1 / 30

สิทธิและสวัสดิการสังคม ของ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

สิทธิและสวัสดิการสังคม ของ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. โดย พารื่น นิตยสุทธิ์ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ. สถานการณ์ปัญหาสังคมไทย. เด็ก.  ถูกทอดทิ้ง ถูกละเมิดทางเพศ ถูกใช้ความรุนแรง  ขาดความอบอุ่น เลี้ยงดูไม่เหมาะสม  เป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์  สุขภาพอนามัย.

ardara
Télécharger la présentation

สิทธิและสวัสดิการสังคม ของ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สิทธิและสวัสดิการสังคมสิทธิและสวัสดิการสังคม ของ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดย พารื่น นิตยสุทธิ์ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ

  2. สถานการณ์ปัญหาสังคมไทยสถานการณ์ปัญหาสังคมไทย เด็ก ถูกทอดทิ้ง ถูกละเมิดทางเพศ ถูกใช้ความรุนแรง  ขาดความอบอุ่น เลี้ยงดูไม่เหมาะสม  เป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์  สุขภาพอนามัย

  3. สถานการณ์ปัญหาสังคมไทยสถานการณ์ปัญหาสังคมไทย เยาวชน  ขาดจุดมุ่งหมายในการดำเนินชีวิต  ส่วนใหญ่ขาดวินัยการเป็นพลเมืองดี ขาดจิตสำนึกสาธารณะ  บริโภคนิยม ประพฤติตนไม่เหมาะสม (ติดยาเสพติด เสพสื่อลามก เที่ยวกลางคืน ติดการพนัน-เกม ใช้ความรุนแรง ก่ออาชญากรรม มีเพศสัมพันธ์และตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ทำแท้ง) **** เยาวชน :ไม่เคยทำบุญตักบาตร 45% ไม่เคยฟังเทศน์ 65%

  4. สถานการณ์ปัญหาสังคมไทยสถานการณ์ปัญหาสังคมไทย ปัญหาครอบครัว •  หย่าร้าง ใช้ความรุนแรงในครอบครัว ปัญหาทางจิต •  อัตราการจดทะเบียนสมรสลดลง หย่าร้างเพิ่มขึ้น •  พ่อแม่ติดสิ่งเสพติด มีผลต่อเด็กในครรภ์ •  ไม่มีเวลาให้ลูกเนื่องจากต้องทำงาน

  5. สถานการณ์ปัญหาสังคมไทยสถานการณ์ปัญหาสังคมไทย ปัญหาความยากจน  ลงทะเบียนความยากจน ส่วนใหญ่มีปัญหาหนี้สิน 2.28 ล้านคน (ติดหนี้กองทุนหมู่บ้าน 29.12% หนี้สินนอกระบบ 20.37% หนี้ ธกส. 20.97% หนี้ ธอส. 0.94%)  สาเหตุสำคัญ : เล่นการพนัน (ทั้งผิด+ถูกกฎหมาย) (เฉลี่ยรายจ่ายด้านการพนัน 8,430 - 9,763 บาท/คน/ปี หรือ 10.4 - 12.0% ของรายได้)

  6. สถานการณ์ปัญหาสังคมไทยสถานการณ์ปัญหาสังคมไทย สตรี  สิทธิและความเสมอภาค  ถูกละเมิดทางเพศ  เป็นเหยื่อการค้ามนุษย์  ประพฤติตนไม่เหมาะสม

  7. สถานการณ์ปัญหาสังคมไทยสถานการณ์ปัญหาสังคมไทย วัยทำงาน  คนไทยวัยทำงาน มีนิสัยฟุ่มเฟือย ติดอบายมุข สิ่งเสพติด ส่งผลให้เกิดปัญหาหนี้สินเรื้อรัง และปัญหาสุขภาพ

  8. สถานการณ์ปัญหาสังคมไทยสถานการณ์ปัญหาสังคมไทย ผู้สูงอายุ •  ปัจจุบันมี 7.49 ล้านคน จากประชากร 62.5 ล้าน คน (11.97%) •  สุขภาพอนามัย เจ็บป่วยเรื้อรัง ช่วยตัวเองไม่ได้ •  ขาดการเรียนรู้ที่เหมาะสม •  ถูกทอดทิ้ง ไม่มีงานทำ

