1 / 16

ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ที่ตั้ง ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่ลุ่มน้ำ ภูมิอากาศ ปริมาณน้ำท่า-น้ำฝน

สำนักโครงการขนาดใหญ่ กรมชลประทาน. ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ที่ตั้ง ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่ลุ่มน้ำ ภูมิอากาศ ปริมาณน้ำท่า-น้ำฝน - ตารางเปรียบเทียบในกลุ่มลุ่มน้ำ ทรัพยากรดิน การใช้ประโยชน์ที่ดิน พื้นที่ทำการเกษตร. พื้นที่ที่มีศักยภาพพัฒนาระบบชลประทาน การประเมินความต้องการน้ำ ปัญหาของลุ่มน้ำ

Télécharger la présentation

ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ที่ตั้ง ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่ลุ่มน้ำ ภูมิอากาศ ปริมาณน้ำท่า-น้ำฝน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สำนักโครงการขนาดใหญ่ กรมชลประทาน ลุ่มน้ำเจ้าพระยา • ที่ตั้ง • ลักษณะภูมิประเทศ • พื้นที่ลุ่มน้ำ • ภูมิอากาศ • ปริมาณน้ำท่า-น้ำฝน - ตารางเปรียบเทียบในกลุ่มลุ่มน้ำ • ทรัพยากรดิน • การใช้ประโยชน์ที่ดิน • พื้นที่ทำการเกษตร. • พื้นที่ที่มีศักยภาพพัฒนาระบบชลประทาน • การประเมินความต้องการน้ำ • ปัญหาของลุ่มน้ำ • ด้านภัยแล้ง • แนวทางแก้ไข ส่วนอำนวยการและติดตามประเมินผล

  2. 10. ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ที่ตั้ง ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ตั้งอยู่ทางตอน กลาง ของประเทศไทย ครอบคลุมพื้นที่ 11 จังหวัด คือ นครสวรรค์ ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ และกรุงเทพฯ ลักษณะลุ่มน้ำวางตัวตามแนวเหนือ-ใต้ โดยมีทิศเหนือติดกับลุ่มน้ำปิง ยม และน่าน ทิศใต้ติดกับอ่าวไทย ทิศตะวันตกติดกับลุ่มน้ำท่าจีนและสะแกกรัง ส่วนทิศตะวันออกติดกับลุ่มน้ำป่าสักและบางปะกง รูปที่ 10-1 แสดงที่ตั้ง ลุ่มน้ำเจ้าพระยา

  3. ลักษณะภูมิประเทศ ตามรูปที่ 10-2 แม่น้ำเจ้าพระยามีจุดกำเนิดอยู่ที่ปากน้ำโพจังหวัดนครสวรรค์ โดยจะไหลจากทิศเหนือลงสู่อ่าวไทย ผ่านที่ราบภาคกลางในเขตจังหวัดนครสวรรค์และลพบุรี ซึ่งเป็นที่ราบสูงมีเนินเขาเป็นสันกั้นน้ำระหว่างลุ่มน้ำเจ้าพระยาและลุ่มน้ำป่าสัก ส่วนทางตอนล่างอยู่ในเขตจังหวัดสระบุรีและฉะเชิงเทรา เป็นที่ราบลาดเขาลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา และเป็นที่ราบชายฝั่งทะเลในเขตจังหวัดสมุทรปราการ ทางฝั่งตะวันตกของลุ่มน้ำ ตอนบนเป็นที่ราบและตอนล่างเป็นที่ราบลุ่ม ซึ่งมีเขตติดต่อกับลุ่มน้ำท่าจีนลาดลงไปจรดชายฝั่งทะเล รูปที่ 10-2 สภาพภูมิประเทศในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา

