1 / 10

คู่มือการปฏิบัติงานของกรมบัญชีกลาง (ประชุม ที่ควีนส์ปาร์ค 22-23พ.ค.56)

ata
Télécharger la présentation

คู่มือการปฏิบัติงานของกรมบัญชีกลาง (ประชุม ที่ควีนส์ปาร์ค 22-23พ.ค.56)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ข้อเท็จจริงและองค์ประกอบของ “ภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน” ประกอบด้วย1. ภัยที่เกิดขึ้นต้องมีลักษณะเป็น “ภัยพิบัติ”กล่าวคือ 1.1 มีการกระทำหรือเหตุต่างๆ ซึ่งทำให้เกิดอันตราย หรือความเสียหาย แก่ชีวิต/ร่างกาย/ทรัพย์สิน 1.2 ต้องเป็น “สาธารณภัย”กล่าวคือ มีความรุนแรงหรือมีผลกระทบหรือก่อให้เกิด ความเดือดร้อน หรือความเสียหายแก่ “คนหมู่มาก” จนเกินความสามารถที่ชุมชน จะรับมือหรือจัดการเองได้ มิใช่เกิดแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง และเป็นภัยที่ประชาชนทั่วไปไม่สามารถป้องกันหรือแก้ไขได้ด้วยตัวเองแม้จะก่อให้เกิด ความสับสนวุ่นวายต่อบุคคลหมู่มากที่ตื่นตระหนกต่อปัจจัยเสี่ยงที่อาจมีมาถึงตัว แต่เนื่องมิได้แก่ให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม หรือมีผลกระทบต่อความ ต้องการในปัจจัยพื้นฐานจนเกินขีดความสามารถที่ชุมชนจะรับมือหรือจัดการเองได้ 2. เป็นภัยที่เกิดขึ้นโดยปัจจุบันทันด่วน และจำเป็นต้องรีบแก้ไขโดยฉับพลัน3. อยู่ในระหว่างที่ยังไม่ได้รับเงินงบประมาณรายจ่าย คู่มือการปฏิบัติงานของกรมบัญชีกลาง (ประชุมที่ควีนส์ปาร์ค 22-23พ.ค.56)

  2. กรมบัญชีกลาง ให้ความเห็นว่า ภัยพิบัติ กำหนดคำนิยามไว้ตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ มีสาระสำคัญอีกประการหนึ่งกล่าวคือ “จำนวนผู้ที่ได้รับความเสียหายจะมีจำนวนมากหรือน้อยไม่ใช่ประเด็นสำคัญ และต้องเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยปัจจุบันทันด่วนหรือเป็นที่คาดหมายว่า จะเกิดขึ้นในเวลาอันใกล้ ซึ่งจำเป็นต้องแก้ไขเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้า และไม่มีเงินงบประมาณดำเนินการ” กค 0406.3/29361 ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน 2552 กรมบัญชีกลาง ตอบข้อหารือของคลังจังหวัดกาญจนบุรี กรณีไฟไหม้บ้าน 1 หลัง คอกสัตว์ เสียหาย 1 หลัง วัวนมตาย 3 ตัว ไม่เข้าข่ายเป็น “ภัยพิบัติ” ตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ กค 0406.3/11401 ลว. 27 มี.ค.56 กรมบัญชีกลาง ตอบข้อหารือกาฬสินธุ์ ทางการประกาศงดส่งน้ำในช่วงฤดูแล้งเช่นเดียวกับทุกปี พร้อมแจ้งให้เกษตรกรทราบล่วงหน้าเพื่องดปลูกพืช/เลี้ยงสัตว์น้ำในเขตพื้นที่ชลประทาน เกษตรกรไม่ปฏิบัติตามหากเกิดความเสียหายแม้จะสืบเนื่องจากภัยแล้ง แต่มิได้เกิดขึ้นโดยปัจจุบันทันด่วนและอยู่ในข่ายที่สามารถป้องกันได้ จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ

  3. ภัยแล้ง ฝนแล้ง และฝนทิ้งช่วง (หนังสือกรมอุตุนิยมวิทยา ที่ ทก 0406/983 ลว.7 มิ.ย.56) ภัยแล้ง คือ ภัยที่เกิดจากการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเป็นเวลานาน จนก่อให้เกิดความแห้งแล้ง และส่งผลกระทบต่อชุมชน ภัยแล้งในประเทศไทย ส่วนใหญ่เกิดจากฝนแล้งและฝนทิ้งช่วง ภัยแล้งในประเทศไทยจะเกิดได้ 2 ช่วง ได้แก่ 1. ช่วงฤดูหนาวต่อเนื่องถึงฤดูร้อน เริ่มครึ่งหลังเดือนตุลาคมเป็นต้นไป บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก จะมีปริมาณฝนลดลงเป็นลำดับ จนกระทั่งเข้าสู่ฤดูฝนในช่วงเดือนพฤษภาคม ของปีถัดไป ซึ่งภัยแล้งลักษณะนี้จะเกิดขึ้นประจำทุกปี

  4. ภัยแล้ง ฝนแล้ง และฝนทิ้งช่วง (หนังสือกรมอุตุนิยมวิทยา ที่ ทก 0406/983 ลว.7 มิ.ย.56) 2. ช่วงกลางฤดูฝน ประมาณปลายเดือนมิถุนายนถึงต้นกรกฎาคม จะมี ฝนทิ้งช่วงเกิดขึ้น ภัยแล้งลักษณะนี้จะเกิดขึ้นเฉพาะท้องถิ่นหรือบางบริเวณ บางครั้งอาจครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้างเกือบทั่วประเทศ ฝนแล้ง หมายถึง สภาวะที่มีฝนน้อยหรือไม่มีฝนเลยในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งตามปกติควรจะต้องมีฝน (ภาวะที่ปริมาณฝนตกน้อยกว่าปกติหรือ ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล) โดยขึ้นอยู่กับสถานที่และฤดูกาล ณ ที่นั้น ๆ ด้วย ฝนทิ้งช่วง หมายถึง ช่วงที่มีปริมาณฝนตกไม่ถึงวันละ 1 มิลลิเมตรติดต่อกันเกิน 15 วัน ในช่วงฤดูฝน เดือนที่มีโอกาสเกิดฝนทิ้งช่วงสูง คือปลายเดือนมิถุนายนถึงต้นเดือนกรกฎาคม

