1 / 42

มาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ (IFRS)

มาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ (IFRS). ดร. วรศักดิ์ ทุมมานนท์ รองศาสตราจารย์ประจำภาควิชาการบัญชี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประธานคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชี สภาวิชาชีพบัญชีฯ. 1. 1. 1. ทิศทางของมาตรฐานการบัญชีและ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ไทย.

arleen
Télécharger la présentation

มาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ (IFRS)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. มาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ (IFRS) ดร. วรศักดิ์ ทุมมานนท์ รองศาสตราจารย์ประจำภาควิชาการบัญชี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประธานคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชี สภาวิชาชีพบัญชีฯ 1 1 1

  2. ทิศทางของมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินไทยทิศทางของมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินไทย • ปัจจุบันคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชีกำลังเร่งจัดทำมาตรฐานการบัญชี (TAS) และมาตรฐานการรายงานทางการเงิน (TFRS) ฉบับใหม่ให้สอดคล้องกับ IFRS Bound Volume 2009 (ฉบับที่คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศแก้ไขสิ้นสุดในปี 2008) ซึ่งจะยกเลิก TAS และ TFRS ที่เคยประกาศ

  3. ทิศทางของมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินไทยทิศทางของมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินไทย • สภาวิชาชีพบัญชีฯ จะยกเว้นการบังคับใช้กับกิจการที่มิใช่กิจการที่มีส่วนได้เสียต่อสาธารณะ (Non-Publicly Accountable Entities: NPAE) เป็นบางฉบับ จนกว่าจะมีการบังคับใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่ได้มีส่วนได้เสียต่อสาธารณะซึ่งได้ • ปรับข้อกำหนดเพื่อลดการอ้างอิงมูลค่ายุติธรรมซึ่งก่อให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติสำหรับกิจการฯ ที่ต้องนำหลักการบัญชีไปถือปฏิบัติ โดยนำเสนอวิธีการบัญชีอื่นทดแทน หรือ • ตัดข้อกำหนดที่ก่อให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติออก เพื่อไม่ให้มีต้นทุนหรือภาระในการรายงานทางการเงินที่เกินจำเป็น (Undue costs and efforts)

  4. กิจการที่มิใช่กิจการที่มีส่วนได้เสียต่อสาธารณะกิจการที่มิใช่กิจการที่มีส่วนได้เสียต่อสาธารณะ • กิจการที่ไม่เข้าลักษณะดังต่อไปนี้ • กิจการที่มีตราสารทุนหรือตราสารหนี้ของกิจการซึ่งมีการซื้อขายในตลาดสาธารณะ (ไม่ว่าจะเป็นตลาดหลักทรัพย์ในประเทศหรือต่างประเทศหรือการซื้อขายนอกตลาดหลักทรัพย์รวมทั้งตลาดในท้องถิ่นและในภูมิภาค) หรือ • กิจการที่นำส่งหรืออยู่ในกระบวนการของการนำส่งงบการเงินของกิจการให้แก่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือหน่วยงานกำกับดูแลอื่นเพื่อวัตถุประสงค์ในการออกขายหลักทรัพย์ใดๆ ในตลาดสาธารณะ หรือ • กิจการที่ดำเนินธุรกิจหลักในการดูแลทรัพย์สินของกลุ่มบุคคลภายนอกในวงกว้าง เช่น สถาบันการเงินตามพระราชบัญญัติสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 บริษัทประกันชีวิต บริษัทประกันวินาศภัย บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนรวม เป็นต้น หรือ • บริษัทมหาชนตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จำกัด พ.ศ. 2535