  4. พื้นที่ลุ่มน้ำ ลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีพื้นที่ที่ประมาณ 20,125 ตารางกิโลเมตร แบ่งออกเป็น 2 ลุ่มน้ำ ตามตารางที่ 10-1 และรูปที่ 10-3 แสดงลุ่มน้ำย่อย ตารางที่ 10-1 ขนาดของพื้นที่ลุ่มน้ำย่อย 10.02 10.03 รูปที่ 10-3 แสดงลุ่มน้ำย่อย พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา

  5. ภูมิอากาศ ข้อมูลภูมิอากาศที่สำคัญของลุ่มน้ำนี้ได้แสดงไว้แล้ว ซึ่งแต่ละรายการมีค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และค่าเฉลี่ยเป็นรายปี ตามตารางที่ 10-2 ตารางที่ 10-2 แสดงข้อมูลภูมิอากาศที่สำคัญ

  6. ปริมาณน้ำฝน ลุ่มน้ำเจ้าพระยามีปริมาณฝนผันแปรตั้งแต่ 800มิลลิเมตร จนถึง 1,600 มิลลิเมตร โดยมีปริมาณฝนทั้งปีเฉลี่ยประมาณ 1,083 มิลลิเมตร ลักษณะการผันแปรของปริมาณฝนรายเดือนเฉลี่ยได้แสดงไว้ ตามตารางที่ 10-3 และมีลักษณะการกระจายของปริมาณน้ำฝนของแต่ละลุ่มน้ำย่อย ตามรูปที่ 10-4 ตารางที่ 10-3 ปริมาณน้ำฝนและน้ำท่ารายเดือนเฉลี่ย รูปที่ 10-5 ปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยรายเดือนในแต่ละลุ่มน้ำย่อย รูปที่ 10-4 ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายเดือนในแต่ละลุ่มน้ำย่อย ปริมาณน้ำท่าลุ่มน้ำเจ้าพระยามีพื้นที่รับน้ำทั้งหมด 20,125 ตารางกิโลเมตร และมีปริมาณน้ำท่าตามธรรมชาติทั้งปีเฉลี่ยประมาณ 1,731.8 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามตารางที่ 10-3 หรือคิดเป็นปริมาณน้ำท่ารายปีเฉลี่ยต่อหน่วยพื้นที่รับน้ำฝน 2.73 ลิตร/วินาที/ตารางกิโลเมตร ตามรูปที่ 10-5 แลดงปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยรายเดือนในแต่ละลุ่มน้ำย่อย

  7. ตารางเปรียบเทียบ ปริมาณน้ำฝน - ปริมาณน้ำท่า

  8. ทรัพยากรดิน พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาสามารถจำแนกชนิดดินตามความเหมาะสมของการปลูกพืชออกได้ 4 ประเภท ซึ่งมีลักษณะการกระจายของกลุ่มดิน ตามรูปที่ 10-6 และแต่ละกลุ่มดินจะมีจำนวนพื้นที่ ตามตารางที่ 10-4 ตารางที่ 10-4 รูปที่ 10-6 การแบ่งกลุ่มดินจำแนกตามความเหมาะสมใช้ปลูกพืช

  9. 1) พื้นที่ทำการเกษตร.................... 84.62 % พืชไร่....................................... 23.76% ไม้ผล - ไม้ยืนต้น......................... 5.74 % ข้าว......................................... 69.86 % พืชผัก....................................... 0.64 % รูปที่ 10-7 การทำเกษตร 2) ป่าไม้.......................................... 2.33 % เขตอนุรักษ์พันธ์สัตว์ป่า............... - % อุทยานแห่งชาติ......................... - % พื้นที่ป่าอนุรักษ์............................ 100 % รูปที่ 10-8 พื้นที่ป่าไม้และเพื่อการอนุรักษ์ 3) ที่อยู่อาศัย................................. 9.64 % 4) แหล่งน้ำ.................................... 1.77 % 5) อื่นๆ.......................................... 1.64 % รูปที่ 10-9 การใช้ประโยชน์จากที่ดิน

