1 / 25

ผลิตภาพสินเชื่อของครัวเรือนเกษตรภาคเหนือ

ผลิตภาพสินเชื่อของครัวเรือนเกษตรภาคเหนือ. อันติมา แสงสุพรรณ ส่วนวิจัยเศรษฐกิจสังคมครัวเรือนและสถาบันเกษตรกร สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. ที่มาและความสำคัญ. ครัวเรือนภาคเกษตรเป็นหน่วยเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ ( 30 % ของครัวเรือนทั้งประเทศ)

anja
Télécharger la présentation

ผลิตภาพสินเชื่อของครัวเรือนเกษตรภาคเหนือ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ผลิตภาพสินเชื่อของครัวเรือนเกษตรภาคเหนือผลิตภาพสินเชื่อของครัวเรือนเกษตรภาคเหนือ อันติมา แสงสุพรรณ ส่วนวิจัยเศรษฐกิจสังคมครัวเรือนและสถาบันเกษตรกร สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

  2. ที่มาและความสำคัญ • ครัวเรือนภาคเกษตรเป็นหน่วยเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ (30% ของครัวเรือนทั้งประเทศ) • เกษตรกรเผชิญกับปัญหาหลายอย่าง เช่น ปัญหาขาดแคลนที่ดินทำกิน ราคาผลผลิตตกต่ำ สภาพอากาศที่ผันผวน ต้นทุนการผลิตและราคาปัจจัยการผลิตสูง ภาระหนี้สินสะสม และขาดแคลนเงินทุนหมุนเวียนสำหรับปีเพาะปลูกใหม่ • ความต้องการใช้เงินทุนของเกษตรกรเพื่อการเพาะปลูกและใช้จ่ายในครัวเรือน --> กู้ยืมสินเชื่อจากแหล่งเงินทุน

  3. ที่มาและความสำคัญ (ต่อ) การกู้ยืมสินเชื่อของครัวเรือนเกษตรมีความสำคัญและจำเป็นต่อการผลิตภาคเกษตร เนื่องจากเป็นการกระตุ้นให้ครัวเรือนเกษตรปรับปรุงรูปแบบกิจกรรมการผลิต เพิ่มผลิตภาพทางการเกษตร เพิ่มรายได้ และปรับปรุงแก้ไขประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

  4. ที่มาและความสำคัญ(ต่อ)ที่มาและความสำคัญ(ต่อ) • เกษตรกรทุกภาคมีการเปลี่ยนแปลงรายได้เกษตรสุทธิในอัตราที่น้อยกว่าการเปลี่ยนแปลงของหนี้สิน (เกษตรกรในภาคเหนือมีอัตราการเพิ่มขึ้นของรายได้เกษตรสุทธิประมาณร้อยละ 4.97 ต่อปี) • อัตราการเปลี่ยนแปลงของหนี้สินครัวเรือนภาคเกษตรเพิ่มขึ้นเป็น 29.11% เมื่อเทียบกับปี 2554 กลายเป็นปัญหาหนี้สินครัวเรือนภาคเกษตรเรื้อรัง • ภาระหนี้สินของครัวเรือนภาคเกษตรสามารถส่งผลต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจของประเทศไทย และอัตราการเพิ่มขึ้นของหนี้สินครัวเรือนเกษตร มากกว่า การเพิ่มขึ้นของทรัพย์สินทางการเกษตร

  5. ที่มาและความสำคัญ(ต่อ)ที่มาและความสำคัญ(ต่อ) ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร(2557)

  6. ที่มาและความสำคัญ(ต่อ)ที่มาและความสำคัญ(ต่อ) ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร(2557)

  7. วัตถุประสงค์ • เพื่อศึกษาปัจจัยที่กำหนดการตัดสินใจกู้ยืมสินเชื่อของครัวเรือนเกษตรภาคเหนือ • เพื่อศึกษาผลิตภาพสินเชื่อของครัวเรือนเกษตรภาคเหนือ

  8. ประโยชน์ที่จะได้รับ • โอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อกู้ยืมสินเชื่อของครัวเรือนเกษตร ช่วยให้เกษตรกรใช้เงินทุนจากสินเชื่อให้เกิดประโยชน์แก่ครัวเรือนเกษตรในการพัฒนาและปรับปรุงการผลิตเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน ตลอดจนเป็นการสะสมเงินทุนในอนาคต เพื่อพัฒนาเกษตรกรเข้าสู่การเป็นเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) • เป็นข้อมูลในการพิจารณากำหนดนโยบาย/มาตรการการใช้สินเชื่อเพื่อการเกษตรของครัวเรือนเกษตรเพื่อพัฒนาผลิตภาพการผลิตและขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดภาคเกษตรให้ได้ผลในระยะยาวตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และลดภาระหนี้สินที่มีอยู่และนำไปสู่การพึ่งพาตนเองได้ในที่สุด

