1 / 22

การบรรยายวินัยและการดำเนินการทางวินัย การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์

การบรรยายวินัยและการดำเนินการทางวินัย การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์. โดย สิบตำรวจโทพงษ์พันธ์ เป็งด้วง ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหวด อำเภองาว จังหวัดลำปาง น.บ. , รป.ม. , ศศ.ม. กรอบการบรรยาย. ความรู้พื้นฐาน วินัย ความหมาย และสาระบัญญัติ พร้อมตัวอย่าง การดำเนินการทางวินัย การอุทธรณ์

amora
Télécharger la présentation

การบรรยายวินัยและการดำเนินการทางวินัย การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การบรรยายวินัยและการดำเนินการทางวินัยการอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ โดยสิบตำรวจโทพงษ์พันธ์ เป็งด้วง ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหวด อำเภองาว จังหวัดลำปาง น.บ. , รป.ม. , ศศ.ม.

  2. กรอบการบรรยาย • ความรู้พื้นฐาน • วินัย ความหมาย และสาระบัญญัติ พร้อมตัวอย่าง • การดำเนินการทางวินัย • การอุทธรณ์ • การร้องทุกข์

  3. ความรู้พื้นฐาน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 1 บัญญัติว่า ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอัน เดียว จะแบ่งแยกมิได้ มาตรา 2 ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รัฐธรรมนูญให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐและการบริหารงานราชการแบบธรรมา ภิบาล และการประเมินผลสมฤทธิ์ของงานราชการ

  4. มาตรา 78 บัญญัติว่ารัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน ดังนี้ (1) บริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และความมั่นคงของประเทศอย่างยั่งยืน โดยต้องส่งเสริมการดำเนินการตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติในภาพรวมเป็นสำคัญ

  5. (2) จัดระบบการบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ให้มีขอบเขตอำนาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบที่ชัดเจน เหมาะสมแก่การพัฒนาประเทศ และสนับสนุนให้จังหวัดมีแผนและงบประมาณเพื่อพัฒนาจังหวัด เพื่อประโยชน์ของประชาชนในพื้นที่ (3) การกระจายอำนาจ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพึ่งตนเอง และตัดสินใจในกิจการของท้องถิ่นได้เอง ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ พัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่น และระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ตลอดทั้งโครงสร้างพื้นฐาน สารสนเทศในท้องถิ่นให้ทั่วถึง และเท่าเทียมกันทั่วประเทศ รวมทั้งพัฒนาจังหวัดที่มีความพร้อมให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนในจังหวัดนั้น

  6. (4) พัฒนาระบบงานภาครัฐ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพ คุณธรรม และจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ควบคู่ไปกับการปรับปรุงรูปแบบและวิธีการทำงาน เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและส่งเสริมให้หน่วยงานของรัฐใช้หลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีเป็นแนวทางการปฏิบัติราชการ (5)จัดระบบงานราชการและงานของรัฐอย่างอื่น เพื่อให้การจัดทำและการให้การบริการสาธารณะเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน ฯลฯ

  7. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่ แก้ไข มาตรา 4 บัญญัติให้จัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ดังนี้ (1)ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง (2)ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค (3)ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น

  8. การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง คือ การรวมอำนาจการ ตัดสินใจสั่งการของผู้บริหารประเทศตั้งแต่นายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม ตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดทั่วประเทศ การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค คือ การที่ผู้บริหารประเทศ กระทรวง ทบวง กรม มอบอำนาจบางอย่างบางประการให้ผู้แทนรัฐส่วนกลาง คือ จังหวัด กับอำเภอ นำภารกิจของรัฐ และนโยบายของรัฐบาลไปปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ดูแลให้มีการปฏิบัติและบังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย เพื่อความเรียบร้อยและเป็นธรรมในสังคม

  9. การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น คือ การกระจายอำนาจภารกิจบางภารกิจให้ท้องถิ่นกระทำภายใต้อำนาจหน้าที่ที่กฎหมายจัดตั้งท้องถิ่นกำหนด โดยมีอำนาจตัดสินใจในกิจการนั้นได้เอง และต้องรับผิดชอบผลของการกระทำนั้นด้วย ปัจจุบันมี 5 ประการ คือ อบจ. เทศบาล อบต. และรูปแบบพิเศษอีก 2 ประเภท คือ กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา

  10. สรุปความรู้พื้นฐาน - รัฐ กำหนดอำนาจหน้าที่ในการปกครองประเทศ - กำหนดการบริหารโครงสร้างประเทศ - กำหนดบุคคลทำหน้าที่ตามโครงสร้างที่กฎหมายกำหนดในแต่ละตำแหน่งในส่วนที่วางกรอบเพื่อให้การบริหารงานภาครัฐ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยกำหนดเป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติไว้หากบุคคลที่ทำหน้าที่แทนรัฐ ซึ่งเรียกว่าข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของรัฐไม่ทำตามที่กำหนดก็อาจผิดหลักเกณฑ์ที่ให้ปฏิบัติ ซึ่งเรียกว่า ผิดวินัยข้าราชการ นั่นเอง

  11. ตัวแบบการบริหารราชการแผ่นดินตัวแบบการบริหารราชการแผ่นดิน การบริหารราชการส่วนกลาง กระทรวง กรม ส่วนราชการต่างๆ ------กระจายอำนาจ สั่งการ มอบหมาย -สั่งการ -มอบหมาย -รายงานกลับ การบริหารราชการส่วนภูมิภาค การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น กำกับดูแล จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน อบจ. เทศบาล อบต. พิเศษ กทม. เมืองพัทยา ประชาชน

  12. วินัย คือ อะไร วินัย ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หมายถึง การอยู่ในระเบียบแบบแผนและข้อบังคับ ข้อปฏิบัติ ข้อบังคับ ชื่อปิฏกหนึ่งใน พระตรัยปิฏก หรือสิกขาบทของพระสงฆ์ คำว่า “วินัยพนักงานส่วนท้องถิ่น” แยกพิจารณาได้ 2 ความหมาย คือ 1. หมายถึง ระเบียบ กฎเกณฑ์ แบบแผน ความประพฤติที่ทางราชการ กำหนดให้พนักงานส่วนท้องถิ่น จะต้องยึดถือ หรือปฏิบัติ 2. ลักษณะเชิงพฤติกรรมที่พนักงานส่วนท้องถิ่นแสดงออกมาในทางที่ถูก ที่ควร เป็นการควบคุมตนเองให้แสดงพฤติกรรมที่ถูกระเบียบหลักเกณฑ์ หรือ แบบแผนที่ทางราชการกำหนดไว้

  13. ดังนั้น วินัยพนักงานส่วนท้องถิ่น ตามความหมายมาตรฐานทั่วไป จึงหมายถึงแบบแผนความประพฤติที่กำหนดให้พนักงานส่วนท้องถิ่นพึงควบคุมตนเอง และควบคุมผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาให้ประพฤติ หรือปฏิบัติ ตามที่กำหนดไว้

  14. ความสำคัญ วินัยพนักงานส่วนท้องถิ่นมีความสำคัญเป็นอันมาก ต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและรัฐบาลในการบริหารงาน เพราะพนักงานส่วนท้องถิ่น เป็นเจ้าหน้าที่ส่วนหนึ่งของรัฐบาลในการบริหารราชการซึ่งเข้าถึงประชาชนโดยตรง หากพนักงานส่วนท้องถิ่นมีวินัยไม่ดีพอ จะทำให้ประชาชนขาดความเชื่อถือ ศรัทธา อันจะส่งผลกระทบต่อการบริหารประเทศของรัฐบาลอย่างแน่นอน วินัยพนักงานส่วนท้องถิ่น เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การปฏิบัติราชการมีประสิทธิภาพ

  15. นอกจากมีความสำคัญต่อราชการเป็นส่วนรวมแล้ว ยังมีความสำคัญต่อตัวพนักงานส่วนท้องถิ่นและต่อผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นอีกด้วย กล่าวโดยสรุป คือ เพื่อประโยชน์ของราชการ เพื่อความเจริญ ความสงบเรียบร้อยของทางราชการ และเพื่อให้ราชการดำเนินไปด้วยดีมีประสิทธิภาพ