  5. 5 5

  6. 6 6

  7. 7 7

  8. 8 8

  9. 9 9

  10. 10 10

  11. แม่บทการบัญชี • ไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในหลักการหรือขอบเขต มีเพียงการปรับปรุงถ้อยคำให้สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับอื่นเท่านั้น • แม่บทการบัญชีนี้กำหนดขึ้นเพื่อวางแนวคิดที่เป็นพื้นฐานในการจัดทำและนำเสนองบการเงินแก่ ผู้ใช้งบการเงินที่เป็นบุคคลภายนอก โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นแนวทางสำหรับ • คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชีในการพัฒนามาตรฐานการบัญชีในอนาคต และในการทบทวนมาตรฐานการบัญชีที่มีในปัจจุบัน • ผู้จัดทำงบการเงินในการนำมาตรฐานการบัญชีมาถือปฏิบัติรวมทั้งเป็นแนวทางในการปฏิบัติสำหรับเรื่องที่ยังไม่มีมาตรฐานการบัญชีรองรับ • สำหรับผู้สอบบัญชีในการแสดงความเห็นต่องบการเงินว่าได้จัดทำขึ้นตามมาตรฐานการบัญชีหรือไม่

  12. แม่บทการบัญชี • เนื้อหาของแม่บทการบัญชีครอบคลุมเรื่องต่อไปนี้ • วัตถุประสงค์ของงบการเงิน • ลักษณะเชิงคุณภาพที่กำหนดว่าข้อมูลในงบการเงินมีประโยชน์ • คำนิยาม การรับรู้รายการ และการวัดมูลค่าขององค์ประกอบที่ประกอบขึ้นเป็นงบการเงิน • แนวคิดเกี่ยวกับทุน และการรักษาระดับทุน

  13. แม่บทการบัญชี • ความมีสาระสำคัญ • ข้อมูลจะถือว่ามีสาระสำคัญหากการไม่แสดงข้อมูลหรือการแสดงข้อมูลผิดพลาดมีผลกระทบต่อการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจของผู้ใช้งบการเงิน ความมีสาระสำคัญขึ้นอยู่กับขนาดของรายการหรือขนาดของความผิดพลาดที่เกิดขึ้นภายใต้สภาพการณ์เฉพาะซึ่งต้องพิจารณาเป็นแต่ละกรณี

  14. แม่บทการบัญชี • เนื้อหาสำคัญกว่ารูปแบบ • รายการและเหตุการณ์ทางบัญชี ข้อมูลดังกล่าวต้องบันทึกและแสดงตามเนื้อหาและความเป็นจริงเชิงเศรษฐกิจมิใช่ตามรูปแบบทางกฎหมายเพียงอย่างเดียว • ความระมัดระวัง • การใช้ดุลยพินิจที่จำเป็นในการประมาณการภายใต้ความไม่แน่นอนเพื่อมิให้สินทรัพย์หรือรายได้แสดงจำนวนสูงเกินไป และหนี้สินหรือค่าใช้จ่ายแสดงจำนวนต่ำเกินไป อย่างไรก็ตาม การใช้หลักความระมัดระวังมิได้อนุญาตให้กิจการตั้งสำรองลับหรือตั้งค่าเผื่อ

  15. แม่บทการบัญชี • สินทรัพย์ • ทรัพยากรที่อยู่ในความควบคุมของกิจการ ทรัพยากรดังกล่าวเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีตซึ่งกิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจากทรัพยากรนั้นในอนาคต • หนี้สิน • ภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการ ซึ่งเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีต โดยการชำระภาระผูกพันนั้นคาดว่าจะส่งผลให้กิจการสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ • ส่วนของเจ้าของ • ส่วนได้เสียคงเหลือในสินทรัพย์ของกิจการหลังจากหักหนี้สินทั้งสิ้นออกแล้ว

  16. แม่บทการบัญชี (อนาคต) • Asset • a present economic resource to which the entity has a present right or other privileged access • Liabilities • present unconditional economic obligation that is enforceable against the entity

