1 / 12

ขั้นตอนการปฏิบัติและการตั้งรูปคดี

ขั้นตอนการปฏิบัติและการตั้งรูปคดี. การสืบสวนสอบสวนคดีฟอกเงิน. หัวหน้าหน่วยงาน มีหน้าที่ดังนี้. ระเบียบตำรวจว่าด้วยแนวทางปฏิบัติในการดำเนินคดี ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามฟอกเงิน พ.ศ.๒๕๕๔

Télécharger la présentation

ขั้นตอนการปฏิบัติและการตั้งรูปคดี

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ขั้นตอนการปฏิบัติและการตั้งรูปคดีขั้นตอนการปฏิบัติและการตั้งรูปคดี การสืบสวนสอบสวนคดีฟอกเงิน

  2. หัวหน้าหน่วยงาน มีหน้าที่ดังนี้........ • ระเบียบตำรวจว่าด้วยแนวทางปฏิบัติในการดำเนินคดี • ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามฟอกเงิน พ.ศ.๒๕๕๔ • ข้อ 4ให้หัวหน้าหน่วยงานจัดให้มีเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการสืบสวนความผิดเกี่ยวกับฟอกเงิน และพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบดำเนินคดีเกี่ยวกับการฟอกเงิน

  3. ระเบียบตำรวจว่าด้วยแนวทางปฏิบัติในการดำเนินคดี ระเบียบตำรวจว่าด้วยแนวทางปฏิบัติในการดำเนินคดี ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามฟอกเงิน พ.ศ.๒๕๕๔ ข้อ 12ให้หัวหน้าหน่วยงานจัดให้มีสารบบควบคุมการสืบสวนความผิดฐานฟอกเงินไว้เพื่อตรวจสอบ สวนสมุดสารบบควบคุมการสอบสวนให้ถือปฎิบัติตามระเบียบ คำสั่ง และข้อบังคับว่าด้วยการสอบสวน

  4. เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมตัวผู้ต้องหาซึ่งกระทำความผิดมูลฐานฟอกเงินส่งพนักงานสอบสวนดำเนินคดีเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมตัวผู้ต้องหาซึ่งกระทำความผิดมูลฐานฟอกเงินส่งพนักงานสอบสวนดำเนินคดี

  5. ระเบียบตำรวจว่าด้วยแนวทางปฏิบัติในการดำเนินคดีระเบียบตำรวจว่าด้วยแนวทางปฏิบัติในการดำเนินคดี ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามฟอกเงิน พ.ศ.๒๕๔๔ ข้อ 5เมื่อมีการร้องทุกข์ หรือกล่าวโทษ หรือจับกุมดำเนินคดีในความผิดมูลฐาน นอกจากพนักงานสอบสวนจะต้องสอบสวนดำเนินคดีในความผิดมูลฐานแล้วนั้น ให้พนักงานสอบสวนรวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเบื้องต้น รายงานหัวหน้าหน่วยงานภายใน 48 ชั่วโมง นับแต่วันที่รับคำร้องทุกข์หรือกล่าวโทษหรือจับกุม เพื่อให้หัวหน้าหน่วยงานพิจารณาสั่งการให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการสืบสวนว่ามีเหตุอันควรเชื่อว่ามีการกระทำความผิดฐานฟอกเงินหรือไม่ และให้ปฎิบัติตามข้อ 11 ของระเบียบนี้

  6. มีความเห็นเสนอต่อ หัวหน้าหน่วยเพื่อพิจารณาสั่ง ระเบียบตำรวจว่าด้วยแนวทางปฏิบัติในการดำเนินคดี ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามฟอกเงิน พ.ศ.2544 ข้อ 6 ให้ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้สืบสวนสรุปผลการสืบสวนทั้งข้อเท็จจริง พยานหลักฐานและมีความเห็น รายงานผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นถึงหัวหน้าหน่วยงาน เพื่อพิจารณาสั่งการ ดังนี้ 6.1 กรณีผลการสืบสวนไม่ปรากฏพยานหลักฐานเพียงพอที่จะดำเนินคดีความผิดฐานฟอกเงิน ให้หัวหน้าหน่วยสั่งระงับการสืบสวน 6.2กรณีผลการสืบสวนมีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะดำเนินคดีความผิดฐานฟอกเงินให้หัวหน้าหน่วยงานพิจารณาให้มีการร้องทุกข์ หรือกล่าวโทษเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป แล้วรีบรายงานไปยังสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ( สำนักงาน ปปง.) ผ่านส่วนปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ ( ปปป.ตร.) ตามแบบรายงานท้ายระเบียบนี้