  5. วงเงินทดรองราชการ (ระเบียบข้อ 8) ให้ส่วนราชการมีวงเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบ ภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ในระหว่างที่ยังไม่ได้รับเงินงบประมาณรายจ่าย ดังนี้ (1) สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี 100 ล้านบาท (2) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงกลาโหม 50 ล้านบาท (3) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ 10 ล้านบาท (4) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 50 ล้านบาท (5) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงมหาดไทย 50 ล้านบาท (6) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข 10 ล้านบาท (7) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 50 ล้านบาท (8) สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด แห่งละ 20 ล้านบาท วงเงินไม่เพียงพอ ขอขยายต่อกระทรวงการคลัง (ผ่านกรมป้องกันฯ)

  6. ระเบียบข้อ 8 (8) สนง.ปภ.จ. มีเงินทดรองราชการ แห่งละ 20 ล้านบาท/ทุกภัยผู้ว่าฯ มีอำนาจจัดสรรเงินให้แก่อำเภอ ไม่เกิน 5 แสนบาท/แห่ง - จัดสรรให้หน่วยงานอื่นไม่ได้ - ไม่ต้องผ่าน ก.ช.ภ.อ./จ. - จะเสนอ ก.ช.ภ.จ. เพื่อทราบหรือไม่ ระเบียบไม่ได้กำหนดไว้ หากจำเป็น จะจัดสรรเพิ่มเติมให้อีกก็ได้ - ครั้งแรกไม่เกิน 5 แสนบาท ครั้งต่อไปไม่จำกัดวงเงินมีผลให้ - นายอำเภอมีอำนาจอนุมัติจ่ายเงินวงเงินจัดสรร (ระเบียบข้อ 9(8)) - ใช้จ่ายตามมติ ก.ช.ภ.อ. (ระเบียบข้อ 23 (1)) การจัดสรรเงินทดรองราชการของจังหวัด 20 ล้านต่อทุกภัย

  7. ก.ช.ภ.อ. (รวมไม่น้อยกว่า 6 ไม่เกิน 9 คน) ประธาน 1 คน กรรมการไม่เกิน 7 คน กรรมการและเลขานุการ 1 คน ประธาน : นายอำเภอ กรรมการ หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอที่เกี่ยวข้องหรือผู้แทน ไม่เกิน 4 คน ผู้แทนกระทรวงกลาโหม 1 คน ผู้แทนกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 1 คน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอ 1 คน กรรมการและเลขานุการ : ปลัดอำเภอหัวหน้าฝ่ายความมั่นคง

  8. ก.ช.ภ.จ. (รวมไม่น้อยกว่า 12 ไม่เกิน 15 คน) ประธาน 1 คน กรรมการไม่เกิน 13 คน กรรมการและเลขานุการ 1 คน ประธาน : ผู้ว่าราชการจังหวัด กรรมการ ปลัดจังหวัด พาณิชย์จังหวัด โยธาธิการและผังเมืองจังหวัด ผู้แทนกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ 1 คน ผู้แทนกระทรวงกลาโหม 1 คน ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 1 คน ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข 1 คน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1 คน ผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ไม่เกิน 4 คน หอการค้าจังหวัดหรือสภาอุตสาหกรรมจังหวัดหรือผู้แทนในเขตจังหวัด 1 คน กรรมการและเลขานุการ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด

  9. อำนาจหน้าที่ของ ก.ช.ภ.อ. (ระเบียบข้อ 12) **เฉพาะข้อที่สำคัญ** (1) สำรวจความเสียหาย และความต้องการรับความช่วยเหลือ (2) ตรวจสอบและกลั่นกรองการให้ความช่วยเหลือ ตามที่ อปท. ได้สำรวจความเสียหาย (3) พิจารณาช่วยเหลือผู้ประสบภัย (6) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยฯ เพื่อสนับสนุน การปฏิบัติงานและให้ความช่วยเหลือตามที่ ก.ช.ภ.อ.มอบหมาย อำนาจหน้าที่ของ ก.ช.ภ.จ. (ระเบียบข้อ 14) (1) ตรวจสอบและกลั่นกรองการให้ความช่วยเหลือ ตามที่ ก.ช.ภ.อ. ได้สำรวจความเสียหาย (2) พิจารณาช่วยเหลือผู้ประสบภัย

  10. องค์ประชุม และมติที่ประชุม ก.ช.ภ.อ. /จ. (ระเบียบข้อ 15) - ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการ ทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม - ถ้าประธานไม่มาประชุม หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่ง เป็นประธาน - มติที่ประชุม ให้ถือเสียงข้างมาก กรณีคะแนนเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมลงคะแนนอีกหนึ่งเสียง ข้อสังเกต - ไม่มีการใช้มติเวียน เนื่องจาก ไม่ถือเป็นองค์ประชุม เพราะไม่มีการมาประชุม - มติที่ประชุม ให้ถือเสียงข้างมาก จึงไม่จำเป็นต้องมีมติเป็นเอกฉันท์ทุกครั้ง

More Related