  10. ลุ่มน้ำเจ้าพระยามีพื้นที่การเกษตรทั้งหมดประมาณ 17,30.18 ตารางกิโลเมตร และมีพื้นที่ที่เหมาะสมกับการเพาะปลูกพืชต่างๆ 13,016 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 76.43 พื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกข้าว 9,610.97 ตารางกิโลเมตร (73.84%) พื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกพืชผัก 32.57 ตารางกิโลเมตร ( 0.25%) พื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกพืชไร่ 2,866.88 ตารางกิโลเมตร (22.02%) พื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกไม้ผล-ไม้ยืนต้น 505.80 ตารางกิโลเมตร( 3.89%) รูปที่ 10-10 การใช้ประโยชน์ที่ดินหลักด้านการเกษตร พื้นที่ที่เหมาะสมกับการเพาะปลูก ส่วนใหญ่จะอยู่ทางบริเวณที่ราบลุ่มน้ำทั้งตอนบนและตอนล่างเกือบทั้งหมด และบริเวณตอนล่างของลุ่มน้ำบางส่วน ซึ่งรวมกันแล้วประมาณร้อยละ 64.86 ของพื้นที่ทั้งลุ่มน้ำ ในการทำการเกษตรพบว่า การใช้พื้นที่เพาะปลูกพืช ส่วนใหญ่จะเป็นการปลูกพืชไร่ และไม้ผล-ไม้ยืนต้นบนพื้นที่ที่ไม่มีความเหมาะสม ส่วนข้าวและพืชผักได้ปลูกบนพื้นที่ที่มีความเหมาะสมอยู่แล้ว

  11. พื้นที่ที่มีศักยภาพพัฒนาระบบชลประทานพื้นที่ที่มีศักยภาพพัฒนาระบบชลประทาน พื้นที่ที่มีศักยภาพสำหรับการพัฒนาระบบชลประทานในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณที่ราบลุ่มน้ำตอนกลางเกือบทั้งหมด และบริเวณตอนบนและตอนล่างของลุ่มน้ำบางส่วน โดยมีพื้นที่ทั้งรวมทั้งสิ้น 9,104.09 ตารางกิโลเมตร และคิดเป็นร้อยละ 69.94 ของพื้นที่การเกษตรที่เหมาะสมกับการเพาะปลูก หรือร้อยละ 53.46 ของพื้นที่การเกษตรทั้งหมด ตารางที่ 10-5 ตารางเปรียบเทียบพื้นที่การเกษตรกับพื้นที่ที่มีศักยภาพสำหรับพัฒนาระบบชลประทาน

  12. การประเมินความต้องการน้ำการประเมินความต้องการน้ำ จากการศึกษาด้านเศรษฐกิจและสังคม ได้คาดคะเนอัตราการเจริญเติบโตของประชากรทั้งที่อยู่อาศัยในเขตเมือง และนอกเขตเมืองรวมทั้งความต้องการน้ำสำหรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม ช่วงปี 2544-2564 สรุปได้ตามรูปที่ 10-10 ชลประทาน ปริมาณน้ำ (ล้าน ลบ.ม.) รักษาระบบนิเวศ อุปโภค - บริโภค อุตสาหกรรม รูปที่ 10-10 สรุปแนวโน้มความต้องการใช้น้ำแต่ละประเภท

