่ถูกนำมาผสมเลย และ ระดับสีที่หมองที่สุดคือ สีที่ถูกผสมกันในอัตราส่วนครึ่งต่อครึ่ง ระหว่างสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงล้อสี สีที่หมองที่สุด สีที่สดที่สุด

  8. สีสัน ความสว่าง และความอิ่มตัวของสี องค์ประกอบทั้ง 3 ตัว เรียกรวมว่า ส่วนจำเพาะ เอชแอลเอส ( HLS Module ) ส่วนจำเพาะ เอชแอลเอส สามารถนำมาสร้างเป็น แบบจำลองรูปทรงกระบอกที่ ซ้อนกันสองชั้นซึ่งบรรจุค่า เนื้อสี ความสว่าง และ ความอิ่มตัวของสี โดยส่วนบนของกระบอกจะสว่างที่สุด และ ส่วนล่างจะมืดที่สุด เราจะพบว่าเมื่อองค์ประกอบทั้งสามถูกนำมาใช้ร่วมกันก็จะทำให้เกิดสีสันอื่นๆ ขึ้นมา

  9. สีสัน ความสว่าง และความอิ่มตัวของสี องค์ประกอบทั้ง 3 ตัว เรียกรวมว่า ส่วนจำเพาะ เอชแอลเอส ( HLS Module ) ตัวอย่าง เช่น หากพิจารณาเฉพาะแม่สีแดงจะพบว่าเมื่อทำสีแดงให้สว่างที่สุด สีแดงจะกลายเป็นสีขาว และเมื่อทำให้มืดที่สุด สีแดงจะกลายเป็นสีดำ เมื่อเงื่อนไขความอิ่มตัวของสีถูกนำมา ใช้ก็จะได้ระดับของสีแดงสดที่สุดจนถึง สีแดงที่หมองที่สุด เงื่อนไขเหล่านี้ถูกนำมาใช้กับสีทุกสีที่เกิดขึ้นจากการนำแม่สีแสงมาผสมกันในอัตราส่วนต่างๆ กัน เกิดเป็นสีสันต่างๆ ส่วนจำเพาะ เอชแอลเอส จึงเป็นการเปิดทางเลือกที่มากกว่าการใช้เพียงแม่สีแสง และแม่สีชุดสำหรับนักออกแบบ ในการสร้างภาพกราฟิก

  10. แม่สีลบ ( Subtractive color ) กรณีของแม่สีชุด เราจะพบว่าเมื่อนำแม่สีมาผสม จะทำให้สีแก่ทึบลงตามลำดับ เราจึงเรียกแม่สีชนิดนี้ว่า แม่สีลบ ( Subtractive color ) สีแต่ละสีจะได้จากการลบสีต่างๆ ออกไปจากระบบ ดังนั้น หากไม่มีการแสดงสีใดๆ จะแสดงผลเป็นสีขาว ขณะที่การแสดงสีทุกสี จะปรากฏเป็นสีดำ และสีหลัก หรือแม่สีของระบบนี้ จะประกอบด้วย สีฟ้า ( Cyan) สีม่วงแดง ( Magenta) และสีเหลือง ( Yellow) หรือระบบCMY เป็นระบบสีที่ใช้กับงานสิ่งพิมพ์ ซึ่งมักจะรวมเอาสีดำ มาเป็นแม่สีด้วย จึงเรียกว่าระบบ CMYK (Cyan, Magenta, Yellow, blacK) นั่นเอง ผลจากการพิมพ์ แสดงผลบนจอภาพ

  11. แม่สีบวก ( Additive color ) แม่สีบวก ( Additive color ) คือ ระบบการแสดงผลสีบนจอภาพ ซึ่งเกิดจากการผสมกันของแม่สีแสง หรือ แม่สีบวก นั่นเอง สีRGB นอกจากจะกล่าวถึงสีสามแชนเนลนี้ ยังมีอีกหนึ่งแชนเนลที่ถูกเพิ่มเข้าไปเป็นแชนเนลที่ 4 เพื่อใช้เก็บค่าความทึบสี ( Matte ) ซึ่งเป็นความทึบและโปร่งแสงของพิกเซลแต่ละตัวบนภาพบิตแมป ความทึบสีที่เกิดขึ้นกับพิกเซลแ ต่ละตัวจะช่วยทำให้รูปร่างของภาพบิตแมป แสดงขอบที่นุ่มนวลแลดู ไม่แข็งกระด้าง หรือ ในกรณี ที่ต้องการทำให้พื้นภาพ มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับ กระดาษแก้ว

  12. ช่วงสี และ การเปลี่ยนแปลงระบบสี สีสันที่เรามองเห็นล้วนมีช่วงที่ปรากฏความชัดเจนของสีแต่ละสีออกมาแตกต่างกัน ช่วงสี ( Color Gamut )เป็นความกว้างของระยะสีใดสีหนึ่งที่ปรากฏออกมาให้เรารับรู้ว่าเป็นสีนั้นได้ ในบรรดาสีที่เรามองเห็นทั้งหมด สีเหลือง มีช่วงสีที่กว้างที่สุด ทำให้เรามองเห็นวัตถุสีเหลืองได้แต่ไกล ในขณะที่สีน้ำเงินแก่ๆ อาจทำให้เรามองเห็นเป็นสีดำได้เนื่องจากสีน้ำเงินมีช่วงสีที่แคบกว่า การกล่าวถึงช่วงสีของแสงสว่างในธรรมชาติ จะหมายถึง สีสเปกตรัม ที่เรามักเรียกว่า สีรุ้ง ซึ่งความจริงแล้วสีแต่ละสีที่ปรากฏเป็นแถบรุ้งสี มิได้แบ่งออกเพียงแค่ 7 สี ตามที่คุ้นเคยกัน หากแต่มีช่วงความอ่อนแก่ของสีที่ปรากฏอกมา มากมายเกินกว่าจะนำมากำหนดเป็นชื่อได้ทั้งหมด

More Related