1 / 66

คู่มือปฏิบัติงานข้าราชการ พลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา

คู่มือปฏิบัติงานข้าราชการ พลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา. เสถียร คามีศักดิ์ บุคลากรเชี่ยวชาญ 9 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ผลงานที่แสดงความเป็นผู้ชำนาญการ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้เชี่ยวชาญพิเศษ 1. คู่มือปฏิบัติงาน 2. บทความทางวิชาการ หรือ 3. งานวิจัย หรืองานวิเคราะห์ หรือ

archana
Télécharger la présentation

คู่มือปฏิบัติงานข้าราชการ พลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. คู่มือปฏิบัติงานข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาคู่มือปฏิบัติงานข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา เสถียร คามีศักดิ์ บุคลากรเชี่ยวชาญ 9 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

  2. ผลงานที่แสดงความเป็นผู้ชำนาญการ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้เชี่ยวชาญพิเศษ 1. คู่มือปฏิบัติงาน 2. บทความทางวิชาการ หรือ 3. งานวิจัย หรืองานวิเคราะห์ หรือ 4. ตำรา หรือหนังสือ หรือ 5. ผลงานแปล หรือ 6. ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น

  3. คู่มือปฏิบัติงาน เอกสารที่ใช้ประกอบการปฏิบัติงานใดงานหนึ่งที่กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง (Job description) =JD -คำบรรยายงานที่ปฏิบัติ -ประวัติความเป็นมา -ภาระหน้าที่ความรับผิดชอบ

  4. -แผนกลยุทธ์การปฏิบัติงาน-แผนกลยุทธ์การปฏิบัติงาน -ตัวชี้วัด -การประเมินผล -บท/เรื่อง/หัวข้อ -ความคิดหลัก/วัตถุประสงค์ -เนื้อหาสาระ สมบูรณ์ ครอบคลุม กฎ ระเบียบ พ.ร.บ. หนังสือเวียน มติ แนวปฏิบัติ(แผนปฏิบัติงาน (PDCA)

  5. -ปัญหา อุปสรรค -แนวทางแก้ไข ข้อเสนอแนะ -ใช้ประกอบการปฏิบัติงานมาแล้ว -ทำรูปเล่ม

  6. ตำรา เอกสารทางวิชาการ ที่ได้เรียบเรียงอย่างเป็นระบบ เขียนเพื่อตอบสนองเนื้อหาของงานที่ปฏิบัติหรือส่วนหนึ่งของงานที่ปฏิบัติ โดยมีการวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้ที่เกี่ยวข้องและสะท้อนให้เห็นความสามารถในการถ่ายทอดหลักวิชาการและวิชาชีพ

  7. หนังสือ เอกสารทางวิชาการที่เขียนขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้ไปสู่วงวิชาการหรือวิชาชีพและหรือผู้อ่านทั่วไป เป็นเอกสารที่เรียบเรียงขึ้นอย่างมีเอกภาพมีรากฐานทางวิชาการที่มั่นคงและให้ทัศนะของผู้เขียนที่สร้างเสริมปัญญาความคิดและสร้างความแข็งแกร่งทางวิชาชีพนั้น ๆ และสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง

  8. งานวิจัย/วิเคราะห์ งานค้นคว้าอย่างมีระบบและมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล หลักการหรือข้อมูลสรุปรวมที่จะนำไปสู่ความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้ มีลักษณะเป็นเอกสารที่มีระเบียบวิธีวิจัยที่เหมาะสมกับธรรมชาติของวิชาชีพ

  9. งานวิจัยสถาบัน • วิจัยเกี่ยวกับสถาบันหรือหน่วยงานของตนเอง • เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการปรับปรุงตนเองอย่างต่อเนื่อง (Continuous self Improvement) • เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาองค์กร (Organization Development ) • เป็นเครื่องมือบริหารที่สนับสนุนการตัดสินใจ

  10. ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่นผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ผลงานที่เป็นสิ่งประดิษฐ์หรืองานสร้างสรรค์ (เครื่องทุ่นแรง วัคซีน สิ่งก่อสร้าง ผลงานด้านศิลปะฯ ผลงานดังกล่าวอาจบันทึกเป็นภาพยนต์หรือแถบเสียงก็ได้