  16. วินัยพนักงานส่วนท้องถิ่นใช้กับใคร ? พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 3 บัญญัติว่าพนักงานส่วนท้องถิ่น หมายถึง ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด พนักงานเทศบาล พนักงานส่วนตำบล ข้าราชการกรุงเทพมหานคร พนักงานเมืองพัทยา และข้าราชการหรือพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฏหมายจัดตั้ง ประกอบกับ ประกาศคณะกรรมการกลาง พนักงานส่วนท้องถิ่น เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับพนักงานจ้าง ข้อ 48 กำหนดให้พนักงานจ้างของท้องถิ่นต้องรักษาวินัยโดยเคร่งครัด ตามประกาศที่คณะกรรมการพนักงานส่วนท้องถิ่นกำหนดไว้

  17. วินัยพนักงานส่วนท้องถิ่นมีอะไรบ้าง ? วินัยของพนักงานส่วนท้องถิ่น ปัจจุบันมีอยู่ 19 ข้อ กำหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกลาง เรื่องมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัย และการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย ฉบับลงวันที่ 22 สิงหาคม 2544 ให้พนักงานส่วนท้องถิ่นพึงยึดถือ เป็นแบบแผนในการควบคุมความประพฤติ ซึ่งพนักงานส่วนท้องถิ่นต้องรักษาวินัย ตามที่กำหนดเป็นข้อห้าม และข้อปฏิบัติโดยเคร่งครัดอยู่เสมอ ดังนี้

  18. ข้อ 2 พนักงานส่วนท้องถิ่นต้องสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัติย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยด้วยความบริสุทธิ์ใจ จุดมุ่งหมาย เพื่อให้พนักงานส่วนท้องถิ่นให้ความร่วมมือและร่วมใจกับ อปท. และรัฐบาลในการปกครองประเทศอย่างเต็มที่ ไม่ต่อต้านหรือฝักใฝ่ระบอบอื่น และยังเป็นคุณสมบัติข้อหนึ่งในการบรรจุเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น หากไม่สนับสนุนและเลื่อมใสก็บรรจุไม่ได้

  19. กฎหมายที่เกี่ยวข้อง 1.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2.พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วย การป้องกันและปราบปรามการ ทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไข(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 3. พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วย การตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 4. พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 5. พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 6. พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิด พ.ศ. 2539 7. พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540 8. พ.ร.บ.จัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละท้องถิ่น 9. พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ พ.ศ. 2542

  20. โทษทางวินัย 1. โทษทางวินัยของพนักงานส่วนท้องถิ่นมี 5 สถาน คือ 1.1 ภาคทัณฑ์ 1.2 ตัดเงินเดือน วินัยไม่ร้ายแรง ผบ.สอบเสร็จออกคำสั่งได้เลย 1.3 ลดขั้นเงินเดือน 1.4 ปลดออก 1.5 ไล่ออก รายงาน ก.จังหวัดเพื่อทราบ วินัยร้ายแรง ผบ.สอบเสร็จ - ไม่ร้ายแรง ออกคำสั่ง - ร้ายแรง รายงาน ก.จังหวัดขอความเห็นชอบก่อน ออกคำสั่งตาม มติ ก.จังหวัด

  21. 2. โทษทางวินัยของพนักงานจ้างมี 4 สถาน คือ 2.1 ภาคทัณฑ์ 2.2 ตัดค่าตอบแทน 2.3 ลดขั้นค่าตอบแทน 2.4 ไล่ออก

  22. 1. โทษสำหรับการกระทำผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ได้แก่ ไล่ออก ปลดออก ซึ่งหากมีเหตุลดหย่อน นำมาประกอบลดโทษได้ แต่ห้ามมิให้ลดโทษต่ำกว่าปลดออก 2. โทษสำหรับการกระทำผิดทางวินัยไม่ร้ายแรง ได้แก่ ลดขั้นเงินเดือน หรือตัดขั้นเงินเดือน หรือภาคทัณฑ์ 3. โทษสำหรับความผิดวินัยเพียงเล็กน้อย ได้แก่ ภาคทัณฑ์ และหากเป็นความผิดวินัยครั้งแรกจะลดโทษให้โดยว่ากล่าวตักเตือน หรือให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือไว้ก็ได้

More Related