  9. ขอบเขตการศึกษา • พื้นที่ศึกษาทางภาคเหนือ 3 จังหวัดภาคเหนือ (เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน) • ครัวเรือนเกษตรที่มีการกู้ยืมสินเชื่อจากแหล่งเงินทุนทั้งในและนอกระบบ

  10. วิธีการศึกษา สถิติเชิงพรรณนา อธิบายลักษณะทั่วไปของครัวเรือนเกษตร ลักษณะฟาร์ม กิจกรรมการผลิตของครัวเรือนเกษตร รายได้-รายจ่ายทางการเกษตรและนอกการเกษตร การใช้จ่ายเงินทุนครัวเรือน ลักษณะการกู้ยืม ขนาดของสินเชื่อ สถิติเชิงอนุมาน วิเคราะห์และสรุปข้อมูลโดยอ้างอิงจากค่าสถิติของกลุ่มตัวอย่าง จากการประมาณค่าทางสถิติโดยวิธี Probit Maximum Likelihood และ สมการถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression) โดยใช้วิธีการ OLS

  11. วิธีการศึกษา (ต่อ) ข้อมูลปฐมภูมิ สัมภาษณ์ข้อมูลภาวะเศรษฐกิจสังคมครัวเรือนและแรงงานเกษตร ปีเพาะปลูก 2555/56 ข้อมูลกิจกรรมการผลิตของครัวเรือนเกษตร และ การกู้ยืมสินเชื่อจากทั้งในและนอกระบบในปี 2556 ข้อมูลทุติยภูมิ อ้างอิงจากข้อมูลภาวะเศรษฐกิจสังคมและแรงงานเกษตรปี 54/55 ข้อมูลจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธกส.) และ เอกสารวิชาการและบทความของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  12. วิธีการศึกษา (ต่อ)

  13. วิธีการศึกษา (ต่อ) สมการที่ 1 Pr (credit borrowing in 2013 = 1 | x) = F( household size, head household age, headhousehold age2, year of education, water sufficiency, d_rice, d_fcrop, d_veg, d_fruit, d_mixed, liquidity)

  14. วิธีการศึกษา (ต่อ) • ขนาดครัวเรือน (hh_size) • อายุของหัวหน้าครัวเรือนเกษตร (hhh_age) • อายุของหัวหน้าครัวเรือนเกษตรยกกำลัง2 (hhh_age2 ) • จำนวนปีการศึกษาของหัวหน้าครัวเรือนเกษตร (yr_educ) • สภาพคล่องทางการเงินของครัวเรือนเกษตร (liquidity) • ประเภทฟาร์ม ได้แก่ ข้าว (d_rice) พืชไร่ (d_fcrop) พืชผัก (d_veg) ไม้ผลและไม้ยืนต้น (d_fruit) ปศุสัตว์และประมง (d_lvstk) เกษตรผสมผสาน (d_mixed) ปัจจัยที่กำหนดการตัดสินใจกู้ยืมสินเชื่อของครัวเรือนเกษตรตัวอย่าง • ความเป็นไปได้ของการตัดสินใจกู้ยืมสินเชื่อของครัวเรือนเกษตรตัวอย่าง

  15. วิธีการศึกษา (ต่อ) สมการที่ 2 • Log agricultural income = F(credit predict, farm experience, obstacle, farm plot, activity, data management, savings, water sufficiency, training)

  16. วิธีการศึกษา (ต่อ) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของรายได้ทางเกษตรของครัวเรือนเกษตรตัวอย่าง • ความเป็นไปได้ในการกู้ยืมสินเชื่อของครัวเรือนเกษตร (credit_predict) • ประสบการณ์ในภาคเกษตร (f_exp) • เนื้อที่เพาะปลูก (farm plot) • อุปสรรค/ปัญหาในการทำเกษตร (obstacle) • พฤติกรรมการออมเงินของครัวเรือนเกษตร (d_saving) • พฤติกรรมการจัดการและเก็บข้อมูล (d_data) • จำนวนกิจกรรมการเกษตร (activity) • การฝึกอบรมด้านการเกษตร (training) • การมีแหล่งน้ำที่เพียงพอต่อการเพาะปลูก(water sufficiency) • รายได้ทางการเกษตร • (Agricultural income)