  11. ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่นผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น รวมถึงงานแปลจากตัวงานต้นแบบที่เป็นงานวรรณกรรมหรืองานด้านปรัชญา หรือประวัติศาสตร์ หรือวิทยาการสาขาที่มีความสำคัญและทรงคุณค่าในสาขานั้น ๆซึ่งเมื่อนำมาแปลแล้วจะเป็นการเสริมความกว้าหน้าทางวิชาชีพที่ประจักษ์ เป็นการแปลจากภาษาต่างประเทศหรือแปลจากภาษาต่างประเทศเป็นภาษาต่างประเทศอีกภาษาหนึ่ง

  12. ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่นผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น การเสนอผลงานต้องประกอบด้วยคำอธิบายที่ใช้ให้เห็นว่างานดังกล่าวทำให้เกิดความกว้าหน้าทางวิชาชีพหรือเสริมสร้างองค์ความรู้ หรือให้วิธีการที่จะเป็นประโยชน์ต่อสาขาวิชาชีพนั้น และแสดงถึงความสามารถในการบุกเบิกในสาขาวิชาชีพนั้น สำหรับผลงานที่มุ่งเชิงปฏิบัติจะต้องผ่านการพิสูจน์หรือมีหลักฐานรายละเอียดต่างๆ ประกอบแสดงให้เห็นคุณค่าของผลงาน

  13. บทความทางวิชาการ งานเขียนซึ่งมีการกำหนดประเด็นที่ชัดเจนมีการวิเคราะห์ ประเด็นดังกล่าวตามหลักวิชาการ และมีการสรุปประเด็น อาจเป็นการนำความรู้จากแหล่งต่าง ๆ มาสังเคราะห์ โดยที่ผู้เขียนสามารถให้ทัศนะทางวิชาการและวิชาชีพของตนได้อย่างชัดเจน

  14. เกณฑ์ในการประเมินคู่มือการปฏิบัติงาน • ประเด็นหลักที่สำคัญ 7 ประการ คือ • ความถูกต้องและความทันสมัยของเนื้อหา • - ต้องถูกต้องตามหลักวิชา • -หลักการปฏิบัติงานของสาขานั้น • -ความถูกต้องนั้นเป็นที่ยอมรับกันว่าถูกต้องในปัจจุบัน

  15. เกณฑ์ในการประเมินคู่มือการปฏิบัติงาน (ต่อ) • ความสมบูรณ์และความลึก • -บท ตอน เรื่อง หัวข้อ • - มีคำอธิบาย ขยายหลักวิชา หลักการปฏิบัติงาน • -หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข • -กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หนังสือเวียน มติ งานวิจัย เอกสารอื่น ๆ • -ตัวอย่าง

  16. เกณฑ์ในการประเมินคู่มือการปฏิบัติงาน (ต่อ 3. รูปแบบ -การกั้นหน้า กั้นหลัง ด้านบน ด้านล่าง ตัวอักษร หัวข้อหลัก หัวข้อรอง - คำนำ สารบัญ ภาพประกอบ -การอ้างอิง -บรรณานุกรม -ภาคผนวก

  17. เกณฑ์ในการประเมินคู่มือการปฏิบัติงาน (ต่อ • จัดเรียงลำดับเนื้อหา • -ลำดับขั้นตอน/ลำดับกระบวนการ • -เข้าใจง่าย • -กลมกลืน ราบรื่น

  18. เกณฑ์ในการประเมินคู่มือการปฏิบัติงาน (ต่อ 5. ความเหมาะสม ความถูกต้องการใช้ภาษา -สำนวนในการเขียน -แบบแผนภาษาเขียน -ศัพท์บัญญัติ -สื่อความหมาย

  19. เกณฑ์ในการประเมินคู่มือการปฏิบัติงาน (ต่อ 6. การเสนอแนวคิดของตนเอง -สอดแทรกความคิดของตนเอง -ข้อวิพากษ์ วิจารณ์ วิเคราะห์ -ข้อเสนอแนะ

  20. เกณฑ์ในการประเมินคู่มือการปฏิบัติงาน (ต่อ 7. คุณค่า ประโยชน์ -ประโยชน์? -ความเชื่อถือ? -ใช้อ้างอิง ศึกษา ค้นคว้า ?