  17. แม่บทการบัญชี • รายได้ • การเพิ่มขึ้นของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรอบระยะเวลาบัญชีในรูปกระแสเข้าหรือการเพิ่มค่าของสินทรัพย์ หรือการลดลงของหนี้สิน อันส่งผลให้ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ไม่รวมถึงเงินทุนที่ได้รับจากผู้มีส่วนร่วมในส่วนของเจ้าของ • ค่าใช้จ่าย • การลดลงของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรอบระยะเวลาบัญชีในรูปกระแสออกหรือการลดค่าของสินทรัพย์ หรือการเพิ่มขึ้นของหนี้สิน อันส่งผลให้ส่วนของเจ้าของลดลง ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการแบ่งปันให้กับผู้มีส่วนร่วมในส่วนของเจ้าของ

  18. TAS 8 นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด มีการแก้ไขเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับอื่นๆ ดังนี้ TAS 23 และ TAS 1 มีการเปลี่ยนแปลงถ้อยคำที่ปรากฏอยู่ในแต่ละย่อหน้า 18

  19. TAS 8 นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด • ข้อผิดพลาดที่มีสาระสำคัญในงวดก่อน จะต้องแก้ไขด้วยวิธีปรับย้อนหลังในงบการเงินสำหรับงวดแรกหลังจากค้นพบข้อผิดพลาดดังกล่าว • กำหนดให้ใช้วิธีการนำนโยบายการบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติย้อนหลังสำหรับการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีที่เป็นไปโดยความสมัครใจ และกำหนดให้ใช้วิธีการปรับงบการเงินย้อนหลังสำหรับการแก้ไขข้อผิดพลาดในงวดก่อน • การเปลี่ยนแปลงประมาณการที่ทำให้สินทรัพย์หรือหนี้สินเพิ่มขึ้นหรือมีผลต่อรายการในส่วนของเจ้าของ ให้กิจการรับรู้ผลกระทบดังกล่าวในมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ หนี้สิน หรือส่วนของเจ้าของที่เกี่ยวข้องในงวดที่มีการเปลี่ยนแปลง

  20. TAS 8 นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด มีการเปลี่ยนแปลงถ้อยคำในย่อหน้าที่ 9 TFRS ใช้เป็นแนวทางสำหรับกิจการในการนำไปปรับใช้ตามความต้องการ แนวทางปฏิบัติดังกล่าวทั้งหมดมีการระบุว่าเป็นส่วนหนึ่งของ TFRS หรือไม่ แนวทางปฏิบัติเป็นส่วนหนึ่งของ TFRS ถือเป็นข้อบังคับ ส่วนแนวทางปฏิบัติที่ไม่เป็นส่วนหนึ่งของ TFRS ไม่ถือเป็นข้อบังคับสำหรับงบการเงิน (แนวทางปฏิบัติมิได้เป็นส่วนหนึ่งของ TAS ดังนั้นจึงไม่ถือเป็นข้อกำหนดสำหรับงบการเงิน)(ข้อความที่ขีดเส้นใต้เป็นรายการที่เพิ่มเติมข้อความที่อยู่ในวงเล็บเป็นถ้อยคำที่ตัดออก) 20

  21. TAS 8 นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด ในย่อหน้าที่ 51 มีการเพิ่มถ้อยคำเกี่ยวกับการจัดทำประมาณการว่าอาจจัดทำขึ้นภายหลังวันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน ซึ่งเป็นการกล่าวถึงกรณีที่ไม่สามารถนำนโยบายการบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติย้อนหลังและกรณีที่ไม่สามารถปรับงบการเงินย้อนหลังได้ในทางปฏิบัติ มีการเพิ่มเติมแนวปฏิบัติตาม TAS 8 การปรับงบการเงินย้อนหลังสำหรับข้อผิดพลาด การเปลี่ยนทันทีเป็นต้นไปสำหรับการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีเมื่อการถือปฏิบัติย้อนหลังไม่สามารถทำได้ในทางปฏิบัติ 21