  17. ผลการศึกษา สมการที่ 1: ตัวแปรตาม คือการตัดสินใจกู้ยืมสินเชื่อของครัวเรือนเกษตรตัวอย่าง

  18. ผลการศึกษา (ต่อ) สมการที่ 1: ตัวแปรตาม คือการตัดสินใจกู้ยืมสินเชื่อของครัวเรือนเกษตรตัวอย่าง

  19. ผลการศึกษา (ต่อ) สมการที่ 2: ตัวแปรตาม คือ รายได้ทางการเกษตร [log (agricultural income)]

  20. ผลการศึกษา (ต่อ) สมการที่ 2: ตัวแปรตาม คือ รายได้ทางการเกษตร [log (agricultural income)]

  21. สรุปผลการศึกษา • สินเชื่อที่เกษตรกรกู้ยืมส่งผลกระทบเชิงบวกต่อรายได้ทางการเกษตร แสดงให้เห็นถึงการนำเอาสินเชื่อที่กู้ยืมมาลงทุนในภาคเกษตรเป็นสัดส่วนมากกว่าการใช้จ่ายอื่นๆ • การเปลี่ยนแปลงของรายได้ทางการเกษตรถูกกระทบในเชิงบวกโดยปัจจัยเสริมบางปัจจัย ได้แก่ ประสบการณ์ด้านการเกษตรของเกษตรกร เนื้อที่เพาะปลูก การมีเงินออม การจัดการข้อมูล จำนวนกิจกรรมการเกษตร รวมไปถึงอุปสรรค หรือปัญหาทางด้านสภาพอากาศและตลาดขายผลผลิต ในขณะที่การมีแหล่งน้ำที่เพียงพอและการอบรมด้าน การเกษตรซึ่งส่งผลกระทบเชิงลบต่อระดับรายได้ทาง การเกษตร

  22. สรุปผลการศึกษา (ต่อ) • ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจกู้ยืมสินเชื่อการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ขนาดของครัวเรือน อายุของหัวหน้าครัวเรือน การมีแหล่งน้ำที่เพียงพอต่อการเพาะปลูก โดยเฉพาะประเภทกิจกรรมการเกษตรของแต่ละครัวเรือนเกษตร หรือ ประเภทฟาร์ม • อย่างไรก็ตาม ครัวเรือนเกษตรที่มีสภาพคล่องทางการเงินดี และ หัวหน้าครัวเรือนเกษตรมีระดับการศึกษาสูง ส่งผลให้ครัวเรือนนั้นๆ ตัดสินใจที่จะไม่กู้ยืมสินเชื่อมาใช้เพื่อการลงทุนการเกษตร หรือ เพื่อเป็นเงินหมุนเวียนเพิ่มเติมภายในครัวเรือน

  23. ข้อเสนอแนะ การปรับปรุงด้านมาตรการ นโยบาย และการจัดการเรื่องการกู้ยืม รวมทั้งการติดตามการชำระหนี้ตามกำหนด สนับสนุนการกระตุ้นให้เกิดการใช้เงินกู้ตามวัตถุประสงค์ในด้านการเกษตร ตลอดจนการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร เพื่อลดภาระหนี้สินสะสมของครัวเรือนเกษตร การใช้จิตวิทยาเชิงบวกกับเกษตรกรในการทำบัญชีครัวเรือนและการออมเงิน เพื่อให้เกษตรกรเกิดกำลังใจและความอยากที่จะลงมือทำ การจัดการองค์ความรู้แบบบูรณาการ ข้อมูลข่าวสาร รวมถึงการถ่ายทอดความรู้ด้านการผลิตและการตลาดที่เหมาะสมแก่เกษตรกร อย่างต่อเนื่องและทั่วถึง

  24. ข้อเสนอแนะ(ต่อ) ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชที่หลากหลายและแตกต่างโดย เปลี่ยนจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยว (Monoculture)สู่การปลูกพืชแบบผสมผสาน (Integrated Farming) หรือ ควรมีการปลูกพืชหมุนเวียน (Crop Rotation) การติดตามและประเมินผลหลังมีโครงการอบรมด้านความรู้ทางการเกษตร การเข้าถึงของเกษตรกรและชุมชนในการจัดการฐานทรัพยากร ได้แก่ ที่ดิน แหล่งน้ำ ความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นต้น

  25. Any questions?

More Related