  21. แนวทางการเขียนคู่มือปฏิบัติงานแนวทางการเขียนคู่มือปฏิบัติงาน ขั้นที่ 1 วิเคราะห์งานที่ปฏิบัติ ขั้นที่ 2 วิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุ ขั้นที่ 3 วิเคราะห์แนวทางแก้ไข ขั้นที่ 4 ขั้นวางแผนกำหนดโครงร่าง(Outline)

  22. ขั้นที่ 1 วิเคราะห์งาน 1.1 งานอะไรบ้างที่ทำ 1.2 ขั้นตอน (Flow Chart) 1.3 ปัจจัยที่ใช้ (Input) 1.4 หลักเกณฑ์ 1.5 วิธีการ 1.6 เงื่อนไข

  23. ขั้นที่ 2 วิเคราะห์ปัญหา/สาเหตุ 2.1 ปัญหาในการปฏิบัติ มีอะไรบ้าง 2.2 แยกปัญหา เข้า 1.2,1.3,1.4,1.5,1.6 2.3 แยกปัญหา 2.2 คน/กฎระเบียบ คน –ผู้ปฏิบัติ /ผู้รับบริการ/ผู้บริหาร/องค์คณะ กฎ ระเบียบ หนังสือเวียน มติ (หน่วยงานภายใน -ภายนอกที่ควบคุมไม่ได้)

  24. ขั้นที่ 3 วิเคราะห์แนวแก้ไข แนวทางแก้ไข ตาม 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 เสนอทางแก้ ตาม 2.3 คือ คน /กฎระเบียบ

  25. ขั้นที่ 4 ขั้นวางแผนกำหนดโครงร่าง 4.1 จัดทำสารบัญ 4.2 สอดแทรกเนื้อหาตามเกณฑ์การประเมิน 7 ประการ

  26. หลักแนวคิดในการเขียนคู่มือปฏิบัติงานหลักแนวคิดในการเขียนคู่มือปฏิบัติงาน 1. เลือกเรื่องที่จะเขียน 7. สมดุลทางวิชาการ 2. การบริการเวลา 8. ภาษาเนื้อหาสาระ 3. เพิ่มประสบการณ์ 9. ความเชื่อมั่นในตนเอง 4. วางแผนในการเขียน 10. คุณธรรม จรรยาบรรณ 5. เอกสารอ้างอิงสนับสนุน 11. เรียบเรียงต้นฉบับ 6. เทคนิคการเขียน 12. พิมพ์ต้นฉบับ

  27. การเลือกเรื่องที่จะเขียนการเลือกเรื่องที่จะเขียน • ความรู้ ความเข้าใจ ความสนใจ • แนวลึก - การโอน/การเลื่อนระดับสูงขึ้นของสายสนับสนุนวิชาการ • แนวกว้าง- หลักการบริหารงานทั่วไป/ ความรู้เบื้องต้น • หลีกเลี่ยง ซ้ำกับผู้อื่น (มีคุณภาพ/ทันสมัย)

  28. การบริหารเวลา • ใช้หมดหรือไม่ได้ใช้ หาทดแทนไม่ได้ • แบ่งเวลาในการเขียน • ตั้งมั่นต้องเขียนทุกวันอย่างน้อยที่สุด 1 หน้า

  29. การเพิ่มประสบการณ์ • ศึกษาผลงานของคนอื่น • เข้ารับการฝึกอบรม/สัมมนา • พยายามอย่างต่อเนื่อง

  30. การวางแผนในการเขียน • ทำโครงร่าง (outline) • แบ่งเป็นบท/ตอน • หัวข้อหลัก/หัวข้อรอง

  31. การหาเอกสารสนับสนุนและอ้างอิงการหาเอกสารสนับสนุนและอ้างอิง • อ่านจดบันทึก ถ่ายสำเนา • หนังสืออะไร ใครเขียน เมื่อไร ปีใด (บรรณนุกรม/เชิงอรรถ) • เกิดการเชื่อถือ