  22. TAS 10 เหตุการณ์ภายหลังงวดที่รายงาน มีการเปลี่ยนแปลงถ้อยคำที่ปรากฏอยู่ในแต่ละย่อหน้า 22 22

  23. TAS 10 เหตุการณ์ภายหลังงวดที่รายงาน เหตุการณ์ภายหลังงวดที่รายงานหมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างสิ้นงวดที่รายงานกับวันที่ได้รับอนุมัติให้ออกงบการเงิน ไม่ว่าเหตุการณ์นั้นจะเป็นไปในทางดีหรือไม่ดี เหตุการณ์ดังกล่าวสามารถแยกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้ เหตุการณ์ภายหลังงวดที่รายงานที่ต้องปรับปรุง คือ เหตุการณ์ที่เป็นหลักฐานยืนยันว่าสถานการณ์ได้มีอยู่ ณ วันสิ้นงวดที่รายงาน และ เหตุการณ์ภายหลังงวดที่รายงานที่ไม่ต้องปรับปรุง คือ เหตุการณ์ที่ชี้ให้เห็นว่าสถานการณ์ได้เกิดขึ้นภายหลังงวดที่รายงาน 23 23

  24. TAS 10 เหตุการณ์ภายหลังงวดที่รายงาน มีการเพิ่มเติมตัวอย่างในย่อหน้าที่ 5 และ 6 ในเรื่องวันที่อนุมัติงบ และผู้อนุมัติงบ มีการเปลี่ยนแปลงถ้อยคำเพื่อให้สอดคล้องกับ TFRS ฉบับอื่น ย่อหน้าที่ 5 ตัวอย่าง วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 25x2 ฝ่ายบริหารของกิจการได้เสร็จสิ้นการจัดทำร่างงบการเงินสำหรับงวดปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25x1 ในวันที่ 18 มีนาคม 25x2 คณะกรรมการบริษัทได้พิจารณาและอนุมัติให้ออกงบการเงิน กิจการได้ประกาศผลกำไรและข้อมูลทางการเงินอื่นที่เกี่ยวข้องในวันที่ 19 มีนาคม 25x2 งบการเงินได้ถูกจัดเตรียมให้ผู้ถือหุ้นและบุคคลอื่นๆ ในวันที่ 1 เมษายน 25x2 ในวันที่ 15 พฤษภาคม 25x2 ผู้ถือหุ้นอนุมัติงบการเงินในการประชุมประจำปี และงบการเงินที่ได้รับการอนุมัติได้ถูกนำส่งให้แก่องค์กรที่กำหนดข้อบังคับในวันที่ 17 พฤษภาคม 25x2 งบการเงินได้รับการอนุมัติวันที่ 18 มีนาคม 25x2 (วันที่คณะกรรมการบริษัทอนุมัติให้ออก) 24 24

  25. TAS 10 เหตุการณ์ภายหลังงวดที่รายงาน มีการเพิ่มเติมตัวอย่างในย่อหน้าที่ 5 และ 6 (ต่อ) ย่อหน้าที่ 6 ตัวอย่าง 18 มีนาคม 25x2 ฝ่ายบริหารของกิจการได้อนุมัติให้ออกงบการเงินเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการที่กำกับดูแล โดยคณะกรรมการที่กำกับดูและดังกล่าวไม่ใช่ฝ่ายบริหาร แต่อาจหมายรวมถึงตัวแทนพนักงานและผู้มีส่วนได้เสียจากภายนอก วันที่ 26 มีนาคม 25x2 คณะกรรมการที่กำกับดูแลได้อนุมัติงบการเงิน วันที่ 1 เมษายน 25x2 งบการเงินดังกล่าวได้ถูกจัดเตรียมให้ผู้ถือหุ้นและบุคคลอื่นที่สนใจ ในวันที่ 15 พฤษภาคม 25x2 ผู้ถือหุ้นอนุมัติงบการเงินในการประชุมประจำปี และงบการเงินได้รับการอนุมัติให้นำส่งให้แก่องค์กรที่กำหนดข้อบังคับในวันที่ 17 พฤษภาคม 25x2 งบการเงินได้รับการอนุมัติวันที่ 18 มีนาคม 25x2 (วันที่ฝ่ายบริหารอนุมัติให้ออกงบการเงินเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการที่กำกับดูแล) 25 25