  9. สถานการณ์ปัญหาสังคมไทยสถานการณ์ปัญหาสังคมไทย ผู้พิการ •  ปัจจุบันมี 1.26 ล้านคน •  ขาดการเข้าถึงสิทธิในการรับบริการจากรัฐอย่าง ทั่วถึง • ขาดสิ่งอำนวยความสะดวกและ • สาธารณูปโภคพื้นฐานที่เหมาะสม •  ขาดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ

  10. สถานการณ์ปัญหาสังคมไทยสถานการณ์ปัญหาสังคมไทย สรุปสาเหตุต้นตอที่สำคัญ •  วัฒนธรรมและสื่อไร้พรมแดน •  ศีลธรรม+จริยธรรม ของคนในสังคมตกต่ำ • บูชาวัตถุ

  11. มาตรา 55 มาตรา 54 รู้จัก “สิทธิ” ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 53 บุคคลซึ่งมีอายุเกินหกสิบปีบริบูรณ์และไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ มีสิทธิได้รับสวัสดิการ สิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะอย่างสมศักดิ์ศรี และความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ บุคคลซึ่งพิการหรือทุพพลภาพ มีสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสวัสดิการ สิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ และความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ บุคคลวิกลจริตย่อมได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ บุคคลซึ่งไร้ที่อยู่อาศัยและไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ ย่อมมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ

  12. มาตรา 80 รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านสังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม โดยมีประเด็นหลัก ที่เกี่ยวข้องกับการจัดสวัสดิการของ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ดังนี้ - คุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน สนับสนุนการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาปฐมวัย ส่งเสริมความเสมอภาคของหญิงและชาย เสริมสร้างและพัฒนาความเป็นปึกแผ่นของสถาบันครอบครัวและชุมชน รวมทั้งต้องสงเคราะห์และจัดสวัสดิการให้แก่ผู้สูงอายุ ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ และผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและพึ่งพาตนเองได้

  13. สวัสดิการสังคม คือ ? • การป้องกัน การแก้ไขปัญหา การพัฒนา และการส่งเสริมความมั่นคงทางสังคม • มีคุณภาพชีวิตที่ดีและพึ่งตนเองได้ • เป็นธรรมและตามมาตรฐาน • คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิที่ประชาชนจะต้องได้รับ • การมีส่วนร่วมในการจัดสวัสดิการสังคม

  14. ผู้รับบริการทางสังคม บุคคลหรือกลุ่มบุคคล ซึ่งอยู่ในสภาวะยากลำบาก หรือที่จำต้องได้รับความช่วยเหลือ เช่น เด็กเยาวชน คนชรา ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ ผู้ด้อยโอกาส ผู้ถูกละเมิดทางเพศ หรือกลุ่มบุคคลอื่น ตามที่คณะกรรมการกำหนด

  15. กลุ่มเป้าหมายที่อยู่ในความดูแลของกระทรวง พม.

  16. การสงเคราะห์ช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ของกระทรวง พม. 1. เด็กและเยาวชน เป็นการดำเนินงานตาม พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 มี การจัดสวัสดิการช่วยเหลือทางสังคมแก่เด็กและเยาวชนที่พึ่งให้ การสงเคราะห์ 4 ด้าน (1) การอุปการะเลี้ยงดู อบรม ฝึกอาชีพในสถาบัน ซึ่ง กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาค รวม 107 แห่ง (2) การช่วยเหลือเด็กในครอบครัวและชุมชน จ่ายเงินสงเคราะห์เด็กในครอบครัวยากจน รายละ 1,000 บาท แต่ไม่เกิน 3,000 บาท จ่ายไม่เกิน 3 ครั้ง/ปี

  17. การสงเคราะห์ช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ของกระทรวง พม. การหาครอบครัวทดแทนชั่วคราวแบบ “ครอบครัว อุปถัมภ์” และหาครอบครัวทดแทนแบบถาวร โดยการ “รับบุตร บุญธรรม”  สนับสนุนภาคเอกชนในการจัดตั้งสถานรับเลี้ยงเด็ก สถานสงเคราะห์เด็ก รวมทั้งสถานรับเลี้ยงและพัฒนาเด็กปฐมวัย (3) การสนับสนุนเงินทุนของกองทุนคุ้มครองเด็ก (4) การช่วยเหลือเด็กพิการและด้อยโอกาสให้มีโอกาสเรียนฟรี