  7. การควบคุมในการทำสำนวนการสอบสวนการควบคุมในการทำสำนวนการสอบสวน ระเบียบ ตร. ว่าด้วยแนวทางปฏิบัติในการดำเนินคดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามฟอกเงิน พ.ศ.2544 ข้อ 11 การดำเนินการของเจ้าพนักงานตำรวจ เมื่อพบว่าบุคคลนั้น หรือพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดให้ปฏิบัติดังนี้ 11.1 ในกรณีที่เป็นบุคคล ให้บันทึกข้อมูลส่วนตัวของบุคลนั้น โดยให้ปรากฏรายละเอียดของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลนั้นกับเจ้าของทรัพย์สิน ผู้รับโอนทรัพย์สิน ผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สิน หรือผู้รับประโยชน์จากทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด และรายละเอียดของความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ระหว่างบุคคลนั้นกับทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด แล้วรวบรวมไว้ในสารบบควบคุมการสืบสวน

  8. 11.2 ในกรณีที่เป็นพยานหลักฐานอื่น ให้บันทึกรายละเอียดของความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ระหว่างพยานหลักฐานนั้นกับเจ้าของทรัพย์สิน ผู้รับโอนทรัพย์สิน ผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สิน หรือผู้รับประโยชน์จากทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด และรายละเอียดของความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ระหว่างพยานหลักฐานนั้นกับทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด แล้วรวบรวมไว้ในสารบบควบคุมการสืบสวน 11.3 ในกรณีที่มีการยึดทรัพย์หรืออายัดพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ให้เจ้าพนักงานตำรวจแจ้งให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินทราบโดยเร็ว เพื่อดำเนินการกับทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด

  9. การควบคุมในการทำสำนวนการสอบสวนการควบคุมในการทำสำนวนการสอบสวน ระเบียบ ตร. ว่าด้วยแนวทางปฏิบัติในการดำเนินคดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามฟอกเงิน พ.ศ.2544 ข้อ 13การสืบสวนสอบสวนดำเนินคดีความผิดฐานฟอกเงิน ให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง ที่เกี่ยวข้องกับการสอบสวนดำเนินคดีอาญา และมาตรการในการควบคุม ตรวจสอบเร่งรัดการสอบสวนดำเนินคดีอาญาตามคำสั่ง ตร.ที่ 960/2537 ลงวันที่ 10 สิงหาคม 2537 ยกเว้นตาม ข้อ 1.1.1 และ 1.1.2 ของคำสั่งดังกล่าว เนื่องจากการสอบสวนคดีอาญาความผิดฐานฟอกเงินจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการสอบสวนมากกว่าคดีอาญาทั่วไป แต่เพื่อในการสอบสวนความผิดฐานฟอกเงินเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพจึงให้รายงานความคืบหน้าในการสอบสวนให้หัวหน้าหน่วยงานทราบทุกระยะ 30 วัน เพื่อเร่งรัดให้การสอบสวนเสร็จสิ้นไปโดยเร็ว

  10. ระเบียบตำรวจว่าด้วยแนวทางปฏิบัติในการดำเนินคดีระเบียบตำรวจว่าด้วยแนวทางปฏิบัติในการดำเนินคดี ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามฟอกเงิน พ.ศ.๒๕๔๔ ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “ความผิดมูลฐาน” หมายความว่า ความผิดมูลฐานฟอกเงินตามกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน “ความผิดฐานฟอกเงิน” หมายความว่า ความผิดมูลฐานฟอกเงินว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน “ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด” หมายความว่า ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

  11. ระเบียบตำรวจว่าด้วยแนวทางปฏิบัติในการดำเนินคดีระเบียบตำรวจว่าด้วยแนวทางปฏิบัติในการดำเนินคดี ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามฟอกเงิน พ.ศ.๒๕๔๔ “ธุรกรรมอันควรสงสัย” หมายถึง ธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน “หัวหน้าหน่วย” หมายถึง หัวหน้าพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ หรือหัวหน้าหน่วยที่มีอำนาจหน้าที่ในการสอบสวนดำเนินคดีความผิดมูลฐานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.๒๕๔๒ มาตรา ๓

  12. ระเบียบการตำรวจเกี่ยวกับคดีระเบียบการตำรวจเกี่ยวกับคดี ลักษณะ ๑๘ กรณีบางเรืองที่มีวิธีปฏิบัติเป็นพิเศษ “ธุรกรรมอันควรสงสัย” หมายถึง ธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน “หัวหน้าหน่วย” หมายถึง หัวหน้าพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ หรือหัวหน้าหน่วยที่มีอำนาจหน้าที่ในการสอบสวนดำเนินคดีความผิดมูลฐานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.๒๕๔๒ มาตรา ๓

More Related