  26. TAS 10 เหตุการณ์ภายหลังงวดที่รายงาน มีการเปลี่ยนแปลงถ้อยคำในย่อหน้าที่ 9.1 คำพิพากษาของคดีความในศาลภายหลังงวดที่รายงานซึ่งยืนยันว่ากิจการมีภาระผูกพันในปัจจุบัน ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน กิจการต้องปรับปรุงจำนวนประมาณการที่เกี่ยวข้องกับคดีความในศาลที่รับรู้ไว้ก่อนหน้านี้ตามข้อกำหนดของ TAS 37 หรือรับรู้ประมาณการหนี้สิน (ที่ไม่เคยรับรู้มาก่อนแทนการเปิดเผยข้อมูลเป็นหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในหมายเหตุประกอบงบการเงิน) ที่ตั้งขึ้นใหม่ กิจการอาจจะยังไม่เปิดเผยหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น เนื่องจากคำพิพากษาของศาลให้หลักฐานเพิ่มเติมที่สามารถนำไปพิจารณา ตาม TAS 37 ย่อหน้าที่ 16(ข้อความที่ขีดเส้นใต้เป็นรายการที่เพิ่มเติมข้อความที่อยู่ในวงเล็บเป็นถ้อยคำที่ตัดออก) 26 26

  27. TAS 10 เหตุการณ์ภายหลังงวดที่รายงาน สำหรับย่อหน้าที่ 13 มีการขยายความให้ชัดเจนในเรื่องของเงินปันผล โดยเป็นการเปลี่ยนแปลงวิธีการเขียนให้ชัดเจนยิ่งขึ้น แต่สาระสำคัญไม่เปลี่ยน กล่าวคือ ถ้ามีการประกาศจ่ายเงินปันผลหลังงวดที่รายงาน แต่ก่อนวันที่ได้รับอนุมัติให้ออกงบการเงิน เงินปันผลดังกล่าวต้องไม่รับรู้เป็นหนี้สิน ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน เนื่องจากเงินปันผลดังกล่าวไม่เป็นภาระผูกพัน ณ เวลาดังกล่าว เงินปันผลดังกล่าวต้องเปิดเผยไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินตามข้อกำหนดใน TAS 1 มีการเปลี่ยนแปลงถ้อยคำในย่อหน้าที่ 21 27 27

  28. TAS 10 เหตุการณ์ภายหลังงวดที่รายงาน เมื่อเหตุการณ์ภายหลังงวดที่รายงาน(วันที่ในงบดุล) ที่ไม่ต้องปรับปรุงมีสาระสำคัญจนทำให้การไม่เปิดเผยข้อมูลมีผลกระทบต่อความสามารถของผู้ใช้งบการเงินในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจต่อหลักเกณฑ์ของงบการเงิน(ประเมินผลและตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม) ต้องเปิดเผยข้อมูลทุกข้อต่อไปนี้สำหรับเหตุการณ์ภายหลังงวดที่รายงาน(วันที่ในงบดุล) ที่ไม่ต้องปรับปรุงแต่ละประเภทที่เป็นสาระสำคัญ 21.1 ลักษณะของเหตุการณ์ดังกล่าว และ 21.2 ประมาณการผลกระทบทางการเงิน (ที่อาจเกิดจากเหตุการณ์ดังกล่าว) หรือคำอธิบาย (ข้อเท็จจริง) ที่ว่ากิจการไม่สามารถประมาณผลกระทบดังกล่าวได้ (ข้อความที่ขีดเส้นใต้เป็นรายการที่เพิ่มเติมข้อความที่อยู่ในวงเล็บเป็นถ้อยคำที่ตัดออก) ตัดแนวทางปฏิบัติและภาคผนวกซึ่งสภาวิชาชีพบัญชีจัดทำขึ้นเอง และเขียนต่อไว้ใน TAS 10(ฉบับปรับปรุง 2549) ออก 28 28