  18. การสงเคราะห์ช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ของกระทรวง พม. 2. ผู้สูงอายุ (1) การดูแลผู้สูงอายุ จัดบริการเยี่ยมบ้าน แนะนำการดูแลสุขภาพจากหลายภาคส่วน - อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (อผส.) - อาสาสมัครสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) - อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)  สถานบริการสำหรับผู้สูงอายุภาครัฐ มีจำนวน 25 แห่ง  สถาบันดูแลผู้สูงอายุภาคเอกชน มีจำนวน 138 แห่ง

  19. การสงเคราะห์ช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ของกระทรวง พม. (2) การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแบบขั้นบันได  อายุ 60 – 69 ปี ได้รับเงิน 600 บาท/เดือน  อายุ 70 – 79 ปี ได้รับเงิน 700 บาท/เดือน  อายุ 80 – 89 ปี ได้รับเงิน 800 บาท/เดือน  อายุ 90 ปีขึ้นไป ได้รับเงิน 1,000 บาท/เดือน

  20. การสงเคราะห์ช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ของกระทรวง พม. 3. สตรี จัดสวัสดิการสังคมแก่กลุ่มสตรีที่ด้อยโอกาส อยู่ในกลุ่มเสี่ยง และประสบปัญหาทางสังคม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 (1) จัดฝึกอบรมวิชาชีพในศูนย์สงเคราะห์และฝึกอาชีพสตรี 8 แห่ง (2) ฝึกอาชีพให้สตรีในชุมชน ตามโครงการสร้างชีวิตใหม่ ให้กับสตรีในครอบครัว

  21. การสงเคราะห์ช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ของกระทรวง พม. (3) ช่วยเหลือ บำบัด ฟื้นฟู คุ้มครอง และพัฒนาอาชีพให้กับสตรี ที่ตกเป็นเหยื่อ การค้ามนุษย์ในสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ 4 แห่ง ภายใต้ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 และ พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 กลุ่มที่ 2 จัดให้มีศูนย์บริการช่วยเหลือเด็กและสตรีในสภาวะวิกฤติจาก ความรุนแรงหรือศูนย์พึ่งได้ (One Stop Crisis Center : OSCC) ใน โรงพยาบาลต่างๆ กระจายอยู่ทั่วประเทศ

  22. การสงเคราะห์ช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ของกระทรวง พม. 4. ผู้พิการ ดำเนินงานตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.2534 และ พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 ดังนี้ (1) สงเคราะห์และฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ มีสถานสงเคราะห์ 10 แห่ง ใน 6 จังหวัด (2) สงเคราะห์เครื่องกายอุปกรณ์ โดยหน่วยงานภาครัฐ 2 แห่ง  ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพการแพทย์แห่งชาติ สังกัดกรมการแพทย์  กระทรวง พม. เน้นให้ความช่วยเหลือคนพิการที่เป็น สมาชิกของสมาคมคนพิการ

  23. การสงเคราะห์ช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ของกระทรวง พม. (3) การสงเคราะห์ด้านการเงิน  จ่ายเงินเบี้ยยังชีพคนพิการเดือนละ 500 บาท แก่คนพิการ ที่ได้รับการจดทะเบียนทุกคน  จัดสรรเงินเพื่อช่วยเหลือด้านการเงินหรือสิ่งของแก่ ครอบครัวผู้พิการไม่เกิน 2,000 บาท/ครั้ง ติดต่อกันไม่เกิน 3 ครั้ง/ครอบครัว รวมทั้งให้คำปรึกษาแนะนำต่างๆ  กองทุนส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เพื่อส่งเสริม การดำเนินงานด้านการสงเคราะห์ช่วยเหลือคนพิการ ทั้งที่เป็นองค์กร ภาครัฐและภาคเอกชน

  24. การสงเคราะห์ช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ของกระทรวง พม. 5. ผู้ด้อยโอกาส (1) คนยากจน  จ่ายเงินสงเคราะห์ครอบครัวไม่เกิน 2,000 บาท ติดต่อกัน ไม่เกิน 3 ครั้ง/ปี  ให้ที่พักชั่วคราว ในบ้านพักชั่วคราวคนจนเมือง 4 แห่ง เพื่อช่วยเหลือผู้เดือดร้อนด้านที่อยู่อาศัย อันเนื่องมาจากประสบสาธารณภัย ถูกไล่ที่ ต้องอพยพเร่งด่วน  ผู้ตกทุกข์ได้ยากในประเทศและนอกประเทศ จะได้รับ การส่งกลับภูมิลำเนาเดิม โดยการช่วยเหลือเป็นค่าพาหนะและค่าอาหาร ระหว่างเดินทาง