  32. เทคนิคการเขียน • จาก ข้อ 5 แล้วนำมาปะติดปะต่อ ตามข้อ 4 • อย่างวิตกกังวลเรื่องภาษา ความสละสลวย ความเชื่อมโยง • เขียนไปก่อน ไม่จำเป็นต้องเรียงตามลำดับบทที่ 1 ให้แล้วเสร็จก่อ • มีกำลังใจในความก้าวหน้า

  33. ความสมดุลทางวิชาการ • มีน้ำหนักพอ ๆ กันทุกบท ทุกตอน ทุกหัวข้อ • ผสมผสานสิ่งที่ค้นคว้ากับประสบการณ์ • หนึ่งย่อหน้าควรมีเรื่องเดียว ไม่เกิน 20 บรรทัด • ย่อหน้าใหม่ ประโยคแรกและประโยคสุดท้าย จะเป็นใจความหลัก

  34. ภาษาและเนื้อหาสาระ • คำนึงถึงคนอ่าน • ใช้ภาษาง่าย • ไม่ใช้การเขียนภาษาไทยสำนวนฝรั่ง(แปล) • ศัพท์เฉพาะ ต้อคงเส้นคงวา • เนื้อหาสาระ ทันสมัย ถูกหลักวิชา ครอบคลุมทุกประเด็น

  35. มีความเชื่อมั่นในตนเองมีความเชื่อมั่นในตนเอง • ตั้งมั่นว่าเขียนได้ • ปรึกษาผู้มีประสบการณ์ สงสัยถาม • ทำอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ มากน้อยไม่สำคัญ • หยุดเขียน ต้องจดแนวคิดที่จะนำเสนอย่อ ๆ ไว้

  36. คุณธรรม/จรรยาบรรณ • อย่าลอกผลงานผู้อื่น โดยไม่อ้างอิง (โจรกรรมทางวิชาการ) • อย่าอำพราง แบบอ้างว่าเป็นแหล่งข้อมูลแรก

  37. เรียบเรียงต้นฉบับ • ได้ต้นฉบับ ต้องทดลองใช้ปฏิบัติ • เพิ่ม ลด แก้ไข ทดลองใช้ซ้ำ • ปรับแก้ อ่านทบทวน • ผสมผสานเชื่อมโยงให้เกิดความกลมกลืน • ปรับแก้ความซ้ำซ้อน • เพิ่มสิ่งที่ขาดให้สมบูรณ์

  38. พิมพ์ต้นฉบับ • ให้ผู้ร่วมงาน/ผู้มีประสบการณ์ ช่วยอ่าน • นำข้อเสนอแนะ เพิ่ม ลด สลับบท/ตอน/ หัวข้อ • ตรวจแก้ไขความถูกต้อง ตัวสะกด การันต์ รูปแบบ • ทำสำเนา 2-3 ฉบับ เก็บไว้หลายแห่ง

  39. ข้อควรระวังในการเขียนงานทางวิชาการข้อควรระวังในการเขียนงานทางวิชาการ • อย่า เตรียมตัวหรือศึกษาค้นคว้าในเรื่องที่จะเขียนอย่างผิวเผิน • (ขาดความใหม่ ซ้ำซ้อนกับของผู้อื่น กว้างเกินไป) • อย่า รีบเขียนให้เสร็จภายในเวลาอันสั้น โดยไม่คำนึงถึงคุณภาพ • (ประโยชน์ไม่ชัดเจน มีน้อย ไม่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ ไม่เกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่)

  40. 3. อย่า ลอกเลียนข้อความหรือแนวคิดผู้อื่น โดยไม่อ้างอิง • อย่า เพียงแต่เอาข้อมูลของผู้อื่นมาต่อเติม ตัดแปะ เป็นของตนเอง จะต้องแสดงส่วนที่เป็นความคิดของตนเองด้วย • อย่า ข้ามส่วนที่ไม่รู้ ไม่มั่นใจ โดยไม่ศึกษาโดยละเอียด • อย่า ให้ข้อมูลพาไป รู้มากเขียนมาก ไม่รู้เขียนน้อย • อย่า เน้นปริมาณ มากกว่าคุณภาพ • อย่า ขาดจิตสำนึกและจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ

  41. 9. อย่า อ้างอิงที่ไม่ถูกต้องตามแบบมาตรฐานสากล เก่า ล้าสมัย เชิงออรถ ภายในเนื้อหา ท้ายบท ท้ายเล่ม 10. อย่า ใช้ภาษาไม่คงเส้นคงวา ตลอดทั้งเล่ม 11. อย่า ให้ผิดพลาด ตกหล่น สลับหน้า กลับหัวหลับหาง 12 อย่า ให้ขาดส่วนประกอบการเขียน เลขประจำหนังสือสากล (ISBN) คำนำ สารบัญ ภาพประกอบ บรรณนุกรม

  42. โครงร่างคู่มือการปฏิบัติงานโครงร่างคู่มือการปฏิบัติงาน สารบัญ บทที่ 1 บทนำ - ความเป็นมา ความจำเป็น (ภูมิหลัง) - ความมุ่งหมาย/วัตถุประสงค์ของการศึกษา - ความสำคัญ/ประโยชน์ของการศึกษา - ขอบเขตของการศึกษา

  43. บทที่ 2 บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ - ลักษณะงานที่ปฏิบัติ - หน้าที่ความรับผิดชอบ/บทบาทของตำแหน่ง - โครงสร้างการบริหารจัดการ

  44. บทที่ 3 เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา - หลักเกณฑ์/วิธีการดำเนินงาน - สิ่งที่ควรคำนึงในการปฏิบัติงาน/ข้อควรระวัง/ข้อสังเกต - กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หนังสือเวียน มติ ที่เกี่ยวข้อง - งานวิจัยและแนวคิดที่เกี่ยวข้อง

  45. บทที่ 4 เทคนิคในการปฏิบัติงาน - แผนกลยุทธ์ในการปฏิบัติงาน - ขั้นตอนการปฏิบัติงาน (Flow Chart) - วิธีการให้บริการกับผู้รับบริการมีความพึงพอใจ - การติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน - จรรยาบรรณ/จิตสำนึกในการปฏิบัติงาน

  46. บทที่ 5 ปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไข - ปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงาน - แนวทางแก้ไขในการปฏิบัติงาน - ข้อเสนอแนะ บรรณานุกรม ภาคผนวก

  47. อีกแนวทางหนึ่ง บทที่ -.............. - แนวความคิดโดยย่อ - แนวคิดเมื่อนำไปปฏิบัติ - รายละเอียดเนื้อหา -............................. -.............................

  48. เกณฑ์การประเมินงานวิจัยเกณฑ์การประเมินงานวิจัย ดี. ถูกต้องเหมาะสมทั้งระเบียบวิธีการวิจัย การวิเคราะห์และการนำเสนอผล แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางวิชาชีพหรือนำไปประยุกต์ใช้ได้ และมีการตีพิมพ์เผยแพร่ ดีมาก.เป็นผลงานที่แสดงถึงความรู้ใหม่ที่ลึกซึ้งกว่างานเดิมที่มีผู้ศึกษาไว้แล้ว หรือเป็นประโยชน์ด้านวิชาการวิชาชีพอย่างกว้างขวางหรือนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างแพร่หลาย

  49. เกณฑ์การประเมินงานวิจัยเกณฑ์การประเมินงานวิจัย ดีเด่น.เป็นงานบุกเบิกที่มีคุณค่ายิ่งและสร้างความรู้ใหม่ (Body of Knowledge) ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งทำให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการในระดับสูง หรือเป็นที่ยอมรับในวงวิชาชีพที่เกี่ยวข้องทั้งระดับชาติและหรือนานาชาติ

  50. เกณฑ์การประเมินงานลักษณะอื่นเกณฑ์การประเมินงานลักษณะอื่น ดี. เป็นผลงานใหม่ หรือเป็นการนำสิ่งที่มีอยู่แล้วมาประยุกต์ด้วยวิธีการใหม่ ๆ และผลงานนั้นก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านใดด้านหนึ่ง ดีมาก. ได้รับการรับรองโดยองค์กรทางวิชาชีพหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในสาขาที่เสนอหรือได้รับการเผยแพร่ในวงวิชาการอย่างกว้างขวาง เป็นงานสร้างสรรค์เป็นที่ยอมรนับจากผู้เชี่ยวชาญ

More Related