  29. TAS 17 สัญญาเช่า มีการเปลี่ยนแปลงถ้อยคำที่ปรากฏอยู่ในแต่ละย่อหน้า 29 29 29

  30. TAS 17 สัญญาเช่า กำหนดให้จัดประเภทสัญญาเช่าโดยพิจารณาถึงขอบเขตของความเสี่ยงและผลตอบแทนที่ผู้เป็นเจ้าของพึงได้รับจากสินทรัพย์ที่เช่าว่าตกอยู่กับผู้เช่าหรือผู้ให้เช่า ต้องจัดประเภทสัญญาเช่าเป็นสัญญาเช่าการเงิน (finance lease) หากสัญญานั้นโอนความเสี่ยงและผลตอบแทนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดที่ผู้เป็นเจ้าของพึงได้รับจากสินทรัพย์ไปให้แก่ผู้เช่า ต้องจัดประเภทสัญญาเช่าเป็นสัญญาเช่าดำเนินงาน (operating lease) หากสัญญานั้นไม่ได้โอนความเสี่ยงหรือผลตอบแทนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดที่ผู้เป็นเจ้าของพึงได้รับจากสินทรัพย์ไปให้แก่ผู้เช่า 30 30 30

  31. TAS 17 สัญญาเช่า ต้องจัดประเภทสัญญาเช่าเป็นสัญญาเช่าการเงินหากสัญญานั้นทำให้เกิดสถานการณ์ต่อไปนี้อย่างน้อยหนึ่งสถานการณ์ สัญญาเช่าโอนความเป็นเจ้าของในสินทรัพย์ให้แก่ผู้เช่าเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาของสัญญาเช่า ผู้เช่ามีสิทธิเลือกซื้อสินทรัพย์ด้วยราคาที่ต่ำกว่ามูลค่ายุติธรรม ณ วันที่สิทธิเลือกเกิดขึ้น โดยราคาตามสิทธิเลือกนั้นมีจำนวนต่ำกว่ามูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์มากเพียงพอที่จะทำให้เกิดความแน่ใจอย่างสมเหตุสมผล ณ วันเริ่มต้นของสัญญาเช่าว่าผู้เช่าจะใช้สิทธิเลือกซื้อสินทรัพย์นั้น ระยะเวลาของสัญญาเช่าครอบคลุมอายุการให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจส่วนใหญ่ของสินทรัพย์แม้ว่าจะไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์เกิดขึ้น 31 31 31

  32. TAS 17 สัญญาเช่า ต้องจัดประเภทสัญญาเช่าเป็นสัญญาเช่าการเงินหากสัญญานั้นทำให้เกิดสถานการณ์ต่อไปนี้อย่างน้อยหนึ่งสถานการณ์ ณ วันเริ่มต้นของสัญญาเช่า มูลค่าปัจจุบันของจำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่ายมีจำนวนเท่ากับหรือเกือบเท่ากับมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่เช่า สินทรัพย์ที่เช่ามีลักษณะเฉพาะจนกระทั่งมีผู้เช่าเพียงผู้เดียวที่สามารถใช้สินทรัพย์นั้นโดยไม่จำเป็นต้องนำสินทรัพย์ดังกล่าวมาทำการดัดแปลงที่สำคัญ 32 32 32

  33. TAS 17 สัญญาเช่า สัญญาเช่าการเงิน ณ วันที่สัญญาเช่าเริ่มมีผล ผู้เช่าต้องรับรู้เป็นสินทรัพย์และหนี้สินในงบแสดงฐานะทางการเงินของผู้เช่าด้วยจำนวนเงินเท่ากับมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่เช่า หรือมูลค่าปัจจุบันของจำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่ายแล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า ซึ่งพิจารณา ณ วันเริ่มต้นของสัญญาเช่า ต้นทุนทางตรงเริ่มแรกของผู้เช่าต้องรวมเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนสินทรัพย์ที่รับรู้ ต้องแยกแสดงหนี้สินตามสัญญาเช่าเป็นหนี้สินหมุนเวียนและไม่หมุนเวียน จำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่ายต้องนำมาแยกเป็นค่าใช้จ่ายทางการเงินและส่วนที่จะนำไปลดหนี้สินที่ยังไม่ได้ชำระ 33 33 33