  13. ปัญหาของลุ่มน้ำ • ด้านอุทกภัย สภาพการเกิดอุทกภัยในลุ่มน้ำนี้ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ∶ 1) อุทกภัยที่เกิดในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำตอนบนและลำน้ำสาขา จะเกิดจากการที่มีฝนตกหนักในบริเวณต้นน้ำ ทำให้น้ำป่าไหลหลากลงมามากจนลำน้ำสายหลักไม่สามารถระบายน้ำได้ทัน เนื่องจากสภาพพื้นที่ป่าไม้ต้นน้ำตอนบนถูกทำลาย รวมทั้งขาดแหล่งเก็บกักน้ำขนาดใหญ่ในพื้นที่ลุ่มน้ำตอนบนเพื่อช่วยชะลอน้ำหลาก พื้นที่ที่เกิดน้ำท่วมได้แก่ อำเภอท่าตะโก และอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ 2) อุทกภัยที่เกิดในพื้นที่ราบลุ่ม เกิดจากความสามารถในการระบายน้ำของแม่น้ำสายหลักไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากลำน้ำตื้นเขิน หรือมีการบุกรุกปลูกสิ่งก่อสร้างกีดขวางทางน้ำ พื้นที่ที่เกิดน้ำท่วมลักษณะนี้เป็นประจำได้แก่ อำเภอโคกสำโรง อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี อำเภอวิเศษชัยชาญ อำเภอโพธิ์ทอง อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี อำเภอบางบัวทอง อำเภอบางใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี และอำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ

  14. ปัญหาภัยแล้งเกิดจากภาวะฝนทิ้งช่วงยาวนาน ทำให้พื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทานเกิดความแห้งแล้ง ขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภค และการทำเกษตรรวมถึงการใช้น้ำในกิจกรรมอื่นๆด้วย ตามข้อมูล กชช.2ค. ปี 2542 หมู่บ้านในลุ่มน้ำนี้มีทั้งหมด 5,855 หมู่บ้านพบว่า มีหมู่บ้านที่ขาดแคลนน้ำทั้งหมด 2,335 หมู่บ้าน (ร้อยละ 39.88) โดยแยกเป็นหมู่บ้านที่ขาดแคลนน้ำเพื่อทำการเกษตร 1,504 หมู่บ้าน(ร้อยละ 25.69)และหมู่บ้านที่ขาดแคลนน้ำทั้งเพื่อการอุปโภค-บริโภคและการเกษตร 831 หมู่บ้าน (ร้อยละ14.19) หมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ 470 หมู่บ้าน หรือคิดเป็นร้อยละ 20.13 ของหมู่บ้านที่ประสบปัญหาภัยแล้งทั้งหมด หมู่บ้านที่มีน้ำอุปโภค-บริโภค แต่ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร หมู่บ้านที่ขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภค และน้ำเพื่อการเกษตร รูปที่ 10-10 แสดงลักษณะการกระจายตัวของหมู่บ้านที่ประสบปัญหาภัยแล้ง

  15. แนวทางการแก้ไข ปัญหาการเกิดอุทกภัย และภัยแล้งในลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีลักษณะคล้ายกับพื้นที่ลุ่มน้ำอื่นๆ คือการผันแปรของปริมาณน้ำฝน ส่งผลให้เกิดความแห้งแล้งในช่วงที่ฝนทิ้งช่วง ในทางกลับกันเมื่อมีฝนตกหนักก็ทำให้เกิดน้ำไหลหลากท่วมพื้นที่อยู่อาศัย และพื้นที่การเกษตร การแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงมีแนวทางแก้ไขในภาพรวมโดยสรุปดังนี้ 1) เนื่องจากลุ่มน้ำเจ้าพระยาไม่มีลำน้ำสาขาขนาดใหญ่ จึงควรมีการพัฒนาโครงการขนาดกลางและขนาดเล็กในพื้นที่ตอนบนของลำน้ำสาขา 2) เพิ่มประสิทธิภาพ หรือขีดความสามารถกระจายน้ำให้ทั่วถึง 3) ปรับปรุงประสิทธิภาพการระบายน้ำ 4) ปรับปรุงฝาย ประตูระบายน้ำ สะพาน ท่อลอดถนน ให้มีความสามารถในการระบายน้ำที่เพียงพอ 5) ก่อสร้างถังเก็บน้ำ สระเก็บน้ำประจำไร่นา ฯลฯ ในพื้นที่อยู่ห่างไกลจากแหล่งน้ำ / นอกเขตชลประทานตามความเหมาะสมของพื้นที่ _________________________

More Related