  25. การสงเคราะห์ช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ของกระทรวง พม. (2) คนเร่ร่อน คนไร้ที่พึ่ง และคนขอทาน  ช่วยเหลือสิ่งของ เงินค่าอุปโภคบริโภค ค่าซ่อมที่อยู่อาศัย ค่ารักษาพยาบาล และทุนประกอบอาชีพ ครั้งละไม่เกิน 1,000 บาท ช่วยได้ ไม่เกิน 3 ครั้ง/ปี  รับไว้อุปการะในสถานสงเคราะห์คนไร้ที่พึ่ง จำนวน 11 แห่ง สถานแรกรับคนไร้ที่พึ่ง 2 แห่ง เน้นช่วยเหลือด้านการฝึกอาชีพ  สร้างโอกาสทางการศึกษาแก่เด็กเร่ร่อนภายใต้โครงการครู ข้างถนน โดยต่อยอดมาเป็น “ศูนย์สร้างโอกาสเด็ก” ปัจจุบันมีจำนวน 7 แห่ง เพื่อเป็นศูนย์บริการเฉพาะกลางวันแก่ครูข้างถนนและเด็กเร่ร่อน

  26. การสงเคราะห์ช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ของกระทรวง พม. (3) บุคคลที่มีปัญหาสถานะทางกฎหมาย จะได้รับความ ช่วยเหลือจากรัฐ เป็นบริการขั้นพื้นฐาน คือ  สิทธิในการรักษาพยาบาลตามโครงการหลักประกัน สุขภาพถ้วนหน้า  สิทธิในการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ได้รับการสงเคราะห์ช่วยเหลือจากกรมพัฒนาสังคม และสวัสดิการ

  27. การสงเคราะห์ช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ของกระทรวง พม. (4) ผู้ได้รับผลกระทบจากเอดส์และครอบครัว ได้รับความ ช่วยเหลือ ดังนี้  การอุปการะในสถานสงเคราะห์ มีจำนวน 4 แห่ง  เงินสงเคราะห์เด็กในครอบครัว รายละ 1,000 บาท แต่ ไม่เกิน 3,000 บาท จ่ายไม่เกิน 3 ครั้ง/ปี  เงินสงเคราะห์ครอบครัว ครั้งละไม่เกิน 2,000 บาท จ่ายไม่เกิน 3 ครั้ง/ปี  เงินทุนสำหรับผู้ป่วยเอดส์ นำไปประกอบอาชีพ รายละ ไม่เกิน 5,000 บาท  จ่ายเบี้ยยังชีพ 500 บาท/คน/เดือน

  28. การสงเคราะห์ช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ของกระทรวง พม. (5) การพัฒนาศักยภาพการดำรงชีวิตของประชากรบนพื้นที่สูง 20 จังหวัด  พัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน  ฝึกอาชีพเพื่อสร้างรายได้ให้ตนเองและครอบครัว  สงเคราะห์ครอบครัวชาวเขาที่ยากจน (6) การพัฒนาศักยภาพการดำรงชีวิตของประชากรในนิคมสร้าง ตนเอง 43 แห่ง  การบริหารจัดการที่ดิน (บรรจุสมาชิกนิคม การออก น.ค.3 การรังวัดที่ดิน การแก้ปัญหาข้อพิพาท)

  29. การสงเคราะห์ช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ของกระทรวง พม.  การส่งเสริมอาชีพ  การดำเนินงานสินเชื่อ  การจัดการกับทรัพยากร (7) ผู้ที่อยู่ในธุรกิจบริการทางเพศ :  ได้รับสิทธิตามโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า  สตรีและเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ที่กระทำผิดตาม พ.ร.บ. ปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 และผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของ การค้ามนุษย์ จะอุปการะไว้ในสถานแรกรับหรือสถานคุ้มครองและ พัฒนาอาชีพ

  30. การสงเคราะห์ช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ของกระทรวง พม. (8) ผู้ประสบภัย :  จัดบริการ ณ จุดเกิดเหตุ อาหาร น้ำดื่ม หน่วยแพทย์ เคลื่อนที่  การสงเคราะห์เงินและสิ่งของบรรเทาทุกข์แก่ผู้เดือดร้อน  ให้คำปรึกษาแนะนำ  การฝึกอาชีพ และสนับสนุนการรวมกลุ่มเพื่อประกอบ อาชีพ

More Related