  34. TAS 17 สัญญาเช่า สัญญาเช่าการเงิน ค่าใช้จ่ายทางการเงินต้องปันส่วนให้กับงวดต่างๆ ตลอดอายุสัญญาเช่าเพื่อทำให้อัตราดอกเบี้ยแต่ละงวดเป็นอัตราคงที่สำหรับยอดคงเหลือของหนี้สินที่เหลืออยู่แต่ละงวด นโยบายการคิดค่าเสื่อมราคาสำหรับสินทรัพย์เสื่อมสภาพที่เช่าต้องสอดคล้องกับวิธีการคิดค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์เสื่อมสภาพซึ่งกิจการเป็นเจ้าของ และค่าเสื่อมราคาที่รับรู้ต้องคำนวณตามเกณฑ์ที่ระบุไว้ใน TAS 16 และ TAS 38 หากไม่มีความแน่นอนอย่างสมเหตุสมผลที่ผู้เช่าจะเป็นเจ้าของสินทรัพย์เมื่ออายุสัญญาเช่าสิ้นสุดลง ผู้เช่าต้องตัดค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ให้หมดภายในอายุสัญญาเช่าหรืออายุการให้ประโยชน์แล้วแต่อายุใดจะสั้นกว่า 34 34 34

  35. TAS 17 สัญญาเช่า สัญญาเช่าการเงิน ในการกำหนดว่าสินทรัพย์ที่เช่าเกิดการด้อยค่าหรือไม่ กิจการต้องถือปฏิบัติตามข้อกำหนดของ TAS 36 สัญญาเช่าดำเนินงาน ผู้เช่าต้องรับรู้จำนวนเงินที่จ่ายตามสัญญาเช่าดำเนินงานเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนตามวิธีเส้นตรงตลอดอายุสัญญาเช่า นอกจากว่าจะมีเกณฑ์อื่นที่เป็นระบบซึ่งแสดงถึงประโยชน์ที่ผู้เช่าได้รับในช่วงเวลา 35 35 35

  36. TAS 17 สัญญาเช่า มีการเพิ่มเติมย่อหน้าใหม่ ย่อหน้าที่ 41ก สินทรัพย์ภายใต้สัญญาเช่าการเงินซึ่งจัดประเภทเป็นสินทรัพย์รอการขาย (หรือได้รวมอยู่ในกลุ่มของสินทรัพย์ที่เลิกใช้และจัดประเภทเป็นรอการขาย) ต้องบันทึกบัญชีตามข้อกำหนดของ TFRS 5 เมื่อสินทรัพย์นั้นเป็นไปตามข้อกำหนดของ TFRS ดังกล่าว มีการตัดแนวปฏิบัติในการจัดประเภทสัญญาเช่าเป็นสัญญาเช่าการเงินหรือสัญญาเช่าดำเนินงานซึ่งสภาวิชาชีพบัญชีจัดทำขึ้นเอง และเขียนต่อไว้ใน TAS 17 ฉบับปรับปรุง 2549 ออก 36 36 36

  37. TAS 37 ประมาณการหนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น และสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น มีการแก้ไขเพื่อให้สอดคล้องกับ TFRS ฉบับอื่นๆ ดังนี้ TAS 1 และ TFRS 3 มีการเปลี่ยนแปลงถ้อยคำที่ปรากฏอยู่ในแต่ละย่อหน้า เช่น 37 37

  38. TAS 37 ประมาณการหนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น และสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น ประมาณการหนี้สินหมายถึง หนี้สินที่มีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับจังหวะเวลาหรือจำนวนที่ต้องจ่ายชำระ หนี้สินที่อาจเกิดขึ้นหมายถึงรายการข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้ ภาระผูกพันที่อาจมีอยู่อันเนื่องมาจากเหตุการณ์ในอดีต แต่การจะทราบว่าภาระผูกพันดังกล่าวมีอยู่หรือไม่นั้นต้องได้รับการยืนยันจากเหตุการณ์อย่างน้อยหนึ่งเหตุการณ์ในอนาคตซึ่งยังไม่มีความแน่นอนว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้น โดยเหตุการณ์ดังกล่าวต้องไม่อยู่ในความควบคุมทั้งหมดของกิจการ ภาระผูกพันในปัจจุบันซึ่งเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ในอดีต แต่ไม่สามารถรับรู้เป็นหนี้สินได้เนื่องจากเป็นไปตามข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้ ไม่มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจเพื่อจ่ายชำระภาระผูกพัน หรือ จำนวนของภาระผูกพันไม่สามารถวัดมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือเพียงพอ 38 38

  39. TAS 37 ประมาณการหนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น และสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น มีการตัดถ้อยคำในย่อหน้าที่ 1.1 เดิม “รายการที่เป็นผลจากเครื่องมือทางการเงินที่แสดงด้วยมูลค่ายุติธรรม” ออก เนื่องจาก TAS 39 มีข้อกำหนดเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้แล้ว มีการตัดถ้อยคำในย่อหน้าที่ 1.3 เดิม “รายการที่เกิดจากสัญญาที่กิจการประกันภัยทำกับผู้ถือกรมธรรม์” ออก เนื่องจากมีข้อกำหนดเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวไว้แล้วใน TFRS 4 มีการเพิ่มเติมตัวอย่างประเภทของประมาณการหนี้สินที่ครอบคลุมโดย TAS ฉบับนี้ ย่อหน้าที่ 5.5 สัญญาประกันภัย (ดู TFRS 4) อย่างไรก็ตาม TAS ฉบับนี้ใช้กับการประมาณการหนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น และสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้นของผู้รับประกัน ไม่รวมถึงประมาณการหนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น และสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งเกิดขึ้นจากภาระผูกพันทางสัญญาและสิทธิภายใต้สัญญาประกันภัยซึ่งอยู่ในขอบเขตของ TFRS 4 39 39

  40. TAS 37 ประมาณการหนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น และสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น ได้เพิ่มเติมตัวอย่างเกี่ยวกับการคำนวณมูลค่าที่คาดว่าจะเกิดในย่อหน้าที่ 39 ตัวอย่าง กิจการขายสินค้าโดยให้การรับประกันสินค้า กิจการจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการแก้ไขความเสียหายที่เกิดขึ้นของสินค้าที่เสียหายจากการผลิตภายใน 6 เดือนนับจากวันที่ซื้อ ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อยแต่เกิดกับสินค้าทุกรายการที่จำหน่าย ต้นทุนในการแก้ไขความเสียหายจะมีจำนวนประมาณ 1 ล้านบาท หากความเสียหายเป็นความเสียหายที่สำคัญและเกิดกับสินค้าทุกรายการที่จำหน่าย ค่าใช้จ่ายในการแก้ไขความเสียหายจะมีจำนวนประมาณ 4 ล้านบาท จากประสบการณ์ในอดีตของกิจการ และความคาดหมายในอนาคตชี้ให้เห็นว่าในปีที่จะมาถึง 40 40

  41. TAS 37 ประมาณการหนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น และสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น ได้เพิ่มเติมตัวอย่างในย่อหน้าที่ 39 (ต่อ) 75% ของสินค้าที่ขายจะไม่มีความเสียหายเกิดขึ้น 20% ของสินค้าที่ขายจะมีความเสียหายไม่มากนัก 5% ของสินค้าที่ขายจะมีความเสียหายที่สำคัญ ตามย่อหน้าที่ 24 จะต้องประเมินความน่าจะเป็นของกระแสเงินสดที่กิจการจะต้องจ่ายสำหรับภาระผูกพันในการรับประกันสินค้าโดยรวม มูลค่าที่คาดว่าจะเกิดขึ้นของค่าใช้จ่ายในการแก้ไขความเสียหายมีดังนี้ (75% ของ 0) + (20% ของ 1 ล้านบาท) + (5% ของ 4 ล้านบาท) = 400,000 บาท 41 41

  42. Question & Answer

More Related